พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อุมมาทันตีชาดก ว่าด้วยเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35177
อ่าน  879

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 35

๒. อุมมาทันตีชาดก

ว่าด้วยเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 35

๒. อุมมาทันตีชาดก

ว่าด้วยเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา

[๒๐] ดูก่อนนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใครหนอล้อมด้วยกำแพงสีเหลือง ใครหนอปรากฏอยู่ในที่ไกล เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาสและเหมือนเปลวไฟบนยอดภูเขาฉะนั้น ดูก่อนนายสุนันทสารถี หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอเป็นลูกสะใภ้ หรือเป็นภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของนางมีหรือไม่ เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว.

[๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็ข้าพระองค์ย่อมรู้จักหญิงนั้นพร้อมทั้งมารดา บิดา และสามีของนาง ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของพระองค์ทั้งกลางคืน กลางวัน สามีของนางเป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางและมั่งคั่งทั้งเป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ ข้าแต่พระราชา หญิงนั้นเป็นภรรยาของอภิปารกเสนาบดี มีชื่อว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า.

[๒๒] ดูก่อนท่านผู้เจริญๆ ชื่อที่มารดาและ บิดาตั้งให้หญิงนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดี จริงอย่างนั้น เมื่อนางมองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหลคล้ายคนบ้า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 36

[๒๓] ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายเนื้อทราย ร่างกายมีสีเหมือนดอกบุณฑริกนั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่าพระจันทร์ขึ้นสองดวงคราวใด นางมีหน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้า ประโลมอยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชม้อยชม้ายชำเลืองดูเรา ดังจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินนรเกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น ก็คราวนั้น นางผู้พริ้งเพรา มีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้านุ่งห่มท่อนเดียว ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทรายมองดูนายพราน ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้นี้เล็บแดง มีขนงาม มีแขนนุ่มนิ่ม ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือกลมเกลี้ยง มีกระบวนชดช้อยงามตั้งแต่ศีรษะ จักได้ยั่วยวนเรา เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติรีฏิวัจฉะ ผู้มีทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลม จักกอดรัดเราด้วยแขนทั้งสองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทราย รวมรัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดังฟองน้ำ มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่งดังดอกบุณฑริก จักจรดปากด้วยปากกะเรา เหมือนดังนักเลงสุราจรดจอกสุราให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น ในกาลใด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 37

เราได้เห็นนางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่ในกาลนั้น เราไม่รู้สึกอะไรๆ แก่จิตของตนเลย เราได้เห็นนางอุมมาทันตีผู้สวมสอดกุณฑลมณีแล้ว นอนไม่หลับทั้งกลางวันและกลางคืนเหมือนแพ้ข้าศึกมาตั้งพันครั้ง ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา ขอให้เราพึงได้พรนั้นเถิด อภิปารกเสนาบดีพึงรื่นรมย์อยู่กับนางอุมมาทันตีคืนหนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้น พระเจ้าสีวิราชพึงได้รื่นรมย์บ้าง.

[๒๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี เมื่อข้าพระองค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่ เทวดามาบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัยของพระราชาใฝ่ฝันในนางอุมมาทันตี ข้าพระองค์ขอถวายนางแด่พระองค์ ขอพระองค์จงให้นางบำเรอเถิด.

[๒๕] ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็นเทวดา อนึ่ง คนพึงรู้ความชั่วของเรานี้ และเมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยาสุดที่รักแล้วไม่เห็นนาง ความแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๒๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ประชาชนแม้ทั้งสิ้น นอกจากข้าพระบาทและพระองค์ ไม่พึงรู้กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 38

[๒๗] มนุษย์ใดผู้กระทำกรรมอันลามก มนุษย์นั้นย่อมสำคัญว่า คนอื่นไม่รู้การกระทำนี้ เพราะว่า นรชนเหล่าใดประกอบแล้วบนพื้นปฐพี นรชนเหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนี้ คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลก พึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๒๘] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความเจริญมีแต่พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตี เหมือนดังราชสีห์เข้าสู่ถ้ำศิลาเถิด.

[๒๙] นักปราชญ์ทั้งหลายถูกความทุกข์ของตนบีบคั้นแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่มีผลเป็นสุข แม้จะเป็นผู้หลงมัวเมาด้วยความสุขก็ย่อมไม่ประพฤติบาปกรรม.

[๓๐] ก็พระองค์เป็นทั้งพระมารดาพระบิดา เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นเจ้านาย เป็นผู้พอกเลี้ยง และเป็นเทวดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรและ ภรรยาเป็นทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสุขเถิด.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 39

[๓๑] ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้วก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาวเพราะกรรมนั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้นด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม.

[๓๒] ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทานที่เป็นของผู้อื่นอันเจ้าของมอบให้แล้ว ชนเหล่านั้น เป็นผู้รับด้วย เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้วย ได้ชื่อว่าทำกรรมอันมีผลเป็นสุขในเพราะทานนั้นแท้จริง.

[๓๓] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๓๔] ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาท ยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนาง เต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จง ทรงสลัดเสีย.

[๓๕] ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วยทุกข์ของตน หรือก่อความสุขของตนด้วยความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 40

อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเราก็เหมือนของผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม.

[๓๖] คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมนาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรงจะพึงมีแก่ท่าน.

[๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์ย่อมทรงทราบว่า นางอุมมาทันตีนี้เป็นที่รักของข้าพระบาท ข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รักข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก.

[๓๘] เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้ เราไม่อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรมได้เลย.

[๓๙] ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์นางอุมมาทันตีผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาทจะสละนางในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงตรัสสั่งให้นำนางผู้พ้นจากข้าพระบาทแล้วมาจากที่นั้นเถิด พระเจ้าข้า.

[๔๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้กระทำประโยชน์ ถ้าท่านจะสละนางอุมมาทันตีผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 41

สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความค่อนว่าอย่างใหญ่ หลวงจะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม่การใส่ร้ายในพระนคร ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

[๔๑] ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอดกลั้นคำค่อนว่า คำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียน นี้ทั้งหมด คำค่อนว่าเป็นต้นนั้นจงตกอยู่แก่ข้าพระบาท ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสำราญเถิด ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา ความสรรเสริญ ความติเตียน และแม้การบูชา สิริ และปัญญาย่อมปราศจากผู้นั้น เหมือนดังน้ำฝนปราศไปจากที่ดอน ฉะนั้น ข้าพระบาทจักยอมรับความทุกข์ ความสุข สิ่งที่ล่วงธรรมดาและความคับแค้นใจทั้งหมดเพราะเหตุแห่งการสละนี้ ด้วยอกเหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคงและคนสะดุ้ง ฉะนั้น.

[๔๒] เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความ คับแค้นใจและความทุกข์ของชนเหล่าอื่น เราแม่ผู้เดียว จักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมไม่ยังประโยชน์หน่อยหนึ่งให้ เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป.

[๔๓] ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้เข้าถึงสวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่ข้าพระบาทเสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใสขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทานทรัพย์สำหรับบูชายัญแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 42

[๔๔] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและพรหมทั้งหมด เห็นความชั่วอันเป็นไปในภายหน้า พึงติเตียนได้.

[๔๕] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหมด ไม่พึงคัดค้านกรรมอันเป็นธรรมนั้นเลย ข้าพระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหฤทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

[๔๖] ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา ธรรมของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะล่วงละเมิดได้ เหมือนเขตแดนของสมุทร ฉะนั้น.

[๔๗] ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของคำนับของข้าพระองค์ เป็นผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล เป็นผู้ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษาความ ปรารถนาไว้ ยัญที่บูชาในพระองค์ย่อมมีผลมาก ขอพระองค์ทรงรับนางอุมมาทันตีตามความปรารถนาของข้าพระบาทเถิด.

[๔๘] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระทำประโยชน์ ท่านได้ประพฤติแล้วซึ่งธรรมทั้งปวงแก่เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่นใครเล่า หนอจักเป็นผู้กระทำความสวัสดีในเวลาอรุณขึ้น ในชีวโลกนี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 43

[๔๙] พระองค์เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยม พระองค์ทรงดำเนินโดยธรรม ทรงรู้แจ้งธรรม มีพระปัญญาดี ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว จงทรงพระชนม์ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๕๐] ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำของเราเถิด เราจักแสดงธรรมที่สัตบุรุษส้องเสพแก่ท่าน พระราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มีความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การไม่กระทำบาปเป็นสุข มนุษย์ทั้งหลายพึงอยู่เป็นสุข ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้งอยู่ในธรรม เหมือนเรือนของตนอันมีร่มเงาเย็นฉะนั้น เราย่อมไม่ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณาอันเป็นกรรมไม่ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใดทรงทราบแล้วไม่ทรงทำเอง เราชอบใจกรรมของพระราชาเหล่านั้น ขอท่านจงพึงอุปมาของเราต่อไปนี้ เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปคด โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปคด ในเมื่อโคนำฝูงว่ายคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรมจะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์ ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ ในธรรมเมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไป

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 44

ตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปตรง ในเมื่อโคนำฝูงว่ายไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรมจะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความเป็นเทวดา และเพื่อครอบครองแผ่นดินทั้งหมดนี้โดยอธรรม รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เทศ มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ประพฤติผิดธรรมเพราะความปรารถนารัตนะเหล่านั้น บุคคลไม่พึงประพฤติผิดธรรมเพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เป็นต้นว่าม้า หญิง แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่ เราเป็นผู้องอาจ เกิดในท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย ฉะนั้น เราจะไม่ประพฤติผิดธรรมเพราะเหตุแห่ง สมบัตินั้น เราจะเป็นผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้เฟื้องฟู ปกครองแว่นแคว้น จักเป็นผู้เคารพธรรมของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่งธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตน.

[๕๑] ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติธรรมอันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็นนิจแน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยืนนาน เพราะพระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น พระองค์ไม่ทรงประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรม

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 45

นั้นของพระองค์ กษัตริย์เป็นอิสระทรงประมาทธรรมแล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ ข้าแต่พระมหากษัตริย์ขัตติยราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและ พระชนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระราชบุตรและพระมเหสี ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จง ทรงประพฤติธรรมในมิตรและอำมาตย์... ในราชพาหนะและทแกล้วทหาร... ในบ้านและนิคม... ใน แว่นแคว้นและชนบท... ในสมณะพราหมณ์... ในเนื้อและนกทั้งหลาย... ครั้นพระองค์ทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมเถิด เพราะว่า ธรรมที่ประพฤติแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์ ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมเถิด ด้วยว่าพระอินทร์ เทวดา พร้อมทั้งพรหม เป็นผู้ถึงทิพยสถานเพราะธรรมที่ประพฤติแล้ว ข้าแต่ พระราชา พระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.

