๒. มหาหังสชาดก ว่าด้วยหงส์ชื่อสุมุขะ ไม่ละทิ้งพญาหงส์ติดบ่วง
[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 374
๒. มหาหังสชาดก
ว่าด้วยหงส์ชื่อสุมุขะ ไม่ละทิ้งพญาหงส์ติดบ่วง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 374
๒. มหาหังสชาดก
ว่าด้วยหงส์ชื่อสุมุขะ ไม่ละทิ้งพญาหงส์ติดบ่วง
[๑๙๙] หงส์เหล่านั้นถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมบินหนีไป ดูก่อนสุมขะ ผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณดังทอง ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด หมู่ญาติละทิ้งเราซึ่งตกอยู่ในอำนาจบ่วงตัวเดียว บินหนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทำไม ดูก่อน สุมุขะผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไปเสียเถิด ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มี ท่านอย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสีย ตามความปรารถนาเถิด.
[๒๐๐] ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย ความเป็นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับพระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบ ในกรรมอันประกอบด้วยความไม่ประเสริฐเลย ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นสหายสหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดำรงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 375
ในจิตของพระองค์ ใครๆ ก็รู้ว่า ข้าพระองค์เป็นเสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้ ไม่สามารถจะทำกิจอันไม่ประเสริฐได้.
[๒๐๑] ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเราซึ่งเป็นทั้งนายทั้งสหาย ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐ นี้แลเป็นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย จริงอยู่ เมื่อเรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย ท่านจักให้เราเป็นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้.
[๒๐๒] เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐ ซึ่งประพฤติธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันด้วยประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่นรีบเดินเข้ามา สุมุขหงส์เห็นนายพรานนั้นกำลังเดินมา จึงได้ร้องเสียงดังยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญาหงส์ตัวหวาดกลัวให้เบาใจด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ด้วยว่าบุคคลทั้งหลายเช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จะประกอบความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 376
พระองค์จะพ้นจากบ่วงด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้นได้โดยพลัน.
[๒๐๓] นายพรานได้ฟังคำสุภาษิตของสุมุขหงส์นั้น แล้วขนลุกชูชัน นอบน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์ แล้วถามว่า เราไม่เคยได้ฟัง หรือไม่เคยได้เห็นนกพูดภาษามนุษย์ได้ ท่านแม้จะเป็นนกก็พูดภาษาอันประเสริฐ เปล่งวาจาจากภาษามนุษย์ได้ พญาหงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้นแล้วทำไมจึงเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งไปหมด เพราะเหตุใดท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.
[๒๐๔] ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์นั้นเป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้เป็นเสนาบดี ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่งเป็นอธิบดีของหงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์นี้เป็นนายของหมู่หงส์เป็นอันมาก และของข้าพเจ้า อย่าให้พระองค์ผู้เดียวพึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อน นายพรานผู้สหาย เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงยินดีรื่นรมย์อยู่.
[๒๐๕] ดูก่อนหงส์ ท่านย่อมนอบน้อมก้อนอาหาร ชื่อว่ามีความประพฤติธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้าจะปล่อยนายของท่าน ท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 377
[๒๐๖] ดูก่อนสหาย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน ข้าพเจ้าจะขอรับทักษิณาอภัยของท่านนี้ ดูก่อนนายพราน ถ้าท่านไม่ได้ดักหงส์และนกทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน ท่านไม่มีอิสระ ถ้าท่านปล่อยเราทั้งสองเสีย ท่านก็ชื่อว่ากระทำความเป็นขโมย.
[๒๐๗] ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาพระองค์ใด จงนำข้าพเจ้าไปให้ถึงพระราชาพระองค์นั้น ตามปรารถนาเถิด พระเจ้าสังยมนะจักทรงกระทำตามพระประสงค์ ในพระราชนิเวศน์นั้น.
[๒๐๘] นายพรานอันสุมุขหงส์กล่าวด้วยประการอย่างนี้แล้ว จึงเอามือทั้งสองประคองพญาหงส์ทอง ตัวมีสีดังทองคำ ค่อยๆ วางลงในกรง นายพรานพาพญาหงส์ทั้งสอง ตัวมีผิวพรรณอันผุดผ่องคือ สุมุขหงส์ และพญาหงส์ธตรฐซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป.
[๒๐๙] พญาหงส์ธตรฐอันนายพรานนำไปอยู่ได้กล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ดูก่อนสุมุขะ เรากลัวนัก ด้วยนางหงส์ตัวมีผิวพรรณดังทองคำ มีขาได้ลักษณะ นางรู้ว่าเราถูกฆ่า ก็จักฆ่าตนเสียโดยแท้ ดูก่อนสุมุขะ ก็ราชธิดาของพญาปากหงส์ นามว่าสุเหมา มีผิวงามดังทองคำจักร่ำไห้อยู่ เหมือนนางนกกระเรียนตัวกำพร้า ร่ำไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทรฉะนั้นเป็นแน่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 378
[๒๑๐] การที่พระองค์เป็นใหญ่กว่าโลกคือ หงส์ ใครๆ ไม่สามารถจะประมาณคุณได้ เป็นครูของหมู่คณะใหญ่ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้ เหมือนไม่ใช่ความประพฤติของผู้มีปัญญา ลมย่อมพัดพานทั้งกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น เด็กอ่อนย่อมเก็บผล ไม้ทั้งดิบทั้งสุก คนตาบอดผู้โลภในรสย่อมถือเอา ฉันใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น พระองค์ไม่รู้จักตัดสินใจ ในเหตุทั้งหลายปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนคนเขลา พระองค์จะถึงมรณกาลแล้ว ยังไม่ทรงทราบกิจที่ควร และไม่ควร พระองค์เห็นจะเป็นกึ่งคนบ้า บ่นเพ้อไปต่างๆ ทรงสำคัญหญิงว่าเป็นผู้ประเสริฐ แท้จริงหญิงเหล่านี้ เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก เหมือนโรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่พวกนักเลงสุราฉะนั้น อนึ่ง หญิงเหล่านี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุแห่งความเศร้าโศกเป็นเหตุเกิดโรคและอันตราย อนึ่ง หญิงเหล่านี้เป็นคนหยาบคาย เป็นเครื่องผูกมัด เป็นบ่วง เป็นถ้ำที่อยู่ของมัจจุราชบุรุษใดพึงหลงระเริงใจในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนเลวทรามในหมู่นระ.
[๒๑๑] วัตถุใด อันท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้จักดีแล้ว ใครควรจะติเตียนวัตถุนั้นเล่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายมีคุณมาก เกิดแล้วในโลก ความคะนองอันบุคคลตั้งไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น ความยินดีอันบุคคล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 379
ตั้งเฉพาะไว้แล้วในหญิงเหล่านั้น พืชทั้งหลาย (มี พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น) ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นพึงเจริญ บุรุษไรมาเกี่ยวข้องชีวิตหญิงด้วยชีวิตของตนแล้ว พึงเบื่อหน่ายในหญิงเหล่านั้น ดูก่อนสุมุขะ ท่านนั่นแหละ ไม่ต้องคนอื่นละ ก็ประกอบในประโยชน์ของหญิงทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้นแก่ท่านในวันนี้ ความคิดเกิดขึ้นเพราะความกลัว จริงอยู่ บุคคลทั้งปวงผู้ถึงความสงสัยในชีวิต มีความหวาดกลัว ย่อมอดกลั้นความกลัวไว้ได้ เพราะว่า บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันใหญ่ ย่อมประกอบในประโยชน์อันมากที่จะประกอบได้ พระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงปรารถนาความกล้าหาญของมนตรีทั้งหลาย เพื่อทรงประสงค์ที่จะได้ความกล้าหาญนั้น ป้องกันอันตรายและสามารถป้องกันพระองค์เองด้วย วันนี้ท่านจงกระทำด้วยประการที่พวกพนักงานเครื่องต้นของพระราชา อย่าเชือดเฉือนเราทั้งสองในโรงครัวใหญ่เถิด จริงอย่างนั้น สีแห่งขน ปีกทั้งหลายจะฆ่าท่านเสีย เหมือนขุยไม้ไผ่ ฉะนั้นท่านแม้นายพรานจะปล่อย แล้วไม่ปรารถนาจะบินหนีไป ยังเข้ามาใกล้บ่วงเองอีกทำไมเล่า วันนี้ ท่านถึงความสงสัยในชีวิตแล้ว จงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่ายื่นปากออกไปเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 380
[๒๑๒] ท่านนั้นจงประกอบความเพียร ที่สมควรอันประกอบด้วยธรรม จงประพฤติการแสวงหาทาง ที่จะช่วยให้เรารอดชีวิต ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้ว ของท่านเถิด.
[๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณวิริยะเช่น พระองค์ย่อมไม่กลัวเลย ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรที่สมควรอันประกอบด้วยธรรม พระองค์จะหลุดพ้นจากบ่วง ด้วยความเพียรอันผ่องแผ่วของข้าพระองค์ โดยเร็วพลัน.
[๒๑๔] นายพรานนั้น เข้าไปยังประตูพระราชวังพร้อมด้วยหาบหงส์แล้ว จึงส่งนายประตูว่า ท่านจงไปกราบทูลถึงเราแด่พระราชาว่า พญาหงส์ธตรฐนี้มาแล้ว.
[๒๑๕] ได้ยินว่า พระเจ้าสัญญมนะทอดพระเนตรเห็นหงส์ทองทั้งสองตัวรุ่งเรืองด้วยบุญ หมายรู้ด้วยลักษณะ แล้วตรัสสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ผ้า ข้าว น้ำ และเครื่องบริโภค แก่นายพราน เงินเป็นสิ่งกระทำความปรารถนาแก่เขา เขา ประมาณเท่าใด ท่านทั้งหลายจงให้แก่เขาประมาณ เท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 381
[๒๑๖] พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนายพรานผู้มีความผ่องใส แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนเขมกะผู้สหาย ก็สระโบกขรณีนี้เต็มไปด้วยฝูงหงส์ ตั้งอยู่ (น้ำ เต็มเปี่ยม) อย่างไรท่านจึงถือบ่วงเดินเข้าไปใกล้พญาหงส์ซึ่งอยู่ในท่ามกลางฝูงหงส์ ที่น่าชอบใจเกลื่อน กล่นไปด้วยฝูงหงส์ที่เป็นญาติ ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้ และจับเอามาได้อย่างไร.
[๒๑๗] วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติดตามรอยเท้าของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือเอาเหยื่อ ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วงลงในที่นั้น ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วย อุบายอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
[๒๑๘] ดูก่อนนายพราน หงส์นี้มีอยู่สองตัว ไฉนท่านจึงกล่าวว่ามีตัวเดียว จิตของท่านวิปริตไปแล้วหรือ หรือว่าท่านคิดจะหาประโยชน์อะไร.
[๒๑๙] หงส์ตัวที่มีพื้นแดง มีสีงดงามดุจทองคำ กำลังหลอม รอบๆ คอจรดทรวงอกนั้น ข้ามาติดบ่วงของข้าพระองค์ แต่หงส์ตัวที่ผุดผ่องนี้มิได้ติดบ่วง เมื่อจะกล่าวถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์ ได้ยืนกล่าวถ้อยคำ อันประเสริฐกะพญาหงส์ที่ติดบ่วง ซึ่งกระสับกระส่ายอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 382
[๒๒๐] ดูก่อนสุมุขหงส์ เหตุไรหนอท่านจึงยืนขบคางอยู่ในบัดนี้ หรือว่าท่านมาถึงบริษัทของเราแล้วกลัวภัย จึงไม่พูด.
[๒๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี ข้าพระองค์เข้าสู่บริษัทของพระองค์แล้ว จะกลัวภัยก็หาไม่ ข้าพระองค์จักไม่พูดเพราะกลัวภัยก็หาไม่ แต่เมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์จึงจักพูด.
[๒๒๒] เราไม่เห็นบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ พลรถ พลเดินเท้า เกราะ โล่ และนายขมังธนูผู้สวมเกราะของท่านเลย ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านอาศัยสิ่งใดหรือว่าเข้าไปในสถานที่ใดแล้วไม่กลัวสิ่งที่จะพึงกลัว เราไม่เห็นสิ่งนั้น หรือสถานที่นั้นแม้เป็นเงิน ทองหรือนครที่สร้างไว้อย่างดีซึ่งมีคูรายรอบ ยากที่จะไปได้ มีหอรบและเชิงเทินอันมั่นคงเลย.
[๒๒๓] ข้าพระองค์ไม่ต้องการด้วยบริษัทผู้ยิ่งใหญ่หรือนครหรือทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ไปสู่ทางโดยสถานที่มิใช่ทาง ข้าพระองค์เป็นสัตว์เที่ยวไปในอากาศ ก็พระองค์ทรงสดับข่าวว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิต และเป็นผู้ละเอียดคิดข้ออรรถ ถ้าพระองค์ ทรงดำรงมั่นอยู่ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึง กล่าววาจาอันมีอรรถด้วยคำที่ข้าพระองค์กล่าวแล้วแม้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 383
จะเป็นสุภาษิต ก็จักทำอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์มิได้ ผู้ไม่ประเสริฐมักตรัสคำเท็จ ผู้หยาบช้า.
[๒๒๔] พระองค์ได้ตรัสสั่งให้ขุดสระชื่อว่าเขมะ นี้ตามถ้อยคำของพวกพราหมณ์ และพระองค์ตรัสสั่ง ให้ประกาศอภัยทั่วสิบทิศ หงส์เหล่านั้นจึงได้พากันบินลงสู่สระโบกขรณี อันมีน้ำใสสะอาด ในสระโบกขรณีนั้นมีอาหารอย่างเพียงพอและไม่มีการเบียดเบียนนกทั้งหลายเลย พวกข้าพระองค์ได้ยินคำประกาศนี้แล้ว จึงพากันบินมาในสระของพระองค์ พวกข้าพระองค์นั้นๆ ก็ถูกบ่วงรัดไว้ นี่เป็นคำตรัสเท็จของพระองค์ บุคคลกระทำมุสาวาท และความโลภคือ ความอยากได้ อันลามกเป็นเบื้องหน้าแล้ว ก้าวล่วงปฏิสนธิในเทวโลกและมนุษยโลกทั้งสอง ย่อมเข้าถึงนรกอันไม่เพลิดเพลิน.
[๒๒๕] ดูก่อนสุมุขหงส์ เรามิได้ทำผิด ทั้งมิได้จับท่านมาด้วยความโลก ก็เราได้สดับมาว่า ท่านทั้งหลายเป็นบัณฑิตเป็นผู้ละเอียดและคิดข้ออรรถ ทำไฉนท่านทั้งหลายจึงจะมากล่าววาจาอันอาศัยอรรถในที่นี้ ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้สหาย นายพรานผู้นี้เราส่งไป จึงไปจับเอาท่านมาด้วยความประสงค์นั้น.
