พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปกิณณกกถา (จริยาปิฎก)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35175
อ่าน  1,253

เล่มที่ 74 [เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓

ปกิณณกกถา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 570

ปกิณณกกถา

เพื่อความฉลาดหลายประการในโพธิสมภารของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในฐานะนั้นมีความอุตสาหะในการปฏิบัติเพื่อไปสู่มหาโพธิญาณ จึงควรกล่าวปกิณณกกถาในบารมีทั้งปวง.

ในบารมีนั้นมีปัญหาดังต่อไปนี้ :-

บารมีนั้นคืออะไร บารมีเพราะอรรถว่ากระไร บารมีมีกี่อย่าง ลำดับของบารมีเป็นอย่างไร อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐาน อะไรเป็นปัจจัย อะไรเป็นความเศร้าหมอง อะไรเป็นความผ่องแผ้ว อะไรเป็นปฏิปักษ์ อะไรเป็นข้อปฏิบัติ อะไรเป็นการจำแนก อะไรเป็นการสงเคราะห์ อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ ให้สำเร็จโดยกาลไหน อะไรเป็นอานิสงส์ และอะไรเป็นผลของบารมีเหล่านั้น.

คำตอบมีดังต่อไปนี้ :- บารมีคืออะไร? บารมีคือคุณธรรมทั้งหลาย มีทานเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือกรุณาอันตัณหา มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด.

บารมีเพราะอรรถว่ากระไร? พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่ง เพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ความเป็นหรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญเป็นต้น ก็เป็นบารมี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 571

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรม เพราะอรรถว่าบำเพ็ญ ชื่อว่า โพธิสัตตะ เพราะอรรถว่าเป็นผู้บำเพ็ญและเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น. คุณดังกล่าวมานี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญ.

อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ. หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือบารมีย่อมทำลายปฎิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปรมะ. สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์. คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้ ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด. หรือบารมีย่อมผูก ย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมไป ย่อมถึง ย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง. หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 572

ฉะนั้น จึงชื่อว่าบารมี. บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า มหาบุรุษ.

ความเป็นหรือการการทำของมหาบุรุษนั้น ชื่อว่าความเป็นผู้มีบารมี. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้นก็เป็นความเป็นผู้มีบารมี พึงทราบอรรถแห่งศัพท์ว่าบารมีโดยนัยดังกล่าวนี้แล.

บารมีมีกี่อย่าง? โดยย่อมี ๑๐ อย่าง. บารมีเหล่านั้นปรากฏโดยสรุปในบาลี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

ในกาลนั้นเราเลือกทานบารมีนเป็นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ก่อนประพฤติมาแล้ว เป็นครั้งแรก ได้เห็นแล้ว.

ดังที่พระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีเท่าไรพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๑๐ ประการแล. ธรรม ๑๐ ประการคืออะไรบ้าง? ดูก่อนสารีบุตร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา เป็นธรรมทำให้เป็นพระพุทธเจ้า. ดูก่อนสารีบุตร ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล เป็นพุทธการกธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพุทธพจน์นี้ พระศาสดาตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 573

บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วีริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา อุเบกขา.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่ามี ๖ อย่าง. ท่านกล่าวดังนั้นด้วยการสงเคราะห์บารมีเหล่านั้น. การสงเคราะห์นั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

บทว่า กโม ในบทว่า โก ตาสํ กโม ลำดับของบารมีเหล่านั้นเป็นอย่างไร? นี้เป็นลำดับแห่งเทศนา. อนึ่ง ลำดับนั้นเป็นเหตุแห่งการสมาทานครั้งแรก. การสมาทานเป็นเหตุแห่งการค้นคว้า. ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันแสดงโดยอาการค้นคว้าและสมาทานในเบื้องต้น. ในบารมีเหล่านั้น ทานมีอุปการะมากแก่ศีลและทำได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวทานนั้นไว้ในเบื้องต้น. ทานอันศีลกำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพระเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวศีลในลำดับของทาน. ศีลอันเนกขัมมะกำหนด. เนกขัมมะอันปัญญากำหนด. ปัญญาอันวีริยะกำหนด. วีริยะอันขันติกำหนด. ขันติอันสัจจะกำหนด. สัจจะอันอธิษฐานะกำหนด. อธิษฐานะอันเมตตากำหนด. เมตตาอันอุเบกขากำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอุเบกขาในลำดับแห่งเมตตา. แต่พึงทราบว่า อุเบกขาอันกรุณากำหนด และกรุณาอันอุเบกขากำหนด. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีมหากรุณา จึงเป็นผู้มีอุเบกขาในสัตว์ทั้งหลายอย่างไร อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้วางเฉยตลอดอย่างใดอย่างหนึ่งในที่ควรวางเฉย. แต่ไม่วางเฉยในที่ทั้งปวง และโดยประการทั้งปวง ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 574

โพธิสัตว์ทั้งหลายไม่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย. แต่วางเฉยในความไม่เหมาะสมที่สัตว์กระทำ.

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวทานในเบื้องต้นเพราะเป็นสิ่งทั่วไปแก่สรรพสัตว์ โดยเป็นไปแม้ในชนเป็นอันมาก เพราะมีผลน้อยและเพราะทำได้ง่าย. ท่านกล่าวศีลในลำดับของทาน เพราะความบริสุทธิ์ของผู้ให้และผู้รับด้วยศีล เพราะกล่าวถึงการอนุเคราะห์ผู้อื่น แล้วกล่าวถึงความไม่เบียดเบียนผู้อื่น เพราะกล่าวถึงธรรมที่ควรทำ แล้วกล่าวถึงธรรมที่ไม่ควรทำ เพราะกล่าวถึงเหตุแห่งโภคสมบัติ แล้วจึงกล่าวถึงเหตุแห่งภวสมบัติ. ท่านกล่าวเนกขัมมะในลำดับของศีล เพราะความสำเร็จศีลสมบัติด้วยเนกขัมมะ เพราะกล่าวถึงกายสุจริตและวจีสุจริต แล้วจึงกล่าวถึงมโนสุจริต เพราะศีลบริสุทธิ์ให้สำเร็จฌานโดยง่าย เพราะกล่าวถึงความบริสุทธิ์ในความขวนขวายด้วยการละโทษของกรรม แล้วกล่าวถึงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยด้วยการละโทษของกิเลส และเพราะกล่าวถึงการละการครอบงำจิตด้วยการละความก้าวล่วง. ท่านกล่าวปัญญาในลำดับเนกขัมมะ เพราะความสำเร็จและความบริสุทธิ์แห่งเนกขัมมะด้วยปัญญา เพราะกล่าวถึงความไม่มีปัญญาด้วยไม่มีฌาน. จริงอยู่ ปัญญามีสมาธิเป็นปทัฏฐาน และสมาธิมีปัญญาเป็นปัจจุปัฏฐาน. เพราะกล่าวถึงสมถนิมิต แล้วจึงกล่าวถึงอุเบกขานิมิต เพราะกล่าวถึงความฉลาดในอุบาย อันทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยการตั้งใจทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น. ท่านกล่าววีริยะในลำดับของปัญญา เพราะความสำเร็จกิจด้วยปัญญาโดยปรารภความเพียร

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 575

เพราะกล่าวถึงความอดทนด้วยการเพ่งธรรมคือความสูญของสัตว์ แล้วจึงกล่าวถึงความอัศจรรย์ของการปรารภเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ เพราะกล่าวถึงอุเบกขานิมิต แล้วจึงกล่าวถึงปัคคหนิมิต คือนิมิตในการประคับประคองจิต และเพราะกล่าวถึงความใคร่ครวญก่อนทำแล้วจึงกล่าวถึงความเพียร เพราะความเพียรของผู้ใคร่ครวญแล้วทำ ย่อมนำมาซึ่งผลวิเศษ.

ท่านกล่าวขันติในลำดับของความเพียร เพราะความสำเร็จแห่งความอดกลั้นด้วยความเพียร จริงอยู่คนมีความเพียรย่อมครอบงำทุกข์ที่สัตว์และสังขารนำเข้าไปเพราะปรารภความเพียรแล้ว. เพราะความเพียรเป็นอลังการของความอดกลั้น จริงอยู่ ความอดกลั้นของผู้มีความเพียรย่อมงาม เพราะกล่าวถึงปัคคหนิมิตแล้วจึงกล่าวถึงสมถนิมิต เพราะกล่าวถึงการละอุทธัจจะและโทสะด้วยความเพียรยิ่ง จริงอยู่ อุทธัจจะและโทสะละได้ด้วยความอดทนในการเพ่งธรรม. เพราะกล่าวถึงการทำความเพียรติดต่อของผู้มีความเพียร. จริงอยู่ ผู้หนักด้วยขันติเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านทำความเพียรติดต่อ เพราะกล่าวถึงความไม่มีตัณหา เพื่อทำตอบในการปรารภทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นของผู้ไม่ประมาท. จริงอยู่ เมื่อความเพ่งธรรมตามความเป็นจริงมีอยู่ ตัณหาย่อมไม่มี. และเพราะกล่าวถึงความอดกลั้นทุกข์ที่ผู้อื่นทำในการปรารภประโยชน์เพื่อผู้อื่น. ท่านกล่าวสัจจะในลำดับของขันติ เพราะขันติตั้งอยู่ได้นานด้วยสัจจะ เพราะกล่าวถึงความอดทนต่อความเสียหายของผู้ทำความเสียหาย แล้วกล่าวถึงความไม่ผิดพลาดในการทำอุปการะนั้น. และ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 576

เพราะกล่าวถึงความอดทนในการเพ่งธรรม คือความสูญของสัตว์ แล้วกล่าวถึงสัจจะอันเป็นญาณเพิ่มพูนขันตินั้น. ท่านกล่าวอธิษฐานในลำดับของสัจจะ เพราะความสำเร็จแห่งสัจจะด้วยอธิษฐาน เพราะการงดเว้นย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งใจไม่หวั่นไหว. เพราะกล่าวคำไม่ผิดความจริง แล้วกล่าวถึงความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการกล่าวคำไม่ผิดความจริงนั้น จริงอยู่ ผู้ไว้ใจไม่หวั่นไหว ประพฤติตามสมควรแก่ปฏิญญาในทานเป็นต้น เพราะกล่าวญาณสัจจะ แล้วจึงกล่าวถึงการเพ่งความเป็นไปในสัมภาระทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้มีญาณตามเป็นจริง ย่อมอธิษฐานโพธิสมภารทั้งหลาย และยังโพธิสมภารนั้นให้สำเร็จ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยปฏิปักษ์ทั้งหลาย. ท่านกล่าวเมตตาในลำดับแห่งอธิษฐาน เพราะความสำเร็จแห่งอธิษฐานด้วยการสมาทานทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วยเมตตา เพราะกล่าวถึงอธิษฐานแล้วจึงกล่าวถึงการนำประโยชน์เข้าไป เพราะผู้ดำรงมั่นในโพธิสมภารเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา. และเพราะผู้มีอธิษฐานไม่หวั่นไหว ยังสมาทานให้เจริญด้วยการไม่ทำลายสมาทาน. ท่านกล่าวอุเบกขาในลำดับแห่งเมตตา เพราะความบริสุทธิ์แห่งเมตตาด้วยอุเบกขา เพราะกล่าวถึงการนำประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวถึงความไม่สนใจโทษผิดของผู้นั้น เพราะกล่าวถึงเมตตาภาวนา แล้วกล่าวถึงความเจริญอันเป็นผลของเมตตาภาวนานั้น และเพราะกล่าวถึงความเป็นคุณน่าอัศจรรย์ว่า ผู้วางเฉยแม้ในสัตว์ผู้ใคร่ประโยชน์ พึงทราบลำดับแห่งบารมีทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 577

ในบทว่า อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานนี้พึงทราบความดังต่อไปนี้.

โดยความไม่ต่างกัน บารมีแม้ทั้งหมดมีการอนุเคราะห์ผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการทำอุปการะแก่ผู้อื่นเป็นรส. หรือมีความไม่หวั่นไหวเป็นรส. มีการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นปัจจุปัฏฐาน มีมหากรุณาเป็นปทัฏฐาน. หรือมีความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณาเป็นปทัฏฐาน

แต่โดยความต่างกัน เพราะเจตนาบริจาคเครื่องอุปกรณ์ของตนกำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นทานบารมี. กายสุจริต วจีสุจริต กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา และโดยใจความ เจตนาเว้นสิ่งไม่ควรทำและสิ่งที่ควรทำเป็นต้นเป็นศีลบารมี. จิตเกิดขึ้นเพื่อจะออกจากกามภพ มีการเห็นโทษเป็นอันดับแรก กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นเนกขัมมบารมี. ความเข้าใจถึงลักษณะวิเศษอันเสมอกันแห่งธรรมทั้งหลาย กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นปัญญาบารมี. การปรารภถึงประโยชน์ของผู้อื่นด้วยกายและจิต กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นวีริยบารมี. การอดกลั้นโทษของสัตว์และสังขาร กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา การตั้งอยู่ในอโทสะ จิตเกิดขึ้นเป็นไปในอาการของอโทสะนั้น เป็นขันติบารมี. การพูดไม่ผิดมีวิรัติเจตนาเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นสัจจบารมี. การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหว กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาด

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 578

ในอุบายแห่งกรุณา จิตเกิดขึ้นเป็นไปในอาการแห่งความตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวนั้น เป็นอธิษฐานบารมี. การนำประโยชน์สุขให้แก่โลก กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา โดยถือความไม่พยาบาท เป็นเมตตาบารมี. การกำจัดความเสื่อมและความเคียดแค้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา. ความเป็นไปเสมอในสัตว์และสังขารทั้งหลายทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา เป็นอุเบกขาบารมี.

ฉะนั้นทานบารมี มีการบริจาคเป็นลักษณะ มีการกำจัดโลภในไทยธรรมเป็นรส. มีความสามารถเป็นปัจจุปัฏฐาน. หรือมีภวสมบัติและวิภวสมบัติเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวัตถุอันควรบริจาคเป็นปทัฏฐาน. ศีลบารมี มีการละเว้นเป็นลักษณะ. ท่านอธิบายว่า มีการสมาทานเป็นลักษณะ และมีการตั้งมั่นเป็นลักษณะ. มีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส. หรือมีความไม่มีโทษเป็นรส. มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีหิริโอตตัปปะเป็นปทัฏฐาน. เนกขัมมบารมี มีการออกจากกามและจากความมีโชคเป็นลักษณะ. มีการประกาศโทษของกามนั้นเป็นรส. มีความหันหลังจากโทษนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน. ปัญญาบารมี มีการรู้แจ้งแทงตลอดตามสภาวธรรมเป็นลักษณะ. หรือการรู้แจ้งแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ ดุจการซัดธนูและยิงด้วยลูกศรของคนฉลาด. มีแสงสว่างตามวิสัยเป็นรสดุจประทีป. มีความไม่หลงเป็นปัจจุปัฏฐาน. ดุจคนนำทางไปในป่า. มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน. หรือมีอริยสัจ ๔ เป็นปทัฏฐาน. วีริยบารมี มีอุตสาหะเป็น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 579

ลักษณะ. มีการอุปถัมภ์เป็นรส. มีการไม่จมเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีวัตถุปรารภความเพียรเป็นปทัฏฐาน. หรือมีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน. ขันติบารมี มีความอดทนเป็นลักษณะ. มีความอดกลั้นสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นรส. มีความอดกลั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. หรือมีความไม่โกรธเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีเห็นตามความจริงเป็นปทัฏฐาน. สัจจบารมี มีการไม่พูดผิดเป็นลักษณะ. มีการประกาศตามความเป็นจริงเป็นรส. มีความชื่นใจเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีความสงบเสงี่ยมเป็นปทัฏฐาน. อธิษฐานบารมี มีความตั้งใจในโพธิสมภารเป็นลักษณะ. มีการครอบงำสิ่งเป็นปฏิปักษ์ของโพธิสมภารเหล่านั้นเป็นรส. มีความไม่หวั่นไหวในการครอบงำสิ่งเป็นปฏิปักษ์เป็นปัจจุปัฏฐาน. มีโพธิสมภารเป็นปทัฏฐาน. เมตตบารมี มีความเป็นไปแห่งอาการเป็นประโยชน์เป็นลักษณะ. มีการนำประโยชน์เข้าไปเป็นรส. หรือมีการกำจัดความอาฆาตเป็นรส. มีความสุภาพเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีการเห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นที่น่าพอใจเป็นปทัฏฐาน. อุเบกขาบารมี มีความเป็นไปโดยอาการที่เป็นกลางเป็นลักษณะ. มีเห็นความเสมอกันเป็นรส. มีการสงบความเคียดแค้นและความเสื่อมเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีการพิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเป็นปทัฏฐาน.

อนึ่งในบทนี้ควรกล่าวถึงบารมีโดยความต่างกันแห่งลักษณะ มีการบริจาคเป็นต้น ของทานเป็นต้น เพราะกำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา. จริงอยู่ทานเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 580

แห่งกรุณา เป็นไปแล้วในสันดานของพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าบารมี มีทานบารมี เป็นต้น.

อะไรเป็นปัจจัย. อภินิหารเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย. จริงอยู่ อภินิหารใด ยังธรรมสโมธาน ๘ ให้ถึงพร้อม ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า :-

อภินิหารย่อมสำเร็จเพราะธรรมสโมธาน ๘ ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ลิงคสมบัติ ๑ เหตุ ๑ เห็นศาสดา ๑ บรรพชา ๑ คุณสมบัติ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า เราข้ามแล้วพึงให้สัตว์ข้าม เราพ้นแล้วพึงให้สัตว์พ้น เราฝึกแล้วพึงให้สัตว์ฝึก เราสงบแล้วพึงให้สัตว์สงบ เราหายใจคล่องแล้วพึงให้สัตว์หายใจคล่อง เรานิพพานแล้วพึงให้สัตว์นิพพาน เราบริสุทธิ์แล้วพึงให้สัตว์บริสุทธิ์ เราตรัสรู้แล้วพึงให้สัตว์ตรัสรู้ ดังนี้. อภินิหารนั้นเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งปวงโดยไม่ต่างกัน. ความสำเร็จแห่งการค้นคว้า การตั้งมั่น การตั้งใจสมาทานบารมีให้สูงขึ้นไป เพราะความเป็นไปแห่งปัจจัยนั้น ย่อมมีแก่พระมหาบุรุษทั้งหลาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสตฺตํ คืออัตภาพของมนุษย์. เพราะความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในอัตภาพของมนุษย์เท่านั้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 581

ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า. ไม่สำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในชาติมีนาค และครุฑเป็นต้น. ถ้าถามว่าเพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะสมควรแก่ความเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า ลิงฺคสมฺปตฺติ ความว่า แม้ตั้งอยู่ในอัตภาพของมนุษย์ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่บุรุษเท่านั้น, ไม่สำเร็จแก่สตรี บัณเฑาะก์ คือกะเทย นปุงสกะ คือไม่มีเพศชายหญิง อุภโตพยัญชนกะ คือปรากฏทั้งสองเพศ. ถ้าถามว่าเพราะอะไร? ตอบว่า เพราะเหตุตามที่ได้กล่าวแล้ว และเพราะไม่มีความบริบูรณ์แห่งลักษณะ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันการที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะเป็นได้. เพราะฉะนั้น ความปรารถนาจึงไม่สำเร็จ แม้แก่มนุษย์ผู้ตั้งอยู่ในเพศสตรี หรือแก่บัณเฑาะก์ เป็นต้น.

บทว่า เหตุ คือถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย. จริงอยู่ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่มนุษย์บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เพราะเหตุสมบัติ. นอกนั้นไม่สำเร็จ.

บทว่า สตฺถารทสฺสนํ คือความมีพระศาสดาอยู่เฉพาะหน้า. เพราะความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ซึ่งยังทรงพระชนม์อยู่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ความปรารถนาย่อมไม่สำเร็จในสำนักของพระเจดีย์ ที่โคนโพธิ์ ที่พระปฏิมา หรือที่สำนัก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 582

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า. เพราะเหตุไร? เพราะไม่มีอธิการ คือวิสัยที่ทำยิ่ง มีกำลัง. ความปรารถนาจะสำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น. เพราะอธิการนั้นยังไม่ถึงความมีกำลังโดยความเป็นอัธยาศัยอันยิ่ง.

บทว่า ปพฺพชฺชา คือความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ปรารถนาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้บวชในสำนักดาบสหรือในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นกรรมกิริยวาที คือผู้เชื่อกรรมและผลของกรรม. ไม่สำเร็จแก่ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์. เพราะเหตุไร? เพราะไม่สมควรเป็นพระพุทธเจ้า. เพราะบรรพชิตเท่านั้นเป็นพระมหาโพธิสัตว์ ย่อมบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณได้ มิใช่เป็นคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น ในเวลาตั้งปณิธาน ควรเป็นเพศของบรรพชิตเท่านั้น เพราะเป็นการอธิษฐานด้วยคุณสมบัติโดยแท้.

บทว่า คุณสมฺปตฺติ คือถึงพร้อมด้วยคุณมีอภิญญาเป็นต้น. เพราะความปรารถนาย่อมสำเร็จแม้แก่บรรพชิตผู้ได้สมาบัติ ๘ มีอภิญญา ๕ เท่านั้น. ไม่สำเร็จแก่ผู้ปราศจากคุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว. เพราะเหตุไร? เพราะสามารถค้นคว้าบารมีได้. พระมหาบุรุษบำเพ็ญอภินิหาร เป็นผู้สามารถค้นคว้าบารมีได้ด้วยตนเอง เพราะประกอบด้วยอุปนิสัยสมบัติและอภิญญาสมบัติ.

บทว่า อธิกาโร คือมีอุปการะยิ่ง. จริงอยู่ ผู้ใดแม้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติตามที่กล่าวแล้ว แม้ชีวิตของตนก็สละแด่พระพุทธเจ้าได้ ย่อมทำ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 583

อุปการะอันยิ่งในกาลนั้น. อภินิหารย่อมสำเร็จแก่ผู้นั้น. ไม่สำเร็จแก่คนนอกนี้.

บทว่า ฉนฺทตา คือพอใจในกุศลด้วยความใคร่ที่จะทำ. จริงอยู่ ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่ผู้ประกอบด้วยธรรมตามที่กล่าวแล้ว มีความพอใจมาก มีความปรารถนามาก มีความใคร่เพื่อจะทำมาก เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น. ไม่สำเร็จแก่คนนอกนี้. ต่อไปนี้เป็นความเปรียบเทียบ เพราะความเป็นผู้มีฉันทะใหญ่. พึงทราบความที่ฉันทะเป็นความใหญ่หลวง ในบทว่า ฉนฺทตา นี้ โดยนัยมีอาทิดังต่อไปนี้ :- บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถข้ามท้องจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันมีน้ำท่วมนองเป็นอันเดียวกัน ด้วยกำลังแขนของตนเท่านั้นแล้วจะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยาก กลับพอใจว่า เราจักข้ามถึงฝั่งได้. ไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในกาลนั้นเลย อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดเหยียบจักรวาลนี้ทั้งสิ้นอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิง ปราศจากเปลวไฟ ปราศจากควันไฟด้วยเท้าทั้งสองสามารถก้าวเลยไปถึงฝั่งได้. ผู้นั้นย่อมถึงความเป็นพระพุทธเจ้า. แล้วไม่ย่อท้อเพราะทำได้ยาก กลับพอใจว่า เราจักก้าวเลยไปถึงฝั่งได้. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟังมาว่า ผู้ใดสามารถทะลุจักรวาลทั้งสิ้นปกคลุมด้วยพุ่มไม้ไผ่หนาทึบ รกรุงรังไปด้วยป่าหนามและเถาวัลย์ แล้วก้าวเลยไปถึงฝั่งได้ ฯลฯ เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย. อนึ่ง บุคคลฟัง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 584

มาว่า ผู้ใดที่หมกไหม้ในนรกตลอดอสงไขยแสนกัป จะพึงบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วไม่ย่อท้อเพราะได้ยาก กลับพอใจว่า เราจักหมกไหม้ในนรกนั้น แล้วบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า. เขาไม่แสดงอาการสยิ้วหน้าในการนั้นเลย.

อภินิหารประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อย่างนี้ โดยเนื้อความพึงทราบว่า จิตตุปบาทที่เป็นไปอย่างนั้น เพราะประชุมองค์ ๘ เหล่านั้น. จิตตุปบาทนั้น มีการตั้งใจแน่วแน่เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณโดยชอบนั่นเอง เป็นลักษณะ. มีความปรารถนามีอาทิอย่างนี้ว่า โอ เราพึงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นลำดับไป. เราพึงยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ เป็นรส. มีความเป็นเหตุแห่งโพธิสัมภารเป็นปัจจุปัฏฐาน. มีมหากรุณาเป็นปทัฏฐาน. หรือมีอุปนิสัยสมบัติเป็นปทัฏฐาน.

พึงเห็นว่า บุญวิเศษอันเป็นมูลแห่งธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งปวงเป็นความเจริญอย่างยิ่ง เป็นความงามอย่างยิ่ง เป็นความสง่าหาประมาณมิได้ โดยความเป็นไปปรารภพุทธภูมิอันเป็นอจินไตย และประโยชน์ของสัตวโลกอันหาประมาณมิได้

อนึ่ง พระมหาบุรุษพร้อมด้วยการบรรลุนั้นแล เป็นผู้ชื่อว่าหยั่งลงสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุมหาโพธิญาณ ย่อมได้สมัญญาว่า พระโพธิสัตว์ เพราะมีสภาพไม่กลับจากนั้น เพราะบรรลุความเป็นของแน่นอน ความ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 585

เป็นผู้เอาใจใส่สม่ำเสมอในสัมมาสัมโพธิญาณโดยภาวะทั้งปวง และความเป็นผู้สามารถศึกษาโพธิสมภาร ย่อมตั้งอยู่พร้อมแก่พระมหาบุรุษนั้น จริงอยู่ พระมหาบุรุษทั้งหลายค้นคว้าบารมีทั้งปวงโดยชอบ ด้วยยังอภินิหารตามที่กล่าวแล้วให้สำเร็จ ด้วยบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ อันมีเพศเป็นเบื้องต้น ด้วยสยัมภูญาณ แล้วบรรลุโดยลำดับด้วยการถือมั่น. เหมือนสุเมธบัณฑิตผู้บำเพ็ญอภินิหารไว้มากปฏิบัติแล้ว. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ดูเถิด เราค้นหาธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าจากที่โน้น ที่นี่ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ตลอด ๑๐ ทิศ จนถึงธรรมธาตุ เมื่อเราค้นหาในครั้งนั้นได้เห็นทานบารมีเป็นอันดับแรก.