จบอุมมาทันตีชาดกที่ ๒

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 46

อรรถกถาปัญญาสนิบาต

อรรถกถาอุมมาทันตีชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารทรงพระปรารภ อุกกัณฐิตภิกษุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า นิเวสนํ กสฺส นุทํ สุนนฺท (นายสุนันทสารถีนี่เรือนของใครหนอ) ดังนี้เป็นต้น.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้มองเห็นหญิงคนหนึ่ง ซึ่งประดับตกแต่งร่างกาย มีรูปร่างงดงามอย่างยิ่ง เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ ไม่อาจจะกลับใจหักห้ามได้ มายังวิหาร จำเดิมแต่นั้น ก็เป็นผู้อ่อนแอเพราะโรค ดุจถูกลูกศรทิ่มแทงแล้ว มีส่วนเปรียบด้วยเนื้อที่วิ่งพล่านไป ผ่ายผอม ร่างกายมีเส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง กลายเป็นคนผอมเหลือง ไม่ยินดี (ในพระศาสนา) เมื่อไม่ได้ความสบายใจ แม้ในอิริยาบถหนึ่ง จึงละเว้นวัตร มีอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรเป็นต้น อยู่ชนิดที่เว้นว่างจากการประกอบความเพียรในอุทเทส ปริปุจฉา และกัมมัฏฐาน. เธอถูกพวกเพื่อนภิกษุถามว่า อาวุโส เมื่อก่อนท่านมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มีสีหน้าผ่องใส แต่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุอะไรกันหนอ? จึงตอบว่า อาวุโส ผมไม่ยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เลย. ลำดับนั้น พวกเพื่อนภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวสอนเธอว่า อาวุโสเอย! ท่านจงยินดียิ่ง (ในพระศาสนา) เถิด ธรรมดาว่า การอุบัติเกิดแห่งพระพุทธเจ้า เป็นสภาวะที่ได้โดยยาก การได้ฟังพระสัทธรรม และการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากเหมือนกัน ท่านนั้นได้ อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ จึงละคนผู้เป็นญาติมีน้ำตานองใบหน้าแล้ว บวชด้วยศรัทธา เพราะเหตุไร ท่านจึงตก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 47

ไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเล่า ขึ้นชื่อว่า กิเลสเหล่านั้น มีทั่วไปแก่คนพาลทุกจำพวก ตั้งแต่สัตว์มีชีวิตไส้เดือนขึ้นไป มีอุปมาเหมือนผลไม้ กิเลสเหล่านั้น เป็นที่ตั้งแห่งวัตถุกาม กามแม้เหล่านั้น มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น มีประมาณยิ่ง กามทั้งหลาย เปรียบเหมือน ร่างกระดูก กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนผลของต้นไม้ที่มีพิษ กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกและหลาว กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู ธรรมดาว่าท่านบวชแล้วในพระศาสนาเห็นปานนี้ ยังตกไปสู่อำนาจของเหล่ากิเลส ซึ่งเป็นเหตุกระทำความพินาศถึงอย่างนั้นได้ดังนี้ เมื่อไม่สามารถจะให้ภิกษุนั้นรับเอาถ้อยคำของตนได้ จึงพากันนำไปเข้าเฝ้าพระศาสดายังธรรมสภา เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีความปรารถนาจะมาทำไม? จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่าภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความเบื่อหน่าย เจ้าข้า. พระ ศาสดาตรัสถามว่า ที่เล่ามาเป็นความจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เป็นความจริง พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ตามพร่ำสอน ซึ่งพระราชาผู้ครอบครองราชสมบัติอยู่ จนไม่ตกไปสู่อำนาจกิเลสที่เกิดขึ้น ห้ามจิตเสียได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่สมควร ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล ในแคว้นสีวี พระราชาทรงพระนามว่า สีวี ทรงครอบครองราชสมบัติ ในอริฏฐบุรีนคร. พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์พระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้นแล้ว. พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย พากันขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า สีวิกุมาร. แม้บุตรของท่านเสนาบดี ก็

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 48

คลอดแล้ว. พวกหมู่ญาติ พากันตั้งชื่อเด็กนั้นว่า อภิปารกะ. เด็กทั้งสองคนนั้น เป็นสหายกัน พอเจริญวัยมีอายุได้ ๑๖ ปี ไปยังกรุงตักกศิลา พอเล่าเรียนศิลปะจบแล้ว ก็พากันกลับมา. พระราชาได้ทรงพระราชทานพระราชสมบัติให้พระราชโอรสครอบครอง. แม้พระราชโอรสนั้น ก็ทรงแต่งตั้ง อภิปารกะไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม. ในพระนครนั้นนั่นเอง มีบุตรสาวของท่านติริฏิวัจฉเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติ ประมาณ ๘๐ โกฏิ เธอมีรูปร่างสวยยิ่งนัก เลอเลิศด้วยความงาม ประกอบด้วยลักษณะอันงดงาม. ในวันตั้งชื่อ หมู่ญาติได้ตั้งชื่อเธอว่า อุมมาทันตี. ในเวลาเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี เธอมีผิวพรรณเกินล้ำหมู่มนุษย์ งดงาม น่าดูน่าชมปานเทพยดาชั้นฟ้า. พวกปุถุชนที่พบเห็นเธอเข้าทุกคนๆ คน ไม่สามารถจะ ดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน เป็นผู้เมาแล้วด้วยความเมาคือกิเลส เหมือนเมาแล้วด้วยน้ำเมา ฉะนั้น ชื่อว่า สามารถจะตั้งสติได้ ไม่ได้มีแล้ว. ครั้งนั้น ท่านติริฏิวัจฉะผู้เป็นบิดาของนาง เข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อิตถีรัตนะอันสมควรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ได้บังเกิดขึ้น แล้วในเรือนของข้าพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดส่งพราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะ ทั้งหลายไป ให้พิจารณาอิตถีรัตนะนั้นแล้ว โปรดจงทำตามความพอพระทัยเถิด. พระราชา ทรงรับคำแล้วทรงสั่งพราหมณ์ทั้งหลายไปแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้นไปยังเรือนของท่านเศรษฐีแล้ว ได้รับการต้อนรับด้วยสักการะและสัมมานะ พากันบริโภคข้าวปายาสแล้ว.

ในขณะนั้น นางอุมมาทันตี ผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ได้ไปสู่สำนักของพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้น พอพบเห็นนางเข้าก็ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ เป็นผู้เมาด้วยความเมาคือกิเลส ไม่

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 49

ได้รู้เลยว่าตนกำลังบริโภคค้างอยู่. บางพวก ก็จับคำข้าวเอาวางไว้บนศีรษะ ด้วยสำคัญว่าเราจะบริโภค. บางพวก ก็ยัดใส่ในระหว่างชอกรักแร้. บางพวก ก็ทุบตีฝาเรือน. พวกพราหมณ์ได้กลายเป็นคนบ้าไปแม้ทั้งหมด. นางเห็นพราหมณ์เหล่านั้นเข้า จึงกล่าวว่า ทราบว่าพราหมณ์เหล่านี้ จักตรวจดูลักษณะของเรา ท่านทั้งหลาย จงลากคอพราหมณ์เหล่านั้นออกไปให้หมด ดังนี้แล้ว ให้คนรับใช้นำพราหมณ์เหล่านั้นออกไป. พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ขวยเขิน ไปยังพระราชนิเวศน์แล้ว โกรธต่อนางอุมมาทันตีจึงกราบทูลความเท็จว่า ขอเดชะ ผุ้หญิงคนนั้น เป็นหญิงกาลกรรณี มิได้สมควรแก่พระองค์เลยพระเจ้าข้า. พระราชา ทรงทราบว่า หญิงคนนั้น เป็นกาลกรรณี จึงมิได้ทรงรับสั่งให้นำหญิงนั้นมา. นางอุมมาทันตีได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า พระราชาไม่ทรงรับเราด้วยทรงสำคัญว่า ทราบว่าเราเป็นคนกาลกรรณี ขึ้นชื่อว่า หญิงกาลกรรณี ย่อมไม่มีรูปร่างอย่างนี้เป็นแน่ ดังนี้ จึงผูกอาฆาตในพระราชา พระองค์นั้นว่า ช่างเถอะ ก็ถ้าว่าเราจักได้เข้าเฝ้าพระราชา ก็จักรู้กัน. ครั้นต่อมา ท่านบิดา ได้มอบเธอให้แก่ท่านอภิปารกะ. นางได้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของท่านอภิปารกะเสนาบดี. ถามว่า ก็นางได้มีรูปร่างงดงามอย่างนี้ เพราะ วิบากแห่งกรรมอะไร? ตอบว่า ด้วยวิบากแห่งการถวายผ้าแดง.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี นางได้บังเกิดในตระกูลที่ขัดสน ในวันมหรสพ เธอมองเห็นผู้หญิงทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยบุญ นุ่งผ้าที่ย้อมแล้วด้วยดอกดำ ประดับประดาตกแต่งกำลังเล่นกันอยู่ เป็นเหตุให้เธอต้องการจะนุ่งผ้าเช่นนั้นเล่นกับเขาบ้าง จึงบอกให้มารดาบิดาได้ทราบ เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้นกล่าวว่า ลูกเอ๋ย! พวกเราเป็นคนจนขัดสน พวกเราจะได้ผ้าอย่างนั้น แต่ที่ไหนเล่า ดังนี้ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงอนุญาตให้เรา ทำการรับ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 50

