๒. โสณนันทชาดก ว่าด้วยพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 272
๒. โสณนันทชาดก
ว่าด้วยพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 272
๒. โสณนันทชาดก
ว่าด้วยพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส
[๑๓๔] พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าวสักกปุรินททะ หรือว่าเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าได้อย่าไร.
[๑๓๕] อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนภารถะ มหา บพิตรจงทราบอย่างนี้.
[๑๓๖] ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่พระผู้เป็นเจ้ากระทำแล้ว คือ เมื่อฝนตก พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น พระผู้ เป็นเจ้าได้ทำการป้องกันลูกศรในท่ามกลางแห่งศัตรู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 273
แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำบ้านเมืองอันรุ่งเรืองและ ชาวเมืองเหล่านั้นให้ตกอยู่ในอำนาจ ของข้าพเจ้า แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ให้ เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณ พระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้ จิตชื่นชม คือ ยานอันเทียมด้วยช้าง รถอันเทียมด้วยม้า และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว หรือ รมณียสถานอันเป็นที่อยู่อาศัยอันใด ขอพระผู้เป็นเจ้า จงเลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด ข้าพเจ้าขอถวาย แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนา แคว้นอังคะหรือแคว้นมคธ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้นอัสสกะหรือแคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวาย แคว้นเหล่านั้นให้แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือแม้พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการ ด้วยราชสมบัติทั้งหมด ข้าพเจ้าก็ขอถวาย พระคุณเจ้า ปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด.
[๑๓๗] อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ บ้านเมือง ทรัพย์ หรือแม้ชนบท อาตมภาพ ไม่มีความต้องการเลย.
[๑๓๘] ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร มีอาศรมอยู่ในป่า มารดาและบิดาทั้งสองท่านของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 274
อาตมภาพ อยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพไม่ได้เพื่อทำบุญในท่านทั้งสอง ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตรผู้ประเสริฐ ยิ่งไปขอขมาโทษโสณดาบสเพื่อสังวรต่อไป.
[๑๓๙] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะขอทำ ตามคำที่พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่ว่า บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษมีประมาณเท่าใด ขอพระคุณเจ้าจงบอกบุคคลมีประมาณเท่านั้น.
[๑๔๐] ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาลก็เท่ากัน กษัตริย์ผู้เป็นอภิชาตผู้เรืองยศเหล่านี้ทั้งหมด มหา บพิตรซึ่งทรงพระนาม ว่าพระเจ้ามโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษประมาณเท่านี้ก็พอแล้ว ขอถวายพระพร.
[๑๔๑] เจ้าพนักงานทั้งหลายจงเตรียมช้าง จงเตรียมม้า นายสารถีท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย เราจะไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.
[๑๔๒] ก็ลำดับนั้น พระราชาพร้อมด้วย จาตุรงคเสนา ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.
[๑๔๓] ไม้คานอันทำด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้ไปเพื่อหาบน้ำ ลอยมายังเวหาสมิได้ถูกบ่า ห่างประมาณ ๔ องคุลี. ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 275
[๑๔๔] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่าโสณะ เป็นดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้าน เลี้ยงดูมารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทั้งสองได้กระทำแล้ว ในกาลก่อน จึงนำผลไม้ป่าและเผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา.
[๑๔๕] ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาจะไปยัง อาศรมซึ่งเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส ข้าแต่ท่านโสณะ ขอท่านได้โปรดบอกทางจะไปยังอาศรมนั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.
[๑๔๖] ดูก่อนมหาบพิตร ทางนี้เป็นทางสำหรับ เดินคนเดียว ขอเชิญมหาบพิตรเสด็จไปยังป่าอัน สะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น.
[๑๔๗] โสณมหาฤๅษีครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้พร่ำสอนกษัตริย์ทั้งหลาย ณ กลางหาว แล้วรีบหลีกไป ยังสระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรมแต่งตั้งอาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาแจ้งให้ดาบสผู้เป็น บิดาทราบว่า ข้าแต่ท่านมหาฤๅษี พระราชาทั้งหลายผู้ อภิชาตเรืองยศเหล่านี้เสด็จมาหา ขอเชิญบิดาออกไป นั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤๅษีได้ฟังคำของโสณบัณฑิต นั้นแล้ว รีบออกจากอาศรมมานั่งอยู่ที่ประตูของตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 276
[๑๔๘] โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น ซึ่งมีหมู่กษัตริย์ห้อมล้อมเป็นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรือง ด้วยเดช เสด็จมาอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก ยังพระราชา ผู้เป็นจอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดำเนินไปแล้วข้างหน้าของใคร หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนา มีสีดุจสายฟ้า ใครกำลังหนุ่มแน่น ผูกสอดด้วยกำลูกศร รุ่งเรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่ อนึ่ง หน้าของใครงามผุดผ่อง ดุจทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิง ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมาอยู่ ฉัตรพร้อมด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกั้นแสงอาทิตย์ อันบุคคลกางแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ ชนทั้งหลายถือพลัดวาลวีชนีเครื่องสูง เดินเคียงองค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดยคอช้างเศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศ เป็นอนุยนต์เดินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอ รุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า เดินแวดล้อมตามอยู่ โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริกำลังเดินมา อยู่ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุดดุจคลื่นใน มหาสมุทร กำลังห้อมล้อมตามหลังใครมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 277
[๑๔๙] กษัตริย์ที่กำลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้ามโนชราชาธิราชเป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส กำลังมาสู่อาศรมอันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นใน มหาสมุทร กำลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.
[๑๕๐] พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคองอัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤๅษีทั้งหลาย.
[๑๕๑] พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคพาธดอกหรือ พระคุณเจ้าสุขสำราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร แลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.
[๑๕๒] ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลาย ไม่มีโรคาพาธ มีความสุขสำราญดี เยียวยาอัตภาพ ได้สะดวกด้วยการแสวงหามูลผลาหาร ทั้งมูลมันผลไม้ ก็มีมาก เหลือบ ยุงและสัตว์เลื้อยคลานมีน้อย ในป่า อันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤคไม่มีมาเบียดเบียนอาตมภาพ เมื่ออาตมภาพได้อยู่ในอาศรมนี้หลายปี มาแล้ว อาตมภาพไม่รู้สึกอาพาธอันไม่เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 278
เกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เสด็จมาถึงแล้ว ขอจงตรัสบอกสิ่งที่ทรงชอบพระหฤทัย ซึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้เถิด ขอเชิญมหาบพิตรเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้ มีรสหวานน้อยๆ เชิญเลือกเสวยแต่ผลที่ดีๆ เถิด น้ำนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญมหาบพิตรดื่มเถิด ถ้าพระองค์ทรงปรารถนา.
[๑๕๓] สิ่งใดที่พระคุณเจ้าให้ ข้าพเจ้าขอรับสิ่งนั้น พระคุณเจ้ากระทำให้ถึงแก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ขอพระคุณเจ้าจงเงี่ยโสตสดับคำของนันทดาบสที่ท่านจะกล่าวนั้นเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของนันทดาบส มาแล้วสู่สำนักของพระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าโปรดสดับคำของข้าพเจ้า ของนันทดาบสและของบริษัทเถิด.
[๑๕๔] ชาวชนบทร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาล ประมาณเท่านั้น กษัตริย์อภิชาตผู้เรืองยศทั้งหมดนี้ และพระเจ้ามโนชะผู้เจริญ จงเข้าใจคำของข้าพเจ้า ยักษ์ทั้งหลายภูตและเทวดาทั้งหลายในป่า เหล่าใดซึ่งมาประชุมกันอยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอกระทำความนอบน้อมแก่เทวดาทั้งหลายแล้วจักกล่าวกะฤๅษีผู้มีวัตรอันงาม ข้าพเจ้านั้น ชาวโลกสมมติแล้วว่าเป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 279
จึงนับว่าเป็นแขนขวาของท่าน ข้าแต่ท่านโกสิยะผู้มีความเพียร เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ประสงค์จะเลี้ยงดูมารดา บิดาของข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ ขอท่านอย่าได้ห้ามข้าพเจ้าเสียเลย จริงอยู่ การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ขอท่านจงอนุญาตการบำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้กระทำกุศลมาแล้วสิ้นกาลนาน ด้วยการลุกขึ้นทำกิจวัตรและการบีบ นวด บัดนี้ข้าพเจ้าปรารถนาจะทำบุญในมารดาและ บิดา ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าแต่พระฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในบริษัทนี้ ทราบบทแห่งธรรมในธรรมว่าเป็นทางแห่งโลกสวรรค์ เหมือนดังท่านทราบ ฉะนั้น การบำรุงมารดาบิดาด้วยการ อุปัฏฐากและการบีบนวดชื่อว่านำความสุขมาให้ ท่านห้ามข้าพเจ้าจากบุญนั้น ชื่อว่าเป็นอันห้ามทางอันประเสริฐ.
[๑๕๕] ขอมหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย ผู้เป็นบริษัทของนันทะ จงสดับถ้อยคำของอาตมภาพ ผู้ใดยังวงศ์ตระกูลแต่เก่าก่อนให้เสื่อม ไม่ประพฤติธรรม ในบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก ดูก่อน ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดใน ธรรมอันเป็นของเก่า และถึงพร้อมด้วยจารีต ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 280
พี่สาวน้องสาว ญาติและเผ่าพันธุ์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นภาระของพี่ชายใหญ่ ขอพระองค์ทรงทราบ อย่างนี้เถิด มหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมทัพ ก็อาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่ จึงต้องรับภาระอันหนัก ทั้งสามารถจะปฏิบัติท่านเหล่านั้นได้ เหมือนนายเรือ รับภาระอันหนัก สามารถจะนำเรือไปได้โดยสวัสดีฉะนั้น เหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ละลืมธรรม.
[๑๕๖] ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ไปแล้วในความมืด วันนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดความรู้ขึ้นแล้ว ท่านโกสิยฤๅษีได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนส่องแสงอันรุ่งเรืองจากไฟ ฉะนั้น พระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าแห่งแสง มีรัศมีเจิดจ้า เมื่ออุทัย ย่อมแสดงรูปดีและรูปชั่ว ให้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านโกสิยฤๅษีก็ แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๑๕๗] ถ้าพี่จะไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้าผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าจักดำเนินไปตามถ้อยคำของ พี่จักบำรุงบำเรอพี่ผู้อยู่ด้วยความไม่เกียจคร้าน.
[๑๕๘] ดูก่อนนันทะ เธอรู้แจ้งสัทธรรมที่สัตบุรุษทั้งหลายแสดงแล้วเป็นแน่ เธอเป็นคนงาม มีมารยาทอันงดงาม พี่ชอบใจเป็นยิ่งนัก พี่จะกล่าวกะ มารดาบิดาว่า ขอท่านทั้งสองจงฟังคำของข้าพเจ้า ภาระนี้หาใช่เป็นภาระเพียงชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 281
ไม่ การบำรุงที่ข้าพเจ้าบำรุงแล้วนี้ ย่อมนำความสุขมาให้แก่มารดาบิดาได้ แต่นันทะย่อมกระทำการ ขอร้องอ้อนวอนเพื่อบำรุงท่านทั้งสองบ้าง บรรดาท่านทั้งสองผู้สงบระงับ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หากว่าท่านใดปรารถนา ข้าพเจ้าจะบอกกะท่านนั้น ขอให้ ท่านทั้งสองผู้หนึ่งจงเลือกนันทะตามความปรารถนาเถิด นันทะจะบำรุงใครในท่านทั้งสอง.
[๑๕๙] ดูก่อนพ่อโสณะ เราทั้งสองคนอาศัยเจ้าอยู่ ถ้าเจ้าอนุญาต แม่ก็จะพึงได้จุมพิตลูกนันทะผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่ศีรษะ.
[๑๖๐] ใบอ่อนของต้นอัสสัตถพฤกษ์ เมื่อลมรำเพยพัดต้องแล้ว ย่อมหวั่นไหวไปมาฉันใด หัวใจของแม่ก็หวั่นไหว เพราะนานๆ จึงได้เห็นลูกนันทะฉันนั้น เมื่อใด เมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นลูกนันทะมา แม่ก็ดีใจอย่างล้นเหลือว่าลูกนันทะของแม่นี้มาแล้ว แต่เมื่อใด ครั้นแม่ตื่นขึ้นแล้ว ไม่ได้เห็นลูกนันทะของแม่มา ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อย ก็ทับถมยิ่งนัก วันนี้ แม่ได้เห็นลูกนันทะผู้จากไปนาน กลับมาแล้ว ขอลูกนันทะจงเป็นที่รักของบิดาเจ้าและของแม่เอง ขอลูกนันทะจงเข้าไปสู่เรือนของเราเถิด ดูก่อนพ่อโสณะ ลูกนันทะเป็นที่แสนรักของบิดา ลูกนันทะยังไม่ได้เข้าไปสู่เรือนใด ขอให้ลูกนันทะจงได้เรือนนั้น ขอลูกนันทะจงบำรุงแม่เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 282
[๑๖๑] ดูก่อนฤาษี มารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ เป็นที่พึ่งและเป็นผู้ให้ขีรรสแก่เราก่อน เป็นทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า มารดาเป็นผู้ให้ขีรรสก่อน เป็นผู้เลี้ยงดูเรามา เป็นผู้ชักชวนเราในบุญกุศล เป็นทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า.
