พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. โสณกชาดก ว่าด้วยพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35180
อ่าน  599

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 119

สัฏฐินิบาตชาดก

๑. โสณกชาดก

ว่าด้วยพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 119

สัฏฐินิบาตชาดก

๑. โสณกชาดก

ว่าด้วยพระราชาจะพระราชทานรางวัลแก่ผู้พบโสณกกุมาร

[๖๖] เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา ไตรพบโสณกะผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้วบอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น ลำดับนั้น มาณพน้อยมีผมห้าแหยมได้กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรงประทานทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว แล้วมากราบทูล ข้าพระองค์พบโสณกะพระสหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงประทานทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์ ผู้พบโสณกะ.

[๖๗] โสณกกุมารนั้นอยู่ในชนบท แว่นแคว้น หรือนิคมไหนท่านได้พบโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา.

[๖๘] ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง มีสีเขียวเหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกันและกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานในแว่นแคว้นของพระองค์นั้นเอง พระโสณกะเมื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 120

สัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็นคู่ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น.

[๖๙] ลำดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทำทางให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะ พร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในไพรวันก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะ ผู้นั่งอยู่เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว.

[๗๐] ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌาน อยู่ที่โคนต้นไม้.

[๗๑] พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถูกต้องธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร้า ผู้ใดในโลกนี้นำเสียซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกำพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขอถวายพระพร.

[๗๒] มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และรู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 121

[๗๓] ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือนทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือก ย่อมไม่เข้าไปในฉาง ในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตรอันงาม เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น ข้อที่ ๒ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ และกิเลสอะไรๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๓ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไรย่อม ไม่ประทุษร้าย ข้อที่ ๔ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้น ไม่มีความข้อง ข้อที่ ๕ ความเจริญย่อม มีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้ พระนครอยู่ อะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นย่อมไม่ไหม้ ข้อที่ ๖ ความเจริญย่อมมี แก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้นอะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย ข้อที่ ๗ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุผู้มีวัตรงามถือบาตรและจีวร ไปสู่หนทางที่พวกโจรรักษาหรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่นๆ ย่อมไปได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 122

โดยสวัสดี ข้อที่ ๘ ความเจริญย่อมมีแก้ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้นๆ. [๗๔] ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญเป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้ายังกำหนัดในกามทั้งหลาย จะกระทำอย่างไร กามทั้งหลายทั้งที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจะได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ.

[๗๕] นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้วย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดูก่อน พระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมาถวายมหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วยข้ออุปมา มีกาตัวหนึ่งเป็นสัตว์มีปัญญาน้อยไม่มีความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห่วงน้ำใหญ่ในแม่น้ำคงคา จึง คิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้จักเป็นอาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้นยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดคืนและวัน เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 123

ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่ยอมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้นซึ่งประมาทยินดีในซากศพช้างไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้นมีอาหารหมดแล้ว ตกลงในน้ำ ไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างเหนือ ข้างใต้ไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลงในท่ามกลางสมุทร อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย ฝูงปลา จระเข้ มังกร และปลาร้าย ที่เกิดในมหาสมุทร ก็ข่มเหง ฮุบกินกานั้นตัวมีปีกฉิบหายดิ้นรนอยู่ ดูก่อน มหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคกามก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาเสมอกับกา ดูก่อนมหาบพิตร อุปมานี้แสดง อรรถอย่างชัดแจ้ง อาตมภาพแสดงถวายมหาบพิตรแล้ว จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุนั้น.

[๗๖] บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวคำหนึ่งหรือสองคำ ไม่พึงกล่าวยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือนทาสในสำนักแห่งนาย.

[๗๗] พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้ แล้วพร่ำสอนบรมกษัตริย์ ในอากาศแล้วหลีกไป.

[๗๘] บุคคลผู้อภิเษกท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์ เป็นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 124

เหล่านี้อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[๗๙] พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนามว่าทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้เจริญได้มีอยู่ ขอพระองค์ทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระราชโอรสจักเป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.

[๘๐] ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราชสมบัติ เธอจักเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.

[๘๑] ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมารผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นเอกอัครโอรสผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่า ลูกรักเอ๋ย คามเขตหกหมื่นบริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ช้างหกหมื่นเชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสายรัดล้วนทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคำ อันนายควาญช้างผู้ถือโตมรและขอขึ้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 125

กำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคน โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา ม้าหกหมื่นตัว ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะเร็วอัน นายสารถีผู้ถือแส้และธนู ขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบ ราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็มี ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ แห่งกามทั้งหลาย เหมือนกา โคนมหกหมื่นตัวมีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่าฝูงตัวประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโคเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใค เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา สตรีหมื่นหกพันนางประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 126

มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมกุณฑลแก้วมณี ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

[๘๒] ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็กๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉันไม่อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตาม หลังช้างป่าตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขาเดินลำบาก เสมอบ้าง ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดาติดตาม พระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.

[๘๓] อันตรายทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร ของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย เจ้านี้เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อฉันนั้นเหมือนกัน.

[๘๔] ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือประดับด้วยทองคำ จักยังกุมารให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสร ยังท้าวสักกะให้ รื่นรมย์ ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ด้วยนางกัญญา เหล่านั้น.

[๘๕] ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญพระราชกุมารไปยังปราสาท อันยังความยินดีให้เจริญ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 127

พวกนางกัญญาเห็นทีฆาวุกุมารผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากันทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็นท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็นโอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร.

[๘๖] เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของเธอทั้งหลาย.

[๘๗] พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถาม พระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึงไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.

[๘๘] พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษฐานอยู่บนบก เสด็จดำเนินไปสู่ทางใหญ่อันไม่มีหนาม ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางอันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่ทุคติแห่งชนทั้งหลาย.

[๘๙] ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ดุจราชสีห์มาสู่ถ้ำฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์พวกหม่อมฉัน ขอพระองค์ทรงเป็นอิสราธิบดีของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.

จบโสณกชาดกที่ ๑

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 128

อรรถกถาสัฏฐินิบาต

อรรถกถาโสณกชาดก

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ ปรารภถึงเนกขัมมบารมี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กสฺส สุตฺวา สตํ ทมฺมิ (แก่ใครผู้ได้ยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา) ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้กำลังพรรณนาถึงเนกขัมมบารมี ณ โรงธรรมสภา ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในกาลนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า

ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. พระโพธิสัตว์ บังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นแล้ว. ก็ในวันที่จะขนานพระนาม พระชนก และพระชนนี ได้ทรงขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า อรินทมกุมาร. แม้บุตรของท่านปุโรหิต ก็ได้คลอดในวันที่พระราชกุมารนั้นประสูติแล้วเหมือนกัน มารดาบิดาได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า โสณกกุมาร. พระราชกุมารและกุมารทั้งสองนั้น เจริญวัยขึ้นด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ครั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีรูปร่างอันสง่างดงาม เป็นผู้พิเศษด้วยรูป ได้ไปเมืองตักกศิลาเล่าเรียนศิลปศาสตร์ จนจบสิ้น แล้วออกจากเมืองตักกศิลานั้น พากันคิดว่า เราทั้งสองจักศึกษาให้รู้ถึงศิลปะในลัทธิทั้งหมด และการเที่ยวจาริกไปในประเทศ ดังนี้แล้ว จึงพา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 129

กันเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองพาราณสีแล้ว พักอยู่ในพระราชอุทยาน พอวันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปยังพระนคร. ก็ในวันนั้น มนุษย์บางพวกพากันคิดว่า พวกเราจักจัดทำสถานที่สวดมนต์ของพราหมณ์ จึงจัดแจงข้าวปายาส ปูลาดเสนาสนะเห็นกุมารทั้งสองคนนั้นเดินมา จึงเชื้อเชิญให้เข้าไปในเรือนแล้ว ให้นั่งบนอาสนะที่ตระเตรียมไว้. บนอาสนะทั้งสองนั้น เขาปูลาดผ้าที่ทำมาจากแคว้นกาสีขาวสะอาดบนอาสนะ. ที่ปูลาดไว้สำหรับพระโพธิสัตว์. ปูลาดผ้ากัมพลสีแดงไว้สำหรับโสณกกุมาร. กุมารนั้น มองดูเครื่องหมายก็รู้ว่า ในวันนี้นั่นแหละ อรินทมกุมารสหายผู้เป็นที่รักของเรา จักได้เป็นพระราชา ครอบครองพระนครพาราณสี จักพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่เรา. กุมาร แม้ทั้งสองคนนั้น การทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็ได้พากันไปยังอุทยานนั่นแหละ. ในกาลนั้น เป็นวันที่พระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคตมาได้เป็นวันที่ ๗ ราชตระกูล ไม่มีพระโอรส. ประชาชนทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นหัวหน้า สนานศีรษะแล้ว ประชุมกัน เทียมผุสยรถปล่อยไปด้วยคิดว่า ผุสยรถจักแล่นไปหาท่านผู้ควรแก่พระราชสมบัติ. ผุสยรถนั้น ออกจากพระนครแล่นไปยังอุทยานโดยลำดับ กลับที่ประตูอุทยาน แล้วหยุดเตรียมรับท่านผู้ควรครอบครองพระราชสมบัติให้ ขึ้นไป.

