พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. นฬินิกาชาดก ว่าด้วยราชธิดาทําลายตบะของดาบส (เริ่มเล่ม 62)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35176
อ่าน  677

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 1

ปัญญาสนิบาตชาดก

๑. นฬินิกาบาตชาดก

ว่าด้วยราชธิดาทําลายตบะของดาบส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑

ปัญญาสนิบาตชาดก

๑. นฬินิกาบาตชาดก

ว่าด้วยราชธิดาทำลายตบะของดาบส

[๑] ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อน ลูกนฬินิกา มานี่เถิด เจ้าจงไปนำพราหมณ์ผู้นั้นมา ให้เรา.

[๒] ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความ ลำบากไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง จะไปยังป่าที่ช้างอยู่ อาศัยได้อย่างไรเล่า เพคะ.

[๓] ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่ เจริญด้วยช้าง ด้วยรถ ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจง ไปด้วยอาการอย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ กองพลราบไปแล้ว จักนำพราหมณ์ผู้นั้นมา สู่อำนาจได้ด้วยผิวพรรณ และรูปสมบัติของเจ้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 2

[๔] อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วย ธง คือ ต้นกล้วย แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่า รื่นรมย์ นั่นคือแสงไฟ นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่ อิสิสิงคดาบสผู้มีฤทธิ์มากเห็นจะไม่ทำให้ไฟเสื่อม.

[๕] อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่ กุณฑลแก้วมณีเสด็จมาอยู่ กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรม ที่มุงด้วยใบไม้ ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะอันซ่อนเร้น และอวัยวะที่ปรากฏ เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรม ของดาบสนั้น ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็น พระนางกำลังเล่นลูกข่างอยู่ จึงออกจากอาศรมแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า

[๖] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผล เป็นไปอย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร แม้ท่านขว้างไปไกลก็กลับมา มิได้ละท่านไป.

[๗] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม้ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้นั้น มีอยู่มากที่เขาคันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า ผลไม้นั้นแม้ข้าพเจ้าขว้างไปไกลก็กลับมา ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย.

[๘] เชิญท่านผู้เจริญจงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริโภค จงรับน้ำมันและภักษา เราจักให้ นี้อาสนะ เชิญท่านนั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและผลไม้แต่ที่นี้เถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 3

[๙] ที่ระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่านนี้เป็นอะไร มีสัณฐานเรียบร้อย ปรากฏดุจสีดำ เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนยาวของท่านเข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ.

[๑๐] ข้าพเจ้านี้เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า ได้พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามาโดยเร็ว มาทันเข้าแล้วทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้วมันกัดอวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้า แผลนั้นก็เหวอะหวะ และเกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้งปวง ท่านคงสามารถกำจัดความคันนี้ได้ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว ขอท่านได้โปรดกระทำประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้าผู้เป็นพราหมณ์เถิด.

[๑๑] แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็น และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระสายยาหน่อยหนึ่งให้ท่าน ตามที่ท่านจะพึงมีความสุขอย่างยิ่ง.

[๑๒] ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี ย่อมแก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านเสียดสีกำจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุขอย่างยิ่งเถิด.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 4

[๑๓] อาศรมของท่านอยู่ทางทิศไหนแต่ที่นี้หนอ ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่านมีเพียงพอแลหรือ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.

[๑๔] แม่น้ำชื่อ เขมา ย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์ ในทิศเหนือตรงไปแต่ที่นี้ อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้าอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเม่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง ท่าน ควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ ต้นตาลมูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผลประกอบด้วยสีและกลิ่น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า อันประกอบด้วยภูมิภาคสวยงามนั้นบ้าง ผลไม้เหง้าไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบ ด้วยสี กลิ่น และรส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น อย่าได้มาลักมูลผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย.

[๑๕] บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมาในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ต่อเมื่อบิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.

[๑๖] พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวย เหล่าอื่นเป็นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ ท่านพึงถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่าน พวกนั้นจะพาท่านไปในสำนักของข้าพเจ้า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 5

[๑๗] ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้ำเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้า ก็ไม่ติด เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทำไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าก็หัก ไฟเจ้าก็ติด แม้ไฟสำหรับผิงเจ้าก็จัดไว้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้ำเจ้าก็ตักไว้ไห้เรา วันอื่นๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่ วันนี้ เจ้าไม่หักฟืน ไม่ตักน้ำ ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้ ไม่ทักทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามีทุกข์ในใจอะไร.

[๑๘] ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูปร่างน่าดูน่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงางาม ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็น รูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคำ เกิดดีแล้วที่อก หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่ง นัก มีกรรเจียกจอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียกเหล่านั้นย่อมแวววาว เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งามแพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฎิลนั้น มีสีเขียว เหลือง แดง และขาว เมื่อชฎิลนั้นเดินไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดัง กริ่งกร่างเหมือนฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น ชฎิลนั้นไม่ได้คาดเครื่องรัดเอวที่ทำด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 6

เหล่านั้นพันอยู่ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัด ดังสายฟ้าแลบอยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้น มีผลไม้ไม่สุก ไม่มีขั้วติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่กระทบกัน กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมี ชฎาน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม มีศีรษะอันแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของ เราจงเป็นเช่นนั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้น ขยายชฎาอันประกอบด้วยสี และกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอมฟุ้งไปเหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด ฉะนั้น ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็น เช่นกับผิวพรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิล นั้นถูกลมรำเพยพัดแล้ว ย่อมหอมฟุ้งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบานในปลายฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม้ อันวิจิตรงามน่าดูลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไป แล้วย่อมกลับมาสู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้ นั้นชื่อผลอะไรหนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาดเรียบเสมอกันดังสังข์อันขัดดีแล้ว เมื่อชฎิล เปิดปากอยู่ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้น ไม่ได้เคี้ยวผัก ด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่ คำพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจจับใจดัง เสียงนกการเวก นำใจของข้าพเจ้าให้กำหนัดยิ่งนัก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 7

เสียงของเขาหยดย้อย เป็นถ้อยคำไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็น เขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน แผลที่ต่อสนิทดีเกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดีแล้ว คล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรงแผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจากกายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดังสายฟ้าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง แขนทั้ง สองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่น มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน แม้มือทั้งสองของชฏิลนั้นก็ประกอบด้วยนิ้วมืออันเรียว วิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูปงาม กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บำเรอให้รื่นรมย์ ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฏิลนั้นอ่อนนุ่มคล้าย สำลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลาเหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้าด้วยมือทั้งสองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนด้วยสัมผัสนั้น ชฎิลนั้นมิได้นำหาบมา มิได้หักฟืนเอง มิได้ฟันต้นไม้ ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึงกล่าวกะข้าพเจ้า ว่า ขอท่านช่วยทำให้ข้าพเจ้ามีความสุขเถิด ข้าพเจ้า จึงช่วยทำให้เธอมีความสุข และความสุขก็เกิดมีแก่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 8

ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้บอก ข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาดด้วย ใบเถาย่างทรายของท่านนี้กระจุยกระจายแล้ว เพราะ ข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว ก็ รื่นรมย์กันในน้ำแล้วเข้าสู่กุฎีอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใดที่ ข้าพเจ้ายังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่ ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่าชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรมของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้อันวิจิตรมีดอกบาน กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มีฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่าไม้นั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนในอาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.

[๑๙] เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันในป่าเป็นโชติรสนี้ ที่หมู่คนธรรพ์และ เทพอัปสรส้องเสพเป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน พวกมิตรย่อมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 9

ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวันเพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อยๆ เพราะความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม ถ้าเจ้าได้เห็นพรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจักละคุณคือตปธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ำมากฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูดกับพรทมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้วเสียไปเพราะน้ำมากฉะนั้น ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้นย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปแปลกๆ นรชนผู้มีปัญญาไม่พึงคบพวกยักษ์นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยวกัน.

จบนฬินิกาชาดกที่ ๑

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 10

อรรถกถาปัญญาสนิบาต

อรรถกถานฬินิกาชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภถึงการประเล้าประโลมของปุราณทุติยิกา จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า อุทฺทยฺหเต ชนปโท (ชนบทเร่าร้อนอยู่) ดังนี้เป็นต้น.