[๑๖๒] มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้น มารดาจึงแพ้ท้อง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า เป็นผู้มีใจดี มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้ว จึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยันตี และชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตร ผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียก มารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดา และทรัพย์ของบิดา เพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 283
ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้ซิลูก อย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดู บุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้.
บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความรื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 284
ตามสมควรในที่นั้นๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น ถ้าว่า สังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือ บิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุ แห่งบุตร ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึง สรรเสริญ มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่า เป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร เพราะ เหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและ สักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
จบโสณนันทชาดกที่ ๒
จบสัตตตินิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 285
อรรถกถาโสณนันทชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เทวตา นุสิ ดังนี้.
เนื้อเรื่องของชาดกนี้ คล้ายกับเรื่องในสุวรรณสามชาดกทีเดียว.
ก็ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธออย่าติเตียน ภิกษุรูปนี้เลย บัณฑิตแต่ปางก่อนทั้งหลาย แม้ได้ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ยังไม่ยอมรับเอาราชสมบัตินั้น ย่อมเลี้ยงแต่มารดาบิดาถ่ายเดียว แล้วทรงนำอตีตนิทานมา ตรัสว่า
ในอดีตกาล กรุงพาราณสี ได้เป็นพระนครที่มีชื่อว่า พรหมวัธน์. พระราชาทรงมีพระนามว่า มโนชะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครนั้น. มีพราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐. โกฏิ แต่หาบุตรมิได้ อาศัยอยู่ในพระนครนั้น. นางพราหมณีผู้เป็นภริยาของพราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์ผู้สามีนั้นกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจงปรารถนาบุตรเถิด ดังนี้ ก็ได้ปรารถนาแล้ว. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เสด็จจุติจากพรหมโลก ทรงถือปฏิสนธิ ในครรภ์ของนางพราหมณีนั้น. เมื่อกุมารนั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาจึงตั้งชื่อว่า โสณกุมาร ในกาลเมื่อโสณกุมารนั้นเดินได้ แม้สัตว์อื่น ก็จุติจากพรหมโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีนั้นอีก มารดาบิดาตั้งชื่อกุมารนั้นว่า นันทกุมาร เมื่อกุมารทั้ง ๒ คนนั้นเรียนพระเวท จนจบการศึกษาศิลปศาสตร์ ทั้งหมดแล้ว พราหมณ์ผู้บิดามองเห็นรูปสมบัติอันเจริญวัย จึงเรียกนางพราหมณีมา แล้วพูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ เราจักผูกพันโสณกุมารลูกชายของเราไว้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 286
เครื่องผูกคือเรือน นางรับว่า ดีละ แล้วบอกเนื้อความนั้นแก่บุตรให้ทราบ. โสณกุมารนั้น จึงพูดว่า อย่าเลยแม่ เรื่องการอยู่ครองเรือนสำหรับฉัน ฉันจะปฏิบัติคุณพ่อและคุณแม่จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ล่วงไปแล้ว ก็จะเข้าป่าหิมพานต์บวช. นางพราหมณี จึงบอกเนื้อความนั้นแก่พราหมณ์ ให้ทราบ. คนทั้ง ๒ คนนั้น แม้กล่าวอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ได้ความยินยอมพร้อมใจ จากโสณกุมารนั้น จึงเรียกนันทกุมารมาแล้วพูดว่า ลูกเอ๋ย ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงครอบครองทรัพย์สมบัติเถิด เมื่อนันทกุมารพูดว่า ฉันจะยื่นศีรษะออกไปรับก้อนเขฬะ ที่พี่ชายถ่มทิ้งแล้วไม่ได้แน่ ก็ตัวฉันเองเมื่อพ่อแม่ถึงแก่กรรมแล้ว ก็จะออกบวชพร้อมกับพี่ชายเหมือนกัน ฟังคำของลูกชายทั้งสองคนนั้นแล้ว จึงพากันคิดว่า ลูกชายทั้งสองคนนี้กำลังหนุ่มอยู่อย่างนี้ ก็ยังละกามารมณ์ทั้งหลายเสียได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราทั้งสองคนเล่า พวกเราพากันบวชเสียให้หมดเถิด จึงพูดกะบุตรทั้งสองคนว่า ลูกเอ๋ย เมื่อแม่และพ่อหาชีวิตไม่แล้ว การบวชของเจ้าทั้ง ๒ จะมีประโยชน์อะไร เราทั้งหมดจักออกบวชพร้อมกันเสียในบัดนี้เถิด แล้วกราบทูลแด่พระราชา สละทรัพย์ทั้งหมดลงในทางทาน กระทำชนผู้เป็นทาสให้เป็นไท ให้ส่งของที่สมควรให้แก่หมู่ญาติ พร้อมกันทั้ง ๔ คนด้วยกัน ออกจากนครพรหมวัธน์ สร้างอาศรมอยู่ในชัฏป่าอันน่ารื่นรมย์ใจ อาศัยสระอันดารดาษไปด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ ในหิมวันตประเทศ แล้วบรรพชาอาศัยอยู่ในอาศรมนั้น. แม้พระโสณะและพระนันทะ ทั้ง ๒ นั้น ก็ช่วยกันปฏิบัติมารดาบิดา ตื่นเช้าก็จัดไม้สำหรับชำระฟันและน้ำ ล้างหน้าให้แก่ท่านทั้ง ๒ แล้วไปกวาดบรรณศาลาและบริเวณอาศรม ตั้งน้ำฉัน ไว้เสร็จแล้ว พากันไปเลือกผลไม้น้อยใหญ่ ซึ่งมีรสอันอร่อยมาจากป่า นำมา ให้มารดาบิดาได้บริโภค ถึงยามร้อนก็หาน้ำเย็นมาให้อาบ คอยชำระสะสาง มวยผมให้สะอาด กระทำการบีบนวดเป็นต้น แก่มารดาบิดาทั้งสองคนนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 287
ด้วยการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ เวลาล่วงไปนาน คราวหนึ่ง นันทบัณฑิต ดำริว่า เราจะให้มารดาบิดาได้บริโภคผลไม้น้อยใหญ่ที่เราหามาได้ก่อน. เธอจึงรีบไปล่วงหน้าพี่ชายแต่เช้าตรู่ หาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ เท่าที่พอจะหาได้ มาจากที่ที่ตนเคยเก็บเมื่อวานบ้าง วานซืนบ้าง แล้วรีบนำมาให้มารดาบิดา บริโภคก่อน. มารดาบิดาบริโภคผลไม้แล้ว บ้วนปากสมาทานอุโบสถ. ส่วนโสณบัณฑิตไปยังที่ไกลๆ เลือกหาผลไม้น้อยใหญ่ ที่มีรสอันอร่อยกำลังสุกงอมดี แล้วนำเข้าไปให้. ลำดับนั้น มารดาบิดาจึงกล่าวกะโสณบัณฑิตนั้นว่า ลูกเอ๋ย เราได้บริโภคผลไม้ที่น้องชายของเจ้าหามาให้เรียบร้อยแล้วแต่เช้าตรู่ (เดี๋ยวนี้) สมาทานอุโบสถแล้ว บัดนี้เราไม่มีความต้องการ. ผลไม้ดีๆ ของโสณดาบสนั้น ไม่มีใครได้บริโภคเลย ก็จะเน่าเสียไปด้วยประการฉะนี้. แม้ในวันต่อๆ มา ก็เป็นเช่นนั้นอีกเหมือนกัน. พระโสณดาบสนั้น สามารถจะไปยังสถานที่ไกลๆ แล้วนำผลไม้มาได้ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านได้อภิญญา ๕ ประการ. แต่ มารดาบิดา ก็มิได้บริโภค. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงคิดว่า มารดาบิดาของเราเป็นสุขุมาลชาติ น้องนันทะไปหาผลไม้ลูกเล็กลูกใหญ่ดิบบ้างสุกบ้าง มาให้ท่านบริโภค เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งสองนี้ ก็จะไม่เป็นอยู่เช่นนี้ได้ตลอดกาลนาน เราจักห้ามเธอเสีย. ลำดับนั้น โสณบัณฑิต จึงเรียกน้องชายนั้นมา แล้วบอกว่า ดูก่อนน้อง จำเดิมแต่นี้ไปเมื่อน้องหาผลไม้มาได้แล้ว จงรอให้พี่กลับมาเสียก่อน เราทั้งสองคนจักให้มารดาบิดาบริโภคพร้อมๆ กัน. แม้เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระนันทะ ก็มุ่งหวังแต่ความดีของตนอย่างเดียว จึงมิได้กระทำตามคำของพี่ชาย. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์คิดว่า น้องนันทะ ไม่กระทำตามคำของเรา กระทำหน้าที่อันไม่สมควร จะต้องขับไล่เธอไปเสีย แต่นั้น เราผู้เดียวเท่านั้นจะปฏิบัติมารดาบิดา จึงดีดนิ้วมือขู่ขับนันทดาบสด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 288
วาจาว่า ดูก่อนนันทะ เจ้าเป็นคนที่ไม่อยู่ในถ้อยคำ ไม่กระทำตามคำของบัณฑิตทั้งหลาย เราเป็นพี่ชายของเจ้า มารดาบิดาจงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราผู้เดียว เราผู้เดียวเท่านั้นจักปฏิบัติมารดาบิดา เจ้าจักไม่ได้เพื่อจะอยู่ในที่นี้ จงไปในที่อื่น. นันทบัณฑิตนั้น ถูกพระโสณบัณฑิตพี่ชายนั้นขับไล่ ไม่อาจจะอยู่ในสำนักของพี่ชายได้ จึงไหว้พี่ชายแล้วเข้าไปหามารดาบิดา. เล่าความนั้นให้ฟัง ไหว้มารดาบิดาแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลาของตน เพ่งดูกสิณเป็นอารมณ์ ในวันนั้นนั่นเอง ก็ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้แล้ว คิดว่า เราจะนำทรายแก้วมาแต่เชิงเขาสิเนรุ โปรยลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ แม้การกระทำอย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราก็จะไปนำน้ำมาจากสระอโนดาต รดลงในบริเวณบรรณศาลาแห่งพี่ชายของเรา ก็จะพอยังพี่ชายให้อภัยโทษเราได้ แม้อย่างนี้ ก็จักยังไม่งดงาม ถ้าเราพึงทำพี่ชายของเราให้อภัยโทษเราได้ ด้วยอำนาจเทวดาทั้งหลาย เราก็จะนำท้าวมหาราชทั้ง ๔ และท้าวสักกะมาก็พอจะยังพี่ชายให้อภัยโทษได้ แม้อย่างนี้จักยังไม่งดงาม เราจักไปนำพระราชาทั้งหลาย มีพระเจ้ามโนชะผู้เป็นพระราชาล้ำเลิศ ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้ไปเป็นประธาน ก็พอจะให้พี่ชายอภัยโทษเราได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คุณงามความดีแห่งพี่ชายของเรา ก็จะแผ่ตลบทั่วไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น จักปรากฏประดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
ขณะนั้น พระนันทดาบสนั้น ก็เหาะไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์ของพระราชานั้น ในพรหมวัธนนคร สั่งให้ราชบุรุษ กราบทูลแด่พระราชาว่า ได้ยินว่า พระดาบสองค์หนึ่ง ต้องการจะเข้าเฝ้าพระองค์. พระราชาทรงดำริว่า เราเห็นบรรพชิตจะได้ประโยชน์อะไร ชะรอยว่าบรรพชิตรูปนั้น คงจักมาเพื่อต้องการอาหารเป็นแน่ จึงจัดส่งภัตตาหารไปถวาย. พระดาบส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 289
ไม่ปรารถนาภัตร. พระองค์จึงทรงส่งข้าวสารไปถวายพระดาบสนั้น ก็มิได้ ปรารถนาข้าวสาร. จึงทรงส่งผ้าไปถวาย พระดาบสก็มิได้รับผ้า. จึงทรงส่ง หมากพลูไปถวาย. พระดาบสนั้น ก็มิได้รับหมากพลู. ลำดับนั้น พระองค์ จึงทรงส่งทูตไปยังสำนักของพระดาบสนั้นว่า พระผู้เป็นเจ้ามาแล้ว เพื่อประสงค์อะไรกัน พระดาบสเมื่อถูกทูตถามจึงบอกว่า เรามาเพื่อบำรุงพระราชา. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า พวกคนอุปัฏฐากของเรา มีอยู่มากมายแล้ว ท่านดาบสจงบำเพ็ญหน้าที่ดาบสของตนเถิด. พระดาบสฟัง คำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เราจักถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยกำลังของเราแล้ว ถวายแก่พระราชาของท่านทั้งหลาย. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นบัณฑิต คงจักทราบอุบายอะไรบ้างกระมัง จึงรับสั่งให้นิมนต์พระดาบสนั้นเข้ามา ให้นั่งบนอาสนะ ทรงไหว้แล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ได้ยินว่า พระผู้เป็นเจ้า จะถือเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยกให้แก่ข้าพเจ้าหรือ. พระดาบสทูลว่า เป็นเช่นนั้นมหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจักถือเอาได้อย่างไร. พระดาบสทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจะมิต้องให้โลหิต แม้มาตรว่าแมลงวันตัวน้อย ดื่มกินได้ โดยกำหนดอย่างต่ำให้บังเกิดขึ้นแก่ใครๆ เลย ทั้งไม่กระทำความสิ้นเปลืองแห่งพระราชทรัพย์ของพระองค์ด้วย จักถือเอาด้วยฤทธิ์ของอาตมภาพแล้ว ยกถวายแด่พระองค์ ก็แต่ว่า ไม่ควรจะกระทำความชักช้าอย่างเดียว รีบเสด็จออกเสียในวันนี้แหละ. พระราชาทรง เชื่อถ้อยคำของนันทดาบสนั้น แวดล้อมไปด้วยหมู่เสนางคนิกร เสด็จออกจากพระนคร ผิว่าความร้อนเกิดขึ้นแก่หมู่เสนา นันทบัณฑิตก็เนรมิต ให้มีเงา กระทำให้ร่มเย็นด้วยฤทธิ์ของตน เมื่อฝนตก ก็มิได้ตกลงในเบื้องบนหมู่เสนา ห้ามความร้อนและความหนาวเสียได้ บันดาลให้อันตรายทั้งหมดเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 290
ขวากหนาม และตอไม้ในระหว่างทาง ให้อันตรธานสูญหายไปหมด กระทำหนทางให้ราบเรียบดุจมณฑลแห่งกสิณ แม้ตนเองปูแผ่นหนังนั่งบนบัลลังก์ มีหมู่เสนาแวดล้อม แล้วเหาะลอยไปในอากาศ.