พระโพธิสัตว์ ได้นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลแล้ว. โสณกกุมาร นั่งอยู่ใกล้พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว. โสณกกุมารนั้น ได้ยินเสียงดนตรี จึงดำริว่า ผุสยรถมาถึง อรินทมกุมาร วันนี้เธอจักเป็นพระราชา จักพระราชทาน ตำแหน่งเสนาบดีให้แก่เรา แต่เราไม่ต้องการด้วยอิสริยยศเลย เมื่อพระกุมาร นี้เสด็จไปแล้ว เราจักออกบวช ดังนี้ จึงได้ยืนแอบอยู่ในที่กำบังแห่งหนึ่ง. ปุโรหิต เข้าไปยังอุทยานเห็นพระมหาสัตว์หลับอยู่ จึงได้ให้เจ้าพนักงานประโคม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 130

ดนตรีขึ้น. พระมหาสัตว์ตื่นนอนขึ้นพลิกตัวกลับหลับต่ออีกหน่อยแล้วจึงลุกขึ้น นั่งบนบัลลังก์ที่แผ่นศิลา. ลำดับนั้น ท่านปุโรหิตประคองอัญชลี กราบทูล พระองค์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชสมบัติถึงแก่พระองค์แล. พระมหาสัตว์ถามว่า ราชตระกูลไม่มีพระโอรสหรือ? ปุโรหิตทูลว่า เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระมหาสัตว์ ตอบรับว่า ถ้าอย่างนั้นก็ดี. ลำดับนั้น ประชาชนทั้งหลาย ก็พากันอภิเษกพระมหาสัตว์นั้น ในอุทยานนั้นทีเดียว แล้วเชิญเสด็จให้ขึ้นรถ กลับเข้าสู่พระนครด้วยบริวารใหญ่. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระทำ ประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. พระองค์มิได้ทรงระลึกถึงโสณกกุมาร เพราะความมีอิสริยยศใหญ่. ฝ่ายโสณกกุมารนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น เสด็จเข้าไปสู่พระนครแล้ว ตนเองก็มานั่งที่แผ่นศิลา. ลำดับนั้น ใบไม้สีเหลืองของต้นสาละ. หลุดร่วงจากขั้วตกลงตรงหน้าของกุมารนั้น. เขาพอได้เห็นใบไม้เหลืองนั้นแล้วจึงคิดว่า ใบไม้นั้นหล่นลงฉันใด แม้สรีระของเรา ก็จักถึงความชรา หล่นไปฉันนั้น ดังนี้แล้ว จึงเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยสามัญลักษณะมี อนิจลักษณะเป็นต้น บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของกุมารนั้น ก็อันตรธานไป. เพศบรรพชิต ก็ได้ปรากฏแทน. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อเปล่งอุทานว่า บัดนี้ ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล้ว จึงได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ.

ฝ่ายพระมหาสัตว์ ทรงระลึกถึงพระปักเจกพุทธเจ้านั้นได้ โดยล่วงไป ประมาณ ๔๐ ปี แม้จะทรงระลึกถึงพระโสณกะบ่อยๆ ว่า โสณกะสหายของเราไปไหนหนอ ไม่ได้ข่าวที่ใครจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยินข่าว หรือว่าข้าพเจ้า ได้พบเห็น ประทับนั่งบนพระราชบัลลังก็มีพื้นกว้างใหญ่อันประดับประดาแล้ว เป็นผู้อันเหล่าชนผู้ประโคมฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นแวดล้อมแล้ว เสวยสมบัติอยู่ ทรงดำริว่า ผู้ใดได้ยินในสำนักแห่งใครๆ แล้วบอกแก่เราว่า โสณกกุมาร

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 131

อยู่ในที่ชื่อโน้น ดังนี้ เราจักให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ผู้นั้น ผู้ใดเห็นด้วยตัวเองแล้ว บอกแก่เรา เราจักให้ทรัพย์พันหนึ่ง แก่ผู้นั้น ดังนี้แล้ว ทรงนิพนธ์อุทานขึ้น บทหนึ่ง เมื่อจะทรงเปล่งด้วยทำนองเพลงขับ จึงตรัสเป็นคาถาที่ ๑ ว่า

เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าว แล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะผู้สหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบโสณกะนั้น.

ลำดับนั้น หญิงนักฟ้อนนางหนึ่ง จำเอาอุทานนั้นได้ เหมือนถอดออกจากพระโอษฐ์ของพระราชานั้น จึงขับเป็นเพลงขับ. หญิงคน อื่นๆ ก็ขับ เพลงขับนั้นต่อๆ กันมาเป็นลำดับ จนถึงนางสนมทั้งหมด ก็ได้ขับเพลงขับนั้น ด้วยพากันคิดว่า บทเพลงนี้ เป็นบทเพลงขับที่พระราชาของเราทรงโปรดปราน ด้วยประการฉะนี้. แม้ชาวพระนครและชาวชนบท ก็ได้พากันขับเพลงขับนั้น โดยลำดับเหมือนกัน. แม้พระราชา ก็ทรงขับเพลงขับนั้นอยู่บ่อยๆ เช่นเดียวกัน ก็โดยล่วงไปเป็นเวลาประมาณ ๕๐ ปี พระราชาพระองค์นั้น ได้มีพระโอรส และพระธิดาเป็นอันมาก. พระโอรสองค์ใหญ่มีพระนามว่า ทีฆาวุกุมาร. ในกาลนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ปรารถนาจะพบเห็นพระเจ้าอรินทมราช จึงคิดว่า เราจะไปแสดงถึงโทษในกาม และอานิสงส์ในการออกบวชแล้ว จะชี้ช่องให้พระราชานั้นทรงออกผนวช ดังนี้ จึงเหาะมาโดยอากาศด้วยฤทธิ์แล้ว นั่งในอุทยาน. ในกาลนั้น เด็กชายมีผม ๕ แหยม อายุ ๗ ขวบคนหนึ่ง ถูกมารดาใช้ให้ไปหาฟืนในป่าใกล้อุทยาน ก็ขับเพลงขับนั้นบ่อยๆ อย่างนั้น. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเรียกกุมารนั้นมาถามว่า ดูก่อนกุมารเอ๋ย ทำไมเจ้าจึงไม่ขับเพลงอื่นบ้างเล่า ขับร้องแต่เพลงนี้เพลงเดียวเท่านั้น เจ้าจำเพลงอื่น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 132

ไม่ได้บ้างหรือ. กุมารนั้นตอบว่า จำได้ขอรับ แต่บทเพลงนี้เป็นเพลงที่โปรดปรานแห่งพระราชาของพวกผม เพราะฉะนั้น ผมจึงขับร้องเพลงนั้นบ่อยๆ. พระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า ก็เจ้าเคยเห็นใครๆ ขับร้องตอบเพลงนี้บ้างหรือไม่. กุมารนั้นตอบว่า ไม่เคยเห็นเลยขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า เราจักสอนให้เจ้าเรียนเพลงขับตอบนั้น เจ้าจักอาจไปยังสำนักของพระราชาแล้วขับตอบหรือ. กุมารนั้นตอบว่า ได้ขอรับ. ลำดับนั้น พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อจะบอกเพลงขับตอบแก่กุมารนั้น จึงกล่าวคาถาว่า มยฺหํ สุตฺวา (แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าว) ดังนี้เป็นต้น. ก็แลครั้นให้เรียนแล้ว จึงส่งกุมารนั้นไปด้วย คำว่า ดูก่อนกุมาร เจ้าจงไป จงขับร้องเพลงขับตอบนี้กับพระราชา พระราชาจักพระราชทานอิสริยยศใหญ่ให้แก่เจ้า เจ้าจะต้องการอะไรด้วยฟืนจงรีบไปเถิด.