ก็พระศาสดา เมื่อจะตรัสจึงถามภิกษุนั้นว่า เธอถูกใครทำให้เบื่อหน่าย? เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ถูกภริยาเก่าเป็นผู้ทำให้เบื่อหน่าย ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงคนนี้แลเป็นผู้ทำความพินาศให้แก่เธอ (ในบัดนี้ เท่านั้น หามิได้) แม้ในกาลก่อน เธออาศัยผู้หญิงคนนี้แล้ว เสื่อมจากฌาน เป็นผู้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ดังนี้ จึงทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ชื่อว่า อุทิจจะ พอเจริญวัยแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะจนจบแล้ว บวชเป็นฤาษีทำฌานและ อภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว ก็สำเร็จการอยู่อาศัยในหิม วันตประเทศ. เพราะ อาศัยเหตุนั้น โดยนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในอลัมพุสาชาดกนั้นนั่นแล นางเนื้อตัวหนึ่ง จึงตั้งท้องแล้วคลอดลูก. เขาได้มีชื่อว่า อิสิสิงโค เทียว. ต่อมาบิดาได้ให้เขาผู้เจริญวัยแล้วบวช ศึกษาเล่าเรียนการบริกรรมกสิณ. มิช้า มินานนัก เขาก็ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้ จึงได้เล่นอยู่ด้วยความสุข อันเกิดแต่ฌาน ได้เป็นผู้มีตบะกล้าแข็ง มีตบะอย่างยอดเยี่ยม มีอินทรีย์อัน ชนะอย่างดียิ่ง. เพราะเดชะแห่งศีลของดาบสนั้น ภพท้าวสักกเทวราชจึงหวั่นไหว ท้าวสักกเทวราช ทรงใคร่ครวญดูก็ทราบถึงเหตุ คิดว่า เราจักใช้อุบาย

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 11

ทำลายศีลของดาบสนี้ให้ได้ จึงห้ามฝนไม่ให้ตก ในกาสิกรัฐทั้งหมดตลอด ๓ ปี. แว่นแคว้น ได้เป็นราวกะว่าถูกไฟแผดเผาแล้ว. เมื่อข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ พวกมนุษย์ถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียน จึงเรียกกันมาประชุมที่พระลานหลวง. ลำดับนั้น พระราชาประทับยืนอยู่ที่ช่องพระแกล ตรัสถามคนเหล่านั้นว่า นั่น อะไรกัน? พวกมนุษย์ผู้ได้รับความทุกข์ พากันกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อฝนไม่ตกตลอด ๓ ปี แว่นแคว้นทั้งสิ้นก็เร่าร้อน แล้วกราบทูลอีกว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงให้ฝนตกเถิด. พระราชา แม้จะสมาทานศีล เข้าจำอุโบสถ ก็ไม่ทรงสามารถจะให้ฝนตกลงมาได้. ในกาลนั้น ท้าวสักกะ เสด็จเข้าไปยังห้องอันประกอบด้วยพระสิริของพระราชาพระองค์นั้น ในเวลาเที่ยงคืน ทรงทำแสงสว่างครั้งหนึ่งแล้ว ได้ประทับยืนที่กลางเวหาส. พระราชา ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ท่านเป็นใครกัน? ท้าวสักกะ ตรัสตอบว่า เราเป็นท้าวสักกะ. พระราชาตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาประสงค์ อะไรหรือ? ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า มหาราชเจ้าเอย! ฝนในแว่นแคว้นของ พระองค์ตกบ้างไหม? พระราชาตรัสว่า ไม่ตกเลย. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็พระองค์ทรงทราบเหตุที่ฝนไม่ตกหรือเปล่า? พระราชาตรัสว่า ไม่ทราบเลย. ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสชี้แจงว่า มหาราช! ในหิม วันตประเทศ มีดาบสชื่อ ว่าอิสิสิงคะอาศัยอยู่. พระดาบสนั้น มีตบะกล้าแข็ง มีอินทรีย์อันชนะอย่างดี ยิ่ง เมื่อฝนตกลงมาเป็นนิตย์ ท่านโกรธแล้วเพ่งดูอากาศ เพราะฉะนั้น ฝน จึงไม่ตก. พระราชาตรัสถามว่า บัดนี้ จะพึงทำอย่างไรดีในเรื่องนี้? ท้าวสักกะ ตรัสว่า เมื่อทำลายตบะของพระดาบสนั้นได้ ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสถามว่า ก็ใครเล่าจะสามารถทำลายตบะของพระดาบสนั้นได้. ท้าวสักกะตรัสชี้แจงว่า มหาราช ก็พระราชธิดาพระนามว่านฬินิกาของพระองค์นี้แหละจะเป็นผู้สามารถ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 12

พระองค์จงให้คนเรียกเธอมาแล้วสั่งว่า ลูกจงไปยังสถานที่ชื่อโน้นแล้ว จงทำลายตบะของพระดาบสให้จงได้. ท้าวสักกเทวราช สั่งสอนพระราชาอย่างนั้นแล้ว ก็ได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์ตามเดิม ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้วตรัสสั่งให้เรียกพระราชธิดามาแล้ว ตรัสพระคาถาแรกว่า

ชนบทเร่าร้อนอยู่ แม้รัฐก็จะพินาศ ดูก่อนลูก นฬินิกา มานี่เถิด เจ้าจงไปนำพราหมณ์ผู้นั้นมาให้เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ เม (นำพรามณ์ผู้นั้นมาให้เรา) ความว่า เจ้าจงนำพราหมณ์ผู้ ทำความพินาศให้แก่เราคนนั้นมาไว้ในอำนาจของตน คือ จงทำลายศีลของ ดาบสนั้น ด้วยวิธีให้ยินดีในกิเลสเถิด.

พระราชธิดานั้นสดับคาถานั้นแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ตอบว่า

ข้าแต่พระราชบิดา หม่อมฉันทนความลำบาก ไม่ได้ ทั้งไม่รู้จักหนทาง จะไปยังป่าที่ช้างอยู่อาศัย ได้อย่างไรเล่า เพคะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขกฺขมา (ทนความลำบาก) ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันเป็นผู้อดทนต่อความทุกข์ไม่ได้ ทั้งหม่อมฉันก็ไม่รู้จักหนทาง หม่อมฉันนั้นจักไปได้อย่างไรเล่า เพคะ.

ลำดับนั้น พระราชาจึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนลูกนฬินิกา เจ้าจงไปอยู่ชนบทที่เจริญด้วย ช้าง ด้วยรถ ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้ เจ้าจงไปด้วยอาการ อย่างนี้เถิดลูก เจ้าจงพากองช้าง กองม้า กองรถ กองพลราบไปแล้ว จักนำพราหมณ์ผู้นั้นมาสู่อำนาจ ได้ด้วยผิวพรรณ และรูปสมบัติของเจ้า.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 13

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารุสงฺฆาฏยาเนน (ด้วยยานที่ต่อด้วยไม้) ความว่า แม่ นฬินิกา เจ้าจักไม่ต้องเดินไป แต่ว่า เจ้าไปสู่ชนบทที่เจริญ มีภิกษาหาได้ง่าย อันเกษมของตนด้วยพาหนะช้าง ด้วยพาหนะรถทั้งหลายแล้ว ต่อจากสถานที่นั้นไปในที่โล่งแจ้ง จงไปด้วยยวดยานที่ปกปิดแล้วเป็นต้น ในทางน้ำ จงไปด้วยเรือและแพ ด้วยยานที่ต่อทำด้วยไม้เถิด. บทว่า วณฺณรูเปน (ด้วยผิวพรรณและรูปสมบัติ) ความว่า เจ้าไม่ต้องลำบากอย่างนั้น พอไปแล้ว ก็จักนำพราหมณ์นั้นมาสู่อำนาจของตนได้ ด้วยผิวพรรณและด้วยรูปสมบัติของเจ้า.

พระราชาพระองค์นั้น ตรัสพระดำรัสที่ไม่ควรจะตรัสกับพระราชธิดาอย่างนั้น ก็เพราะมุ่งอาศัยการที่จะรักษาแว่นแคว้น. แม้พระราชธิดานั้น ก็ทูลรับสนองว่า ดีละ. ลำดับนั้น พระราชาได้ทรงพระราชทานสิ่งของที่ควร พระราชทานทั้งหมดแก่อำมาตย์แล้ว ทรงส่งพระราชธิดาไปกับพวกอำมาตย์. อำมาตย์ทั้งหลาย พาพระราชธิดาไปถึงปัจจันตชนบทแล้ว ให้ตั้งค่ายพักแรมในชนบทนั้น ให้ยกพระราชธิดาขึ้นแล้ว. เข้าไปยังหิมวันตประเทศ โดยหนทางที่พรานป่าชี้บอก ในเวลาเช้า ก็ถึงที่ใกล้อาศรมบทของดาบสนั้น.

ในขณะนั้น พระโพธิสัตว์ให้บุตรเฝ้าอยู่ที่อาศรมบท ตนเองเข้าไปสู่ป่าเพื่อผลไม้น้อยใหญ่. พวกพรานป่า ไม่ไปยังอาศรมบทเอง แต่ยืนอยู่ที่ที่อยู่ของดาบสนั้น เมื่อจะแสดงที่อยู่นั้นแก่พระนางนฬินิกา จึงกล่าวคำ ๒ คาถาว่า

อาศรมของอิสิสิงคดาบสนั้น ปรากฏด้วยธง คือ ต้นกล้วย แวดล้อมด้วยต้นสมอ เป็นที่น่ารื่นรมย์ นั่น คือแสงไฟ นั่นคือควันเห็นปรากฏอยู่ อิสิสิงคดาบส ผู้มีฤทธิ์มาก เห็นจะไม่ทำให้ไฟเสื่อม.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 14

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทลิธชปญฺาโณ (ปรากฏด้วยธงคือต้นกล้วย) มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า กทลิธชปัญญาณะ เพราะอรรถว่า มีธงคือต้นกล้วยปรากฏอยู่. บทว่า อกภุชิปริวาริโต (แวดล้อมด้วยต้นเสม็ด) ได้แก่ แวดล้อมด้วยป่าไม้สมอ. บทว่า สงฺขาโต (แสง) ความว่า นั่นคือแสงไฟลุกโพลงประจักษ์อยู่ ด้วยฌานของอิสิสิงคดาบสนั้น. บทว่า มญฺเ โน อคฺคึ (เห็นจะไม่ทำให้ไฟเสื่อม) ความว่า เราย่อมสำคัญว่า อิสิสิงคดาบสจะไม่ทำไฟของ พวกเราให้เสื่อม คือ ให้ลุกโพลง บำเรออยู่.