จ้างในตระกูลมั่งคั่งแห่งหนึ่งเถิด พวกนายจ้างเหล่านั้น รู้คุณของเราแล้วก็คงจักให้เอง ดังนี้ พอได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาแล้ว จึงเข้าไปยังตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ดิฉันมาสมัครทำงานรับจ้าง เพื่อต้องการผ้าที่ย้อมด้วยดอกคำ. ลำดับนั้น พวกนายจ้างกล่าวกะเธอว่า เมื่อเจ้าทำงานครบ ๓ ปีแล้ว พวกเรารู้คุณความดีของเจ้าแล้วจักให้แน่. นางรับคำแล้วเริ่มทำงาน พวกนายจ้า เหล่านั้น รู้คุณความดีของนางแล้ว ในเมื่อยังไม่ครบ ๓ ปีบริบูรณ์ดีนั่นเอง จึงได้มอบผ้าชนิดอื่นพร้อมกับผ้าที่ย้อมแล้วด้วยดอกดำชนิดเนื้อแน่น ให้แก่นางแล้วสั่งนางว่า เธอจงไปอาบน้ำพร้อมกับพวกสหายของเธอเสร็จแล้ว จงลองนุ่งผ้า (นี้ดู). นางไปกับพวกหญิงสหายแล้ว วางผ้าที่ย้อมแล้วไว้บนฝั่ง อาบน้ำแล้ว. ในขณะนั้น พระสาวกของพระทศพลทรงพระนามว่ากัสสปะรูปหนึ่ง มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป นุ่งและห่มกิ่งไม้ที่หักได้ มาถึงยังที่นั้นแล้ว. นางเห็นท่านแล้วคิดว่า ท่านผู้เจริญรูปนี้ เห็นที่จักถูกโจรชิงจีวรไปแล้ว ผ้านุ่งของเราเป็นของหาได้ยาก เพราะไม่ได้ให้ทานไว้แม้ในกาลก่อน จึงฉีกผ้านั้นออกเป็น ๒ ส่วน คิดว่า จักถวายส่วนหนึ่งแด่พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ ขึ้นจากน้ำแล้ว นุ่งผ้านุ่งสำหรับส่วนตัวแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าขา นิมนต์หยุดก่อนเจ้าข้า จึงไปไหว้พระเถระแล้ว ฉีกผ้านั้นในท่ามกลาง ได้ถวายส่วนหนึ่งแก่ พระเถระนั้น. พระเถระนั้น ยืนอยู่ในที่กำบังส่วนหนึ่ง ทิ้งกิ่งไม้ที่หักได้เสีย นุ่งผ้าผืนนั้นชายหนึ่ง ห่มชายหนึ่ง แล้วจึงออกไป. ลำดับนั้น เพราะรัศมี แห่งผ้าอาบทั่วร่างพระเถระ ได้มีแสงรัศมีเป็นอันเดียวกัน ดุจดังพระอาทิตย์ ทอแสงอ่อนๆ ฉะนั้น. นางมองดูพระเถรนั้นแล้ว คิดว่า ทีแรกพระผู้เป็นเจ้าของเราไม่งามเลย บัดนี้งามรุ่งโรจน์ดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ ฉะนั้น เราจักถวายแม้ผ้าท่อนนี้แก่พระผู้เป็นเจ้านี้แหละ. แล้วถวายผ้าส่วนที่สอง ได้ตั้งความปรารถนาว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันเที่ยวไปในภพ พึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 51

รูปอันงดงาม คนใดคนหนึ่ง พบเห็นดิฉันแล้ว อย่าได้อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนเลย ผู้หญิงอื่น ที่ชื่อว่ามีรูปสวยงามเกินกว่าดิฉัน อย่าได้มีเลย แม้พระเถระ กระทำอนุโมทนาแล้ว ก็หลีกไป. นางท่องเที่ยวไปในเทวโลก บังเกิดในอริฏฐบุรีในกาลนั้นแล้ว ได้มีรูปร่างงดงาม เหมือนอย่างที่ได้ปรารถนา ไว้แล้วนั้น.

ลำดับนั้น ในพระนครนั้น ประชาชนทั้งหลายได้โฆษณางานมหรสพประจำเดือนกัตติกมาส (เดือน) ประชาชนทั้งหลายได้ตระเตรียมพระนครไว้ในวันมหรสพ เพ็ญเดือนกัตติกมาสแล้ว. ท่านอภิปารกเสนาบดีเมื่อจะไปยังที่รักษา (ที่ทำงาน) ของตน จึงเรียกภริยาสุดที่รักนั้นมาแล้วพูดว่า อุมมาทันตี น้องรัก! วันนี้ เวลาค่ำคืนแห่งกัตติกมาส จะมีมหรสพ พระราชาจักทรงทำประทักษิณพระนคร เสด็จผ่านประตูเรือนของเรานี้เป็นเรือนแรก น้องอย่าปรากฏตัวให้พระราชาทรงเห็นนะ เพราะถ้าพระองค์เห็นน้องแล้ว จักไม่อาจดำรงสติไว้ได้. นางอุมมาทันตีนั้นรับคำสามีว่า ไปเถอะ คุณพี่ (ถึงเวลา นั้นแล้ว) ดิฉันจักรู้ ดังนี้ เมื่อสามีไปแล้ว จึงสั่งบังคับนางทาสีว่า ในเวลา ที่พระราชาเสด็จมายังประตูเรือนของเรานี้ เจ้าจงบอกแก่เราให้ทราบด้วยนะ. ลำดับนั้น เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นแทนที่ พระนครที่ประดับประดาตกแต่งแล้ว ดูงดงามปานเทวนคร ประทีปลุกโพลง สว่างไสวทั่วทุกทิศ พระราชาทรงประดับตกแต่งด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ทรงประทับบนรถม้าคันประเสริฐ แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ทรงกระทำประทักษิณพระนครด้วยยศใหญ่ เสด็จถึงประตูเรือนของท่านอภิปารกเสนาบดี เป็นเรือนแรกทีเดียว. ก็เรือนหลังนั้น แวดล้อมด้วยกำแพงสีดังมโนศิลา มีหอคอยอยู่ที่ซุ้มประตูอันประดับตกแต่งจนงามเลิศ น่าดูชม. ขณะนั้น นางทาสีได้เรียนแจ้งให้นางอุมมาทันตีทราบแล้ว. นางอุมมาทันนี้ให้นางทาสีถือพาน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 52

ดอกไม้แล้ว ยืนพิงบานหน้าต่างด้วยลีลาอันงดงามดุจนางกินรี โปรยดอกไม้ใส่พระราชา. พระราชาเหลือบแลดูนาง ทันทีก็เกิดความเมาด้วยความเมาคือ กิเลส ไม่อาจจะดำรงสติไว้ได้ จนไม่สามารถจะจำได้ว่า เรือนหลังนี้ เป็น ของท่านอภิปารกเสนาบดี.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกนายสารถีมาแล้ว เมื่อจะตรัสถาม จึง ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนนายสุนันทสารถี นี่เรือนของใครหนอล้อมด้วยกำแพงสีเหลือง ใครหนอปรากฏอยู่ในที่ไกล เหมือนเปลวไฟอันลุกโพลงอยู่บนเวหาส และเหมือนเปลวไฟบนยอดภูเขา ฉะนั้น ดูก่อนนายสุนันทสารถี หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอ เป็นลูกสะใภ้หรือเป็น ภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของนางมีหรือไม่ เราถามแล้วขอท่านจงบอกแก่เราโดยเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส นุทํ ตัดบทเป็น กสฺส นุ อิทํ แปลว่า นี้ (เรือน) ของใครหนอ. บทว่า ปณฺฑุมเยน (สีเหลือง) ได้แก่ อันสำเร็จ ด้วยกำแพงอิฐสีแดง. บทว่า ทิสฺสติ (ปรากฏ) ความว่า ปรากฏยืนอยู่ที่บานหน้าต่าง. บทว่า อจฺจิ (เปลวไฟ) ได้แก่ กองไฟที่มีลมโหมลุกโพลง. บทว่า ธีตา นายํ ตัดบทเป็น ธีตา นุ อยํ เป็นธิดา (ของใคร) หนอ. บทว่า อวาวตา (ไม่มีผู้หวงแหน) ได้แก่ ไม่มีผู้กีดกั้น คือ ไม่มีผู้หวงแหนหรือ. บทว่า ภตฺตา ความว่า สามีของนางมีหรือไม่ เจ้าจงบอกความนี้แก่เรา.

ลำดับนั้น นายสารถี เมื่อจะกราบทูลแจ้งเนื้อความแด่พระราชา จึง ได้กราบทูลคาถา ๒ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 53

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ก็ข้าพระองค์ย่อมรู้จักหญิงนั้นพร้อมทั้งมารดา บิดา และสามี ของนาง ข้าแต่พระจอมภูมิบาล บุรุษนั้นเป็นผู้ไม่ ประมาทในประโยชน์ของพระองค์ทั้งกลางคืนกลางวัน สามีของนางเป็นผู้มีอิทธิพลกว้างขวางและมั่งคั่ง ทั้ง เป็นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ ข้าแต่พระราชา หญิงนั้น คือ ภรรยาของอภิปารกเสนาบดี เธอมีชื่อ ว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺยา จ เปตฺยา จ ความว่า ข้าพระองค์ย่อมรู้ จักหญิงคนนั้นพร้อมทั้งมารดาและบิดา. ศัพท์ว่า อโถปิ (สามีของนาง) นายสารถีกราบทูล ว่า แม้สามีของนางข้าพระองค์ก็รู้จัก. บทว่า อิทฺโธ (ผู้มีอิทธิพล) แปลว่า เป็นผู้ได้รับ ความสำเร็จแล้ว. บทว่า ผีโต (กว้างขวาง) ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยผ้าและเครื่องอลังการ ทั้งหลาย. บทว่า สุวฑฺฒิโต (มั่งคั่ง) ได้แก่ เป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ดี. บทว่า นามเธยฺเยน แปลว่า มีชื่อ. จริงอยู่ หญิงคนนี้ ย่อมทำบุรุษผู้ที่มองดูนางให้หลงใหลคล้าย คนบ้า คือ ไม่ให้บุรุษนั้นดำรงสติอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า อุมมาทันตี ดังนี้.

พระราชาได้ทรงสดับคำทูลนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชมเชยชื่อของนางนั้น จึงตรัสคาถาติดต่อกันว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญๆ ชื่อที่มารดาและบิดาตั้งให้ หญิงคนนี้ เป็นชื่อเหมาะสมดีจริงอย่างนั้น เมื่อนาง มองดูเรา ย่อมทำให้เราหลงใหลคล้ายคนบ้า.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 54

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺยา จ เปตฺยา จ แปลว่า ที่มารดา และบิดา. บทว่า มยฺหํ เป็นสัมปทานะใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า อวโลกยนฺตี (เมื่อ..มองดู) ความว่า เธอถูกเรามองดูแล้ว หันกลับมามองดูเราบ้าง ได้ทำเราให้หลงใหลคล้ายคนบ้า.