พระนันทบัณฑิตนั้น พาหมู่เสนาไปด้วยอาการอย่างนี้ ลุถึงแคว้นโกศลเป็นครั้งแรก จึงสั่งให้หยุดกองทัพตั้งค่ายไม่ไกลเมือง แล้วส่งทูตเข้าไป ทูลพระเจ้าโกศลราชว่า จะให้การยุทธ์แก่พวกเรา หรือว่าจะให้เศวตฉัตร. พระเจ้าโกศลราชนั้น ได้ทรงสดับถ้อยคำของทูตก็ทรงพิโรธตรัสว่า เราไม่ใชพระราชาหรืออย่างไร เราจะให้การรบ ทรงกระทำเสนาข้างหน้าเสด็จยกพลออกไป. เสนาทั้งสองฝ่ายเริ่มจะรบกัน. ลำดับนั้น นันทบัณฑิตจึงเนรมิต หนังเสือเหลือง ซึ่งเป็นอาสนะที่นั่งของตนให้ใหญ่โต ขึงไว้ในระหว่างกองทัพ ทั้ง ๒ แล้วคอยรับลูกศรที่พวกเสนาทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างยิงกันไปมาด้วยแผ่นหนัง นั้นทีเดียว. เสนาแม้สักคนหนึ่ง ใครๆ ที่ชื่อว่าถูกลูกศรแทงแล้ว ไม่ได้มีเลย. กองทัพแม้ทั้ง ๒ นั้น ก็หมดความอุตสาหะ ลงยืนเฉยอยู่ เพราะลูกศรที่อยู่ ในมือหมดด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย. นันทบัณฑิตจึงไปยังสำนักของพระเจ้ามโนชราช ทูลปลอบเอาพระทัยว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร แล้วไปยังสำนักของพระเจ้าโกศลราชทูลว่า พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย มหาบพิตร อันตรายจักไม่มีแก่พระองค์ ราชสมบัติของพระองค์ก็จักคงยังเป็นของพระองค์ อยู่ทีเดียว ขอให้พระองค์ทรงอ่อนน้อมแก่พระเจ้ามโนชราชอย่างเดียวเท่านั้น. พระเจ้าโกศลราชทรงเชื่อนันทบัณฑิตนั้น ก็ทรงรับว่าดีละ ดังนี้. ลำดับนั้น นันทบัณฑิตจึงนำเสด็จท้าวเธอไปยังสำนักของพระเจ้ามโนชราช แล้วทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าโกศลราชทรงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ แต่ขอให้ ราชสมบัติของพระเจ้าโกศลราชนี้ จงยังคงเป็นของท้าวเธออยู่ตามเดิมเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 291
พระเจ้ามโนชราชทรงรับว่าดีละ ทรงกระทำพระเจ้าโกศลราชพระองค์นั้น ให้อยู่ในอำนาจของพระองค์แล้ว ยกพลเสนาทั้ง ๒ กองทัพเสด็จไปยังแคว้นอังคะ ได้แคว้นอังคะแล้ว ต่อจากนั้น ก็ไปยังแคว้นมคธ ได้แคว้นมคธ โดยอุบายอย่างนี้ ทรงกระทำพระราชาทั้งหลาย ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ตกอยู่ในอำนาจของพระองค์ได้ทั้งหมด แต่นั้น ก็เป็นผู้มีพระราชาเหล่านั้นเป็นบริวาร เสด็จ ไปยังพรหมวัธนนครทีเดียว. ก็พระเจ้ามโนชราชนี้ ทรงถือเอาราชสมบัติอยู่ ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันจึงเสร็จเรียบร้อย. พระเจ้ามโนชราชนั้น รับสั่งให้ พระราชาเหล่านั้นนำของเคี้ยวและของบริโภคมีประการต่างๆ จากราชธานีของคนทุกๆ พระนคร ทรงพาพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์เหล่านั้น ชวนกันดื่ม เครื่องดื่มเป็นการใหญ่กับพระราชาเหล่านั้นตลอดถึง ๗ วัน.
นันทบัณฑิตดาบสคิดว่า พระราชายังเสวยความสุขที่เกิดแต่ความเป็นใหญ่อยู่ตราบใด เราจักไม่แสดงตนแก่ท้าวเธอตราบนั้น จึงเที่ยวไปบิณฑบาต ในอุตตรกุรุทวีปแล้ว ไปอยู่ที่ปากถ้ำทองในหิมวันตประเทศ ๗ วัน. แม้พระเจ้ามโนชราช ในวันที่ ๗ ทรงแลดูสิริราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ก็ทรงระลึกถึงนันทบัณฑิตดาบสว่า อิสริยยศทั้งหมดนี้ มารดาบิดาของเรามิได้ให้ ชนเหล่าอื่นก็มิได้ให้แก่เรา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยนันทบัณฑิตดาบส ก็เราไม่ได้เห็นท่านเลยถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว บัดนี้ท่านผู้ให้อิสริยยศแก่เรา อยู่ที่ไหนหนอ. นันทบัณฑิตนั้นได้ทราบว่า ท้าวเธอระลึกถึงตน จึงเหาะมา ยืนอยู่บนอากาศตรงพระพักตร์พระราชา. พระราชานั้นทอดพระเนตรเห็น นันทดาบสมายืนอยู่ จึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า เรายังไม่ทราบว่า พระดาบส นี้จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็ถ้าเธอเป็นมนุษย์ เราจักยกราชสมบัติในชมพูทวีป ทั้งหมดให้แก่เธอทีเดียว ถ้าเธอเป็นเทวดา เราจักกระทำเครื่องสักการะสำหรับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 292
เทวดาแก่เธอ. พระราชาพระองค์นั้น เมื่อจะทรงสอบถามนันทบัณฑิตนั้นให้ ทราบชัด จึงตรัสพระคาถาเป็นปฐมว่า
พระผู้เป็นเจ้าเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ เป็นท้าว สักกปุรินททะ หรือว่าเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะรู้จักพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร.
นันทดาบสนั้นสดับคำของพระราชานั้นแล้ว เมื่อจะทูลบอกตามความ จริง จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
อาตมภาพไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ อาตมภาพเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนภารถะ มหาบพิตร จงทราบอย่างนี้เถิด.
นันทบัณฑิตเรียกพระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้ว่า ภารถะ ดังนี้ ในคาถานั้น เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งภาระของรัฐ.
พระราชาทรงได้สดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า ได้ยินว่า พระดาบส นี้เป็นมนุษย์ เธอมีอุปการะมากถึงเพียงนี้แก่เรา เราจักให้เธออิ่มหนำด้วย อิสริยยศ จึงตรัสว่า
ความช่วยเหลืออันมิใช่น้อยนี้ เป็นกิจที่พระผู้เป็นเจ้ากระทำแล้ว คือ เมื่อฝนตกพระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำไม่ให้มีฝน แต่นั้น เมื่อลมจัดและแดดร้อน พระผู้เป็นเจ้าก็ได้ทำให้มีเงาบังร่มเย็น แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำการป้องกันลูกศร ในท่ามกลางแห่งศัตรู แต่นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ทำบ้านเมืองอันรุ่งเรืองและ และชาวเมืองเหล่านั้นให้ตกอยู่ในอำนาจ ของข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 293
แต่นั้นพระผู้เป็นเจ้าได้ทำกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ให้เป็นผู้ติดตามของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอขอบคุณพระผู้เป็นเจ้ายิ่งนัก พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้จิตชื่นชม คือ ยานอันเทียมด้วยช้าง รถอันเทียมด้วยม้า และสาวน้อยทั้งหลายที่ประดับประดาแล้ว หรือรมณียสถานอันเป็นที่อยู่อาศัย อันใด ขอพระผู้เป็นเจ้า จงเลือกเอาสิ่งนั้นตามประสงค์เถิด ข้าพเจ้าขอถวายแก่ พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาแคว้น อังคะหรือแคว้นมคธ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า หรือว่าพระผู้เป็นเจ้าปรารถนาแคว้นอัสสกะ หรือ แคว้นอวันตี ข้าพเจ้าก็มีใจยินดีขอถวายแคว้นเหล่านั้น ให้แก่พระผู้เป็นเจ้า หรือแม้พระผู้เป็นเจ้าปรารถนา ราชสมบัติกึ่งหนึ่งไซร้ ข้าพเจ้าก็ขอถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระคุณเจ้ามีความต้องการด้วยราชสมบัติทั้งหมด ข้าพเจ้าก็ขอถวาย พระคุณเจ้าปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าบอกมาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตรูปมิทํ (นี้ เป็นกิจที่พระผู้เป็นเจ้ากระทำแล้ว) ได้แก่ มีสภาพอันพระคุณเจ้า กระทำแล้ว. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ (ความช่วยเหลือ) ได้แก่ การงานที่ช่วยเหลือกันทางกาย. บทว่า อโนวสฺสํ (ทำไม่ให้มีฝน) ได้แก่ มิให้ฝนตก. อธิบายว่า พระคุณเจ้าได้กระทำโดย ประการที่ฝนจะไม่ตกลงมา. บทว่า สีตจฺฉายํ (มีเงาบังร่มเย็น) ได้แก่ มีเงาอันร่มเย็น. บทว่า วสิโน เต (ได้ทำ..ชาวเมืองเหล่านั้นให้ตกอยู่ในอำนาจ) ได้แก่ พระคุณเจ้าได้กระทำประชาชนชาวแคว้นเหล่านั้น ให้อยู่ในอำนาจของข้าพเจ้า. บทว่า ขตฺเย (กษัตริย์) ได้แก่ กษัตริย์ทั้งหลาย. แม้ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 294
อรรถกถาท่านก็กล่าวไว้อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ปติตาสฺสุ มยํ (ข้าพเจ้าขอขอบคุณ) ได้แก่ ข้าพเจ้ายินดียิ่งนัก. บทว่า วร ตํ ภุญฺชมิจฺฉสิ (พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งที่จะให้จิตชื่นชม) ความว่า คำว่า ภุญชะนี้ เป็นชื่อของรัตนะ (สิ่งที่ทำให้เกิดความยินดี) อธิบายว่า ข้าพเจ้าจะให้พรแก่ท่าน ท่านปรารถนารัตนะอันใด ท่านจงเลือกเอารัตนะอันนั้นเถิด. พระราชาทรงแสดงรัตนะนั้น โดยรวบยอดด้วย คำว่า หตฺถิยานํ (ยานอันเทียมด้วยช้าง) ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อสฺสกาวนฺตี (แคว้นอัสสกะหรือแคว้นอวันตี) ได้แก่ แคว้นอัสสกะ หรือแคว้นอวันตี. ด้วยบทว่า รชฺเชน (ด้วยราชสมบัติทั้งหมด) นี้ พระราชาทรงแสดงว่า ถ้าแม้พระคุณเจ้ามีความปรารถนาราชสมบัติ ในชมพูทวีปทั้งหมด ข้าพเจ้าก็จะให้ราชสมบัตินั้นแก่พระคุณเจ้า แล้วจักมี มือถือโล่และอาวุธ วิ่งไปข้างหน้ารถของพระคุณเจ้า ดังนี้. บทว่า ยทิจฺฉสิ (ปรารถนาสิ่งใด) ความว่า พระคุณเจ้าปรารถนาสิ่งใด ทุกอย่างที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วเหล่านี้ ก็จงบอกคือจงสั่งสิ่งนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.
นันทบัณฑิตดาบส ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว เมื่อจะชี้แจงความ ประสงค์ของตนให้แจ่มแจ้ง จึงทูลว่า
อาตมภาพ ไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ บ้านเมือง ทรัพย์ หรือแม้ชนบท อาตมภาพไม่มีความ ต้องการเลย.