ฝ่ายพวกอำมาตย์ พากันแวดล้อมอาศรมในเวลาที่พระโพธิสัตว์เข้าไปสู่ป่าทันที ก็พากันตั้งกองอารักขา ให้พระราชธิดาถือเพศเป็นฤาษี เอาผ้าใยไม้สีทองชนิดบางทำเป็นผ้านุ่งผ้าห่ม ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ แล้วให้พระราชธิดาถือเอาลูกข่างอันวิจิตรผูกด้วยเส้นด้าย ส่งเข้าไปยังอาศรมบท พวกตนเองพากันยืนอารักขาอยู่ภายนอก. พระราชธิดานั้นเล่นลูกข่างนั้นพลาง ก็ล่วงล้ำถึงที่สุดจงกรม. ในขณะนั้น อิสิสิงคดาบส กำลังนั่งอยู่แล้ว บนแผ่นหินที่ใกล้ซุ้มประตูบรรณศาลา. พระดาบสนั้นมองเห็นหญิงนั้นกำลัง เดินมา ตกใจกลัว ลุกขึ้นแล้วเข้าไปยังบรรณศาลา หยุดยืนอยู่. แม้พระราชธิดานั้น ก็ไปยังประตูบรรณศาลาของพระดาบสนั้นแล้ว ก็เล่น (ลูกข่าง) ต่อไปอีก

ก็พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จึง ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถาว่า

อิสิสิงคดาบสเห็นพระราชธิดา ผู้สวมใส่กุณฑล แก้วมณี เสด็จมาอยู่ กลัวแล้ว เข้าไปสู่อาศรมที่มุง ด้วยใบไม้ ส่วนพระราชธิดาแสดงอวัยวะที่ซ่อนเร้น และอวัยวะที่ปรากฏ เล่นลูกข่างอยู่ที่ประตูอาศรมของ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 15

ดาบสนั้น ฝ่ายดาบสผู้อยู่ในบรรณศาลา เห็นพระนาง กำลังเล่นลูกข่างอยู่ จึงออกจากอาศรมแล้วได้กล่าว คำนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคณฺฑุเกนสฺส (ลูกข่างแก่ดาบส) ความว่า เล่นลูกข่าง อยู่ที่ประตูอาศรม ของอิสิสิงคดาบสนั้น. บทว่า วิทํสยนฺตี แปลว่า แสดงอยู่. บทว่า คุยฺหํ ปกาสิตานิ จ (อวัยวะที่ซ่อนเร้นและอวัยวะที่ปรากฏ) ได้แก่ ประกาศแสดงอวัยวะที่ลับ และ องคชาตของลับ และประกาศแสดงอวัยวะที่ปรากฏมีใบหน้าและมือเป็นต้น. บทว่า อพรวิ (ได้กล่าว) ความว่า เล่ากันว่า พระดาบสนั้น ยืนอยู่ในบรรณศาลาแล้ว คิดว่า ถ้าว่าคนคนนี้ จะพึงเป็นยักษ์ไซร้ ก็จะพึงเข้ามายังบรรณศาลาแล้ว ฉีกเนื้อเราเคี้ยวกิน ผู้นี้เห็นจักไม่ใช่ยักษ์ คงเป็นดาบสแน่.

เพราะฉะนั้น จึงเล่าว่า อิสิสิงคดาบส ออก (จากอาศรม) แล้วกล่าว คำนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ต้นไม้ของท่านที่มีผลเป็นรูป อย่างนี้ มีชื่อว่าอะไร แม้ท่านขว้างไปไกลก็กลับมา มิได้ละท่านไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส เตวํ คตํ (ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้) ความว่า ต้นไม้ชนิดใดของท่านช่างมีผลอันน่าพึงใจเป็นไปอย่างนี้ ต้นไม้ชนิดนั้นชื่อว่าอะไรหนอ คือ พระดาบสสำคัญลูกข่างอันวิจิตรที่ตนเองไม่ได้เคยเห็นมาแล้วในกาลก่อนว่า ลูกข่างนั้น พึงเป็นผลแห่งต้นไม้ จึงได้ถามอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกจึงได้ตรัสคาถานี้แก่พระดาบส นั้นว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ต้นไม่ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้ นั้น มีอยู่มากที่ภูเขาคันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 16

ข้าพเจ้า ผลไม้นั้น แม้ข้าพเจ้าขว้างไปไกลก็กลับมา ไม่ละข้าพเจ้าไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมีเป คนฺธมาทเน ได้แก่ ที่ภูเขา คันธมาทน์ ณ ที่ใกล้อาศรมของข้าพเจ้า. บทว่า ยสฺส เตวํ คตํ ได้แก่ ต้นไม้ที่มีผลเป็นไปอย่างนี้. ต อักษร กระทำการเชื่อมบทพยัญชนะ. พระราชธิดานั้น ได้กล่าวมุสาวาท ดังนี้แล.

ฝ่ายพระดาบสเชื่อแล้ว เมื่อจะทำการต้อนรับด้วยสำคัญว่า ท่านผู้นั้น เป็นพระดาบส จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เชิญท่านผู้เจริญ จงเข้ามาสู่อาศรมนี้ จงบริโภค จงรับน้ำมันและภักษา เราจักให้ นี้อาสนะ เชิญท่าน นั่งบนอาสนะนี้ เชิญบริโภคเหง้ามันและผลไม้แต่ที่นี้ เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสมิมํ (สู่อาศรมนี้) ความว่า เชิญท่านผู้เจริญ จงเข้ามาสู่อาศรมนี้เถิด. บทว่า อเทตุ (จงบริโภค) ความว่า เชิญท่านบริโภคอาหารตาม ที่เราได้ตระเตรียมไว้แล้วเถิด. บทว่า ปชฺชํ (น้ำมัน) ได้แก่ น้ำมันสำหรับทาเท้า. บทว่า ภกฺขํ (ภักษา) ได้แก่ ผลไม้น้อยใหญ่อันมีรสอร่อย. บทว่า ปฏิจฺฉ แปลว่า จงรับ. บทว่า อิทมาสนํ ความว่า พระดาบสกล่าวแล้วอย่างนั้น ในเวลา ที่พระราชธิดาเข้าไปแล้ว.

บทว่า กินฺเต อิทํ ความว่า เมื่อพระราชธิดาพระองค์นั้น เข้าไป ยังบรรณศาลา นั่งบนระหว่างไม้ เมื่อผ้าใยไม้ชนิดบางสีทอง แตกกลางเป็น ๒ แฉก สรีระที่ปกปิดก็เปิดเผย. พระดาบส พอเห็นอวัยวะส่วนที่ปกปิด แห่งสรีระของมาตุคาม เพราะค่าที่ตนไม่เคยเห็นมาแต่ก่อน จึงสำคัญว่า นั่น เป็นแผล แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 17

ในระหว่างขาอ่อนทั้งสองของท่าน นี้เป็นอะไร มีสัณฐานเรียบร้อย ปรากฏดุจสีดำ เราถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า อวัยวะส่วนยาว ของท่าน เข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปิจฺฉิตํ (มีสัณฐานเรียบร้อยดี) ความว่า สัณฐานปากแผล อันมีศิลปะ ถูกสัมผัสด้วยดี ในเวลาประชิดขาอ่อน ๒ ข้างเข้ากัน. จริงอยู่ ที่ตรงนั้นได้กลายเป็นหลุมบ่อ เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะที่งดงาม และมี สัณฐานปากแผลอันมีศิลปะนูนขึ้นชัด เพราะประกอบด้วยลักษณะที่งดงาม. บทว่า กณฺหรีวปฺปกาสติ (ปรากฏดุจสีดำ) ความว่า ปรากฏดุจสีดำที่ข้างทั้ง ๒. บทว่า โกเส นุ เต อุตฺตมงฺคํ ปวิฏฺํ (อวัยวะส่วนยาวของท่านเข้าไปอยู่ในฝักหรือหนอ) ความว่า อวัยวะส่วนยาว คือ สัณฐานแห่ง เพศของท่าน ย่อมไม่ปรากฏ คือ พระดาบสถามว่า อวัยวะส่วนยาว เข้า ไปอยู่ในฝักคือสรีระของท่านหรือหนอ?