ได้ยินว่า พึงทราบปัจจัย ๔ เหตุ ๔ และพละ ๔ แห่งอภินิหารนั้น.

ในอภินิหารนั้น ปัจจัย ๔ เป็นอย่างไร? พระมหาบุรุษในโลกนี้ ย่อมเห็นพระตถาคตทรงกระทำปาฏิหาริย์น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีด้วยพุทธานุภาพยิ่งใหญ่ จิตของพระมหาบุรุษนั้นย่อมตั้งอยู่ในมหาโพธิญาณ กระทำปาฏิหาริย์นั้นให้เป็นอารมณ์ เพราะอาศัยพระตถาคตนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีธรรมน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีและอานุภาพเป็นอจินไตยอย่างนี้ เพราะรู้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 586

แจ้งแทงตลอดธรรมธาตุใด ธรรมธาตุนี้มีอานุภาพมากหนอ. พระมหาบุรุษนั้นน้อมไปในสัมโพธิญาณนั้น ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัย อาศัยการเห็นมหานุภาพนั้นนั่นแลย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๑ แห่งมหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตมีอานุภาพใหญ่ตามที่กล่าวแล้ว แต่ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเช่นนี้และเป็นเช่นนี้ ดังนี้. พระมหาบุรุษนั้นน้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัย อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๒ แห่งมหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตนั้นมีอานุภาพใหญ่ตามที่กล่าวแล้ว. ทั้งไม่ได้ฟังมหานุภาพนั้นจากผู้อื่น. แต่เมื่อพระตถาคตทรงแสดงธรรม มหาบุรุษย่อมฟังธรรมปฏิสังยุตด้วยพุทธานุภาพโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลัง ๑๐ ดังนี้. มหาบุรุษนั้นน้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัยอาศัยพุทธานุภาพนั้น ย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัยที่ ๓ แห่งมหาภินิหาร.

มหาบุรุษย่อมไม่เห็นความที่พระตถาคตนั้นมีอานุภาพใหญ่ตามที่กล่าวแล้ว. ทั้งไม่ได้ฟังอภินิหารนั้นจากผู้อื่น. ทั้งไม่ได้ฟังธรรมของพระตถาคต. แต่เป็นผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง มีความตั้งใจงามคิดว่า เราจักรักษาวงศ์ของพระพุทธเจ้า แบบแผนของพระพุทธเจ้า ประเพณีของ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 587

พระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วสักการะเคารพนับถือบูชาธรรมเท่านั้น ประพฤติธรรมน้อมไปในสัมโพธิญาณ ทำธรรมธาตุนั้นให้เป็นปัจจัย อาศัยธรรมนั้นย่อมตั้งจิตไว้ในอภินิหารนั้น. นี้เป็นปัจจัย ที่ ๔ แห่งมหาภินิหาร.

เหตุ ๔ แห่งมหาภินิหารเป็นอย่างไร? มหาบุรุษในโลกนี้ตามปกติเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย สร้างสมอธิการะในพระพุทธเจ้าทั้งหลายในครั้งก่อน. นี้เป็นเหตุที่ ๑ แห่งมหาภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษตามปกติเป็นผู้มีอัธยาศัยกรุณา น้อมไปในกรุณา ประสงค์จะนำทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายออกไป สละกายและชีวิตของตน. นี้เป็นเหตุที่ ๒ แห่งมหาภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษเพียรพยายามไม่เบื่อหน่ายจากวัฏฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นและจากการประพฤติกิจที่ทำได้ยากเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ตลอดกาลนาน ไม่หวาดสะดุ้ง ตลอดถึงสำเร็จประโยชน์ที่ปรารถนา. นี้เป็นเหตุที่ ๓ แห่งมหาภินิหาร. ยังมีข้ออื่นอีก มหาบุรุษเป็นผู้อาศัยกัลยาณมิตร ผู้ที่ห้ามจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ให้ตั้งอยู่ในสิ่งเป็นประโยชน์. นี้เป็นเหตุที่ ๔ แห่งมหาภินิหาร.

พึงทราบอุปนิสสัยสัมปทาของมหาบุรุษ ดังต่อไปนี้. อัธยาศัยของมหาบุรุษนั้น น้อมไป โน้มไป โอนไปในสัมโพธิญาณโดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉันใด การประพฤติประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เพราะมหาบุรุษนั้น

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 588

ทำความตั้งใจแน่วแน่เพื่อสัมโพธิญาณในสำนักของพระพุทธเจ้าในกาลก่อน ด้วยใจและวาจาว่า แม้เราก็จะเป็นเช่นกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงยังประโยชน์สุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายโดยชอบนั่นแล. มหาบุรุษมีอุปนิสัยสมบูรณ์อย่างนี้ ความวิเศษใหญ่ การกระทำต่างใหญ่ ด้วยสาวกโพธิสัตว์และปัจเจกโพธิสัตว์ของมหาบุรุษผู้ประกอบด้วยเพศ ปรากฏด้วยอุปนิสสยสมบัติ ย่อมปรากฏจากอินทรีย์ การปฏิบัติและความเป็นผู้ฉลาด. คนนอกนี้มิได้ปฏิบัติเหมือนอย่างมหาบุรุษในโลกนี้ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย มีอินทรีย์ บริสุทธิ์ มีญาณบริสุทธิ์ มหาบุรุษเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. มิใช่เพื่อประโยชน์ตน. เป็นความจริงดังนั้น คนนอกนี้มิได้ปฏิบัติเหมือนอย่างมหาบุรุษนั้นปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง มหาบุรุษย่อมนำมาซึ่งความเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์สุขนั้น ด้วยปฏิภาณอันเกิดขึ้นตามฐานะ และเพราะความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งทานบารมีของมหาบุรุษผู้มีอัธยาศัยในทาน มีอาทิว่า มหาบุรุษตามปกติเป็นผู้มีอัธยาศัยในทาน ยินดีในทาน เมื่อมีไทยธรรมย่อมให้ทีเดียว. ไม่เบื่อหน่ายจากการเป็นผู้มีปกติแจกจ่ายเนืองๆ สม่ำเสมอ มีความเบิกบาน เอื้อเฟื้อให้ มีความสนใจให้. ครั้นให้ทานแม้มากมาย ก็ยังไม่พอใจด้วยการให้. ไม่ต้องพูดถึงให้น้อยละ. อนึ่ง เมื่อจะยังอุตสาหะให้เกิดแก่ผู้อื่น ย่อมกล่าวถึงคุณในการให้. แสดงธรรม

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 589

ปฏิสังยุตด้วยการให้. อนึ่ง เห็นคนอื่นให้แก่คนอื่นก็พอใจ. ให้อภัยแก่คนอื่นในฐานะที่เป็นภัย.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งศีลบารมีของมหาบุรุษผู้มีอัธยาศัยในศีล มีอาทิอย่างนี้ว่า มหาบุรุษย่อมละอาย ย่อมกลัวธรรมลามกมีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น. เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ยินดีในธรรมงาม มีศีล ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ชื่อตรง ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่ถือเอาของคนอื่นโดยที่สุดเส้นหญ้า หรือเมื่อคนอื่นลืมของไว้ในที่อยู่ของตน บอกให้เขารู้แล้วมอบให้โดยไม่เอาของของคนอื่นเก็บไว้. ไม่เป็นผู้โลภ. แม้จิตลามกในการถือเอาของคนอื่นก็ไม่ให้เกิดขึ้น. เว้นการทำลายหญิงเป็นต้นเสียแต่ไกล. พูดจริงไว้ใจได้ สมานคนที่แตกกัน เพิ่มสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ พูดน่ารักยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม ไม่มีความอยากได้ ไม่มีใจพยาบาท มีความเห็นไม่ วิปริต ด้วยรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนด้วยกำหนดรู้อริยสัจ มีความกตัญญูกตเวที อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ มีอาชีพบริสุทธิ์ ใคร่ธรรม ชักชวนคนอื่นในธรรม ห้ามสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่ควรทำด้วยประการทั้งปวง ให้ตั้งอยู่ในสิ่งที่ควรทำ ประกอบความเพียรในกิจนั้นด้วยตน ครั้นทำสิ่งไม่ควรทำด้วยตนเอง รีบเว้นจากสิ่งนั้นทันที.

อนึ่ง พึงทราบลักษณะแห่งเนกขัมมบารมีเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่ง อัธยาศัยในเนกขัมมะเป็นต้น ของมหาบุรุษมีอาทิอย่างนี้ว่า มหาบุรุษเป็น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 590

ผู้มีกิเลสเบาบาง มีนิวรณ์เบาบาง มีอัธยาศัยในความสงัด ไม่ฟุ้งซ่าน. วิตกลามกไม่ไหลเข้าไปยังจิตของมหาบุรุษนั้น. อนึ่ง จิตของมหาบุรุษนั้นถึงความสงัดตั้งมั่นโดยไม่ยาก. ความเป็นผู้มีจิตเมตตาย่อมตั้งอยู่แม้ในฝ่ายที่เป็นศัตรูอย่างเร็ว. ไม่ต้องพูดถึงคนนอกนี้ เป็นผู้มีสติระลึกถึงสิ่งที่ทำ แม้คำพูดนานแล้วได้. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญามีโอชะเกิดแต่ธรรม. เป็นผู้เฉลียวฉลาดในกิจที่ควรทำนั้นๆ. เป็นผู้ปรารภความเพียรในการทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย. เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังขันติอดกลั้นได้ทั้งหมด. เป็นผู้มีความตั้งใจไม่หวั่นไหว มีสมาทานมั่นคงและเป็นผู้วางเฉยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.

เมื่อมหาบุรุษประกอบด้วยลักษณะแห่งโพธิสมภารเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า การอาศัยกัลยาณมิตรเป็นเหตุแห่งมหาภินิหาร ดังนี้. กัลยาณมิตรในโลกนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วีริยะ สติ สมาธิ ปัญญา. เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตและผลของกรรม ด้วยศรัทธาสมบัติ. ไม่สละการแสวงประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ. เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพน่ายกย่องของสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้คอยตักเตือนติเตียนความชั่ว คอยว่ากล่าว อดทนต่อถ้อยคำด้วยศีลสมบัติ. เป็นผู้กล่าวธรรมลึกซึ้งนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยสุตสมบัติ. เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลีด้วยจาค สมบัติ. เป็นผู้ปรารภความเพียรในการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 591

ด้วยวีริยสมบัติ. เป็นผู้มีสติตั้งมั่นในธรรมอันไม่มีโทษด้วยสติสมบัติ. เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิสมบัติ. ย่อมรู้ความไม่วิปริตด้วยปัญญาสมบัติ. มหาบุรุษนั้นแสวงหาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมด้วยสติ รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา มีจิตเป็นหนึ่งในธรรมนั้นด้วยสมาธิ ห้ามสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ แล้วให้ประกอบในสิ่งเป็นประโยชน์ด้วยวีริยะ. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

มหาบุรุษเป็นผู้น่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง ค่อยว่ากล่าว อดทนถ้อยคำ กล่าวธรรมลึกซึ้ง ไม่ชักชวนในทางไม่ถูก.

มหาบุรุษอาศัยกัลยาณมิตรประกอบด้วยคุณอย่างนี้แล้ว ย่อมยังอุปนิสสัยสมบัติของตนให้ผ่องแผ้วโดยชอบนั่นแล. และเป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยบริสุทธิ์ด้วยดี ประกอบด้วยพละ ๔ ยังองค์ ๘ ให้ประชุมกันโดยไม่ช้านัก ทำมหาภินิหารมีอันไม่กลับเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน มีสัมโพธิญาณเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ย่อมตั้งอยู่ในความเป็นพระโพธิสัตว์.

พึงทราบพละ ๔ เหล่านี้ของอภินิหารนั้น ดังต่อไปนี้. อัชฌัตติกพละ คือกำลังภายใน ได้แก่ ความชอบใจด้วยเคารพในธรรมอาศัยตน ในสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 592

มีตนเป็นใหญ่ มีความละอายเป็นที่พึ่งอาศัย และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมี แล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ พาหิรพละ คือกำลังภายนอก ได้แก่ ความพอใจอาศัยคนอื่นในสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษมีโลกเป็นใหญ่ มีความนับถือเป็นที่พึ่งอาศัย และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมีแล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. อุปนิสสยพละ คือกำลังอุปนิสัย ได้แก่ ความพอใจด้วยอุปนิสสยสมบัติในสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปโดยส่วนเดียว. มหาบุรุษมีอินทรีย์กล้า มีความฉลาด อาศัยสติ ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมี แล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ. ปโยคพละ คือกำลังความเพียร ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยความเพียร ความเป็นผู้ทำด้วยความเคารพ ความเป็นผู้ทำติดต่ออันเกิดแต่ความเพียรนั้นในสัมมาสัมโพธิญาณ. มหาบุรุษมีความเพียรบริสุทธิ์ ทำเป็นลำดับ และถึงพร้อมด้วยอภินิหาร บำเพ็ญบารมีแล้ว บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.

อภินิหารนี้อันถึงพร้อมด้วยสโมธานมีองค์ ๘ มีการเริ่มสมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔ เหตุ ๔ พละ ๔ อย่างนี้ เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย เพราะความเป็นมูลเหตุ. อนึ่ง ธรรมทั้งหลายน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ ย่อมตั้งอยู่ในมหาบุรุษด้วยความเป็นไปของผู้ใด. ย่อมยึดถือหมู่สรรพสัตว์ด้วยจิตเป็นที่รักดุจบุตรเกิดแต่อกของตน. จิตของผู้นั้นจะไม่เศร้าหมองด้วยอำนาจความเศร้าหมองถึงบุตร. อัธยาศัยและความเพียรของมหาบุรุษนั้นย่อมนำ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 593

ประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้าของตน ย่อมเจริญ ย่อมให้มีผลยิ่งๆ ขึ้น. อนึ่ง มหาบุรุษประกอบด้วยความหลั่งไหลแห่งบุญกุศลอันสูงที่สุด อันเป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เป็นอาหารแห่งความสุข เป็นผู้ควรรับทักษิณา เป็นที่ตั้งแห่งคารวะอย่างสูง และเป็นบุญเขตไม่มีใครเหมือน. มหาภินิหารมีคุณมากมาย มีอานิสงส์มากมายอย่างนี้ พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย

มหากรุณาและความเป็นผู้ฉลาดในอุบายก็เหมือนอภินิหารนั้นแล. ปัญญาอันเป็นนิมิตแห่งความเป็นโพธิสมภารของทานเป็นต้น ชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย. ความไม่คำนึงถึงสุขของตน ความขวนขวายในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเป็นลำดับ ความไม่มีความตกต่ำ ด้วยความประพฤติของพระมหาโพธิสัตว์แม้ทำได้ยาก และความเป็นเหตุได้ประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งหลาย แม้ในเวลาเลื่อมใส การรู้ การเห็น การฟัง การระลึกถึง ย่อมสำเร็จแก่มหาบุรุษทั้งหลาย ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันเป็นมหากรุณา. เป็นความจริงอย่างนั้น ความสำเร็จแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าด้วยปัญญาของมหาบุรุษนั้น. ความสำเร็จแห่งการกระทำของพระพุทธเจ้าด้วยกรุณา. ตนเองข้ามด้วยปัญญา. ยังคนอื่นให้ข้ามด้วยกรุณา. กำหนดรู้ทุกข์ของคนอื่นด้วยปัญญา. ปรารภช่วยเหลือทุกข์ของคนอื่นด้วยกรุณา. และเบื่อหน่ายในทุกข์ด้วยปัญญา. รับทุกข์ด้วยกรุณา. อนึ่ง เป็นผู้มุ่งต่อนิพพานด้วยปัญญา. ถึงวัฏฏะด้วยกรุณา. อนึ่ง มุ่งต่อสงสารด้วย

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 594

กรุณา. ไม่ยินดีในสงสารนั้นด้วยปัญญา. และหน่ายในที่ทั้งปวงด้วยปัญญา เพราะไปตามด้วยกรุณา จึงต้องอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง. สงสารสัตว์ทั้งปวงด้วยกรุณา. เพราะไปตามด้วยปัญญาจึงมีจิตหน่ายในที่ทั้งปวง. ความเป็นผู้ไม่มีอหังการมมังการด้วยปัญญา. ความไม่มีความเกียจคร้าน ความเศร้าด้วยกรุณา. อนึ่ง ความเป็นที่พึ่งของตนและคนอื่น ความเป็นผู้มีปัญญาและกล้าตามลำดับด้วยปัญญาและกรุณา. ความเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน. ความสำเร็จประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น. ความเป็นผู้ไม่มีภัย ไม่หวาดกลัว. ความเป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่และมีโลกเป็นใหญ่. ความเป็นผู้รู้คุณท่านและทำอุปการะก่อน. ความปราศจากโมหะและตัณหา ความสำเร็จแห่งวิชชาและจรณะ. ความสำเร็จแห่งพละและเวสารัชชะ คือธรรมทำให้กล้า ปัญญาและกรุณาเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย เพราะความเป็นอุบายโดยพิเศษแห่งผลของบารมีทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้แล. ทั้งสองนี้เป็นปัจจัยแม้แห่งปณิธาน ดุจแห่งบารมีทั้งหลาย.

อนึ่ง ความอุตสาหะ ปัญญา ความมั่นคง และการประพฤติประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย. ความเพียรด้วยความอดกลั้นยิ่งแห่งโพธิสมภารทั้งหลาย ชื่อว่า อุสฺสาห ในบารมีที่ท่านกล่าวว่า เป็นพุทธภูมิ เพราะเป็นฐานะแห่งความเกิดความเป็นพระพุทธเจ้า. ปัญญาอันเป็นความฉลาดในอุบายในโพธิสมภารทั้งหลาย ชื่อว่า อุมฺมงฺค.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 595

ความตั้งใจมั่นเพราะตั้งใจไม่หวั่นไหว ชื่อว่า อวตฺถาน. เมตตาภาวนาและกรุณาภาวนา ชื่อว่า หิตจริยา.

อนึ่ง อัธยาศัย ๖ อย่าง อันมีประเภทเป็นเนกขัมมะ ความสงัด อโลภะ อโทสะ อโมหะและนิสสรณะ คือการออกไปจากทุกข์. พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เห็นโทษในกามและในการครองเรือน ชื่อว่า มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ. อนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเห็นโทษในการคลุกคลี ชื่อว่า มีอัธยาศัยสงัด. เห็นโทษในโลภะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยไม่โลภ. เห็นโทษในโทสะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยไม่โกรธ. เห็นโทษในโมหะ ชื่อว่า มีอัธยาศัยไม่หลง. เห็นโทษในทุกภาวะ ชื่อว่ามีอัธยาศัยออกไปจากทุกข์ ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น อัธยาศัย ๖ อย่างเหล่านี้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. พึงทราบว่าเป็นปัจจัยแห่งบารมีทั้งหลาย มีทานเป็นต้น. จริงอยู่บารมี มีทานบารมีเป็นต้น เว้นจากโทษโนโลภเป็นต้น และจากความยิ่งยวดของอโลภะเป็นต้น ย่อมมีไม่ได้. เพราะความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในบริจาค เป็นต้น ด้วยความยิ่งยวดของอโลภะเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้มีอัธยาศัยไม่โลภ.

อนึ่ง แม้ความเป็นผู้มีอัธยาศัยในทานก็เหมือนอย่างนั้น เป็นปัจจัยแห่งบารมี มีทานบารมีเป็นต้น ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ประพฤติเพื่อโพธิญาณ. จริงอยู่ เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยในทาน พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 596

จึงเป็นผู้เห็นโทษในความตระหนี่ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทานนั้น ย่อมบำเพ็ญทานบารมีให้บริบูรณ์โดยชอบ. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในศีล จึงเป็นผู้เห็นโทษในความเป็นผู้ทุศีล บำเพ็ญศีลบารมีให้บริบูรณ์โดยชอบ. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ จึงเห็นโทษในกามและในการครองเรือน เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการรู้ตามความเป็นจริง จึงเห็นโทษในความไม่รู้และความสงสัย. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความเพียร จึงเห็นโทษในความเกียจคร้าน. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความอดทน จึงเห็นโทษในความไม่อดทน. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในสัจจะ จึงเห็นโทษในการพูดผิด. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความตั้งใจมั่น จึงเห็นโทษในความไม่ตั้งใจมั่น. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยเมตตา จึงเห็นโทษในพยาบาท. เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในความว่างเฉย จึงเห็นโทษในโลกธรรม บำเพ็ญบารมีมีเนกขัมมบารมีเป็นต้น ให้บริบูรณ์โดยชอบ. ความเป็นผู้มีอัธยาศัยในทานเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น เพราะเป็นเหตุให้สำเร็จ.

การพิจารณาเห็นโทษและอานิสงส์ ตามลำดับในการไม่บริจาคและการบริจาคเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น เหมือนกัน. ในบทนั้น พึงทราบวิธีพิจารณาดังต่อไปนี้.

การนำมาซึ่งความพินาศมากมายหลายอย่างนี้ คือ จากความเป็นผู้ปรารถนามากด้วยวัตถุกาม อันมีที่ดิน เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายผู้มีใจหวงแหน ข้องอยู่ มีที่ดิน สวน เงิน ทอง โค กระบือ ทาสหญิง ทาสชาย บุตรภรรยาเป็นต้น จากความเป็นสาธารณภัย

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 597

มีราชภัย โจรภัยเป็นต้น จากการตั้งใจวิวาทกัน จากการเป็นข้าศึกกัน จากสิ่งไม่มีแก่นสาร จากเหตุการเบียดเบียนผู้อื่น ในการได้และการคุ้มครอง นิมิตแห่งความพินาศ เพราะนำมาซึ่งความพินาศหลายอย่าง มีความโศก เป็นต้น และมีความไม่สามารถเป็นเหตุ เพราะความเป็นเหตุให้เกิดในอบายของผู้มีจิตหมกมุ่นอยู่ในมลทิน คือ ความตระหนี่ ชื่อว่า ปริคคหวัตถุ คือ วัตถุที่หวงแหน. ควรทำความไม่ประมาทในการบริจาคว่า การบริจาควัตถุเหล่านั้นเป็นความสวัสดีอย่างเดียว.

อีกอย่างหนึ่งพิจารณาว่า ผู้ขอเมื่อขอเป็นผู้คุ้นเคยของเราเพราะบอกความลับของตน เป็นผู้แนะนำแก่เราว่า ท่านจงละสิ่งควรถึง ถือเอาของของตนไปสู่โลกหน้า เมื่อโลกถูกไฟคือมรณะเผา เหมือนเรือนถูกไฟเผา เป็นสหายช่วยแบกของของเราออกไปจากโลกนั้น เมื่อเขายังไม่แบกออกไป เขาก็ยังไม่เผา วางไว้ เป็นกัลยาณมิตรอย่างยิ่ง เพราะความเป็นสหายในกรรมงาม คือทาน และเพราะความเป็นเหตุให้ถึงพุทธภูมิที่ได้ยากอย่างยิ่ง เลิศกว่าสมบัติทั้งปวง.

อนึ่ง พึงเข้าไปตั้งความน้อมในการบริจาคว่า ผู้นี้ยกย่องเราในกรรมอันยิ่ง. เพราะฉะนั้นควรทำความยกย่องนั้นให้เป็นความจริง. แม้เขาไม่ขอ เราก็ให้ เพราะชีวิตของเขาแจ้งชัดอยู่แล้ว. ไม่ต้องพูดถึงขอละ. ผู้ขอมาแล้วเองจากที่เราแสวงหาด้วยอัธยาศัยอันยิ่ง ควรให้ด้วยบุญของเรา. การอนุเคราะห์ของเรานี้โดยมุ่งถึงการให้แก่ยาจก. เราควรอนุเคราะห์โลก แม้

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 598

ทั้งหมดนี้เหมือนตัวเรา. เมื่อยาจกไม่มี ทานบารมีของเราจะพึงเต็มได้อย่างไร เราควรยึดถือทั้งหมดไว้เพื่อประโยชน์แก่ยาจกเท่านั้น. เมื่อไรยาจกทั้งหลายไม่ขอเรา พึงถือเอาของของเราไปเอง. เราพึงเป็นที่รักและเป็นที่ชอบของยาจกทั้งหลายได้อย่างไร. ยาจกเหล่านั้นพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเราได้อย่างไร. เราเมื่อให้ก็พอใจ แม้ให้แล้วก็ปลื้มใจ เกิดปีติโสมนัสได้อย่างไร หรือยาจกทั้งหลายของเราพึงเป็นอย่างไร เราจึงจะเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง. ยาจกไม่ขอ เราจะรู้ใจของยาจกทั้งหลายได้อย่างไรแล้วจึงให้ เมื่อทรัพย์มี ยาจกมี การไม่บริจาค เป็นการหลอกลวงของเราอย่างใหญ่หลวง. เราพึงสละอวัยวะหรือชีวิตของตนแก่ยาจกทั้งหลายได้อย่างไร. อีกอย่างหนึ่ง ควรทำจิตให้เกิดขึ้นเพราะไม่คำนึงถึงประโยชน์ว่า ชื่อว่าประโยชน์นี้ ย่อมติดตามทายกผู้ไม่สนใจ. เหมือนตั๊กแตนติดตามคนแผลงศรผู้ไม่สนใจ.