[๒๒๖] ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวกาสี เมื่อชีวิตน้อมเข้าไปใกล้ความตายแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 384
ถึงมรณกาลแล้ว จะไม่พึงกล่าววาจาอันมีเหตุเลย ผู้ใดฆ่าเนื้อด้วยเนื้อต่อ ฆ่านกด้วยนกต่อ หรือดักผู้เลื่องลือด้วยเสียงที่เลื่องลือ จะมีอะไรเป็นความเลวทราม ยิ่งกว่าความเลวทรามของผู้นั้น ก็ผู้ใดพึงกล่าววาจา อันประเสริฐแต่ประพฤติธรรมไม่ประเสริฐ ผู้นั้น ย่อมพลาดจากโลกทั้งสอง คือโลกนี้และโลกหน้า บุคคลได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึงความทุกข์อันเป็นเหตุสงสัยในชีวิตแล้ว ไม่พึงเดือดร้อน พึงพยายามในกิจทั้งหลายร่ำไป และพึงปิดช่องทั้งหลาย ชนเหล่าใดเป็นผู้เจริญ ถึงเวลาใกล้ตาย ไม่ล่วงเลยประโยชน์อย่างยิ่ง ประพฤติธรรมในโลกนี้ ชนเหล่านั้นย่อมไปสู่ไตรทิพย์ด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่พระจอมแต่งชนชาวกาสี พระองค์ทรงสดับคำนี้แล้ว ขอจงทรงรักษาธรรมในพระองค์ และได้ทรงโปรดปล่อยพญาหงส์ธตรฐที่ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
[๒๒๗] ชาวพนักงานทั้งหลาย จงนำน้ำ น้ำมัน ทาเท้าและอาสนะอันมีค่ามากมาเถิด เราจะปล่อยพญาหงส์ธตรฐ ซึ่งเรืองยศออกจากกรง และสุมุขหงส์ เสนาบดีตัวมีปัญญา เป็นผู้ละเอียดคิดอรรถที่ยากได้ง่าย ผู้ใดเมื่อพระราชามีสุขก็สุขด้วย เมื่อพระราชามีทุกข์ ก็ทุกข์ด้วย ผู้เช่นนี้แลย่อมสมควรเพื่อจะบริโภคก้อน ข้าวของนายได้ เหมือนสุมุขหงส์เป็นราชสหายทั่วไป แก่สัตว์มีชีวิต ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 385
[๒๒๘] พญาหงส์ธตรฐเข้าไปเกาะตั่ง อันล้วนแล้วไปด้วยทองคำมี ๘ เท้า น่ารื่นรมย์ใจ เกลี้ยงเกลา ลาดด้วยผ้าแคว้นกาสี สุมุขหงส์เข้าไปเกาะเก้าอี้อัน ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง ในลำดับแห่งพญาหงส์ธตรฐ ชนชาวกาสีเป็นอันมาก ต่างถือเอาโภชนะอันเลิศที่เขาส่งไปถวายพระราชา นำเข้าไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น ด้วยภาชนะทองคำ.
[๒๒๙] พญาหงส์ธตรฐผู้ฉลาด เห็นโภชนะอันเลิศที่เขานำมาให้ อันพระเจ้ากาสีประทานส่งไป จึงได้ถามธรรมเนียม เครื่องปฏิสันถารในกาลเป็นลำดับ นั้นว่า พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ ทรงสำราญดีอยู่หรือ ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดย ธรรมหรือ.
[๒๓๐] ดูก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ อนึ่ง เรามีความสำราญดีและเราก็ปกครองรัฐมณฑล อันสมบูรณ์นี้โดยธรรม.
[๒๓๑] โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์แลหรือ และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของพระองค์แลหรือ.
[๒๓๒] โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของ เรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 386
[๒๓๓] พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยของพระองค์ แลหรือ.
[๒๓๔] พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูป พระโฉม และพระยศเป็นไปตามอัธยาศัยของเรา.
[๒๓๕] พระองค์มิได้ทรงเบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ทรงปกครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหนๆ โดยความไม่เกรี้ยวกราดโดยธรรม โดยความสม่ำเสมอแลหรือ.
[๒๓๖] เรามิได้เบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ปกครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหนๆ โดยความไม่เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอ.
[๒๓๗] พระองค์ทรงยำเกรงสัตบุรุษ ทรงเว้นอสัตบุรุษแลหรือ พระองค์ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรงประพฤติคล้อยตามอธรรมแลหรือ.
[๒๓๘] เรายำเกรงสัตบุรุษ เว้นอสัตบุรุษ ประพฤติคล้อยตามธรรมละทิ้งอธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 387
[๒๓๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ ทรงพิจารณาเห็นชัดซึ่งพระชนมายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่หรือ พระองค์ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา ไม่สะดุ้งกลัวปรโลกหรือ.
[๒๔๐] ดูก่อนพญาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัด ซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้วใน ธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศลธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิดแก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอันหยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของสุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.
[๒๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ ความพลั้งพลาดนั้นมีแก่ข้าพระองค์โดยความรีบร้อน ก็เมื่อพญาหงส์ธตรฐติดบ่วง ข้าพระองค์มีความทุกข์มากมาย ขอพระองค์ได้ทรงโปรดเป็นที่พึ่ง ของข้าพระองค์ เหมือนบิดาเป็นที่พึ่งของบุตร และดุจแผ่นดินเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์ฉะนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นราช-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 388
กุญชร ขอพระองค์ได้ทรงโปรดงดโทษแก่ข้าพระองค์ ผู้ถูกความผิดครอบงำเถิด.
[๒๔๒] เราย่อมอนุโมทนาแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านไม่ปกปิดความในใจ ดูก่อนหงส์ ท่านซื่อตรง จงทำลายความข้องใจเสียเถิด.
[๒๔๓] ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์ของเราผู้เป็นพระเจ้ากาสี คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์อันมากมาย แก้วมณี สังข์ ไข่มุก ผ้า จันทน์แดง และเหล็กอีกมาก เราขอให้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดนี้แก่ท่าน และขอสละ ความเป็นใหญ่ให้แก่ท่าน.
[๒๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นอันพระองค์ทรงยำเกรง และทรงสักการะโดยแท้ ขอพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของข้าพระองค์ทั้งสอง ซึ่งประพฤติอยู่ในธรรมทั้งหลายเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นอาจารย์ ผู้ปราบปรามข้าศึก ข้าพระองค์ทั้งสองอันพระองค์ทรงยอมอนุญาตแล้ว จักกระทำประทักษิณพระองค์แล้ว จักกลับไปหาหมู่ญาติ.
[๒๔๕] พระเจ้ากาสีทรงดำริ และทรงปรึกษาข้อความที่ได้กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวง แล้วทรงอนุญาตพญาหงส์ทั้งสอง ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์ ทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 389
[๒๔๖] เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต เมื่อราตรีสว่างจ้า พญาหงส์ทั้งสองก็พากันบินไปจากพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากาสี.
[๒๔๗] หงส์เหล่านั้น เห็นพญาหงส์ทั้งสองที่ยิ่งใหญ่ไม่มีโรคกลับมาถึง จึงพากันส่งเสียงว่า เกเก ได้เกิดเสียงอื้ออึงขึ้น หงส์มีความเคารพนายเหล่านั้น ได้ปัจจัยมีปีติโสมนัส เพราะนายหลุดพ้นกลับมา พากันกระโดดโลดเต้น เข้าไปห้อมล้อมโดยรอบ.
[๒๔๘] ประโยชน์ทั้งปวง ของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยกัลยาณมิตรย่อมให้สำเร็จความสุขความเจริญ เหมือนพญาหงส์ธตรฐและสุมุขหงส์ สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร เกิดประโยชน์ ให้สำเร็จความสุขความเจริญกลับมายังหมู่ญาติ ฉะนั้น.
จบมหาหังสชาดกที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 390
อรรถกถามหาหังสชาดก
พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง พระปรารภ การสละชีวิตของพระอานนท์เถระ ทีเดียว ตรัสพระธรรมเทศนา นี้มีคำเริ่มต้นว่า เอเต หํสา ปกฺกมนฺติ (หงส์เหล่านั้น... ย่อมบินหนีไป) ดังนี้.
ส่วนเรื่องราวก็คงเหมือนกับเรื่องที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
ก็ในวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอานนท์ผู้มีอายุสละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์แก่พระตถาคต กระทำกิจอันยากที่ผู้อื่นจะกระทำได้ ท่านเห็นช้างนาลาคิรีแล้ว แม้ถูกพระศาสดาตรัสห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ยอมกลับเลยทันที น่าชมเชยพระอานนทเถระ ผู้มีอายุ กระทำกิจที่ผู้อื่นกระทำได้ยาก. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ถ้อยคำสรรเสริญคุณของพระอานนท์กำลังเป็นไปอยู่ เราควรไปในที่นั้น จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ในบัดนี้ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงในกาลก่อน อานนท์แม้บังเกิดแล้ว ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็ได้ยอมเสียสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่ตถาคตแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในเมือง พาราณสี พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า สังยมะ * มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า เขมา. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มี หมู่หงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร อาศัยอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ. อยู่มา
* บาลีเป็นสังยมนะบ้าง สัญญมนะบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 391
วันหนึ่ง พระนางเขมาเทวีได้ทรงพระสุบินนิมิตในเวลาใกล้รุ่งว่า มีพญาหงส์ทอง ๒ ตัว มาจับอยู่ที่พระราชบัลลังก์ แล้วแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอัน ไพเราะ เมื่อพระนางเทวีประทานสาธุการทรงสดับธรรมกถาอยู่ ยังมิทันเอิบอิ่มในการสดับธรรมทีเดียว ราตรีก็สว่างเสียแล้ว พญาหงส์ทั้งสอง ครั้นแสดงธรรมแล้ว จึงพากันบินออกไปทางช่องพระแกล แม้พระนางก็รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงรีบลุกขึ้น ช่วยกันจับ ช่วยกันจับหงส์ที่กำลังบินหนีไป กำลังเหยียดพระหัตถ์อยู่นั่นแล ก็ตื่นจากพระบรรทม เหล่านางกำนัลได้ยินพระราชเสาวนีย์ ของพระนาง ก็พากันแย้มสรวลเล็กน้อยว่า หงส์ที่ไหนกัน พระนางจึงทรงทราบในขณะนั้นว่า ทรงสุบินนิมิตไป จึงทรงดำริว่า สิ่งที่ไม่เป็นความจริง เราจะไม่ฝันเห็นพญาหงส์ที่มีสีประดุจทองคำคงจักมีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่แท้ แต่ถ้าเราจักทูลพระราชาว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมของพญาหงส์ทองทั้งหลาย พระองค์จะตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าหงส์ทองทั้งหลาย เรายังไม่เคยเห็นเลย และธรรมดาว่าหงส์ทั้งหลาย จะกล่าวถ้อยคำได้ ก็ไม่เคยมีมาเลย ดังนี้ ก็จักเป็นผู้ไม่ทรงขวนขวายให้ แต่เมื่อเราทูลว่า เราตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องแล้ว พระองค์คงจักทรงสืบเสาะแสวงหาโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ความปรารถนา ของเราจักสำเร็จสมดังมโนรถ ด้วยอาการอย่างนี้ พระนางจึงแสร้งแสดงอาการประชวร ให้สัญญาแก่เหล่านางกำนัล ทรงบรรทมนิ่งอยู่ พระราชาประทับนั่ง ณ พระราชอาสน์ มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางในเวลาที่พระนางเคยเข้าเฝ้า จึงตรัสถามนว่า พระนางเขมาไปไหน ทรงสดับว่า ประชวร จึงเสด็จไปยัง สำนักของพระนาง ประทับนั่ง ณ ประเทศส่วนหนึ่ง ข้างที่พระบรรทม ทรง ลูบพระปฤษฎางค์ตรัสถามว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เธอไม่สบายเป็นอะไรไปหรือ. พระนางทูลตอบว่า ขอเดชะ ความไม่สบายอย่างอื่นมิได้มี แต่อาการทรงครรภ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 392
บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนาง ถ้าเช่นนั้นจงบอกมาเถิด เธอปรารถนาสิ่งใด เราจะน้อมนำสิ่งนั้นมาให้เธอโดยเร็ว พระนาง ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า หม่อมฉันปรารถนาจะทำการบูชาด้วยของหอมและ ระเบียบดอกไม้เป็นต้น แก่พญาหงส์ทองตัวหนึ่ง ซึ่งจับอยู่ที่ราชบัลลังก์ มีเศวตฉัตรอันยกขึ้นไว้แล้ว ให้สาธุการสดับธรรมกถา (ของพญาหงส์นั้น) ถ้าหม่อมฉันได้อย่างนี้ การได้ด้วยประการดังนี้นั้นเป็นการดี ถ้าหากไม่ได้ ชีวิตของหม่อนฉันก็จะไม่มี. ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงปลอบเอาพระทัย พระนางว่า ถ้าสุพรรณหงส์มีอยู่ในมนุษย์โลก เธอก็คงจักได้สมประสงค์ อย่าเสียใจไปเลย แล้วเสด็จออกจากห้องอันมีสิริ ตรัสปรึกษากับพวกอำมาตย์ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระนางเขมาเทวีตรัสกะเราว่า หม่อมฉันได้สดับธรรมกถาของพญาหงส์ทองจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่ได้แล้วชีวิตของหม่อมฉันก็จะไม่มี หงส์ที่มีสีดุจทองคำยังมีอยู่บ้างหรือ. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็น ทั้งไม่เคยได้ยินเลย พระเจ้าข้า. พระราชา ตรัสถามว่า ก็มีใครจะพึงรู้จักบ้าง. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสสั่งให้เชิญพราหมณ์ทั้งหลายมา ทรงกระทำสักการะแล้ว ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ทั้งหลาย หงส์ที่มีสีดังทองคำยังมีอยู่บ้างหรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์ดิรัจฉาน ๖ จำพวก เหล่านี้ คือ ปลา ปู เต่า เนื้อ นกยูง หงส์ มีมาในมนต์ของข้าพเจ้าทั้งหลายว่า มีสีดุจทองคำ บรรดาสัตว์ทั้ง ๖ จำพวกนี้ ขึ้นชื่อว่าเหล่าหงส์ที่ เกิดในตระกูลธตรฐ เป็นสัตว์ฉลาดประกอบด้วยความรู้ นับทั้งพวกมนุษย์ด้วย ย่อมเป็นสัตว์ที่มีพรรณประหนึ่งทองคำ รวมเป็น ๗ จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 393
พระราชาทรงดีพระทัยตรัสถามว่า เหล่าหงส์ที่เกิดในตระกูลธตรฐนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ท่านอาจารย์. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ ไม่ทราบพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า มีใครรู้จักพวกหงส์เหล่านั้นบ้าง เมื่อพวกพราหมณ์ทูลว่า พวกบุตรนายพรานจักทราบ จึงตรัสสั่งให้เรียกพวกนายพราน ในแคว้นของพระองค์มาประชุมกันทั้งหมด แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าหงส์ตระกูลธตรฐมีสีดังทองคำ อยู่ ณ ที่ไหน. ลำดับนั้น นายพรานคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ได้ทราบมาว่า ตระกูลแห่งญาติทั้งหลายกล่าวสืบๆ กันมาว่า หงส์เหล่านั้นอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏ ในประเทศหิมวันต์. พระราชาตรัสถามว่า ก็ท่านพอจะรู้อุบายที่จะจับหงส์ เหล่านั้นได้หรือ. พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่ทราบ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ก็ชนเหล่าไหนจักทราบเล่า. พวกนายพรานกราบทูลว่า พวกพราหมณ์ พระเจ้าข้า. ท้าวเธอจึงรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ที่ เป็นบัณฑิตมาแล้ว ตรัสบอกความที่พวกหงส์มีพรรณดังทองคำ มีอยู่ ณ ภูเขาจิตตกูฏแล้ว ตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายยังจะรู้จักอุบายที่จะจับหงส์เหล่านั้น หรือ. พวกพราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ประโยชน์อะไรที่จะต้องไปจับหงส์เหล่านั้น ถึงภูเขาจิตตกูฏนั้น ข้าพระองค์จักนำหงส์เหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้พระนครแล้ว จักจับเอาด้วยอุบาย. พระราชาตรัสถามว่า ก็อุบายอะไรเล่า. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงตรัสสั่งให้ขุดสระใหญ่ ชื่อว่า เขมะ ประมาณ ๓ คาวุตทางทิศเหนือแต่พระนคร ให้เต็มด้วยน้ำแล้ว ปลูกธัญชาติต่างๆ กระทำให้ดารดาษไปด้วยดอกบัวเบญจพรรณ ให้นายพรานผู้ฉลาดคนหนึ่งอยู่ประจำรักษา อย่าให้หมู่มนุษย์เข้าไปใกล้ ให้คนอยู่ ๔ มุมสระคอยประกาศอภัย สกุณชาติต่างๆ ก็จักลงจากทิศทั้งหลายซึ่งเห็นได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 394
หงส์เหล่านั้นได้สดับว่า สระนั้นเป็นที่เกษมสำราญ โดยที่เล่าลือกันสืบๆ มา ก็จักพากันมา เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์พึงให้ดักด้วยบ่วงอันทำด้วยขนสัตว์ แล้วจับเอาหงส์เหล่านั้นเถิด.
พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงให้สร้างสระมีประการดังกล่าวแล้ว ในประเทศที่พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลบอก แล้วตรัสสั่งให้เรียกนายพรานผู้ฉลาดมา ทรงปลอบประโลมนายพรานนั้นว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่านจงเลิกกระทำการงานของตนเสียเถิด เราจักเลี้ยงดูบุตรและภรรยาของท่านเอง ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงรักษาสระเขมะ ให้พวกมนุษย์ถอยกลับแล้ว ประกาศอภัยในมุมสระทั้ง ๔ พึงบอกถึงฝูงนกที่มาแล้วและมาแล้วแก่เรา. เมื่อสุวรรณหงส์ ทั้งหลายมาแล้ว ท่านจักได้สักการะใหญ่ แล้วให้รักษาสระเขมะ. จำเดิมแต่นั้นมา นายพรานนั้นก็ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น โดยนัยที่พระราชาตรัสสั่งไว้ทีเดียว. ก็นายเนสาทนั้นปรากฏชื่อว่า นายเขมเนสาท ดังนี้ทีเดียว เพราะรักษาสระเขมะ. และจำเดิมแต่นั้นมา สกุณชาติทั้งหลายต่างๆ ชนิดก็พากันลงสู่สระนั้น. พวกหงส์ต่างๆ พากันมาด้วยเสียงประกาศชักชวนกันต่อๆ มาว่า เขมสระไม่มีภัย. ทีแรกพวกติณหงส์มาก่อน แล้วพวกบิณฑุหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกติณหงส์เหล่านั้น แล้วพวกมโนศิลาวรรณหงส์ ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศ ของพวกบัณฑุหงส์ แล้วเสตหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของพวกมโนศิลาวรรณหงส์นั้น ต่อจากนั้นพวกปากหงส์ก็พากันมาด้วยเสียงประกาศของเสตหงส์เหล่านั้น ครั้นพวกหงส์เหล่านั้นมาแล้ว นายเขมเนสาทจึงได้มาเฝ้ากราบทูล แด่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หงส์มากินอาหารในสระถึง ๕ ประเภทแล้ว พวกหงส์มีสีดังทองคำ ก็คงจักมาใน ๒ - ๓ วันนี้เป็นแน่ เพราะ พวกปากหงส์มาแล้ว ขอพระองค์อย่าได้ทรงวิตกไปเลย พระเจ้าข้า พระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 395
ทรงสดับคำนั้น จึงให้ราชบุรุษเที่ยวตีกลสองประกาศทั่วไปในพระนครว่า บุคคล อื่นอย่าพึงเข้าไปในเขมสระนั้น บุคคลผู้ใดเข้าไป บุคคลผู้นั้นจักถึงการตัดมือ และเท้าและถูกริบเรือนด้วย. จำเดิมแต่วันนั้นมา ใครๆ ก็ไม่อาจเข้าไปใน สระนั้น ก็พวกปากหงส์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในถ้ำทอง ใกล้ภูเขาจิตตกูฏ แม้ปากหงส์เหล่านั้นเป็นสัตว์มีกำลังมาก อนึ่ง วรรณะแห่งสรีระของพวกปากหงส์ เหล่านั้น ก็มิได้ผิดแปลกกับหงส์ตระกูลธตรฐ ก็ธิดาแห่งพญาหงส์ปากราช มีวรรณะประดุจทองคำ พญาปากหงส์นั้น ดำริว่า ธิดาของเรานี้ สมควรแก่ ธตรฐราชหงส์ที่มีความยิ่งใหญ่ จึงส่งนางไปให้เป็นบาทบริจาริกาของพญาหงส์ธตรฐนั้น นางได้เป็นที่รักทำเจริญของพญาหงส์ธตรฐนั้น เพราะเหตุ นั้นแล ตระกูลหงส์ทั้งสองนั้น จึงได้เกิดมีความคุ้นเคยกันอย่างสนิทสนม.
อยู่มาวันหนึ่ง พวกหงส์ที่เป็นบริวารของพระโพธิสัตว์ถามพวกปากหงส์ ว่า ทุกๆ วันนี้ พวกท่านไปเที่ยวหาอาหารกินที่ไหน. พวกเราไปหาอาหารกิน ในเขมสระใกล้เมืองพาราณสี. ก็พวกท่านไปเที่ยวหากินที่ไหนเล่า. เมื่อพวกหงส์เหล่าธตรฐบอกว่า พวกเราไปหาอาหารกินในที่โน้นๆ พวกปากหงส์จึง กล่าวพรรณนาคุณเขมสระว่า ทำไมพวกท่านจึงไม่ไปยังสระเขมะ ด้วยว่าสระ นั้นเป็นที่น่ารื่นรมย์ เกลื่อนกลาดไปด้วยสกุณชาติต่างๆ ชนิด ดารดาษไป ด้วยดอกบัวเบญจพรรณ สมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหารและผลไม้ต่างๆ มีหมู่ภมรต่างๆ ชนิดบินว่อนอยู่อึงมี่ ในมุมสระทั้ง ๔ มีเสียงประกาศอภัยเป็น ไปอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ไม่ว่ามนุษย์ไรๆ ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงการกระทำอันตรายอย่างอื่นๆ เล่า สระมีคุณเห็นปานนี้แล พวกเหล่าหงส์ธตรฐเหล่านั้น ได้สดับคำของพวกปากหงส์แล้ว จึงพากันไปบอกแก่สุมุขหงส์ว่า ได้ยินว่า มีสระ สระหนึ่งชื่อ เขมะ มีคุณภาพเห็นปานนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 396
อยู่ใกล้เมืองพาราณสี พวกปากหงส์ไปเที่ยวหาอาหารกินในสระนั้น แม้ท่านก็ จงบอกแก่พญาหงส์ธตรฐที่มีความเป็นใหญ่ยิ่ง ถ้าพระองค์อนุญาต แม้พวกข้าพเจ้าก็จะพึงไปหาอาหารในที่นั้นบ้าง สุมุขหงส์จึงบอกแก่พญาหงส์ แม้พญาหงส์นั้นก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลายมีเล่ห์เหลี่ยมมาก มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย น่าจะมีเหตุในที่นั้น ขึ้นชื่อว่าสระย่อมไม่มีในที่นั้น ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ชะรอยจะมีใครมาขุดไว้ และจักขุดไว้เพื่อคอยดักจับพวกเราเป็นแน่ พญาหงส์จึงกล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ท่านอย่าพอใจไปในที่นั้นเลย สระนั้นพวกมนุษย์เหล่านั้นมิได้ขุดไว้ตามธรรมดาของตน คงจะขุดไว้เพื่อต้องการจับพวกเรา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีเล่ห์เหลี่ยมมากมาย มีความคิดแหลม ฉลาดในอุบาย ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในที่โคจรของตนตามเดิมเถิด พวกหงส์ทองก็ได้บอกแก่สุมุขหงส์ว่า พวกเราใคร่จะไปยังเขมสระ ดังนี้ ถึงสองครั้งสามครั้ง สุมุขหงส์จึงบอกความที่พวกหงส์เหล่านั้นใคร่จะไป ในสระนั้นแก่พระมหาสัตว์. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงกล่าวว่า พวกญาติ ทั้งหลายของเรา จงอย่าได้ลำบากเพราะอาศัยเราเลย ถ้ากระนั้น เราทั้งหลายจะไปด้วยกัน มีหงส์เก้าหมื่นหกพันแวดล้อมเป็นบริวาร พากันไปหากินในสระนั้น เล่นหงสกีฬาแล้วบินกลับมายังเขาจิตตกูฏ. ฝ่ายนายพรานเขมกะในเวลาที่หงส์เหล่านั้นมาเที่ยวบินกลับไปแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า พวกหงส์ทองเหล่านั้นพากันมาแล้ว พระราชาทรงดีพระทัยตรัสสั่งว่า ดูก่อน สหายเขมกะ ท่านจงพยายามจับหงส์ทองนั้นไปให้สักตัวหนึ่งหรือสองตัว เรา จักให้ยศใหญ่แก่ท่าน แล้วจึงประทานเครื่องเสบียงส่งนายพรานนั้นไป นายเขมกเนสาทนั้นไปถึงที่สระนั้นแล้ว จึงนั่งนิ่งอยู่ในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่ม พิจารณาดูทำเลหากินของพวกหงส์ ธรรมดาว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีปกติไม่ประพฤติมักได้ เพราะเหตุนั้น พระมหาสัตว์จึงจิกกินข้าวสาลีไป โดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 397
ลำดับจำเดิมแต่ที่ที่ตนร่อนลง. ฝ่ายหงส์นอกนั้นเที่ยวจิกกินข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ลำดับนั้น บุตรนายพราน จึงคิดว่า หงส์ตัวนี้มีปกติไม่ประพฤติมักได้ เราควรดักหงส์ตัวนี้เถิด ในวันรุ่งขึ้น เมื่อหงส์ทั้งหลายยังไม่ทันร่อนลงมาสู่สระนั่นแล จึงนั่งในเรือนกรงที่มีสัณฐานดังตุ่มนั้นแล้ว ค่อยๆ กระเถิบไปสู่ที่นั้น แล้วจึงซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้าในที่ไม่ไกลนักแลดูอยู่ตามช่อง.
ในขณะนั้น พระมหาสัตว์มีหงส์เก้าหมื่นหกพันเป็นเบื้องหน้า ร่อนลงในสถานที่ที่ตนเคยร่อนลงแล้วในวันวานนั่นเอง จับอยู่ที่แอ่งจิกกินข้าวสาลี ไปพลาง. นายเนสาทแลดูตามช่องลูกกรง เห็นอัตภาพของพระโพธิสัตว์นั้น ถึงแล้วซึ่งส่วนอันงามเลิศด้วยรูปร่าง จึงคิดว่า หงส์ตัวนี้ มีร่างกายโตเท่าดุมเกวียน มีพรรณาดุจทองคำ มีรอยแดง ๓ รอยคาดอยู่ที่คอ มีรอยพาดลงไปทางลำคอไปโดยระหว่างท้อง ๓ รอย มีรอยแล่นไปตลอดโดยส่วนแห่งเบื้องหางอีก ๓ รอย ย่อมรุ่งเรืองประดุจลิ่มทองคำที่บุคคลวางไว้บนกลุ่มไหมกัมพลแดง หงส์ตัวนี้คงเป็นพญาแห่งหงส์เหล่านั้นเป็นแน่แท้ เราจักจับหงส์ ตัวนี้แหละ. แม้พญาหงส์เที่ยวหาอาหารได้เป็นอันมาก เล่นกีฬาในน้ำ มีฝูงหงส์แวดล้อมกลับไปยังเขาจิตตกูฏทีเดียว พระโพธิสัตว์เที่ยวหากินอาหาร โดยทำนองนี้ตลอดกาลประมาณ ๕ - ๖ วัน. ในวันที้ ๗ นายพรานเขมกะ ขวั้นเชือกเส้นใหญ่ที่ทำด้วยขนหางม้าสีดำให้มั่นคง กระทำให้เป็นบ่วงมีคัน ทราบโดยถ่องแท้ว่า ในวันพรุ่งนี้ พญาหงส์จักร่อนลงในที่นี้ จึงดักบ่วงไว้ใต้น้ำ. ในวันรุ่งขึ้นพญาหงส์เมื่อโผลงมา จึงเอาเท้าถลำลงไปในบ่วง. ทันใดนั้น บ่วงของนายพรานนั้นก็รวบรัดเท้าไว้ เหมือนมีใครมาฉุดคร่าด้วยลวดเหล็ก. พญาหงส์นั้นจึงคิดว่า เราจักกระตุกบ่วงนั้นให้ขาด จึงรวบรวมกำลังฉุดคร่ามาแล้วให้ตกลงไป. ในครั้งแรก หนังอันมีสีประดุจทองคำก็ขาดไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 398
ในครั้งที่สอง เนื้อซึ่งมีสีประดุจผ้ากัมพลก็ขาดไป. ในครั้งที่สาม เส้นเอ็นก็ได้ขาดไปจนจรดกระดูก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า ในครั้งที่สี่เท้าคงขาดแน่. ธรรมดา ว่าพระราชาเป็นผู้มีอวัยวะอันเลวทราม ไม่เหมาะสมเลย จึงมิได้กระทำความพยายามอีกต่อไป. ทุกขเวทนาได้แผ่ซ่านไปอย่างแรงกล้า พระโพธิสัตว์จึง ดำริว่า ถ้าเราร้องแสดงอาการว่าติดบ่วง พวกญาติของเราก็จักตกใจไม่ทันได้กินอาหาร บินหนีไปทั้งที่ตนกำลังหิวจัดอยู่ทีเดียว ก็จักตกลงไปในท่ามกลางมหาสมุทร พระองค์จึงทรงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา แม้ตกอยู่ในอำนาจบ่วงก็ทำทีเป็นเหมือนจิกกินข้าวสาลีอยู่ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นกินอาหารอิ่มหนำแล้ว เล่นหงสกีฬาอยู่ จึงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่าติดบ่วง. หงส์ทั้งหลายได้ยินเสียงนั้น ต่างก็กลัวตายเป็นกำลัง จึงมุ่งหน้าตรงไปยังเขาจิตตกูฏเป็นพวกๆ บินหนีไปโดยนัยก่อนนั่นแล.
สุมุขหงส์ที่เป็นเสนาบดีคิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชบ้างหรือไม่หนอ เราจักทราบเหตุนั้น จึงรีบบินไปค้นหาในระหว่างแห่งหมู่หงส์ที่บินไปข้างหน้า โดยนัยดังกล่าวแล้วแต่หนหลังทีเดียว มิได้เห็นพระมหาสัตว์ในหมู่ แม้ทั้งสามหมู่ คิดว่า ภัยนี้บังเกิดขึ้นแก่มหาราชของเรานี้เป็นแน่แท้ทีเดียว จึงหวนกลับมาก็ได้เห็นพระมหาสัตว์บ่วง มีร่างกายเปื้อนโลหิตเร่าร้อนอยู่ ด้วยความทุกข์จับอยู่บนหลังเปือกตมจึงกล่าวว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่ากลัวเลย ข้าพระองค์จะสละชีวิตของข้าพระองค์ให้นายพรานปล่อยพระองค์เสีย ร่อนลงมาปลอบประโลมพระมหาสัตว์ จับอยู่บนหลังเปือกตม. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า เมื่อหงส์เก้าหมื่นหกพันทิ้งเราหนีไป สุมุขหงส์นี้กลับมาแต่ตัวเดียว เธอจักทิ้งเราหนีไปในเวลาที่บุตรนายพรานมาแล้วหรือไม่หนอ เป็นสัตว์มีกายเปื้อนด้วยโลหิตห้อยอยู่ที่ปลายบ่วงทีเดียว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถาด้วย สามารถจะทดลองใจว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 399
หงส์เหล่านั้น ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมบินหนีไป ดูก่อนสุมุขะผู้มีขนเหลือง มีผิวพรรณดังทองคำ ท่านจงบินหนีไปตามความปรารถนาเถิด หมู่ญาติละทิ้งเรา ซึ่งตกอยู่ในอำนาจบ่วงตัวเดียว บินหนีไปไม่เหลียวหลังเลย ท่านจะอยู่ผู้เดียวทำไม ดูก่อนสุมุขะ ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ท่านจงกลับไปเสียเถิด ความเป็นสหายในเราผู้ติดบ่วงย่อมไม่มีท่านอย่าคลายความเพียรเพื่อความไม่มีทุกข์ จงหนีไปเสียตามความ ปรารถนาเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยเมริตา (ถูกภัยคุกคามแล้ว) ความว่า ถูกภัยรุกราน ถูกภัยคุกคาม คือหวั่นไหวด้วยภัย. คำว่า หริ (ขนเหลือง) และคำว่า เหม (ทอง) ในบทที่สาม เป็นชื่อของทองคำเหมือนกันนั่นแหละ. แม้หงส์นั้นมีพรรณเหมือนทองคำ เพราะมีหนังเป็นสีทอง เพราะเหตุนั้น พญาหงส์จึงเรียกสุมุขหงส์นั้นอย่างนี้. คำว่า สุมุข คือ ดูก่อนพ่อผู้มีหน้าตาดี. บทว่า อนเปกฺขมานา (ไม่เหลียวหลัง) ได้แก่ พวกญาติเหล่านั้น มิได้แลดูหมดความห่วงใย. บทว่า ปเตว (จงกลับไปเสียเถิด) ได้แก่ พ่อจงบินกลับไปเสียเถิด. บทว่า อนีฆาย (เพื่อความไม่มีทุกข์) ความว่า พ่ออย่าได้คลายความเพียร เพราะความหมดทุกข์อันจะพึงถึง เพราะไปเสียจากที่นี่.