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น เมื่อจะหลอกลวงพระดาบสนั้น จึงตรัส คาถา ๒ คาถาว่า

ข้าพเจ้านี้ เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่า ได้ พบหมีมีรูปร่างน่ากลัวยิ่งนัก มันวิ่งไล่ข้าพเจ้ามาโดย เร็ว มาทันเข้าแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว มันกัด อวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าเสีย แผลนั้นก็เหวอะหวะ และเกิดคันขึ้น ข้าพเจ้าไม่ได้ความสบายตลอดกาลทั้ง ปวง ท่านคงสามารถกำจัดความคันนี้ได้ ข้าพเจ้า วิงวอนแล้ว ขอท่านได้โปรดกระทำประโยชน์ให้แก่ ข้าพเจ้า ผู้เป็นพราหมณ์เถิด.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 18

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาทยึ (ได้พบ) ความว่า พบหมีกำลังวิ่งมา จึงพยายามเอาก้อนดินขว้างปามัน. บทว่า ปติตฺวา (วิ่งไล่) แปลว่า วิ่งไล่มา. บทว่า สหสฺชฌปฺปตฺโต (มาทันเข้าโดยเร็วแล้ว) ได้แก่ ถึงคือทันตัวข้าพเจ้าโดยเร็ว. บทว่า ปนุชฺช (ล้มลงแล้ว) ได้แก่ ทำให้ข้าพเจ้าล้มลงแล้ว. บทว่า อพฺพหิ (กัด) ความว่า มันใช้ปากกัด อวัยวะส่วนยาวของข้าพเจ้าแล้ว ก็หลีกหนีไป จำเดิมแต่นั้นมา ในที่ตรงนี้ แหละ จึงกลายเป็นแผล. บทว่า สฺวายํ (แผลนั้น) ความว่า จำเดิมแต่กาลนั้นมา แผลของข้าพเจ้านี้นั้น จึงเหวอะหวะ และต้องทำการเกาเสมอ เพราะข้อนั้น เป็นปัจจัยแล ข้าพเจ้าจึงไม่ได้รับความสุขทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ตลอด กาลทั้งปวง. บทว่า ปโห แปลว่า สามารถ. บทว่า พฺราหฺมณตฺถํ (ประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้าผู้เป็นพราหมณ์เถิด) ความว่า พระราชธิดากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าวิงวอนแล้ว กรุณาช่วยทำประโยชน์นี้แก่ข้าพเจ้าผู้เป็นพราหมณ์เถิด คือความทุกข์นี้ จักได้ไม่มีแก่ข้าพเจ้า ได้แก่ จงช่วยนำไปเสีย.

พระดาบสนั้น เชื่อคำมุสาวาทของพระราชธิดานั้นว่า เป็นจริง จึงคิดว่า ถ้าความสุขอย่างนั้น จะมีแก่ท่านไซร้ ข้าพเจ้าก็จักทำให้ดังนี้แล้ว ก็ มองดูส่วนตรงนั้นแล้ว กล่าวคาถาถัดไปว่า

แผลของท่านลึก มีสีแดง ไม่เน่าเปื่อย มีกลิ่นเหม็น และเป็นแผลใหญ่ เราจะประกอบกระสายยาหน่อยหนึ่งให้ท่านตามที่ท่านจะพึงมีความสุขอย่างยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สโลหิโต ได้แก่ มีสีแดง. บทว่า อปูติโก (ไม่เน่าเปื่อย) ได้แก่ เว้นจากเนื้อเน่า. บทว่า ปกฺกคนฺโธ (มีกลิ่นตุ) ได้แก่ มีกลิ่น เหม็นนิดหน่อย. บทว่า กสายโยคํ (กระสายยา) ความว่า ข้าพเจ้าจักถือเอาน้ำฝาดจาก ต้นไม้บางชนิดแล้ว ทำน้ำฝาดนั้นประกอบเป็นยาสมานแผลแก่ท่าน.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 19

ลำดับนั้น พระนางนฬินิกา จึงตรัสคาถาว่า

ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ การประกอบ มนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถก็ดี ย่อม แก้ไม่ได้ ขอท่านจงเอาองคชาตอันอ่อนนุ่มของท่าน เสียดสีกำจัดความคัน ตามที่ข้าพเจ้าจะพึงมีความสุข อย่างยิ่งเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมนฺติ (ย่อมแก้ไม่ได้) ความว่า ดูก่อนท่านผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ผู้เจริญ การประกอบมนต์ก็ดี การประกอบกระสายยาก็ดี โอสถมี ดอกและผลเป็นต้นก็ดี ที่แผลของข้าพเจ้านี้ ย่อมแก้ไม่ได้เลย คือการประกอบ มนต์เป็นต้นเหล่านั้น ถึงจะทำแล้วหลายๆ ครั้ง ก็ไม่เป็นความผาสุกสบายแก่แผลนั้นเลย แต่เมื่อท่านใช้องคชาตอันอ่อนนุ่มของท่านนั้น เสียดสีไปมาเท่า นั้น ความคันก็จะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขอท่านช่วยเอาองคชาตนั้น กำจัดความคันให้ทีเถอะ.

พระดาบสนั้น กำหนดว่า คนคนนั้นพูดจริง ไม่รู้เลยว่า ศีลจะขาด ฌานจะเสื่อม ด้วยเมถุนสังสัคคะ เมื่อพระราชธิดานั้นกล่าวว่า เภสัช ดังนี้ เพราะความไม่รู้จักเมถุนธรรม เหตุที่ตนไม่เคยเห็นมาตุคามมาก่อน จึงเสพเมถุนธรรม ในทันทีนั้น ศีลของดาบสนั้นก็ขาด ฌานก็เสื่อม. ดาบสนั้น กระทำการร่วมสังวาส ๒, ๓ ครั้ง ก็เหนื่อยอ่อน จึงออกไปลงสู่สระอาบน้ำ ระงับดับความกระวนกระวายแล้ว กลับมานั่ง ณ บรรณศาลา ถึงขนาดนั้น ก็สำคัญคนคนนั้นว่า เป็นดาบสอยู่อีก เมื่อจะถามถึงที่อยู่ จึงกล่าวคาถาว่า

อาศมของท่านอยู่ทางทิศไหน แต่ที่นี้หนอ ท่านย่อมรื่นรมย์อยู่ในป่าแลหรือ มูลผลาหารของท่าน มีเพียงพอแลหรือ สัตว์ร้ายไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 20

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตเมน (ทางทิศไหน) ได้แก่ อาศรมของท่านผู้เจริญ อยู่ทางทิศไหนแต่ที่นี้. บทว่า ภวํ (ท่านผู้เจริญ) นี้ เป็นอาลปนะ.

ลำดับนั้น พระนางนฬินิกา ได้ตรัสคาถา ๔ คาถาว่า

แม่น้ำชื่อเขมาย่อมปรากฏแต่ป่าหิมพานต์ ในทิศ เหนือตรงไปแต่ที่นี้ อาศรมอันน่ารื่นรมย์ของข้าพเจ้า อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้าบ้าง ต้นมะม่วง ต้นรัง ต้นหมากเน่า ต้นหว้า ต้นราชพฤกษ์ ต้นแคฝอย มีดอกบานสะพรั่ง ท่านควรไปดูอาศรม ของข้าพเจ้า ซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ ต้นตาล มูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น มีผลประกอบด้วย สีและกลิ่น ท่านควรไปดูอาศรมของข้าพเจ้า อัน ประกอบด้วยภูมิภาคสวยงามนั้นบ้าง ผลไม้ เหง้าไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก ประกอบด้วยสี กลิ่น และ รส พวกพรานย่อมมาสู่ประเทศนั้น อย่าได้มาลักมูล ผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตรายํ ได้แก่ ทิศเหนือ. บทว่า เขมา ได้แก่ แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า หิมวนฺตา ปภาติ (ย่อมปรากฏแก่ป่าหิมพานต์) ความว่า ย่อมไหลมาแต่ป่าหิมพานต์. บทว่า อโห (บ้าง) เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแห่งความ อ้อนวอน. บทว่า อุทฺทาลก (ต้นราชพฤกษ์) ได้แก่ ต้นไม้ที่ป้องกันลม. บทว่า กึปูริสาภิคีตํ (ซึ่งมีกินนรขับร้องอยู่โดยรอบ) ได้แก่ ซึ่งมีพวกกินนรพากันแวดล้อมโดยรอบแล้ว ขับร้องอยู่ด้วยเสียงอัน ไพเราะ. บทว่า ตาลา จ มูลา จ เมตฺถ (ต้นตาล มูลมัน ผลไม้ที่อาศรมของเรานั้น) ความว่า ต้นตาลอัน น่ารัก โคนของต้นไม้เหล่านั้นนั่นแหละ มีลำต้นสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 21

และผลของต้นไม้เหล่านั้นที่อาศรมของเรานั่น. บทว่า ปหูตเมตฺถ (ที่อาศรมของข้าพเจ้ามีมาก) ได้แก่ ผลไม้นานาชนิด เถาและเหง้าของต้นไม้ ที่อาศรมของข้าพเจ้านั่นมีมาก. บทว่า มา เม ตโต (อย่าได้มาลักมูลผลาหารไปจากอาศรมของข้าพเจ้านั้นเลย) ความว่า พวกพรานจำนวนมาก ย่อมพากันมายังอาศรมของ ข้าพเจ้านั้น ก็มูลผลาหารที่มีรสอร่อยมากมาย ที่ข้าพเจ้านำมาวางไว้ในที่นี้ ก็ มีอยู่ เมื่อข้าพเจ้ามัวแต่ชักช้า พวกพรานเหล่านั้น ก็จะพึงลักเอามูลผลาหาร ไปเสีย ขอพวกพรานอย่าได้มาลักมูลผลาหารของข้าพเจ้าไปจากที่นั้นเลย เพราะ ฉะนั้น พระราชธิดาจึงตรัสว่า แม้ถ้าท่านมีความประสงค์จะไปกับเราก็เชิญ หากไม่มีความประสงค์จะไปไซร้ เราก็จักไปละ.