อนึ่ง ผิว่า ผู้ขอเป็นคนที่รัก พึงให้เกิดโสมนัสว่า ผู้เป็นที่รักขอเรา. แม้ผู้ขอเป็นคนเฉยๆ พึงให้เกิดความโสมนัสว่า ยาจกนี้ขอเราย่อมเป็นมิตรด้วยการบริจาคนี้แน่แท้. แม้ผู้ให้ก็ย่อมเป็นที่รักของยาจกทั้งหลาย แม้บุคคลผู้มีเวรขอ ก็พึงให้เกิดโสมนัสเป็นพิเศษว่า ศัตรูขอเรา. ศัตรูนี้ เมื่อขอเราเป็นผู้มีเวร ย่อมเป็นมิตรที่รักด้วยการบริจาคนี้แน่แท้ พึงยังกรุณามีเมตตาเป็นเบื้องหน้าให้ปรากฏ แล้วพึงให้แม้ในบุคคลเป็นกลางและบุคคลมีเวร.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 599

ก็หากว่า โลภธรรมอันเป็นวิสัยแห่งไทยธรรม พึงเกิดขึ้นแก่โลภะ เพราะบุคคลนั้นอบรมมาช้านาน. อันผู้ปฏิญญาเป็นพระโพธิสัตว์นั้นพึงสำเหนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านบำเพ็ญอภินิหารเพื่อความตรัสรู้มิใช่หรือ ได้สละกายนี้เพื่อเป็นอุปการะแก่สรรพสัตว์ และบุญสำเร็จด้วยการบริจาคกายนั้น. ความข้องเป็นไปในวัตถุแม้ภายนอกของท่านนั้น เป็นเช่นกับอาบน้ำช้าง. เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควรให้ความข้องเกิดในที่ไหนๆ. เหมือนอย่างว่า เมื่อต้นไม้เป็นยาใหญ่เกิดขึ้น ผู้ต้องการรากย่อมนำรากไป. ผู้ต้องการสะเก็ด เปลือก ลำต้น ค่าคบ แก่น กิ่ง ใบ ดอก ย่อมนำไป ผู้ต้องการผล ย่อมนำผลไป. ต้นไม้นั้นใช่เรียกร้องด้วยความวิตกว่า คนพวกนี้นำของของเราไป ฉันใด เมื่อกายไม่สะอาดเป็นนิจ จมอยู่ในทุกข์ใหญ่อันเราผู้ถึงความ ขวนขวาย เพื่อประโยชน์แก่สรรพโลกประกอบการเพื่ออุปการะแก่สัตว์เหล่าอื่น ไม่ควรให้มิจฉาวิตกแม้เล็กน้อยเกิดขึ้นฉันนั้น หรือว่าความพิเศษในธรรมเครื่องทำลาย กระจัดกระจาย และกำจัดโดยส่วนเดียว อันเป็นมหาภูตรูปภายในและภายนอกเป็นอย่างไร. แต่ข้อนี้เป็นความหลงและความซบเซาอย่างเดียว. คือการยึดถือว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา. เพราะฉะนั้น ผู้ไม่คำนึงในมือ เท้า นัยน์ตา เป็นต้น และในเนื้อเป็นต้น แม้ในภายในดุจภายนอก พึงมีใจสละว่า ผู้มีความต้องการสิ่งนั้นๆ จงนำไปเถิด.

อนึ่ง เมื่อมหาบุรุษสำเหนียกอย่างนี้ ประกอบความเพียรเพื่อตรัสรู้

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 600

ไม่คำนึงในกายและชีวิต กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นอันบริสุทธิ์ด้วยดีโดยไม่ยากเลย. มหาบุรุษนั้นมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ด้วยดี มีอาชีพบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในการปฏิบัติเพื่อรู้ เป็นผู้สามารถเพื่ออนุเคราะห์สรรพสัตว์ ด้วยการถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้ฉลาดในความเสื่อมและฉลาดในอุบาย ด้วยการบริจาคไทยธรรมโดยประมาณยิ่ง และด้วยการให้อภัย ให้พระสัทธรรม นี้เป็นนัยแห่งการพิจารณาในทานบารมีด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พิจารณาในศีลบารมีอย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นน้ำล้างมลทิน คือโทสะอันไม่อาจชำระได้ด้วยน้ำในแม่น้ำคงคาเป็นต้น. เป็นการกำจัดอันตราย มีราคะเป็นต้น อันไม่สามารถกำจัดได้ด้วยจันทน์เหลืองเป็นต้น. เป็นเครื่องประดับอย่างวิเศษของคนดีทั้งหลาย ไม่ทั่วไปด้วยเครื่องประดับของชนเป็นอันมาก มีสร้อยคอ มงกุฏและต่างหูเป็นต้น. มีกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ และเหมาะสมทุกกาล. มีอำนาจอย่างยิ่ง เพราะนำมาซึ่งคุณอันกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น และเทวดาทั้งหลายควรไหว้. เป็นแถวบันใดก้าวขึ้นสู่เทวโลก มีสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น. เป็นอุบายบรรลุฌานและอภิญญา. เป็นทางให้ถึงมหานครคือนิพพาน. เป็นภูมิประดิษฐานสาวกโพธิ ปัจเจกโพธิ และสัมมาสัมโพธิญาณ. อีกอย่างหนึ่ง ศีลย่อมอยู่บนแก้วสารพัดนึกและต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้น เพราะเป็นอุบายให้สิ่งที่ปรารถนาต้องการสำเร็จ.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลย่อมสำเร็จเพราะผู้มีศีลเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยความตั้งใจแน่วแน่. แม้ข้ออื่นก็ตรัสไว้

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 601

มีอาทิว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงหวังว่าเราพึงเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุพึงเป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายนั้นแล. อนึ่ง ดูก่อนอานนท์ ศีลเป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นประโยชน์. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ อย่างเหล่านี้ ของผู้มีศีล พึงพิจารณาคุณของศีลด้วยสามารถแห่งสูตร มีศีลสัมปทาสูตร เป็นต้น. พึงพิจารณาโทษในการปราศจากศีล ด้วยสามารถแห่งสูตร มีอัคคิขันโธปมสูตรเป็นต้น พึงพิจารณาศีลโดยเป็นนิมิตแห่งปีติและโสมนัส โดยความไม่มีการติเตียนตน กล่าวโทษผู้อื่น และภัยจากอาชญาและทุคติ โดยความเป็นสิ่งอันวิญญูชนสรรเสริญ โดยเป็นเหตุแห่งความไม่เดือดร้อน โดยเป็นที่ตั้งแห่งความสวัสดี และโดยเป็นสิ่งยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง กว่าการถึงพร้อมด้วยชนยิ่งใหญ่ สมบัติ อธิปไตย อายุ รูป ฐานะ พวกพ้อง มิตร จริงอยู่ ปีติและโสมนัสใหญ่ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีล เพราะเหตุแห่งศีลสัมปทาของตนว่า เราได้ทำกุศลแล้ว. เราได้ทำความดีแล้ว. เราได้ทำการป้องกันความกลัวแล้ว.

อนึ่ง ผู้มีศีลย่อมไม่ติเตียนตน. วิญญูชนไม่กล่าวโทษผู้อื่น. ภัยเพราะอาชญาและทุคติย่อมไม่มีเกิด วิญญูชนทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นบุคคลผู้มีศีล มีธรรมงาม. อนึ่ง ความเดือดร้อนใดย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลว่า เราได้ทำความชั่วแล้วหนอ. เราได้ทำกรรมหยาบช้าทารุณแล้ว. ความเดือดร้อนนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศีล. อนึ่ง ธรรมดาศีลนี้ชื่อว่าเป็นฐานแห่งความสวัสดี เพราะตั้งใจในความไม่ประมาท เพราะยังประโยชน์ใหญ่ให้สำเร็จ ด้วยหลักการคุ้มครอง

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 602

มีความพินาศแห่งโภคะเป็นต้น และเพราะความเป็นมงคล. คนมีศีลแม้มีชาติตระกูลต่ำก็เป็นปูชนียบุคคลของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น เพราะเหตุนั้นศีลสัมปทาจึงอยู่กับกุลสมบัติ. มหาบพิตร พระองค์สำคัญข้อนั้นเป็นไฉน. ในบทนี้ คำมีอาทิว่า ทาสกรรมกรพึงเป็นตัวอย่างแก่มหาบพิตรเป็นอย่างดีในเรื่องนี้. ศีลย่อมอยู่กับทรัพย์ภายนอก เพราะไม่ทั่วไปด้วยโจรเป็นต้น เพราะอนุเคราะห์โลกอื่น เพราะมีผลมากและเพราะอธิษฐานคุณมีสมถะเป็นต้น. ศีลย่อมอยู่กับความเป็นอิสระของกษัตริย์เป็นต้น เพราะตั้งมั่นความอิสระทางใจเป็นอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ศีลนิมิตเป็นอิสระของสัตว์ทั้งหลายในหมู่สัตว์นั้นๆ. เพราะกล่าวได้ว่า ชีวิตที่มีศีลแม้วันเดียวก็ประเสริฐกว่าชีวิตยั่งยืนยาวประมาณ ๑๐๐ ปี และเมื่อยังมีชีวิต ศีลก็ประเสริฐกว่าชีวิต เพราะกล่าวได้ว่า ร่างกายเมื่อตายไปก็ฝัง. ศีลย่อมอยู่กับรูปสมบัติ เพราะนำความพอใจมาแม้แก่ศัตรู และเพราะความชรา โรคและวิบัติครอบงำไม่ได้. ศีลย่อมอยู่กับความวิเศษของสถานที่มีปราสาทและเรือนแถวเป็นต้น เพราะตั้งใจความวิเศษอันเป็นสุข. ในบทนี้คำมีอาทิว่า มารดาบิดาไม่พึงทำอะไรได้ ยกเป็นตัวอย่าง เพราะศีลให้สำเร็จประโยชน์โดยส่วนเดียว และเพราะอนุเคราะห์โลกอื่น. อนึ่ง ศีลเท่านั้นประเสริฐกว่ากองทัพช้าง ม้า รถ และทหารราบ และกว่าการประกอบความสวัสดีด้วยมนต์และยาวิเศษ โดยการรักษาตนที่รักษาได้ยาก เพราะอาศัยตนไม่อาศัยผู้อื่น และเพราะวิสัยยิ่งใหญ่. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 603

ธมฺมจารึ ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. เมื่อมหาบุรุษพิจารณาอยู่ว่า ศีลประกอบด้วยคุณมากมายอย่างนี้ ศีลสัมปทาที่ยังไม่บริบูรณ์ ย่อมถึงความบริบูรณ์ ที่ยังไม่บริสุทธิ์ ย่อมถึงความบริสุทธิ์.

ก็หากว่าธรรมทั้งหลายมีโทสะเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อศีล พึงเกิดขึ้นแก่มหาบุรุษนั้นในระหว่างๆ ด้วยสะสมมานาน. อันผู้ปฏิญญาเป็นพระโพธิสัตว์นั้น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ท่านตั้งใจแน่วแน่เพื่อตรัสรู้มิใช่หรือ. แม้สมบัติเป็นโลกิยะ ท่านก็ยังไม่สามารถจะถึงได้ด้วยความไม่ปกติของศีล. ไม่ต้องพูดถึงสมบัติเป็นโลกุตระเลย. ศีลเป็นการอธิษฐานเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณอันเลิศกว่าสมบัติทั้งปวง ควรให้ถึงความอุกฤษฏ์อย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นท่านผู้รักษาศีลโดยชอบตามนัยดังกล่าวแล้ว อาทิว่า กิกีว อณฺฑํ ดุจนกต้อยตีวิดรักษาไข่ ฉะนั้นควรเป็นผู้มีศีลเป็นที่รักด้วยดียิ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านควรทำการหยั่งลงและความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย ในยาน ๓ ด้วยการแสดงธรรม. ไม่ควรปรารถนาถ้อยคำของผู้มีศีลผิดปกติ. ดุจการเยียวยาของหมอผู้ตรวจดูอาหารผิดสำแดง. เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ตามสภาพว่า เราเป็นผู้มีศรัทธาพึงทำการหยั่งลงและความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายได้อย่างไร. ความเป็นผู้สามารถในการทำอุปการะแก่สัตว์ทั้งหลายและการบำเพ็ญบารมีมีปัญญาบารมีเป็นต้นของเรา ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีฌานเป็นต้นโดยแท้. อนึ่ง คุณทั้งหลายมีฌานเป็นต้น เว้นความ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 604

บริสุทธิ์แห่งศีลย่อมมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น จึงควรยังศีลให้บริสุทธิ์โดยชอบทีเดียว.

อนึ่ง พึงทราบการพิจารณาในการครองเรือน โดยนัยมีอาทิว่า การครองเรือนคับแคบ เป็นทางแห่งธุลี. ในกามทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายอุปมาด้วยโครงกระดูก และโดยนัยมีอาทิว่า แม้มารดาก็ทะเลาะกับบุตร. เบื้องต้นเห็นโทษในกามฉันทะเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า เหมือนอย่างบุรุษกู้หนี้ไปประกอบการงาน. ในเนกขัมมบารมีด้วยการพิจารณาอานิสงส์ในบรรพชาเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า. บรรพชาเป็นอัพโภกาส คือโอกาสดียิ่งโดยปริยายดังกล่าวแล้ว. นี้เป็นสังเขปในที่นี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบในทุกขักขันธสูตรและอาสีวิโสปมสูตรเป็นต้น.

อนึ่ง พึงมนสิการถึงปัญญาคุณว่า ธรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้น เว้นจากปัญญาย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้. ย่อมไม่มีความสามารถขวนขวายตามที่เป็นของตนได้. เหมือนอย่างสรีรยนต์เว้นชีวิตก็ย่อมไม่งาม. อนึ่งย่อมไม่สามารถปฏิบัติในกิริยาทั้งหลายของตนได้. และอินทรีย์ทั้งหลายมีจักขุเป็นต้น เว้นวิญญาณเสียแล้วก็ไม่พอที่จะทำกิจในวิสัยของตนได้. อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธาเป็นต้น ก็อย่างนั้นเว้นปัญญาเสียแล้ว ก็ไม่สามารถในการปฏิบัติกิจของตนได้ เพราะเหตุนั้นปัญญาจึงเป็นใหญ่ในการปฏิบัติมีการบริจาค เป็นต้น. จริงอยู่พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาจักษุอันลืมแล้ว ให้แม้

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 605

อวัยวะน้อยใหญ่ของตน เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. เป็นผู้เกิดโสมนัสแม้ใน ๓ กาล ปราศจากการกำหนดดุจต้นไม้ที่เป็นยา. จริงอยู่การบริจาคโดยประกอบด้วยความฉลาดในอุบายด้วยปัญญา ย่อมเข้าถึงความเป็นทานบารมี เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น. เพราะว่าทานเป็นเช่นกับกำไรอันเป็นประโยชน์ของตน.

อนึ่ง ความบริสุทธิ์แห่งศีล โดยไม่ปราศจากความเศร้าหมองมีตัณหา เป็นต้น ย่อมเกิดไม่ได้เพราะไม่มีปัญญา. การอธิษฐานคุณแห่งความเป็นพระสัพพัญญูจักมีได้แต่ไหน. ผู้มีปัญญาเท่านั้นพิจารณาเห็นโทษในการครองเรือน ในกามคุณและในสงสาร และอานิสงส์ในการบรรพชา ในฌาน สมาบัติ และในนิพพานด้วยดี ครั้นบวชแล้วยังฌานสมาบัติให้เกิดมุ่งหน้าต่อนิพพาน และยังคนอื่นให้ตั้งอยู่ในฌานสมาบัตินั้น. ไม่ยังความเพียรปราศจากปัญญาเพียงตั้งความปรารถนาไว้ให้สำเร็จได้เพราะเริ่มไม่ดี. การไม่เริ่มยังประเสริฐกว่าการเริ่มไม่ดี. การบรรลุยากอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเพียรประกอบด้วยปัญญา ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติโดยอุบาย. อนึ่ง ผู้มีปัญญาเท่านั้นเป็นผู้มีความอดกลั้นต่อความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น. ผู้มีปัญญาทรามไม่เป็นผู้อดกลั้น. ความเสียหายที่ผู้อื่นนำไปให้แก่ผู้ปราศจากปัญญา ย่อมเพิ่มพูนความเป็นปฏิปักษ์ของความอดทน. แต่ความเสียหายเหล่านั้นของผู้มีปัญญาย่อมเป็นไปเพื่อความมั่นคงแห่งขันตินั้น ด้วยเพิ่มพูน

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 606

ความสมบูรณ์แห่งขันติ. ผู้มีปัญญาเท่านั้นรู้สัจจะ ๓ อย่าง เหตุแห่งสัจจะเหล่านั้น และปฏิปักษ์ตามความเป็นจริง เป็นผู้ไม่กล่าวผิดแก่ผู้อื่น.

อนึ่ง ผู้อุปถัมภ์ตนด้วยกำลังปัญญาเป็นผู้ตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวในบารมีทั้งปวงด้วยการถึงพร้อมด้วยปัญญา. ผู้มีปัญญาเท่านั้นไม่ทำการแบ่งแยกคนที่รัก คนกลางและคนที่เป็นศัตรู เป็นผู้ฉลาดในการนำประโยชน์เข้าไปในที่ทั้งปวง. อนึ่ง เป็นผู้มีความเป็นกลางเพราะไม่มีความผิดปกติในการประสบโลกธรรมมีลาภ เสื่อมลาภเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัญญา. ปัญญาเท่านั้นเป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ของบารมีทั้งปวงด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นควรพิจารณาคุณของปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง เว้นปัญญาเสียแล้วทัศนสมบัติย่อมมีไม่ได้. เว้นทิฏฐิสัมปทาโดยระหว่างศีลสัมปทาก็มีไม่ได้. ผู้ปราศจากศีลสัมปทาและทิฏฐิสัมปทา สมาธิสัมปทาก็มีไม่ได้. อนึ่งผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่สามารถแม้เพียงประโยชน์ตนให้สำเร็จได้. ไม่ต้องพูดถึงประโยชน์ผู้อื่นอันถึงขั้นอุกฤษฏ์กันละ เพราะเหตุนั้นพระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ควรสอนตนว่า ท่านควรทำความเพียรในความเจริญด้วยปัญญาโดยเคารพมิใช่หรือ. จริงอยู่ พระมหาสัตว์ตั้งมั่นในอธิษฐานธรรม ๔ ด้วยบุญญานุภาพอนุเคราะห์โลกด้วยสังคหวัตถุ ๔ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้หยั่งลงใน มรรคอันเป็นการออกไป. และยังอินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้นให้เจริญงอกงาม.

อนึ่ง พึงกำหนดคุณของปัญญามีอาการไม่น้อย โดยนัยมีอาทิว่า ผู้มากด้วยการค้นคว้าในขันธ์ อายตนะเป็นต้น ด้วยกำลังปัญญากำหนดรู้ความเป็น

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 607

ไปและการกลับตามความเป็นจริง แนะนำคุณมีทานเป็นต้น อันเป็นส่วนแห่ง ความรู้อย่างวิเศษ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในการศึกษาของพระโพธิสัตว์ แล้วพึงพอกพูนปัญญาบารมี.

อนึ่ง กรรมอันเป็นโลกิยะแม้ปรากฏอยู่ก็ไม่สามารถบรรลุได้ด้วย ความเพียรชั้นต่ำ. ผู้ปรารภความเพียรไม่คำนึงถึงความลำบากจะบรรลุได้ไม่ยากเลย. จริงอยู่ผู้มีความเพียรต่ำไม่สามารถจะปรารภว่า เราจักยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงใหญ่คือสงสาร. ผู้มีความเพียรปานกลางปรารภแล้ว ย่อมถึงที่สุดในระหว่าง. ส่วนผู้มีความเพียรอุกฤษฏ์ไม่เพ่งถึงความสุขของสัตว์ ย่อมบรรลุบารมีที่ปรารภไว้ เพราะเหตุนั้น พึงพิจารณาถึงวิริยสมบัติ อีกอย่างหนึ่งพึงพิจารณาถึงคุณของความเพียรโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า การปรารภเพื่อถอนจากเปือกตมคือสงสารของตนของบุคคลใด การถึงที่สุดแห่งความปรารถนาในความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อน แม้ของบุคคลนั้นไม่สามารถให้เกิดขึ้นได้. ไม่ต้องพูดถึงการสร้างอภินิหารเพื่อถอนโลกพร้อมกับเทวโลกกันละ เพราะหมู่แห่งกิเลสเป็นเครื่องประทุษร้ายมีราคะเป็นต้น ห้ามได้ยากดุจคชสารตกมัน เพราะการสมาทานกรรมอันมีกิเลสเป็นเครื่องประทุษร้ายนั้นเป็นเหตุ เช่นกับเพชฌฆาตเงื้อดาบเพราะทุคติอันเป็นนิมิตแห่งกรรมนั้นเปิดอยู่ตลอดกาล เพราะมิตรชั่วชักชวนในกรรมนั้น ได้เตรียมไว้แล้วทุกเมื่อ และเพราะทำตามโอวาทของมิตรชั่วนั้น. ในความมีสติของ ความเป็นปุถุชนคนพาล จึงควรออกจากสังสารทุกข์เองได้ เพราะเหตุนั้น

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 608

มิจฉาวิตกย่อมอยู่ไกลด้วยอานุภาพของความเพียร และหากว่าสามารถบรรลุสัมโพธิญาณได้ด้วยความเพียรอาศัยตน. อะไรเล่าจะทำได้ยากในข้อนี้.

อนึ่ง ชื่อว่าขันตินี้เป็นอาวุธไม่เบียดเบียนคนดีในเพราะสมบูรณ์ ด้วยคุณสมบัติ เพราะกำจัดความโกรธอันเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมไม่มีส่วนเหลือ เป็นเครื่องประดับของผู้สามารถครอบงำผู้อื่นได้. เป็นพลสัมปทาของสมณพราหมณ์. เป็นสายน้ำกำจัดไฟคือความโกรธ. เป็นเครื่องชี้ถึงความเกิดแห่งกิตติศัพท์อันดีงาม. เป็นมนต์และยาวิเศษระงับพิษคำพูดของคนชั่ว. เป็นปกติของผู้มีปัญญายอดเยี่ยมของผู้ตั้งอยู่ในสังวร. เป็นสาครเพราะอาศัยความลึกซึ้ง. เป็นฝั่งของมหาสาครคือโทสะ. เป็นบานประตูปิดประตูอบาย. เป็นบันไดขึ้นสู่เทวโลกและพรหมโลก. เป็นภูมิที่อยู่ของคุณทั้งปวง. เป็นความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจอย่างสูงสุด. พึงมนสิการด้วยประการ ฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เดือดร้อนในโลกนี้ เพราะไม่มี ขันติสมบัติ. และเพราะประกอบธรรมอันทำให้เดือดร้อนในโลกหน้า. หากว่าทุกข์มีความเสียหายของผู้อื่นเป็นนิมิตเกิดขึ้น. อัตภาพอันเป็นเขตของทุกข์นั้น และกรรมอันเป็นพืชของทุกข์นั้นอันเราปรุงแต่งแล้ว. นั่นเป็นเหตุแห่งความเป็นหนี้ของทุกข์นั้น. เมื่อไม่มีผู้ทำให้เสียหาย ขันติสัมปทาของเราจะเกิดได้อย่างไร. แม้หากว่าบัดนี้ผู้นี้ไม่ทำให้เสียหาย. ผู้นั้นก็ได้ทำอุป

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 609

การะแก่เรามาก่อน. อีกอย่างหนึ่งผู้ไม่ทำให้เสียหายนั่นแหละเป็นผู้มีอุปการะ เพราะมีขันติเป็นนิมิต. สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ทั้งหมดเป็นเช่นบุตรของเรา. ใครจักโกรธในความผิดที่บุตรทำได้. บุตรนี้ทำผิดแก่เราโดยมิใช่เพศของปีศาจที่โกรธอันใด เราควรแนะนำบุตรผู้มิใช่เพศที่เป็นความโกรธนั้น. ทุกข์นี้เกิดแก่เราด้วยความเสียหายใด. แม้เราก็เป็นนิมิตของความเสียหายนั้น. ทำความเสียหายด้วยธรรมใดและทำในที่ใด ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดก็ดับไปในขณะนั้นเอง. บัดนี้ใครพึงทำความโกรธแก่ใคร. และใครผิดแก่ใคร เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พิจารณาดังนี้ควรเพิ่มพูนขันติสัมปทา ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง หากว่าความโกรธมีการทำความเสียหายต่อผู้อื่นเป็นนิมิต ด้วยการสะสมมาตลอดกาลของบุคคลนั้นพึงครอบงำจิตตั้งอยู่. บุคคลนั้นควรสำเหนียกว่าดังนี้ ชื่อว่าขันตินี้เป็นเหตุช่วยเหลือการปฏิบัติ เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ไม่ทำความเสียหายต่อผู้อื่น. ขันติเป็นปัจจัยแห่งศรัทธาโดยให้ทุกข์เกิดว่า ศรัทธาอาศัยทุกข์เป็นความเสียหายของเราและแห่งอนภิรติสัญญา คือกำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกท้้งปวง ความปกติของอินทรีย์นี้คือการประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์อันน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในอินทรีย์ปกตินั้น การประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์อันไม่น่าปรารถนาไม่พึงมีแก่เรา ด้วยเหตุนั้น การประกอบสม่ำเสมอในอารมณ์ไม่น่าปรารถนานั้น จะพึงมีได้ในที่นี้แต่ไหน. สัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธ มัวเมาด้วยความโกรธ มี