แม้นางอุมมาทันตีนั้น ทราบว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงหวั่นไหวพระหทัยแล้ว จึงปิดหน้าต่างแล้ว ได้เข้าสู่ห้องอันประกอบด้วยสิริตามเดิม. จำเดิมแต่กาลที่พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นนางแล้ว พระองค์ไม่ได้มีพระหทัยที่จะทรงการทำประทักษิณพระนครเลย. พระราชาตรัสเรียกนายสารถี มาแล้ว ตรัสว่า สุนันทะสหายเอ๋ย! เจ้าจงกลับรถเถิด งานมหรสพนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา แต่สมควรแก่อภิปารกเสนาบดี ถึงพระราชสมบัติ ก็สมควรแก่อภิปารกเสนาบดีนั้นเหมือนกัน ดังนี้ จึงให้นายสารถีกลับรถแล่นถึงสถานที่ เสด็จขึ้นพระปราสาทแล้ว ทรงบรรทมบ่นเพ้อบนที่บรรทมอันประกอบด้วยสิริ ตรัสว่า

ในคืนเดือนเพ็ญ นางผู้มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายเนื้อทราย ร่างกายมีสีเหมือนดอกบุณฑริก นั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง ในคืนนั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดง เหมือนเท้านกพิราบ สำคัญว่าพระจันทร์ขึ้นสองดวงคราวใด นางมีหน้ากว้าง ขาวสะอาด ประเล้าประโลมอยู่ด้วยอาการอันงดงาม ชม้อยชม้ายชำเลืองดูเราดังจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินนรเกิดบนภูเขาในป่า ฉะนั้น ก็คราวนั้น นางผู้พริ้งเพรามีตัวเป็นสีทอง สวมกุณฑลแก้วมณี ผ้านุ่งผ้าห่มท่อน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 55

เดียว ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทราย มองดูนายพราน ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีเล็บแดง มีขนงาม มีแขนนุ่มนิ่ม ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ มีนิ้วมือกลมเกลี้ยง มีกระบวนชดช้อย งามตั้งแต่ศีรษะจักได้ยั่วยวนเรา เมื่อไรหนอ ธิดาของท่านเศรษฐีติริฏิวัจฉะ ผู้มีทับทรวงอันกระทำด้วยข่ายทอง เอวกลม จักกอดรัดเราด้วยแขนทั้งสองอันนุ่มนิ่ม ประดุจเถาย่านทราย รวบรัดต้นไม้ที่เกิดในป่าใหญ่ ฉะนั้น เมื่อไรหนอ นางผู้มีผิวงามแดงดังน้ำครั่ง มีถันเป็นปริมณฑลดังฟองน้ำ มีอวัยวะฉาบด้วยผิวหนังเปล่งปลั่งดังดอกบุณฑริก จักจรดปากด้วยปากกะเรา เหมือนดังนักเลงสุราจรดจอกสุราให้แก่นักเลงสุรา ฉะนั้น ในกาลใด เราได้เห็นนางผู้มีร่างกายทุกส่วนอันน่ารื่นรมย์ใจยืนอยู่ ในกาลนั้น เราไม่รู้สึกอะไรๆ แก่จิตของตนเลย เราได้เห็นนางอุมมาทันตีผู้สวมสอดกุณฑลมณีแล้วนอนไม่หลับ ทั้งกลางวันและกลางคืนเหมือนแพ้ข้าศีลมาตั้งพันครั้ง ถ้าท้าวสักกะพึงประทานพรให้แก่เรา ขอให้เราพึงได้พรนั้นเถิด อภิปารกเสนานดีพึงรื่นรมย์อยู่กับนางอุมมาทันตีคืนหนึ่งหรือสองคืน ต่อจากนั้น พระเจ้าสีวิราช พึงได้รื่นรมย์บ้าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณมาเส ได้แก่ ในคืนพระจันทร์เพ็ญ. บทว่า นิคมนฺทโลจนา (มีนัยตาชม้ายคล้ายเนื้อทราย) ความว่า ชื่อว่า มิคมันทโลจนา เพราะอรรถว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 56

มีนัยน์ตาชม้ายคล้ายนัยน์เนื้อทรายที่กำลังตกใจกลัวลูกศร วิ่งหนีไปยืนแอบอยู่ ในระหว่างป่าแล้วเหลือบแลดูนายพราน ฉะนั้น. บทว่า อุปาวิสี (นั่งอยู่ใกล้หน้าต่าง) ความว่า เธอนั่งใกล้หน้าต่าง เอาฝ่ามือสวยงามสีเหมือนดอกปทุม หยิบดอกไม้โปรยใส่ แล้วแลดูเรา. บทว่า ปุณฺฑรีกตฺตจงฺคี (ร่างกายมีสีเหลืองเหมือนดอกบุณฑริก) ได้แก่ ร่างกายมีสีเหมือนดอกปทุมแดง. บทว่า เทฺว ปุณฺณมาโย (พระจันทร์ขึ้น๒ดวง) ความว่า ในวันนั้น คือในวันงานมหรสพ นั้น เราได้เห็นนางนุ่งห่มผ้าสีแดงเสมอสีเท้านกพิราบนั้นแล้ว แลดูความงาม แห่งใบหน้าของนางอยู่ ได้สำคัญว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง เพราะความที่ พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นสองดวงคือ ดวงหนึ่งซึ่งมีประจำโลกขึ้นทางทิศตะวันออก ดวงหนึ่งขึ้นในนิเวศน์ของอภิปารกเสนาบดี. บทว่า อฬารปมฺเหหิ แปลว่า มีหน้ากว้าง. บทว่า สุเภหิ แปลว่า ขาวสะอาด. บทว่า วคฺคูภิ แปลว่า ด้วยอาการสวยงาม. บทว่า อุทิกฺขติ (ชม้อยชม้ายชำเลืองดู) ได้แก่ ในขณะที่นางแลดูเรา ด้วยนัยน์ตาทั้งสองเห็นปานนั้น. บทว่า ปพฺพเต (บนภูเขา) ความว่า คล้ายจะปล้นเอาดวงใจของเราไปเสียเลย เหมือนนางกินรีเกิดบนภูเขาหิมวันต์ ในป่าที่มีดอก ไม้บานสะพรั่ง อาศัยพิณซึ่งเทียบเสียงของตนกับเสียงสายพิณ ย่อมชักนำใจ บุรุษมาได้ ฉะนั้น. บทว่า พฺรหตี คือนางผู้ประเสริฐ. บทว่า สามา คือ ผู้มีตัวเป็นสีทองคำ. บทว่า เอกจฺจวสนา ได้แก่ อยู่ด้วยผ้าชิ้นเดียว อธิบาย ว่า ผ้านุ่งห่มท่อนเดียว. บทว่า ภนฺตาวุทิกฺขติ (ชำเลืองดูเราประดุจนางเนื้อทรายมองดูนายพรานฉะนั้น) พระราชาตรัสว่า หญิงผู้สูงสุดคนนั้น มีเส้นผมละเอียด มีหน้าผากกว้าง มีคิ้วยาวเรียว มีนัยน์ตาโตงาม มีจมูกโด่ง มีริมฝีปากแดง มีซี่ฟันทั้งหลายขาวสะอาด มีเขี้ยวคม มี คอกลมเกลี้ยงดี มีแขนอ่อนนิ่ม มีนมตั้งเต่งสวยงาม มีเอวงามเหมือนนางเนื้อทราย มีตะโพกใหญ่ มีรูปร่างเสมอเหมือนต้นกล้วยทองคำ ในขณะที่นางแล

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 57

ดูเราพลางหนีเข้าป่าด้วยความกลัวแล้วหันมามองดูเราเหมือนนางเนื้อทรายหันกลับมามองดูนายพราน ฉะนั้น. บทว่า พาหามุทุ แปลว่า มีแขนนุ่มนิ่ม. บทว่า สนฺนตธีรกุตฺติยา ได้แก่ มีกระบวนอันฉลาดชดช้อย บทว่า อุปญฺิสฺสติ มํ (จักได้ยั่วยวนเรา) ความว่า พระราชาทรงบ่นเพ้อปรารถนาว่า นารีผู้งดงามนั้น มีเล็บทุกเล็บสีแดง มีกระบวนการอันฉลาดชดช้อยงามตั้งแต่ศีรษะ เมื่อไรหนอ จึงจักยั่วยวนเรา. บทว่า กาญฺจุนชาลุรจฺฉทา ได้แก่ ผู้มีทับทรวงทำด้วยทองคำประดับตกแต่ง. บทว่า วิลากมชฺฌา (เอวกลม) ได้แก่ ร่างกายส่วนที่เป็นเอว. บทว่า พฺรหาวเน แปลว่า ในป่าใหญ่. บทว่า รตฺตสุจฺฉวี (ผู้มีผิวงามแดง) ได้แก่ มีผิวดุจแก้วประพาฬงามแดงดังน้ำครั่ง ในที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปลายเล็บ และเนื้อ ริมฝีปาก. บทว่า พินฺทุตฺถนี ได้แก่ มีนมเป็นปริมณฑลดุจฟองน้ำ. บท ว่า ตโต (ในกาลนั้น) ความว่า จำเดิมแต่กาลที่เราได้เห็นนางยืนอยู่. บทว่า สกสฺส จิตฺตสฺส (แก่จิตของตน) อธิบายว่า เราไม่ได้มีความเป็นใหญ่ เกิดแก่จิตของตนเลย. บทว่า กญฺจิ นํ (อะไรๆ) อธิบายว่า พระราชาตรัสว่า เราไม่รู้จักนางนั้นว่าเป็นใคร คือไม่ รู้ว่า ผู้หญิงคนนี้ มีชื่อดังนั้น เราเกิดเป็นบ้าขึ้นเสียแล้ว. บทว่า ทิฏฺา (ได้เห็น) แปลว่า พอเห็นนางแล้ว. บทว่า น สุปฺปามิ (นอนไม่หลับ) ความว่า เราย่อมไม่ได้ ความหลับทั้งกลางคืนและกลางวัน. บทว่า โส จ ลเภถ (ขอให้เราพึงได้พรนั้นเถิด) ความว่า ขอให้พรที่ท้าวสักกะประทานแก่เรา จงเป็นของเราเถิด คือเราพึงได้พรนั้นเถิด.

พวกราชบุรุษจึงพากันไปบอกแก่ท่านอภิปารกเสนาบดีว่า ข้าแต่นายท่าน พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำประทักษิณพระนคร พอมาถึงประตูบ้านของท่านแล้ว ก็เสด็จกลับวังขึ้นสู่ปราสาท. อภิปารกเสนาบดีนั้น จึงไปยังเรือนของตนแล้ว เรียกนางอุมมาทันตีออกมาถามว่า น้องรักของพี่ น้องแสดงตัวปรากฏแก่พระราชาหรือจ๊ะ. นางตอบว่า พี่จ๋า มีชายคนหนึ่ง ท้องใหญ่ เขี้ยวโต ยืนมาบนรถ ดิฉันไม่รู้จักชายคนนั้นว่าเป็นพระราชา หรือมิใช่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 58

พระราชา แต่เมื่อผู้คนเล่ากันว่า เป็นเอกบุรุษเป็นใหญ่ ดังนี้ ดิฉันยืนอยู่ริมหน้าต่าง จึงได้โปรยดอกไม้ลงไป ชายผู้นั้น ยืนอยู่สักครู่หนึ่งแล้ว ก็กลับไป. อภิปารกเสนาบดีได้สดับคำนั้นแล้วจึงกล่าวว่า น้องทำให้พี่ต้องฉิบหายเสียแล้วเป็นแน่ ดังนี้ ครั้นวันรุ่งขึ้น จึงรีบไปยังพระราชนิเวศน์แต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูห้องอันเป็นสิริ ได้ยินเสียงพระราชาบ่นเพ้อถึงนางอุมมาทันตี จึงคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ มีจิตรักใคร่ผูกพันในน้องอุมมาทันตี ถ้าไม้ได้นางคงจักสวรรคตเป็นแน่ เราควรจะช่วยปลดเปลื้องโทษอันมิใช่คุณทั้งของ พระราชาและของเราเสีย แล้วถวายชีวิตแด่พระราชาพระองค์นี้เถิด จึงกลับไปสู่เรือนของตนแล้ว สั่งให้เรียกคนใช้คนสนิทผู้หนึ่งมาสั่งว่า นี่แน่ะพ่อคุณเอ๋ย ตรงที่โน้น มีต้นไม้ใหญ่ มีโพรงอยู่ต้นหนึ่ง ท่านอย่าให้ใครๆ รู้นะ พอพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ท่านจงไปในที่นั้นแล้ว เข้าไปนั่งอยู่ภายในต้นไม้ เราจะทำพลีกรรมที่ต้นไม้นั้น พอไปถึงต้นไม้นั้นนมัสการเทวดาแล้ว จักวิงวอนว่า ข้าแต่เทวราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อมหรสพมีในพระนคร พระราชาของพวกข้าพเจ้า ไม่ยอมทรงเล่น กลับเสด็จไปยังห้องอันเป็นสิริ ทรงบรรทมบ่นเพ้อ พวกข้าพเจ้าไม่ทราบถึงเหตุในข้อนั้นเลย พระราชาทรงมีอุปการะมากมายแก่พวกเทวดาฟ้าดิน ทรงสละทรัพย์พันหนึ่งให้กระทำพลีกรรมทุกกึ่งปี ขอพวกท่านจงบอกว่า พระราชาทรงเพ้อรำพันเพราะอาศัยเหตุชื่อนี้ ดังนี้ เราจักอ้อนวอนว่า จงให้ชีวิตทานแก่ราชาของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด ในขณะนั้น ตัวท่านพึงเปลี่ยนเสียงแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านเสนาบดี ขึ้นชื่อว่าความเจ็บไข้ มิได้มีแก่พระราชาของพวกท่านเลย แต่พระองค์มีจิตผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตีผู้เป็นภรรยาของท่าน หากพระองค์ได้นางก็จักดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้ไม่ได้ก็จักสวรรคตเป็นแน่ ถ้าท่านปรารถนาจะให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 59