ดาบสได้สดับดังนั้นแล้ว เพื่อจะยับยั้งพระราชธิดาไว้ จนกว่าบิดา ตนจะกลับมา จึงกล่าวคาถาว่า

บิดาของเราไปแสวงหามูลผลาหาร จะกลับมา ในเย็นวันนี้ เราทั้งสองจะไปสู่อาศรมนั้นได้ ก็ต่อเมื่อ บิดากลับมาจากการแสวงหามูลผลาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภว คจฺฉามเส (เราทั้ง๒จะไป) ความว่า เราทั้งสอง คนแจ้งให้บิดาเราได้ทราบแล้ว จึงจักไปได้.

ลำดับนั้น พระราชธิดานั้น คิดแล้วว่า ดาบสนี้ ไม่รู้ว่าเราเป็นหญิง เพราะค่าที่ท่านเจริญเติบโตมาในป่าเท่านั้น ตั้งแต่แรก แต่บิดาของดาบสนั้น พอเห็นเราเข้า ก็รู้ทันที คงถามว่า เจ้ามาทำอะไรในที่นี้? แล้วคงจะเอา ปลายไม้คานตีเรา แม้ศีรษะของเราก็ต้องแตก เราควรจะไปเสีย ในเวลาที่ บิดาของเขายังไม่มาดีกว่า ถึงหน้าที่ในการมาของเรา ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว. พระราชธิดานั้น เมื่อจะบอกอุบายแห่งการมาแก่ดาบสนั้น จึงกล่าวคาถานอก นี้ว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 22

พราหมณ์ ฤาษี และราชฤาษี ผู้มีรูปสวยเหล่า อื่นเป็นอันมาก ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ ท่านพึง ถามถึงอาศรมของข้าพเจ้ากะท่านพวกนั้นเถิด ท่าน พวกนั้นจะพาท่านไปในสำนักของข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชีสโย (ราชฤาษี) ความว่า สหายเอย! เรา ไม่สามารถจะชักช้าอยู่ได้ เพราะพวกพราหมณ์ ฤาษี และพวกราชฤาษี ผู้มีรูปร่างสวยงามเหล่าอื่น ย่อมอยู่ใกล้ทางโดยลำดับ คือ อยู่ใกล้ทางไปอาศรมของเรา เราบอกแก่เขาเหล่านั้นแล้วจักไป ท่านพึงถามเขาเหล่านั้นเถิด เขาเหล่านั้น จักนำท่านไปสู่สำนักเราเอง.

พระราชธิดานั้น กระทำอุบายสำหรับที่ตนจะหนีไปอย่างนั้นแล้ว ออกจากบรรณศาลาแล้ว กล่าวกะดาบสผู้กำลังมองดูอยู่นั่นแหละว่า ท่านกลับไปเถอะ แล้วได้ไปยังสำนักของพวกอำมาตย์ โดยหนทางที่มานั่นแล. พวกอำมาตย์เหล่านั้น ได้พาพระราชธิดานั้นไปยังค่ายพักแรมแล้ว ก็ไปถึงกรุงพาราณสีโดยลำดับ. ในวันนั้นนั่นเอง แม้ท้าวสักกเทวราชก็ทรงดีใจ ยังฝนให้ตกชุ่มฉ่ำทั่วแว่นแคว้น. ต่อแต่นั้นมา ชนบทก็ได้มีภิกษาสมบูรณ์. พอพระราชธิดานั้น กลับไปแล้วเท่านั้น ความเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในร่างกายแม้ของ อิสิสิงคดาบส. ดาบสนั้นหวั่นไหวใจ เข้าไปยังบรรณศาลา เอาผ้าป่านคลุมร่างนอนเศร้าโศกอยู่แล้ว.

ในเวลาเย็น พระโพธิสัตว์กลับมามองไม่เห็นบุตร จึงคิดว่า เขาไปเสียในที่ไหนหนอ แล้ววางหาบเข้าไปยังบรรณศาลา มองเห็นเขานอน จึงลูบหลังพลางถามว่า ลูกเอ่ย! เจ้าทำอะไร? แล้วได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 23

ฟืนเจ้าก็ไม่หัก น้ำเจ้าก็ไม่ตัก แม้ไฟเจ้าก็ไม่ติด เจ้าอ่อนใจซบเซาอยู่ทำไมหนอ ดูก่อนเจ้าผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เมื่อก่อนฟืนเจ้าหัก ไฟเจ้าก็ติด แม้ไฟ สำหรับผิงเจ้าก็จัดได้ ตั่งเจ้าก็ตั้ง น้ำเจ้าก็ตักไว้ให้เรา วันอื่นๆ เจ้าเป็นผู้ประเสริฐดีอยู่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน ไม่ตักน้ำ ไม่ติดไฟ ไม่จัดเครื่องบริโภคไว้ ไม่ทักทายเรา ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ หรือว่าเจ้ามี ทุกข์ในใจอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺนานิ ได้แก่ ฟืนที่นำมาจากป่า เจ้าก็ไม่หัก. บทว่า น หาสิโต (ก็ไม่ติด) ได้แก่ แม้ไฟเจ้าก็ไม่ให้ลุกโพลง. บทว่า ภินฺทานิ (ก็หัก) ความว่า เมื่อก่อนเวลาที่เรามา เจ้าก็ได้หักฟืนไว้เรียบร้อยแล้ว. บทว่า หุโต จ อคฺคิ (ไฟเจ้าก็ติด) ความว่า ไฟสำหรับบูชาเจ้าก็ติด. บทว่า ตปนี (ไฟสำหรับผิง) ความว่า แม้ไฟลุ่นๆ คือไฟสำหรับผิง เจ้าเองก็ตระเตรียมจัดแจงไว้. บทว่า ปิํ (ตั่ง) ความว่า และตั่งประจำสำหรับที่อยู่ของเรา เจ้าก็จัดตั้งไว้แล้วทีเดียว. บทว่า อุทกญฺจ (น้ำ) ความว่า แม้น้ำสำหรับล้างเท้า เจ้าก็ตักตั้งไว้เหมือนกัน. บทว่า พฺรหฺมภูโต (เป็นผู้ประเสริฐ) ความว่า ในวันอื่นจากวันนี้ แม้เจ้าเป็นผู้ประเสริฐ รื่นรมย์อยู่ในอาศรมนี้. บทว่า อภินฺนกฏฺโสิ (ไม่หักฟืน) ได้แก่ วันนี้เจ้าไม่หักฟืน. บทว่า อสิทฺธโภชโน (ไม่จัดเครื่องบริโภค) ความว่า หัวเผือกหัวมัน หรือใบไม้อะไรๆ ที่เจ้า จะนึ่งไว้สำหรับเราไม่มีเลย. บทว่า มมชฺช (วันนี้) ความว่า ลูกเอ๋ย! วันนี้เจ้าไม่ ยอมทักทายพ่อเลย. บทว่า นฏฺํ นุ กึ (ของอะไรของเจ้าหายไปหรือ) นี้ พระโพธิสัตว์ถามลูกดาบสว่า ของอะไรของลูกหายไปหรือ หรือว่าลูกมีความทุกข์ในใจอะไรอยู่ รีบบอกเหตุ แห่งการนอนซบเซามาให้พ่อทราบบ้างเถอะ.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 24

ดาบสนั้น ฟังคำของบิดาแล้ว เมื่อจะเล่าถึงเหตุการณ์นั้นให้ทราบ จึงเรียนว่า

ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์มาในอาศรมนี้ มีรูป ร่างน่าดู น่าชม เอวเล็กเอวบาง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก รัศมีสวยงาม มีศีรษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงางาม ไม่มีหนวด บวชไม่นาน มีเครื่องประดับเป็นรูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ มีปุ่มสองปุ่มงามเปล่งปลั่งดังก้อนทองคำ เกิดดีแล้วที่อก. หน้าของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก มีกรรเจียก จอนห้อยอยู่ที่หูทั้งสองข้าง กรรเจียกเหล่านั้นย่อม แวววาว เมื่อชฏิลนั้นเดินไปมา สายพันชฎาก็งาม แพรวพราว เครื่องประดับเหล่าอื่นอีกสี่อย่างของชฏิล นั้นมีสีเขียว เหลือง แดง และขาว เมื่อชฎิลนั้นเดิน ไปมา เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือนฝูงนกติริฏิร้องในเวลาฝนตก ฉะนั้น ชฎิลนั้นไม่ได้คาดเครื่องรัดเอวที่ทำด้วยหญ้าปล้อง ไม่ได้นุ่งผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเรา ผ้าเหล่านั้นพันอยู่ที่ระหว่างแข้งงามโชติช่วง ปลิวสะบัดดังสายฟ้าแลบ อยู่ในอากาศ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมีผลไม้ไม่สุก ไม่มีขั้ว ติดอยู่ที่สะเอวภายใต้นาภี ไม่กระทบกัน กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์ อนึ่ง ชฎิลนั้นมีชฎาน่าดูยิ่งนัก มีปลายงอนมากกว่าร้อย มีกลิ่นหอม มีศีรษะอันแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน โอ ขอให้ชฎาของเรา จงเป็นเช่น