กุมารนั้นรับว่า ดีแล้ว เรียนเพลงขับตอบแล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้จนกว่าผมจะพาพระราชามา ดังนี้แล้ว รีบไปหามารดากล่าวว่า คุณแม่ครับ แม่จงอาบน้ำให้ผมแล้ว รีบแต่งตัวให้ผมเร็ว วันนี้ผมจะเปลื้องแม่ให้พ้นจากความยากจน ครั้นมารดาอาบน้ำแต่งตัวให้แล้ว จึงมายังประตูวังแล้วกล่าวว่า นายประตูขอรับ ขอท่าน จงกราบทูลแด่พระราชาว่า มีเด็กคนหนึ่งมากล่าวว่า ผมจะขับเพลงขับตอบกับพระองค์ ยืนคอยอยู่ที่ประตูวัง. นายประตูรีบไปกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกเด็กมาว่า จงมาเถิด แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจักขับเพลงขับตอบกับเราหรือ. เด็กนั้นกราบทูลว่า เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงขับเถิด. เด็กนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ขับในที่นี้ไม่ได้ ก็แต่ว่า พระองค์จงให้พวกราชบุรุษเที่ยวตีกลอง ป่าวประกาศในเมืองแล้ว ให้มหาชนประชุมกัน ข้าพระองค์จักขับในท่ามกลางมหาชน. พระราชาให้ทำตามที่กุมารนั้นกล่าว เสด็จประทับนั่งในท่ามกลาง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 133

ราชบัลลังก์ ในมณฑปที่เขาประดับประดาแล้ว สั่งให้พระราชทานอาสนะที่สมควรแก่เด็กคนนั้นแล้ว ตรัสว่า บัดนี้ เจ้าจงขับเพลงขับของเจ้าได้แล้ว. กุมารนั้นจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงขับก่อน. ข้าพระองค์จักขับตอบในภายหลัง. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงขับก่อน จึงตรัสคาถาว่า

เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งแก่ใครๆ ผู้ได้ยินข่าว แล้วมาบอกแก่เรา ใครพบโสณกะผู้สหายเคยเล่นมา ด้วยกันแล้ว บอกแก่เรา เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่ง แก่ผู้ ที่พบโสณกะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวา (ผู้ไดัยินข่าวแล้วมาบอกแก่เรา) ความว่า เราจะให้ทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ใครๆ ที่ได้ยินที่อยู่ของโสณกะนั้นแล้วมาบอกว่า โสณกะสหายที่รักของท่านอยู่ในที่ชื่อโน้น. บทว่า ทิฏฺํ (พบ) ความว่า เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ใครๆ ที่พบเห็นโสณกะแล้วมาบอกว่า ข้าพเจ้าพบเห็นโสณกะในที่ชื่อโน้น ดังนี้.

เมื่อพระราชาทรงขับอุทานคาถาแรกอย่างนี้แล้ว พระศาสดาผู้ตรัสรู้เองโดยเฉพาะ เมื่อจะทรงประกาศคาถาที่เด็กผู้มีผม ๕ แหยมขับตอบ จึงได้ ตรัสคาถา ๒ คาถานี้ว่า

ลำดับนั้น มาณพน้อยผู้มีผม ๕ แหยม ได้ กราบทูลพระราชาว่า พระองค์จงทรงพระราชทาน ทรัพย์ร้อยหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ผู้ได้ยินข่าวแล้วมา กราบทูล ข้าพระองค์พบเห็นโสณกะ พระสหายเคยเล่นมาด้วยกันแล้ว จึงกราบทูลแด่พระองค์ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง แก่ข้าพระองค์ ผู้พบเห็นโสณกะ.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 134

ก็เนื้อความแห่งคาถาที่กุมารนั้นกล่าวแล้ว มีอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งว่า เราจะให้ทรัพย์แก่ผู้ที่ได้ยินข่าว นั้นแล้วมาบอกแก่เรา ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์นั้นแก่ข้าพระองค์ทีเดียว อนึ่ง พระองค์ตรัสว่า เราจะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ผู้ที่พบเห็นแล้วกลับมาบอก ดังนี้ ขอพระองค์จงพระราชทานทรัพย์แม้นั้น แก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าพระองค์พบเห็นสหายที่รักของพระองค์แล้ว จึงได้ทูลพระองค์ว่า บัดนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นโสณกะผู้นี้แล้ว. เนื้อความต่อแต่นี้ไป บัณฑิตพึงเข้าใจ ได้โดยง่ายทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบพระคาถาของพระสัมพุทธเจ้า โดยนัย พระบาลีนั่นแล.

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า

โสณกกุมารนั้น อยู่ในชนบท แว่นแคว้นหรือนิคมไหน ท่านได้พบเห็นโสณกกุมาร ณ ที่ไหน เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด.

กุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ ต้นรังใหญ่หลายต้นมีลำต้นตรง มีสีเขียว เหมือนเมฆ เป็นที่ชอบใจน่ารื่นรมย์ อันอาศัยกัน และกัน ตั้งอยู่ในภาคพื้นพระราชอุทยานในแว่นแคว้นของพระองค์นั่นเอง พระโสณกะ เมื่อสัตวโลกมีความยึดมั่น เป็นผู้ไม่ยึดมั่น เมื่อสัตวโลกถูกไฟเผา เป็นผู้ดับแล้ว เพ่งฌานอยู่ที่โคนแห่งต้นรังเหล่านั้น.

ลำดับนั้นแล พระราชาตรัสสั่งให้ทำทางให้ราบเรียบแล้ว เสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณกะพร้อม

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 135

ด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จประพาสไปในไพรวัน ก็เสด็จถึงภูมิภาคแห่งอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นพระโสณกะ ผู้นั่งอยู่เมื่อสัตว์โลกถูกไฟเผาเป็นผู้ดับแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุวํสา ได้แก่ มีลำต้นตั้งตรง. บทว่า มหาสาลา (ต้นรังใหญ่หลายต้น) ได้แก่ ต้นไม้ใหญ่. บทว่า เมฆสมานา (เหมือนเมฆ) คือ เช่นกับเมฆสีดำ. บทว่า รมฺนา (น่ารื่นรมย์) คือเป็นที่น่ายินดี. บทว่า อญฺโญฺนิสฺสิตา (อันอาศัญกันและกัน) ได้แก่ กิ่ง กับกิ่งเกี่ยวเกาะกันอยู่ รากกับรากเกี่ยวพันกันอยู่. บทว่า เตสํ (แห่งต้นรังเหล่านั้น) ได้แก่ ภาคใต้ พฤกษาในป่า อันเป็นอุทยานของพระองค์เห็นปานน นเหล่านั้น. บทว่า ฌายติ (เพ่งฌานอยู่) ความว่า เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้ง ๒ คือ ลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน. บทว่า อนุปาทโน คือ เป็นผู้เว้นจากความยึดมั่นในกาม. บทว่า ทยฺหมาเนสุ (ถูกไฟเผา) คือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟ ๑๑ กองเผาอยู่. บทว่า นิพฺพุโต (เป็นผู้ดับแล้ว) ความว่า พระโสณกะผู้เป็นสหายของพระองค์นี้ ทำไฟทุกกองเหล่านั้นให้ดับได้แล้ว เพ่งอยู่ ด้วยหทัยอันเย็น นั่งอยู่บนแผ่นหิน ณ ที่โคนไม้รังอันเป็นมงคล ในอุทยาน ของพระองค์ ท่านงดงามเปรียบปานรูปทอง ฉะนั้น. คำว่า ตโต จ (ลำดับนั้แหละ) อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในลำดับนั้น พระเจ้าอรินทมะนั้น พอได้ทรงสดับคำ ของกุมารนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า เราจักพบเห็นพระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว เสด็จออกไปพร้อมด้วยจตุรงคเสนา. บทว่า วิจรนฺโต (เมื่อเสด็จประพาสไป) ความว่า เสด็จมาตามหนทางตรงทีเดียว เมื่อเสด็จประพาสไปในชัฏป่าใหญ่นั้นแล้ว จึง เสด็จไปยังสำนักของพระโสณกะ ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านกำลังนั่งอยู่ พระราชานั้น ทรงนมัสการพระโสณกะนั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ข้างหนึ่ง เมื่อทรงสำคัญซึ่งพระโสณกะนั้นว่า เป็นคนกำพร้า เพราะว่าพระองค์ ยังทรงยินดีในกิเลสอยู่ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 136

ภิกษุนี้เป็นคนกำพร้าหนอ ศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิ ไม่มีมารดา ไม่มีบิดา นั่งเข้าฌานอยู่ที่โคน ต้นไม้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายติ ความว่า เป็นผู้ไม่มีมารดา ไม่มี บิดา ถึงความกรุณาแล้ว (น่าสงสาร) จึงนั่งเข้าฌานอยู่.

พระโสณกะได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว จึงได้ทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลของธรรมด้วยนามกาย ไม่ชื่อว่าเป็นคนกำพร้า ผู้ใดในโลกนี้ นำเสียซึ่งธรรม ประพฤติตามอธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคนกำพร้า เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ขอถวาย พระพร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมํ (พระดำรัสนี้) ความว่า พระโสณกะได้สดับคำ ติเตียนถึงเรื่องการบรรพชานี้ ของพระราชานั้นผู้ทรงยินดียิ่งในกิเลส ไม่ทรง พอพระทัยการบรรพชา. บทว่า เอตทพฺรวี (จึงได้ทูล) ความว่า พระโสณกะเมื่อจะ ประกาศถึงคุณในการบรรพชา จึงได้กล่าวคำนี้. บทว่า ผสฺสยํ คือถูกต้องอยู่. พระโสณกะเมื่อจะแสดงว่า บุคคลผู้ต้องอริยมรรคธรรมนั้นด้วยกาย ย่อมไม่ ชื่อว่า เป็นคนกำพร้า ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า นิรํกตฺวา (นำออก) ได้แก่ นำออกจากอัตภาพ. บทว่า ปาโป ปาปปรายโน (เป็นคนลามก มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า) ความว่า ชื่อว่าเป็นคน ลามก เพราะตนเองกระทำแต่ความชั่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีบาปกรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเป็นที่พึ่งแก่ชนเหล่าอื่นผู้กำลังทำบาป.