สุมุขหงส์เสนาบดีสดับคำนั้น จึงคิดว่า พญาหงส์นี้ยังไม่รู้จักว่าเรา เป็นมิตรแท้ ย่อมกำหนดเราว่าเป็นมิตรไม่มีความรักใคร่ เราจักแสดงความรัก แก่พญาหงส์นี้ ดังนี้ ได้กล่าวคาถา ๔ คาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 400
ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย ความเป็นอยู่หรือความตายของข้าพระองค์ จักมีพร้อมกับพระองค์ ข้าแต่พญาหงส์ธตรฐ ก็ข้าพระองค์ แม้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ก็จะไม่ละทิ้งพระองค์เลย พระองค์ไม่ควรจะชักชวนข้าพระองค์ให้ประกอบ ในกรรมอันประกอบด้วยความอันไม่ประเสริฐเลย ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์เป็นสหายสหชาติของพระองค์ เป็นผู้ดำรงอยู่ ในจิตของพระองค์ ใครๆ ก็รู้ว่า ข้าพระองค์เป็น เสนาบดีของพระองค์ ข้าพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวอวดอ้างในท่ามกลางหมู่ญาติได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหงส์ทั้งหลาย ข้าพระองค์ ละทิ้งพระองค์ไปจากที่นี่แล้ว จะกล่าวกะฝูงหงส์เหล่านั้นได้อย่างไร ข้าพระองค์จักยอมสละชีวิตไว้ในที่นี้ ไม่สามารถจะทำกิจอันไม่ประเสริฐได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ (ข้าพระองค์... ก็จะไม่) ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์แม้อันความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจถูกต้องแล้ว ก็ไม่ยอมละทิ้ง พระองค์. บทว่า อนริยสํยุตฺเต (อันประกอบด้วยความไม่ประเสริฐ) ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความอันไม่ประเสริฐ เพราะเป็นกรรมที่บุคคลผู้ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย ผู้ไม่ประเสริฐพึงกระทำ. บทว่า กมฺเม (ในกรรม) ได้แก่ กรรมที่จะต้องละทิ้งพระองค์ไป. บทว่า สกุมาโร (สหชาติ) ได้แก่ เป็นเด็กเสมอกัน อธิบายว่า เป็นกุมารที่ถือปฏิสนธิในวัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 401
เดียวกัน ทำลายฟองไข่ในวันเดียวกันแล้วเติบโตเจริญมาด้วยกัน. บทว่า สขา ตฺยมฺหิ (ข้าพระองค์เป็นสหาย... ของพระองค์ ได้แก่ ข้าพระองค์เป็นสหายที่รักเสมอด้วยดวงตาข้างขวาของพระองค์. บทว่า สจิตฺเต (ในจิตของพระองค์) ได้แก่ ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในจิตของพระองค์ ย่อมเป็นไปใน อำนาจของพระองค์ อธิบายว่า เมื่อพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ข้าพระองค์ก็มีชีวิตอยู่ เมื่อพระองค์สิ้นชีวิตข้าพระองค์ก็สิ้นชีวิตเหมือนกัน. บาลีเป็น สํจิตฺเต ดังนี้ ก็มี อธิบายว่า ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในจิตของพระองค์ ตั้งอยู่ด้วยดีแล้ว. บทว่า าโต (ใครๆ ก็รู้) ได้แก่ รู้จักกันทั่วไป ปรากฏในระหว่างหงส์ทั้งหมด. บทว่า วิกตฺถิสฺสํ (จักกล่าวอวดอ้าง) ความว่า ข้าพระองค์ถูกหงส์เหล่านั้นถามว่า พญาหงส์ไปไหน จักบอกว่า อย่างไร. บทว่า กินฺเต วกฺขามิ (จักกล่าวกะฝูงหงส์เหล่านั้นว่าอย่างไร) ความว่า ข้าพระองค์จักกล่าวกะหมู่หงส์ที่ถาม ถึงข่าวคราวของพระองค์ เหล่านั้นว่าอย่างไร.
เมื่อสุมุขหงส์บันลือสีหนาทด้วยคาถา ๔ คาถาอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ เมื่อจะพรรณนาคุณของสุมุขหงส์นั้นจึงกล่าวว่า
ดูก่อนสุมุขะ ท่านไม่อาจจะละทิ้งเราผู้เป็นทั้งนาย ทั้งสหาย ชื่อว่าตั้งอยู่ในทางอันประเสริฐนี้แล เป็นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย จริงอยู่ เมื่อเรายังเห็นท่าน ความกลัวย่อมไม่เกิดขึ้นเลย ท่านจักให้เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้รอดชีวิตได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอโส ธมฺโม (นี้แลเป็นธรรมเนียมของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย) ได้แก่ นี้แลเป็นสภาพของ บัณฑิตในปางก่อนทั้งหลาย. บทว่า ภตฺตารํ สขารํ มํ (เราผู้เป็นทั้งนายทั้งสหาย) ได้แก่ เป็นทั้งนาย ด้วยเป็นทั้งเพื่อนด้วย. บทว่า ภยํ (ความกลัว) ได้แก่ ความสะดุ้งตกใจกลัว ย่อมไม่เกิดแก่เรา เหมือนกับว่าเราอยู่ในท่ามกลางหมู่หงส์ บนภูเขาจิตตกูฏฉะนั้น. บทว่า มยฺหํ (เรา) ได้แก่ พ่อจักให้เรารอดชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 402
เมื่อหงส์ทั้งสองนั้นกำลังพูดกันอยู่อย่างนี้ทีเดียว นายลุททบุตรยืนอยู่ที่ขอบสระ เห็นหงส์บินหนีไปถึง ๓ หมู่แล้ว จึงมองดูสถานที่ที่ตนดักบ่วงไว้ว่า เป็นอย่างไรหนอ เห็นพระโพธิสัตว์ห้อยอยู่ที่คันบ่วงมีความโสมนัสเกิดขึ้นแล้ว เหน็บชายกระเบนหยักรั้งถือไม้ค้อนลุยลงไปดังว่าไฟบรรลัยกัลป์ เสือกศีรษะในเบื้องบนไปยังเลนที่จะต้องเหยียบด้วยเท้า พุ่งตัวไปข้างหน้ารีบเข้าไป จนใกล้.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อสุวรรณหงส์ทั้งสองที่ประเสริฐซึ่งประพฤติธรรมอันประเสริฐ กำลังโต้ตอบกันด้วยประการฉะนี้ นายพรานถือท่อนไม้กระชับแน่นรีบเดินเข้ามา สุมุขหงส์เห็นนายพรานนั้นกำลังเดินมา จึงได้ร้องเสียงดัง ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์ ปลอบพญาหงส์ที่หวาดกลัวให้เบาใจด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่า หงส์ทั้งหลาย อย่าทรงกลัวเลย ด้วยว่าบุคคลทั้งหลาย เช่นกับพระองค์ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จะประกอบความเพียรอันสมควร ประกอบด้วยธรรม พระองค์จะพ้นจากบ่วงด้วยความเพียร อันผ่องแผ้วนั้นได้โดย พลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวุตฺตินํ (ที่ประพฤะติธรรมอันประเสริฐ) ได้แก่ ประพฤติอยู่ในคลอง ธรรมอันประเสริฐ. บทว่า ภุสํ (กระชับแน่น) ได้แก่ มีกำลังมั่นคงแข็งแรง. บทว่า อปริพฺรูหยิ (จึงได้ร้องเสียงดัง) ความว่า สุมุขหงส์เมื่อจะกล่าวคำว่า พระองค์อย่ากลัวเลย ดังนี้เป็นต้น อันมาแล้วในคาถาอันเป็นลำดับต่อไป ได้ร้องเสียงดัง คือได้ส่งเสียงดัง. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 403
อฏฺาสิ (ยืนอยู่) ความว่า สุมุขหงส์นั้นโดยยอมสละชีวิตแล้วยืนข้างหน้าพญาหงส์ ด้วยคิดว่า ถ้านายพรานจักประหารพญาหงส์ เราก็จักรับการประหารนั้นเสียเอง. บทว่า วิสฺสาชยํ (ปลอบ... ให้เบาใจ) คือให้โล่งใจให้คล่องใจ. บทว่า พฺยถํ (ที่หวาดกลัว) ได้แก่ พญาหงส์ตัวหวาดกลัวแล้ว สุมุขหงส์ได้ปลอบพญาหงส์ให้เบาใจด้วยคำว่า มา ภายิ (อย่ากลัวเลย) นี้. บทว่า ตาทิสา (เช่นกับพระองค์) ได้แก่ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความเพียรเช่นกับ พระองค์. บทว่า โยคํ (ความเพียร) คือประกอบด้วยญาณวิริยะ. บทว่า ยุตฺตํ (อันสมควร) คือเหมาะสม. บทว่า ธมฺมูปสญฺหิตํ (ประกอบด้วยธรรม) คืออาศัยเหตุ. บทว่า เตน ปริยาปทาเนน (ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วนั้น) คือ ด้วยความเพียรเป็นเครื่องประกอบอันบริสุทธิ์ ดังที่ข้าพระองค์ได้กล่าวแล้วนั้น. บทว่า ปโมกฺขสิ (จะพ้น) แปลว่า พระองค์จักหลุดพ้น.
สุมุขหงส์ปลอบพระมหาสัตว์ให้เบาใจอย่างนี้แล้ว จึงไปยังที่ใกล้นายลุททบุตร เปล่งวาจาภาษามนุษย์อันไพเราะว่า ดูก่อนสหาย ท่านชื่อไร เมื่อนายพรานตอบว่า ดูก่อนพญาหงส์ ตัวมีผิวพรรณดังทอง เรามีชื่อว่า เขมกะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านอย่าได้กระทำความสำคัญว่า หงส์ที่ติดในบ่วงอันท่านดักไว้นั้นเป็นหงส์ธรรมดาสามัญ หงส์ที่ติดบ่วงของท่านนี้ คือ พญาหงส์ธตรฐประเสริฐกว่าหงส์เก้าหมื่นหกพัน ถึงพร้อมด้วยญาณและ ศีลาจารวัตร ดำรงอยู่ในฝ่ายแห่งความสรรเสริญ หงส์นี้ไม่สมควรที่ท่านจะฆ่าเสียเลย ข้าพเจ้าจักกระทำกิจที่ควรกระทำด้วยสรีระนี้แก่ท่าน แม้พญาหงส์นี้ มีพรรณประดุจทองคำ ถึงตัวข้าพเจ้าก็มีพรรณดุจทองคำเช่นเดียวกัน แต่ข้าพเจ้าจักยอมสละชีวิตของตน เพื่อประโยชน์แก่พญาหงส์นี้ หากว่าท่าน ประสงค์จะเอาขนปีกทั้งหลายของพญาหงส์นี้ ก็จงเอาขนปีกของข้าพเจ้าเถิด ถ้าแม้ว่าท่านประสงค์จะเอาหนังเนื้อเอ็นกระดูกอย่างหนึ่ง ก็จงเอาจากสรีระของ ข้าพเจ้าผู้เดียว หรือถ้าท่านประสงค์จะกระทำพญาหงส์นั้นให้เป็นหงสกีฬา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 404
(หงส์เต้นระบำ) ก็จงกระทำข้าพเจ้าผู้เดียว ถ้าท่านประสงค์จะให้บังเกิดทรัพย์ ก็จงเอาพญาหงส์นั้นขายทั้งเป็นๆ กระทำทรัพย์ให้บังเกิดขึ้น ขอท่านอย่าได้ฆ่าพญาหงส์ตัวประกอบด้วยคุณมีญาณเป็นต้นนี้เสียเลย เพราะถ้าท่านจักฆ่าพญาหงส์นั้น ท่านจักไม่พ้นจากอบายมีนรกเป็นต้น สุมุขหงส์กล่าวคุกคาม นายพรานนั้นด้วยภัยในอบายมีนรกเป็นต้น ให้เชื่อถือถ้อยคำอันไพเราะของตน แล้วกลับไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์อีก ปลอบประโลมพระองค์ให้เบาใจแล้วยืนอยู่ นายเนสาทสดับคำของสุมุขหงส์นั้น จึงคิดว่า หงส์นี้แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ยังกระทำมิตรธรรมเห็นปานนี้ อันไม่น่าจะกระทำกับมนุษย์เลย แท้จริง แม้พวกมนุษย์ด้วยกัน ก็ยังไม่อาจจะกระทำมิตรธรรมได้อย่างนี้ ดูช่างน่าอัศจรรย์ พญาหงส์นี้เป็นสัตว์ถึงพร้อมด้วยปัญญา กล่าววาจาไพเราะชื่อว่าเป็นผู้แสดงธรรม ย่อมกระทำสรีระทั้งสิ้นของเราให้เต็มไปด้วยปีติและโสมนัส เขามีโลมชาติชูชัน ทิ้งท่อนไม้ตั้งอัญชลีไว้เหนือศีรษะ ประหนึ่งว่านอบน้อมนมัสการพระอาทิตย์ ยืนกล่าวสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อยู่.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
นายพรานได้ฟังคำสุภาษิตของสุมุขหงส์นั้นแล้ว ขนลุกชูชันนอบน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์แล้วถามว่า เรา ไม่เคยได้ฟังหรือไม่เคยได้เห็นนกพูดภาษามนุษย์ได้ ท่านแม้จะเป็นนก ก็พูดภาษาอันประเสริฐเปล่งวาจา ภาษามนุษย์ได้ พญาหงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหรือ ท่านพ้นแล้วทำไมจึงเฝ้าหงส์ตัวติดบ่วงอยู่ หงส์ทั้งหลายพากันละทิ้งไปหมด เพราะเหตุใด ท่านจึงยังอยู่ตัวเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 405
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺชลิสฺสูปนามยิ (นอบน้อมอัญชลี) ความว่า นายพราน นั้นน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์นั้น คือกระทำการชมเชยสุมุขหงส์นั้นด้วยคาถาอัน เป็นลำดับต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุสึ (ภาษามนุษย์) ได้แก่ ภาษาอันเป็นของมนุษย์. บทว่า อริยํ (อันประเสริฐ) ได้แก่ ดี ไม่มีโทษ. บทว่า จชนฺโต (เปล่ง) คือ กล่าวอยู่. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหาย ท่านแม้เป็นนก ก็ได้กล่าววาจาภาษามนุษย์กับเราในวันนี้ กล่าววาจาอันไม่มีโทษ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ เราเห็นแล้วโดยประจักษ์ เพราะว่าสิ่งอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยินมา ไม่เคยได้เห็นมา ในกาลก่อนแต่นี้เลย. บทว่า กินฺนุ ตายํ (พญาหงส์ตัวนี้เป็นอะไรกับท่านหรือ) ความว่า ท่านเข้าไปใกล้นกใด นกนั้นย่อมเป็นอะไรกับท่าน.
สุมุขหงส์ถูกนายพรานผู้มีจิตชื่นชมไต่ถามด้วยถ้อยคำอย่างนี้แล้วจึงดำริว่า นายพรานนี้ เป็นผู้มีใจอ่อนเกิดแล้ว บัดนี้เราจักแสดงคุณของเราเพื่อให้นายพรานนี้มีใจอ่อนยิ่งขึ้นรูปอีกทีเดียว จึงกล่าวว่า
ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์ เป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้เป็นเสนาบดี ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่งเป็นอธิบดีของหงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์นี้เป็นนายของหมู่หงส์เป็นอันมากและของข้าพเจ้า อย่าให้พระองค์ พึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อนนายพรานผู้สหาย เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจงยินดีรื่นรมย์อยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุสฺสเห (ไม่สามารถ) ได้แก่ ไม่สามารถจะทิ้งไปได้. บทว่า มหาคณายํ (ของหมู่หงส์เป็นอันมาก) ได้แก่ แม้ของหมู่หงส์ใหญ่. บทว่า มา เอโก (อย่าให้พระองค์ผู้เดียว) ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 406
เมื่ออำมาตย์ราชเสวกเช่นข้าพเจ้ายังมีอยู่ ขอพระองค์อย่าได้ถึงความพินาศแต่ผู้เดียวเลย บทว่า ยถา ตํ (เพราะเหตุที่) ได้แก่ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ฉันใด ก็ฉันนั้นแล. บทว่า สมฺม (ผู้สหาย) คือผู้เป็นมิตรที่รัก. บทว่า ภตฺตายํ อภิรโต รเม (พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงยินดีรื่นรมย์อยู่) ความว่า พระองค์ เป็นนายข้าพเจ้าจึงยินดียิ่งแด่พระองค์ รื่นรมย์อยู่ในที่ใกล้ไม่เบื่อหน่าย.