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 25

นั้นเถิดหนอ และในคราวใด ชฎิลนั้นขยายชฎาอันประกอบด้วยสีและกลิ่น ในคราวนั้น อาศรมก็หอมฟุ้งไป เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด ฉะนั้น ผิวพรรณของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่กายของข้าพเจ้า ผิวกายของชฎิลนั้น ถูกลมรำเพยพัดแล้วย่อมหอมฟุ้งไป ดุจป่าไม้ อันมีดอกบาน ในฤดูร้อน ฉะนั้น ชฎิลนั้นตีผลไม่อันวิจิตรงามน่าดู ลงบนพื้นดิน และผลไม้ที่ขว้างไปแล้ว ย่อมกลับมาสู่มือของเขาอีก ข้าแต่ท่านพ่อ ผลไม้นั้นชื่อผลอะไรหนอ อนึ่ง ฟันของชฎิลนั้นน่าดูยิ่งนัก ขาวสะอาด เรียบเสมอกันดังสังข์อันชัดดีแล้ว เมื่อชฎิลเปิดปากอยู่ ย่อมยังใจให้ผ่องใส ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟัน เหล่านั้นเป็นแน่ คำพูดของเขาไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด ไพเราะ อ่อนหวาน ตรง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คลอนแคลน เสียงของเขาเป็นเครื่องฟูใจ จับใจดัง เสียงนกการเวก นำใจของข้าพเจ้าให้กำหนัดยิ่งนัก เสียงของเขาหยดย้อย เป็นถ้อยคำไม่สะบัดสะบิ้ง ไม่ประกอบด้วยเสียงพึมพำ ข้าพเจ้าปรารถนาจะได้เห็นเขาอีก เพราะชฎิลนั้นเป็นมิตรของข้าพเจ้ามาก่อน แผลที่ต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวงใหญ่ เกิดดีแล้วคล้ายกับกลีบบัว ชฎิลนั้นให้ข้าพเจ้าคร่อมตรง แผลนั้น แหวกขาเอาแข้งบีบไว้ รัศมีซ่านออกจาก กายของชฎิลนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวรุ่งเรือง ดัง

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 26

สายฟ้าอันแลบแปลบปลาบอยู่ในอากาศ ฉะนั้น อนึ่ง แขนทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่ม มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้น ก็ประกอบด้วยนิ้ว มืออันเรียววิจิตรงดงาม ชฎิลนั้นมีอวัยวะไม่ระคาย มีขนไม่ยาว เล็บยาว ปลายเป็นสีแดง ชฎิลนั้นมีรูป งาม กอดรัดข้าพเจ้าด้วยแขนทั้งสองอันอ่อนนุ่ม บำเรอให้รื่นรมย์ ข้าแต่ท่านพ่อ มือทั้งสองของชฎิลนั้นอ่อนนุ่มคล้ายสำลี งามเปล่งปลั่ง พื้นฝ่ามือเกลี้ยงเกลา เหมือนแว่นทอง ชฎิลนั้นกอดรัดข้าพเจ้า ด้วยมือทั้งสองนั้นแล้ว ไปจากที่นี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อน ด้วยสัมผัสนั้น ชฎิลนั้นมิได้นำหาบมา มิได้หักฟืนเอง มิได้ฟันต้นไม้ด้วยขวาน แม้มือทั้งสองของชฎิลนั้นก็ไม่มีความกระด้าง หมีได้กัดชฎิลนั้นเป็นแผล เธอจึงกล่าวกะข้าพเจ้าว่าขอท่านช่วยทำให้ข้าพเจ้ามีความสุขเถิด ข้าพเจ้าจึงช่วยทำให้เธอมีความสุข และความสุข ก็เกิดมีแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าแต่ท่านผู้เป็นพรหม เธอได้บอกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้ามีความสุขแล้ว ก็ที่อันปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กระจุยกระจายแล้ว เพราะข้าพเจ้าและชฎิลนั้น เราทั้งสองเหน็ดเหนื่อยแล้ว ก็รื่นรมย์กันในน้ำ แล้วเข้าสู่กุฏิอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ ข้าแต่ท่านพ่อ วันนี้มนต์ทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าเลย การบูชาไฟข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 27

แม้การบูชายัญ ในที่นั้นข้าพเจ้าก็ไม่ชอบใจ ตราบใดที่ข้าพเจ้า ยังมิได้พบเห็นชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ข้าพเจ้าจะไม่บริโภคมูลผลาหารของท่านพ่อเลย ข้าแต่ท่านพ่อ แม้ท่านพ่อย่อมรู้เป็นแน่แท้ว่า ชฎิลผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทิศใด ขอท่านพ่อจงพาข้าพเจ้าไปให้ถึงทิศนั้นโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าอย่าได้ตายเสียในอาศรมของท่านเลย ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าได้ฟังถึงป่าไม้อันวิจิตรมีดอกบาน กึกก้องไปด้วยเสียงนกร้อง มีฝูงนกอาศัยอยู่ ขอท่านพ่อช่วยพาข้าพเจ้าไปให้ถึงป่าไม้นั้น โดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าจะต้องละชีวิตเสียก่อนใน อาศรมของท่านพ่อเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธาคมา (มาในอาศรมนี้) ได้แก่ ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิล ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มายังอาศรมนี้. บทว่า สุทสฺสเนยฺโย (มีรูปร่างน่าดูน่าชม) ได้แก่ มีรูปร่าง ควรดูด้วยดี. บทว่า สุตนู (เอวเล็กเอวบาง) ได้แก่ มีรูปร่างบางกำลังดี ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก. บทว่า วิเนติ (รัศมีสวยงาม) ความว่า ย่อมยังอาศรมให้ถึง คือให้เต็มเปี่ยมด้วยรัศมีกายของตน คล้ายกับว่าอาศรมมีแต่รัศมีอย่างเดียว. บทว่า สุกณฺหกณฺ- หจฺฉทเนหิ โภโต (มีศรีษะปกคลุมด้วยผมอันดำเป็นเงางาม) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ศีรษะของท่านผู้เจริญนั้น มีสีดำสนิทด้วยเส้นผมที่มีสีคล้ายแมลงภู่ เพราะปกคลุมด้วยสีดำเป็นเงางามย่อมปรากฏ คล้ายทำด้วยแก้วมณีที่ขัดสีดีแล้ว ฉะนั้น. บทว่า อมสฺสุชาโต (ไม่มีหนวด) ได้แก่ ชฎิลนั้นยังเป็นหนุ่มแน่น หนวดของเขาจึงยังไม่ปรากฏก่อน. บทว่า อปุราณวณฺณี (บวชไม่นาน) ได้แก่ ยังบวชไม่นานนัก. บทว่า อาธารรูปญฺจ ปนสฺส กณฺเ (มีเครื่องประดับเป็นรูปเชิงบาตรอยู่ที่คอ) นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมุกดาหารว่า ก็ชฎิลนั้นมีเครื่องประดับคล้าย

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 28

กับรูปเชิงบาตรสำหรับใช้วางภาชนะภิกษาของพวกเราอยู่ที่คอ. บทว่า คณฺฑา (ปุ่ม) นี้ ท่านกล่าวหมายถึงนมทั้งสองข้าง. บทว่า อุเร สุชาตา ได้แก่ เกิดดี แล้วที่อก. ปาฐะว่า อุรโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ปภสฺสรา (งาม) ได้แก่ สมบูรณ์ ด้วยรัศมี. ปาฐะว่า ปภาสเร ดังนี้ก็มี ความว่า ย่อมส่องสว่าง. บทว่า ภุสทสฺสเนยฺยํ แปลว่า น่าดูยิ่งนัก. บทว่า กุญฺจิตคฺคา นี้ ท่านกล่าว หมายถึงกรรเจียกจอน บทว่า สุตฺตญฺจ (สายพัน) ความว่า สายพันที่ชฎาของชฎิล นั้น ย่อมส่องแสงแพรวพราว. ด้วยบทว่า สํยมานิ จตสฺโส (เครื่งประดับเหล่าอื่นอีก๔อย่าง) นี้ ท่านแสดง ถึงเครื่องประดับ ๔ อย่างที่ทำด้วยแก้วมณี ทองคำ แก้วประพาฬ และเงิน. บทว่า ตา สํสเร (เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง) ความว่า เครื่องประดับเหล่านั้นย่อมดังกริ่งกร่าง เหมือน ฝูงนกติริฏิร้องในเวลาที่ฝนตก ฉะนั้น. บทว่า เมขลํ แปลว่า สายรัดเอว สำหรับผู้หญิง. ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงผ้าไยไม้ชนิดบางสำหรับนุ่ง. บทว่า น สนฺถเร ได้แก่ ไม่ใช่ผ้าเปลือกไม้. มีคำที่ท่าน กล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ชฎิลนั้นมิได้ใช้ผ้าที่ทำด้วยหญ้าปล้อง หรือ ที่ทำด้วยเปลือกไม้ เหมือนของพวกเราเลย แต่ชฎิลนั้นใช้ผ้าใยไม้ชนิดบาง สีทอง. บทว่า อขิลกานิ ได้แก่ ไม่สุก ไม่มีขั้ว. บทว่า กฏิสโมหิตานิ (ติดอยู่ที่ใต้สะเอว) ได้แก่ ผูกติดอยู่สะเอว. บทว่า นิจฺจกีฬํ กโรนฺติ (กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์) ความว่า แม้จะไม่ กระทบกัน แต่ก็กระดกเล่นอยู่เป็นนิตย์. บทว่า หนฺตาต แปลว่า ข้าแต่ ท่านพ่อผู้เจริญ. บทว่า กึ รุกฺขผลานิ ตานิ (ผลไม้เหล่านั้นชื่อผลอะไร) นี้ ท่านกล่าวหมายถึงแก้วมณี และผ้าพาดว่า ผลไม้เหล่านั้น เป็นผลไม้ชนิดไหน ที่ผูกด้ายเป็นปมติดอยู่ที่ สะเอวของมาณพนั้น. บทว่า ชฎา ท่านกล่าวหมายถึงมวยผมที่แซมเสียบติด ด้วยรัตนะ โดยเป็นระเบียบวงรอบชฎา. บทว่า เวลฺลิตคฺคา แปลว่า มี ปลายงอนขึ้น. บทว่า เทฺวธาสิโร (มีศรีษะอันแบ่งด้วยดีเป็น๒ส่วน) ได้แก่ ศีรษะของชฎิลนั้น มีชฎาที่ผูกแบ่งด้วยดีเป็นสองส่วน. บทว่า ตถา (อย่างนั้น) ความว่า ดาบสปรารถนาว่า ชฎาของ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 29