พระโสณกะนั้น ติเตียนพระโพธิสัตว์ด้วยถ้อยคำอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ ทรงทำเป็นเหมือนไม่ทรงทราบว่า พระโสณกะติเตียนพระองค์ ทรงบอกนาม

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 137

และโคตรของพระองค์ เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับพระโสณกะนั้น จึงตรัสคาถาว่า

มหาชนรู้จักนามของข้าพเจ้าว่า อรินทมะ และรู้จักข้าพเจ้าว่า พระเจ้ากาสี ดูก่อนท่านโสณกะ การอยู่เป็นสุข ย่อมมีแก่ท่านผู้อยู่ในที่นี้แลหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ (แลหรือ) ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ความไม่สบายน้อยหนึ่ง ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้าก่อน แต่ความอยู่เป็นสุขย่อมมี แก่พระคุณเจ้าผู้ถึงแล้วในที่นี้ คือผู้อยู่ในอุทยานนี้แลหรือ.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลตอบพระราชานั้นว่า ขอถวายพระพร ขึ้นชื่อว่าความไม่สำราญ ย่อมไม่มีแก่อาตมภาพผู้อยู่ในอุทยานนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้อาตมภาพจะอยู่ในที่อื่นๆ ก็ยังไม่มีเลย ดังนี้แล้ว จึงเริ่มคาถา แสดงความเจริญของสมณะแด่พระราชาพระองค์นั้นว่า

(ข้อที่ ๑) ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือนทุกเมื่อ (คือ) ทรัพย์และข้าวเปลือกย่อมไม่เข้าไปในฉางในหม้อและในกระเช้าของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้แสวงหาอาหารอันสำเร็จแล้ว มีวัตรอันงามเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้น.

ข้อที่ ๒ ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาต ที่ไม่มีโทษ และกิเลสอะไรๆ ย่อมไม่ประทุษร้าย.

ข้อที่ ๓ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตอันดับแล้ว และกิเลสอะไรย่อมไม่ประทุษร้าย.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 138

ข้อที่ ๔ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ผู้หลุดพ้นแล้ว เที่ยวไปในแว่นแคว้น ไม่มีความข้อง.

ข้อที่ ๕ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อไฟไหม้พระนครอยู่ อะไรๆ ก็หน่อยหนึ่งของภิกษุนั้น ย่อมไม่ไหม้.

ข้อที่ ๖ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) เมื่อโจรปล้นแว่นแคว้นอะไรๆ สักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้นก็ไม่หาย.

ข้อที่ ๗ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุผู้มีวัตรงาม ถือบาตรและจีวร ไปสู่ทนทางทื่พวกโจรรักษา หรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่นๆ ย่อมไปได้โดยสวัสดี.

ข้อที่ ๘ ความเจริญ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือน (คือ) ภิกษุจะหลีกไปยังทิศใดๆ ก็ไม่มีห่วงใยไปยังทิศนั้นๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคารสฺส (ไม่มีเรือน) ความว่า ขอถวายพระพร ความเจริญย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีความกังวล ไม่มีทรัพย์ ละเพศฆราวาสเสียแล้ว ถึงความเป็นผู้ไม่มีเรือนตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า น เตสํ (ไม่... ของภิกษุเหล่านั้น) ความว่า มหาบพิตร ความเจริญข้อแรก คือ ทรัพย์และข้าวเปลือกทั้งหลาย ย่อมไม่เข้า ไปในเรือนคลัง ไม่เข้าไปในหม้อข้าว ไม่เข้าไปในกระเช้า ของภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่มีทรัพย์เหล่านั้น เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีวัตรอันงาม. บทว่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 139

ปรินิฏิิตํ (อันสำเร็จแล้ว) ความว่า ห่มผ้าสังฆาฏิแล้ว ถือบาตร (กระเบื้อง) แสวงหาอาหารที่เขาหุงไว้สุกแล้ว ในเรือนของชนเหล่าอื่น ตามลำดับเรือน พิจารณาอาหารนั้น ด้วยอำนาจความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่างแล้วจึงบริโภค ย่อมยังความเป็นอยู่แห่งชีวิตให้เป็นไป ด้วยบิณฑบาตที่ได้แล้วจากการแสวงหานั้น. บทว่า อนวชฺชปิณฺโฑ โภตฺตพฺโพ (ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ) ความว่า ปัจจัย ๔ ที่เกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่สมควรมีเวชกรรม เป็นต้น หรือด้วยอาชีพที่ผิดเห็นปานนี้ คือ การกล่าวโกหกหลอกลวง การเป็นหมอดู การรับใช้คฤหัสถ์ การบริโภคลาภด้วยลาภก็ดี แม้ที่เกิดขึ้นโดยธรรม ภิกษุไม่พิจารณาเสียก่อนแล้วบริโภค ชื่อว่า บิณฑบาตมีโทษ ปัจจัย ๔ ที่ภิกษุละการแสวงหาอันไม่สมควร เว้น อาชีพที่ผิดเสียแล้ว ให้ปัจจัยเกิดขึ้นโดยชอบธรรม ภิกษุพิจารณาโดยนัยดังกล่าวแล้วว่า เราพิจารณาแล้วโดยแยบคาย จึงใช้สอยจีวร ดังนี้เป็นต้นแล้ว จึงบริโภค ชื่อว่า บิณฑบาตไม่มีโทษ ภิกษุพึงบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษ เช่นนี้ทีเดียว เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาตที่ไม่มีโทษอยู่อย่างนี้ กิเลสแม้มี ประมาณน้อยหนึ่ง ก็ย่อมไม่เบียดเบียน คือ ย่อมไม่บีบคั้น เพราะอาศัย ปัจจัยทั้งหลาย ความเจริญแม้ที่สอง ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่มีทรัพย์ ไม่มีเรือนนั้น ฉะนี้แล.

บทว่า นิพฺพุโต (อันดับแล้ว) ความว่า แม้บิณฑบาตที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรมของภิกษุผู้เป็นปุถุชน ภิกษุพิจารณาแล้วจึงบริโภค ชื่อว่า บิณฑบาตดับแล้ว ส่วนบิณฑบาตของพระขีณาสพ ชื่อว่า บิณฑบาตดับแล้วโดยส่วนเดียว ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะว่าในบรรดาการบริโภค ๔ อย่างเหล่านี้คือ ไถยบริโภค ลักขโมยเขาบริโภค อิณบริโภค บริโภคอย่างคนที่เป็นหนี้เขา ทายัชชบริโภค บริโภคโดยได้รับมรดก สามิบริโภค บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ พระขีณาสพนั้นย่อมบริโภคบิณฑบาตนั้น ด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 140

แห่งสามีบริโภค. ท่านเป็นเจ้าของ บริโภคบิณฑบาต โดยพ้นจากความเป็นทาสแห่งตัณหา กิเลสแม้มีประมาณน้อยหนึ่ง ย่อมไม่เบียดเบียนท่าน เพราะการบริโภคเช่นนั้น เป็นปัจจัย. บทว่า มุตฺตสฺส รฏฺเ จรโต (ผู้หลุดพ้นแล้วเที่ยวไปในแว่นแคว้น) ความว่า เมื่อภิกษุไม่ข้องอยู่ในตระกูลอุปัฏฐากเป็นต้น ประหนึ่งท้องฟ้าไม่มีเมฆ หรือ เหมือนกับดวงจันทร์ที่ผ่องอำไพ พ้นจากปากราหู ฉะนั้น เที่ยวไปในบ้าน แลนิคมเป็นต้น บรรดาความข้องมีราคะเป็นต้น ความข้องแม้สักอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มี จริงอยู่ บุคคลบางคนคลุกคลีอยู่กับสกุลทั้งหลาย พลอยร่วมโศกเศร้าและพลอยร่วมยินดีอยู่กับเขา. บุคคลบางคนมีใจไม่ข้องอยู่ แม้ในมารดา บิดา อยู่คนเดียว เหมือนเด็กหนุ่มชาวบ้านโกรุนคร ฉะนั้น. แม้ปุถุชนผู้เป็นแบบนี้ ก็ย่อมมีความเจริญเหมือนกัน. บทว่า นาสฺส กิญฺจิ (อะไรสักหน่อยหนึ่งของภิกษุนั้น ย่อมไม่ไหม้) ความว่า จริงอยู่ ภิกษุรูปใดเป็นผู้มีบริขารมาก ภิกษุรูปนั้น คิดว่า โจรทั้งหลายอย่าลักบริขารของเราไปเลย ดังนี้ จึงเก็บบริขารทั้งหลาย มีผ้าจีวรเป็นต้นที่เหลือ ใช้ไว้ในตระกูลอุปัฏฐากภายในเมือง ต่อมาเมื่อไฟไหม้ในเมือง พอทราบข่าวว่า ต้นเพลิงเกิดขึ้นที่ตระกูลโน้น ก็เศร้าโศก ทุกข์ใจ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเช่นนี้เลย ดูก่อนมหาบพิตร ส่วนภิกษุใด บำเพ็ญวัตรของ สกุณชาติให้เต็มบริบูรณ์ คือมีแต่บริขารที่ติดกายเท่านั้น บริขารอะไรๆ ของภิกษุเช่นนั้น ย่อมไม่ถูกไฟไหม้ แม้ความเจริญข้อที่ห้า ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นด้วย ประการนั้นแล.