นันทบัณฑิตทูลต่อไปว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์มีความรักในอาตมภาพ ขอได้ทรงกระทำตามคำของอาตมาภาพสักอย่างหนึ่ง แล้วทูล เป็นคาถาว่า
ในแว่นแคว้นอาณาเขตของมหาบพิตร มีอาศรมอยู่ในป่า มารดาและบิดาทั้งสองท่านของอาตมภาพ อยู่ในอาศรมนั้น อาตมภาพอยู่ในอาศรมนั้น อาตม-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 295
ภาพไม่ได้เพื่อทำบุญในท่านทั้งสอง ผู้เป็นบุรพาจารย์นั้น อาตมภาพขอเชิญมหาบพิตร ผู้ประเสริฐยิ่งไป ขอขมาโทษโสณดาบส เพื่อสังวรต่อไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รฏฺเ (ในแว่นแคว้น) ได้แก่ ในความเป็นพระราชา. บทว่า วิชิเต (อณาเขต) ได้แก่ สถานที่ที่พระองค์แผ่ราชอาญาไป. บทว่า อสฺสโม (อาศรม) ได้แก่ ในป่าแห่งหิมวันตประเทศนั้น มีอาศรมอยู่แห่งหนึ่ง. บทว่า สมฺมนฺติ (อยู่) ได้แก่ อยู่ในอาศรมนั้น. บทว่า เตสาหํ ตัดบทเป็น เตสุ อหํ แปลว่า อาตมภาพมิได้กระทำบุญในบุรพาจารย์ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า กาตเว (เพื่อทำ) ความว่า อาตมาภาพไม่ได้กระทำบุญ กล่าวคือวัตรปฏิบัติและการนำผลไม้น้อยใหญ่มา เพราะว่าพี่ชายของอาตมภาพชื่อโสณบัณฑิต ได้ขับไล่อาตมภาพ เพราะความผิดอย่างหนึ่งของอาตมภาพว่า เจ้าจงอย่าอยู่ในที่นี้เลย. บทว่า อชฺฌาวรํ (ขอขมาโทษ) ความว่า อาตมภาพจะขออัญเชิญพระองค์ผู้ประเสริฐยิ่ง พร้อมด้วยบริวาร เสด็จไปขอขมาโทษโสณบัณฑิต คือ อาตมภาพจะขอสำรวมต่อไป. บาลีว่า ยาเจมิ มํ วรํ แปลว่า อาตมภาพจะขอพรอันนี้ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า อาตมภาพจะไปอ้อนวอนพระโสณะให้ยกโทษพร้อมกับพระองค์ คือ อาตมภาพ จะรับเอาพรอันนี้จากสำนักของพระองค์.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทดาบสนั้นว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าจะขอทำตามคำที่ พระคุณเจ้ากล่าวกะข้าพเจ้าทุกประการ ก็แต่ว่า บุคคล ผู้จะอ่อนวอนขอโทษมีประมาณเท่าใด ขอพระคุณเจ้า จงบอกบุคคลมีประมาณเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 296
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กโรมิ (จะขอทำ) ความว่า พระราชารับสั่งว่า ข้าพเจ้าจะให้ราชสมบัติในชนพูทวีปทั้งหมด จักมิได้กระทำกรรมอะไรมี ประมาณเพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าก็จะกระทำตามคำของท่าน. บทว่า กึวนฺโต (มีประมาณเท่าใด) ได้แก่ มีประมาณเท่าใด.
นันทบัณฑิตทูลว่า
ชาวชนบทมีประมาณหนึ่งร้อยเศษ พราหมณ์ มหาศาลก็เท่ากัน กษัตริย์ผู้เป็นอภิชาต ผู้เรืองยศเหล่า นี้ทั้งหมด ทั้งมหาบพิตรซึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้านโนชะ บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ ประมาณเท่านี้ ก็พอแล้ว ขอถวายพระพร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานปทา (ชาวชนบท) ได้แก่ คฤหบดีมหาศาล. บทว่า พฺราหฺมณา (พราหมณ์) ได้แก่ พราหมณ์ผู้จบพระเวทประมาณร้อยเศษเท่ากัน. บทว่า อลํ เหสฺสนฺติ (ประมาฌเท่านี้ก็พอแล้ว) ความว่า จักเป็นการเพียงพอแล้ว. บทว่า ยาจกา (บุคคลผู้จะอ้อนวอนขอโทษ) ได้แก่ บุคคลที่จะไปขอร้องให้โสณบัณฑิตยกโทษ เพื่อประโยชน์แก่อาตมภาพ.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนันทบัณฑิตนั้นว่า
เจ้าพนักงานทั้งหลาย จงเตรียมช้าง จงเตรียมม้า นายสารถี ท่านจงเตรียมรถ ท่านทั้งหลายจงถือเอา เครื่องผูก จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย เราจะไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยเชนฺตุ (จงเตรียม) ความว่า นายควาญช้างทั้งหลาย จงจัดเตรียมช้าง และนายควาญม้าทั้งหลาย จงจัดเตรียมม้า. บทว่า รถํ สนฺนยฺห สารถิ (นายสารถี ท่านจงเตรียมรถ) ความว่า ดูก่อนสารถีผู้เป็นสหาย แม้ตัวท่านก็จงผูกสอด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 297
รถนั้น. บทว่า อาพนฺธนานิ (เครื่งผูก) ความว่า ท่านทั้งหลาย จงถือเอาเครื่องที่ สำหรับจะผูกทั่วๆ ไป ในช้าง ม้าและรถทั้งหลาย. บทว่า ปาเทสุสฺสารยทฺธเช (จงยกธงชัยขึ้นที่คันธงทั้งหลาย) ความว่า จงยกคือให้ยกธงที่คันธงซึ่งตั้งอยู่บนรถ. บทว่า โกสิโย (โกสิยดาบส) ความว่า พระราชาตรัสว่า พระดาบสผู้โกสิยโคตร อยู่ในอาศรมใด ดังนี้.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ก็ลำดับนั้น พระราชาพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา ได้เสด็จไปยังอาศรมอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ โกสิยดาบส.
นี้เป็นคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเพิ่มเข้ามา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต จ (ก็ลำดับนั้น) ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น จึงทรงพากษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ แวดล้อมด้วยเสนาหมู่ใหญ่ ให้พระดาบสนันทบัณฑิตนำหน้า เสด็จออกจากพระนคร. บทว่า จตุรงฺคินี (พร้อมด้วยจตุรงคเสนา) ความว่า เสด็จไปยังอาศรมพร้อมด้วยจตุรงคเสนา. แม้กำลังเสด็จประทับอยู่ในระหว่างทาง ท่านก็กล่าวไว้อย่างนี้ เพราะจะต้องเสด็จไปอย่างแน่นอน นันทบัณฑิตดาบส เดินทางไปพร้อมด้วยหมู่พลเสนาประมาณได้ ๒๔ อักโขภิณี เนรมิตทางที่กว้างได้ ๘ อุสภะ ให้ราบเรียบ ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ แล้วลาดแผ่นหนังในอากาศทีเดียว นั่งขัดสมาธิบนแผ่นหนังนั้น มีเสนาแวดล้อมแล้ว กล่าวถ้อยคำอันประกอบด้วยธรรมะ กับพระราชาผู้ประทับนั่งบนคอช้าง ทำประทับแล้ว เสด็จไปด้วยกัน ห้ามเสียซึ่งอันตรายมีความเย็นและความร้อนเป็นต้น ได้ไปแล้ว.
ในวันเมื่อพระนันทดาบสนั้นมาถึงอาศรม โสณบัณฑิตดาบส รำพึงว่า น้องชายของเราออกไปเสียนานถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันแล้ว จึงเล็งแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 298
ดูด้วยทิพยจักษุญาณว่า บัดนี้เธอไปอยู่ที่ไหนหนอ ก็เห็นว่า น้องชายของเรา กำลังพาพระราชา ๑๐๑ พระองค์ พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๒๔ อักโขภิณีมา เพื่อจะให้เรายกโทษเป็นแน่แท้ จึงดำริต่อไปว่า กษัตริย์เหล่านั้น พร้อมทั้งบริษัทได้เห็นปาฏิหาริย์ของน้องชายเราเป็นอันมาก แต่ยังมิได้ทราบอานุภาพของเรา ก็จะพากันมาเจรจาข่มขู่ดูหมิ่นเราว่า ผู้นี้แหละเป็นชฏิลโกง ช่างไม่รู้จักประมาณตนเองเสียเลย จะมาต่อยุทธ์กับพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย ดังนี้ ทั้งหมดก็จะพึงมีนรกอเวจีเป็นที่เป็นไปในเบื้องหน้า เราจักแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ แก่พวกกษัตริย์และบริษัทเหล่านั้น พระโสณบัณฑิตดาบสนั้น จึงวางไม้คาน สำหรับทาบน้ำในอากาศ โดยมิให้ถูกบ่าห่างประมาณ ๔ องคุลี แล้วเหาะไป ทางอากาศ ในที่ไม่ไกลแต่พระราชา เพื่อจะนำเอาน้ำมาจากสระอโนดาด นันทบัณฑิตดาบส พอเห็นพี่ชายเหาะมา ไม่อาจจะแสดงตนได้ จึงอันตรธาน ไปในที่นั่งนั้นทีเดียว หนีเข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระเจ้ามโนชราช ทอดพระเนตร เห็นพระโสณบัณฑิตดาบสนั้น เหาะมาด้วยเพศฤาษีอันน่าเลื่อมใส จึงตรัสพระคาถาว่า
ไม้คานอันทำด้วยไม้กระทุ่มของใคร ผู้ไปเพื่อหาบน้ำ ลอยมายังเวหาสมิได้ถูกบ่า ห่างประมาณ ๔ องคุลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาพมฺพโย (อันทำด้วยไม้กระทุ่ม) ได้แก่ ทำด้วยไม้กระทุ่ม. บทว่า อํสํ อสํผุสํ เอติ (ลอยมายังเวหาส มิได้ถูกบ่า) ความว่า ไม้คานนี้มิได้ถูกต้องบ่า ลอยมาอยู่. บทว่า อุทกาหารสฺส (เพื่อหาบน้ำ) ความว่า ไม้คานนี้ของใคร ผู้ไปอยู่เพื่อนำน้ำมา คือ ท่านชื่ออะไร หรือว่า ท่านมาจากไหนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 299
แม้เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพชื่อว่า โสณะ เป็น ดาบสมีวัตรอันสมาทานแล้ว มิได้เกียจคร้านเลี้ยงดู มารดาบิดาอยู่ทุกคืนทุกวัน ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ อาตมภาพระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทั้งสองได้กระทำแล้ว ในกาลก่อน จึงนำผลไม้ป่าและ เผือกมันมาเลี้ยงดูมารดาบิดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิตพฺพโต (มีวัตรอันสมทานแล้ว) ความว่า พระโสณบัณฑิต ดาบสนั้นกล่าวว่า อาตมภาพเป็นดาบสองค์หนึ่ง เป็นผู้มีวัตรอันสมาทานแล้ว คือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและมารยาท. บทว่า ภรามิ (เลี้ยงดู) แปลว่า เลี้ยงดูประจำ. บทว่า อตนฺทิโต (มิได้เกียจคร้าน) ได้แก่ เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสรํ (ระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทั้ง๒ได้กระทำแล้วในกาลก่อน) ความว่า อาตมภาพระลึกถึงอยู่ซึ่งบุญคุณ ที่มารดาและบิดาทั้งสองนั้นได้ กระทำไว้แล้วแก่อาตมภาพในกาลก่อน.
พระราชา ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตร อาศรม พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์นั้น จึงได้ตรัสคาถาอันเป็นลำดับต่อไปว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาจะไปยังอาศรม ซึ่ง เป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส ข้าแต่ท่านโสณะ ขอท่านได้ โปรดบอกทาง ที่จะไปยังอาศรมนั้น แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสมํ (ยังอาศรม) ความว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปรารถนาจะไปยังอาศรมบทของท่านทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงเนรมิตหนทางสำหรับไปยังอาศรมบท ด้วยอานุภาพของตน แล้วทูลกะพระเจ้ามโนชราชนั้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 300
ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็นหนทางสำหรับ เดินคนเดียว ขอเชิญมหาบพิตร เสด็จไปยังป่าอัน สะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีสีเขียวชอุ่มดังสีเมฆ โกสิยดาบสอยู่ในป่านั้น.
เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูก่อนมหาบพิตร หนทางนี้เป็นหนทางเท้าสำหรับเดินไปได้เพียงคนเดียว ขอเชิญพระองค์เสด็จไป โดยทิศาภาคที่หมู่ไม้อันสะพรั่งไปด้วยต้นทองหลาง มีดอกอันเบ่งบานดีแล้ว มีสีเหมือนเมฆปรากฏอยู่นี้. บิดาของอาตมภาพผู้โกสิยโคตร อยู่ในอาศรมนี้ นั่นคืออาศรมแห่งบิดาของอาตมภาพ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
โสณมหาฤๅษี ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้พร่ำสอน กษัตริย์ทั้งหลาย ณ กลางหาวแล้วรีบหลีกไปยัง สระอโนดาต แล้วกลับมาปัดกวาดอาศรม แต่งตั้ง อาสนะแล้ว เข้าไปสู่บรรณศาลา แจ้งให้ดาบสผู้เป็น บิดาทราบว่า ข้าแต่ท่านมหาฤๅษี พระราชาทั้งหลาย ผู้เป็นอภิชาตเรืองยศเหล่านี้ เสด็จมาหา ขอเชิญบิดา ออกไปนั่งนอกอาศรมเถิด มหาฤๅษี ได้ฟังคำของ โสณบัณฑิตนั้นแล้ว รีบออกจากอาศรมมานั่งอยู่ที่ ประตูของตน.