ก็จงถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์เถิด ดังนี้ เมื่อเสนาบดีให้คนใช้จำเอาถ้อย คำอย่างนี้แล้วก็สั่งไป. คนใช้นั้นไปนั่งอยู่ในต้นไม้นั้น. ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่าน เสนาบดีไปยังสถานที่นั้นแล้ว จึงกล่าวคำอ้อนวอน. คนใช้ได้ทำตามคำสั่งทุก ประการ. ท่านเสนาบดีกล่าวว่า ดี (ใช้ได้) แล้วไหว้เทวดาฟ้าดิน บอกให้ พวกอำมาตย์ทราบเรื่องแล้ว เข้าไปยังพระนคร ขึ้นไปบนราชนิเวศน์แล้ว เคาะประตูห้องบรรทมอันประกอบด้วยสิริ. พอพระเจ้าแผ่นดินกลับได้สติ จึง ตรัสถามว่า นั่นใคร. เขากราบทูลว่า ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์คืออภิปารกเสนาบดี พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาทรงเปิดพระทวาร (ประตู) ให้เขา. เขาจึงเข้าไปถวายบังคมแด่พระราชาแล้ว กล่าวคาถา ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภูตบดี (ผู้เป็นจอมแห่งหมู่ มนุษย์) เมื่อข้าพระองค์นมัสการเทวดาทั้งหลายอยู่ เทวดามาบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ว่า พระทัย ของพระราชาคลุ้มคลั่งในนางอุมมาทันตี ข้าพระองค์ ขอถวายนางแด่พระองค์ ขอพระองค์ให้นางบำเรอเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า นมสฺสโต ได้แก่ เมื่อข้าพระองค์กระทำ พลีกรรมบวงสรวงอยู่ เพื่อจะรู้ถึงเหตุแห่งการบ่นเพ้อรำพันของพระองค์. บทว่า ตํ ความว่า ข้าพระองค์ขอถวายนางอุมมาทันดีนั้นให้เป็นบาทบริจาริกา ประจำพระองค์.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท่านเสนาบดีว่า ดูก่อนอภิปารกะผู้สหาย แม้พวกเทวดารู้เรื่องที่เราบ่นเพ้อเพราะมีจิตรักใคร่ในนางอุมมาทันตีด้วยหรือ เสนาบดีทูลตอบว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรงดำริว่า ข่าวว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 60

ความชั่วของเรา ชาวโลกทั้งหมดรู้กันแล้ว ดังนี้ จึงทรงดำรงอยู่ในธรรมคือ ความตายแล้ว ตรัสคาถา ติดต่อกันไปว่า

ก็เราพึงพรากเสียจากบุญและไม่เป็นเทวดา อนึ่ง คนพึงรู้ความชั่วของเรานี้ และเมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยาสุดที่รักแล้วไม่เห็นนาง ความแค้นใจอย่าง อย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธํเส (พึงพราก) ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี ผู้สหายเอ่ย! เมื่อเราบำเรออยู่กับนางด้วยอำนาจกิเลส พึงเสื่อมจากบุญ และจะไม่ได้เป็นเทวดาผู้สมมติเทพ เพราะเหตุเพียงการอยู่บำเรอกับนางนั้น อนึ่ง มหาชนพึงทราบความชั่วช้าลามกนี้ ต่อแต่นั้นก็จะพึงติเตียนว่า พระราชาทรงกระทำสิ่งที่ไม่สมควรเลย อนึ่ง ท่านให้นางผู้เป็นภรรยาสุดที่รักแก่เราแล้ว ภายหลังท่านไม่ได้เห็นภรรยา ความคับแค้นในใจ ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

คาถาที่เหลือ ที่เป็นคำถามและคำตอบของตนแม้ทั้งสอง (คือของ พระราชาและอภิปารกเสนาบดี) มีดังต่อไปนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชานิกร ประชาชน แม้ทั้งสิ้นนอกจากข้าพระบาทและพระองค์ ไม่พึงรู้กรรมที่ทำกัน ข้าพระบาท ยอมถวายนางอุมมาทันตี แก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนางเต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

มนุษย์ใดกระทำกรรมอันลามก มนุษย์นั้นย่อม สำคัญว่า คนอื่นไม่รู้การกระทำนี้เพราะว่านรชนเหล่า ใดประกอบแล้ว บนพื้นปฐพี นรชนเหล่านั้น ย่อม

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 61

เห็นการกระทำนี้ คนอื่นใครเล่าในแผ่นดินนี้ทั้งโลก พึงเชื่อท่าน หรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้นเป็น ที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จไปหานางอุมมาทันตีเถิด เหมือนดังราชสีห์ เข้าสู่ถ้ำศิลา ฉะนั้น.

นักปราชญ์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์ของตนบีบคั้น แล้วย่อมไม่ละกรรมที่มีผลเป็นสุข แม้จะเป็นผู้หลงมัวเมาด้วยความสุข ก็ย่อมไม่ประพฤติบาปกรรม.

ก็พระองค์เป็นทั้งพระมารดาและบิดาเป็นผู้เลี้ยงดู เป็นเจ้านายเป็นผู้พอกเลี้ยง และเป็นเทวดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรและภรรยาเป็นทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสุขเถิด.

ผู้ใดย่อมทำบาปด้วยความสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และครั้นกระทำแล้ว ก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อชนเหล่าอื่น ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาวเพราะกรรม นั้น แม้เทวดาก็มองดูผู้นั้น ด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม.

ชนเหล่าใดตั้งอยู่ในธรรม ย่อมรับทานที่เป็นของผู้อื่นอันเจ้าของมอบให้แล้ว ชนเหล่านั้นเป็นผู้รับด้วย

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 62

เป็นผู้ให้ในทานนั้นด้วย ได้ชื่อว่าทำกรรมอันมีผลเป็นสุขในเพราะทานนั้นแท้จริง.

คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อ ท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ ท่าน.

ข้าแต่พระจอมประชาชน นางอุมมาทันตีนั้น เป็นที่รักของข้าพระบาทโดยแท้ ข้าแต่พระภูมิบาล นางไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทยอมถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์อยู่กับนาง เต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรง สลัดเสีย.

ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู่อื่นด้วยทุกข์ของตน หรือก่อความสุขของตนด้วยความสุขของผู้อื่น ผู้ใดรู้อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานี้ก็เหมือนของผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม.

คนอื่นใครเล่า ในแผ่นดินทั้งโลก จะพึงเชื่อท่านหรือว่า นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักของเรา เมื่อท่านให้นางอุมมาทันตีภรรยายอดรักแล้ว ไม่เห็นนางภายหลัง ความคับแค้นใจอย่างร้ายแรง จะพึงมีแก่ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน พระองค์ย่อมทรงทราบว่า นางอุมมาทันตีนี้เป็นที่รักของข้าพระบาท

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 63

ข้าแต่พระจอมภูมิบาล นางนั้นไม่เป็นที่รักของข้าพระบาทก็หาไม่ ข้าพระบาทขอถวายสิ่งอันเป็นที่รักแก่พระองค์ด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รักย่อมได้สั่งอันเป็นที่รัก.

เรานั้นจักฆ่าตนอันมีกามเป็นเหตุโดยแท้ เราไม่อาจฆ่าธรรมด้วยอธรรมได้เลย.

ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้แกล้วกล้าแก่นรชน ผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์ไม่ต้องพระประสงค์นางอุมมาทันตี ผู้เป็นของข้าพระบาทไซร้ ข้าพระบาทจะสละนางในท่ามกลางชนทั้งปวง พระองค์พึงตรัสสั่งให้นำนางผู้พ้นจากข้าพระบาทแล้วมาจากที่นั้นเถิด พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้กระทำประโยชน์ ถ้าท่านจะสละนางอุมมาทันตีผู้หาประโยชน์มิได้ เพื่อสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์นี้แก่ท่าน ความค่อนว่าอย่างใหญ่หลวง จะพึงมีแก่ท่าน อนึ่ง แม้การใส่ร้ายในพระนคร ก็จะพึงมีแก่ท่าน.

ข้าแต่พระจอมภูมิบาล ข้าพระบาทจักอดกลั้น คำค่อนว่า คำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียน นี้ทั้งหมด คำค่อนว่าเป็นต้นนั้นจงตกอยู่แก่ข่าพระบาท ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวสีพี ขอพระองค์ทรงบริโภคกามตามความสำราญเถิด. ผู้ใดไม่ถือเอาความนินทา ความสรรเสริญ ความติเตียน และแม้การบูชา สิริ และปัญญาย่อมปราศไปจากผู้นั้น เหมือนดังน้ำฝน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 64

ปราศไปจากที่ดอน ฉะนั้น ข้าพระบาทจักยอมรับความทุกข์และความสุข สิ่งที่ล่วงธรรมดาและความคับแค้นใจทั้งหมด เพราะเหตุแห่งการสละนี้ ด้วยอก เหมือนดังแผ่นดินรองรับสิ่งของทั้งของคนมั่นคง และ คนสะดุ้ง ฉะนั้น.

เราไม่ปรารถนาสิ่งที่ล่วงธรรมดา ความคับแค้นใจและความทุกข์ของชนเหล่าอื่น เราผู้เดียวเท่านั้น จักเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่ยังประโยชน์หน่อยหนึ่งให้เสื่อม ข้ามภาระนี้ไป.

ข้าแต่จอมประชาชน บุญกรรมย่อมให้เข้าถึงสวรรค์ พระองค์อย่าได้ทรงทำอันตรายแก่ข้าพระบาทเสียเลย ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใสขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ ดังพระราชาทรงประทานทรัพย์สำหรับบูชายัญแก่พราหมณ์ทั้งหลาย ฉะนั้น.

ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา เทวดาและพรหมทั้งหมด เห็นความชั่วอันเป็นไปในภายหน้า พึงติเตียนได้. ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช ชาวนิคมและชาวชนบท ทั้งหมด ไม่พึงคัดค้านกรรมอันเป็นธรรมนั้นเลย ข้าพระบาทขอถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์ พระองค์จงทรงอภิรมย์ อยู่กับนางเต็มพระหทัยปรารถนาแล้ว จงทรงสลัดเสีย.

ท่านเป็นผู้เกื้อกูลแก่เราในการกระทำประโยชน์

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 65

แน่แท้ นางอุมมาทันตีและท่านเป็นสหายของเรา ธรรมของสัตบุรุษที่ประกาศดีแล้ว ยากที่จะล่วงละเมิดได้ เหมือนเขตแดนของมหาสมุทร ฉะนั้น.

ข้าแต่พระราชา พระองค์เป็นผู้ควรของคำนับของข้าพระองค์ เป็นผู้หวังประโยชน์นี้เกื้อกูล เป็นผู้ทรงไว้ เป็นผู้ประทานความสุข และทรงรักษาความปรารถนาไว้ ด้วยว่า ยัญที่บูชาในพระองค์ ย่อมมีผลมาก ขอพระองค์ทรงรับนางอุมมาทันตีตามความ ปรารถนาของข้าพระบาทเถิด.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระทำประโยชน์ ท่านได้ประพฤติแล้วซึ่งธรรมทั้งปวงแก่เราโดยแท้ นอกจากท่าน มนุษย์อื่น ใครเล่าหนอจักเป็นผู้กระทำความสวัสดี ในเวลาอรุณขึ้น ในชีวโลกนี้.

พระองค์เป็นผู้ประเสริฐเป็นผู้ยอดเยี่ยม พระองค์ ทรงดำเนินโดยธรรม ทรงรู้แจ้งธรรม มีพระปัญญาดี ขอพระองค์ผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว จงทรงพระชนม์ยั่งยืนนาน ข้าแต่พระองค์ผู้รักษาธรรม ขอพระองค์ โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เชิญท่านฟังคำของเราเถิด เราจักแสดงธรรมที่สัตบุรุษส้องเสพแก่ท่าน พระราชาชอบใจธรรมจึงจะดีงาม นรชนผู้มีความรู้รอบจึงจะดีงาม ความไม่ประทุษร้ายต่อมิตรเป็นความดี การ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 66

ไม่กระทำบาปเป็นสุข มนุษย์ทั้งหลายพึงอยู่เป็นสุข ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ทรงกริ้วโกรธ ทรงตั้งอยู่ในธรรม เหมือนเรือนของตนอันมีร่มเงาเย็น ฉะนั้น เราย่อมไม่ชอบใจกรรมที่ทำด้วยความไม่พิจารณา อันเป็นกรรมไม่ดีนั้นเลย แม้พระราชาเหล่าใด ทรงทราบแล้วไม่ทรงทำเอง เราชอบใจกรรมของพระราชาเหล่านั้น ขอท่านจงฟังอุปมาของเราต่อไปนี้

เมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปคด โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปนคด ในเมื่อโคตัวผู้นำฝูงว่ายไปคด ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม จะป่วยกล่าวไปไย ถึงประชาชนนอกนี้เล่า รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุก ถ้าพระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามฟากไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงว่ายไปตรง โคทั้งหมดนั้นก็ว่ายไปตรง ในเมื่อโคตัวผู้นำฝูงว่ายไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ผู้ใดได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนนอกนี้ รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข ถ้าพระราชาทรงตั้งอยู่ในธรรม ดูก่อนอภิปารกเสนาบดี เราไม่พึงปรารถนาเพื่อความ เป็นเทวดา และเพื่อครอบครองแผ่นดินทั้งหมดนี้โดยอธรรม รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โค ทาส เงิน ผ้า และจันทน์เทศ มีอยู่ในมนุษย์นี้ เราจะไม่ประพฤติ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 67

ผิดธรรม เพราะความปรารถนารัตนะเหล่านั้น บุคคล ไม่พึงประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งสมบัตินั้นเป็นต้นว่า ม้า หญิง แก้วมณี หรือแม้พระจันทร์ และพระอาทิตย์ที่รักษาอยู่ เราเป็นผู้องอาจ เกิดในท่ามกลางแห่งชาวสีพีทั้งหลาย ฉะนั้น เราจะไม่ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งสมบัตินั้น เราจะเป็นผู้นำ จะเป็นผู้เกื้อกูล เป็นผู้เฟื่องฟูปกครองแว่นแคว้น จักเป็นผู้เคารพธรรมของชาวสีพี จะเป็นผู้คิดค้นซึ่งธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตน.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงประพฤติธรรมอันไม่มีความฉิบหาย เป็นแดนเกษมอยู่เป็นนิจแน่แท้ พระองค์จักดำรงราชสมบัติอยู่ยั่งยื่นนานเพราะ พระปัญญาของพระองค์เป็นเช่นนั้น พระองค์ไม่ทรงประมาทธรรมใด ข้าพระองค์ขออนุโมทนาธรรมนั้นของพระองค์ กษัตริย์ผู้เป็นอิสระทรงประมาทธรรมแล้ว ย่อมเคลื่อนจากรัฐ.

ข้าแต่พระมหากษัตริย์ขัตติยราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนนีและพระชนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์. ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระราชบุตรและพระมเหสี ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์ ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมในมิตรและ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 68

อำมาตย์... ในราชพาหนะและทแกล้วทหาร... ในบ้านและนิคม... ในแว่นแคว้นและชนบท... ในสมณะและพราหมณ์... ในเนื้อและนกทั้งหลาย... ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงประพฤติธรรมเถิด เพราะว่าธรรมที่ประพฤติแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้ แล้วจักเสด็จสู่สวรรค์ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรมเถิด ด้วยว่าพระอินทร์ เทวดา พร้อมทั้งพรหม เป็นผู้ถึงทิพยสถานเพราะธรรมที่ประพฤติแล้ว ข้าแต่พระราชา พระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาปิ (แม้ทั้งสิ้น) ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เป็นจอมแห่งหมู่ชน ข้าพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น จักปกปิดเรื่องนี้แล้วนำนาง (อุมมาทันตี) มาถวาย เพราะฉะนั้น เว้นจากพระองค์และข้าพระองค์เสียแล้ว ประชาชนคนอื่นแม้ทั้งหมดไม่พึงรู้ คือ จักไม่รู้แม้เพียงกิริยาอาการแห่งเรื่องที่ทำมาแล้วนี้. บทว่า ภุเสหิ (จงทรงอภิรมย์อยู่กับนาง) อธิบายว่า ข้าพระองค์นำนางอุมมาทันตี มาถวายพระองค์แล้ว ขอพระองค์จงทรงร่วมอภิรมย์กับนางเถิด จงทำกรรมอันหยาบ คือ ตัณหาดุจต้นไม้ตั้งอยู่ในป่าของตน จงยังตัณหานั้นให้เจริญ ได้แก่ จงทำความปรารถนาแห่งใจให้เต็มเปี่ยมเถิด. บทว่า สชาหิ (จงทรงสลัดเสีย) ความว่า ก็ครั้งพระองค์ทำความปรารถนาแห่งใจเต็มที่แล้ว หากนางไม่เป็นที่ถูกพระทัย ของพระองค์ไซร้ ภายหลังพระองค์จะทอดทิ้งนางเสียก็ได้ ได้แก่ จงให้คืน แก่ข้าพระองค์ตามเดิมเถิด. บทว่า กมฺม กรํ (กระทำกรรม) ความว่า ดูก่อนอภิปารก-

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 69

เสนาบดีผู้เป็นสหาย มนุษย์ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาป ภายหลังมนุษย์ผู้นั้นสำคัญคือคิดว่า ชนเหล่าอื่นในโลกนี้อย่าสำคัญคือ อย่ารู้กรรมอันเป็นบาปนี้ (ของเรา) เลย ความคิดของบุคคลนั้นเป็นความคิดที่ชั่วร้าย. ถามว่า เพราะ เหตุไร? ตอบว่า เพราะว่านรชนเหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนี้ อธิบายว่า ก็พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยฤทธิ์เหล่านั้น ย่อมเห็นการกระทำนั้นนั่นแล. บทว่า น เม ปิยา (นางอุมมาทันตีไม่เป็นที่รักแห่งเรา) ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก คนอื่นใครเล่าในโลกนี้ คือในแผ่นดินทั้งสิ้น จะพึงเชื่อท่านอย่างนี้ว่า นางอุมมาทันตีมิได้เป็นที่รักของตัว. บทว่า สีโหว เสลสฺส คุหํ (เหมือนราชสีห์เข้าสู่ถ้ำศิลาฉะนั้น) ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าพระองค์จะไม่ให้นำนางมาในที่นี้ไซร้ ขอพระองค์จงเสด็จไปยังที่อยู่ของนางนั้นเถิด คือ จงทำความปรารถนาของพระองค์ให้สำเร็จบริบูรณ์ในที่นั้นเถิด เหมือนราชสีห์ เมื่อเกิดความเร่าร้อนแห่งกิเลสขึ้น ก็จะเข้าไปสู่ถ้ำแก้วอันเป็นที่อยู่ของนางราชสีห์น้อย ฉะนั้น. บทว่า สุขปฺผลํ (ที่มีผลเป็นสุข) ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก หมู่บัณฑิตถูกความทุกข์กระทบตนแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่ให้ผลเป็นสุข หรือแม้ว่าจะเป็นผู้ลุ่มหลงแล้ว คือ หลงด้วยโมหะ มัวเมาด้วยความสุข ย่อมไม่ยอมประพฤติกรรมอันเป็นบาป. บทว่า ยถาสุขํ สีวิ กโรหิ กามํ (ข้าแต่จอมแห่งชนชาวสีวี ขอพระองค์จงทรงบริโภคกามตามสบาย) ความว่า ข้าแต่พระเจ้าสีวิราชผู้เป็นใหญ่ ขึ้นชื่อว่า ความติเตียนย่อมไม่มีแก่นายผู้ใช้ให้ทาสีของตนบำรุงบำเรอเลย ขอพระองค์จงบริโภคกามตามความสบายตามอัธยาศัย คือ จงทำความปรารถนาของพระองค์ให้บริบูรณ์เถิด. บทว่า น เตน โส ชีวติ (ผู้นั้นย่อมไม่เป็นอยู่ตลอดอายุยืนยาวเพราะกรรมนั้น) ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก ผู้ใดทำบาปด้วยสำคัญว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็มิได้สะดุ้งมิได้กลัว ว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จักชี้แจงถึงกรรมนั้น เพราะกรรมนั้น ผู้นั้น