บทว่า วิลุปฺปมานมฺหิ (ปล้น) ได้แก่ พากันปล้น อีกอย่างหนึ่ง บาลี ก็ได้รูปอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อหาริถ (ก็ไม่หาย) ความว่า เมื่อพวกโจรออก จากชัฏภูเขาเป็นต้น พากันมาปล้นแว่นแคว้น มีโจรคนหนึ่งแย่งเอาบริขาร ของภิกษุผู้มีบริขารมากซึ่งฝากเก็บไว้ภายในบ้าน ฉันใด โจรย่อมลักเอาบริขาร อะไรๆ ของภิกษุผู้มีแต่บริขารที่ติดกาย ไม่มีทรัพย์ ฉันนั้นไม่ได้เลย แม้ความเจริญอันเป็นข้อที่หก ก็ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นเหมือนกันแล. บทว่า เย

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 141

จญฺเ ปริปนฺถิกา (หรือไปสู่หนทางที่มีอันตรายอื่น) ความว่า ไปสู่หนทางที่พวกโจรตั้งด่านรักษาคุ้มครอง เพื่อเก็บภาษีคนเหล่าอื่นในที่นั้นๆ. บทว่า ปตฺตจีวรํ (บาตรและจีวร) ความว่า ภิกษุกระทำ บริขาร ๘ แม้ทั้งหมด คือ บาตรดิน ผ้าบังสุกุลจีวรที่เย็บย้อมเรียบร้อยแล้ว ประคดเอว ผ้ากรองน้ำ กล่องเข็ม มีด ถลกบาตร ซึ่งมีราคาน้อย ไม่มีประโยชน์แก่พวกโจร ไม่เหมาะที่จะเป็นค่าภาษีแก่คนผู้เก็บภาษี มีแต่บริขาร ติดกายเดินไปตามหนทาง ใครๆ ก็ไม่เบียนเบียด ย่อมไปได้โดยสวัสดี. บทว่า สุพฺพโต (ผู้มีวัตรงาม) ความว่า จริงอยู่ โจรทั้งหลายเห็นจีวรเป็นต้น ทำให้เกิดความโลภ ย่อมลักไปก็มี นายด่านภาษีคิดว่า อะไรหนอที่มีอยู่ในมือของภิกษุรูปนี้ แล้วจึงทำการตรวจค้นถลกบาตรเป็นต้น ส่วนภิกษุผู้มีวัตรอันงาม เมื่อชน เหล่านั้นเห็นเธอผู้มีความประพฤติเบาพร้อม ย่อมไปได้สะดวก แม้ความเจริญ ข้อที่ ๗ ก็ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้แล ความเจริญที่ ๘ คือ ภิกษุไม่ต้องเหลียวแลที่อยู่ เพราะไม่มีบริขารอะไรๆ ที่ตนเก็บไว้ในวิหาร เกินกว่าบริขารที่เนื่องในกาย จะต้องไปสู่ทิศใด ก็ไปสู่ทิศนั้นได้ อย่างไม่ต้องห่วงใย เหมือนกุลบุตรทั้ง ๒ ผู้บวชแล้วในถูปาราม บรรพชิตรูปที่แก่กว่าออกจากเมืองอนุราธบุรีแล้วเดินทางไป ฉะนั้น.

พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า แสดงความเจริญแห่งสมณะ ๘ อย่าง ด้วยประการฉะนี้ แต่แท้ที่จริงท่านเป็นผู้สามารถจะแสดงความเจริญแห่งสมณะ ให้ยิ่งกว่านั้นได้ ตั้งร้อย ตั้งพัน จนหาประมาณมิได้ ฝ่ายพระราชา ทรงละเลยซึ่งถ้อยคำของพระโสณกะนั้น เพราะทรงยินดียิ่งในกาม จึงตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้มีความต้องการด้วยความเจริญแห่งสมณะ เมื่อจะทรงประกาศความที่ พระองค์มีพระทัยน้อมไปในกาม จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 142

ข้าแต่ภิกษุ ท่านสรรเสริญความเจริญ เป็นอันมากของภิกษุเหล่านั้น ส่วนข้าพเจ้า ยังกำหนัดในกามทั้งหลาย จะทำอย่างไร กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ ทั้งที่เป็นของทิพย์ เป็นที่รักของข้าพเจ้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจักได้โลกทั้งสองด้วยเหตุไรหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน (ด้วยเหตุ) ได้แก่ เหตุลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงทูลกะพระราชานั้นว่า

นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายออกไปแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ ย่อมบรรลุถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น นรชนเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ดูก่อนพระเจ้าอรินทมะ อาตมภาพจักแสดงอุปมา ถวายมหาบพิตร ขอมหาบพิตร จงทรงสดับข้ออุปมานั้น บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความได้ด้วย ข้ออุปมา มีกาตัวหนึ่ง เป็นสัตว์มีปัญญาน้อย ไม่มีความคิด เห็นซากศพช้างลอยอยู่ในห่วงน้ำใหญ่ ในแม่น้ำคงคา จึงคิดว่า เราได้ยานนี้แล้วหนอ และซากศพช้างนี้ จักเป็นอาหารจำนวนมิใช่น้อย ใจของกาตัวนั้น ยินดีแล้วในซากศพช้างนั้น ตลอดทั้งคืนทั้งวัน เมื่อกาจิกกินเนื้อช้าง ดื่มน้ำมีรสเหมาะส่วน เห็นต้นไม้อันใหญ่ในป่า ก็ไม่ยอมบินไป แม่น้ำคงคามีปกติ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 143

ไหลลงสู่มหาสมุทร พัดเอากาตัวนั้น ตัวประมาทยินดี ในซากศพช้าง ไปสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย กานั้นหมดอาหารแล้ว ตกลงในน้ำ ไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้ ไปไม่ถึงเกาะ สิ้นกำลังจมลงในท่ามกลางทะเล อันเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย ฝูงปลา จระเข้ มังกร และ ปลาร้ายที่เกิดในมหาสมุทร ก็ข่มเหงรุมกินกานั้น ตัวมีปีกอันใช้การไม่ได้ดิ้นรนอยู่ ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นผู้ยังบริโภคก็ดี ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ว่า ชนเหล่านั้น เป็นอยู่ด้วยปัญญาเสมอกับกา ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนมหาบพิตร อุปมาข้อนี้ อาตมภาพแสดงอรรถอย่างชัดแจ้ง ถวายมหาบพิตรแล้ว พระองค์จักทรงทำหรือไม่ ก็จะปรากฏด้วยเหตุ นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปานิ (บาปกรรม) ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์และนรชนทั้งหลายผู้ยินดีในการอาศัยกามทั้งหลาย ทำแต่บาปกรรม มีการประพฤติชั่วด้วยกายเป็นต้น ย่อมเข้าถึงทุคติ เพราะกามทั้งหลายอันเป็นทิพย์แลเป็นของมนุษย์ ย่อมไม่ได้แม้ในความฝัน. บทว่า ปหนฺตฺวาน (ละ) ได้แก่ ละกามเสียได้ ดุจบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. บทว่า อกุโตภยา (เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ไหนๆ) ได้แก่ ไม่มีภัยมาจากที่ไหนๆ ในบรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า เอโกทิภาวาชิคตา (ย่อมบรรลุถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น) ได้แก่ ถึงความที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือความเป็นผู้มีธรรมเครื่อง

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 144

อยู่อย่างเอก. บทว่า น เต (นรชนเหล่านั้นย่อมไม่) ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือบรรพชิตเหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ. บทว่า อุปมนฺเต (อุปมาถวายมหาบพิตร) ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพ จักทำการเปรียบเทียบสักตัวอย่างหนึ่ง ถวายแด่พระองค์ผู้มีความปรารถนาในกามที่เป็นทิพย์และเป็นของมนุษย์ ที่ไม่ต่างอะไรกับกาตัวมีใจผูกพันอยู่ในซากศพช้าง ฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงสดับข้ออุปมานั้นเถิด. บทว่า กุณปํ แปลว่า ซากศพของช้าง. บทว่า มหณฺณเว ได้แก่ ในน้ำทั้งลึกทั้งกว้าง. คำว่า กุณปํ นั้นท่านกล่าวหมายถึงว่า มีช้างใหญ่ตัวหนึ่ง เที่ยวอยู่ตามริมฝั่ง แม่น้ำคงคา ตกลงไปในแม่น้ำคงคาไม่สามารถจะขึ้นได้ ถูกกระแสแม่น้ำพัด ตายไปในแม่น้ำนั้นนั่นแล.