นี้เป็นพระคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพิ่มขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 301
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกามิ (หลีกไป) ได้แก่ ไปยังสระอโนดาต. บทว่า อสฺสมํ ปริมชฺชิตฺวา (ปัดกวาดอาศรม) ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฤๅษีนั้นรีบไปยังสระอโนดาตโดยเร็วพลัน แล้วตักน้ำดื่มมา เมื่อพระราชาเหล่านั้น ยังไม่ทันถึงอาศรมนั่นแล ก็กลับมาก่อนจัดแจงตั้งหม้อน้ำดื่มไว้ในโรงน้ำ แล้วอบน้ำ ด้วยดอกไม้ในป่าทั้งหลาย ด้วยคิดว่า มหาชนจักได้ดื่มน้ำ แล้วถือเอาไม้กวาด มากวาดอาศรม จัดแจงแต่งตั้งอาสนะของบิดาไว้ที่ประตูบรรณศาลาแล้ว เข้าไปบอกให้บิดาได้ทราบ. บทว่า อุปาวิสิ (นั่งอยู่) ได้แก่ นั่งบนอาสนะสูง.
ส่วนมารดาของพระโพธิสัตว์ นั่งบนอาสนะต่ำกว่าบิดา ซึ่งตั้งอยู่ข้างหลัง. พระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนอาสนะต่ำ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ฝ่ายนันทบัณฑิตดาบส ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ไปตักน้ำดื่มมาจากสระอโนดาต กลับมายังอาศรมแล้ว จึงไปยังสำนักของพระราชา ให้หยุดพัก กองทัพไว้ ณ ที่ใกล้อาศรม. ลำดับนั้น พระเจ้ามโนชราชทรงสรงสนาน ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ห้อมล้อมเป็นบริวาร พานันทบัณฑิตเสด็จเข้าไปยังอาศรม ด้วยความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม แห่งสิริอันยิ่งใหญ่ เพื่อจะขอให้พระโพธิสัตว์ยกโทษ. ลำดับนั้น บิดาพระโพธิสัตว์เห็นพระราชานั้นเสด็จมาดังนั้น จึงถามพระโพธิสัตว์. แม้พระโพธิสัตว์ ก็ได้เล่าถึงความเป็นไปทั้งหมดให้บิดาได้ทราบ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
โกสิยดาบสได้เห็นพระเจ้ามโนชะนั้น ซึ่งมีหมู่กษัตริย์ห้อมล้อมเป็นกองทัพ ประหนึ่งรุ่งเรืองด้วยเดช เสด็จมาอยู่ จึงกล่าวคาถานี้ความว่า กลอง ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ และมโหระทึก ยังพระราชาผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 302
จอมทัพให้ร่าเริงอยู่ ดำเนินไปแล้วข้างหน้าของใคร หน้าผากของใครสวมแล้วด้วยแผ่นทองอันหนามีสีดุจ สายฟ้า ใครกำลังหนุ่มแน่นผูกสอดด้วยกำลูกศร รุ่งเรืองด้วยสิริ เดินมาอยู่ อนึ่งหน้าของใครงามผุดผ่อง ดุจทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า มีสีดังถ่านเพลิง ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ ฉัตรพร้อมด้วยคันน่ารื่นรมย์ใจ สำหรับกั้นแสงอาทิตย์ อันบุคคล กางแล้วเพื่อใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ ชนทั้งหลาย ถือพัดวาลวีชนีเครื่องสูง เดินเคียงองค์ของใคร ผู้มีบุญอันประเสริฐ มาอยู่โดยคอช้าง เศวตฉัตร ม้าอาชาไนย และทหารสวมเกราะ เรียงรายอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ กษัตริย์ ๑๐๑ พระนครผู้เรืองยศเสด็จ พระราชดำเนินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรืองด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ จาตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า เดินแวดล้อมตามอยู่โดยรอบของใคร ใครหนอรุ่งเรือง ด้วยสิริ กำลังเดินมาอยู่ เสนาหมู่ใหญ่นี้นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุดดุจคลื่นในมหาสมุทรกำลังห้อมล้อมตามหลัง ใครมา.
พระมหาสัตว์ เมื่อจะบอกพระนามของพระเจ้ามโนชราชนั้น จึงได้ กล่าวคาถา ๒ คาถาเหล่านี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 303
กษัตริย์ที่กำลังเสด็จมานั้น คือ พระเจ้ามโนราชาราช เป็นเพียงดังพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่กว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส กำลัง มาสู่อาศรม อันเป็นที่ประพฤติพรหมจรรย์ เสนาหมู่ ใหญ่นี้ นับไม่ถ้วน ไม่มีที่สุด ดุจคลื่นในมหาสมุทร กำลังตามหลังพระเจ้ามโนชะนั้นมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลนฺตริว (ประหนึ่งรุ่งเรือง) แปลว่า ราวกะรุ่งเรืองอยู่. บทว่า ปฏิปนฺนานิ (ดำเนินไปแล้ว) ความว่า เครื่องดนตรีเหล่านี้มาข้างหน้าของใคร. บทว่า ทาสยนฺตา (ให้ร่าเริงอยู่) ได้แก่ ให้ยินดีอยู่. บทว่า กญฺจนปฏฺเฏน (ด้วยแผ่นทอง) ความว่า พระดาบส ผู้เป็นบิดา ถามว่า ลูกเอ๋ย ที่สุดแห่งหน้าผากของใครสวมแล้ว ด้วยแผ่นทอง คืออุณหิสอันทำด้วยทองคำ มีสีประดุจสายฟ้า. บทว่า ยุวา (หนุ่มแน่น) ได้แก่ กำลัง รุ่นหนุ่ม. บทว่า กลาปสนฺนทฺโธ (ผูกสอดด้วยกำลูกศร) ได้แก่ มีแล่งลูกศรอันผูกสอดเสร็จแล้ว. บทว่า อุกฺกามุขปหฏฺํว (ดุจ... ละลาย คว้างที่ปากเบ้า) ได้แก่ ประดุจทองคำที่กำลังคว้างอยู่ในเตาของนายช่างทอง. บทว่า ขทิรงฺคารสนฺนิภํ (มีสีดังถ่านเพลิง) ได้แก่ มีสีคล้ายถ่านเพลิงของไม้ ตะเคียนที่เขาถากไว้ดีแล้ว. บทว่า อาทิจฺจรํสาวรณํ (สำหรับกั้นแสงอาทิตย์) ได้แก่ สำหรับกั้น รัศมีทั้งหลายแห่งดวงอาทิตย์. บทว่า องฺคํ ปริคฺคยฺห (เดินเคียงองค์) ความว่า เดินล้อมรอบ คือเดินแวดล้อมองค์. บทว่า วาลวีชนิมุตฺตมํ (พัดวาลวีชนีเครื่องสูง) ได้แก่ พัดวาลวีชนีอันเป็น เครื่องสูงสุดชนิดหนึ่ง. บทว่า จรนฺติ (เดินมาอยู่) แปลว่า เดินไปพร้อมๆ กัน. บทว่า ฉตฺตานิ (เศวตฉัตร) ได้แก่ ฉัตรที่พวกทหารห่มเกราะนั่งบนหลังม้าถือไว้. บทว่า ปริกิรนฺติ (เรียงรายอยู่) ความว่า ยืนเรียงรายกันอยู่ ในทิศาภาคทั้งหมดโดยรอบของใคร. บทว่า จตุรงฺคินี (จาตุรงคเสนา) ความว่า เสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ มีช้างเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อกฺโขภินี (ไม่สะท้าน) ได้แก่ ไม่อาจจะนับได้ บทว่า สาครสฺเสว (ดุจคลื่นในมหาสมุทร) ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 304
หาที่สุดมิได้ประดุจลูกคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น. บทว่า ราชาภิราชา (ราชาธิราช) ความว่า ชื่อว่าเป็นพระราชาธิราช เพราะเป็นผู้อันพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์บูชาแล้ว หรือว่าเป็นพระราชาที่ยิ่งกว่าพระราชาเหล่านั้น. บทว่า ชยตํ ปติ (เป็บใหญ่กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์) ความว่า เป็นผู้เจริญที่สุดกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายผู้ถึงความชนะแล้ว. บทว่า อชฺฌาวรํ (เข้าถึงความเป็นบริษัท) ความว่า พระราชาพระองค์นั้น เข้าถึงความเป็นบริษัทของนันทดาบส มาอยู่เพื่อให้ลูกอดโทษให้. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระราชาทุกพระองค์ ทรงลูบไล้ด้วยจันทน์หอม ทรงผ้ากาสิกพัสตร์อย่างดี ทุกพระองค์ทรงประคอง อัญชลีเข้าไปยังสำนักของฤาษีทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌุปาคมุํ (เข้าไป) ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงลูบไล้ด้วยผงจันทน์อันมีกลิ่นหอม ทรงผ้าซึ่งมาจากแคว้นกาสีอย่างดีเลิศ ทรงยกอัญชลีขึ้นบนพระเศียร เข้าไปยังสำนักของฤาษีทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พระเจ้ามโนชราช ทรงนมัสการบิดาของพระโพธิสัตว์ นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทรงกระทำปฏิสันถารจึงตรัส คาถา ๒ คาถาว่า
พระคุณเจ้าผู้เจริญไม่มีโรคาพาธดอกหรือ พระคุณเจ้าสุขสำราญดีอยู่หรือ พระคุณเจ้าพอยังอัตภาพ ให้เป็นไปได้สะดวก ด้วยการแสวงหามูลผลาหาร แลหรือ เหง้ามันและผลไม้มีมากแลหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่น ไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนบ้างหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 305
ต่อไปนี้เป็นคาถาที่พระดาบสบิดาของพระโพธิสัตว์ และพระเจ้า มโนชราชกล่าวถามและตอบกัน ๒ คนว่า
ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายไม่มีโรคาพาธ มีความสุขสำราญดี เยียวยาอัตภาพได้สะดวก ด้วยการแสวงหามูลผลาหาร ทั้งมูลมัน ผลไม้ก็มีมาก เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อย ในป่าอัน เกลื่อนกล่นไปด้วยพาฬมฤค ไม่มีมาเบียดเบียนอาตมภาพ เมื่ออาตมภาพได้อยู่ในอาศรมนี้หลายปีมาแล้ว อาตมภาพไม่รู้สึกอาพาธ อันไม่เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ เกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาดีแล้ว และพระองค์ไม่ได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้เป็นอิสระ เสด็จมาถึงแล้ว ขอจงตรัสบอกสิ่งที่ทรงชอบพระหฤทัย ซึ่งมีอยู่ ณ ที่นี้เถิด ขอเชิญมหาบพิตรเสวย ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้มีรสหวานน้อยๆ เชิญเลือกเสวยแต่ผลที่ ดีๆ เถิด น้ำนี้เย็น นำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญมหาบพิตรดื่มเถิด ถ้าพระองค์ทรงปรารถนา.
สิ่งใดที่พระคุณเจ้าให้ ข้าพเจ้าขอรับเอาสิ่งนั้น พระคุณเจ้ากระทำให้ถึงแก่ข้าพเจ้าทั้งปวง ขอพระคุณเจ้าจงเงี่ยโสตสดับคำของนันทดาบส ที่ท่านจะกล่าวนั้นเถิด ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของนันทดาบสมาแล้วสู่สำนักของพระคุณเจ้าขอพระคุณเจ้าโปรด สดับคำของข้าพเจ้า ของนันทดาบสและของบริษัท เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 306
คาถาเหล่านี้ มีข้อความเกี่ยวเนื่องกันชัดแล้ว โดยส่วนมากทีเดียว. ส่วนในที่นี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเฉพาะคำที่ยังไม่ชัดเจนเท่านั้น. บทว่า ปเวทย (ขอจงตรัสบอก) ความว่า พระดาบสทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งนั้นที่มีอยู่ในที่นี้ ซึ่งเป็นที่ชอบพระทัยของพระองค์ แก่อาตมภาพเถิด. บทว่า ขุทฺทกปฺปานิ (อันเป็นผลไม้มีรสหวานน้อยๆ) ความว่า ผลไม้ต่างๆ เหล่านั้นมีรสหวาน มีส่วนเปรียบด้วยรสหวานนิดหน่อย. บทว่า วรํ วรํ (ผลที่ดีๆ) ความว่า ของพระองค์จงเลือกเอาผลไม้ที่ดีๆ จากผลไม้เหล่านี้แล้ว. เชิญเสวยเถิด. บทว่า คิริคพฺภรา (แต่ซอกเขา) ได้แก่ จากสระอโนดาต. บทว่า สพฺพสฺส อคฺฆิยํ (ให้ถึงแกาข้าพเจ้าทั้งปวง) ความว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้วด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นชื่อว่าเป็นอัน ข้าพเจ้าทั้งหลายรับแล้ว อนึ่งชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นของอันพระคุณเจ้าให้แล้วทีเดียว อธิบายว่า พระคุณเจ้ากระทำให้เป็นของถึงแก่ชนนี้ทั้งหมด ด้วยการกระทำ มีประมาณเพียงเท่านี้ คือ กระทำสิ่งทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายก่อน บทว่า นนฺทสฺสาปิ (ชองนันทดาบส) ความว่า พระคุณเจ้ากระทำสิ่งทั้งหมดแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายก่อน แล้ว บัดนี้ นันทบัณฑิต ปรารถนาจะกล่าวถ้อยคำเล็กน้อย ขอพระคุณเจ้า จงฟังคำของเธอก่อน. บทว่า อชฺฌาวรมฺหา (เป็นบริษัท) ความว่า พระราชาตรัสว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายมาแล้วด้วยเหตุอื่นก็หาไม่ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นบริษัทของ นันทบัณฑิตมาแล้ว เพื่อจะยังท่านทั้งหลายให้ยกโทษ. บทว่า ภวํ (พระคุณเจ้า) ความว่า พระคุณเจ้าผู้มีชื่อว่า โสณบัณฑิต จงสดับเถิด.