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 70

ย่อมไม่ดำรงชีพอยู่ได้ตลอดกาลนาน ย่อมตายเสียโดยฉับพลันทีเดียว อนึ่งแม้เทวดาทั้งหลายก็ย่อมพากันแลดูด้วยสายตาอันเหยียดหยามว่า การที่บุคคลนั้น เอาหม้อทรายผูกคอฆ่าตัวตายเสียยังประเสริฐกว่าการครองราชสมบัติของพระราชาผู้ลามกนี้ มิใช่หรือ. บทว่า อญฺาตกํ (ที่เป็นของผู้อื่น) ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทานที่เป็นของตนเหล่าอื่นอันเจ้าของเหล่านั้นมอบให้แล้ว ชนเหล่าใด ตั้งอยู่ในธรรมของตนแล้ว ย่อมรับทานนั้น ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นทั้งผู้รับและเป็นทั้งผู้ให้ในทานนั้น ย่อมพากันทำแต่กรรมที่มีผลเป็นสุขอย่างเดียว ก็เมื่อปฏิคาหกรับทานอยู่ ทานนั้นย่อมให้ผลเป็นอันมากแก่ทายก. คาถานั้นว่า อญฺโ นุ ฯเปฯ อทฺธา ปิยา ฯเปฯ โย อตฺตทุกฺเขน (คนอื่น ฯลฯ เป็นที่รักของข้าพระองค์โดยแท้ ฯลฯ ผู้ใดก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วยทุกข์ของตน) ความว่า ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก ผู้ใดตัวเองถูกความทุกข์บีบคั้นแล้ว ย่อมใส่ความทุกข์นั้นให้แก่ผู้อื่น คือนำความทุกข์ออกไปเสียจากสรีระของตัวแล้ว ใส่ไปในสรีระของผู้อื่น หรือถือเอาความสุขของตนด้วยความทุกข์ของผู้อื่น คือ เอาความสุขของผู้อื่นนั้นมาใส่ในตน ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้ถึงความทุกข์ ด้วยสำคัญว่า เราจักนำความทุกข์ของตนออกไปเสีย ดังนี้ ชื่อว่าย่อมทำผู้อื่นให้ ถึงความทุกข์ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความสุขสบาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมทำความสุขของคนอื่นให้พินาศ ด้วยสำคัญว่า เราจักทำตัวเองให้มีความสุขสบาย ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้ธรรม. ส่วนผู้ใดย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความสุขและความทุกข์ของเรานั้นเป็นฉันใด ของคนอื่นก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ารู้ธรรม คือรู้จักธรรม. บทว่า ปิเยน เต ทมฺม (ข้าพระองค์... แด่พระองค์ด้วยสิ่งอันเป็นที่รัก) ความว่า ข้าพระองค์ปรารถนาผลอันเป็นที่รัก ด้วยสิ่งอันเป็นที่รักซึ่งเป็นเหตุจึงได้ถวาย แด่พระองค์. บทว่า ปิยํ ลภนฺติ (ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก) ความว่า เมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รักเหมือนกัน. บทว่า กามเหตุกํ (มีกรรมเป็นเหตุ) ความว่า ดูก่อน อภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก เราเกิดความปริวิตกขึ้นว่า เราจักทำสิ่งอันไม่สมควร

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 71

มีกามเป็นเหตุแล้ว จักฆ่าตนเสีย. บทว่า มยฺห สตึ (นางอุมมาทันตีผู้เป็นของข้าพระองค์) ได้แก่ อันเป็นของมี อยู่แก่ข้าพระองค์. ปาฐะว่า มยฺห สติ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า พระองค์ทรง สำคัญอยู่อย่างนี้ว่า นางอุมมาทันตีนั้นเป็นของข้าพระองค์ ถ้าพระองค์ไม่ทรง ปรารถนานางแล้วไซร้. บทว่า สพฺพชนสฺส (ชนทั้งปวง) ความว่า ข้าพระองค์จักให้ เสนาทั้งหมดประชุมกันแล้ว สละแก่ชนทั้งหมดนั้นว่า หญิงคนนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่เราเลย ดังนี้. บทว่า ตโต อวฺหเยสิ ความว่า พระองค์พึงนำ นางมาจากที่นั้นเถิด เพราะไม่มีใครหวงแหน. บทว่า อทูสิยํ ได้แก่ ผู้ไม่ มีความผิด. พระราชาตรัสเรียกอภิปารกเสนาบดีนั้นโดยชื่ออื่นอีกว่า กัตตะ ดังนี้ ด้วยว่าอภิปารกเสนาบดีนั้น ย่อมทำประโยชน์เกื้อกูลแด่พระราชา เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กัตตะ. บทว่า น จาปิ ตฺยสฺส (ผู้เข้าข้างท่านก็จะไม่มี) ความว่า แม้ คนฝ่ายตรงกันข้ามใครๆ ในพระนคร ไม่พึงมีแก่ท่านว่า เสนาบดีทำการอัน ไม่ใช่หน้าที่. บทว่า นินฺทํ (คำนินทา) ความว่า อภิปารกเสนาบดีกราบทูลว่า จะมีคำ ค่อนว่าอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ หากแม้ใครๆ จักนินทาหรือสรรเสริญข้าพระองค์ต่อหน้าก็ตาม จักยกโทษขึ้นติเตียนก็ตาม ข้าพระองค์จักอดกลั้นคำนินทา คำสรรเสริญ และคำติเตียนนั้นทั้งหมด จงมาตกอยู่แก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า ตมฺหา (จากผู้นัน) ความว่า ผู้ใดไม่ถือเอาคำนินทาเป็นต้นเหล่านี้ สิริคืออิสริยยศ และ ลักขีคือปัญญา ย่อมไปปราศจากบุรุษนั้น คือ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เหมือนน้ำ คือนำฝนไหลลงจากที่ดอน ฉะนั้น. บทว่า อิโต (เพราะเหตุแห่งการสละ) ความว่า จากเหตุที่ข้าพระองค์ได้เสียสละนางแล้วนี้. บทว่า ธมฺมาติสารญฺจ (สิ่งที่ล่วงธรรมดา) ความว่า สิ่งใดสิ่ง หนึ่งที่เป็นอกุศลธรรม เป็นไปล่วงพ้นธรรมมีอยู่. บทว่า ปฏิจฺฉิสฺสามิ แปลว่า จักรับเอาเฉพาะ. บทว่า ถาวรานํ ตสานํ (ทั้งของคนมั่งคงและคนสดุ้งกลัว) ความว่า อภิปารกเสนาบดี ย่อมแสดงว่า มหาปฐพีจะไม่ยอมรับสิ่งใดๆ ของพระขีณาสพทั้งหลาย และ ของปูถุชนทั้งหลาย ก็หาไม่ คือย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งหมดได้ ฉันใด แม้ข้า-

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 72

พระองค์ก็ฉันนั้น จักยอมรับ จักอดกลั้นสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดให้ได้. บทว่า เอโกปิมํ ความว่า แม้เราผู้เดียวเท่านั้น จักทำให้พ้น จักข้าม คือจักนำไปซึ่งภาระคือความทุกข์ของตนนี้เสีย. บทว่า ธมฺเม ิโต ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ในธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี และในธรรม คือสุจริต ๓ ประการ. บทว่า สคฺคูปคํ (ย่อมเข้าถึงสวรรค์) ความว่า ธรรมดาว่าบุญกรรมที่ เป็นเหตุให้ได้เป็นเทวดานี้ ย่อมเป็นเหตุให้เข้าถึงสวรรค์. บทว่า ยญฺํ ธนํ. ได้แก่ ทรัพย์ในการบูชายัญ. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า สขา (สหาย) ได้แก่ แม้นางอุมมาทันตีก็เป็นสหายของเรา แม้ตัวท่านก็เป็นสหาย ของเรา. บทว่า ปิตโร ได้แก่ พระพรหม. บทว่า สพฺเพ (ทั้งหมด) ความว่า มิใช่แต่เทวดาและพระพรหมเท่านั้น แม้ประชาชนชาวเมืองทั้งหมด ก็จะพึงพากันนินทาเราได้ว่า ชาวเราเอ๋ย! พวกท่านจงดูเถิด หญิงผู้เป็นสหายไดเป็นภรรยาของเสนาบดีที่เคยเป็นเพื่อนกันพระราชาพระองค์นี้ยังทำไว้ในเรือนได้ลงคอ. บทว่า นเหตํ ธมฺมํ ความว่า ชนทั้งหมดไม่พึงเว้นกรรมอัน ประกอบด้วยธรรมนี้เลย. บทว่า ยํ เต มยา (ข้าพระองค์... แด่พระองค์) ความว่า เพราะข้าพระองค์ ถวายนางอุมมาทันตีแก่พระองค์ ฉะนั้น สิ่งนี้จึงไม่ปรากฏว่าเป็นอธรรมเลย. บทว่า สตํ (ของสัตบุรุษ) ความว่า ธรรมทั้งหลายคือความอดทนเมตตาภาวนาศีลและ มรรยาท ของสัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จัดว่าพรรณนาไว้ดีแล้ว. บทว่า สมุทฺทเวลาว ทุรจฺจยานิ (ยากที่จะล่วงละเมิดได้ เหมือนเขตแดนของสมุทรฉะนั้น) อธิบายว่า พระราชาตรัสว่า เพราะฉะนั้น แม้เราก็จักไม่ก้าวล่วงขอบเขตแห่งศีล เหมือนมหาสมุทรไม่ล่วงล้นฝั่งอันเป็นขอบเขต ฉะนั้น. บทว่า อาหุเนยฺโย เมสิ (เป็นผู้ควรของคำนับของข้าพระองค์) ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้สมควรแก่ของคำนับของต้อนรับ และสักการะของข้าพระองค์. บทว่า ธาตา วิธาตา จสิ กามปาโล (เป็นผู้ทรงไว็ เป็นผู้ทรงไว้อย่างพิเศษ และเป็นผูทรงรักษาความปรารถนาไว้) ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้ เพราะทรงไว้ซึ่งข้าพระองค์ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงไว้อย่างพิเศษ เพราะทรงก่อให้เกิดความสุขในอิสริยยศ และทรงรักษาความ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 73

ต้องการที่ข้าพระองค์อยากได้และปรารถนาแล้ว จึงชื่อว่า ผู้รักษาความ ปรารถนา. บทว่า ตยี หุตา (ยัญที่บูชาในพระองค์) คือ นางที่ข้าพระองค์ถวายแด่พระองค์. บทว่า กาเมน เม (ตามความปรารถนาของข้าพระองค์) ความว่า ขอพระองค์จงทรงรับนางอุมมาทันตีตามความต้องการ ของข้าพระองค์ คือ ตามความปรารถนาของข้าพระองค์เถิด. อภิปารกเสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา ด้วยคำพูดอย่างนี้. พระราชาทรงปฏิเสธว่า เราไม่ต้องการนาง. พระราชาและท่านเสนาบดีทั้ง ๒ คน ย่อมละทิ้งนางอุมมาทันตี เหมือนบุคคลเอาหลังเท้าเตะรังนกตกอยู่บนพื้นดิน ให้ลอยไปตกใน ดง ฉะนั้น.