ผม ท่านพ่อมิได้ผูกให้เหมือนชฎาของมาณพนั้นเลย โอ หนอ ขอให้ชฎาแม้ ของผมจงเป็นเช่นนั้นเถิด ดังนี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว. บทว่า อุเปตรูปา (อันประกอบแล้ว) ได้แก่ ชฎามีสภาวะอันประกอบแล้ว. บทว่า วาตสเมริตํว (เหมือนที่ถูกลมรำเพยพัดฉะนั้น) ความว่า กลิ่นหอม ย่อมฟุ้งขจรไปในอาศรมไพรสณฑ์นี้ เหมือนดอกอุบลเขียวที่ถูกลมรำเพยพัด ฟุ้งไป ฉะนั้น. บทว่า เนตาทิโส (ไม่เป็นเช่นกับ) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ผิวพรรณที่ สรีระของชฎิลนั้นทั้งน่าดูยิ่งนัก ทั้งมีกลิ่นหอมด้วย ไม่เป็นเช่นกับผิวพรรณที่ กายของข้าพเจ้าเลย. บทว่า อคฺคคิมฺเห (ในปลายฤดูร้อน) ได้แก่ ในสมัยต้นฤดูฝน. บทว่า นิหนฺติ (ตี) แปลว่า ย่อมตี. บทว่า กึ รุกฺขผลํ นุโข ตํ (ผลไม้นั้นชื่อผลอะไรหนอ) ได้แก่ ผลไม้นั้น เป็นผลของต้นไม้อะไรหนอ. บทว่า สงฺขวรูปปนฺนา (สังอันขัดดีแล้ว) ได้แก่ มีส่วนเปรียบ เสมอด้วยสังข์อันขัดดีแล้ว. บทว่า น นูน โส สากมขาทิ (ชฎิลนั้นคงไม่ได้เคี้ยวผักด้วยฟันเหล่านั้นเป็นแน่) ความว่า มาณพ นั้น ไม่ได้เคี้ยวผัก หัวมันและผลไม้ด้วยฟันเหล่านั้น เหมือนอย่างพวกเรา เป็นแน่. ดาบสนั้นย่อมแสดงว่า เพราะเมื่อพวกเราพากันเคี้ยวผลไม้เหล่านั้น อยู่ ฟันจึงมีสีเปลือกตมจับสนิท. บทว่า อกกฺกสํ (ไม่หยาบคาย) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ คำพูดของดาบสนั้น แม้จะพูดอยู่บ่อยๆ ก็ไม่หยาบคาย ไม่เคลื่อนคลาด อ่อนหวานเพราะไพเราะหวานสนิท เป็นคำตรงเพราะไม่หลงลืม เป็นคำสงบ เรียบเพราะไม่ฟุ้งซ่าน เป็นคำไม่คลอนแคลน. เพราะเป็นคำมั่นคงหลักฐาน. บทว่า รุทํ (เสียงของเขา) ความว่า แม้เสียงร้องคือเสียงของเขาผู้พูดอยู่ ย่อมจับใจ เป็น เสียงดี ไพเราะหวานดุจเสียงนกการเวก ฉะนั้น. บทว่า รญฺชยเตว (ให้กำหนัดยิ่งนัก) ความ ว่า ใจของข้าพเจ้า ย่อมกำหนัดยิ่งนัก. บทว่า พินฺทุสฺสโร ได้แก่ เสียง ของเขาหยดย้อย. บทว่า มาณวาหุ (ชฎิลนั้นเป็น) ความว่า เพราะมาณพนั้นได้เป็นมิตร ของข้าพเจ้ามาก่อน. บทว่า สุสนฺธิ สพฺพตฺถ วีมฏิมํ วณํ (แผลที่ต่อสนิทดี เกลี้ยงเกลาในที่ทั้งปวง) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ แผลแผลหนึ่ง มีอยู่ที่ระหว่างขาอ่อนของมาณพนั้น แผลนั้น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 30

มีรอยต่อสนิทดี สัมผัสดี เกลี้ยเกลาในที่ทั้งปวง คือ เกลี้ยงเกลาโดยรอบ คล้ายกับปากแผลที่มีศิลปะ. บทว่า ปุถุ ได้แก่ ใหญ่. บทว่า สุชาตํ (เกิดดีแล้ว) ได้แก่ ดำรงอยู่เหมาะดี. บทว่า ขรปตฺตสนฺนิภํ แปลว่า คล้ายกับกลีบ ดอกบัว. บทว่า อุตฺตริยาน ได้แก่ คร่อม คือ ทับลง. บทว่า ปิฬยิ (กดทับลง) แปลว่า บีบไว้. บทว่า ตปนฺติ (เปล่งปลั่ง) ความว่า รัศมีมีสีดุจทองคำแผ่ซ่านออก จากสรีระของมาณพนั้น ย่อมเปล่งปลั่งสว่างไสวและรุ่งเรือง. บทว่า พาหา (แขนทั้ง๒) ได้แก่ แม้แขนทั้ง ๒ ข้างของชฎิลนั้น ก็อ่อนนุ่ม. บทว่า อญฺชนโลมสทิสา (มีขนเหมือนขนดอกอัญชัน) ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยขนทั้งหลาย เช่นกับขนดอกอัญชัน. บทว่า วิจิตฺรวฏฺฏงฺคุลิกสฺส โสภเร ความว่า แม้มือทั้งสองข้างของชฎิลนั้น ก็ประกอบ ด้วยนิ้วมืออันเรียวงดงาม มีลักษณะอันวิจิตร เช่นกับยอดผ้าขนสัตว์. บทว่า อกกฺกสงฺโค (มีอวัยวะไม่ระคาย) ได้แก่ มีอวัยวะน้อยใหญ่ปราศจากโรคภัย มีโรคหิดที่เบียดเบียนเป็นต้น. บทว่า รมยํ อุปฏฺหิ ความว่า บำรุง บำเรอให้ข้าพเจ้า รื่นรมย์. บทว่า ตูลูปนิภา (อ่อนนุ่มคล้ายสำลี) ได้แก่ เป็นข้ออุปมาถึงความอ่อนนุ่ม. บทว่า สุวณฺณกมฺพูตลวฏฺฏสุจฺฉวี ได้แก่ พื้นฝ่ามือกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณดี คล้ายพื้นแว่นทองคำ อธิบายว่า มีพื้นกลมเกลี้ยง และมีผิวพรรณงดงาม. บทว่า สํผุสิตฺวา (กอดรัด) ได้แก่ สัมผัสด้วยดี คือ ใช้มือทั้งสองของตนสัมผัส ทำให้สรีระของข้าพเจ้า ซาบซ่าน. บทว่า อิโต คโต (ไปจากที่นี้) ได้แก่ ทั้งๆ ที่ ข้าพเจ้ามองดูอยู่นั่นแหละ เธอก็จากที่นี้ไปเสียแล้ว. บทว่า เตน มํ ทหนฺติ (เร่าร้อนด้วยสัมผัส) ความว่า ด้วยการกอดรัดสัมผัสนั้นของเขา ทำให้ข้าพเจ้าเร่าร้อนอยู่จนถึงบัดนี้ แหละ อธิบายว่า ก็จำเดิมแต่กาลที่ชฎิลนั้นจากไปแล้วอย่างนั้น ความเร่าร้อน ก็บังเกิดขึ้นในสรีระของข้าพเจ้า ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงถึงความโทมนัสนอน ซมอยู่แล้ว. บทว่า ขาริวิธํ (หาบ) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ มาณพนั้นมิได้ยกหาบ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 31