บทว่า วายโส (กา) ได้แก่ มีกาตัวหนึ่งบินมาโดยอากาศ. บทว่า ยานญฺจ วติทํ (เราได้ยานนี้แล้วหนอ) ความว่า กาตัวนั้นครั้นคิดดีอย่างนี้แล้วจึงจับอยู่ที่ศพช้างนั้น ได้กระทำความตกลงใจว่า เราได้ยานคือช้างนี้แล้วเราจับอยู่บนยานคือช้างนี้ จักเที่ยวไปได้อย่างสบาย อนึ่ง ช้างนี้แหละจักเป็นอาหาร ได้อย่างมากมาย บัดนี้เราไม่ควรที่จะไปในที่อื่น. บทว่า ตตฺถ รตฺตึ (ตลอดทั้งคืน) ความว่า กาตัวนั้นมีใจยินดียิ่งในศพช้างนั้นนั่นแล ตลอดทั้งคืนและวัน. บทว่า น ปเลตฺถ (ก็ไม่ยอมบินไป) ความว่า กาตัวนั้น ไม่ยอมบินหลีกไป. บทว่า โอตรณี ได้แก่ แม่น้ำคงคานั้นมีปกติไหลลงสู่มหาสมุทร. บาลีว่า โอหาริณี ดังนี้ก็มี อธิบายว่า แม่น้ำคงคามีปกติไหลลงพัดพาเอากานั้นไปสู่มหาสมุทร. บทว่า อคติ ยตฺถ (ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้) นั้น ท่านกล่าวหมายถึงท่ามกลางมหาสมุทร. บทว่า โอตรณี ได้แก่ หมดอาหาร. บทว่า อุปฺปติตฺวา (บินขึ้นแล้ว) ความว่า เมื่อหนังและเนื้อของช้าง นั้นหมดไปแล้ว โครงกระดูกก็ถูกกำลังคลื่นพัดจนหักจมลงในน้ำ อธิบายว่า ลำดับนั้น กาตัวนั้น เมื่อไม่สามารถจะอยู่ในน้ำได้ จึงกระโดดบินขึ้นรูปครั้น บินไปอย่างนี้แล้ว. บทว่า อคติ ยตฺถ ปกขินํ (ซึ่งเป็นที่ไปไม่ได้แห่งนกทั้งหลาย) ความว่า ก็กาตัวนั้นบิน ไปยังทิศประจิม เมื่อไม่ได้ที่จับในทิศนั้น บินจากทิศประจิมนั้นไปยังทิศบูรพา

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 145

บินจากทิศบูรพานั้นไปยังทิศอุดร บินจากทิศอุดรนั้นไปยังทิศทักษิณ บินไปยังทิศทั้ง ๔ ด้วยอาการอย่างนี้ ก็ยังไม่บรรลุถึงที่สำหรับจับของตน ในท่ามกลางมหาสมุทร อันเป็นสถานที่ไปไม่ถึงแห่งพวกนกทั้งหลายนั้น. บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ทีเดียวว่า ลำดับนั้น กาบินไปอย่างนี้แล้ว ได้บินไปแต่ละทิศ ในบรรดาทิศมีทิศประจิมเป็นต้น แต่ก็บินไปไม่ถึงเกาะ. บทว่า ปาปตฺถ คือ จมลงแล้ว. บทว่า ยถา ทุพฺพลโก (สิ้นกำลัง) ได้แก่ จมลงเหมือนอย่างคนหมดกำลัง จมลง ฉะนั้น. บทว่า สุสู (ปลาร้าย) ได้แก่ เหล่าปลาร้ายชนิดที่มีชื่อว่า สุสุ. บทว่า ปสยฺหการา (ข่มเหง) ความว่า ฮุบกินกาตัวนั้น ซึ่งไม่ปรารถนาอยู่นั่นแหละโดยพลการ. บทว่า วิปกฺขิกํ (ตัวมีปีกใช้การไม่ได้) ได้แก่ กาตัวที่มีขนปีกฉิบหายใช้การไม่ได้. บทว่า คิทฺธี เจ น วมิสฺสนฺติ (ถ้ายังกำหนัดในกามอยู่ ไม่ละทิ้งกามเสีย) ความว่า พระองค์ก็ดี ชนเหล่าอื่นก็ดี ถ้ายังเป็นผู้ยินดี ในกาม ไม่ยอมสละละทิ้งกามเสียให้ได้. บทว่า กากปญฺาย เต (ชนเหล่านั้นมีปัญญาเสมอกับกา) ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมรู้แจ้ง ย่อมรู้ชัดว่า ชนเหล่านั้นมีปัญญาเสมอกับปัญญาของกา ฉะนั้น. บทว่า อตถสนฺทสฺสนี กตา ได้แก่ อาตมภาพได้ประกาศเนื้อความให้ชัดแจ้งแล้ว. บทว่า ตฺวญฺจ ปญฺายเส (พระองค์... ก็จะปรากฎ) ได้แก่ พระองค์จักทรงรู้แจ้งเอง. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ถวายโอวาท แด่พระองค์ ก็ถ้าพระองค์จักทรงทำตามโอวาทนั้นไซร้ พระองค์ก็จักทรงบังเกิด ในเทวโลก หากพระองค์จักไม่ทรงทำตามโอวาทนั้น พระองค์จักจมอยู่ในเปือกตมคือกาม ในกาลที่สุดแห่งพระชนมชีพจักบังเกิดในนรก. พระองค์เอง จักทรงทราบสวรรค์หรือนรกด้วยเหตุนั้นอย่างนี้ ส่วนอาตมภาพพ้นแล้วจากภพทั้งปวง ไม่ต้องถือปฏิสนธิอีกต่อไป ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ถวายโอวาทนี้แด่พระราชาพระองค์นั้น ได้แสดงถึงแม่น้ำแล้ว แสดงถึงซากศพช้างที่ถูกน้ำ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 146

พัดพาลอยไปในแม่น้ำคงคา แสดงถึงกาตัวจิกกินซากศพ แสดงถึงการที่จิกกินซากศพแล้วดื่มน้ำของกาตัวนั้น แสดงถึงการที่มองดูไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจ แสดงถึงการเข้าไปสู่มหาสมุทรของซากศพที่ลอยไปในแม่น้ำ แสดงถึงการที่ ไม่ได้ที่จับอาศัยบนซากช้างแล้ว ถึงความพินาศไปในท่ามกลางมหาสมุทรของกา. บรรดาสิ่งเหล่านั้น สงสารอันหาเบื้องต้นและที่สุดมิได้ บัณฑิตพึงเห็นว่า. เปรียบเหมือนแม่น้ำ. กามคุณ ๕ อย่างในสงสารเปรียบเหมือนซากศพช้างที่ลอยอยู่ในแม่น้ำ ปุถุชนที่เป็นคนพาล เปรียบเหมือนกา. กาลแห่งปุถุชนผู้บริโภคกามคุณแล้วเกิดโสมนัส เปรียบเหมือนกาลที่กาจิกกินซากศพแล้วดื่มน้ำ. การเห็นอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอำนาจการสดับฟังของปุถุชนผู้ติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งหลาย เปรียบเหมือนการเห็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์ใจของกา ตัวติดข้องอยู่ในซากศพนั่นแล. ท่านผู้เป็นบัณฑิตพึงเห็นการถึงความพินาศในมหานรก ของปุถุชนผู้เป็นคนพาล ผู้ยินดีในกามคุณ มีความชั่วเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไม่สามารถจะได้ที่ตั้งอาศัยในกุศลธรรมว่าเปรียบเหมือนกาลที่กา เมื่อซากศพเข้าไปสู่มหาสมุทรแล้ว ไม่สามารถจะได้ที่จับอาศัย ก็ถึงความ พินาศไปฉะนั้น.

พระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้น ด้วยข้อ อุปมานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้หวังจะทำโอวาทนั่นแหละ ให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคง จึงกล่าวคาถานี้ว่า

บุคคลผู้อนุเคราะห์พึงกล่าวเพียงคำเดียว หรือ สองคำ ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น เปรียบเหมือน ทาสที่อยู่ในสำนักแห่งเจ้านาย ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 147

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ภาเสยฺย (ไม่พึงกล่าว) ความว่า บุคคลผู้กล่าว ให้ยิ่งไปกว่าประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลผู้ไม่เชื่อถือถ้อยคำ ย่อมเป็นเหมือนทาส ในสำนักของเจ้านายฉะนั้น. ด้วยว่า ทาส แม้เจ้านายจะเชื่อถือถ้อยคำหรือไม่ เชื่อถือก็ตาม ต้องกล่าวอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตตุตฺตรึ น ภาเสยฺย ไม่พึงกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ดังนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ แล้วสั่งสอนพระราชาว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวชหรือไม่ทรงผนวชก็ตาม อาตมภาพก็ได้ถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว จึงไปสู่เงื้อมภูเขาชื่อนันทมูลกะตามเดิม.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระโสณกปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้ ครั้นทูลดังนี้แล้ว พร่ำสอนบรมกษัตริย์ในอากาศแล้วหลีกไป.