บัดนี้ พระราชาเมื่อจะทรงคุกคามขู่ท่านเสนาบดีนั้น เพื่อจะไม่ให้เขากล่าวต่อไปอีก จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า อทฺธา หิ (โดยแท้) ดังนี้. บรรดาบทเหล่า นั้น บทว่า กตฺตุปุตฺตา (ผู้เป็นบุตรแห่งท่านผู้กระทำประโยชน์) ความว่า แม้บิดาของท่านอภิปารกเสนาบดีนั้น ก็ มีชื่อว่า กัตตะ เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระราชาจึงตรัสเรียกเขาอย่างนั้น มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระราชาตรัสคุกคามขู่อภิปารกเสนาบดีนั้นว่า แน่นอนละ เมื่อก่อนแต่นี้ ท่านได้ประพฤติธรรมทั้งหมดแก่เรา ได้บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูล และความเจริญแก่เรา แต่มาบัดนี้ ท่านกลับกลายเป็นปฏิปักษ์ เอาแต่พูดถ้อยคำเป็นอันมาก ท่านอย่าบ่นเพ้ออย่างนี้เลย คนอื่นที่จะให้แสงสว่างแก่ท่านมีอยู่หรือในชีวโลกนี้ ผู้ที่จะกระทำความสวัสดีให้ท่านในเวลาอรุณขึ้นมีอยู่หรือ ก็ถ้าจักได้มีพระราชาองค์อื่นมีจิตผูกพันรักใคร่ในภรรยา ของท่านเหมือนอย่างเราแล้วไซร้ ก็จะพึงใช้ให้คนตัดศีรษะของท่านเสียภายในอรุณทีเดียว แล้วชิงนางมาไว้ในพระราชวังของพระองค์เป็นแน่ แต่เราไม่ยอมกระทำอย่างนั้น เพราะกลัวต่ออกุศลกรรม ท่านจงนิ่งเฉยเสียเถิด เรามิได้มีความต้องการนางเลย. อภิปารกเสนาบดี พอได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อไม่อาจจะกราบทูลคำอะไรๆ อีกได้ จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า ตฺวํ นุ (พระองค์) ดังนี้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 74

ด้วยมุ่งจะกล่าวชมเชยพระราชา. เนื้อความแห่งบาทคาถานั้นว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เท่านั้น เป็นพระราชาผู้ประเสริฐสูงสุดแก่พระราชาผู้เป็นจอมแห่งประชาชนทั้งหมด ชนชมพูทวีปทั้งสิ้น พระองค์เป็นพระราชาผู้ อันธรรมคุ้มครองแล้ว เพราะทรงรักษาธรรมเป็นเครื่องวินิจฉัย ธรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยประเพณีและธรรมคือความสุจริต พระองค์เป็นพระราชาผู้รู้แจ้งธรรม เพราะรู้แจ้งตลอดทั่วถึงธรรมเหล่านั้น พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระองค์เป็นผู้อันธรรมที่รักษาไว้คุ้มครองแล้ว ขอพระองค์จงดำรง พระชนมายุยั่งยืนยาวนานเถิด ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้รักษาคุ้มครองธรรม ขอพระองค์จงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด.

ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสคาถาเริ่มต้นว่า ตทิงฺฆ ดังนี้. ศัพท์ว่า อิงฺฆ ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าตักเตือน อธิบายว่า เพราะท่านตักเตือนเรา ฉะนั้นท่านจงฟังคำของเรา. บทว่า สตํ ได้แก่ ธรรมที่สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นซ่องเสพแล้ว. คำว่า สาธุ (จึงจะดีงาม) คือ ความดีงาม คือ ความประเสริฐสุด. พระราชาทรงชื่อว่าเป็นผู้ ชอบใจในธรรม เพราะอรรถว่า ทรงพอพระหทัยในวินิจฉัยธรรม ประเพณีธรรม และสุจริตธรรม. จริงอยู่ พระราชาเช่นนั้นแม้จำต้องสละพระชนชีพ ก็ไม่ยอมทรงทำกรรมอันมิใช่พระราชกรณียกิจ เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระราชามีความดีงาม. บทว่า ปญฺาณวา (ผู้มีความรู้รอบ) คือถึงพร้อมด้วยญาณ. บทว่า มิตฺตานํ อทุพฺโภ คือ ความเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายต่อมิตร. บทว่า ิตธมฺมสฺส (ผู้ทรงตั้งอยู่ในธรรม) คือ มีธรรมทั้ง ๓ อย่างตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า อาเสถ (พึงอยู่) คือ พึงนอนพึงนั่ง. จริงอยู่ คำว่า พึงนอน นี้เป็นหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น ก็ในข้อนี้ มีคำอธิบายว่า พึงสำเร็จความสุขในอิริยาบถทั้ง ๔ ดังนี้. บทว่า สีตจฺฉายาย ได้แก่ เงาอันร่มเย็น ระหว่างบุตรภรรยา ญาติและมิตรทั้งหลาย. บทว่า สํฆเร (ในเรือนของตน)

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 75

คือ สกฆเร ได้แก่ ในบ้านของตนเอง พระราชาทรงแสดงว่า พวกมนุษย์ที่ไม่ถูกเบียดเบียนด้วยพลีกรรมและอาชญาอันไม่เป็นธรรมเป็นต้น พึงอยู่เป็นสุข. บทว่า น จาหเมตํ (เราไม่ย่อม... นั้นเลย) ความว่า ดูก่อนอภิปารกะผู้สหาย กรรมอันใดที่ทำแล้วไม่ดีโดยมิได้พิจารณาก่อนทำลงไป เราไม่ชอบใจกรรมนั้นเสียเลย. บท ว่า ตฺวาน (ทรงทราบแล้ว) อธิบายว่า ก็เราชอบใจกรรมของพระราชาผู้ทรงรู้แล้ว คือ พิจารณาใคร่ครวญแล้วตนเองไม่ยอมทำ. ก็ในคำว่า อิมา อุปมา (อุปมาของเราต่อไปนี้) นี้ มีความว่า ขอท่านจงตั้งใจฟังคำอุปมา ๒ ประการนี้ของเราเถิด. บทว่า ชิมฺหํ แปล ว่า ทางคด. บทว่า เนตฺเต (ในเมื่อโคนำฝูง) ได้แก่ โคอุสภะตัวประเสริฐนำฝูงแม่โคไป. คำว่า ปเคว (จะป่วยกล่าวไปใยถึง) ความว่า เมื่อพระราชาพระองค์นั้น ทรงประพฤติอธรรมอยู่ ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมพากันประพฤติอธรรมไปด้วย คือ ยิ่งประพฤติทำการ หนักขึ้น. บทว่า ธมฺมิโก (ทรงตั้งอยู่ในธรรม) ได้แก่ พระราชาทรงละการถึงอคติ ๔ ประการแล้ว เสวยราชสมบัติอยู่โดยธรรม. บทว่า อมรตฺตํ คือ ความเป็นเทพเจ้า. บทว่า รตนํ ได้แก่ สวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ. บทว่า วตฺถิยํ คือ ผ้ากาสิกพัสตร์. บทว่า อสฺสิตฺถิโย (ม้าหญิง) หมายถึงน้ำที่วิ่งไวเหมือนลมพัด และหมายถึงผู้หญิงที่มีรูปสวยงดงามยิ่งนัก. บทว่า รตนํ มณิกญฺจ (แก้วมณี) หมาย ถึงแก้ว ๗ ประการและสิ่งของที่มีราคามากมาย. บทว่า อภิปาลยนฺติ (รักษาอยู่) ความ ว่า ย่อมรักษาชาวโลกทำให้สว่างไสวอยู่. บทว่า น ตสฺส (แห่งสมบัตินั้น) ความว่า บุคคล ไม่ควรประพฤติความผิด แม้เพราะเหตุแห่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นเลย. บทว่า อุสภสฺมิ (เราเป็นผู้องอาจ) ความว่า เพราะเราเกิดเป็นพระราชาผู้ประเสริฐที่สุด ในท่ามกลางประชาชนชาวสีพี ฉะนั้น เราจึงไม่ยอมประพฤติความผิดแม้เป็นเหตุให้ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรติ. บทว่า เนตา (เป็นผู้นำ) ความว่า เราทำให้มหาชน ตั้งอยู่ในกุศลกรรมแล้วนำไปยังเทวนครเป็นผู้ประกอบประโยชน์ เพราะทำประโยชน์ให้แก่มหาชนนั้นเป็นผู้มีชื่อเสียงกระเดื่องเด่น เพราะมีประชาชนรู้จักทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้นว่า เขาลือกันว่า พระเจ้าสีวิราชเป็นผู้ทรงประพฤติธรรม

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 76

เป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น เพราะทรงได้ปกครองแว่นแคว้นโดยความเป็นธรรม สม่ำเสมอ. บทว่า อปจายมาโน คือ อ่อนน้อมต่อธรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วย พระราชประเพณีของพระราชาแต่ครั้งโบราณกาล ของชนชาวสีพีทั้งหลาย. บทว่า โส อธิบายว่า เรานั้นเป็นผู้เลือกเฟ้นธรรมนั้นอยู่ทีเดียว เพราะเหตุ นั้น เราจึงไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิตของตัวเอง.

อภิปารกเสนาบดีพอได้สดับธรรมกถาของพระมหาสัตว์อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทำความชมเชย จึงกล่าวคาถาเริ่มต้นว่า อทฺธา ดังนี้. บทว่า นปฺปมชฺ- ชสิ ความว่า ไม่ทรงหลงลืมธรรมที่พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว คือ ทรงประพฤติ ในธรรมนั้นเท่านั้น. บทว่า ธมฺมํ ปมชฺช ได้แก่ ทรงลืมธรรมเสียแล้ว เป็นไปด้วยอำนาจอคติ อภิปารกเสนาบดีนั้น ครั้นทำความชมเชยพระมหาสัตว์ อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาสั่งสอน ๑๐ คาถาประกอบคำว่า ธมฺมํ จร ดังนี้ เป็นต้นให้ยิ่งขึ้นไปอีก. เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ได้พรรณนาไว้แล้ว ใน เรื่องเตสกุณชาดก ในหนหลังแล.

เมื่ออภิปารกเสนาบดีแสดงธรรมแด่พระราชาอย่างนี้แล้ว พระราชาก็ ได้ทรงบรรเทาพระทัยที่จะผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตีเสียได้สิ้น.

พระศาสดา ครั้นได้ทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว จึงทรงประกาศ สัจจะทั้งหลายแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุรูปนั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดา ปัตติผล สุนันทสารถีในกาลน้น ได้เป็นพระอานนท์. อภิปารกเสนาบดี ได้เป็นพระสารีบุตร นางอุมมาทันตี ได้เป็นนางอุบลวรรณา บริษัท ที่เหลือเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสีวิราช ก็คือเราตถาคตนั่นแล.

จบอรรถกถาอุมมาทันตีชาดก