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 610

จิตฟุ้งซ่าน. ในสัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธนั้นจะได้อะไรด้วยการช่วยเหลือ. สัตว์เหล่านี้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุ้มครองดุจบุตรเกิดแต่อกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น เราไม่ควรทำใจโกรธในสัตว์นั้น. เมื่อผู้ทำความผิดมีคุณ เราไม่ควรทำความโกรธในผู้มีคุณ. เมื่อไม่มีคุณควรแสดงความสงสารเป็นพิเศษ. ยศอันเป็นคุณของเราย่อมเสื่อมเพราะความโกรธ. สิ่งเป็นช้าศึกทั้งหลายมีผิวพรรณเศร้าหมองและการอยู่เป็นทุกข์เป็นต้น ย่อมมาถึงเราด้วยความโกรธ. อนึ่งชื่อว่าความโกรธนี้กระทำสิ่งไม่เป็นประโยชนได้ทุก อย่าง ยังประโยชน์ทั้งปวงให้พินาศ เป็นข้าศึกมีกำลัง. เมื่อมีขันติ ข้าศึกไรๆ ก็ไม่มี. ทุกข์มีความผิดเป็นนิมิตอันผู้ทำความผิดพึงได้รับต่อไป อนึ่ง เมื่อมีขันติ เราก็ไม่มีทุกข์. ข้าศึกติดตามเราผู้คิดและโกรธ. เมื่อเราครอบงำความโกรธด้วยขันติ ข้าศึกเป็นทาสของความโกรธนั้นก็จะถูกครอบงำโดยชอบ. การสละขันติคุณอันมีความโกรธเป็นนิมิตไม่สมควรแก่เรา. เมื่อมีความโกรธอันเป็นข้าศึกทำลายคุณธรรม ธรรมมีศีลเป็นต้น จะพึงถึงความบริบูรณ์แก่เราได้ อย่างไร. เมื่อไม่มีธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เราเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่สัตว์ทั้งหลาย จักถึงสมบัติสูงสุดสมควรแก่ปฏิญญาได้อย่างไร. เมื่อมีความอดทนสังขารทั้งหลายทั้งปวงของผู้มีจิตตั้งมั่นเพราะไม่มีความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมทนต่อการเพ่งโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมทนการเพ่งโดยความเป็นอนัตตา และนิพพานย่อมทนต่อการเพ่งโดยความเป็นอสังขตะ อมตะ สันตะ และปณีตะเป็นต้น และพุทธธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏโดยเป็นอจินไตยและหาประมาณมิได้. ด้วย ประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 611

อนึ่ง แต่นั้นพึงทราบการพิจารณาขันติบารมีโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้ตั้งอยู่ในขันติอันเหมาะสมย่อมควรแก่การเพ่ง เพราะเป็นผู้ไม่ตั้งมั่นอยู่ในอหังการมมังการว่า ความเป็นสิ่งธรรมดาเว้นจากการถือตัวถือตนเหล่านี้อย่างเดียว ย่อมเกิด ย่อมเสื่อม ด้วยปัจจัยทั้งหลายของตน. ย่อมไม่มาแต่ที่ไหนๆ. ย่อมไม่ไปในที่ไหนๆ. ทั้งไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ. ทั้งไม่มีความขวนขวายไรๆ ของใครๆ ในที่นี้ ดังนี้. พระโพธิสัตว์เป็นผู้เที่ยงต่อโพธิญาณ เป็นผู้ไม่กลับมาเป็นธรรมดา ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาความถึงพร้อมแห่งสัจจบารมี โดยนัยมีอาทิว่า เพราะเว้นสัจจะเสียแล้ว ศีลเป็นต้นก็มีไม่ได้. เพราะไม่มีการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิญญา. เพราะรวมธรรมลามกทั้งปวง ในเพราะก้าวล่วงสัจจธรรม. เพราะผู้ไม่มีสัจจะเป็นคนเชื่อถือไม่ได้. เพราะนำถ้อยคำที่ไม่ควรยึดถือต่อไปมาพูด. เพราะผู้มีสัจจะสมบูรณ์เป็นผู้ตั้งมั่นในคุณธรรมทั้งปวง. เพราะเป็นผู้สามารถบำเพ็ญโพธิสมภารทั้งปวงให้บริสุทธิ์ได้. เพราะกระทำกิจแห่งโพธิสมภารทั้งปวง ด้วยไม่ให้ผิดสภาวธรรม และเพราะสำเร็จในการปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาคุณในอธิษฐานโดยนัยมีอาทิว่า การสมาทานมั่นในทานเป็นต้น และการอธิษฐานไม่หวั่นไหวของคุณเหล่านั้น ในเพราะการประชุมธรรมเป็นปฏิปักษ์ต่อการสมาทานมั่นนั้น การสะสมบารมีมีทาน

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 612

บารมีเป็นต้น อันมีสัมโพธิญาณเป็นนิมิต เว้นความเป็นผู้มีปัญญาและความกล้าในอธิษฐานนั้นเสีย ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.

อนึ่ง พึงพิจารณาคุณของเมตตา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อันผู้ตั้งลงในคุณเพียงประโยชน์ตน เว้นความเป็นผู้มีจิตมุ่งประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย ไม่สามารถบรรลุสมบัติในโลกนี้และในโลกหน้าได้. ไม่ต้องพูดถึงผู้ใคร่ยังสรรพสัตว์ให้ตั้งอยู่ในนิพพานสมบัติกันละ. บัดนี้ หวังโลกิยสมบัติก็ควรแล้ว ภายหลังจึงค่อยหวังโลกุตรสมบัติแก่สรรพสัตว์. บัดนี้ เราไม่สามารถทำการนำเข้าไปซึ่งประโยชน์สุขแก่สัตว์เหล่าอื่นด้วยคุณเพียงอัธยาศัยได้ เมื่อไรจึงจักให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความเพียรเล่า. บัดนี้ เราให้เจริญด้วยการนำประโยชน์สุขเข้าไปให้ ภายหลังสหายผู้จำแนกธรรมจักมีแก่เรา. เพราะฉะนั้น พึงเข้าไปตั้งความเป็นผู้มีอัธยาศัยบำเพ็ญประโยชน์ในสรรพสัตว์พร้อมกับความวิเศษว่า สัตว์เหล่านี้เป็นบุญเขตอย่างยิ่ง เป็นบ่อเกิดแห่งกุศลอย่างเยี่ยม เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพอย่างสูงของเรา เพราะเป็นเหตุให้สำเร็จความเจริญด้วยพุทธคุณทั้งปวง. พึงเพิ่มพูนเมตตาในสรรพสัตว์ แม้โดยความอธิษฐานกรุณาอย่างแท้จริง ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกำจัดสิ่งไม่มีประโยชน์และทุกข์ของสัตว์เหล่านั้นมีกำลัง มีรากมั่นคง ย่อมเกิดแก่ผู้ยินดีนำประโยชน์สุขเข้าไปให้ในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยใจที่ไม่มีขอบเขต. อนึ่ง กรุณาเป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหลัก เป็นมูล เป็นหน้า เป็นประมุขของพุทธการกธรรมทั้งหลายทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 613

อนึ่ง พึงพิจารณาอุเบกขาบารมี โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเสียหายที่สัตว์ทั้งหลายทำเพราะไม่มีอุเบกขา พึงให้เกิดความพิการทางจิต เมื่อจิตพิการก็ไม่มีการสะสมบารมีมีทานบารมีเป็นต้น. เมื่อจิตยังผูกพันอยู่ด้วยเมตตา เว้นอุเบกขาเสียแล้ว การสะสมบารมีก็มีไม่ได้. ผู้ไม่มีอุเบกขา ไม่สามารถจะน้อมบุญสมภารและประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นผลของบุญสมภารนั้นเข้าไปในการสะสมทั้งหลายได้. เพราะไม่มีอุเบกขา ไม่ทำการจำแนกไทยธรรมและปฏิคาหก แล้วไม่สามารถบริจาคได้. อันผู้ปราศจากอุเบกขา ไม่มนสิการถึงอันตรายแห่งปัจจัยเป็นเครื่องนำมาซึ่งชีวิตและชีวิต แล้วไม่ สามารถทำศีลให้บริสุทธิ์ได้.

อนึ่ง ความสำเร็จแห่งการตั้งใจสมาทานโพธิสมภารทั้งปวงให้บริบูรณ์ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งอุเบกขา คือ โดยครอบงำความไม่ยินดีและความยินดี สำเร็จด้วยกำลังแห่งเนกขัมมะ ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา โดยเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการพิจารณา โดยสำเร็จกิจแห่งการสะสมบารมีทั้งปวง โดยไม่ทำกิจการใหญ่ๆ ในเพราะไม่เพ่งถึงความเพียรที่เริ่มไว้มากแล้ว โดยความวางเฉย โดยมีความเพ่งถึงความอดกลั้นโดยไม่พูดผิดต่อสัตว์สังขาร ด้วยอำนาจแห่งอุเบกขา โดยความสำเร็จความตั้งใจอันไม่หวั่นไหวในธรรมที่สมาทานแล้ว ด้วยความวางเฉยต่อโลกธรรม โดยความสำเร็จแห่งเมตตาวิหารธรรม ด้วยการไม่ผูกใจในความเสียหายของผู้อื่นเป็นต้น. การพิจารณา

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 614

โทษและอานิสงส์ ตามลำดับ ในการไม่บริจาคและการบริจาคเป็นต้น อย่างนี้ พึงเห็นว่า เป็นปัจจัยแห่งบารมีมีทานบารมีเป็นต้น.

อนึ่ง พึงทราบจรณธรรม ๑๕ และอภิญญา ๕ พร้อมด้วยธรรมเป็นบริวาร ดังต่อไปนี้. ศีลสังวร ๑ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความรู้จักประมาณในการบริโภค ๑ การประกอบความเพียรเนืองๆ ๑ สัทธรรม ๗ และฌาน ๔ ชื่อว่า จรณธรรม. ในจรณธรรมเหล่านั้น ธุดงค์ ๑๓ และความมักน้อยเป็นต้น เป็นบริวารของธรรม ๔ มีศีลเป็นต้น. ในสัทธรรมทั้งหลาย ความที่จิตน้อมไปในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศีล จาคะ การระลึกถึงเทวดา การเว้นบุคคลเศร้าหมอง การคบหาบุคคลผู้สนิท การพิจารณาธรรมอันน่าเลื่อมใส เป็นบริวารของศรัทธา. ความที่จิตน้อมไปในการพิจารณาโทษของอกุศล ของอบาย การพิจารณาความอุปถัมภ์ของกุศลธรรม การเว้นบุคคลที่ปราศจากหิริโอตตัปปะ การคบบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ เป็นบริวารของหิริโอตตัปปะ. ความเป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ด้วยการสะสมมีการสอบถาม การประกอบความเพียรในเบื้องต้น การตั้งอยู่ในพระสัทธรรม และดำรงอยู่ในวิชาอันไม่มีโทษ ความที่จิตน้อมไปในการเว้นการฟังน้อยถึงความไกลจากกิเลส และเสพการฟังมาก เป็นบริวารของพาหุสัจจะ ความที่จิตน้อมไปในการพิจารณาเห็นภัยในอบาย พิจารณาเห็นทางดำเนิน พิจารณาถึงการบูชาธรรม พิจารณาถึงการบรรเทาถีนมิทธะ การเว้นบุคคลเกียจคร้าน การคบบุคคลปรารภความเพียรและความเพียร

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 615

ชอบ เป็นบริวารของวีริยะ. ความที่จิตน้อมไปในการเว้นบุคคลผู้ขาดสติสัมปชัญญะ หลงๆ ลืมๆ และคบบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นบริวารของสติ. ความที่จิตน้อมไปในสติให้ถึงความบริบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ทำความเฉียบแหลมในเรื่องที่สอบถาม เว้นบุคคลปัญญาทราม คบบุคคลมีปัญญา และพิจารณาถึงข้อควรประพฤติอันเป็นญาณลึกซึ้ง เป็นบริวารของปัญญา. หมวด ๔ แห่งคุณมีศีลเป็นต้น, บุพภาคภาวนาในอารมณ์ ๓๘, และการกระทำวสี มีอาวัชชนวสีเป็นต้น เป็นบริวารของฌาณทั้ง ๔. พึงเจาะจงกล่าวตามสมควรถึงความที่จรณะเป็นต้น เป็นปัจจัยแห่งการสะสมบารมีมีทานบารมีเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า เป็นผู้สามารถในการให้อภัยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความบริสุทธิ์แห่งการประกอบด้วยศีลเป็นต้น ในการให้อามิส ด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ในการให้ธรรมด้วยความบริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง. เราจะไม่เจาะจงกล่าวเพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไป. แม้สมบัติจักรเป็นต้น ก็พึงทราบว่า เป็นปัจจัยแห่งทานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

อะไรเป็นความเศร้าหมอง. ความลูบคลำด้วยตัณหาเป็นต้น เป็นความเศร้าหมองแห่งบารมีทั้งหลายโดยไม่ต่างกัน. แต่โดยความต่างกัน เป็นความเศร้าหมองแห่งทานบารมี เพราะกำหนดไทยธรรมและปฏิคาหก. เป็นความเศร้าหมองแห่งศีลบารมี เพราะกำหนดบุคคลและกาลเวลา. เป็นความเศร้าหมองแห่งเนกขัมมบารมี เพราะกำหนดความยินดีและความไม่

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 616

ยินดีในการเข้าไประงับกิเลสนั้นในกามภพ. เป็นความเศร้าหมองแห่งปัญญาบารมี เพราะกำหนดว่า เรา ของเรา ดังนี้. เป็นความเศร้าหมองแห่งวีริยบารมี เพราะกำหนดด้วยความหดหู่และความฟุ้งซ่าน. เป็นความเศร้าหมองแห่งขันติบารมี เพราะกำหนดตนและผู้อื่น. เป็นความเศร้าหมองแห่งสัจจบารมี เพราะกำหนดด้วยมีการเห็นในสิ่งที่ไม่ได้เห็นเป็นต้น. เป็นความเศร้าหมองของอธิษฐานบารมี เพราะกำหนดด้วยโทษและคุณในโพธิสมภารและฝ่ายตรงข้ามกับโพธิสมภาร. เป็นความเศร้าหมองของเมตตาบารมี เพราะกำหนดด้วยประโยชน์และมิใช่ประโยชน์. เป็นความเศร้าหมองของอุเบกขาบารมี เพราะกำหนดด้วยสิ่งน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา พึงเห็นด้วยประการฉะนี้แล.

อะไรเป็นความผ่องแผ้ว. พึงทราบว่า การไม่เข้าไปอาฆาตด้วยตัณหา เป็นต้น การปราศจากความกำหนดตามที่กล่าวแล้ว เป็นความผ่องแผ้วของบารมีเหล่านั้น. เพราะบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ปราศจากการกำหนดไทยธรรมและปฏิคาหกเป็นต้น อันกิเลสทั้งหลายมีตัณหา มานะ ทิฏฐิ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มทะ ปมาทะ เป็นต้น ใช่จะเข้าไปกระทบ ย่อมเป็นบารมีบริสุทธิ์ผุดผ่อง.

อะไรเป็นปฏิปักษ์? ความเศร้าหมองแม้ทั้งหมด อกุศลธรรมแม้ทั้งหมดเป็นปฏิปักษ์ของบารมีเหล่านั้น โดยไม่ต่างกัน. แต่โดยความต่างกัน พึงทราบว่า ความตระหนี่เป็นต้น ที่กล่าวแล้วในตอนก่อนเป็น

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 617

ปฏิปักษ์ของบารมีเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ทานเป็นปฏิปักษ์แก่โลภะ โทสะ และโมหะ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในไทยธรรม, ปฏิคาหกและผลของทานทั้งหลาย. ศีลเป็นปฏิปักษ์แก่โลภะ เป็นต้น เพราะปราศจากความคดคือโทสะมีกายเป็นต้น. เนกขัมมะเป็นปฏิปักษ์แก่หมวด ๓ แห่งโทสะ เพราะเว้นจากกามสุข การเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น และการทำตนให้ลำบาก. ปัญญาเป็นปฏิปักษ์ของโลภะ เป็นต้น เพราะทำความมืดมนแก่โลภะเป็นต้น และเพราะทำความไม่มืดมนแก่ญาณ. วีริยะเป็นปฏิปักษ์แก่โลภเป็นต้น ด้วยไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน และปรารภเพื่อความรู้. ขันติเป็นปฏิปักษ์แก่โลภเป็นต้น เพราะอดทนต่อความสูญของสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งไม่น่าปรารถนา. สัจจะเป็นปฏิปักษ์แก่โลภเป็นต้น เพราะเป็นไปตามความเป็นจริง เมื่อผู้อื่นทำอุปการะและทำความเสียหาย. อธิษฐานะเป็นปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะครอบงำโลกธรรม แล้วไม่หวั่นไหวในการสั่งสมบารมีตามที่สมาทานแล้ว. เมตตาเป็นปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะสงบจากนิวรณ์. อุเบกขาเป็นปฏิปักษ์แก่ความโลภเป็นต้น เพราะกำจัดความคล้อยตามและความคับแค้นในสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา และเพราะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ พึงเห็นด้วยประการฉะนี้.

อะไรเป็นข้อปฏิบัติ? การทำความอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนมาก ด้วยการสละเครื่องอุปกรณ์ความสุข ร่างกายและชีวิตด้วยการกำจัดภัย และ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 618

การชี้แจงธรรมเป็นข้อปฏิบัติของทานบารมี. ในทานบารมีนั้นมีทาน ๓ อย่าง โดยเป็นวัตถุที่ควรให้ คือ อามิสทาน ๑ อภัยทาน ๑ ธรรมทาน ๑. ในทานเหล่านั้น วัตถุที่พระโพธิสัตว์ควรให้มี ๒ อย่าง คือ วัตถุภายใน ๑ วัตถุภายนอก ๑. ใน ๒ อย่างนั้น วัตถุภายนอกมี ๑๐ อย่าง คือ ข้าว ๑ น้ำ ๑ ผ้า ๑ ยาน ๑ ดอกไม้ ๑ ของหอม ๑ เครื่องลูบไล้ ๑ ที่นอน ๑ ที่อาศัย ๑ ประทีป ๑. บรรดาวัตถุมีข้าวเป็นต้น มีวัตถุหลายอย่าง โดยจำแนกของควรเคี้ยวและของควรบริโภคเป็นต้น. อนึ่ง วัตถุ ๖ อย่าง คือ รูปารมณ์จนถึงธรรมารมณ์. อนึ่ง บรรดาวัตถุมีรูปารมณ์เป็นต้น วัตถุหลายอย่าง โดยการจำแนกเป็นสีเขียวเป็นต้น. อนึ่ง วัตถุหลายอย่าง ด้วยเครื่องอุปกรณ์อันทำความปลาบปลื้มหลายชนิด มีแก้วมณี กนก เงิน มุกดา ประพาฬ นา ไร่ สวน ทาสหญิง ทาสชาย โค กระบือ เป็นต้น.

ในวัตถุเหล่านั้น พระมหาบุรุษเมื่อจะให้วัตถุภายนอกรู้ด้วยตนเองว่า จะให้วัตถุแก่ผู้มีความต้องการ. แม้เขาไม่ขอก็ให้. ไม่ต้องพูดถึงขอละ. มีของให้ จึงให้. ไม่มีของให้ ย่อมไม่ให้. ให้สิ่งที่ปรารถนา. เมื่อมีไทยธรรม ย่อมไม่ให้สิ่งที่ไม่ปรารถนา. อาศัยอุปการะตอบย่อมให้. เมื่อไม่มีไทยธรรม ย่อมแบ่งสิ่งที่ปรารถนาให้สมควรแก่การแจกจ่าย. อนึ่ง ไม่ให้ศัสตรา ยาพิษ และของเมาเป็นต้น อันจะนำมาซึ่งความเบียดเบียนผู้อื่น. แม้ของเล่นอันประกอบด้วยความพินาศ และนำมาซึ่งความประมาทก็ไม่ให้. อนึ่ง ไม่ให้ของไม่เป็นที่สบาย มีน้ำดื่มและของบริโภคเป็นต้น หรือของที่เว้นจากการ

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 619

กำหนดแก่ผู้ขอที่เป็นไข้. แต่ให้ของเป็นที่สบายเท่านั้นอันสมควรแก่ประมาณ.

อนึ่ง คฤหัสถ์ขอก็ให้ของสมควรแก่คฤหัสถ์. บรรพชิตขอก็ให้ของสมควรแก่บรรพชิต. ให้ไม่ให้เกิดความเบียดเบียนแก่ใครๆ ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ คือ มารดาบิดา ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ บุตรภรรยา ทาส และกรรมกร. อนึ่ง รู้ไทยธรรมดีมาก ไม่ให้ของเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้อาศัยลาภสักการะความสรรเสริญ. ไม่ให้อาศัยการตอบแทน. ไม่ให้หวังผล เว้นแต่สัมมาสัมโพธิญาณ. ไม่ให้รังเกียจผู้ขอหรือไทยธรรม. อนึ่ง ไม่ให้ทานทอดทิ้งยาจกผู้ไม่สำรวม แม้ผู้ด่าและผู้โกรธ. ที่แท้มีจิตเลื่อมใสให้ อนุเคราะห์ด้วยความเคารพอย่างเดียว. ไม่ให้เพราะเชื่อมงคลตื่นข่าว. ให้เพราะเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมเท่านั้น. ไม่ให้โดยที่ทำยาจกให้เศร้าหมอง ด้วยการให้เข้าไปนั่งใกล้เป็นต้น. ให้ไม่ทำให้ยาจกเศร้าหมอง. อนึ่ง ไม่ให้ประสงค์จะลวงหรือประสงค์จะทำลายผู้อื่น. ให้มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างเดียว. ไม่ให้ทานใช้วาจาหยาบ หน้านิ่วคิ้วขมวด. ให้พูดน่ารัก พูดก่อน พูดพอประมาณ. โลภะมีมากในไทยธรรมใด เพราะความพอใจยิ่งก็ดี เพราะสะสมมานานก็ดี เพราะความอยากตามสภาพก็ดี. พระโพธิสัตว์รู้อยู่บรรเทาไทยธรรมนั้นโดยเร็ว แล้วแสวงหายาจกให้. อนึ่ง ไทยวัตถุใดนิดหน่อย แม้ยาจกก็ปรากฏแล้ว แม้ไม่คิดถึงไทยวัตถุนั้น ก็ทำตนให้ลำบาก แล้วให้ ยาจกนับถือเหมือนอกิตติบัณฑิต ฉะนั้น. อนึ่ง มหาบุรุษ เมื่อบุตรภรรยา

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 620

ทาสกรรมกรบุรุษของตน ไม่ร้องเรียกถึงความโทมนัสขอ ย่อมไม่ให้แก่ยาจกทั้งหลาย. แต่เมื่อชนเหล่านั้นร้องเรียกถึงความโสมนัสโดยชอบ จึงให้. อนึ่ง เมื่อให้รู้อยู่ย่อมไม่ให้แก่ยักษ์ รากษส ปีศาจ เป็นต้น หรือแก่มนุษย์ผู้ทำการงานหยาบช้า. อนึ่ง แม้ราชสมบัติก็ไม่ให้แก่คนเช่นนั้น. ให้แก่ผู้ที่ไม่ปฏิบัติเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เพื่อความพินาศแก่โลก ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม คุ้มครองโลกโดยธรรม. พึงทราบการปฏิบัติในทานภายนอก ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนทานภายในพึงทราบโดยอาการ ๒ อย่าง. อย่างไร? เหมือนบุรุษคนใดคนหนึ่งสละตน เพราะเหตุอาหารและเครื่องปกปิดแก่ผู้อื่น. ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นทาสฉันใด. พระมหาบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีจิตปราศจากอามิสเพราะเหตุสัมโพธิญาณ ปรารถนาประโยชน์สุขอันยอดเยี่ยมแก่สัตว์ทั้งหลาย ประสงค์จะบำเพ็ญทานบารมีของตน จึงสละตนเพื่อคนอื่น ย่อมถึงความเป็นผู้เชื่อฟัง ความเป็นผู้ต้องทำตามความประสงค์. ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อแท้ มอบอวัยวะน้อยใหญ่มีมือเท้าและนัยน์ตาเป็นต้น ให้แก่ผู้ต้องการด้วยอวัยวะนั้นๆ. ไม่ข้องใจ ไม่ถึงความสยิ้วหน้าในการมอบให้นั้น เหมือนในวัตถุภายนอก. เป็นความจริงอย่างนั้น พระมหาบุรุษยังความปรารถนาของยาจกเหล่านั้นให้บริบูรณ์ ด้วยการบริโภคตามสบาย หรือด้วยความชำนาญของตน จึงสละวัตถุภายนอกด้วยอาการ ๒ อย่าง ด้วยหวังว่า เราให้ทานหมดสิ้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณด้วยการเสียสละอย่างนี้ ดังนี้. พึงทราบการปฏิบัติในวัตถุภายใน ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 621

ให้วัตถุภายในที่ให้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ยาจกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ใช่จะให้พวกนั้น. อนึ่ง พระมหาบุรุษเมื่อรู้ย่อมไม่ให้อัตภาพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ของตนแก่มารหรือแก่เทวดาผู้เนื่องด้วยหมู่มาร ผู้ประสงค์จะเบียดเบียน ด้วยคิดว่า ความฉิบหายอย่าได้มีแก่มารเหล่านั้น. ย่อมไม่ให้แม้แต่ตุ๊กตาแป้ง เหมือนไม่ให้แก่เทวดาผู้เนื่องด้วยหมู่มาร ฉะนั้น. ไม่ให้แม้แก่คนบ้า. แต่คนพวกนั้นขอให้ตลอดไป. เพราะการขอเช่นนั้น หาได้ยาก และเพราะการให้เช่นนั้นทำได้ยาก.

ส่วนอภัยทาน พึงทราบโดยความป้องกันจากภัยที่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย จากพระราชา โจร ไฟ น้ำ ศัตรู สัตว์ร้าย มีราชสีห์ เสือโคร่ง เป็นต้น.