นายเนสาทสดับถ้อยคำอันไพเราะ ทั้งอาศัยธรรมของสุมุขหงส์นั้นแล้ว ก็เกิดความโสมนัสยินดี มีโลมชาติชูชัน คิดว่า ถ้าเราจักฆ่าพญาหงส์ที่ ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นเช่นนี้ คงจักไม่พ้นจากอบายทั้ง ๔ ไปได้ พระราชาทรงพระประสงค์จะกระทำเราอย่างใด ก็จงทรงกระทำอย่างนั้นเถิด เราจะกระทำพญาหงส์นี้ ให้เป็นรางวัลแก่สุมุขหงส์แล้วจักปล่อยไป จึงได้กล่าว คาถาว่า
ดูก่อนหงส์ ท่านย่อมนอบน้อมก้อนอาหาร ชื่อว่า มีความประพฤติธรรมอันประเสริฐ ข้าพเจ้าจะปล่อยนายของท่าน ท่านทั้งสองจงไปตามสบายเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวุตฺติ (ชื่อว่ามีความประพฤติธรรมอันประเสริฐ) ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยวัตรของท่านผู้ประเสริฐด้วยอาจาระทั้งหลาย กล่าวคือการรักษามิตรธรรม. บทว่า โย ปิณฺฑมปจายสิ (ท่านย่อมนอบน้อมก้อนอาหาร) ความว่า ท่านใดบูชาก้อนอาหารที่ได้แล้วจากสำนักของนาย. บทว่า คจฺฉถูโภ (ท่านทั้ง ๒ จงไป) ความว่า ท่านแม้ทั้งสอง จงยังหมู่ญาติ ซึ่งมีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตาให้ร่าเริงอยู่ จงไปตามความสบายเถิด.
ก็นายเนสาทครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปใกล้พระมหาสัตว์ด้วยจิต อันอ่อนโยนแล้ว โน้นคันบ่วงลงมาให้จับอยู่ที่หลังเปือกตม แก้พระมหาสัตว์นั้น ออกจากคันบ่วง อุ้มขึ้นนำออกจากสระ ให้จับอยู่บนลานหญ้าแพรกอ่อน ค่อยๆ แก้บ่วงที่รัดเท้าทั้งสองออก เข้าไปตั้งไว้ซึ่งความรักในพระมหาสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 407
อย่างแรงกล้า ไปตักน้ำมาล้างเลือดลูบคลำอยู่ไปมาด้วยเมตตาจิต. ขณะนั้น ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของนายเนสาทนั้น เส้นเอ็นกับเส้นเอ็น เนื้อกับเนื้อ หนังกับหนัง ก็ติดต่อสนิทกัน เท้าก็หายเป็นปกติ มิได้มีส่วนผิดแปลกกับอวัยวะส่วนอื่นๆ เลย. พระโพธิสัตว์ถึงความสุขสบายแล้ว จับอยู่โดยความเป็นปกติทีเดียว. สุมุขหงส์เห็นพญาหงส์ ได้รับความสบายเพราะอาศัยตน ก็เกิดความโสมนัสยินดี จึงคิดว่า นายเนสาทชื่อว่าได้กระทำอุปการะไว้แก่เราเป็นอันมากมีอยู่ ส่วนเรายังไม่มีอุปการะแก่เขาเลย ก็ถ้านายเนสาทนี้จับเอาเราไป เพื่อประโยชน์แก่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น นำไปยังสำนักของอิสรชนเหล่านั้น จักได้ทรัพย์มาก ถ้าเขาจับเอาไปเพื่อประโยชน์แก่ตน ขายเราแล้วจักได้ทรัพย์เหมือนกัน เราจักถามเขาดูก่อน ลำดับนั้น สุมุขหงส์ เมื่อจะกล่าวถามนายเนสาทนั้น เพราะความที่ตนใคร่ที่จะ กระทำอุปการะ จึงกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนสหาย ถ้าท่านดักหงส์และนกทั้งหลาย ด้วยประโยชน์ของตน ข้าพเจ้าจะขอรับทักษิณาอภัย ของท่านนี้ ดูก่อนนายพราน ถ้าท่านไม่ได้ดักหงส์ และนกทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน ท่านไม่มีอิสระ ถ้าท่านปล่อยเราทั้งสองเสีย ท่านก็ชื่อว่ากระทำความเป็นขโมย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ (ถ้า) ความว่า ดูก่อนนายเนสาทผู้เป็นสหาย ถ้าท่านดักบ่วงหงส์และนกอันเหลือทั้งหลายด้วยประโยชน์ของตน คือเพื่อ ประโยชน์แก่ตน. บทว่า อนิสฺสโร (ไม่มีอิสระ) ความว่า ท่านเป็นผู้ไม่มีอิสระที่จะปล่อย ข้าพเจ้าเสีย จงไปยังสำนักของผู้ที่บังคับท่านนั้นเถิด พึงกระทำการลักแต่อย่า การทำหนี้เลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 408
นายเนสาทสดับคำนั้น จึงกล่าวว่า เรามิได้จับท่านทั้งหลายเพื่อ ประโยชน์แก่ตนเลย แต่พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระนามว่า สังยมะ มีรับสั่ง ให้เราจับ แล้วจึงเล่าเรื่องทั้งหมด จำเดิมแต่กาลที่พระนางเทวีทรงเห็นสุบินนิมิต จนกระทั่งถึงพระราชาทรงทราบความที่พวกหงส์ทองเหล่านั้นมาแล้ว จึง ตรัสสั่งว่า ดูก่อนเขมกะผู้เป็นสหาย ท่านจงพยายามจับหงส์สักตัวหนึ่งหรือสอง ตัวให้ได้ เราจักให้ยศแก่ท่าน แล้วประทานเสบียงส่งไป สุมุขหงส์สดับเรื่อง ราวนั้นแล้ว จึงคิดว่า นายเนสาทนี้ มิได้เห็นแก่ชีวิตของตน ปล่อยเราไปเสีย ชื่อว่าการทำกิจอันยากที่คนอื่นจะกระทำได้ ถ้าเราจักไปยังภูเขาจิตตกูฏจากที่นี่ อานุภาพแห่งบุญบารมีของพญาหงส์ธตรฐ ก็จะไม่ปรากฏ และมิตรธรรม ของเราก็จักไม่ปรากฏ ทั้งบุตรนายพรานก็จักไม่ได้ยศใหญ่ พระราชาก็จักมิได้ ตั้งอยู่ในศีล ๕ ความปรารถนาของพระเทวีก็จักไม่ถึงที่สุด จึงกล่าวว่า ดูก่อน สหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะปล่อยข้าพเจ้ายังไม่ได้ ท่านต้องแสดงข้าพเจ้า แก่พระราชา ท้าวเธอจักทรงกระทำข้าพเจ้าตามพอพระทัย.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท่านเป็นคนรับใช้ของพระราชาพระองค์ใด จง นำข้าพเจ้าไปให้ถึงพระราชาพระองค์นั้นตามปรารถนา เถิด พระเจ้าสังยมนะจักทรงกระทำตามพระประสงค์ ในพระราชนิเวศน์นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ความว่า ท่านจงนำข้าพเจ้าไป ยังสำนักของพระเจ้าสังยมราชนั้นเถิด. บทว่า ตตฺถ คือ ในพระราชนิเวศน์นั้น. บทว่า ยถาภิญฺํ ความว่า พระองค์จักทรงกระทำตามพระราชประสงค์ คือ ตามความพอพระทัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 409
นายเนสาทสดับคำนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านที่เจริญ ท่านอย่าพอใจ ให้พระราชาทอดพระเนตรเลย ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายเป็นที่น่าเกรงกลัว พึงกระทำท่านให้เป็นหงส์ระบำ หรือไม่ก็พึงฆ่าท่านเสีย. ลำดับนั้นสุมุขหงส์ จึงกล่าวกะนายเนสาทนั้นว่า ดูก่อนนายพรานผู้สหายผู้ให้ชีวิต ท่านอย่าได้คิด ถึงข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้าได้ทำคนหยาบช้าเช่นท่านให้อ่อนโยนด้วยธรรมกถา ไฉนจักทำพระราชาให้เกิดความอ่อนโยนบ้างไม่ได้ ด้วยว่าพระราชาทั้งหลาย เป็นผู้ฉลาดรู้จักวาจาที่เป็นสุภาษิตหรือทุพภาษิต ท่านจงนำข้าพเจ้าทั้งสองไป ยังสำนักของพระราชาโดยเร็วเถิด แต่เมื่อจะนำไป อย่านำไปด้วยการผูกมัด จงยังข้าพเจ้าให้เกาะในกรงดอกไม้นำไป อนึ่ง เมื่อท่านจะกระทำกรงดอกไม้ ท่านจงกระทำกรงของพญาหงส์ธตรฐให้ใหญ่ คาดด้วยดอกบัวสีขาว ส่วนของ ข้าพเจ้าจงกระทำให้เล็ก คาดด้วยดอกบัวสีแดง แล้วจงพาพญาหงส์ธตรฐไป ข้างหน้า พาข้าพเจ้าไปข้างหลัง กระทำให้ต่ำเล็กน้อย แล้วจงนำไปแสดงแด่ พระราชาเถิด. นายพรานนั้นสดับคำของสุมุขหงส์นั้นแล้ว จึงคิดว่า สุมุขหงส์ คงจะปรารถนาเฝ้าพระราชา ให้ประทานยศใหญ่แก่เรา ก็เกิดความโสมนัสยินดี เอาเถาวัลย์อ่อนๆ มากระทำให้เป็นกรง คาดด้วยดอกปทุมแล้ว ได้พาไป โดยนัยดังกล่าวแล้วทีเดียว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
นายพรานอันสุมุขหงส์กล่าวด้วยประการอย่างนี้ แล้ว จึงเอามือทั้งสองประคองพญาหงส์ทองตัวมีสีดัง ทองคำ ค่อยๆ วางลงในกรง นายพรานพาพญาหงส์ ทั้งสอง ซึ่งมีผิวพรรณอันผุดผ่อง คือ สุมุขหงส์และ พญาหงส์ธตรฐซึ่งอยู่ในกรงหลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 410
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌโวทหิ คือวางลงไว้แล้ว. บทว่า ภสฺสรวณฺณิเน คือมีพรรณอันถึงพร้อมด้วยรัศมี.
ในเวลาที่นายลุททบุตรพาหงส์ทั้งสองไปด้วยอาการอย่างนี้ พญาหงส์ ธตรฐระลึกถึงพระราชธิดาของพญาปากหงส์ ซึ่งเป็นภรรยาของตน จึงเรียก สุมุขหงส์แล้วพร่ำรำพันด้วยอำนาจกิเลส.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พญาหงส์ธตรฐ อันนายพรานนำไปอยู่ ได้ กล่าวกะสุมุขหงส์ว่า ดูก่อนสุมุขะ เรากลัวนัก ด้วย นางหงส์ที่มีผิวพรรณดังทองคำ มีขาได้ลักษณะ นาง รู้ว่าเราถูกฆ่า ก็จักฆ่าตนเสียโดยแท้ ดูก่อนสุมุขะ ก็ราชธิดาของพญาปากหงส์ นามว่าสุเหมา ซึ่งมีผิว งามดังทองคำจักร่ำไห้อยู่ เหมือนนางนกกระเรียนที่ กำพร้า ร่ำไห้อยู่ที่ริมฝั่งสมุทรฉะนั้นเป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภายามิ ความว่า เรากลัวย่อมรณภัย. บทว่า สามาย แปลว่า ด้วยนางที่มีผิวพรรณดังทองคำ. บทว่า ลกฺขณูรุยา แปลว่า มีขาอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ. บทว่า วธมญฺาย ความว่า เมื่อ นางรู้ว่าเราถูกฆ่า คือเป็นผู้มีความสำคัญว่า สามีอันเป็นที่รักของเราถูกฆ่าตาย เสียแล้ว. บทว่า วธิสฺสติ ความว่า จักฆ่าตัวตายด้วยคิดว่า เมื่อสามีอันเป็น ที่รักของเราตายแล้ว ประโยชน์อะไรที่เราจะมีชีวิตอยู่. บทว่า ปากหํสา คือ ราชธิดาของพญาปากหงส์. บทว่า สุเหมา คือ ราชธิดาที่มีพระนาม อย่างนี้. บทว่า เหมสุตฺตจา คือ มีผิวหนังงดงามดุจทองคำ. บทว่า โกญฺจีว ความว่า นางคงจักร้องไห้คร่ำครวญอยู่เป็นแน่แท้ เสมือนหนึ่งนาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 411
นกกระเรียน เมื่อผัวจมลงสู่สมุทรกล่าวคือน้ำเค็ม ตายเสียแล้ว ก็ย่อมว้าเหว่ คร่ำครวญอยู่ฉะนั้นแล.
สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า พญาหงส์นี้เป็นผู้สมควรที่จะ สั่งสอนผู้อื่น มาพร่ำรำพันไปด้วยอำนาจกิเลส เพราะอาศัยมาตุคาม เกิด เป็นประหนึ่งเวลาที่น้ำมีอาการร้อน และเป็นประหนึ่งเวลาที่นาอันไม่มีรั้งล้อม กั้น ถ้ากระไรเราพึงประกาศโทษมาตุคาม ด้วยกำลังแห่งญาณของตน พึงยัง พญาหงส์นี้ให้รู้สึก จึงได้กล่าวคาถาว่า
การที่พระองค์เป็นใหญ่กว่าโลกคือหงส์ ใครๆ ไม่สามารถจะประมาณคุณได้ เป็นครูของหมู่คณะใหญ่ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียวอย่างนี้ เหมือนไม่ใช่ ความประพฤติของผู้มีปัญญา ลมย่อมพัดพานทั้งกลิ่น หอมและกลิ่นเหม็น เด็กอ่อนย่อมเก็บผลไม้ทั้งดิบ ทั้งสุก คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร ย่อมถือเอาอาหาร ฉันใด ธรรมดาหญิงก็ฉันนั้น พระองค์ไม่รู้จักตัดสินใจ ในเหตุทั้งหลาย ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนคนเขลา พระองค์จะถึงมรณกาลแล้ว ยังไม่ทรงทราบถึงกิจที่ ควรและไม่ควร พระองค์เห็นจะเป็นกึ่งคนบ้า บ่นเพ้อ ไปต่างๆ ทรงสำคัญหญิงว่าเป็นผู้ประเสริฐ แท้จริง หญิงเหล่านี้ เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก เหมือน โรงสุราเป็นสถานที่ทั่วไปแก่พวกนักเลงสุรา ฉะนั้น อนึ่ง หญิงเหล่านี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นเหตุ แห่งความเศร้าโศก เป็นเหตุเกิดโรคและอันตราย อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 412
หญิงเหล่านี้เป็นคนหยาบคาย เป็นเครื่องผูกมัด เป็น บ่วง เป็นถ้ำ ที่อยู่ของมัจจุราช บุรุษใดพึงหลงระเริงใจ ในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนเลวทรามในหมู่ นระ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺโต คือเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บทว่า โลกสฺส คือแก่โลกของหมู่หงส์. บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ใครๆ ไม่ พึงอาจจะประมาณด้วยคุณทั้งหลายได้. บทว่า มหาคณี ได้แก่ เป็นครูของ คณะอันประกอบแล้วด้วยคณะใหญ่. บทว่า เอกิตฺถึ ความว่า ท่านผู้เจริญ เห็นปานนี้ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียว ความตามเศร้าโศกนี้ ประหนึ่ง มิใช่ของผู้มีปัญญาเลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมีความสำคัญพระองค์ว่า เป็นผู้โง่เขลาในวันนี้เอง. บทว่า อาเทติ คือย่อมถือเอา. บทว่า เฉกปาปกํ คือที่ดีทั้งชั่ว. บทว่า อามกปกฺกํ คือดิบด้วยสุกด้วย. บทว่า โลโล คือ โลภในรส. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาว่าลมย่อมพัดสระดอกปทุมเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นหอม และพัดสถานที่อันเต็มไปด้วยกองหยาก เหยื่อเป็นต้นซึ่งมีกลิ่นเหม็น ย่อมพัดเอากลิ่นทั้งหอมทั้งเหม็นทั้งสองอย่างด้วย ประการฉะนี้ฉันใด อนึ่ง เด็กเล็กๆ นั่งอยู่ใต้ต้นมะม่วงและต้นหว้าทั้งหลาย เอื้อมมือออกไปเก็บผลทั้งที่ยังดิบและสุก ซึ่งหล่นลงมาแล้วเคี้ยวกินฉันใด อนึ่ง คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร เมื่อเขายกภัตรเข้ามาให้ ย่อมถือเอาอาหารทั้งที่ มีแมลงและไม่มีแมลงทุกอย่างฉันใด ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ย่อมถือเอา คือ ย่อมคบแม้คนตาบอด คนเข็ญใจ คนมีตระกูลสูง คนไม่มีตระกูล คนรูปสวย คนรูปชั่ว ทั้งหมด ด้วยอำนาจกิเลสฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่มหาราช พระองค์ มาบ่นรำพันเพราะเหตุแห่งหญิงทั้งหลาย ผู้มีธรรมอันลามกเช่นกับลมและเด็ก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 413
เล็กๆ และคนตาบอด. บทว่า อตฺเถสุ หมายเอาทั้งเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า มนฺโท คืออันธพาล. บทว่า ปฏิภาสิ มํ คือย่อมตั้งขึ้นเฉพาะข้าพเจ้า. บทว่า กาลปริยายํ ความว่า พระองค์ถึงเวลาใกล้มรณะเห็นปานนี้แล้ว ยัง ไม่รู้สึกอีกว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ในเวลานี้ สิ่งนี้ควรกล่าว สิ่งนี้ไม่ ควรกล่าวในกาลนี้. บทว่า อฑฺฒุมฺมตฺโต ได้แก่ ชะรอยว่าเป็นบ้าไปครึ่ง หนึ่ง. บทว่า อุทีเรสิ ความว่า พระองค์บ่นรำพันเพ้อ เหมือนบุรุษที่ดื่มสุรา แล้ว แต่ไม่เมามายจนเกินไป บ่นถึงสิ่งโน้นบ้าง สิ่งนี้บ้างต่างๆ นานา. บทว่า เสยฺยา คือเลิศสูงสุด. บรรดาบททั้งหลาย บทว่า มายา เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงทั้งหลาย เป็นผู้มีมารยาด้วยอรรถว่า หลอกลวง เปรียบเหมือน พยับแดดด้วยอรรถว่า เป็นสิ่งที่ใครๆ เข้าไปจับต้องถือเอาไม่ได้ เป็นผู้มี ความเศร้าโศกเพราะเป็นปัจจัยแห่งความเศร้าโศกเป็นต้น เป็นผู้มีโรค และมี อันตรายเป็นอเนกประการ ทั้งชื่อว่าเป็นคนหยาบคาย เพราะกระด้างกระเดื่อง ด้วยกิเลสมีความโกรธเป็นต้น อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านั้นเป็นเครื่องผูกมัด เพราะบุคคลถูกผูกมัดด้วยเครื่องจำมีขื่อคาเป็นต้น ก็เพราะอาศัยหญิงเหล่านั้น อนึ่ง หญิงเหล่านั้นแหละชื่อว่า เป็นพระยามัจจุราช อันสิงอยู่ในถ้ำ คือ สรีระ ก็พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ก็ตัดศีรษะเสียด้วยขวานอันคมแล้วเสียบไว้ที่ ปลายหลาว ก็เพราะโจรพวกนี้อาศัยกามเป็นเหตุ มีกามเป็นแดนมอบให้ซึ่งผล มีกามเป็นอธิกรณ์ทีเดียว.
ลำดับนั้น พญาหงส์ธตรฐ แสดงว่า พ่อยังไม่รู้จักคุณของมาตุคาม พวกบัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้จัก ใครๆ ไม่ควรติเตียนหญิงเหล่านี้เลย เพราะ ความที่ตนเป็นผู้มีจิตหลงใหลไฝ่ฝันในมาตุคามจึงกล่าวคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 414
วัตถุใด ชนท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้จักดีแล้ว ใคร ควรจะติเตียนวัตถุนั้นเล่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย มี คุณมาก เกิดแล้วในโลก ความคะนองอันบุคคลตั้งไว้ แล้วในหญิงเหล่านั้น ความยินดีอันบุคคลตั้งเฉพาะไว้ แล้วในหญิงเหล่านั้น พืชทั้งหลาย (มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น) ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่านั้น สัตว์ เหล่านั้นพุงเจริญ บุรุษไรมาเกี่ยวของชีวิตหญิงด้วย ชีวิตของตนแล้ว พึงเบื่อหน่ายในหญิงเหล่านั้น ดูก่อน สุมขะ ท่านนั่นแหละ ไม่ต้องคนอื่นละ ประกอบ ในประโยชน์ของหญิงทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้นแก่ท่าน ในวันนี้ เพราะคิดจึงเกิดขึ้น เพราะความกลัว จริงอยู่ บุคคลทั้งปวงถึงความสงสัยในชีวิตมี ความหวาดกลัว ย่อมอดกลั้นความกลัวไว้ได้ เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลาย เป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันใหญ่ ย่อมประกอบใน ประโยชน์อันมากที่ประกอบได้ พระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงปรารถนาความกล้าหาญของมนตรีทั้งหลาย เพ่อทรงประสงค์ที่จะได้ความกล้าหาญนั้น ป้องกัน อันตรายและสามารถป้องกันพระเองด้วย วันนี้ท่าน จงกระทำด้วยประการที่พวกพนักงานเครื่องต้น ของ พระราชา อย่าเชือกเฉือนเราทั้งสองในโรงครัวใหญ่ เถิด จริงอย่างนั้น สีแห่งขนปีกทั้งหลาย จะฆ่าท่าน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 415
เสีย เหมือนขุยไม้ไผ่ ฉะนั้น ท่านแม้นายพรานจะ ปล่อยแล้ว ก็ไม่ปรารถนาจะบินหนีไป ยังเข้ามาใกล้ บ่วงเองอีกทำไมเล่า วันนี้ ท่านถึงความสงสัยในชีวิต แล้วจงถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่ายื่นปากออกไปเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ความว่า วัตถุกล่าวคือมาตุคามใด อันท่านผู้เจริญด้วยปัญญาทั้งหลายบัญญัติแล้ว คือปรากฏแก่ท่านเหล่านั้นที เดียว มิได้ปรากฏแก่พวกชนพาล. บทว่า มหาภูตา ได้แก่ มีคุณมากคือ มีอานิสงส์มาก. บทว่า อุปปชฺชิสุํ ความว่า บังเกิดก่อน เพราะเพศหญิง ปรากฏเป็นครั้งแรกในกาลแห่งปฐมกัลป์. บทว่า ตาสุ ความว่า ดูก่อนพ่อ สุมุขะ ความคะนองกายและความคะนองวาจา อันบุคคลตั้งมั่น คือตั้งลงฝั่งไว้ ในหญิงเหล่านั้น และความยินดีในกามคุณก็ตั้งอยู่เฉพาะในหญิงเหล่านั้นด้วย. บทว่า วีชานิ ความว่า พืชเป็นต้นว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ย่อมงอกขึ้นในหญิงเหล่านั้น. บทว่า ยทิทํ คือสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทั้งหมด. บทว่า ปชายเร ความว่า พญาหงส์ย่อมแสดงว่า ย่อมเจริญพร้อมแล้วในท้องของหญิงเหล่านั้นแล. บทว่า นิพฺพิเช แปลว่า หมดความอาลัยใยดี. บทว่า ปาณมาสชฺช ปาณิภิ ความว่า ใครๆ ที่เอาชีวิตของตนเข้าคลุกเคล้ากับชีวิตของหญิงเหล่านั้น ถึง กับสละชีวิตของตน จึงได้หญิงนั้นมาแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายเสียได้เล่า. บทว่า นาญฺโ ความว่า ดูก่อนพ่อสุมุขะ ไม่ต้องกล่าวถึงคนอื่นละ เมื่อเราอยู่ใน ท่ามกลางหมู่หงส์ที่พื้นภูเขาจิตตกูฏ มองไม่เห็นพ่อ จึงถามว่า สุมุขหงส์ไป ไหน หงส์ทั้งหลายตอบว่า สุมุขหงส์นี้พามาตุคามไปเสวยความยินดีอย่างสูงสุด อยู่ในถ้ำทอง พ่อนั่นแล ย่อมประกอบในประโยชน์ของหญิงอย่างนี้ คือเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 416
ผู้ประกอบแล้วประกอบทั่วแล้วทีเดียว ไม่ต้องกล่าวถึงคนอื่น. บทว่า ตสฺส ตฺยชฺช ความว่า พญาหงส์นั้นกล่าวดังนี้ด้วยหมายความว่า เมื่อความกลัว ตาย บังเกิดขึ้นแก่พ่อในวันนี้ ชะรอยว่าพ่อจะกลัวมรณภัยนี้ จึงเกิดความคิด อันละเอียดซึ่งแสดงถึงโทษของนาตุคามนี้ขึ้น. บทว่า สพฺโพ หิ คือผู้ใดผู้ หนึ่ง บทว่า สํสยปฺปตฺโต คือผู้ที่ถึงความสงสัยในชีวิต. บทว่า ภีรุ ได้แก่ แม้เป็นผู้มีความหวาดสะดุ้งกลัว ก็ระงับความกลัวไว้ได้. บทว่า มหนฺตาโน ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมเป็นบัณฑิตด้วย ตั้งอยู่ในฐานะใหญ่ด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในฐานะใหญ่. บทว่า อตฺเถ ยุญฺชนฺติ ทุยฺยุเช ความว่า ชนเหล่านั้น ย่อมประกอบ คือ สืบต่อพยายามในประโยชน์นั้นให้เกิด ความอุตสาหะว่า อย่ากลัวเลยพ่อ พ่อจงเป็นนักปราชญ์เถิด จึงได้กล่าวไว้ อย่างนี้. บทว่า อาปทํ ความว่า คนกล้าหาญย่อมป้องกันเสียได้ซึ่งอันตราย อันจะมีมาถึงนาย เพราะฉะนั้น พระราชาทั้งหลาย จึงทรงปรารถนาความ กล้าหาญของเหล่ามนตรี เพื่อประโยชน์อย่างนี้แล. บทว่า อตฺตปริยายํ อธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง คนกล้านั้นย่อมอาจที่จะกระทำการคุ้มครองตนเองได้ ด้วย. บทว่า วิกนฺติสุ แปลว่า เชือดแล้ว. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหายสุมุขะ เราตั้งพ่อไว้ในตำแหน่งอันเป็นลำดับกับตัวเราเอง เพราะฉะนั้น พ่อครัวของพระราชา อย่าได้เชือดเฉือดเราทั้งสองในวันนี้ เพื่อต้องการเนื้อโดยประการใด ท่านจงกระทำโดยประการนั้นเถิด เพราะ ว่าสีแห่งขนปีกของเราทั้งหลายซึ่งเป็นเช่นนั้น จะฆ่าพ่อเสีย. บทว่า ตํ วธิ ความว่า พญาหงส์กล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์ที่จะให้เข้าใจว่า สีอย่างนี้ สีอย่างนี้นั้นจะฆ่าพ่อเสีย เหมือนขุยไผ่ที่อาศัยต้นไผ่เกิดขึ้น ก็ย่อมจะฆ่าไม้ไผ่ เสียฉะนั้น คือสีอย่างนี้อย่าฆ่าท่านและเราเสียเลย. บทว่า มุตฺโตสิ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 417
พ่อเป็นผู้อันนายลุททบุตร ปล่อยแล้วคือสละแล้วพร้อมกับเราด้วยคำอย่างนี้ว่า ท่านจงกลับไปยังเขาจิตตกูฏตามสบายเถิด ดังนี้แล้ว อย่าปรารถนาที่จะติดบ่วง อีกเลย. บทว่า สยํ อธิบายว่า พ่อปรารถนาจะเฝ้าพระราชา ชื่อว่าเข้าถึงการ ถูกฆ่าเองทีเดียว ภัยของเราทั้งสองนี้มาแล้ว เพราะอาศัยพ่ออย่างนี้. บทว่า โสสชฺช ความว่า ในวันนี้พ่อถึงความสงสัยในชีวิตแล้ว. บทว่า อตฺถํ คณฺหาหิ มา มุขํ ความว่า พ่อจงถือเอาเหตุที่จะให้ปล่อยพวกเราในบัดนี้เถิด คือว่า เราทั้งสองจะหลุดพ้นได้โดยประการใด ก็จงพยายามโดยประการนั้น เถิด พ่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ลมย่อมพัดกลิ่นหอมและเหม็นฉันใด ดังนี้ ขอ อย่าได้ยื่นปากออกเพื่อประสงค์จะติเตียนหญิงเลย.
พระมหาสัตว์ ครั้นสรรเสริญมาตุคามอย่างนี้แล้ว กระทำให้สุมุขหงส์ หมดคำพูดที่จะโต้ตอบได้ ทราบว่า สุมุขหงส์นั้นมีความเสียใจ เพื่อจะกล่าว ยกย่องสุมุขหงส์ในกาลบัดนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
ท่านนั้นจงประกอบความเพียร ที่สมควรอัน ประกอบด้วยธรรม จงประพฤติการแสวงหาทางที่จะ ช่วยให้เรารอดชีวิต ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของ ท่านเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ความว่า ดูก่อนสุมุขะผู้เป็นสหาย พ่อนั้น. บทว่า โยคํ ความว่า บัดนี้ พ่อจงประกอบความเพียรที่เราเคยประกอบ ไว้ในกาลก่อน จงประพฤติการแสวงหาให้เรารอดชีวิต. บทว่า ตว ปริยาปทาเนน คือ ด้วยความเพียรเครื่องประกอบอันบริสุทธิ์ของพ่อนั้น. บาลีว่า ปริโยทาเตน ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ด้วยการป้องกัน อธิบายว่า อันเป็นของ ของพ่อเพราะพ่อกระทำเอง จงประพฤติหาช่องทางให้เรารอดชีวิตด้วยเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 418
สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นจึงคิดว่า พญาหงส์กลัวต่อมรณภัยยิ่งนัก ไม่รู้จักกำลังของเรา เราจักเฝ้าพระราชาได้สนทนากันบ้างเล็กน้อยแล้วจักทราบ เราจักให้พญาหงส์นี้เบาใจเสียก่อน จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ที่ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย อย่า ทรงกลัวเลย ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยญาณวิริยะเช่นพระองค์ ย่อมไม่กลัว ข้าพระองค์จักประกอบความเพียรที่ สมควรอันประกอบด้วยธรรม พระองค์จะหลุดพ้น จากบ่วง ด้วยความเพียรอันผ่องแผ้วของข้าพระองค์ โดยเร็วพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสา ได้แก่ บ่วงคือความทุกข์.