คาถานี้ จัดเป็นอภิสัมพุทธคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ วตฺวาน (ครั้นทูลดังนี้แล้ว) อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีปัญญาอันบุคคลนับไม่ได้ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้อันเป็นโลกุตระที่ใครๆ นับไม่ได้ พอท่านกล่าวคำนี้แล้ว ก็เหาะขึ้นไปด้วยฤทธิ์ พร่ำสอนบรมกษัตริย์อย่างนี้ว่า ถ้าพระองค์จักทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของพระองค์ผู้เดียว หรือถ้าพระองค์จักไม่ทรงผนวช ก็เป็นเรื่องของ พระองค์อีกเช่นกัน อาตมภาพถวายโอวาทแด่พระองค์แล้ว ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ประทับยืนทอดพระเนตรดูพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้ไปอยู่โดยอากาศ เพียงเท่าที่จะมองเห็นได้ ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 148

สายพระเนตรไปแล้ว จึงกลับได้ความสลดพระทัย ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ มีชาติต่ำ โปรยธุลีละอองเท้าลงบนศีรษะของเราผู้เกิดแล้ว ในวงศ์กษัตริย์ อันมิได้ปะปนระคนด้วยวงศ์อื่น เขาเหาะขึ้นสู่อากาศไปแล้ว แม้ตัวเราก็ควร จะออกบวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว. ท้าวเธอทรงปรารถนาที่จะมอบราชสมบัติ แล้วทรงผนวช จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรให้เป็นกษัตริย์ เป็นรัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความฉลาด เหล่านี้ อยู่ที่ไหน เราจักมอบราชสมบัติ เราไม่ต้องการด้วย ราชสมบัติ เราจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่า จะพึงรู้ ความตายในวันพรุ่งนี้ เราจะไม่โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจ แห่งกามทั้งหลายเหมือนกา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุเม ได้แก่ ท่านเหล่านี้อยู่ที่ไหน. บทว่า ราชกตฺตาโร ความว่า บุคคลผู้อภิเษก ท่านผู้สมควรเป็นพระราชา แล้ว ทำให้เป็นพระราชาอย่างสมบูรณ์. บทว่า สูตา เวยฺยตฺติมาคตา ความว่า รัชทายาท และบุคคลผู้ถึงความเป็นผู้ฉลาด คือ รอบรู้มงคลโดย คล่องปากเหล่าอื่น บทว่า รชฺเชน มตฺถิโก คือควานต้องการด้วยราชสมบัติ. บทว่า โก ชญฺา มรณํ สุเว ความว่า เพราะว่าใครที่จะมีความสามารถ รู้ถึงเหตุนี้ได้ว่า ความตาย จักมีมาในวันนี้ หรือพรุ่งนี้กันแน่.

เมื่อพระราชาทรงมอบราชสมบัติอยู่อย่างนี้ พวกอำมาตย์ได้สดับแล้ว จึงกราบทูลว่า

พระโอรสหนุ่มของพระองค์ ทรงพระนานว่า ทีฆาวุ จะทรงบำรุงรัฐให้เจริญได้ อยู่ ขอพระองค์จง ทรงอภิเษกพระโอรสนั้นไว้ในพระราชสมบัติ พระโอรสนั้นจักได้เป็นพระราชาของข้าพระบาททั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 149

เบื้องหน้าแต่นั้น บัณฑิตพึงทำคาถาที่พระราชาตรัสแล้ว ให้เป็น ตัวอย่างแล้ว พึงทราบคาถาสันพันธ์ด้วยอุทาน โดยนัยพระบาลีนั้นแล. พระราชาตรัสว่า

ท่านทั้งหลาย จงรีบเชิญทีฆาวุกุมาร ผู้บำรุงรัฐ ให้เจริญมาเถิด เราจักอภิเษกเธอไว้ในราชสมบัติ เธอเป็นพระราชาของท่านทั้งหลาย.

พวกอำมาตย์สดับพระดำรัสของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จึงพากันไปเชิญเสด็จทีฆาวุราชกุมารมา. แม้พระราชาก็ทรงมอบพระราชสมบัติแก่พระราชกุมารนั้นแล้ว.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้ไปเชิญทีฆาวุราชกุมาร ผู้บำรุงรัฐให้เจริญมาเฝ้า พระราชาทอดพระเนตรเห็น เอกอัครโอรส ผู้น่าปลื้มพระทัยนั้น จึงตรัสว่าลูกรักเอ๋ย คามเขตของเราหกหมื่น บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง ลูกจงบำรุงเขา พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

ช้างหกหมื่นเชือกประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีสายรัดล้วนทองคำ เป็นช้างใหญ่มีร่างกายปกปิด ด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคำอันนายควาญช้างผู้ถือโตมร และขอขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ยลูกจงบำรุงช้างเหล่านั้น พ่อ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 150

ขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

ม้าหกหมื่นตัวประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นม้าสินธพ เป็นม้าอาชาไนยโดยกำเนิด เป็นพาหนะเร็ว อันนายสารถีผู้ถือแส้และธนูขึ้นกำกับ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงม้าเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งทลายเหมือนกับกา.

รถหกหมื่นคัน หุ้มเกราะไว้ดีแล้ว มีธงอันยกขึ้นแล้ว หุ้มด้วยหนึ่งเสือเหลืองก็มี หุ้มด้วยหนึ่งเสือโคร่งก็มี ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันนายสารถีถือแล่งธนูสวมเกราะขึ้นประจำ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงรถเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

แม่โคนมหกหมื่นตัว มีสีแดง ประกอบด้วยโคจ่ฝูงตัวประเสริฐ ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงโคเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจะไม่ยอมเป็นคนโง่เขลา อยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 151

สตรีหมื่นหกพันนาง ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวนกุณฑลแก้วมณี ลูกรักเอ๋ย ลูกจงบำรุงสตรีเหล่านั้น พ่อขอมอบราชสมบัติให้ลูก พ่อจักบวชในวันนี้แหละ ใครเล่าจะพึงรู้ถึงความตายในวันพรุ่งนี้ พ่อจักไม่ยอมเป็นคนโง่เขลาตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลายเหมือนกับกา. ลำดับนั้น พระกุมารจึงกราบทูลพระองค์ว่า

ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันได้สดับว่า เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็กๆ พระชนนีทิวงคต หม่อมฉันไม่อาจจะเป็นอยู่ห่างพระบิดาได้ ลูกช้างย่อมติดตามหลังช้างป่า ตัวเที่ยวอยู่ในที่มีภูเขา เดินลำบาก เสมอบ้าง ไม่เสมอบ้าง ฉันใด หม่อมฉันจะอุ้มบุตรธิดา ติดตาม พระบิดาไปข้างหลัง จักเป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงง่าย จักไม่เป็นผู้อันพระบิดาเลี้ยงยาก ฉันนั้น.

พระราชาตรัสตอบว่า

อันตราย ทำเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร ของพวกพ่อค้าผู้แสวงหาทรัพย์ ให้จมลงในมหาสมุทรนั้น พวกพ่อค้าพึงถึงความพินาศ ฉันใด ลูกรักเอ๋ย เจ้านี้เป็นผู้กระทำอันตรายให้แก่พ่อ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระราชกุมารไม่อาจจะกราบทูลถ้อยคำอะไรๆ อีกได้. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะทรงบังคับพวกอำมาตย์ จึงตรัสว่า

ท่านทั้งหลาย จงพาราชกุมารนี้ไปให้ถึงปราสาท อันยังความยินดีให้เจริญเถิด พวกนางกัญญาผู้มีมือ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 152

ประดับด้วยทองคำ จักยังกุมารให้รื่นรมย์ในปราสาทนั้น เหมือนนางเทพอัปสร ยังท้าวสักกะให้รื่นรมย์ฉะนั้น และกุมารนี้จักรื่นรมย์ ด้วยนางกัญญาเหล่านั้น.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงเชิญพระราชกุมาร ไปยังปราสาทอันยังความยินดีให้เจริญ พวกนางกัญญา เห็นทีฆาวุกุมาร ผู้ยังรัฐให้เจริญนั้นแล้ว จึงพากกัน ทูลว่า พระองค์เป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็น ท้าวสักกปุรินททะ พระองค์เป็นใครหรือเป็นพระราช โอรสของใคร หม่อมฉันทั้งหลายจะรู้จักพระองค์ได้ อย่างไร.

ทีฆาวุราชกุมาร จึงตรัสตอบว่า

เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี ชื่อทีฆาวุ ผู้ยังรัฐให้เจริญ เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา ขอความเจริญจงมีแก่เธอทั้งหลาย เราจะเป็นสามีของเธอทั้งหลาย.

พวกนางกัญญาในปราสาทนั้น ได้ทูลถาม พระเจ้าทีฆาวุผู้บำรุงรัฐนั้นว่า พระราชาเสด็จไปถึงไหนแล้ว พระราชาเสด็จจากที่นี้ไปไหนแล้ว.

ทีฆาวุราชกุมารตรัสตอบว่า

พระราชาทรงก้าวล่วงเสียซึ่งเปือกตม ประดิษฐานอยู่บนบก เสด็จดำเนินไปสู่ทางใหญ่อันไม่มีหนาม

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 153

ไม่มีรกชัฏ ส่วนเรายังเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางอันให้ถึงทุคติ มีหนาม รกชัฏ เป็นเครื่องไปสู่ทุคติแห่งชนทั้งหลาย.