ส่วนธรรมทาน ได้แก่การแสดงธรรมไม่วิปริตแก่ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง. การชี้แจงประโยชน์อันสมควร นำผู้ยังไม่เข้าถึงศาสนาให้เข้าถึง ผู้เข้าถึงแล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกและปรมัตถประโยชน์. ในการแสดงธรรมนั้น พึงทราบนัยโดยสังเขปดังนี้ก่อน คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษและความเศร้าหมองของกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม. ส่วนโดยพิสดาร พึงทราบประดิษฐานและการทำให้ผ่องแผ้วในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ด้วยสามารถการประกาศคุณของธรรมเหล่านั้น แก่ผู้มีจิตน้อมไปแล้วในสาวกโพธิญาณ คือ การเข้าถึงสรณะ การสำรวมศีล ความคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้จักประมาณ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 622

ในการบริโภค การประกอบความเพียรเนืองๆ สัทธรรม ๗ การประกอบสมถะ ด้วยการทำกรรมในอารมณ์ ๓๘ การประกอบวิปัสสนา ด้วยหัวข้อ คือการยึดมั่นตามสมควรในการยึดมั่นวิปัสสนา ในรูปกายเป็นต้น. ปฏิปทาเพื่อความหมดจดอย่างนั้น การยึดถือความถูกต้อง วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ. อนึ่ง พึงทราบการประดิษฐาน การทำให้ผ่องแผ้วในญาณทั้งสอง ด้วยการประกาศความเป็นผู้มีอานุภาพมากของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ในฐานะแม้ ๓ อย่าง โดยหัวข้อประกาศมิสภาวะ ลักษณะและรสเป็นต้น ของบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ตามสมควรแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้น้อมไปในปัจเจกโพธิญาณ และในสัมมาสัมโพธิญาณ. พระมหาบุรุษย่อมให้ธรรมทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระมหาบุรุษเมื่อให้อามิสทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมให้ทานข้าว ด้วยตั้งใจว่า เราพึงยังสมบัติมีอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณเป็นต้น และสมบัติคือผลเลิศน่ารื่นรมย์ให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยทานนี้. อนึ่ง ให้น้ำเพื่อระงับความกระหายคือกามกิเลสของสัตว์ทั้งหลาย. ให้ผ้าเพื่อให้ผิวพรรณงาม และเพื่อให้สำเร็จเครื่องประดับคือหิริโอตตัปปะ. ให้ยานเพื่อให้สำเร็จอิทธิวิธี คือการแสดงฤทธิได้ และนิพพานสุข. ให้ของหอม เพื่อให้สำเร็จความหอมคือศีล. ให้ดอกไม้และเครื่องลูบไล้เพื่อให้สำเร็จความงามด้วยพุทธคุณ. ให้อาสนะเพื่อให้สำเร็จอาสนะ ณ โพธิมณฑล. ให้ที่นอน เพื่อให้สำเร็จตถาคตไสยา คือนอนแบบพระตถาคต. ให้ที่พักเพื่อให้สำเร็จ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 623

ความเป็นสรณะ. ให้ประทีปเพื่อให้ได้ปัญจจักขุ. ให้รูปเป็นทานเพื่อให้สำเร็จรัศมีออกจากกายวาหนึ่ง. ให้เสียงเป็นทานเพื่อให้สำเร็จเสียงดุจเสียงพรหม. ให้รสเป็นทานเพื่อเป็นที่รักของโลกทั้งปวง. ให้โผฏฐัพพะเป็นทานเพื่อความเป็นพุทธสุขุมาล คือความละเอียดอ่อนของพระพุทธเจ้า. ให้เภสัชเป็นทานเพื่อความไม่แก่ไม่ตาย. ให้ความเป็นไทแก่ทาสทั้งหลายเพื่อปลดเปลื้องความเป็นทาสคือกิเลส. ให้ความยินดีในของเล่นที่ไม่มีโทษเป็นทานเพื่อความยินดีในพระสัทธรรม. ให้บุตรเป็นทานเพื่อนำสัตว์ทั้งหมดออกไปจากความเป็นบุตรของตนในชาติเป็นอริยะ. ให้ภรรยาเป็นทานเพื่อถึงความเป็นใหญ่แห่งโลกทั้งสิ้น. ให้ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วประพาฬเป็นต้น เป็นทานเพื่อความสมบูรณ์ด้วยลักษณะงาม. ให้เครื่องประดับนานาชนิดเป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งอนุพยัญชนะ. ให้คลังสมบัติเป็นทานเพื่อบรรลุพระสัทธรรม. ให้ราชสมบัติเป็นทานเพื่อความเป็นพระธรรมราชา. ให้สวน สระ ป่า เป็นทานเพื่อความสมบูรณ์แห่งฌาน เป็นต้น ให้เท้าเป็นทานเพื่อก้าวไปสู่รัศมีโพธิมณฑลด้วยเท้ามีรอยจักร. ให้มือเป็นทานเพื่อให้มือคือพระสัทธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย เพื่อถอนออกจากโอฆะ ๔. ให้หูและจมูกเป็นทานเพื่อได้อินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น. ให้จักษุเป็นทานเพื่อให้สมันตจักขุ คือจักษุโดยรอบ. ให้เนื้อและเลือดเป็นทาน ด้วยหวังว่าจะนำประโยชน์สุขมาให้แก่สรรพสัตว์ตลอดกาลทั้งปวง ในการเห็น การฟัง การระลึกถึง การบำเรอเป็นต้น. และกายของเราพึงเป็น

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 624

กายอันโลกทั้งปวงพึงเข้าไปอาศัย. ให้อวัยวะสูงที่สุดเป็นทานด้วยหวังว่า เราจะพึงเป็นผู้สูงที่สุดในโลกทั้งปวง.

อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้อย่างนี้ไม่ให้เพื่อแสวงหาผิด ไม่ให้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ให้เพราะกลัว เพราะละอาย เพราะเคืองทักขิไณยบุคคล. เมื่อมีของประณีตไม่ให้ของเศร้าหมอง. ไม่ให้ด้วยการยกตน ด้วยการข่มผู้อื่น ด้วยหวังผล ด้วยเกลียดยาจก ด้วยไม่เคารพ. ที่แท้ให้ด้วยความเคารพ. ให้ด้วยมือของตน. ให้ตามกาล. ทำความเคารพแล้วให้. ให้ด้วยไม่แบ่งออก. ให้มีใจยินดีใน ๓ กาล. ครั้นให้แล้วก็ไม่เดือดร้อนในภายหลัง. ไม่ยกย่องและดูหมิ่นปฏิคาหก. เปล่งถ้อยคำน่ารัก รู้คำพูดผู้เข้าไปขอ ให้พร้อมทั้งบริวาร. เพราะเมื่อให้ข้าวเป็นทานย่อมให้พร้อมด้วยผ้าเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำสิ่งนั้นให้เป็นบริวารแล้วให้. อนึ่ง เมื่อให้ผ้าเป็นทาน ย่อมให้พร้อมกับข้าวเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เราจักทำผ้านั้นให้เป็นบริวารแล้วให้ แม้ในการให้ยานเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง มหาบุรุษเมื่อให้รูปเป็นทานกระทำแม้อารมณ์นอกนั้น ให้เป็นบริวารของรูปนั้นแล้วให้. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. ได้รูปเป็นทานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาดอกไม้และผ้าเป็นต้น มีสีเขียว เหลือง แดงและขาว เป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิกำหนดรูปคิดว่า เราจักให้รูปเป็นทาน. รูปเป็น

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 625

ทาน เป็นของเราทำพร้อมวัตถุยังทานให้ตั้งอยู่ในทักขิไณยบุคคลเช่นนั้น. นี้ชื่อว่ารูปเป็นทาน.

พึงทราบการให้เสียงเป็นทานด้วยเสียงกลองเป็นต้น. ในการให้เสียงเป็นทานนั้นไม่สามารถให้เสียงได้ดุจถอนเง่าและรากบัว และดุจวางกำดอกบัวเขียวลงบนมือ. แต่ทำให้พร้อมกับวัตถุ แล้วให้ชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน. เพราะฉะนั้น ในกาลใดทำเองและใช้ให้ทำเพลงบูชาพระรัตนตรัยด้วยดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งมีกลองและตะโพนเป็นต้น ด้วยคิดว่าเราจักให้เสียงเป็นทาน. ตั้งไว้เองและให้ผู้อื่นตั้งกลองเป็นต้น ด้วยตั้งใจว่า เสียงเป็นทานของเรา. ให้ยาเสียงมีน้ำมันและน้ำผึ้งเป็นต้นแก่พระธรรมกถึกทั้งหลาย. ประกาศฟังธรรม. สวดสรภัญญะ. กล่าวธรรมกถา. ทำเองและให้ผู้อื่นทำ อุปนิสินนกถา คือกถาของผู้เข้าไปนั่งใกล้ และอนุโมทนากถา คือกถา อนุโมทนา. ในกาลนั้นชื่อว่าให้เสียงเป็นทาน.

อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีกลิ่นหอมน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกลิ่นหอมที่รากของต้นไม้มีกลิ่นเป็นต้น หรือกลิ่นไรๆ ที่อบแล้ว นั่งขัดสมาธิ กำหนดกลิ่นคิดว่า เราจักให้กลิ่นเป็นทาน. กลิ่นเป็นทานของเราแล้วทำเอง และให้ผู้อื่นทำการบูชาพระพุทธรัตนะเป็นต้น. มหาบุรุษบริจาควัตถุมีกลิ่น มีกฤษณาและจันทน์เป็นต้นเพื่อบูชากลิ่น. นี้ชื่อว่าให้กลิ่นเป็นทาน.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 626

อนึ่ง มหาบุรุษได้วัตถุมีรสน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่งมีรสที่รากเป็นต้น นั่งขัดสมาธิกำหนดรสคิดว่าเราจักให้รสเป็นทาน รสเป็นทานของเราแล้ว ให้แก่ทักขิไณยบุคคล. หรือสละข้าวเปลือกและโคเป็นต้นอันมีวัตถุเป็นรส. นี้ชื่อว่าให้รสเป็นทาน.

อนึ่ง ให้โผฏฐัพพะเป็นทานพึงทราบด้วยสามารถเตียงและตั่งเป็นต้น และด้วยสามารถเครื่องลาดและเครื่องคลุมเป็นต้น.

มหาบุรุษได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะไม่มีโทษน่ายินดี มีสัมผัสสบาย มีเตียงตั่งฟูกหมอนเป็นต้น หรือมีผ้านุ่งผ้าห่มเป็นต้น นั่งขัดสมาธิกำหนดโผฏฐัพพะคิดว่า เราจักให้โผฏฐัพพะเป็นทาน. โผฏฐัพพะเป็นทานของเรา แล้วให้แก่ทักขิไณยบุคคล. ได้วัตถุเป็นโผฏฐัพพะตามที่กล่าวแล้วสละ. นี้ชื่อว่าให้โผฏฐัพพะเป็นทาน.

อนึ่ง พึงทราบธรรมทานด้วยสามารถแห่งชีวิตดื่มด่ำมีโอชะ เพราะประสงค์เอาธรรมารมณ์. จริงอยู่ มหาบุรุษได้วัตถุน่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง มีรสโอชาเป็นต้น แล้วนั่งขัดสมาธิคิดว่า เราจักให้ธรรมเป็นทาน. ธรรมเป็นทานของเราแล้วให้ของมีรสอร่อย มีเนยใส เนยข้นเป็นต้นเป็นทาน ให้ปานะ ๘ อย่าง มีอัมพปานะเป็นต้น. มหาบุรุษนั่งขัดสมาธิคิดว่าจะให้ชีวิตเป็นทาน จึงให้สลากภัตรและปักขิกภัตรเป็นต้น. จัดหาหมอเยียวยาคนเจ็บป่วย. ทำลายตาข่าย. รื้อไซดักปลา. เปิดกรงนก. ให้ปล่อยสัตว์ที่ผูกไว้

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 627

ด้วยเครื่องผูก. ตีกลองป่าวประกาศมิให้ฆ่าสัตว์. ทำเองและให้ผู้อื่นทำกรรมอย่างอื่นและกรรมเห็นปานนี้เพื่อป้องกันชีวิตสัตว์ทั้งหลาย. นี้ชื่อว่าให้ธรรมเป็นทาน.

มหาบุรุษน้อมทานสัมปทาตามที่กล่าวแล้วนี้ทั้งหมด เพื่อประโยชน์สุขแก่โลกทั้งสิ้น. อนึ่ง น้อมทานสัมปทาเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณของตน เพื่อวิมุติไม่กำเริบ เพื่อฉันทะ วิริยะ สมาธิ ปฏิภาณ ญาณ วิมุติไม่สิ้นไป. พระมหาสัตว์ปฏิบัติทานบารมีนี้พึงปรากฏอนิจจสัญญาในชีวิต ในโภคะก็เหมือนกัน. พึงมนสิการถึงความเป็นสาธารณะอย่างมากแก่สัตว์เหล่านั้น. พึงให้ปรากฏมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายเนืองๆ สม่ำเสมอ. ถือเอาทรัพย์สินที่ควรถือเอาไปได้ นำสมบัติทั้งหมดและตนออกจากเรือนดุจออกจากบ้านที่ถูกไฟไหม้ ไม่ให้มีอะไรเหลือ. ไม่ทำการแบ่งในที่ไหนๆ. โดยที่แท้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งสละหมดเลย. นี้เป็นลำดับแห่งการปฏิบัติทานบารมี.

อนึ่ง พึงทราบลำดับแห่งการปฏิบัติศีลบารมีต่อไป. มหาบุรุษผู้ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน. อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาทาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑ และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 628

เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทานถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. ด้วยประการฉะนี้ คนเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง. ก็แต่ว่าบางคราวเพราะหลงลืมไป ศีลก็จะพึงขาดไปเป็นต้น. กระทำศีลที่ขาดไปนั้นให้เป็นปกติโดยเร็ว ด้วยการอยู่กรรมเป็นต้น เพื่อความถึงพร้อมแห่งหิริโอตตัปปะตามที่กล่าวแล้วนั้น.

ศีลนี้มี ๒ อย่าง คือ วาริตตศีล ๑ จาริตตศีล ๑. ในศีล ๒ อย่างนั้น พึงทราบลำดับการปฏิบัติในวาริตตศีลของพระโพธิสัตว์ดังต่อไปนี้. พึงเป็นผู้มีจิตเอ็นดูในสรรพสัตว์โดยที่แม้ฝันก็ไม่พึงเกิดความอาฆาต. ไม่พึงจับต้องของของคนอื่นดุจงู เพราะยินดีในการช่วยเหลือผู้อื่น หากเป็นบรรพชิตเป็นผู้ประพฤติห่างไกลจากอพรหมจรรย์ ปราศจากเมถุนสังโยค ๗ อย่าง. ไม่ต้องพูดถึงจากการล่วงภรรยาคนอื่นละ. อนึ่ง หากว่าเป็นคฤหัสถ์ไม่ใช่บรรพชิต แม้จิตลามกก็มิให้เกิดขึ้นในภรรยาของผู้อื่นทุกเมื่อ เมื่อพูดก็พูดคำพอประมาณ เป็นคำจริง มีประโยชน์ น่ารัก และกล่าวธรรมตามกาล. ไม่โลภ ไม่พยาบาท ไม่เห็นวิปริต ประกอบด้วยกัมมัสสกตญาณ มีศรัทธามั่นคงในการปฏิบัติชอบ มีความรักมั่นคงในที่ทั้งปวง

เมื่อมหาบุรุษงดเว้นจากอกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่งอบาย ๔ และวัฏฏทุกข์และจากอกุศลธรรม แล้วตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถอันเป็นทางแห่ง

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 629

สวรรค์และนิพพาน ความปรารถนาอันเข้าไปประกอบประโยชน์สุขแก่สัตว์ทั้งหลายตามปรารถนา เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยบริสุทธิ์ย่อมสำเร็จเร็วพลัน. บารมีย่อมบริบูรณ์. มหาบุรุษนี้เป็นอย่างนี้. มหาบุรุษย่อมให้อภัยทานแก่สรรพสัตว์ด้วยไม่ประพฤติเบียดเบียน. ยังเมตตาภาวนาให้สมบูรณ์โดยไม่ยาก. ย่อมบรรลุอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ. มีอาพาธน้อย ไม่ป่วยเจ็บ มีอายุยืน มีสุขมาก ย่อมถึงลักษณะวิเศษ. และตัดวาสนาอันเป็นโทษได้.

อนึ่ง เพราะไม่ลักทรัพย์จึงได้โภคสมบัติอันไม่ทั่วไปด้วยโจรเป็นต้น. คนอื่นไม่รังเกียจ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าคบหา มีใจไม่ข้องวิภวสมบัติ ชอบบริจาค และตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้.

เพราะไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์จึงเป็นผู้ไม่โลเล มีกายใจสงบ. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่รังเกียจของสัตว์ทั้งหลาย. กิตติศัพท์อันงามของเขาย่อมฟุ้งไป. ไม่มีจิตข้องในมาตุคามทั้งหลาย มีอัธยาศัยไม่โลภ. มากไปด้วยเนกขัมมะ ย่อมได้ลักษณะวิเศษและตัดวาสนาอันเป็นโลภะได้.

เพราะไม่พูดเท็จจึงเป็นประมาณของสัตว์ทั้งหลาย เป็นที่เชื่อถือได้ ไว้ใจได้ มีถ้อยคำควรถือได้. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของทวยเทพ. มีปากหอม รักษากายสมาจาร วจีสมาจาร. ย่อมได้ลักษณะวิเศษ. และตัดวาสนาอันเป็นกิเลสได้.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 630

เพราะไม่พูดส่อเสียดจึงมีกายไม่แตกแยก มีบริวารไม่แตกแยก แม้ด้วยความพยายามของคนอื่น. มีเสียงไม่แตกแยกในพระสัทธรรม. มีมิตรมั่นคง เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว ดุจสะสมไว้ในระหว่างภพ มากด้วยความไม่เศร้าหมอง.

เพราะไม่พูดหยาบ จึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของสัตว์ทั้งหลาย มีปกติอยู่เป็นสุข พูดเพราะ น่ายกย่อง. เสียงของเขาประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเกิดขึ้น.

เพราะไม่พูดเพ้อเจ้อจึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ น่าเคารพ น่ายกย่องของสัตว์ทั้งหลาย มีถ้อยคำควรเชื่อถือได้ พูดพอประมาณ. มีศักดิ์และอานุภาพมาก. ฉลาดในการแก้ปัญหาด้วยปฏิภาณฉับพลัน. สามารถในการแก้ปัญหามากมายของสัตว์ทั้งหลาย หลายภาษาด้วยคำคำเดียวเท่านั้นในพุทธภูมิ.

เพราะเป็นผู้ไม่โลภ จึงมีลาภที่ต้องการ. ได้ความชอบใจในโภคะมากมาย. เป็นที่ยอมรับของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น. ข้าศึกครอบงำไม่ได้. ไม่ถึงความเป็นผู้มีอินทรีย์พิกลพิการ. และเป็นบุคคลหาผู้เปรียบมิได้.

เพราะไม่พยาบาทจึงเป็นผู้ดูน่ารัก. เป็นที่ยกย่องของสัตว์ทั้งหลาย ให้สัตว์เลื่อมใสโดยไม่ยาก เพราะเป็นผู้พอใจยิ่งในประโยชน์ของผู้อื่น. อนึ่ง เป็นผู้มีสภาวะไม่เศร้าหมอง อยู่ด้วยเมตตา. เป็นผู้มีศักดิ์มีอานุภาพมาก.

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 631

เพราะเป็นผู้ไม่เห็นผิดจึงย่อมได้สหายดี. แม้จะถึงตัดศีรษะก็ไม่ทำกรรมชั่ว. เป็นผู้ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวเพราะเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน. ศรัทธาของเราเป็นรากตั้งมั่นในพระสัทธรรม. เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต. ไม่ยินดีในลัทธิอื่นดุจพระยาหงส์ไม่ยินดีในที่มีขยะฉะนั้น. เป็นผู้ฉลาดในการกำหนดรู้ลักษณะ ๓ อย่างไร. และเป็นผู้ได้อนาวรณญาณในที่สุด. ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด จะเป็นผู้เด่นในหมู่สัตว์นั้นๆ เพียงนั้นและถึงสมบัติมากมายก่ายกอง. พึงยังการนับถืออย่างมากให้เกิดขึ้นว่า ชื่อว่าศีลนี้เป็นที่ตั้งแห่งสรรพสมบัติ. เป็นแดนเกิดของพระพุทธคุณทั้งปวง. เป็นเบื้องต้น เป็นจรณะ เป็นหน้า เป็นประมุขของพุทธการกธรรมทั้งปวง แล้วพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในการสำรวมกายวาจา ในการฝึกอินทรีย์ ใน ความบริสุทธิ์ของอาชีวะและในการบริโภคปัจจัยทั้งหลาย ด้วยกำลังแห่งสติสัมปชัญญะ กำหนดลาภสักการะและความสรรเสริญ ดุจศัตรู ต่อหน้าทำเป็นมิตร แล้วให้ศีลสมบูรณ์โดยเคารพตามนัยดังกล่าวแล้ว มีอาทิว่า กิกิว อณฺฑํ ดังนี้. นี้เป็นลำดับของการปฏิบัติในวาริตตศีล.

ส่วนการปฏิบัติในจาริตตศีลพึงทราบอย่างนี้. พระโพธิสัตว์กระทำอภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่กัลยาณมิตรผู้ดำรงอยู่ในฐานะครูตลอดเวลา. อนึ่งทำการบำรุงกัลยาณมิตรเหล่านั้นตลอดเวลา. ทำการช่วยเหลือคนไข้ทั้งหลาย. ฟังบทสุภาษิตแล้วทำสาธุการ. พรรณาคุณของ

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 632

ผู้มีคุณธรรม อดทนในการทำความเสียหายของคนอื่น. ระลึกถึงผู้ทำอุปการะ. อนุโมทนาบุญ. น้อมบุญของตนเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ. อยู่ในความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายตลอดกาล. เมื่อมีโทษเห็นโดยความเป็นโทษแล้ว แจ้งแก่สหธรรมิกเช่นนั้นตามความเป็นจริง. บำเพ็ญสัมมาปฏิบัติให้ยิ่งโดยชอบ.

อนึ่ง เมื่อควรทำสิ่งเป็นประโยชน์อันสมควรของตนแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านถึงความเป็นสหาย. อนึ่ง เมื่อทุกข์มีความเจ็บป่วยเป็นต้นเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้จัดการช่วยเหลือตามสมควร. เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความเสื่อมมีความเสื่อมจากญาติและสมบัติเป็นต้น ก็ช่วยบรรเทาความเศร้าโศก เป็นผู้ตั้งอยู่ในสภาพที่จะช่วยเหลือ ข่มผู้ที่ควรข่มโดยถูกธรรม เพื่อให้พ้นจากอกุศลแล้วตั้งอยู่ในกุศล. ยกย่องผู้ที่ควรยกย่องโดยธรรม. กรรมใดที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง กว้างขวางที่สุด มีอานุภาพเป็นอจินไตยอันนำประโยชน์สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว อันพระมหาโพธิสัตว์แต่ก่อนได้ประพฤติแล้ว. โพธิสมภารของพระมหาโพธิสัตว์เหล่านั้นได้ถึงความแก่กล้าโดยชอบด้วยกรรมใด. ฟังกรรมเหล่านั้นแล้วไม่หวาดสะดุ้ง มหาบุรุษแม้เหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน. มีอัตภาพอบรมเพื่อความบริบูรณ์แห่งการศึกษาตามลำดับ ได้บรรลุถึงบารมีอย่างอุกฤษฏ์ในโพธิสมภารเพื่อถึงพร้อมด้วยอานุภาพอันยอดเยี่ยมเช่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 633

เพราะฉะนั้น แม้เราก็พึงปฏิบัติอย่างนั้นโดยชอบในสิกขามีศีลสิกขาเป็นต้น. ไม่สละความเพียรอันมีศรัทธาเป็นปุเรจาริกด้วยคิดว่า แม้เราก็จะบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ตามลำดับด้วยการปฏิบัติ แล้วจักบรรลุตามถึงบทนั้นโดยส่วนเดียว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายโดยชอบ.

อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ. มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้าย ไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ใจสงบปราศจากมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ปรารภความเพียร มีตนมั่นคง ไม่คำนึงถึงกายและชีวิต. ไม่ยอมรับละบรรเทาความเพ่งในกายและชีวิตแม้มีประมาณน้อย. ไม่ต้องพูดถึงมีประมาณมากละ. ละบรรเทาอุปกิเลส มีโกรธและผูกโกรธเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งปวง. เป็นผู้ไม่ยินดีด้วยการบรรลุธรรมวิเศษอันมีประมาณน้อย. ไม่ท้อแท้ใจพยายามเพื่อบรรลุธรรมวิเศษยิ่งๆ ขึ้นไป.

สมบัติตามที่ได้แล้ว ไม่มีส่วนแห่งความเสื่อมหรือความมั่นคง. อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้นำคนตาบอด บอกทางให้. ให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่คนหูหนวก อนุเคราะห์ประโยชน์. คนใบ้ก็เหมือนกัน. ให้ตั่ง ให้ยานแก่คนพิการ หรือนำไป. คนไม่มีศรัทธาพยายามให้มีศรัทธา, คนเกียจคร้านพยายามให้เกิด

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 634

อุตสาหะ. คนหลงลืมพยายามให้ได้สติ. คนมีใจวุ่นวายพยายามให้ได้สมาธิ. คนมีปัญญาทรามพยายามให้มีปัญญา. คนหมกมุ่นในกามฉันทะ. พยายามบรรเทากามฉันทะ. คนหมกมุ่นในพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา พยายามให้บรรเทาวิจิกิจฉา. คนไม่ปกติมีกามวิตกเป็นต้น พยายามบรรเทามิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น. อาศัยความเป็นผู้รู้คุณที่ทำแล้วแก่สัตว์ผู้เป็นบุพพการี จึงพูดขึ้นก่อน พูดน่ารัก สงเคราะห์ นับถือ โดยทำการตอบแทนเช่นเดียวกันหรือยิ่งกว่า.

มหาบุรุษย่อมติดตามช่วยเหลือสหายในอันตรายทั้งหลาย. มหาบุรุษกำหนดรู้ตนและสภาพปกติของสหายเหล่านั้นๆ แล้ว อยู่รวมกับสหายเหมือนที่เคยอยู่ร่วมกันมา. อนึ่ง ปฏิบัติในสหายเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา. ด้วยให้พ้นจากอกุศลแล้วให้ตั้งอยู่ในกุศล. มิใช่ให้ตั้งอยู่โดยอย่างอื่น. เพราะการตามรักษาจิตของผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงเพื่อความเจริญอย่างยิ่งเท่านั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น. ไม่ควรทะเลาะ. ไม่ควรให้ถึงความเป็นผู้เก้อเขิน เพราะอัธยาศัยนั้น. ไม่ควรให้เกิดความรังเกียจสัตว์อื่น. ควรทักท้วงในฐานะที่ควรข่ม. เมื่อเขาอยู่ต่ำกว่า ไม่ควรวางตนในที่สูงกว่า. ไม่ควรคบในผู้อื่นจนหมดสิ้นก็หามิได้. ไม่ควรคบมากเกินไป. ไม่ควรคบพร่ำเพรื่อ.