เมื่อพญาหงส์ทั้งสองนั้น สนทนากันอยู่ด้วยภาษาของนกฉะนี้ นาย ลุททบุตรมิได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย ได้แต่พาเอาพญาหงส์ทั้งสองนั้นไปด้วย หาบแล้ว ก็เข้าไปยังกรุงพาราณสีอย่างเดียว นายพรานนั้นถูกมหาชนผู้มีความ แปลกประหลาด อันเกิดแต่ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีติดตามไปอยู่ ก็ไปถึงประตู พระราชวัง กราบทูลความที่ตนมาถึงแล้ว แด่พระราชา.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
นายพรานนั้น เข้าไปยังประตูพระราชวัง พร้อมด้วยหาบหงส์แล้ว จึงสั่งนายประตูว่า ท่านจง ไปกราบทูลถึงเราแด่พระราชาว่า พญาหงส์ธตรฐนี้ มาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิเวเทถ มํ ความว่า นายพรานเข้า ไปสั่งนายประตูว่า ท่านทั้งสองจงกราบทูลถึงเราแด่พระราชาอย่างนี้ว่า นาย-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 419
พรานเขมกะกลับมาแล้ว. บทว่า ธตรฏฺายํ ความว่า จงกราบทูลให้ทรงทราบ ต่อไปว่า พญาหงส์ธตรฐนี้ก็มาถึงแล้ว.
นายประตูรีบไปกราบทูลตามคำสั่ง พระราชาทรงปลื้มพระทัยตรัสสั่งว่า จงมาเร็วๆ ทรงแวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ ประทับนั่งบนราชบัลลังก์อันมี เศวตฉัตรยกชั้นไว้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นนายพรานเขมกะนำเอาพญาหงส์ ขึ้นนาสู่พระลานหลวง ทรงมองดูพญาหงส์ทั้งสองตัวมีสีดุจทองคำ จึงทรงพระ ดำริว่า ความปรารถนาของเราสำเร็จสมประสงค์แล้ว จึงทรงบังคับอำมาตย์ ทั้งหลายถึงกิจที่ควรกระทำแก่นายพรานนั้น.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ได้ยินว่า พระเจ้าสังยมนะทอดพระเนตรเห็น หงส์ทอง ทั้งสองตัว รุ่งเรืองด้วยบุญ หมายรู้ด้วย ลักษณะ แล้วตรัสรับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่าน ทั้งหลายจงให้ผ้า ข้าว น้ำ และเครื่องบริโภคแก่ นายพราน เงินเป็นสิ่งกระทำความปรารถนาแก่เขา เขาปรารถนาประมาณเท่าใด ท่านทั้งหลายจงให้แก่เขา ประมาณเท่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺสงฺกาเส ได้แก่ มีบุญเช่นเดียว กับตน. บทว่า ลกฺขณสมฺมเต ได้แก่ สมมติกันว่าประเสริฐรู้กันโดยทั่วๆ ไปแล้ว. บทว่า ขลุ เป็นนิบาต เชื่อมข้อความด้วยบทเบื้องต้นว่า ได้ยินว่า พระราชาทรงทอดพระเนตรหงส์ทั้งสองนั้น ดังนี้. บทว่า เทถ ความว่า พระราชาเมื่อจะทรงกระทำอาการคือความเลื่อมใสให้ปรากฏเป็นต้น. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า กามงฺกโร หิรญฺสฺส ความว่า เงินทองย่อมเป็นกิริยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 420
แห่งความใคร่ของเขา. บทว่า ยาวนฺตํ ความว่า นายพรานนี้ประสงค์ทรัพย์สิน สักเท่าใดๆ ท่านทั้งหลายก็จงให้เงินมีประมาณเท่านั้นแก่เขาเถิด.
พระราชาตรัสสั่งให้กระทำอาการคือความเลื่อมใสอย่างนี้ ทรงบันเทิง ด้วยความปีติและโสมนัส รับสั่งกะพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถิด จงไปตบแต่งประดับนายพรานนี้แล้วนำกลับมา. ลำดับนั้น พวกอำมาตย์จึงพา เขาลงจากพระราชนิเวศน์ ให้ช่างกัลบกตัดผมโกนหนวด แล้วอาบน้ำลูบไล้ ทาตัวประดับด้วยเครื่องอลังการ เสร็จแล้วจึงนำกลับมาเฝ้าพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้หมู่บ้าน ๑๒ หมู่ที่เก็บส่วยได้แสน กหาปณะในปีหนึ่ง รถที่เทียมม้าอาชาไนย และเรือนหลังใหญ่ที่ตบแต่งไว้แล้ว ได้ประทานยศใหญ่แก่นายพรานเขมกะนั้น นายพรานนั้นครั้นได้ยศใหญ่แล้ว ปรารภที่จะประกาศการงานของตน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หงส์สองตัวที่ข้าพระองค์นำมาถวายพระองค์นี้ มิใช่หงส์ธรรมดาสามัญ ด้วยว่า หงส์มีชื่อว่าธตรฐเป็นพระราชาแห่งหมู่หงส์เก้าหมื่นหกพัน ตัวนี้มีชื่อว่าสุมุขะ เป็นเสนาบดี ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามนายพรานนั้นว่า ดูก่อนสหาย หงส์ทองสองตัวนี้ ท่านจับมาได้อย่างไร.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากาสีทอดพระเนตรเห็นนายพรานผู้มี ความผ่องใส แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนเขมกะผู้สหาย ก็ สระโบกขรณีนี้เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งอยู่ (น้ำเต็มเปี่ยม) อย่างไรท่านจึงถือบ่วงเดินเข้าไปใกล้พญาหงส์ ซึ่งอยู่ ในท่ามกลางฝูงหงส์ ที่น่าชอบใจเกลื่อนกล่นไปด้วย ฝูงหงส์ที่เป็นญาติ ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลางได้และจับเอา มาได้อย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 421
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสนฺนตฺตํ ได้แก่ ผู้มีภาวะผ่องใส คือ ถึงความโสมนัสยินดีแล้ว. บทว่า ยทายํ ความว่า ดูก่อนเขมกะสหายที่รัก ถ้าหากว่าสระโบกขรณีของเรานี้ เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งเก้าหมื่นหกพันตั้งอยู่ไซร้. บทว่า กถํ รุจี มชฺฌคตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านถือเอาบ่วงเดินเข้าไป ใกล้พญาหงส์ที่สูงสุด ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลาง และมิใช่หงส์ชั้นเล็ก ซึ่งอยู่ใน ท่านกลางฝูงหงส์ทั้งหลายอันน่ารักน่าดู น่าพึงพอใจเหล่านั้นได้อย่างไร และ ท่านจับเอามาได้อย่างไร.
นายเขมกะสดับถ้อยคำของพระราชานั้น จึงกราบทูลว่า
วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติดตามรอยเท้า ของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือเอาเหยื่อ ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์ นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วงลงในที่นั้น ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วยอุบายอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทานานิ ความว่า ที่สำหรับยึดเอา เป็นที่หากิน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปาสโต คือ เข้าไปใกล้. บทว่า ปทํ คือ รอยเท้าที่พญาหงส์เหยียบลงในพื้นที่สำหรับ หากิน. บทว่า ฆฏสฺสิโต คือ อาศัยอยู่ในกรุงที่ทำคล้ายๆ ตุ่ม บทว่า อถสฺส ความว่า ลำดับนั้น ครั้นถึงวันที่ ๖ ข้าพระองค์ก็ได้เห็นรอยเท้าของ พญาหงส์นี้ซึ่งเที่ยวแสวงหาที่ถือเอาอาหาร. บทว่า เอวนฺตํ อธิบายว่า นาย พรานนั้นกราบทูลอุบายที่ตนจับพญาหงส์ทั้งหมดด้วยคำว่า ข้าพระองค์จับ พญานกนั้นมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 422
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงพระดำริว่า นายพรานผู้นี้ แม้ ยืนกราบทูลอยู่ที่ประตูวัง ก็กราบทูลถึงการมาของพญาหงส์ธตรฐตัวเดียว แม้ บัดนี้ก็ยังกราบทูลอยู่อีกว่า ขอพระองค์จงทรงรับพญาหงส์ธตรฐนี้ตัวเดียว เถิด เหตุอะไรจะพึงมีในข้อนี้หนอ จึงตรัสคาถาว่า
ดูก่อนนายพราน หงส์นี้มีอยู่สองตัว ไฉนท่าน จึงกล่าวว่ามีตัวเดียว จิตของท่านวิปริตไปแล้วหรือไร หรือว่าท่านคิดจะหาประโยชน์อะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปลฺวฏฺํ คือ ความแปรปรวน. บทว่า อาทู กินฺนุ ชิคึสสิ ความว่า หรือว่าท่านคิดเห็นอย่างไรหนอ พระราชา ตรัสถามว่า ท่านปรารถนาจะถือเอาพญาหงส์ที่เหลืออยู่อีกตัวหนึ่งนี้ไปให้คน อื่น จึงคิดหรือ.
ลำดับนั้น นายเนสาทจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ จิตของข้าพระองค์จะได้ วิปริตก็หาไม่ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาที่จะให้หงส์ที่เหลืออีกตัวหนึ่งนี้แก่ผู้อื่น ด้วยว่า เมื่อข้าพระองค์ดักบ่วงไว้ หงส์ตัวเดียวเท่านั้นติดบ่วง เมื่อจะกระทำ เนื้อความให้แจ่มแจ้ง จึงทูลว่า
หงส์ตัวที่มีพื้นแดง มีสีงดงามดุจทองคำกำลัง หลอม รอบๆ คอจรดทรวงอกนั้น เข้ามาติดบ่วงของ ข้าพระองค์ แต่หงส์ตัวที่ผุดผ่องนี้มิได้ติดบ่วง เมื่อ จะกล่าวถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์ ได้ยืนกล่าวถ้อยคำอัน ประเสริฐกะพญาหงส์ที่ติดบ่วง ซึ่งกระสับกระส่ายอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลหิตกา ตาลา ได้แก่ พื้นมีสีแดง คือมีรอยแดง ๓ รอย. บทว่า อุรํ สํหจฺจ ได้แก่ รอยแดง ๓ รอยนี้พาดลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 423
ไปทางลำคอจนจรดทรวงอก มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช พญาหงส์ตัวที่มีรอยแดง ๓ รอย มีรัศมีงดงามประดุจทองคำมีสีสุกเหล่านี้ วงล้อมรอบคอลากไปถึงทรวงอกตั้งอยู่นั้น ตัวเดียวเท่านั้นเข้าไปติดในบ่วงของ ข้าพระองค์. บทว่า ภสฺสโร คือบริสุทธิ์ ถึงพร้อมแล้วด้วยรัศมี. บทว่า อาตุรํ คือเป็นไข้ กำลังได้รับทุกข์. บทว่า อฏฺาสิ ความว่า ส่วนพญาหงส์ นี้ ครั้นทราบว่าพญาหงส์ธตรฐติดบ่วง จึงบินกลับมาปลอบเอาใจพญาหงส์ ธตรฐนี้ แต่กระทำการต้อนรับในเวลาที่ข้าพระองค์ไปถึง กระทำการปฏิสันถาร ด้วยถ้อยคำอันไพเราะกับข้าพระองค์ในท่ามกลางอากาศทีเดียว กล่าวสรรเสริญ คุณของพญาหงส์ธตรฐด้วยถ้อยคำเป็นภาษามนุษย์มากมาย กระทำใจของ ข้าพระองค์ให้อ่อนโยนแล้ว ได้ยืนอยู่ข้างหน้าพญาหงส์อีกทีเดียว ข้าแต่ พระองค์ผู้ประเสริฐ ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้สดับถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของ สุมุขหงส์ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส จึงได้ปล่อยพญาหงส์ธตรฐไป พญาหงส์ ธตรฐพ้นจากบ่วงด้วยประการฉะนี้ อันการที่ข้าพระองค์นำเอาพญาหงส์ทั้ง สองตัวนี้ มาในที่นี้นั้น สุมุขหงส์ตัวเดียวได้กระทำขึ้น.
นายเขมกเนสาทนั้น กราบทูลสรรเสริญคุณของสุมุขหงส์อย่างนี้. พระราชาทรงสดับคำนั้น จึงมีพระประสงค์ใคร่จะสดับธรรมกถาของสุมุขหงส์ เมื่อพระองค์ทรงกระทำสักการะแก่นายลุททบุตรอยู่ทีเดียว พระอาทิตย์อัสดงคต แล้วแสงประทีปสว่างไสวอยู่ทั่วไป อิสรชนมีกษัตริย์เป็นต้นมาประชุมกันเป็น อันมาก แม้พระนางเขมาเทวี ทรงแวดล้อมด้วยนางฟ้อนต่างๆ ประทับนั่งข้าง พระปรัศว์เบื้องขวาของพระราชา. ในขณะนั้น พระราชาทรงพระประสงค์จะ ให้สุมุขหงส์แสดงธรรมกถาจึงตรัสคาถาว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 424
ดูก่อนสุมุขหงส์ เหตุไรหนอ ท่านจึงยืนขบคาง อยู่ในบัดนี้ หรือว่าท่านมาถึงบริษัทของเราแล้ว กลัว ภัย จึงไม่พูด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนุํ สํหจฺจ ความว่า ได้ยินว่า ท่าน มีถ้อยคำอันไพเราะ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึงยืนปิดปากเสียในกาลนี้. บทว่า อาทู คือ บางครั้ง. บทว่า ภยา ภีโต ได้แก่ หรือว่าท่านกลัวภัย อันเกิดจากอำนาจราชศักดิ์ในบริษัทจึงไม่พูด.
สุมุขหงส์ได้สดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงความที่ตนมิได้เกรงกลัวภัย จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี ข้าพระองค์เข้ามาสู่บริษัทของพระองค์แล้ว จะกลัวภัยก็ หาไม่ ข้าพระองค์จักไม่พูดเพราะกลัวภัยก็หาไม่ แต่ เมื่อประโยชน์เช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์จึงจัก พูด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาทิเส ความว่า ก็แต่ว่า ข้าพระองค์ นั่งคอยโอกาสที่จะพูดอยู่ด้วยคิดว่า เมื่อประโยชน์เห็นปานนั้นบังเกิดขึ้น เรา จึงจักพูด.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะทรงกระทำความแย้มสรวล เพราะทรงประสงค์จะให้สุมุขหงส์นั้นกล่าวถ้อยคำเพิ่มเติมขึ้นอีก จึงตรัสว่า
เราไม่เห็นบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ พลรถ พลเดินเท้า เกราะ โล่ และนายขมังธนูผู้สวมเกราะของท่านเลย ดูก่อนสุมุขหงส์ ท่านอาศัยสิ่งใดหรือว่าเข้าไปใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 425
สถานที่ใดแล้ว ไม่กลัวสิ่งที่จะพึงกลัว เราไม่เห็นสิ่ง นั้น หรือสถานที่นั้น แม้เป็นเงิน ทอง หรือนครที่ สร้างไว้อย่างดี ซึ่งมีคูรายรอบ ยากที่จะไปได้ มีหอ รบและเชิงเทิน อันมั่นคงเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิสฺสรํ ความว่า เรายังมองไม่เห็น บุคคลผู้ถืออาวุธยืนแวดล้อม เพื่อต้องการรักษาในที่สุดบริษัทของท่านเลย. บทว่า อสฺส ในบทว่า นาสฺส นั่นเป็นเพียงนิบาต. บทว่า จมฺมํ ได้แก่ หนังสำหรับป้องกันตัว. บทว่า กีตํ วา ได้แก่ แผ่นโลหะ บางทีท่านกล่าวว่า เป็นแผ่นจานกระเบื้องก็มี. พระราชาทรงแสดงว่า แม้ผู้ที่ถือจานกระเบื้องก็ยัง ไม่มีในสำนักของท่านเลย. บทว่า วมฺมิเน ได้แก่ ผูกสอดแล้วด้วยเกราะ. บทว่า น หิรญฺํ ความว่า ท่านอาศัยสิ่งใด จึงไม่มีความกลัวภัย เรายัง มองไม่เห็นสิ่งนั้นแม้จะเป็นเงินในสำนักของท่านเลย.