เมื่อพระเจ้ามโนชราชตรัสอย่างนี้แล้ว นันทบัณฑิตจึงลุกจากอาสนะ ไหว้มารดาบิดาและพี่ชาย เมื่อจะเจรจากับบริษัท จึงกล่าวว่า
ชาวชนบทร้อยเศษ พราหมณ์มหาศาลประมาณ เท่านั้น กษัตริย์อภิชาตผู้เรืองยศทั้งหมดนี้ และพระเจ้า มโนชะผู้เจริญ จงเข้าใจคำของข้าพเจ้า ยักษ์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 307
ภูตและเทวดาทั้งหลายในป่า เหล่าใด ซึ่งมาประชุมกัน อยู่ในอาศรมนี้ ขอจงฟังคำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอ กระทำความนอบน้อมแก่เทวดาทั้งหลายแล้ว จักกล่าว กะฤๅษีผู้มีวัตรอันงาม ข้าพเจ้านั้นชาวโลกสมมติแล้วว่า เป็นชาวโกสิยโคตรร่วมกับท่าน จึงนับว่าเป็น แขนขวาของท่าน ข้าแต่ท่านโกสิยะผู้มีความเพียร เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ประสงค์จะเลี้ยงดูมารดาบิดาของข้าพเจ้า ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ ขอท่านอย่าได้ห้าม ข้าพเจ้าเสียเลย จริงอยู่ การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ขอท่านจงอนุญาตการ บำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้า ท่านได้กระทำกุศลมา แล้วสิ้นกาลนาน ด้วยการลุกขึ้นทำกิจวัตรและการ บีบนวด บัดนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาจะทำบุญในมารดา และบิดา ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าแต่พระฤๅษี มนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในบริษัทนี้ ทราบบทแห่งธรรมในธรรมว่าเป็นทางแห่งโลกสวรรค์ เหมือนดังท่านทราบ ฉะนั้น การบำรุงมารดาบิดาด้วย การอุปัฏฐากและการบีบนวด ชื่อว่านำความสุขมาให้ ท่านห้ามข้าพเจ้าจากบุญนั้น ชื่อว่า เป็นอันห้ามทาง อันประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุมญฺนฺตุ (จงเข้าใจ) ความว่า จงรู้ คือ จงกระทำให้ดีให้ประจักษ์. บทว่า สมิตาโร (ซี่งมาประชุมกัน) ได้แก่ มาประชุมกันอยู่พร้อมแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 308
บทว่า อรญฺเ ภูตภพฺยานิ (ภูตและเทวดาทั้งหลายในป่า) ความว่า ภูตทั้งหลายด้วย เทวดาทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งแดนแห่งความเจริญด้วย และเทวดาหนุ่มๆ ทั้งหลายด้วยเหล่าใด ในป่าหินวันตประเทศนี้ เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด จงฟังคำของข้าพเจ้า. บทว่า นโม กตฺวาน (ขอกระทำความนอบน้อม) ความว่า พระนันทบัณฑิตนั้น ครั้นให้สัญญานี้แก่บริษัทแล้ว กระทำการนอบน้อมแก่เทวดาทั้งหลาย ผู้เกิดแล้วในชัฏแห่งป่านั้นนั่นแล จึงได้กล่าวแล้ว. เนื้อความแห่งคำนั้น มีอธิบายว่า ในวันนี้แหละเทวดาผู้อยู่ใน หิมวันตประเทศทั้งหลายเป็นอันมาก พึงมาประชุมกันเพื่อจะฟังธรรมกถาของพี่ชายเรา เพราะฉะนั้น นันทบัณฑิตจึงได้กล่าวว่า ก็ความนอบน้อมนี้ เป็นความนอบน้อมแก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเป็นสหายของข้าพเจ้า. นันทบัณฑิตนั้นประคองอัญชลีแก่เทวดาทั้งหลาย ยังบริษัทให้ทราบแล้ว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าจักกล่าวกะพระฤๅษี ดังนี้. คำว่า อิสึ (กะฤาษี) ในคาถา นั้น ท่านกล่าวหมายถึงโสณบัณฑิต. บทว่า สมฺมโต (ชาวโลกสมตติ) ความว่า ธรรมดาว่า พี่ชายทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้เสมอด้วยร่างกาย เพราะฉะนั้น พระนันทบัณฑิตนั้น จึงสมมติเอาว่า ข้าพเจ้าเท่ากับเป็นแขนขวาของท่าน จึงแสดงว่า ท่านทั้งหลาย จึงควร เพื่อจะยกโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเหตุนั้น. บทว่า วีร (ผู้มีความเพียร) ได้แก่ ข้าแต่พี่ ผู้มีความพยายาม ผู้มีความบากบั่นมาก. บทว่า ปุญฺญมิทํ านํ (ฐานะนี้ชื่อว่าเป็นบุญ) ความว่า นันทบัณฑิตกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการบำรุงมารดาบิดานี้ เป็นบุญ คือ เป็นเหตุที่ จะยังหมู่สัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อบังเกิดในสวรรค์ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้ ห้ามข้าพเจ้าผู้จะทำบุญนั้นเลย. บทว่า สพฺภิเหตํ (การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลาย) ความว่า จริงอยู่ ธรรมดาว่า การบำรุงมารดาบิดานี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว คือเข้าไปรู้แล้วและ พรรณนาแล้ว. บทว่า มเมตํ อุปนิสฺสช (ขอท่านจงอนุญาตการบำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้า) ความว่า ขอท่านจงอนุญาต คือ จงสละ จงให้การบำรุงมารดาบิดานี้แก่ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า อุฏฺานปาทจริยาย (ด้วยการลุกขึ้นทำกิจวัตรและการบีบนวด) ได้แก่ ด้วยความเพียรเป็นเหตุให้ลุกขึ้น และด้วยการบำเรอเท้า. บทว่า กตํ (ได้กระทำ)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 309
ได้แก่ ท่านกระทำกุศลไว้แล้วสิ้นกาลนาน. บทว่า ปุญฺานิ (บุญ) ความว่า บัดนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะทำบุญในมารดาบิดาทั้ง ๒. บทว่า มม โลกทโท (จงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้าเถิด) ความว่า นันทบัณฑิตกล่าวว่า ขอท่านจงให้โลกสวรรค์แก่ข้าพเจ้านั้น ด้วยว่า ข้าพเจ้า กระทำวัตรคือการบำรุงมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้น จักได้อิสริยยศหาประมาณมิได้ ในเทวโลก ขอท่านจงเป็นทายกของข้าพเจ้านั้นเถิด. บทว่า ตเถ (เหมือน... ฉะนั้น) ความว่า ท่านย่อมรู้ด้วยประการใด แม้ชนเหล่าอื่นที่มีอยู่ในบริษัทนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมกล่าวซึ่งธรรมทั้งหลายมีประการต่างๆ คือส่วนแห่งธรรม กล่าวคือความ เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน. ถามว่า ชนเหล่านั้นกล่าวว่าอย่างไร? ตอบว่า ชนเหล่านั้นกล่าวว่า ธรรมคือการบำรุง มารดาบิดานี้ เป็นทางแห่งโลกสวรรค์. บทว่า สุขาวหํ (นำความสุขมาให้) ความว่า นำความสุขมาให้แก่มารดาบิดา ด้วยการลุกขึ้นและด้วยการบำเรอ. บทว่า ตํ มํ (ห้ามข้าพเจ้าจากบุญนั้น) ความว่า โสณบัณฑิตผู้เป็นพี่ชาย ย่อมห้ามคือกีดกันข้าพเจ้านั้น แม้ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนี้ เสียจากบุญนั้น. บทว่า อริยมคฺคาวโร (ผู้ห้ามทางอันประเสริฐ) ความว่า ย่อมห้ามเสียซึ่งอริยมรรค. นระนั้นห้ามอยู่ซึ่งบุญอย่างนี้ คือ นระนี้ชื่อว่าย่อมเป็นผู้ห้ามเสียซึ่งหนทางแห่ง เทวโลกกล่าวคืออริยะ เพื่อจะแสดงซึ่งความรักแก่ข้าพเจ้า.
เมื่อนันทบัณฑิตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงประกาศว่า ท่านทั้งหลายได้สดับถ้อยคำของนันทบัณฑิตนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ ขอเชิญสดับถ้อยคำ ของข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
ขอมหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย ผู้เป็นบริษัทของ น้องนันทะ จงสดับถ้อยคำของอาตมภาพ ผู้ใดยัง วงศ์ตระกูลแต่เก่าก่อนให้เสื่อม ไม่ประพฤติธรรมใน บุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 310
ท่านผู้เป็นใหญ่ในทิศ ส่วนชนเหล่าใด เป็นผู้ฉลาด ในธรรมอันเป็นของเก่า และถึงพร้อมด้วยจารีต ชน เหล่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ญาติและเผ่าพันธุ์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นภาระของพี่ชายใหญ่ ขอพระองค์ทรงทราบ อย่างนี้เถิดมหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมทัพ ก็อาตมภาพเป็นพี่ชายใหญ่ จึงต้องรับภาระอันหนัก ทั้งสามารถจะปฏิบัติท่านเหล่านั้นได้ เหมือนนายเรือ รับภาระอันหนัก สามารถจะนำเรือไปได้โดยสวัสดี ฉะนั้น เหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่ละลืมธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาตุรชฺฌาวรา มม (ผูเป็นบริษัทของน้องนันทะ... ของอัตมภาพ) ความว่า ท่าน ผู้เจริญทั้งหลาย คือพระราชาทั้งหลายทั้งหมด ซึ่งเป็นบริษัทแห่งน้องชายของ ข้าพเจ้าพากันมาแล้ว จงฟังถ้อยคำของข้าพเจ้าก่อนบ้าง. บทว่า ปริหาปยํ (ให้เสื่อม) ได้แก่ ให้เสื่อมรอบอยู่. บทว่า ธมฺมสฺส (ในธรรม) ได้แก่ ธรรมคือความประพฤติ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ คือธรรมอันเป็นประเพณี. บทว่า กุสลา (เป็นผู้ฉลาด) ได้แก่ เฉียบแหลม. บทว่า จาริตฺเตน จ (และถึงพร้อมด้วยจารีต) ได้แก่ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาทและ ศีล. บทว่า ภารา (เป็นภาระ) ความว่า ชนเหล่านั้นทั้งหมด อันพี่ชายใหญ่พึงนำไป คือพึงปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าเป็นภาระของพี่ชายใหญ่นั้น. บทว่า นาวิโก วิย (เหมือนนายเรือ) ความว่า เหมือนอย่างว่า นายเรือรับภาระหนัก บรรทุก ลงในเรือแล้ว ก็ต้องอุตสาหะพยายามที่จะนำเรือไปในท่ามกลางมหาสมุทรด้วย ความสวัสดี สินค้าและชนทั้งหมดพร้อมทั้งเรือ ย่อมเป็นภาระของนายเรือนั้นคนเดียว ฉันใด ญาติทั้งหมด ย่อมเป็นภาระของข้าพเจ้าผู้เดียว และข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 311
อาจสามารถที่จะปฏิบัติเลี้ยงดูชนเหล่านั้นไดั ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงไม่ละเลยเชฏฐาปจายนธรรมนั้น อนึ่ง ข้าพเจ้าเป็นพี่ชายใหญ่ ของชนเพียงนี้ เท่านั้นก็หาไม่ ข้าพเจ้ายังเป็นพี่ชายใหญ่ของชาวโลกแม้ทั้งสิ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าแล จึงสมควรแล้วที่จะปฏิบัติมารดาบิดาพร้อมทั้งน้องนันทะด้วย.
พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็พากันดี พระทัยตรัสว่า เราทั้งหลายรู้แล้วในวันนี้เองว่า ได้ยินว่า หน้าที่คือการปฏิบัติมารดาบิดาทั้งหลายที่เหลือ ย่อมเป็นหน้าที่ของพี่ชายใหญ่ จึงพากันทอดทิ้ง นันทบัณฑิต เข้าไปอาศัยพระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงกระทำความชมเชยพระมหาสัตว์นั้น จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ไปแล้วในความมืด วันนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย เกิดความรู้ขึ้นแล้ว ท่านโกสิยฤๅษี ได้แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนส่องแสง อันรุ่งเรืองจากไฟ ฉะนั้น พระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าแห่งแสง มีรัศมีเจิดจ้าเมื่ออุทัย ย่อมแสดงรูปดีและรูปชั่ว ให้ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันใด ท่านโกสิยฤๅษี แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิคตมฺหา (ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ไปแล้ว) ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายตกอยู่ในความมืดอันปกปิดเสียซึ่งเชฏฐาปจายนธรรม จึงไม่รู้ จักธรรมนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เกิดความรู้ขึ้นในวันนี้เอง เหมือนแสงประทีป ส่องสว่างอยู่ฉะนั้น. บทว่า เอวเมว โน (แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือน... ฉะนั้น) ความว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่บนยอดเขา อันมืดทึบ ส่องแสงสว่างอยู่โดยรอบ ย่อมแสดงรูปทั้งหลายให้ปรากฏได้ฉันใด พระฤาษีโกสิยโคตรผู้เจริญ ก็แสดงธรรมแก่พวกเราฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 312
วาสุเทโว (เป็นเทพเจ้าแห่งแสง) ความว่า เทวดาผู้เป็นเจ้าแห่งแสง เป็นผู้ส่องแสงสว่าง และเป็นผู้ประกาศธรรม.
พระมหาสัตว์ ทำลายความเลื่อมใสในนันทบัณฑิตนั้นแล้ว ยังพระราชาเหล่านั้น ซึ่งมีพระทัยเลื่อมใสในเธอ เพราะได้เห็นปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ของนันทบัณฑิตตลอดกาลเพียงเท่านี้ ให้กลับมาถือเอาถ้อยคำของตนแล้ว ได้ทำให้พระราชเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแล ต่างจ้องดูหน้าของตน ด้วยกำลังแห่ง ญาณของตน ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น นันทบัณฑิต คิดว่า พี่ชายของเราเป็นบัณฑิต เป็นธรรมกถึกอย่างเฉียบแหลม ได้แยกพระราชาของเราแม้ทั้งหมด กระทำให้เป็นฝักฝ่ายของตนได้ เว้นพี่ชายของเรานี้เสียแล้ว คนอื่นที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ ไม่มีเลย จำเราจักต้องอ้อนวอนพี่ชายของเรานี้ผู้เดียวเถิด จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าพี่จะไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้า ผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ข้าพเจ้าก็จักดำเนินไปตามถ้อยคำของพี่ จักบำรุงบำเรอพี่ ผู้อยู่ด้วยความไม่เกียจคร้าน.
เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้น มีดังต่อไปนี้ ถึงแม้ว่าพี่จะไม่ยอมรับ คือ ไม่รับอัญชลีของข้าพเจ้า ผู้วิงวอนอยู่อย่างนี้ ซึ่งข้าพเจ้าประคองอยู่เพื่อ ต้องการให้พี่ยกโทษ พี่จงบำรุงมารดาบิดาเถิด ส่วนข้าพเจ้า ก็จะประพฤติ ตามถ้อยคำของพี่ คือจักเป็นผู้กระทำตามถ้อยคำ จะตั้งใจบำรุงด้วยความเป็น ผู้ไม่เกียจคร้าน ทุกคืนทุกวัน คือข้าพเจ้าจักปฏิบัติบำรุงพี่.
แม้ตามปกติพระมหาสัตว์ จะมิได้ถือโทษหรือผูกเวรในนันทบัณฑิตเลยก็ตาม แต่เมื่อนันทบัณฑิตนั้น กล่าวถ้อยคำอันกระด้างกระเดื่องเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กระทำดังนั้น ก็เพื่อจะข่มให้เธอลดละมานะเสีย ครั้นมาบัดนี้ได้สดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 313
ถ้อยคำของเธอ จึงมีจิตยินดีเกิดความเลื่อมใสในเธอ กล่าวว่า นันทะน้องเอ๋ย บัดนี้พี่ยกโทษให้แก่เธอแล้ว และเธอจักได้ปฏิบัติมารดาบิดา เมื่อจะประกาศ คุณของนันทบัณฑิตนั้น จึงกล่าวว่า
ดูก่อนนันทะ เธอรู้แจ้งสัทธรรมที่สัตบุรุษ ทั้งหลายแสดงแล้วเป็นแน่ เธอเป็นคนดี มีมารยาท อันงดงาม พี่ขอบใจเป็นยิ่งนัก พี่จะกล่าวกะมารดา บิดาว่า ขอท่านทั้งสองจงฟังคำของข้าพเจ้า ภาระนี้ หาใช่เป็นภาระเพียงชั่วครั้งชั่วคราวของข้าพเจ้าไม่ การบำรุงที่ข้าพเจ้าบำรุงแล้วนี้ ย่อมนำความสุขมาให้ แก่มารดาบิดาได้ แต่นันทะย่อมทำการขอร้องอ้อนวอน เพื่อบำรุงท่านทั้งสองบ้าง บรรดาท่านทั้งสองผู้สงบ ระงับ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หากว่าท่านใดปรารถนา ข้าพเจ้าจะบอกกะท่านนั้น ขอให้ท่านทั้งสองผู้หนึ่งจงเลือกนันทะตามความปรารถนาเถิด นันทะจะบำรุง ใครในท่านทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริโย (เป็นคนงาม) ได้แก่ เป็นคนดี. บทว่า อริยสมาจาโร (มีมารยาทอันงดงาม) ได้แก่ เธอเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย. บทว่า พาฬฺหํ (ยิ่งนัก) ความว่า บัดนี้เธอย่อมเป็นที่ชอบใจแก่พี่ยิ่งนัก. บทว่า สุณาถ (จงฟัง) ความว่า ข้าแต่มารดาและบิดา ขอท่านจงฟังคำของข้าพเจ้า. บทว่า นายํ ภาโร (ภาระนี้หาใช่เป็นภาระ..ไม่). ความว่า ภาระคือการปฏิบัติมารดาบิดานี้ จะว่าเป็นเพียงภาระของข้าพเจ้า ในกาลบางครั้งบางคราวก็หาไม่. บทว่า ตํ มํ (การบำรุงที่ข้าพเจ้าบำรุงแล้วนี้ ) ความว่า ท่านทั้งหลาย ได้สำคัญว่าการ บำรุงมารดาบิดานั้นเป็นภาระข้าพเจ้าคนเดียว ก็เลี้ยงดูท่านทั้งหลายได้. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 314
อุปฏฺานาย ยาจติ (ขอร้องเพื่อบำรุงท่านทั้ง๒บ้าง) ความว่า นันทะได้มาอ้อนวอนเรา เพื่อจะขอบำรุง ท่านทั้งสองบ้าง. บทว่า โย เจ อิจฺฉติ (หากว่าท่านใดปรารถนา) ความว่า ด้วยว่าข้าพเจ้าไม่สมควร จะพูดว่า เธอจงบำรุงมารดาหรือบิดาของพี่ แต่บรรดาท่านทั้งสอง ผู้สงบระงับแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถ้าท่านผู้ใดใครผู้หนึ่งปรารถนา ข้าพเจ้าจะบอกกะท่านผู้นั้น บรรดาท่านทั้งสอง ขอให้ท่านเลือกเอานันทะตามความปรารถนาเถิด ท่านทั้งหลายย่อมชอบใจนันทะน้องชายของข้าพเจ้านั้น ในบรรดาท่านทั้งสอง นันทะนี้สมควรจะบำรุงใคร ด้วยว่าเราทั้งสองคน ต่างก็เป็นบุตรของท่านด้วยกันนั่นแล.
ลำดับนั้น มารดาจึงลุกขึ้นจากอาสนะกล่าวว่า พ่อโสณบัณฑิตเอ๋ย น้องชายของพ่อจากไปเสียนานแล้ว แม้เธอมาแล้ว จากที่ไกลอย่างนี้ แม่ก็ไม่อาจจะอ้อนวอนได้ ด้วยว่าเราทั้งสองคน ได้อาศัยพ่ออยู่แล้ว แต่บัดนี้พ่อ อนุญาตแล้ว แม่ก็จักได้กอดรัดลูกนันทะ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้ ด้วยแขน ทั้งสองแล้ว พึงได้การจูบศีรษะ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนพ่อโสณะ เราทั้งสองคนอาศัยเจ้าอยู่ ถ้าเจ้าอนุญาต แม่ก็จะพึงได้จุมพิตลูกนันทะผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ที่ศีรษะ.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ พูดว่า ข้าแต่แม่ ถ้าอย่างนั้นลูกยอมอนุญาต แม่จงไปสวมกอดนันทะลูกชายของแม่แล้วจงจูบและจุมพิตที่ศีรษะนันทะ จงทำความเศร้าโศกภายในใจของแม่ให้ดับไปเสียเถิด. มารดาพระโพธิสัตว์นั้น จึงไปหานันทะนั้นแล้วสวมกอดนันทบัณฑิต ในท่ามกลางบริษัททีเดียว แล้วจูบ และจุมพิตนันทะนั้น ที่ศีรษะดับความเศร้าโศกในควงใจเสียให้หายแล้ว เมื่อจะ เจรจากับพระมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 315
ใบอ่อนของต้นอัสสัตถพฤกษ์ เมื่อลมรำเพยพัด ต้องแล้ว ย่อมหวั่นไหวไปมา ฉันใด หัวใจของแม่ก็หวั่นไหว เพราะนานๆ จึงได้เห็นลูกนันทะ ฉันนั้นเมื่อใด เมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นลูกนันทะมา แม่ก็ดีใจอย่างล้นเหลือว่า ลูกนันทะของแม่นี้มาแล้ว แต่เมื่อใด ครั้นแม่ตื่นขึ้นแล้ว ไม่ได้เห็นลูกนันทะของแม่มา ความเศร้าโศกและความเสียใจมิใช่น้อย ก็ทับถมยิ่งนัก วันนี้ แม่ได้เห็นลูกนันทะผู้จากไปนาน กลับมาแล้ว ขอลูกนันทะ จงเป็นที่รักของบิดาเจ้าและของแม่เอง ขอลูกนันทะ จงเข้าไปสู่เรือนของเราเถิด ดูก่อนพ่อ โสณะเอ๋ยลูกนันทะเป็นที่แสนรักยิ่งของบิดา ลูกนันทะยังไม่ได้เข้าไปสู่เรือนใด ขอให้ลูกนันทะจงได้เรือนนั้น ขอลูกนันทะจงบำรุงแม่เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลุเตริตํ (เมื่อลมรำเพยพัดต้องแล้ว) ความว่า มารดาของพระมหาสัตว์กล่าวว่า ใบของต้นอัสสัตถพฤกษ์ถูกลมพัดแล้ว ย่อมโยกไหวไปมา ฉันใด ในวันนี้หัวใจของแม่ ก็ย่อมหวั่นไหว เพราะได้พบเห็นลูกนันทะ ซึ่ง จากไปนานฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า สุตฺตา (หลับแล้ว) ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย คราวใดเมื่อแม่หลับแล้วฝันเห็นนันทะมา แม้ในคราวนั้น แม่ก็ดีใจเหลือเกิน. บทว่า ภตฺตุ จ (ของบิดาเจ้า) ได้แก่ ย่อมเป็นที่รักแห่งพ่อและแม่. บทว่า นนฺโท โน ปาวิสี ฆรํ (ขอลูกนันทะจงเข้าไปสู่เรือนของเราเถิด) ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย นันทะลูกชายของแม่จงเข้าไปสู่ บรรณศาลา บทว่า ยํ (สู่เรือนใด) ความว่า เพราะเหตุที่นันทะนั้น ย่อมเป็นที่รักอย่าง สนิทแท้ของบิดา เพราะฉะนั้น นันทะนั้น จึงไม่ต้องจากเรือนนี้ไปอีก. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 316
นนฺโท ตํ (ขอให้ลูกนันทะจงได้เรือนนั้น) ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย นันทะปรารถนาสิ่งใด จงได้สิ่งนั้นเถิด. บทว่า มํ นนฺโท (ขอลูกนันทะ... แม่เถิด) ความว่า ดูก่อนพ่อโสณะเอ๋ย พ่อจงบำรุงบิดาของพ่อเถิด ส่วนนันทะจงบำรุงแม่.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์รับคำของมารดาว่า จงเป็นไปตามคำพูดของแม่อย่างนี้เถิด ดังนี้แล้ว จึงกล่าวสอนน้องชายว่า ดูก่อนน้องนันทะ น้องได้ส่วนปันของพี่แล้ว ธรรมดาว่ามารดาเป็นผู้กระทำคุณไว้เป็นยิ่งนัก น้องอย่าประมาทพึงตั้งใจปฏิบัติท่านเถิด เมื่อจะประกาศคุณของมารดา จึงได้กล่าว คาถา ๒ คาถาว่า
ดูก่อนฤๅษี มารดาเป็นผู้อนุเคราะห์ เป็นที่พึ่ง และเป็นผู้ให้ขีรรสแก่เราก่อนเป็นทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า มารดาเป็นผู้ให้ขีรรสก่อน เป็นผู้เลี้ยงดูเรามา เป็นผู้ชักชวนเราในบุญกุศล เป็นทางแห่งโลกสวรรค์ มารดาปรารถนาเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปกา (เป็นผู้อนุเคราะห์) ได้แก่ เป็นผู้มีจิตใจ อ่อนโยน. บทว่า ปุพฺเพ รสทที (เป็นผู้ให้ขีรรส) ได้แก่ เป็นผู้ให้รสคือนำนมของตนเป็นครั้งแรกทีเดียว. บทว่า มาตา ตํ (มารดาปรารถนาเจ้า) ความว่า มารดาของเราไม่ปรารถนาเรา ท่านเลือกเจ้า คือปรารถนาเจ้า. บทว่า โคตฺตี (เป็นผู้เลี้ยงดูเรา) ได้แก่ เป็นผู้ปกครองดูแล. บทว่า ปุญฺญูปสญฺหิตา (เป็นผู้ชักชวนเราในบุญกุศล) ได้แก่ เป็นที่อยู่อาศัยแห่งบุญ เป็นผู้ให้ซึ่งบุญ.