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 635

แต่คบสัตว์ที่ควรคบตามสมควรแก่กาละเทศะ. ไม่ติเตียนคนที่รักหรือสรรเสริญคนที่ไม่รักต่อหน้าผู้อื่น. ไม่วิสาสะกับคนที่ไม่คุ้นเคย. ไม่ปฏิเสธการเชื้อเชิญที่เป็นธรรม. ไม่แสดงตัวมากไป. ไม่รับของมากเกินไป. ย่อมยินดีกับผู้ที่มีศรัทธาด้วยการกล่าวอานิสงส์ของศรัทธา. อนึ่ง หากว่าพระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงกำลังปัญญา แสดงนรกเป็นต้นตามสมควรด้วยกำลังอภิญญา ยังสัตว์ผู้ถึงความประมาทให้สังเวช แล้วยังสัตว์ผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ให้ตั้งอยู่ในศรัทธาเป็นต้น. ให้หยั่งลงในศาสนา. ให้เจริญงอกงามในคุณสมบัติมีทานเป็นต้น. สัตว์นี้เป็นผู้ประพฤติตามจารีตของมหาบุรุษ เป็นผู้หลั่งไหลบุญกุศลหาประมาณมิได้ ย่อมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป พึงทราบด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านตั้งคำถามไว้ว่า ศีลคืออะไร ศีลด้วยอรรถว่ากระไร แล้วกล่าวความพิสดารของศีลไว้ในวิสุทธิมรรคด้วยประการต่างๆ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมมีเจตนาเป็นต้น ของผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น หรือผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ชื่อว่า ศีล. กถาทั้งหมดนั้นควรนำมากล่าวในที่นี้. ในวิสุทธิมรรคนั้นศีลกถามาด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่นี้ท่านกล่าวถึงศีลกถา ทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบายคือกรุณาเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ เพราะเหตุนั้น นี้แหละเป็นความต่างกัน. มหาบุรุษไม่น้อมไปเพื่อวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ เหมือนศีลนี้ ไม่น้อมไปเพื่อพ้นความเศร้าหมอง

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 636

ในทุคติของตน ไม่น้อมไปเพื่อราชสมบัติ เพื่อจักรพรรดิสมบัติ เพื่อเทวสมบัติ เพื่อสักกสมบัติ เพื่อมารสมบัติ เพื่อพรหมสมบัติ แม้ในสุคติ. ที่ แท้พระมหาโพธิสัตว์ย่อมน้อมไป เพื่อให้ถึงศีลาลังการอันยอดเยี่ยมของสัตว์ ทั้งหลายด้วยความเป็นพระสัพพัญญูฉะนี้แล. นี้คือลำดับแห่งการปฏิบัติศีลบารมี.

อนึ่ง เพราะการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตเป็นไปแล้วด้วยการออกจากกามและภพทั้งหลาย มีการเห็นโทษเป็นเบื้องต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายคือกรุณา ชื่อว่า เนกขัมมบารมี. ฉะนั้นกามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีการผูกพันด้วยสิ่งไม่เป็นประโยชน์มากมายลิ้มเลีย ความที่ฆราวาสไม่มีโอกาสหาความสุขในเนกขัมมะได้และความใคร่ดุจลิ้มเลียหยาดน้ำผึ้งที่ติดอยู่บนคมมีด เพราะตั้งอยู่กับความเศร้าหมองทั้งสิ้น เพราะคับแค้นมากด้วยบุตรภรรยาเป็นต้น เพราะวุ่นวายด้วยการตั้งใจทำการงานหลายอย่าง มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น. ได้เวลานิดหน่อยดุจการฟ้อนรำที่ต้องใช้แสงไฟ. ได้สัญญาวิปริตดุจเครื่องประดับของคนบ้า. เป็นการตอบแทนดุจปกปิดไว้ด้วยคูถ. ไม่อิ่มดุจดื่มน้ำที่นิ้วมืออันเปียกด้วยน้ำ. มีความไม่สบายดุจบริโภคอาหารในเวลาหิว. เป็นเหตุรวมความพินาศดุจเหยื่อที่เบ็ด เป็นเหตุเกิดทุกข์ใน ๓ กาลดุจความร้อนของไฟ. มีการผูกเป็นเครื่องหมายดุจยางดักลิง. มีการปิดไว้ด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ดุจปิดด้วยเปรียง เป็นที่ตั้งแห่งภัยดุจอยู่บ้านศัตรู. เป็นเหยื่อของกิเลสมารเป็นต้นดุจเลี้ยงศัตรู. มี

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 637

ทุกข์เกิดจากการปรวนแปรไปดุจสมบัติมหรสพ. มีการเผาภายในดุจไฟในโพรงไม้. มีโทษไม่น้อยดุจหญ้าปล้องห้อยลงไปในหลุมเก่า. เป็นเหตุแห่งความกระหายดุจดื่มน้ำเค็ม. การเสพของชนชั้นต่ำดุจสุราเมรัย. อุปมาด้วยโครงกระดูกเพราะมีความยินดีน้อย. อนึ่ง เพราะเนกขัมมะเป็นเหตุของบรรพชา. ฉะนั้น จึงไม่ยกบรรพชาขึ้นมาก่อน. และเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ พระมหาสัตว์ดำรงอยู่ในบรรพชา จึงไม่ยกบรรพชาของดาบสปริพาชกผู้เป็นกรรมวาที กิริยาวาที ขึ้นมากล่าว.

ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติแล้ว ควรบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. อนึ่ง ครั้นบวชแล้วอันผู้ตั้งอยู่ในศีลตามที่กล่าวแล้วควรสมาทานธุดงค์คุณ เพื่อความผ่องแผ้วแห่งศีลบารมีนั้นนั่นแล. จริงอยู่ มหาบุรุษทั้งหลายสมาทานธุดงค์ธรรมแล้วบริหารธุดงค์ธรรมเหล่านั้นโดยชอบ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีสมาจารทั้งปวงบริสุทธิ์ด้วยคุณของผู้มีศีลอันหาโทษมิได้ เพราะเป็นผู้มีมลทินคือกิเลสบ้วนออกด้วยน้ำคือคุณธรรม มีความขัดเกลากิเลส สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เลี้ยงง่าย คงที่ เป็นต้น ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ ๓ อันเป็นของเก่า เข้าถึงฌานอันมีประเภท เป็นอุปจารฌานและอัปนาฌาน ตามสมควรในอารมณ์ ๔๐ เพื่อบรรลุอริยวงศ์ คือความเป็นผู้ยินดีในภาวนาที่ ๔ อยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันมหาบุรุษนั้นบำเพ็ญเนกขัมมบารมีโดยชอบแล้ว.

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 638

อนึ่ง ในที่นี้พึงกล่าวกรรมฐานและวิธีภาวนาแห่งสมาธิภาวนา ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ พร้อมด้วยธุดงค์ธรรม ๑๓ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญา ๑ ววัตถานะ คือการกำหนดธาตุ ๑ โดยพิสดาร. เพราะทั้งหมดนั้นท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค โดยประการทั้งปวง. ฉะนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. จริงอยู่ ในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์อย่างเดียว. ในที่นี้ควรกล่าวทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือกรุณาด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ ความต่างกันมีด้วยประการฉะนี้. พึงทราบลำดับแห่งเนกขัมมบารมีในที่นี้อย่างนี้แล.

อนึ่ง ปัญญาเป็นดุจแสงสว่าง ย่อมไม่ร่วมกับโมหะอันเป็นความมืด ฉะนั้น พระโพธิสัตว์ผู้หวังในปัญญาบารมีสมบูรณ์ จึงควรเว้นเหตุแห่งโมหะก่อน. พึงทราบถึงเหตุแห่งโมหะเหล่านี้ ดังต่อไปนี้ :- ความริษยา ความเฉื่อยชา ความซบเซา ความเกียจคร้าน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความหลับง่าย การไม่ตั้งใจแน่วแน่ ความไม่สนใจในญาณ ถือตัวผิด การไม่สอบถาม การไม่บริหารร่างกายให้ดี จิตไม่ตั้งมั่น คบบุคคลปัญญาทราม ไม่เข้าไปใกล้คนมีปัญญา ดูหมิ่นตน ใคร่ครวญผิด ยึดถือวิปริต มั่นในกายมาก ไม่มีความสังเวชใจ นิวรณ์ ๕ ผู้เสพธรรมโดยย่อปัญญายังไม่เกิดย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อม. ผู้เว้นเหตุแห่งความหลงเหล่านี้ พึง ทำความเพียรในพาหุสัจจะและในฌานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 639

พึงทราบการจำแนกลักษณะของพาหุสัจจะดังต่อไปนี้ :- ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สติปัฏฐาน ๔ และประเภทธรรมมีกุศลเป็นต้น. วิทยาการอันไม่โทษในโลก การพยากรณ์วิเศษอันประกอบด้วยวิธีนำประโยชน์สุขให้แก่สัตว์ทั้งหลาย. พึงให้เกิดสุตมยปัญญาด้วยการหยั่งลงสู่สุตวิสัยทุกอย่างทุกประการด้วยปัญญาอันเป็นความฉลาดในอุบายเป็นเบื้องต้น ด้วยสติ ด้วยวิริยะ ด้วยการเรียน การฟัง การทรงจำ การสะสม การสอบถามด้วยดี แล้วให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในปัญญานั้นด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปัญญาอันเป็นปฏิภาณที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงจุดหมายในสิ่งที่ควรทำ และเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ความเสื่อมและอุบาย พึงให้เป็นไปตามสมควรในปัญญานั้นๆ อาศัยความเป็นผู้แสวงหาประโยชน์. อนึ่ง ผู้ที่ยังสัตว์ทั้งหลายให้ทนต่อความเพ่ง ด้วยการวิตกถึงอาการแห่งสภาวธรรม มีขันธ์เป็นต้น พึงให้เกิดจินตามยปัญญา. อนึ่ง อันผู้ที่ยังโลกียปัญญาให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการกำหนดลักษณะของตน และสามัญลักษณะของขันธ์เป็นตัน พึงให้สมบูรณ์ด้วยภาวนามยปัญญา อันเป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ นี้เป็นเพียงนามรูปย่อมเกิดขึ้นและดับไปด้วยปัจจัยทั้งหลายตามสมควร. ในเรื่องนี้ไม่มีใครทำเองหรือให้ผู้อื่นทำ. เป็นความไม่เที่ยงเพราะเป็นแล้วไม่เป็น. เป็นทุกข์เพราะเกิดเสื่อมและบีบคั้น. เป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจตน. ด้วยเหตุนั้นมหาบุรุษกำหนดรู้ธรรมภายในและธรรมภาย

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 640

นอกไม่ให้เหลือ ละความข้องในธรรมนั้น และให้ผู้อื่นละความข้องในธรรมนั้นด้วยอำนาจแห่งกรุณาอย่างเดียวเท่านั้น พระพุทธคุณยังไม่มาถึงฝ่ามือเพียงใด ยังสัตว์ทั้งหลายให้ตั้งอยู่ในญาณ ๓ ด้วยการหยั่งลง และการทำให้เจริญ ยังฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ อภิญญาอันเป็นโลกิยะให้ถึงความชำนาญ ย่อมบรรลุถึงที่สุดแห่งปัญญา.

ในโลกิยอภิญญานั้น ภาวนาปัญญา คือโลกิยอภิญญา ๕ พร้อมด้วยบริภัณฑ์ของญาณ ได้แก่กลุ่ม คืออิทธิวิธญาณ ทิพพโสตธาตุญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ. อนึ่ง ภาวนาปัญญา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ อันผู้ทำการสะสมญาณด้วยการเรียน การสอบถามในธรรมอันเป็นพื้นฐาน มีขันธ์อายตนธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น แล้วตั้งอยู่ในวิสุทธิ ๒ อันเป็นรากฐานเหล่านี้ คือ ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ แล้วพึงเจริญให้วิสุทธิ ๕ เหล่านั้นอันเป็นร่างให้สมบูรณ์ ได้แก่ ทิฏฐิวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งทิฏฐิ ๑ กังขาวิตรณวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องพ้นความสงสัย ๑ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ๑ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ๑ ญาณทัสสนวิสุทธิ คือความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ ๑. เพราะวิธีการให้สำเร็จภาวนาปัญญาเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วพร้อมกับจำแนกลักษณะในวิสุทธิมรรค โดย

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 641

ประการทั้งปวง โดยนัยมีอาทิว่า พระโยคีผู้เป็นอาทิกัมมิกะประสงค์จะทำการแสดงฤทธิ์ มีอาทิว่า แม้คนเดียวก็เป็นคนหลายคนได้ และโดยนัยมีอาทิ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือขันธ์. ฉะนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล. ปัญญามาแล้วด้วยอำนาจแห่งสาวกโพธิสัตว์ในภาวนาปัญญานั้นอย่างเดียว. ในที่นี้ด้วยอำนาจแห่งพระมหาโพธิสัตว์ พึงกล่าวถึงภาวนาปัญญา ทำความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือ กรุณาเป็นเบื้องแรก. พึงตั้งวิปัสสนาไว้ในปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิเท่านั้น ยังไม่ถึงญาณทัสสนวิสุทธิ นี้เป็นความต่างกัน. พึงทราบลำดับแห่งการปฏิบัติปัญญาบารมีในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง เพราะพระมหาสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อสัมมาสัมโพธิญาณ พึงเป็นผู้ประกอบความขวนขวายตลอดกาล เพื่อให้บารมีบริบูรณ์ด้วยบำเพ็ญเกี่ยวเนื่องกันไป. ฉะนั้น ตลอดเวลาพระมหาสัตว์พิจารณาทุกๆ วันว่า วันนี้เราจะสะสมบุญสมภาร หรือญาณสมภารอะไรหนอ. หรือว่าเราจะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างไรดี พึงทำความอุตสาหะเพื่อประโยชน์แก่สัตว์. พระโยคาวจรมีจิตไม่คำนึงถึงกายและชีวิต พึงสละวัตถุอันเป็นที่หวงแหนของตนเพื่อช่วยสัตว์แม้ทั้งปวง. กระทำกรรมอย่างไรอย่างหนึ่งด้วยกายหรือวาจา. พึงทำกรรมนั้นทั้งหมดด้วยใจน้อมไปในสัมโพธิญาณเท่านั้น. พึงมีจิตพ้นจากกามทั้งหลายทั้งที่ยิ่งและยอด. พระโยคาวจรพึงเข้าไปตั้งความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแล้วพึงปฏิบัติในบารมีทั้งปวงที่ควรกระทำ.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 642

พึงปรารภความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้นๆ พึงอดกลั้นสิ่งทั้งปวง มีสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็นต้น. พึงไม่พูดผิดความจริง. พึงแผ่เมตตาและกรุณาแก่สัตว์ทั้งปวงโดยไม่เจาะจง. การเกิดขึ้นแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งจะพึงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย พึงหวังการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งปวงนั้นไว้ในตน. อนึ่ง พึงอนุโมทนาบุญของสัตว์ทั้งปวง. พึงพิจารณาเนืองๆ ถึงความที่พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่มีอานุภาพมาก. กระทำกรรมใดๆ ด้วยกายหรือวาจา พึงทำกรรมนั้นทั้งหมดให้มีจิตน้อมไปเพื่อโพธิญาณเป็นเบื้องแรก ก็ด้วยอุบายนี้ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ประกอบความขวนขวายในทาน เป็นต้น มีเรี่ยวแรง มีความเพียรมั่น เข้าไปสะสมบุญสมภารและญาณสมภารหาประมาณมิได้ทุกๆ วัน.

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้สัตว์ได้บริโภคและเพื่อคุ้มครองสัตว์ จึงสละร่างกายและชีวิตของตน พึงแสวงหาและพึงนำสิ่งกำจัดทุกข์ มีความหิว กระหาย หนาว ร้อน ลมและแดดเป็นต้น. ย่อมได้รับความสุขอันเกิดแต่การกำจัดทุกข์ตามที่กล่าวแล้วด้วยตน. อนึ่ง ย่อมได้รับความสุขด้วยตนเพราะไม่มีความร้อนทางกายและใจ ในสวน ในปราสาท ในสระเป็นต้น และในแนวไพรอันน่ารื่นรมย์. อนึ่ง ฟังมาว่า พระพุทธเจ้า พระอนุพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. และพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเนกขัมมปฏิบัติย่อมเสวยสุขในฌานและสมาบัติเช่นนี้ อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 643

ในปัจจุบันดังนี้ ทำความสุขทั้งหมดนั้นไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง นี้เป็นนัยของผู้ตั้งอยู่ในพื้นฐานอันไม่มั่นคง.

ส่วนผู้ตั้งอยู่ในพื้นฐานอันมั่นคง เมื่อน้อมปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ยถาภูตญาณ อันเกิดด้วยการบรรลุคุณวิเศษตามที่ตนเสวยแล้ว เข้าไปในสัตว์ทั้งหลายย่อมน้อมนำเข้าไป. อนึ่ง พระโยคาวจรเห็นหมู่สัตว์จมอยู่ในสังสารทุกข์ใหญ่แลในอภิสังขารทุกข์ คือกิเลสอันเป็นนิมิตแห่งสังสารทุกข์นั้น. แม้ในหมู่สัตว์นั้นเห็นสัตว์นรกเสวยเวทนาลำบาก กล้าหนัก เผ็ดร้อน อันเกิดจากการตัด ทำลาย ผ่า บด เผาไฟ เป็นต้น. สัตว์เดียรัจฉานเสวยทุกข์หนักด้วยการโกรธกันและกัน ทำให้เดือดร้อนเบียดเบียนให้ลำบาก และอาศัยผู้อื่นเป็นต้น. เปรต มีนิชฌามตัณหิกเปรตเป็นต้น ถูกความหิวกระหาย ลมและแดดเป็นต้นแผดเผาในร่างกายด้วยกลุ่มมาลัยไฟ ซูบซีด ชูมือร้อง ขออาหารมีน้ำลายที่เขาคายทิ้งเป็นต้น เสวยทุกข์ใหญ่. สัตว์นรก เปรต เดียรัจฉาน ผู้ถึงความย่อยยับใหญ่หลวงมีการแสวงหาอาหารเป็นเหตุ เพราะถูกกรรมอันมีกำลังครอบงำ ด้วยการประกอบเหตุมีการตัดมือเป็นต้น ด้วยการให้เกิดโรคมีหิวกระหายเป็นต้น โดยทำให้เป็นผู้มีผิวพรรณทราม น่าเกลียด เป็นคนจนเป็นต้น เพราะการนำไปของผู้อื่น และเพราะอาศัยผู้อื่น และมนุษย์ผู้เสวยทุกข์หนักอันไม่มีเศษเหลือจากทุกข์ในอบาย. และ กามาวจรเทพ ผู้ถูกความเร่าร้อนอันมีราคะเป็นต้น แผดเผาเพราะมีจิตฟุ้งซ่านในการบริโภคของเป็นปกติและมีพิษ มีความเดือดร้อนไม่สงบดุจกองไฟสุมด้วย

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 644

ไม้แห้งมีเปลวไฟโพลงขึ้นด้วยแรงลม อาศัยผู้อื่นกำจัดความไม่สงบ. และรูปาวจรเทพ อรูปาวจรเทพว่า เมื่อยังมีความเป็นไปอยู่ได้นาน เทพเหล่านั้นก็เหมือนนกที่โฉบสู่อากาศไกลด้วยความพยายามมาก และเหมือนลูกศรที่คนมีกำลังซัดไปตกในที่ไกล แต่ในที่สุดก็ตกเพราะมีความไม่เที่ยงในที่สุด จึงไม่ล่วงพ้นชาติ ชรา และมรณะไปได้เลย ยังความสังเวชใหญ่หลวงให้ปรากฏ แล้วแผ่เมตตาและกรุณาไปยังสัตว์ทั้งหลายโดยไม่เจาะจง. ผู้สะสมโพธิสมภารด้วยกาย วาจา และใจ เป็นลำดับอย่างนี้ บารมีย่อมเต็มเปี่ยมฉันใด. ผู้ทำโดยความเคารพ ทำติดต่อ ประพฤติไม่ย่อหย่อน พึงยังความอุตสาหะให้เป็นไป พึงบำเพ็ญวิริยบารมีให้บริบูรณ์ ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ความเพียรประกอบด้วยความขวนขวายต่อความเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นอจินไตย และเป็นที่ตั้งแห่งการสะสมคุณอันหาประมาณมิได้ ไพบูลย์โอฬารยิ่งนัก ปราศจากมลทิน ไม่มีข้อเปรียบ ไม่มีอุปกิเลส เป็นอานุภาพแห่งอจินไตยนั่นแล. ก็ชนเป็นอันมากสามารถแม้ฟังได้. ไม่ต้องพูดถึงปฏิบัติกันละ.

อนึ่ง อภินิหารจิตตุปบาท ๓. พุทธภูมิ ๔. สังคหวัตถุ ๔. ความมีกรุณาเป็นรสอย่างเอก. การทนต่อความเพ่งอันเป็นวิเสสปัจจัยด้วยการทำให้แจ้งในพุทธธรรม. การไม่เข้าไปเพียงลูบไล้ในพุทธธรรม. ความสำคัญในสัตว์ทั้งปวงว่าเป็นบุตรที่น่ารัก. ความไม่กระหายด้วยสังสารทุกข์. การบริจาคไทยธรรมทั้งปวง. ความมีใจยินดีด้วยการบริจาคนั้น. การอธิษฐานอธิศีล

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 645

เป็นต้น. ความไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้น. ปีติและปราโมทย์ในกุสลกิริยา. ความที่จิตน้อมไปในวิเวก. การประกอบฌานเนืองๆ. การไม่ติเตียนธรรมที่ไม่มีโทษ. แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาด้วยอัธยาศัยเกื้อกูลแก่ผู้อื่น. ให้สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในระเบียบ. ความมั่นคงในการริเริ่ม. ความฉลาดและกล้า. ไม่มีความบกพร่องในเพราะการกล่าวร้ายต่อผู้อื่น และทำความเสื่อมเสียแก่ผู้อื่น. ตั้งมั่นในสัจจะ. ชำนาญในสมาบัติ. มีกำลังในอภิญญา. รู้ลักษณะ ๓. สะสมบารมีในโลกุตรมรรค ด้วยการประกอบความเพียรในสติปัฏฐานเป็นต้น. ก้าวลงสู่โลกุตรธรรม ๙. การปฏิบัติเพื่อโพธิสมภาร แม้ทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งวิริยะ. เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่อภินิหารจนถึงมหาโพธิ พระโยคาวจรไม่สละทิ้ง ยังความเพียรให้สมบูรณ์ เหมือนความเพียรเป็นลำดับโดยเคารพอันนำคุณวิเศษมาให้ยิ่งๆ ขึ้นฉะนั้น. เมื่อความเพียรตามที่กล่าวแล้วสมบูรณ์ พึงทราบการปฏิบัติโดยนัยนี้ แม้ในขันติเป็นต้นว่า โพธิสมภารแม้ทั้งหมด มีขันติ สัจจะ อธิษฐานะ ทาน ศีล เป็นต้น เป็นอันสมบูรณ์เพราะประพฤติอาศัยความเพียรนั้น.

การทำความอนุเคราะห์ด้วยการบริจาคอุปกรณ์ความสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยส่วนมาก ชื่อว่าปฏิบัติด้วยการให้. เหตุทั้งหลายมีอาทิ การรักษาชีวิต สมบัติ ภรรยา และกล่าวคำไม่ให้แตกกัน น่ารัก เป็นประโยชน์ และไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติด้วยศีล. การประพฤติประโยชน์หลายอย่างด้วยรับอามิสและให้ทานเป็นต้นของสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติ

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 646

ด้วยเนกขัมมะ. ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายทำประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิบัติด้วยปัญญา. มีความอุตสาหะริเริ่มไม่ท้อถอยในการนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติด้วยวิริยะ. การไม่ล่อลวง ทำอุปการะ สมาทานและไม่พูดผิดจากความจริงเป็นต้นแก่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติด้วยสัจจะ แม้ตกอยู่ในความพินาศก็มิได้หวั่นไหวในการทำอุปการะ ชื่อว่าปฏิบัติด้วยอธิษฐานะ. คิดถึงแต่ประโยชน์สุขของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิบัติด้วยเมตตา. ไม่คำนึงถึงความผิดปกติในความอุปการะความเสียหายของสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติด้วยอุเบกขา. พระโยคาวจรปรารภสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว เป็นผู้สะสมบุญสมภารและญาณสมภารหาประมาณมิได้ เป็นที่รับรองเสมอของพระมหาโพธิสัตว์ผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ พึงทราบว่าเป็นการปฏิบัติในบารมีเหล่านี้.

อะไรเป็นการจำแนก. บารมี ๓๐ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐. บารมีเฉยๆ เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำของพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญอภินิหารในบารมีเหล่านั้น ประกอบด้วยอัธยาศัยน้อมไปในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น. อุปบารมีเป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปรมัตถบารมีเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว. หรือบารมีบำเพ็ญในกาลเริ่มต้น. อุปบารมีบำเพ็ญเต็มแล้วในภูมิของพระโพธิสัตว์. ปรมัตถบารมีบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงในพุทธภูมิ. หรือบารมี เพราะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นในพุทธภูมิ. อุปบารมี เพราะทำประโยชน์เพื่อตน. ปรมัตถบารมี เพราะบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการบรรลุพลธรรมและเวสารัชธรรม.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 647

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า การจำแนกบารมีเหล่านั้น ในตอนตั้งความปรารถนา การเริ่มบำเพ็ญและความสำเร็จ คือเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การจำแนกบารมีเหล่านั้นโดยประเภท การสะสมบุญของผู้สงบโทสะตั้งอยู่ในกรุณา ผู้บรรลุภวสุข วิมุติสุข และบรมสุข. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การจำแนกบารมีตามที่กล่าวแล้วจากการเกิดขึ้นของพระโพธิสัตว์ คือบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี ของท่านผู้มีความละอาย มีสติ มีการนับถือ เป็นที่พึ่งพิง ของท่านผู้มีโลกุตตรธรรมเป็นใหญ่ของผู้หนักอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านผู้ข้ามไปได้แล้ว ของพระอนุพุทธ พระปัจเจกพุทธ และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การสะสมบารมีเป็นไปแล้วตั้งแต่การตั้งความปรารถนาทางใจ จนถึงตั้งความปรารถนาทางวาจา ชื่อบารมี. การสะสมบารมีเป็นไปแล้วตั้งแต่ตั้งความปรารถนาทางวาจา จนถึงตั้งความปรารถนาทางกาย เป็นอุปบารมี. ตั้งแต่ตั้งความปรารถนาทางกายไป เป็นปรมัตถบารมี. แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า การสะสมบารมีเป็นไปแล้วด้วยอำนาจการอนุโมทนาบุญของผู้อื่น เป็นบารมี. การสะสมบารมีเป็นไปแล้วด้วยอำนาจการให้ผู้อื่นทำ เป็นอุปบารมี. เป็นไป แล้วด้วยการทำเอง เป็นปรมัตถบารมี.

อนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บุญสมภาร ญาณสมภาร อันนำ ภวสุขมาให้ เป็นบารมี. การนำนิพพานสุขมาให้แก่ตน เป็นอุปบารมี. การนำ

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 648

สุขทั้งสองอย่างนั้นมาให้ เป็นปรมัตถบารมี. อนึ่ง การบริจาคบุตรภรรยาและอุปกรณ์มีทรัพย์เป็นต้น เป็นทานบารมี. การบริจาคอวัยวะ เป็นทานอุปบารมี. การบริจาคชีวิตของตนเป็นทานปรมัตถบารมี. อนึ่ง ศีลบารมี ๓ อย่างด้วยการไม่ก้าวล่วงเหตุแม้ทั้ง ๓ อย่าง มีบุตรและภรรยาเป็นต้น. เนกขัมมบารมี ๓ อย่าง ด้วยการตัดอาลัยในวัตถุ ๓ อย่างเหล่านั้นแล้วออกบวช. ปัญญาบารมี ๓ อย่าง ด้วยการประมวลตัณหาในอุปกรณ์ อวัยวะ ชีวิต แล้วทำการตัดสินประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย. วิริยบารมี ๓ อย่าง ด้วย การพยายามบริจาคประเภทตามที่กล่าวแล้ว. ขันติบารมี ๓ อย่างอดทนต่อผู้ที่จะทำอันตรายแก่อุปกรณ์ อวัยวะและชีวิต. สัจจบารมี ๓ อย่าง ด้วยการไม่สละสัจจะเพราะเหตุอุปกรณ์ อวัยวะและชีวิต. อธิษฐานบารมี ๓ อย่าง ด้วยการอธิษฐานไม่หวั่นไหว แม้ถึงคราวที่อุปกรณ์เป็นต้นพินาศไป โดยเห็นว่าบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ย่อมบริสุทธิ์ด้วยอำนาจอธิษฐานไม่กำเริบ. เมตตาบารมี ๓ อย่าง ด้วยไม่ละเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้เข้าไปทำลายอุปกรณ์เป็นต้น. อุเบกขาบารมี ๓ อย่าง ด้วยได้ความที่ตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ทั้งที่มีอุปการะและทำความเสียหายวัตถุ ๓ อย่าง ตามที่กล่าวแล้ว. พึงทราบการจำแนกบารมีเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนี้ว่า อะไรเป็นการสงเคราะห์. พึงทราบบารมี ๖ อย่าง โดยสภาวะ คือ ทาน ศีล ขันติ วีริยะ ฌาน และปัญญา เหมือน

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 649

บารมี ๓ อย่าง โดยการจำแนก ๑๐ โดยความเป็นทานบารมีเป็นต้น. จริงอยู่ ในบารมีเหล่านั้น เนกขัมมบารมีสงเคราะห์เข้าด้วยศีลบารมี ในเพราะการบรรพชาของเนกขัมมบารมีนั้น. อนึ่งสงเคราะห์เข้าด้วยฌานบารมีในเพราะความสงัดจากนิวรณ์. สงเคราะห์ด้วยแม้ทั้ง ๖ ในเพราะความเป็นกุศลธรรม สัจจบารมีเป็นเอกเทศของศีลบารมี ในเพราะเป็นฝ่ายแห่งวจีวิรัติสัจจะ. อนึ่ง สงเคราะห์เข้าด้วยปัญญาบารมีในเพราะเป็นฝ่ายแห่งญาณสัจจะ. เมตตาบารมี สงเคราะห์เข้าด้วยฌานบารมีเท่านั้น. แม้อุเบกขาบารมีก็สงเคราะห์เข้าด้วยฌานบารมีและปัญญาบารมี. เป็นอันท่านสงเคราะห์อธิษฐานบารมี แม้ด้วยบารมีทั้งหมด.

บารมีทั้งหลายมี ๑๕ คู่ ของการสัมพันธ์กันแห่งคุณทั้งหลาย ๖ มี ทานเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอันให้สำเร็จเป็นคู่ๆ ได้ ๑๕ คู่เป็นต้น เป็น อย่างไร. ความสำเร็จแห่งคู่คือทำและไม่ทำสิ่งเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วยคู่ทานกับศีล. ความสำเร็จคู่อโลภะและอโทสะด้วยคู่คือทานกับขันติ. ความสำเร็จคู่จาคะและสุตะด้วยคู่คือ ทานกับวิริยะ. ความสำเร็จคู่การละกามและโทสะ ด้วยคู่คือทานกับฌาน. ความสำเร็จแห่งคู่คือยานและแอกของพระอริยะด้วยคู่คือ ทานกับปัญญา. ความสำเร็จทั้งสองอย่างคือ ความบริสุทธิ์แห่งปโยคะและอาสยะ. ด้วยคู่ทั้งสองคือศีลและขันติ. ความสำเร็จภาวนาทั้งสอง ด้วยคู่ทั้งสองคือศีลกับวิริยะ. ความสำเร็จทั้งสองอย่างคือละความเป็นผู้ทุศีล และความหมกมุ่นด้วยคู่ทั้งสองคือ

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 650

ศีลกับฌาน. ความสำเร็จทานทั้งสองด้วยคู่คือศีลกับปัญญา. ความสำเร็จคู่ทั้งสองคือ ความอดทนและความไม่มีเดช ด้วยคู่คือขันติกับวิริยะ. ความสำเร็จคู่คือวิโรธ คือความพิโรธ และอนุโรธะ คือความคล้อยตาม ด้วยคู่ขันติกับฌาน. ความสำเร็จคู่ทั้งสองคือขันติและปฏิเวธของสุญญตา ด้วยคู่ คือขันติกับปัญญา. ความสำเร็จคู่ทั้งสองคือปัคคหะ. คือการประคองไว้ และ อวิกเขปะ คือความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคู่คือวิริยะกับฌาน. ความสำเร็จคู่คือ สรณะด้วยคู่ คือวิริยะกับปัญญา. ความสำเร็จหมวด ๒ คือยานด้วยคู่ คือ ฌานกับปัญญา. ความสำเร็จ ๓ หมวดคือละโลภะ โทสะและโมหะ ด้วย ๓ หมวดคือ ทาน ศีล และขันติ. ความสำเร็จ ๓ หมวด คือการให้สิ่งเป็นสาระคือสมบัติ ชีวิต และร่างกาย ด้วย ๓ หมวด คือ ทาน ศีล และ วิริยะ. ความสำเร็จบุญกิริยาวัตถุ ๓ ด้วยหมวด ๓ คือ ทาน ศีลและฌาน. ความสำเร็จ ๓ หมวดคืออามิสทาน อภัยทาน และธรรมทานด้วย ๓ หมวด คือ ทาน ศีล และปัญญา. ด้วยประการฉะนี้แล.

พึงประกอบติกะ และจตุกกะเป็นต้น ตามที่ปรากฏด้วยติกะ และ จตุกกะ แม้นอกนี้อย่างนี้.

อนึ่ง พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ แห่งบารมีเหล่านั้นแม้ ๖ อย่างด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่อธิษฐานธรรม ๔ โดยรวมบารมีทั้งหมดไว้. คือสัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐาน อุปสมาธิษฐาน ปัญญาธิษฐาน. ในอธิษฐานธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อธิษฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งมั่น. หรือ

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 651

เป็นที่ตั้งมั่น หรือเพียงตั้งมั่นเท่านั้น. ชื่อว่า สัจจาธิษฐาน เพราะสัจจะและอธิษฐาน. หรือเพราะเป็นที่ตั้งแห่สัจจะ หรือเพราะมีสัจจะเป็นอธิษฐาน. แม้ในอธิษฐานธรรมที่เหลือก็เหมือนอย่างนั้น. ในอธิษฐานธรรมนั้นโดยไม่ต่างกัน สัจจาธิษฐาน เพราะกำหนดบารมีทั้งปวงสมควรแก่ปฏิญญาของพระมหาสัตว์ ผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ สะสมบุญญาภินิหารในโลกุตตรคุณ. จาคาธิษฐาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสัจจะ. อุปสมาธิษฐาน เพราะสงบจากสิ่งไม่เป็นคุณของบารมีทั้งปวง. ปัญญาธิษฐาน เพราะเป็นผู้ฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยอธิษฐานธรรมเหล่านั้น.

แต่โดยที่ต่างกัน ทาน เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะปฏิญญาว่า เราจักให้ไม่ให้ยาจกผิดหวัง เพราะให้ไม่ผิดปฏิญญา เพราะอนุโมทนาไม่ผิดทาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อมัจฉริยะเป็นต้น เพราะสงบจากภัยคือโลภะ โทสะ และโมหะในไทยธรรม ปฏิคคาหก ทานและความสิ้นไปแห่งไทยธรรม เพราะให้ตามสมควร ตามกาลและตามวิธี และเพราะปัญญายิ่ง. อนึ่ง ศีล เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ เพราะไม่ล่วงสังวรสมาทาน เพราะสละความทุศีล เพราะสงบจากทุจริต และเพราะปัญญายิ่ง. ขันติ เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐาน ๔ เพราะอดทนได้ตามปฏิญญา เพราะสละการกำหนดโทษของผู้อื่น เพราะสงบความ โกรธและความหมกมุ่น และเพราะมีปัญญายิ่ง. วิริยะ เป็นปทัฏฐานแห่ง

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 652

อธิษฐานธรรม ๔ เพราะทำเพื่อประโยชน์ผู้อื่นตามสมควรแก่ปฏิญญา เพราะสละความสละสลวย เพราะสงบจากอกุศล และเพราะมีปัญญายิ่ง. ฌาน เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ เพราะคิดถึงประโยชน์ของโลกตามสมควรแก่ปฏิญญา เพราะสละนิวรณ์ เพราะสงบจิต และเพราะมีปัญญายิ่ง ปัญญา เป็นปทัฏฐานแห่งอธิษฐานธรรม ๔ เพราะฉลาดในอุบายทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นตามปฏิญญา เพราะสละการกระทำอันไม่เป็นอุบาย เพราะสงบความ เร่าร้อนอันเกิดแต่โมหะ และเพราะได้ความเป็นพระสัพพัญญู.

ในอธิษฐานธรรมเหล่านั้น สัจจาธิษฐาน ด้วยการจัดตามปฏิญญา เพื่อสิ่งควรรู้. จาคาธิษฐาน ด้วยการสละวัตถุกามและกิเลสกาม. อุปสมาธิษฐาน ด้วยการสงบทุกข์อันเกิดแต่โทสะ. ปัญญาธิษฐาน ด้วยการตรัสรู้ตามและการรู้แจ้งแทงตลอด.

สัจจาธิษฐาน มีข้าศึก คือ โทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยสัจจะ ๓ อย่าง จาคาธิษฐาน มีข้าศึก คือ โทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยจาคะ ๓ อย่าง. อุปสมาธิษฐาน มีช้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยอุปสมะ ๓ อย่าง. ปัญญาธิษฐาน มีข้าศึกคือโทสะ ๓ อย่าง กำหนดด้วยญาณ ๓ อย่าง.

จาคาธิษฐาน อุปสมาธิษฐาน และปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยสัจจาธิษฐาน เพราะพูดไม่ผิดความจริง เพราะจัดตามปฏิญญา. สัจจาธิษฐาน อุปสมาธิษฐานและปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยจาคาธิษฐาน เพราะสละสิ่งเป็นปฏิปักษ์ และเพราะผลแห่งการสละทั้งปวง. สัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐาน

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 653

และปัญญาธิษฐาน กำหนดด้วยอุปสมาธิษฐาน เพราะสงบจากความเร่าร้อน คือกิเลส เพราะสงบจากกามและเพราะสงบจากความเร่าร้อนคือกาม. สัจจาธิษฐาน จาคาธิษฐานและอุปสมาธิษฐาน กำหนดด้วยปัญญาธิษฐาน เพราะมีญาณถึงก่อน และเพราะหมุนไปตามญาณ. บารมีแม้ทั้งหมดประกาศสัจจะ ทำจาคะให้ปรากฏพอกพูนอุปสมะ มีปัญญาบริสุทธิ์อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่สัจจะเป็นเหตุเกิดบารมีเหล่านั้น.

จาคะ เป็นเหตุกำหนดบารมี. อุปสมะ เป็นเหตุเจริญรอบ. ปัญญา เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์. อนึ่ง สัจจาธิษฐานมีในเบื้องต้น เพราะสัจจปฏิญญา.

จาคาธิษฐานมีในท่ามกลาง เพราะสละตนเพื่อประโยชน์ผู้อื่นของผู้ทำความตั้งใจแน่วแน่. อุปสมาธิษฐานมีในที่สุด. เพราะความสงบทั้งปวงเป็นที่สุด ปัญญาธิษฐานมีในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เพราะเมื่อสัจจะ จาคะ อุปสมะมี ปัญญาก็มี เพราะเมื่อสัจจะ จาคะ อุปสมะไม่มี ปัญญาก็ไม่มี และเพราะมีตามปฏิญญา.

ในอธิษฐานธรรมนั้น มหาบุรุษทั้งหลายเป็นคฤหัสถ์ ย่อมอนุเคราะห์สัตว์อื่นด้วยอามิสทาน โดยทำประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นเนืองๆ โดยทำความเป็นผู้น่าเคารพ น่ารักและด้วยสัจจาธิษฐาน และจาคาธิษฐาน. อนึ่ง เป็นบรรพชิตย่อมอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยธรรมทาน โดยทำประโยชน์ตน

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 654

ประโยชน์ผู้อื่น โดยทำความเป็นผู้น่าเคารพ น่ารัก และด้วยอุปสมาธิษฐาน และปัญญาธิษฐาน.

ในภพที่สุดนั้น พระโพธิสัตว์บำเพ็ญอธิษฐานธรรม ๔ ให้บริบูรณ์. อาจารย์บางคนกล่าวว่า เป็นความจริงพระโพธิสัตว์มีอธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์ แล้วจะอุบัติในภพสุดท้าย. ก็ในการอุบัติในภพสุดท้ายนั้น พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ โดยเริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน ในการหยั่งลงสู่พระครรภ์ การดำรงอยู่และการประสูติ เพื่อยังสัจจาธิษฐานให้บริบูรณ์ พอประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น ทรงบ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ทรงตรวจดูทิศทั้งปวง มีพระวาจามุ่งมั่นในสัจจะ ทรงบันลือสีหนาท ๓ ครั้งว่า อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส, เชฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส, เสฏฺโหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก. เราเป็นผู้เจริญแห่งโลก. เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก.

พระโพธิสัตว์ผู้ฉลาดในการชี้แจงธรรม ๔ ประการ ผู้เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต ด้วยการเริ่มอุปสมาธิษฐาน เป็นความสงบของผู้เมาในความเป็นหนุ่ม ความไม่มีโรค ชีวิตและสมบัติทั้งหลาย. การสละไม่คำนึงถึงวงศ์พระญาติใหญ่ และจักรวรรดิราชสมบัติอันจะถึงเงื้อมพระหัตถ์ด้วยเริ่มจาคาธิษฐาน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์แล้วในอภิสัมโพธิญาณในฐานะที่ ๒. เพราะในฐานะนั้นการตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยเริ่ม

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 655

ด้วยสัจจาธิษฐานตามปฏิญญา แต่นั้นสัจจาธิษฐานจึงบริบูรณ์. การสละกิเลสและอุปกิเลสทั้งปวงโดยเริ่มด้วยจาคาธิษฐาน เพราะแต่นั้นจาคาธิษฐานจึงบริบูรณ์ การบรรลุถึงความสงบอย่างยิ่งโดยเริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน เพราะแต่นั้นอุปสมาธิษฐานจึงบริบูรณ์. การได้อนาวรณญาณ โดยเริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน เพราะแต่นั้นปัญญาธิษฐานจึงบริบูรณ์. ข้อนั้นยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะแม้อภิสัมโพธิญาณก็เป็นปรมัตถธรรม.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์ ครั้งทรงแสดงพระธรรมจักรในฐานะที่ ๓ เพราะในฐานะนั้นสัจจาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการแสดงอริยสัจ โดยอาการ ๑๒ ของท่านผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. จาคาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการทำการบูชาใหญ่ ซึ่งพระสัทธรรมของท่านผู้เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน. อุปสมาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสงบกิเลสเหล่าอื่นของผู้สงบด้วยตนเอง ผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน. ปัญญาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการกำหนดอัธยาศัยเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ ของผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน. แม้ข้อนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะพุทธกิจยังไม่จบ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อธิษฐานธรรม ๔ บริบูรณ์ในการปรินิพพานในฐานะที่ ๔. เพราะในฐานะนั้น สัจจาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสมบูรณ์แห่งปรมัตถสัจ เพราะปรินิพพานแล้ว. จาคาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสละอุปธิทั้งปวง. อุปสมาธิฐานบริบูรณ์ด้วยการสงบสังขารทั้งปวง. ปัญญาธิษฐานบริบูรณ์ด้วยการสำเร็จประโยชน์ด้วยปัญญา.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 656

ในอธิษฐานธรรม ๔ นั้น ความบริบูรณ์ด้วยสัจจาธิษฐาน เป็น ความเฉียบแหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน ในอภิชาติอันเป็นเขตแห่งเมตตาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาธิษฐาน เป็นความเฉียบแหลมของมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน ในอภิสัมโพธิญาณอันเป็นเขตแห่งกรุณาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยจาคาธิษฐานเป็นความเฉียบแหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน เมื่อครั้งทรงแสดงพระธรรมจักรอันเป็นเขตแห่งมุทิตาโดยพิเศษ. ความบริบูรณ์ด้วยอุปสมาธิษฐาน เป็นความเฉียบแหลมของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐานในการปรินิพพานอันเป็นเขตแห่งอุเบกขาโดยพิเศษ. พึงทราบเหตุด้วยประการฉะนี้แล.

ในอธิษฐานธรรม ๔ นั้น ศีล พึงทราบด้วยการอยู่ร่วมกันของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. ความสะอาด พึงทราบด้วยกิจการของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยจาคาธิษฐาน. กำลัง พึงทราบในเวลามีอันตรายของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน. ปัญญา พึงทราบด้วยการสนทนาของพระมหาบุรุษผู้เริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน. พึงทราบความบริสุทธิ์แห่งศีล อาชีวะ จิตและทิฏฐิ ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง ไม่ถึงโทสาคติ เพราะหลอกลวงโดยเริ่มด้วยสัจจาธิษฐาน. ไม่ถึงโลภาคติ เพราะไม่เกี่ยวข้องโดยเริ่มด้วยจาคาธิษฐาน. ไม่ถึงภยาคติ เพราะไม่ผิดโดยเริ่มด้วยอุปสมาธิษฐาน. ไม่ถึงโมหาคติ เพราะตรัสรู้ตามความเป็นจริงโดยเริ่มด้วยปัญญาธิษฐาน.

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 657

อนึ่ง ไม่ประทุษร้ายอดกลั้นด้วยอธิษฐานธรรมข้อที่ ๑. ไม่โลภ เสพด้วยข้อที่ ๒. ไม่กลัว เว้นด้วยข้อที่ ๓. ไม่หลง บรรเทาได้ด้วยข้อที่ ๔. การบรรลุเนกขัมมสุข ด้วยอธิษฐานธรรมข้อที่ ๑. การได้ปีติสุขเกิดแต่ความสงัด ความสงบ และสัมโพธิ ด้วยอธิษฐานธรรม นอกนั้นพึงทราบด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง การได้อุเบกขาสุขเกิดแต่วิเวก เกิดแต่ปีติสุข สมาธิ เกิดแต่สุขทางกายอันเกิดแต่ปีติสุขและไม่มีปีติ และสติบริบูรณ์ ย่อมมีตามลำดับ ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ เหล่านี้. พึงทราบการประมวลบารมีทั้งหมดลงด้วยอธิษฐานธรรม ๔ อันเกี่ยวพันด้วยคุณไม่น้อยด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง พึงเห็นว่า การประมวลบารมีทั้งหมดลงแม้ด้วยกรุณาและปัญญา เหมือนการประมวลบารมีทั้งหมดลงด้วยอธิษฐานธรรม ๔. เพราะโพธิสมภารแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์ด้วยกรุณาและปัญญา. คุณมีทานเป็นต้น กำหนดด้วยกรุณา และปัญญาเป็นมหาโพธิสมภาร มีความสำเร็จความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด. พึงทราบการสงเคราะห์บารมีเหล่านี้อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล.

อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ? คือการสะสมบุญญาทิสมภารแม้ทั้งสิ้น อุทิศสัมมาสัมโพธิญาณโดยไม่ทำให้บกพร่อง. การทำโดยความเคารพในสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ด้วยความเอื้อเฟื้อและความนับถือมาก. การทำความเพียรติดต่อด้วยความพยายามเป็นลำดับไป. และความพยายามตลอดกาลนานเป็นต้น ในระหว่างด้วยการให้ถึงที่สุด. ปริมาณกาลของอุบายให้สำเร็จนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า. การประกอบองค์ ๔. เป็นอุบายให้บารมีเหล่านั้นสำเร็จ

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 658

ด้วยประการดังนี้. อนึ่ง พระมหาสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อตรัสรู้ ควรมอบตนแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณก่อนทีเดียวว่า ข้าพเจ้าขอมอบอัตภาพนี้แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ควรสละก่อนแต่จะได้วัตถุที่หวงแหนนั้นๆ ในทานมุขว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันของใช้ประจำชีวิตซึ่งเกิดแก่ข้าพเจ้า สิ่งนั้นทั้งหมด เมื่อมีผู้ขอ ข้าพเจ้าจักให้. ข้าพเจ้าจักพึงบริโภคส่วนที่เหลือจากที่ให้แก่ยาจกเหล่านั้นเท่านั้น.

เมื่อมหาบุรุษนั้นตั้งใจเพื่อบริจาคโดยชอบอย่างนี้ วัตถุที่หวงแหนอันเป็นวัตถุไม่มีวิญญาณเกิดขึ้น หรือวัตถุไม่มีวิญญาณอันใดเกิดขึ้น. การผูกใจในทาน ๔ คือ การไม่สะสมทานในกาลก่อน ๑ ความที่วัตถุหวงแหนมีน้อย ๑ ความพอใจยิ่ง ๑ ความคิดถึงความหมดสิ้น ๑ ในวัตถุนั้น. ในการติดตามทานเหล่านั้น ในกาลใด เมื่อไทยธรรมมีอยู่แก่พระมหาโพธิสัตว์ และเมื่อยาจกปรากฏ จิตในการให้ไม่แล่นไปไม่ก้าวไป. ด้วยเหตุนั้นควรแน่ใจในข้อนั้นได้ว่า เมื่อก่อนเรามิได้สะสมในการให้เป็นแน่. ดังนั้นในบัดนี้ความใคร่ที่จะให้ของเราจึงไม่ตั้งอยู่ในใจ. พระมหาโพธิสัตว์นั้นบริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกทาน ย่อมให้ทานด้วยคิดว่า ต่อแต่นี้ไปเราจักมีใจยินดีในทานเป็นอย่างยิ่ง. เอาเถิดเราจักให้ทานตั้งแต่วันนี้ไป. การผูกใจในทานข้อที่หนึ่ง เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อไทยธรรมมีน้อยและบกพร่อง ย่อมสำเหนียกว่า เมื่อก่อนเพราะเราไม่ชอบให้ บัดนี้เราจึงขาดแคลนปัจจัยอย่างนี้. เพราะ

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 659

ฉะนั้น บัดนี้แม้เราจะเบียดเบียนตนด้วยไทยธรรมตามที่ได้นิดหน่อยก็ตาม เลวก็ตาม จะต้องให้ทานจนได้. เราจักบรรลุทานบารมีแม้ต่อไปจนถึงที่สุด. พระมหาสัตว์นั้นบริจาค มีฝ่ามือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานตามมีตามได้. การผูกใจในทานข้อที่ ๒. เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์ เมื่อจิตใคร่จะไม่ให้เกิดขึ้นเพราะเสียดายไทยธรรม ย่อมสำเหนียกว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ท่านปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณอย่างสูงสุด ประเสริฐกว่าสิ่งทั้งปวงมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้นท่านควรให้ไทยธรรมที่พอใจอย่างยิ่ง เพื่อสัมมาสัมโพธิญาณนั้นเท่านั้น. พระมหาสัตว์นั้นบริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน. การผูกใจทานข้อที่ ๓ ของพระมหาสัตว์เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไป ด้วยอาการอย่างนี้.