เที่ยวไปเป็นแน่. บทว่า ขีฬานิ (ความกระด้าง) ได้แก่ สิ้นความกระด้าง. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน บทว่า สุขฺยํ ได้แก่ ความสุข. บทว่า สนฺถตา ได้แก่ อันปูลาด. บทว่า วิกิณฺณรูปา จ (กระจุยกระจาย) ความว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ที่อันปูลาดด้วยใบเถาย่างทรายของท่านนี้ กลายเป็นที่เปรอะเปื้อนอากูล ด้วยอำนาจการที่ข้าพเจ้าและชฎิลนั้นลูบคลำ สัมผัสทางเพศกันและกัน ในวันนี้ คล้ายกระจุยกระจาย ด้วยการนอนพลิกไปพลิกมา ฉะนั้น. บทว่า ปุนปฺปุนํ ปณฺณกุฏึ วชาม (เข้าสู่กุฎีอันมุงบังด้วยใบไม้บ่อยๆ) ความว่า ชฎิลนั้น พูดว่า ข้าแต่ท่านพ่อ ข้าพเจ้าและชฎิลนั้นอภิรมย์กันแล้ว ก็เหน็ดเหนื่อย ออกจากบรรณศาลา พากันไปยังแม่น้ำ รื่นรมย์แล้ว พอปราศจากความกระวนกระวายแล้วก็กลับเข้าไปยังกุฎี นี้นั่นแหละบ่อยๆ. บทว่า มนฺตา (มนต์ทั้งหลาย) ความว่า วันนี้ คือ ตั้งแต่กาลที่ชฎิล นั้นจากข้าพเจ้าไปแล้ว มนต์ทั้งหลาย ย่อมไม่แจ่มแจ้ง คือ ย่อมไม่ปรากฏ ได้แก่ ย่อมไม่ชอบใจข้าพเจ้าเลย. บทว่า น อคฺคิหุตฺตํ นปิ ยญฺ ตตฺร ความว่า แม้กิริยาของยัญมีจุดไฟ (สุมไฟ) ในการสังเวยเป็นต้น ที่ควรทำเพื่อต้องการอ้อนวอนท้าวมหาพรหม ย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย. บทว่า น จาปิ เต ความว่า ข้าพเจ้าจะไม่ยอมบริโภค แม้ซึ่งมูลผลาหารที่ท่านพ่อนำมาแล้ว. บทว่า ยสฺสํ ทิสํ แปลว่า ในทิศใด. บทว่า วนํ ได้แก่ ป่าไม้ที่เกิดอยู่แวดล้อมอาศรมของมาณพนั้น.

เมื่อดาบสนั้น กำลังพร่ำเพ้ออยู่นั่นเอง พระมหาโพธิสัตว์ ได้ฟังคำพร่ำเพ้อนั้นแล้ว ก็ทราบว่า ศีลของดาบสนั้น เห็นทีจักถูกผู้หญิงคนหนึ่งทำลายให้ขาดเสียแล้วเป็นแน่ ดังนี้ เมื่อจะกล่าวสอนดาบสนั้น จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 32

เราไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันในป่าโชติรส ที่หมู่คนธรรพ์และเทพอัปสร ซ่องเสพ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ในกาลก่อน พวกมิตรย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ชนทั้งหลาย ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตร กุมารใดย่อมไม่รู้ว่า เราเป็นผู้มาแต่ไหน กุมารนี้เป็นผู้ลามก อยู่ในกลางวัน เพราะเหตุอะไร มิตรสหายย่อมสนิทกันบ่อยๆ เพราะความอยู่ร่วมกัน มิตรนั้นนั่นแหละย่อมเสื่อมไป เพราะ ความไม่อยู่ร่วมของบุรุษที่ไม่สมาคม ถ้าเจ้าได้เห็น พรหมจารี ได้พูดกับพรหมจารี เจ้าจักละคุณคือตปธรรมนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะ น้ำมาก ฉะนั้น หากเจ้าได้เห็นพรหมจารีอีก ได้พูดกับพรหมจารีอีก เจ้าจักละสมณเดชนี้เร็วไว ดุจข้าวกล้าที่สมบูรณ์แล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น ดูก่อนลูกรัก พวกยักษ์นั้น ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปแปลกๆ นรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงคบพวกยักษ์นั้น พรหมจารีย่อมฉิบหายไป เพราะความเกาะเกี่ยว กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมสฺมา ได้แก่ อิมสฺมึ แปลว่า (ในป่าอันเป็นโชติรส) นี้. คำว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โชติรเส ได้แก่ ในป่าอันมีรัศมีโชติช่วงสว่างไสวปกคลุมทั่ว. บทว่า สนนฺตนมฺหิ แปลว่า ในกาลก่อน. บทว่า ปาปุเณถ แปลว่า (ไม่) ควรให้ถึง. มีคำ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 33

อธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ลูกเอย! กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตอยู่ในป่าเห็นปานนี้ ไม่ควรให้เจ้าผู้ยังเป็นเด็กเช่นนี้ ถึงความกระสันเลย อธิบายว่า ไม่ควรให้ถึง. บทว่า ภวนฺติ (เป็น) ความว่า พระมหาโพธิสัตว์ กล่าวคาถานี้ เฉพาะคนที่อยู่ภายในเท่านั้น. ความในคาถานั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่าหมู่มิตรของปวงสัตว์ในโลก ย่อมมีบ้าง ไม่มีบ้าง ในบรรดาคนเหล่านั้น พวกที่เป็นมิตร ย่อมทำความรักในพวกญาติและพวกมิตรของตน. บทว่า อยญฺจ ชมฺโม (กุมารนี้เป็นผู้ลามก) ได้แก่ (กุมารนี้) เป็นมิคสิงคะ ผู้ลามก. บทว่า กิสฺส ทิวา นิวิฏฺโ (อยู่ในกลางวันเพราะเหตุ ไร) ความว่า เพราะค่าที่ตนเกิดในท้องของมิคีแล้วเติบโตในป่า ด้วยเหตุอะไร กุมารนั้นจึงอยู่กับมาตุคาม โดยสำคัญว่าเป็นมิตรเล่า. บทว่า กุโตมิหิ อาคโต (เราเป็นผู้มาแต่ไหน) ความว่า กุมารนั้น ย่อมไม่รู้ว่าคนมีฐานะมาอย่างไร จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่ญาติและมิตรเล่า. บทว่า ปุนปฺปุนํ (บ่อยๆ) ความว่า ลูกเอ๋ย! ธรรมดาว่าหมู่มิตรย่อมสนิทสนมกัน ติดต่อกันบ่อยๆ เพราะการอยู่ร่วมกัน คือ คบหากัน. บทว่า เสฺวว มิตฺโต (มิตรนั้นนั่นแหละ) ความว่า มิตรนั้นนั่นแหละ ย่อมเสื่อมไป คือย่อมพินาศไป เพราะการไม่อยู่ร่วมกล่าวคือการไม่สมาคมกันนั้น ของบุรุษผู้ที่ไม่สมาคม. คำว่า สเจ (ถ้า) ความว่า เพราะฉะนั้น ลูกเอ๋ย! ถ้าเจ้าได้เห็นพรหมจารีนั้นซ้ำอีก หรือว่าได้พูดกับพรหมจารีนั้น เจ้าก็จักละจักทำให้คุณ คือตปธรรมของตนนี้ เสื่อมไปเร็วไว ดุจข้าวกล้าที่เผล็ดผลสมบูรณ์ดีแล้ว เสียไปเพราะน้ำมาก ฉะนั้น. บทว่า อุสฺมาคตํ แปลว่า สมณเดช. บทว่า วิรูปรูเปน แปลว่า โดยรูปแปลกๆ. มีคำที่ท่านกล่าว อธิบายไว้ว่า พระโพธิสัตว์กล่าวสอนแล้วซึ่งบุตรอย่างนี้ว่า ดูก่อนลูกรัก ก็ภูตคือพวกยักษ์เหล่านี้ ย่อมเที่ยวไปในมนุษยโลก โดยรูปร่างของตนปกปิดรูปแปลกๆ ไว้ ก็เพื่อเคี้ยวกินพวกคนที่ตกไปสู่อำนาจของตน นรชนผู้มีปัญญา

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 34

ไม่พึงคบหาพวกภูตคือยักษ์เหล่านั้น เพราะถึงความเกาะเกี่ยวกันเช่นนั้น การประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมฉิบหายไป เจ้าถูกนางยักษิณีนั้นพบเห็นแล้ว แต่ยังไม่ถูกเคี้ยวกิน.

ดาบสนั้น ได้ฟังถ้อยคำของบิดาแล้วเกิดความกลัวขึ้นว่า เพิ่งทราบว่า หญิงคนนั้นคือนางยักษิณี จึงกลับใจแล้ว ขอขมาคุณพ่อว่า คุณพ่อครับ ผมจักไม่ขอไปจากที่นี้ พ่อยกโทษให้ผมเถอะ. แม้พระโพธิสัตว์นั้น ปลอบใจให้ลูกสบายใจแล้ว จึงบอกถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารว่า มาณพน้อย เอ๋ย! เจ้ามานี่ซิ เจ้าจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเถิด. ดาบสนั้น ปฏิบัติตามอย่างนั้นแล้ว ก็ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นได้อีก.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว ทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ อุกกัณฐิตภิกษุ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชธิดานฬินิกาในกาลนั้น ได้เป็นปุราณทุติยิกา. อิสิสงคดาบส ได้เป็นอุกกัณฐิตภิกษุ ส่วนพระโพธิสัตว์ผู้เป็นบิดา ก็คือเรานั่นเอง.

จบอรรถกถานฬินิกาชาดก