พระมหาสัตว์ ครั้นได้พรรณนาคุณงามความดีของมารดาด้วยคาถา ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว พอมารดากลับมานั่ง ณ อาสนะเดิม จึงกล่าวสอนน้อง อีกว่า ดูก่อนน้องนันทะเอ๋ย น้องได้มาราดาผู้ทำกิจที่ทำได้ยากไว้แล้ว แม้เราทั้งสองคน มารดาท่านก็ได้ประคับประคองมาโดยยากลำบาก บัดนี้น้องอย่าได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 317
ประมาทนะ จงพยายามปฏิบัติมารดาท่านเถิด น้องอย่าให้ท่านบริโภคผลไม้ น้อยใหญ่ทั้งหลายที่ไม่อร่อยอีกนะ เมื่อจะประกาศว่ามารดาได้เป็นผู้กระทำกิจ อันแสนยากที่คนอื่นจะทำได้ ในท่ามกลางบริษัทนั่นแล จึงกล่าวว่า
มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้น มีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้น มารดาจึงแพ้ท้อง เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า เป็นผู้มีใจดี มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปี หรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยันตี และชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตร ผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริงด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้างด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้า ก็เข้ารับขวัญ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือทรัพย์ของมารดา และทรัพย์ของบิดา เพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า อย่างนี้ ซิลูก อย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก เมื่อบุตรกำลังรุ่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 318
หนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตร ผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้.
บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่า ประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อ ว่าประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับ มาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหายหรือบุตรนั้น ย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลาย ผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิงและความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้ เพราะการบำรุงมารดา ความรื่นเริง ความบันเทิงและ ความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สงคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถ ย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น ถ้าสังคหวัตถุเหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 319
มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะ เหตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและ มนุษย์พึงสรรเสริญ มารดาและบิดา บัณฑิตเรียกว่า เป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร เป็นผู้ ควรรับของคำนั้นจากบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์ บุตร เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงนอบน้อม และสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตผลํ แปลว่า ผลคือบุตร. บทว่า เทวตาย นมสฺสติ (จีงนอบน้อมแก่มารดา) ความว่า ย่อมทำการนอบน้อมบวงสรวงเทวดาว่า ขอให้บุตรจงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าเถิด. บทว่า นกฺขตฺตานิ จ ปุจฺฉติ (และไต่ถามถีงฤกษ์) ความว่า และย่อมถามถึงนักขัตฤกษ์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุตรผู้เกิดแล้วโดยฤกษ์ยามไหน จึงจะมีอายุยืนยาวนาน เกิดฤกษ์ยามไหนมีอายุสั้น. บทว่า อุตฺสํวจฺฉรานิ จ (ฤดูและปีทั้งหลาย) ความว่า อนึ่ง มารดาย่อมถามถึงฤดูและปีทั้งหลายอย่างนี้ว่า บุตรที่เกิดในฤดู
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 320
ไหน ในบรรดาฤดูทั้ง ๖๑ จึงจะมีอายุยืนยาวนาน เกิดในฤดูไหนจึงจะมีอายุ สั้น หรือเมื่อมารดามีอายุเท่าไร บุตรเกิดมาจึงจะมีอายุยืน เมื่อมารดามีอายุ เท่าไร บุตรเกิดมาจึงจะมีอายุสั้น. บทว่า อุตุสิ นหาตาย ได้แก่ เมื่อระดู เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า อาบในเพราะระดู (มารดาชื่อว่ามีระดู). บทว่า อวกฺกโม ความว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีเพราะการประชุมพร้อมแห่งเหตุ๒ ๓ ประการ ครรภ์จึงตั้งขึ้นในท้อง. บทว่า เตน ความว่า มารดานั้นย่อมแพ้ท้องเพราะ ครรภ์นั้น. บทว่า เตน ความว่า ในกาลนั้นมารดาจึงเกิดความรักในบุตรธิดา ซึ่งเป็นประชาเกิดขึ้นต้องของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สุหทา หญิงมีใจดี. บทว่า เตน ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ชนยันตีบ้าง ชเนตตีบ้าง แปลว่าผู้ยังบุตรให้เกิด. บทว่า องฺคปาวุรเณนจ ความว่า ด้วยการให้บุตรนอนในระหว่างนมทั้ง ๒ ยังสัมผัสแห่งสรีระให้แผ่ ไปทั่วแล้ว จึงให้อบอุ่นด้วยเครื่องคลุมคืออวัยวะนั่นแล. บทว่า โตเสนฺตี ได้แก่ ให้รู้สึก ให้ร่าเริง. บทว่า มมฺมํ กตฺวา อุทิกฺขติ ความว่า มารดา ทำการรับขวัญอย่างนี้ว่า โอ้หนอ ลมพัดแดดแผดเผาในเบื้องบนบุตรของเรา ย่อมมองดูด้วยน้ำใจอันรักใคร่. บทว่า อุภยมฺเปตสฺส ความว่า มารดาย่อม ไม่ต้องการจะให้ทรัพย์แม้ทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ แก่ชนเหล่าอื่น จะเก็บรักษาไว้ในห้อง อันมั่นคงเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่บุตรนี้. บทว่า เอวํ ปุตฺต อทุํ ปุตฺต
๑. เหมหฺโต สิสิรมุตู ฉ วา วสนฺโต คิมฺหวสฺสานา สรโทติ กมา มาสา เทฺว เทฺว วุตฺตา- นุสาเรน ฤดูทั้ง ๖ คือ เหมันตะ ฤดูหิมะ สิสิร ฤดูหนาว วสันตะ ฤดูใบไม้ผลิ คิมหะ ฤดูร้อน วัสสานะ ฤดูฝน สรทะ ฤดูอบอ้าว ฤดูละ ๒ เดือนๆ เรียงลำดับนับตามข้อที่กล่าว แล้วนั้น (จากอภิธานัปปทีปิกา ข้อที่ ๗๙) ๒. เหตุแห่งการตั้งครรภ็มี ๓ ประการคือ มาตาปิตโร จ สนฺนิปติตา โหนฺติ มารดาบิดาอยู่ ร่วมกัน ๑ มาตา จ อุตุนี โหติ มารดามีระดู ๑ คพฺโภ จ ปจฺจปฏฺิโต โหติ สัตว์ผู้จะ เกิดถือปฏิสนธิในท้องมารดานั้น ๑ (มหาตัณหาสังขยสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์).
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 321
ความว่า มารดาให้บุตรศึกษาอยู่เป็นนิตย์ว่า โอ่ลูกน้อยเอ๋ย เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท ในราชสกุลเป็นต้นอย่างนี้ อนึ่ง เจ้าจงกระทำกรรมอย่างโน้น มารดาย่อมลำบาก ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ มาตา วิหญฺติ (มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า... ย่อมลำบาก) ได้แก่ ย่อมเหน็ดเหนื่อย. บทว่า ปตฺตโยพฺพเน (เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง) ความว่า เมื่อบุตรถึงความเป็นหนุ่ม หรือเป็นสาว กำลังคะนอง มารดารู้ว่า บุตรนั้นมัวเมาในภรรยาผู้อื่นจนมืดค่ำ ก็ยังไม่กลับมา จึงจ้องมองดูลูกอยู่ด้วยนัยน์ตาอันเปียกชุ่มด้วยน้ำตา. บทว่า วิหญฺติ (ย่อมเดือดร้อน) แปลว่า เหน็ดเหนื่อย. บทว่า กิจฺฉาภโต (ผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้วด้วยความลำบาก) ได้แก่ บุตรที่มารดา เลี้ยงดูมา คือ ทะนุบำรุงมาด้วยความยากลำบาก. บทว่า มิจฺฉาจริตฺวาน (ประพฤติผิด) ได้แก่ ไม่ปฏิบัติมารดา. บทว่า ธนาปิ (แม้ทรัพย์) คือ ทรัพย์สมบัติทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า แม้ทรัพย์ที่บังเกิดขึ้นแก่บุตรผู้อยากได้ทรัพย์ แต่มิได้ปฏิบัติมารดา ย่อมพินาศ ฉิบหายไป. บทว่า กิจฺฉํ วา โส (หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น) ความว่า ทรัพย์ของเขาย่อมพินาศไปบ้าง เขาย่อมเข้าถึงความลำบากเองบ้าง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ลพฺภเมตํ (พึงได้) ความว่า ความสุขมีความบันเทิงเป็นต้น ในโลกนี้และในโลกหน้า บัณฑิต ผู้รู้แจ้งจะพึงได้เพราะการบำรุงมารดา คือบัณฑิตผู้เช่นนั้นอาจจะได้. บทว่า ทานญฺจ (ทาน (การให้) ๑) ความว่า บุตรพึงให้ทานแก่มารดาบิดาทั้ง ๒ พึงเจรจาถ้อยคำอัน เป็นที่รัก พึงประพฤติประโยชน์ ด้วยอำนาจการกระทำหน้าที่ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ให้เสร็จไป. บทว่า ธมฺเมสุ (ในธรรมทั้งหลาย) ความว่า ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรม คือ ความเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ อันบุตรพึงกระทำในที่นั้นๆ คือ ในท่ามกลางบริษัทหรือในที่ลับ ด้วยอำนาจการกราบไหว้เป็นต้น บุตรจะทำการอภิวาทเป็นต้นในที่ลับแล้ว ไม่ยอมกระทำในบริษัทไม่สมควรเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 322
พึงเป็นผู้ประพฤติเสมอในที่ทั้งหมดทีเดียว. บทว่า เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ (ถ้าว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้) ความว่า ถ้าว่าสังคหวัตถุทั้ง ๔ ประการเหล่านั้น จะไม่พึงมีไซร้. บทว่า สมเปกฺขนฺติ (ย่อมพิจารณาเห็น) ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเล็งเห็นโดยนัย โดยเหตุ โดยชอบ. บทว่า มหตฺตํ (ความเป็นผู้ประเสริฐ) แปลว่า ความเป็นผู้ประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺมา (เป็นพรหม) ได้แก่ มารดาบิดาทั้งหลาย เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐสุด เสมอด้วยพระพรหมของพวกบุตร. บทว่า ปุพฺพาจริยา (เป็นบูรพาจารย์) ได้แก่ เป็นอาจารย์คนแรก. บทว่า อาหุเนยฺยา (เป็นผู้ควรรับของคำนับ) ได้แก่ เป็นผู้ควรรับของคำนับ คือเป็นผู้สมควรแก่สักการะ ทุกอย่าง บทว่า อนฺเนน อโถ (ข้าว) ได้แก่ ทั้งข้าว ทั้งน้ำ. บทว่า เปจฺจ (ละโลกนี้ไปแล้ว) ความว่า ในที่สุดแห่งการทำกาลกิริยา (ตาย) บุตรนั้นไปจากโลกนี้แล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในโลกสวรรค์.
พระมหาสัตว์ ได้แสดงพระธรรมเทศนาจบลง ประดุจว่าพลิกภูเขาสิเนรุขึ้น ด้วยประการฉะนี้. พระราชาเหล่านั้น และหมู่พลนิกายแม้ทั้งหมด ได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ต่างก็พากันเลื่อมใสแล้ว. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงแนะนำพระราชาเหล่านั้น ให้ตั้งอยู่ในศีลห้า แล้วสั่งสอนว่า ขอมหาบพิตรทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทในบุญมีทานเป็นต้นเถิด แล้วส่งเสด็จ พระราชาเหล่านั้นกลับไป. พระราชาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทรงปกครองราชสมบัติโดยธรรม ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ก็ทรงกระทำเทพนครให้เต็ม. โสณบัณฑิต และนันทบัณฑิตดาบส ๒ พี่น้อง ได้ปฏิบัติบำรุงมารดาบิดา ตราบจนถึงสิ้นอายุ ก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ สัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดาบิดาได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 323
แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า มารดาบิดาของเราในกาลนั้น ได้มาเป็น ตระกูล มหาราช ในบัดนี้ พระเจ้ามโนชราช ในกาลนั้น ได้มาเป็น พระสารีบุตร. พระราชา ๑๐๑ พระองค์ ได้มาเป็น พระอสีติมหาเถระ และมาเป็น พระสาวก อื่นๆ. หมู่พลนิกาย ๒๔ อักโขภิณี ก็ได้มาเป็นพุทธบริษัท. นันทบัณฑิต ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนโสณบัณฑิต ก็คือเราตถาคตนั่นเอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโสณนันทชาดก
จบอรรถกถาสัตตตินิบาต ด้วยประการฉะนี้
รวมชาดกในสัตตตินิบาตนั้น มี ๒ ชาดก คือ
กุสชาดก ๑ โสณนันทชาดก ๑ ชาดกทั้งสองนี้ปรากฏอยู่ในสัตตตินิบาต และอรรถกถา.