อนึ่ง พระมหาสัตว์เมื่อให้ทาน ย่อมเห็นความสิ้นเปลืองของไทยธรรมในกาลใด. ย่อมสำเหนียกว่า สภาพของโภคะทั้งหลายเป็นอย่างนี้ คือ มีความสิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเราไม่ทำทานเช่นนั้นมาก่อน. โภคะทั้งหลายจึงปรากฏความสิ้นไปอย่างนี้. เอาเถิดเราจะพึงให้ทานด้วยไทยธรรมตามที่ได้น้อยก็ตาม ไพบูลย์ก็ตาม. เราจักบรรลุถึงที่สุดแห่งทานบารมีต่อไป. พระมหาสัตว์นั้นบริจาค มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ มีผู้ขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ให้ทานด้วยของตามที่ได้.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 660

การผูกใจในทานข้อที่ ๔ ของพระมหาสัตว์เป็นอันถูกขจัดไป ตัดขาดไปด้วยอาการอย่างนี้. การพิจารณาตามสมควรแล้วปัดเป่าไป เป็นอุบายของความไม่มีประโยชน์ อันเป็นการผูกใจในทานบารมีด้วยอาการอย่างนี้. พึงเห็นแม้ในศีลบารมีเป็นต้น อย่างเดียวกับทานบารมี.

อีกอย่างหนึ่ง การมอบตนแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของพระมหาสัตว์นั้นเป็นอุบายให้บารมีทั้งปวงสำเหนียกโดยชอบ. จริงอยู่พระมหาบุรุษมอบตนแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วดำรงอยู่ เพียรพยายามเพื่อความบริบูรณ์แห่งโพธิสมภารในบารมีนั้นๆ เมื่อตัดอุปกรณ์อันทำให้ร่างกายเป็นสุขทนได้ยากบ้าง ลำบากมีความยินดีได้ยากบ้าง ความพินาศร้ายแรงอันคร่าชีวิตไป น้อมนำเข้าไปในสัตว์และสังขาร ตั้งความปรารถนาว่า เราบริจาคอัตภาพนี้แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ขอการบริจาคนั้นจงเป็นผลในโลกนี้เถิด. นิมิตนั้นไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความเป็นอย่างอื่นแม้แต่น้อย เป็นผู้มีอธิษฐานมั่นคงในการทำกุศลโดยแท้. แม้การมอบตนอย่างนี้ก็เป็นอุบายให้บารมีเหล่านั้นสำเร็จได้.

อีกอย่างหนึ่งว่าโดยย่อ ผู้สะสมบุญญาภินิหารมีความเยื่อใยในตนจืดจาง มีความเยื่อใยในผู้อื่นเจริญ เป็นอุบายให้บารมีเหล่านั้นสำเร็จได้. จริงอยู่ เพราะบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ความเยื่อใยในตนของพระมหาสัตว์ผู้กระทำมหาปณิธานไว้ ผู้ไม่ติดในธรรมทั้งปวงด้วยกำหนดรู้โดยความเป็นจริง ย่อมถึงความสิ้นไป ความเหนื่อยหน่าย. ความเยื่อใยด้วยเมตตาและ

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 661

กรุณาในสัตว์เหล่านั้น ย่อมเจริญแก่พระมหาบุรุษผู้เห็นสรรพสัตว์ดุจบุตรที่น่ารักเปี่ยมด้วยมหากรุณา. แต่นั้นพระมหาบุรุษได้ทำสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโพธิสมภารมีมัจฉริยะเป็นต้น ให้ไกลแสนไกล กระทำการหยั่งลงในยาน ๓ เบื้องบน และความเจริญงอกงาม ด้วยการทำความสงเคราะห์แก่ชนโดยส่วนเดียวด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อตฺถจริยา คือการประพฤติประโยชน์ และ สมานัตตตา คือความมีตนเสมอต้นเสมอปลาย ตามไปด้วยอธิษฐานธรรม ๔.

จริงอยู่ มหากรุณาและมหาปัญญาของพระมหาสัตว์ทั้งหลายประดับด้วยทาน. ทานประดับด้วยปิยวาจา. ปิยวาจาประดับด้วยอัตถจริยา. อัตถจริยาประดับและสงเคราะห์เพราะเป็นผู้มีตนเสมอคือไม่ถือตัว. เมื่อพระมหาสัตว์เหล่านั้นทำสัตว์แม้ทั้งปวงไม่ให้มีเศษด้วยตนปฏิบัติในโพธิสมภาร ความสำเร็จย่อมมี เพราะความมีตนเสมอกัน เพราะมีสุขทุกข์เสมอในที่ทั้งปวง. การปฏิบัติด้วยการทำความสงเคราะห์ส่วนเดียวแก่ชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ เหล่านั้น อันเป็นการทำอธิษฐานธรรม ๔ ให้บริบูรณ์และเจริญยิ่งย่อมสำเร็จแก่พระมหาสัตว์ทั้งหลาย แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว. เพราะทาน เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยจาคาธิษฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย. ปิยวาจา เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยสัจจาธิษฐาน. อัตถจริยา เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยปัญญาธิษฐาน. สมานัตตตา เป็นความบริบูรณ์และเจริญยิ่งด้วยอุปสมาธิษฐาน. จริงอยู่ พระตถาคตเป็นผู้เสมอด้วย

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 662

พระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงในการปรินิพพาน. ในการปรินิพพานนั้น ท่านเหล่านั้นเป็นอย่างเดียวกัน โดยไม่ต่างกันเลย. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความต่างกันแห่งวิมุติย่อมไม่มี.

อนึ่งในข้อนี้มีคาถาดังต่อไปนี้ :-

พระศาสดาผู้มีสัจจะ มีจาคะ มีความสงบ มีปัญญา ผู้อนุเคราะห์ ผู้สะสมบุญบารมีทั้งปวง ไม่พึงยังประโยชน์ชื่อไรให้สำเร็จบ้าง. พระศาสดาผู้มีพระมหากรุณา แสวงหาคุณอันเป็นประโยชน์ ผู้วางเฉยและไม่คำนึงในสิ่งทั้งปวง โอ พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์. พระศาสดาผู้ทรงหน่ายในสรรพธรรม ทรงวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย ทรงขวนขวายประโยชน์แก่สัตว์ทุกเมื่อ โอ พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์. พระศาสดาทรงขวนขวายไม่เกียจคร้าน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สรรพสัตว์ในกาลทั้งปวง โอ พระชินเจ้า น่าอัศจรรย์.

ให้สำเร็จประโยชน์โดยกาลไหน? ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า โดยกำหนดอย่างต่ำสี่อสงไขยแสนมหากัป. โดยกำหนดอย่างกลาง แปดอสง

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 663

ไขยแสนมหากัป. ส่วนโดยกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยแสนมหากัป ความต่างกันเหล่านี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะและวิริยาธิกะ ตามลำดับ.

จริงอยู่ ศรัทธาอ่อนปัญญากล้าย่อมมีแก่ผู้เป็นปัญญาธิกะทั้งหลาย ปัญญาปานกลางมีแก่ผู้เป็นศรัทธาธิกะทั้งหลาย ปัญญาอ่อนย่อมมีแก่ผู้เป็นวีริยาธิกะทั้งหลาย.

อนึ่ง พึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยอานุภาพแห่งปัญญา.

ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งความเพียร แต่โดยความไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดยความต่างแห่งกาลตามที่กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ. เพราะเหตุนั้นความต่างแห่งกาล ๓ เหล่านี้จึงควรแล้ว. ด้วยอาการอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมมี ๓ ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่งอุคฆฏิตัญญู วิปัญจิตัญญู และเนยยะ. ใน ๓ อย่างนั้น ผู้ที่ฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๓ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นอุคฆฏิตัญญู. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 664

บุคคลประเภทที่สอง ฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๔ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

ส่วนบุคคลประเภทที่สาม ฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจบคาถาแล้วเป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอภิญญา ๖.

พระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเหล่านี้ เว้นความต่างแห่งกาละสะสมบุญญาภินิหาร และได้พยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญบารมีมาโดยลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว. เมื่อประเภทแห่งกาลเหล่านั้นๆ ยังไม่บริบูรณ์ พระมหาสัตว์เหล่านั้นๆ แม้ให้มหาทานเช่นกับทานของพระเวสสันดรทุกๆ วัน แม้สะสมบารมีธรรมทั้งปวงมีศีลเป็นต้นตามสมควร แม้สละมหาบริจาค ๕ แม้ยังญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา พุทธธัตถจริยา ให้ถึงที่สุดอย่างยิ่ง ก็จักเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในระหว่าง. ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. เพราะเหตุไร. เพราะญาณยังไม่แก่กล้า เพราะพุทธการกธรรมยังไม่สำเร็จ. จริงอยู่ แม้พยายามด้วยอุตสาหะทั้งหมดในระหว่างนั้นก็ไม่สามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ อันสำเร็จด้วยกำหนดกาลตามที่กล่าวแล้วได้ ดุจข้าวกล้าสำเร็จตามที่กำหนดไว้เท่านั้น เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า ความบริบูรณ์แห่งบารมีย่อมสำเร็จด้วยกาลวิเศษ ตามที่กล่าวแล้ว.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 665

อะไรเป็นอานิสงส์. ท่านพรรณนาอานิสงส์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้สะสมบุญญาภินิหารไว้อย่างนี้ว่า :-

นรชนทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะทั้งปวง ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน นับได้ร้อยโกฏิกัปป์ เป็นผู้เที่ยงต่อโพธิญาณ. ย่อมไม่เกิดในอเวจี และในโลกันตรนรก. ไม่เกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสิกเปรตและกาลกัญชิกาเปรต. สัตว์เล็กๆ แม้เข้าถึงทุคติก็ไม่มี. สัตว์เหล่านั้นเมื่อเกิดในมนุษยโลก ก็ไม่เกิดเป็นคนตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้. ไม่เป็นอุภโตพยัญชนกและบัณเฑาะก์ และก็ไม่ถึงความเป็นสตรี. นรชนทั้งหลายยังไม่สำเร็จก็จะพ้นจากนรก มีโคจรบริสุทธิ์ในที่ทั้งปวง เที่ยงต่อโพธิญาณ. เชื่อกรรม ผลของกรรม ไม่เสพมิจฉาทิฏฐิ แม้อยู่ในสวรรค์ก็ไม่เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก. ย่อมไม่มีเหตุในเทวโลกชั้นสุทธาวาส.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 666

สัตบุรุษทั้งหลายน้อมไปในเนกขัมมะ ไม่เกี่ยวข้องในภพน้อยภพใหญ่. ย่อมประพฤติโลกัตถจริยา. บำเพ็ญบารมีทั้งปวง.

อนึ่ง ชนิดธรรมน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ๑๖ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมชัญญะจุติจากเทพชั้นดุสิตแล้วหยั่งลงสู่ครรภ์มารดา. อนึ่ง มีชนิดแห่งบุรพนิมิต ๓๒ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ความหนาวปราศไป. และความร้อนสงบ. และโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนสารีบุตร เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหวสั่นสะเทือน. หรือว่าอานิสงส์แม้อื่นใดมีอาการที่ได้แสดงไว้ในชาดกและพุทธวงศ์เป็นต้นนั้นๆ มีอาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ชำนาญในกรรมเป็นต้น เป็นความสำเร็จความประสงค์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ทั้งหมดนั้นเป็นอานิสงส์แห่งบารมีเหล่านั้น. อนึ่ง พึงทราบว่า อานิสงส์มีคู่แห่งคุณธรรม มีอโลภะและอโทสะเป็น ต้น มีประเภทตามที่ได้แสดงไว้แล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโพธิสัตว์เป็นเสมอบิดาของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่สะสมอภินิหารเพื่อแสวงหาประโยชน์ เป็นผู้ควรทักษิณา น่าเคารพ น่ายกย่อง และเป็นบุญเขตอย่างยิ่งด้วยประกอบคุณวิเศษ. และโดยมากพระโพธิสัตว์เป็นที่รักของมนุษย์ ของอมนุษย์ ทวยเทพคุ้มครอง สัตว์ร้ายเป็นต้น ครอบงำไม่ได้ เพราะมีสันดานอบรมด้วยเมตตากรุณา. อนึ่ง พระ

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 667

โพธิสัตว์เกิดในหมู่สัตว์ใดๆ ย่อมครอบงำสัตว์อื่นในหมู่สัตว์นั้นๆ ด้วยวรรณ ยศ สุข พละ อธิปไตยอันยอดยิ่ง เพราะประกอบด้วยบุญวิเศษ.

เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย. ศรัทราของพระโพธิสัตว์นั้นบริสุทธิ์ด้วยดี. ความเพียรบริสุทธิ์ด้วยดี. สติ สมาธิ ปัญญา บริสุทธิ์ด้วยดี. มีกิเลสเบาบาง มีความกระวนกระวายน้อย มีความเร่าร้อนน้อย. เป็นผู้ว่าง่าย เพราะมีกิเลสเบาบาง. เป็นผู้มีความเคารพ. อดทน สงบเสงี่ยม. อ่อนโยน ฉลาดในปฏิสันถาร. ไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ. ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่. ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา. ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว. ไม่รุนแรง ไม่ประมาท. อดทนต่อความเดือดร้อนจากผู้อื่น ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน. อันตรายมีภัยเป็นต้นที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดในตำบลที่ตนอาศัยอยู่. และที่เกิดแล้วย่อมสงบไป. ทุกข์มีประมาณยิ่งย่อมไม่เบียดเบียนดุจชนเป็นอันมากในอบายที่ทุกข์เกิด. ย่อมถึงความสังเวชโดยประมาณยิ่ง. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าคุณวิเศษเหล่านั้น มีความเป็นทักขิไณยบุคคลเสมอด้วยบิดาเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอานิสงส์ที่พระมหาบุรุษได้ในภพนั้นๆ ตามสมควร.

อนึ่ง แม้คุณสมบัติเหล่านี้ คือ อายุสัมปทา รูปสัมปทา กุสลสัมปทา อิสริยสัมปทา อาเทยฺยวจนตา คือพูดเชื่อได้ มหานุภาวตา พึงทราบว่า เป็นอานิสงส์แห่งบารมีทั้งหลายของมหาบุรุษ. ในคุณวิเศษเหล่านั้น ชื่อว่า อายุสัมปทา ได้แก่ความมีอายุยืน ความตั้งอยู่นานในการเกิดนั้นๆ

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 668

ยังกุศลสมาทานตามที่เริ่มไว้ในอายุสัมปทานั้นให้ถึงที่สุด และสะสมกุศลไว้มาก. ชื่อว่า รูปสัมปทา ได้แก่ความมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส น่ายกย่องของสัตว์ทั้งหลายที่ถือรูปเป็นประมาณด้วยรูปสัมปทานั้น. ชื่อว่า กุสลสัมปทา ได้แก่การเกิดในกุศลอันยิ่ง ควรเข้าไปหา ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ผู้มัวเมามีมัวเมาด้วยชาติเป็นต้น ด้วยกุสลสัมปทา ทำชนเหล่านั้นให้หมดพยศด้วยเหตุนั้น. ชื่อว่า อิสริยสัมปทา ได้แก่ความเป็นผู้มีสมบัติมาก มีศักดิ์ใหญ่ และมีบริวารมาก เป็นผู้สามารถสงเคราะห์ผู้ที่ควรสงเคราะห์ และข่มผู้ที่ควรข่มโดยธรรม ด้วยอิสริยสัมปทานั้น. ชื่อว่า อาเทยฺยวจนตา ได้แก่ ความเป็นผู้เชื่อได้ เชื่อถือได้ เป็นประมาณของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยความเชื่อถือนั้น คำสั่งของพระโพธิสัตว์นั้นกลับกลอกไม่ได้. ชื่อว่า มหานุภาวตา ได้แก่ เพราะมีอานุภาพมาก คนอื่นครอบงำไม่ได้. แต่ตนเองครอบงำคนอื่นได้โดยแท้ โดยธรรม โดยเสมอ และโดยคุณตามเป็นจริงด้วยความเป็นผู้มีอานุภาพใหญ่นั้น. พึงทราบว่าคุณวิเศษ มีอายุสัมปทาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอานิสงส์แห่งบารมีทั้งหลายของพระมหาบุรุษ. และเป็นเหตุแห่งความเจริญของบุญสมภารหาประมาณมิได้ และเป็นเหตุแห่งการหยั่งลงและความเจริญงอกงามของสัตว์ทั้งหลายในญาณ ๓.

อะไรเป็นผล. กล่าวโดยย่อ ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผลของบารมีเหล่านั้น. กล่าวโดยพิสดาร สิริธรรมกายอันงดงามทั่วไปตั้งขึ้นด้วย

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 669

คุณหาประมาณมิได้ ไม่มีสิ้นสุดตั้งแต่สมบัติของรูปกายอันรุ่งเรืองด้วยหมู่คุณไม่น้อย มีอาทิ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีวาหนึ่ง เป็นต้น อธิษฐานธรรม ทศพลพลญาณ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ พุทธธรรม ๑๘ หมวด. อนึ่ง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่สามารถจะสรรเสริญพระพุทธคุณทั้งหลายให้สิ้นสุดลงได้ด้วยกัปไม่น้อย. นี้เป็นผลของบารมีเหล่านั้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

แม้พระพุทธเจ้าก็พึงสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า. หากกล่าวกะผู้อื่นแม้ตลอดกัป. กัปสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลายาวนาน แต่พระคุณของพระตถาคตยังไม่สิ้นไป.

พึงทราบปกิณณกกถาในบารมีทั้งหลายในที่นี้ด้วยประการฉะนี้. แต่บทใดในบาลี ท่านแสดงบารมีแม้ทั้งหมดรวมกันโดยนัยมีอาทิว่า ทตฺวา ทาตพฺพกํ ทานํ ให้ทานที่ควรให้ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาสองคาถาสุดท้าย โดยนัยมีอาทิว่า โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา เห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย ดังนี้ข้างหน้า. บทนั้นท่านกล่าวเพื่อให้โอวาทแก่เวไนยสัตว์เพื่อบ่มวิมุติให้แก่กล้า ด้วยธรรมที่เป็นเมตตาภาวนาปรารภความเพียรตามที่กล่าวแล้ว ด้วยอัปปมาทวิหารธรรม พุทธการกธรรมถึงความบริสุทธิ์ และการบ่มวิมุติของตน กล่าวคือสัมมาสัมโพธิญาณให้แก่กล้า.

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 670

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ในการปรารภความเพียรด้วยหัวข้อแสดงถึงโทษในฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ ด้วยบทนี้ว่า โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา, วีริยารมฺภญฺจ เขมโต เห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรโดยเป็นธรรมเกษม ดังนี้. ทรงชักชวนในการปรารภความเพียรด้วยบทนี้ว่า อารทฺธวีริยา โหถ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ปรารภความเพียรเถิด. อนึ่ง เพราะทรงประกาศไว้โดยสังเขปว่า :-

การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑ การเข้าถึงกุศล ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ ทั้ง ๓ นี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

แต่โดยพิสดารทรงประกาศความสมบูรณ์ แม้ทุกอย่างอาศัยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรชอบโดยส่วนเดียวเท่านั้น ด้วยพุทธพจน์ทั้งสิ้น. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงชักชวนในการปรารภความเพียรแล้ว จึงตรัสว่า เอสา พุทฺธานุสาสนี นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ในบทนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้. การปรารภความเพียรประกอบด้วยสัมมัปปธาน ด้วยยังอธิศีลสิกขาเป็นต้น ให้สมบูรณ์ เพราะเห็นความเกียจคร้านโดยความเป็นภัยว่า ความเกียจคร้านเป็นเหตุแห่งความพินาศทั้งปวง โดยเป็นรากแห่งความเศร้าหมองทั้งปวง และการปรารภความเพียรโดยความเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกียจคร้านนั้น โดยให้ปลอดจากโยคะ ๔ โดย

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 671

ความเป็นธรรมเกษม. การชักชวนชอบในการปรารภความเพียรนั้นว่า ท่านทั้งหลาย จงปรารภความเพียรกันเถิด ดังนี้. นี้เป็นคำสอน คำพร่ำสอน โอวาทของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย. แม้ในคาถาที่เหลือก็พึงทราบความโดยนัยนี้แล.

แต่ความต่างกันมีดังนี้. บทว่า วิวาทํ คือพูดด้วยความโกรธ. อธิบายว่า เถียงกันด้วยวิวาทวัตถุ คือเหตุแห่งความวิวาท ๖ ประการ. บทว่า อวิวาทํ คือ เมตตาวจีกรรม หรือ เมตตาภาวนา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความวิวาทกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อวิวาทํ คือสาราณิยธรรม ๖ อย่าง อันเป็นเหตุไม่วิวาทกัน. บทว่า สมคฺคา คือไม่แบ่งพวก. อธิบายว่า ร่วมกันทางกายและใจ ไม่เว้น ไม่แยกกัน. บทว่า สขิลา คือน่ารัก อ่อนโยน. อธิบายว่า มีใจอ่อนโยนในกันและกัน. ในบทว่า เอสา พุทฺธานุสาสนี นี้ คือไม่อาศัยการวิวาทกันโดยประการทั้งปวง แล้วชักชวนให้อยู่ร่วมสามัคคีกันโดยบำเพ็ญสาราณิยธรรม ๖. พึงประกอบบทว่า เอสา พุทฺธานํ อนุสิฏฺิ นี้เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ ชนทั้งหลายอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ไม่วิวาทกัน จักยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์ได้โดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงทรงแสดงว่า การชักชวนให้อยู่ร่วมสามัคคีกัน เป็นคำสอนของพระองค์ ดังนี้.

บทว่า ปมาทํ คือความประมาท. ได้แก่การหลงลืมกุศลธรรมและการปล่อยจิตให้ตกอยู่ในอกุศลธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความประมาท

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 672

เป็นไฉน. การปล่อย เพิ่มการปล่อยจิตลงในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ ไม่ทำความเคารพ ไม่ทำความเพียรติดต่อ ไม่ทำความมั่นคง ประพฤติย่อหย่อน ทอดฉันทะ ทอดธุระ ไม่เสพ ไม่อบรม ไม่ทำให้มาก เพื่อความเจริญแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ความประมาท ความมัวเมา ความเป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ เรียกว่า ปมาโท.

บทว่า อปฺปมาทํ คือความไม่ประมาท. พึงทราบความไม่ประมาทนั้น โดยเป็นปฏิปักษ์ของความประมาท. เพราะโดยอรรถความไม่อยู่ปราศสติ ชื่อว่า ความไม่ประมาท. บทว่า สติยา อวิปฺปวาโส ความไม่อยู่ปราศจากสตินี้เป็นชื่อของสติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วเป็นนิจ. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อรูปขันธ์ ๔ เป็นไปโดยตั้งสติสัมปชัญญะไว้ ชื่อว่า ความไม่ประมาท. ก็ชื่อว่า อัปปมาทภาวนา ไม่มีการภาวนาแยกออกจากกันเป็นหนึ่ง. บุญกิริยา กุศลกิริยา ทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นอัปปมาทภาวนาทั้งนั้น.

แต่โดยความต่างกัน ศีลภาวนา สมาธิภาวนา ปัญญาภาวนา กุศลภาวนา อนวัชชภาวนา คือภาวนาอันไม่มีโทษ อัปปมาทภาวนาทั้งหมด ประสงค์เอาสรณคมน์ และการสำรวมกายวาจา อันเข้าไปอาศัยวิวัฏฏะ คือ นิพพาน. จริงอยู่ บทว่า อปฺปมาโท นี้ แสดงถึงอรรถใหญ่. กำหนดอรรถใหญ่ตั้งอยู่. พระธรรมกถึกนำพระพุทธพจน์อันเป็นไตรปิฎกแม้ทั้งสิ้น

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 673

มากล่าวขยายอรรถแห่งบท อปฺปมาท ไม่ควรพูดว่า ออกนอกลู่นอกทาง. เพราะเหตุไร. เพราะบทแห่ง อปฺปมาท กว้างขวางมาก. เป็นความจริงดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรทมในคราวปรินิพพาน ในระหว่างต้นสาละคู่ ณ กรุงกุสินารา ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ตรัสมา ๔๕ ปี ตั้งแต่อภิสัมโพธิกาล สงเคราะห์ด้วยบทเดียวเท่านั้น ได้ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในเท้าช้าง. เท้าช้างท่านกล่าวว่า เลิศกว่าเท้าสัตว์ทั้งหลายเพราะเป็นเท้าใหญ่ฉันใด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล หยั่งลงสู่ความไม่ประมาท. ความไม่ประมาทที่ท่านกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงถึงอัปปมาทภาวนา ถึงความเป็นยอด จึงตรัสว่า ภาเวถฏฺงฺคิกํ มคฺคํ พวกเธอจงเจริญมรรคมีองค์ ๘ เถิด.

บทนั้นมีความดังนี้. พวกเธอจงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าในขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น มีสัมมาทิฏฐิเป็นบทนำ ด้วยสามารถแห่งองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั่นแล. จงยังมรรคนั้นให้เกิดในสันดานของตน. พวกเธอไม่ตั้งอยู่เพียงมรรคที่เห็น จงเจริญโดยให้มรรค ๓ ข้างบน

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 4 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 674

เกิดขึ้นด้วย. อัปปมาทภาวนาของพวกเธอจักถึงยอดด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอสา พุทฺธานุสาสนี นี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย. อนึ่ง การขวนขวายความไม่ประมาทนั้นแล้วอบรมอริยมรรค นี้เป็นคำสอน เป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาจริยาปิฎก ด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระอรหัตด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิตฺถํ ในบทมีอาทิว่า อิตฺถํ สุทํ ได้แก่ โดยประการมีอาทิว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส คือในแสนกัป. บทว่า สุ ทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ภควา ชื่อว่า ภควา ด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีโชค เป็นต้น. บทว่า อตฺตโน ปุพฺพจริยํ บุรพจริยาของพระองค์ คือ การบำเพ็ญทุกรกิริยาอันเป็นข้อปฏิบัติของพระองค์ ในชาติเป็นอกิตติบัณฑิต เป็นต้น ในกาลก่อน. บทว่า สมฺภาวยมาโน คือทรงประกาศโดยชอบ ดุจชี้มะขามป้อมบนฝ่ามือฉะนั้น. บทว่า พุทฺธาปทฺนิยํ นาม ชื่อว่า พุทธาปทาน เพราะแสดงถึงกรรมเก่าอันเป็นอธิกิจที่ทำได้ยากแต่ก่อนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ธมฺมปริยายํ คือการแสดงธรรมหรือเหตุที่เป็นธรรม. บทว่า อภาสิตฺถ คือได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง บทใดที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ พึงทราบว่า บทนั้นไม่ได้กล่าวไว้ เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะมีความง่ายแล้ว.

จบ ปกิณณกกถา