นารีทั้งหลายจึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ดุจราชสีห์มาสู่ถ้ำฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงอนุศาสน์ พวกหม่อมฉันขอพระองค์ทรงเป็นอิสราธิบดี ของพวกหม่อมฉันทั้งปวงเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขิปฺปํ (รีบ) ความว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงรีบนำมาเถิด. บทว่า อาลปิ (ตรัส) ความว่า พระราชาตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า คามเขตของเรามีหกหมื่น ดังนี้ จึงค่อยทรงทักทายแล้ว. บทว่า สพฺพาลงฺการภูสิตา (เครื่องอลังการทั้งปวง) อธิบายว่า ช้างเหล่านั้น ตกแต่งแล้วด้วยเครื่องอลังการมีเครื่อง ประดับสำหรับสวมหัวเป็นต้นทั้งปวง. บทว่า เหมกปฺปนวาสสา (มีร่างกายปกปิดด้วยเครื่องคลุมล้วนทองคำ) ความว่า มีสรีระอันปกปิดด้วยเครื่องคลุมที่ขจิตด้วยทองคำ. บทว่า คามณีเยภิ (อันนายควานช้าง) คือ พวกนายหัตถาจารย์. บทว่า อาชานียา จ (เป็นม้าอาชาไน) ได้แก่ เป็นม้าที่รู้จักเหตุและมิใช่ เหตุมาตั้งแต่เกิดทีเดียว. ม้าที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำสินธพ ในแคว้นสินธพเรียกว่า ม้าสินธพ. บทว่า คามณีเยภิ (อันนายสารถี) คือ อิสสาจารย์. บทว่า อินฺทิยาจาปธาริภิ (ผู้ถือแส้และธนูขึ้นกำกับ) คือทรงไว้ซึ่งอาวุธคือเขน และอาวุธคือแล่งธนู. บทว่า ทีปา อโถปิ เวยฺยคฺฆา ได้แก่ มีหนังเสือเหลือง และหนังเสือโคร่งเป็นเครื่องปกคลุม. บทว่า คามณีเยภิ หมายเอาผู้ขับรถ. บทว่า จมฺมิภิ (สวมเกราะ) คือมีเกราะอันสวม สอดไว้แล้ว. บทว่า โรหญฺา คือมีสีตัวแดง. บทว่า ปุงฺควูสภา ได้แก่ ประกอบด้วยโคเพศผู้ตัวประเสริฐกล่าว คือ โคอุสภะ บทว่า ทหรสฺเสว เม (เมื่อหม่อมฉันเป็นเด็ก)

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 154

อธิบายว่า ลำดับนั้น พระราชกุมารกราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่พระบิดา เมื่อหม่อมฉันยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ หม่อมฉันได้สดับว่า พระชนนีสิ้นพระชนม์แล้ว หม่อมฉันนั้นจักไม่อาจจะมีชีวิตอยู่. โดยปราศจากพระองค์ได้. บทว่า โปโต ได้แก่ ลูกช้างรุ่นๆ. บทว่า เชสฺสนฺตํ คือเที่ยวสัญจรไปอยู่. บทว่า สามุทฺทิกํ ได้แก่ เรือที่แล่นไปในมหาสมุทร. บทว่า ธเนสินํ ได้แก่ ผู้แสวงหาอยู่ซึ่งทรัพย์. บทว่า โวหาโร (อันตราย) ความว่า ปลาร้ายก็ดี ผีเสื้อน้ำก็ดี น้ำวนก็ดี อันคอยฉุดคร่าอยู่ภายใต้ ชื่อว่าอันตรายเครื่องนำลงอย่างวิจิตร. บทว่า ตตฺถ คือ ในมหาสมุทรนั้น. บทว่า พาณิชา พฺยสนี สิยา ความว่า ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ก็จะฉิบหาย คือ พึงถึงความพินาศ. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า สิยุํ ก็มี. บทว่า ปุตฺตกลิ ได้แก่ ลูกเลว คือลูกกาลกรรณี. พระกุมารไม่อาจที่จะกราบทูลอะไรๆ อีกต่อไป. ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะ ทรงบังคับพวกอำมาตย์ จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า กุมารนี้ ดังนี้. บทว่า ตตฺถ กมฺพุสหตฺถาโย (ผู้มีมือประดับด้วยทองคำ... ในปราสาทนั้น) ความว่า สุวรรณเรียกกันว่า ทองคำ อธิบายว่า มีมือตกแต่งด้วยเครื่องอาภรณ์ทองคำ. คำว่า ยถา (เหมือน) ความว่า นารีเหล่านั้น ย่อมกระทำตามที่ตนปรารถนา.

พระมหาสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้อภิเษกทีฆาวุราชกุมารนั้นในที่นั้นนั่นเอง แล้วให้กลับเข้าไปสู่พระนคร. ส่วนพระองค์ผู้เดียวเท่านั้น เสด็จออกจากพระราชอุทยาน เข้าไปป่าหิมวันต์ สร้างบรรณศาลาที่ ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ แล้วทรงผนวชเป็นฤาษี มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็น อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไป. ฝ่ายมหาชนก็เชิญเสด็จพระกุมารไปยังกรุงพาราณสี. พระกุมารนั้น ทรงกระทำประทักษิณพระนคร แล้วเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. บทว่า ตํ ทิสฺวา อวจุํ กญฺา (พวกนางกัญญาเห็นฑีฆาวุกุมาร... นั้นแล้ว) ความว่า พวกนางฟ้อนเหล่านั้น เห็นพระกุมารนั้น เสด็จมาแล้วด้วยสิริโสภาคมีบริวารเป็นอันมาก ยังไม่รู้จักว่า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 155

พระกุมารนี้มีพระนามชื่อโน้น จึงได้พากันทูลถาม. บทว่า มมํ ภรถ (เธอทั้งหลายจงบำเรอเรา) ความว่า นางทั้งหลายจงปรารถนาเฉพาะเรา. บทว่า ปงฺกํ (ชื่อเปลือกตม) ได้แก่ เปือกตมคือกิเลส มีราคะเป็นต้น. บทว่า ถเล (บนบก) ได้แก่ การบรรพชา. บทว่า อกณฺฏกํ (อันไม่มีหนาม) ได้แก่ ปราศจากหนามคือราคะเป็นต้น. ชื่อว่า ไม่รกชัฏ เพราะเครื่องรกชัฏ คือกิเลส เหล่านั้นแล. บทว่า มหาปถํ (สู่ทางใหญ่) ได้แก่ ดำเนินไปสู่ทางใหญ่ อันจะเข้าถึงสวรรค์ และนิพพาน. บทว่า เยน (เป็นเครื่อง) พระกุมารตรัสว่า ชนทั้งหลายย่อมดำเนินไปสู่ทุคติ โดยทางผิดอันใด เราดำเนินไปแล้วสู่ทางผิดอันนั้น. ลำดับนั้น พวกนางฟ้อน เหล่านั้น จึงพากันคิดว่า พระราชาทรงละทิ้งพวกเรา เสด็จออกบรรพชาเสีย ก่อนแล้ว ถึงพระกุมารนี้เล่า ก็เป็นผู้มีพระหฤทัยกำหนัดในกามทั้งหลาย ถ้า พวกเราจักไม่ยอมอภิรมย์กับพระองค์ พระองค์ก็จะพึงเสด็จออกบรรพชาเสียอีก พวกเราจักกระทำอาการคือการอภิรมย์แก่พระองค์. ลำดับนั้น พวกนางฟ้อน เมื่อจะให้พระกุมารรื่นรมย์ด้วย จึงได้กราบทูลคาถาสุดท้ายแล้ว. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า คิริพฺพชํ (สู่ถ้ำ) ความว่า การเสด็จมาของพระองค์นั้น นับว่า เป็นการเสด็จมาดีแล้ว ดุจการที่พระยาไกรสรราชสีห์มาสู่ถ้ำทองอันเป็นสถานที่ อยู่ของราชสีห์ตัวลูกน้อย ฉะนั้น. บทว่า ตฺวํ โน (ขอพระองค์... ของพวกหม่อมฉัน) ความว่า ขอพระองค์จง เป็นพระสวามีผู้เป็นใหญ่ของพวกหม่อมฉันแม้ทั้งหมด.

พวกนารีเหล่านั้น ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็ประโคมดุริยดนตรี ทั้งปวงขึ้น ทำการฟ้อนรำขับร้องมีประการต่างๆ ให้เป็นไปแล้ว เกียรติยศ ได้ยิ่งใหญ่ขึ้นแล้ว. ทีฆาวุราชกุมารนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเกียรติยศ ก็มิได้ทรงระลึกถึงพระบิดาเลย ได้เสวยราชสมบัติโดยธรรม เป็นไปตาม ยถากรรมแล้ว. แม้พระโพธิสัตว์ได้ทรงกระทำฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแห่งพระชนมชีพ ก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 156

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์แต่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ใน กาลก่อน ก็ได้เคยออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงได้ทรง ประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วในกาลนั้น ทีฆาวุกุมาร ในกาลนั้น ได้เป็นราหุลกุมาร บริษัทที่เหลือในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าอรินทมะในกาลนั้น ก็คือเราตถาคตแล.

จบอรรถกถาโสณกชาดก