สุมุขหงส์ เมื่อถูกพระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุที่ท่านไม่ กลัว เมื่อจะบอกถึงเหตุนั้น จึงกราบทูลคาถาต่อไปว่า
ข้าพระองค์ไม่ต้องการด้วยบริษัทผู้ยิ่งใหญ่ หรือ นคร หรือทรัพย์ เพราะข้าพระองค์ไปสู่ทางโดยสถาน ที่มิใช่ทาง ข้าพระองค์เป็นสัตว์เที่ยวไปในอากาศ ก็พระองค์ทรงสดับข่าวว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิตและเป็น ละเอียดคิดข้ออรรถ ถ้าพระองค์ทรงดำรงมันอยู่ใน ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึงกล่าววาจาอันมี อรรถ ด้วยว่าคำที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว แม้จะเป็น สุภาษิต ก็จักทำอะไรแก่พระองค์ผู้หาความสัตย์มิได้ ผู้ไม่ประเสริฐ มักตรัสคำเท็จ ผู้หยาบช้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 426
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิสฺสเรน ได้แก่ บริวารผู้รักษา. บทว่า อตฺโถ ความว่า ข้าพระองค์ไม่มีกิจด้วยสิ่งนี้ เพราะอะไร เพราะข้าพระองค์ สร้างหนทางไปโดยสถานที่อันมิใช่ทาง คือ โดยอันที่ไม่ใช่ทางของบุคคลผู้เช่นกับ พระองค์ เพราะว่าข้าพระองค์เที่ยวไปในอากาศ. บทว่า ปณฺฑิตาตฺยมฺหา ความว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงสดับว่า ข้าพระองค์เป็นบัณฑิต พระองค์มี พระประสงค์จะใคร่สดับธรรมจากสำนักของข้าพระองค์ จึงให้จับข้าพระองค์ทั้ง สองมาด้วยเหตุนั้นแล บทว่า สจฺเจ จสฺสุ ความว่า ก็ถ้าพระองค์เป็นผู้ดำรงอยู่ ในความสัตย์ไซร้ ข้าพระองค์จะพึงกล่าววาจาอาศัยเหตุ. บทว่า อสจฺจสฺส ความ ว่า คำที่ข้าพระองค์กล่าว ถึงจะเป็นสุภาษิตก็จะกระทำอะไรแก่พระองค์ ผู้เว้น ขาดแล้วจากวจีสัจจะได้ ประดุจเข็มที่ทำด้วยงา ย่อมไม่มีประโยชน์แก่สมณะ ฉะนั้น.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าว กะเราว่า เราเป็นผู้กล่าวเท็จ มิใช่ผู้ประเสริฐ เรากระทำอะไรไว้เล่า. ลำดับ นั้น สุมุขหงส์จึงกราบทูลกะพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าอย่างนั้นพระองค์ จงทรงสดับเถิด แล้วกราบทูลว่า
พระองค์ได้ตรัสสั่งให้ขุดสระชื่อว่า เขมะนี้ ตาม ถ้อยคำของพวกพราหมณ์ และพระองค์รับสั่งให้ ประกาศอภัยทั่วสิบทิศ หงส์เหล่านั้น จึงได้พากันบินลง สู่สระโบกขรณี อันมีน้ำใสสะอาด ในสระโบกขรณี นั้นมีอาหารอย่างเพียงพอ และไม่มีการเบียดเบียนนก ทั้งหลายเลย พวกข้าพระองค์ได้ยินคำประกาศนี้แล้ว จึงพากันบินมาในสระของพระองค์ พวกข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 427
นั้นๆ ก็ถูกบ่วงรัดไว้ นี่เป็นคำตรัสเท็จของพระองค์ บุคคลกระทำมุสาวาท และความโลภคือความอยากได้ อันลามก เป็นเบื้องหน้าแล้ว ก้าวล่วงปฏิสนธิในเทวโลกและมนุษยโลกทั้งสอง ย่อมเข้าถึงนรกอันไม่น่า เพลิดเพลิน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ได้แก่ ตฺวํ ตัวพระองค์เอง. บทว่า เขมํ ได้แก่ สระโบกขรณีซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ฆุฏฺํ ได้แก่ พระองค์รับ สั่งให้บุคคลยืนประกาศอยู่ ที่มุมสระทั้ง ๔ มุม. บทว่า ทสธา ได้แก่ พระองค์ ประกาศอภัยนั้นในทิศทั้งสิบเหล่านั้น. บทว่า โอคฺคยฺห ได้แก่ จากสำนักของ หงส์ที่บินลงแล้ว จึงมาแล้ว. บทว่า ปหูตํ ขาทนํ ได้แก่ มีอาหารสำหรับ กินเป็นต้นว่า ดอกปทุม ดอกอุบล และข้าวสาลีอย่างเพียงพอ. บทว่า อิทํ สุตฺวา ความว่า ได้ยินอภัยโทษนี้ จากสำนักของหงส์เหล่านั้นซึ่งบินลงยัง สระโบกขรณีของพระองค์แล้ว จึงกลับมาแล้ว. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า ข้าพระองค์จึงพากันมายังสระโบกขรณีที่พระองค์ได้ขุดขึ้นในสำนักของพระองค์. บทว่า เต เต ได้แก่ พวกข้าพระองค์นั้นๆ ก็ได้พากันติดบ่วงของพระองค์. บทว่า ปุรกฺเขตฺวา ได้แก่ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า อิจฺฉาโลภํ ได้แก่ ความโลภอันลามกกล่าวคือความอยากได้. บทว่า อุโภสนฺธึ ความว่า บุคคล ผู้ประพฤติธรรมอันลามกเหล่านี้ กระทำไว้ในเบื้องหน้า ย่อมก้าวล่วงปฏิสนธิ ในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงปฏิสนธิอันเป็นสุคติ. บทว่า อสาตํ ได้แก่ ย่อมเข้าถึงนรก.
สุมุขหงส์ กระทำพระราชาให้ขวยเขินพระทัยในท่ามกลางบริษัทอย่าง นี้ทีเดียว ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามสุมุขหงส์นั้นว่า ดูก่อนสุมุขหงส์ ใช่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 428
ว่าเรามีความประสงค์ จะไปจับท่านมาฆ่ากินเนื้อก็หาไม่ แต่เราทราบว่า ท่าน เป็นบัณฑิต ประสงค์จะพึงถ้อยคำอันเป็นสุภาษิต จึงได้ให้จับท่านมา เมื่อจะ ทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนสุมุขหงส์ เรามิได้ทำผิด ทั้งมิได้จับท่าน มาด้วยความโลภ ก็เราได้สดับมาว่า ท่านทั้งหลาย เป็นบัณฑิต เป็นผู้ละเอียด และคิดข้ออรรถ ทำไฉน ท่านทั้งหลายจึงจะมากล่าววาจาอันอาศัยอรรถในที่นี้ ดูก่อนสุมุขหงส์ผู้สหาย นายพรานผู้นี้เราสั่งไป จึงไป จับเอาท่านมา ด้วยความประสงค์นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาปรชฺฌาม ความว่า เราฆ่าท่านเสีย จึงจะชื่อว่าประพฤติผิด แต่เรามิได้ฆ่าท่านเลย. บทว่า โลภาย มคฺคหึ ความ ว่า ทั้งเราประสงค์จะกินเนื้อท่านจึงได้จับท่านมา ด้วยความโลภก็หาไม่. บทว่า ปณฺฑิตาตฺยตฺถ ความว่า แต่เราได้ยินว่าท่านเป็นบัณฑิต. บทว่า อตฺถจินฺ- ตกา ได้แก่ จะคิดค้นข้อความอันลี้ลับได้. บทว่า อตฺถวตึ ได้แก่ ถ้อยคำ อันอาศัยเหตุ. บทว่า ตถา แปลว่า ด้วยเหตุนั้น. บทว่า วุตฺโต แปลว่า เป็น ผู้อันเรากล่าวแล้ว. บทว่า สุมุข มคฺคหิ คือร้องเรียกว่า ดูก่อนสุมุขะเอ๋ย ม อักษร กระทำการเชื่อมบท. บทว่า อคฺคหิ ความว่า เราจับมาเพื่อให้แสดง ธรรมต่างหาก.
สุมุขหงส์ ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์มีประสงค์เพื่อจะทรงสดับคำอันเป็นสุภาษิต ทรงกระทำกิจอันไม่สมควร เสียแล้ว แล้วกราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 429
ข้าแต่พระจอมแห่งชนชาวกาสี เมื่อชีวิตน้อมเข้า ไปใกล้ความตายแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึงมรณกาลแล้ว จะไม่พึงกล่าววาจาอันมีเหตุเลย ผู้ใดฆ่าเนื้อ ด้วยเนื้อต่อ ฆ่านกด้วยนกต่อ หรือดักผู้เลื่องลือด้วย เสียงที่เลื่องลือ จะมีอะไรเป็นความเลวทรามยิ่งกว่า ความเลวทรามของผู้นั้น ก็ผู้ใดพึงกล่าววาจาอัน ประเสริฐ ผู้นั้นย่อมพลาดจากโลกทั้งสอง คือโลกนี้ และโลกหน้า บุคคลได้รับยศแล้วไม่พึงมัวเมา ถึง ความทุกข์อันเป็นเหตุสงสัยในชีวิตแล้ว ไม่พึงเดือด ร้อน พึงพยายามในกิจทั้งหลายร่ำไป และพึงปิดช่อง ทั้งหลาย ชนเหล่าใดเป็นผู้เจริญ ถึงเวลาใกล้ตายไม่ ล่วงเลยประโยชน์อย่างยิ่ง ประพฤติธรรมในโลกนี้ ชน เหล่านั้นย่อมไปสู่ไตรทิพย์ด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่ พระจอมแห่งชนชาวกาสี พระองค์ทรงสดับคำนี้แล้วขอ จงทรงรักษาธรรมในพระองค์ และได้ทรงโปรดปล่อย พญาหงส์ธตรฐ ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนีตสฺมิ ได้แก่ น้อมเข้าไปใกล้ ความตาย. บทว่า กาลปริยายํ ความว่า พระองค์ถึงวาระใกล้มรณกาลแล้ว จักไม่กล่าวอะไรเลย พระองค์ผูกมัดผู้ที่จะแสดงธรรมกถาแล้ว ขู่ให้กลัวด้วย มรณภัย คิดว่าเราจักฟังธรรมดังนี้ ชื่อว่า กระทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว. บทว่า มิเคน ได้แก่ เนื้อที่ได้รับการฝึกหัดไว้เป็นอย่างดีแล้ว. บทว่า หนฺติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 430
ก็คือ หนติ (เป็นเอกวจนะ) แปลว่า ย่อมฆ่า. บทว่า ปกฺขินา ได้แก่ นกที่ นำมาล่อนั่นแหละ. บทว่า สุเตน วา ได้แก่ สระดอกปทุม เช่นเดียว กับเนื้อและนกต่ออันปรากฏเสียงลือกันว่า เขมสระไม่มีภัย. บทว่า สุตํ ได้แก่ ผู้แสดงธรรมที่เลื่องลือกันอย่างนี้ว่า ท่านผู้เป็นบัณฑิต มีปกติกล่าวถ้อยคำอัน วิจิตร. บทว่า กีเลฺย ความว่า ผู้ใดดักผู้เลื่องลือ คือพึงเบียดเบียนทำให้เดือด ร้อน ด้วยเครื่องผูกคือบ่วงด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม. บทว่า ตโต ความว่า สิ่งอะไรอย่างอื่นที่จะเลวทรามของชนเหล่านั้นยังมีอยู่อีกเล่า. บทว่า อริยรุทํ ความว่า ผู้ใดกล่าวคำอันประเสริฐ คือถ้อยคำอันดีแต่ปาก. บทว่า ธมฺมวสฺสิโต ได้แก่ อาศัยธรรมอันเลวทรามนั้นด้วยการกระทำ. บทว่า อุโภ คือ จากโลกทั้งสองคือเทวโลกและมนุษยโลก. บทว่า อิธ เจว ความว่า บุคคล นี้แม้บังเกิดในโลกนี้บังเกิดในโลกหน้า คือบุคคลเห็นปานนี้ชื่อว่า กำจัดเสีย จากโลกแห่งสุคติทั้งสองเสียแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกอย่างเดียว. บทว่า ปตฺตสํสยํ ได้แก่ บุคคลแม้ถึงความสงสัยในชีวิตคือถึงความทุกข์แล้วก็ไม่พึงลำบาก. บทว่า สํวเร วิวรานิ จ ความว่า พึงปิดพึงกั้นเสียซึ่งช่องทะลุของตน. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่เป็นบัณฑิตผู้เจริญด้วยคุณ. บทว่า สมฺปตฺตา กาลปริยายํ ได้แก่ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งเวลาใกล้มรณกาล ไม่ล่วงพ้นไปได้แล้ว. บทว่า เอเวเต ตัด บทเป็น เอวํ เอเต บทว่า อิทํ ได้แก่ ถ้อยคำอันอาศัยเหตุที่ข้าพระองค์ กราบทูลไว้แล้วนี้. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ทั้งธรรมที่เป็นประเพณีทั้งธรรมที่ เป็นสุจริต.
พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า
ชาวพนักงานทั้งหลาย จงนำน้ำ น้ำมันทาเท้า และอาสนะอันมีค่ามากมาเถิด เราจะปล่อยพญาหงส์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 431
ธตรฐ ซึ่งเรืองยศออกจากกรง และสุมุขหงส์เสนาบดี ที่มีปัญญา เป็นผู้ละเอียดคิดอรรถที่ยากได้ง่าย ผู้ใด เมื่อพระราชามีสุขก็สุขด้วย เมื่อพระราชามีทุกข์ก็ทุกข์ ด้วย ผู้เช่นนี้แลย่อมสมควรเพื่อจะบริโภคก้อนข้าวของ นายได้ เหมือนสุมุขหงส์เป็นราชสหายทั่วไปแก่สัตว์ มีชีวิต ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำสำหรับล้างเท้า. บทว่า ปชฺชํ ได้แก่ น้ำมันชโลมเท้า. บทว่า สุเข ได้แก่ เมื่อทรงสำราญอยู่.
พวกชาวพนักงานมีอำมาตย์เป็นต้น ได้ฟังรับสั่งของพระราชาแล้ว จึง นำอาสนะมาเพื่อพญาหงส์ทั้งสองนั้น แล้วจึงล้างเท้าของพญาหงส์ทั้งสอง นั้น ซึ่งจับอยู่บนอาสนะด้วยน้ำหอม ชโลมด้วยน้ำมันที่เคี่ยวให้เดือดแล้วตั้ง ร้อยครั้ง.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พญาหงส์ธตรฐเข้าไปเกาะตั่ง อันล้วนแล้วไป ด้วยทองคำมี ๘ เท้า น่ารื่นรมย์ใจ เกลี้ยงเกลา ลาด ด้วยผ้าแคว้นกาสี สุมุขหงส์เข้าไปเกาะเก้าอี้ อันล้วน แล้วไปด้วยทองคำ หุ้มด้วยหนังเสือโคร่ง ในลำดับ แห่งพญาหงส์ธตรฐ ชนชาวกาสีเป็นอันมาก ต่าง ถือเอาโภชนะอันเลิศที่เขาส่งไปถวายพระราชา นำเข้า ไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น ด้วยภาชนะทองคำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏฺํ ได้แก่ เป็นตั่งที่สำเร็จขึ้นด้วย การกระทำ. บทว่า กาสิกวตฺถินํ ได้แก่ เป็นตั่งที่ปูลาดด้วยผ้าอันมาจาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 432
แคว้นกาสี. บทว่า โกจฺฉํ ได้แก่ ตั่งที่เขาสานไว้ในท่ามกลาง. บทว่า เวยฺยคฺฆปริสิพฺพิตํ ได้แก่ ตั่งสำหรับเป็นที่ประทับนั่งของพระอัครมเหสี ในวันมงคล หุ้มด้วยหนึ่งเสือโคร่ง. กาญฺจนปตฺเตหิ ได้แก่ ภาชนะทองคำ. บทว่า ปุถู ได้แก่ เป็นจำนวนมาก. บทว่า กาสิโย ได้แก่ ชนผู้อยู่ใน แคว้นกาสี. บทว่า อภิหาเรสุํ คือ น้อมเข้าไป. บทว่า อคฺคํ รญฺโ ปวาสิตํ ความว่า ชนชาวกาสีเป็นอันมาก นำเอาโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ที่พวกเขาใส่ไว้ในจานทอง ๑๐๘ ใบ สำหรับส่งไปถวายพระราชา เข้าไปเพื่อ ประโยชน์เป็นบรรณาการแก่พญาหงส์.
ก็เมื่ออำมาตย์น้อมนำโภชนะนั้นเข้าไปอย่างนี้แล้ว พระเจ้ากาสิกราช ทรงรับภาชนะทองคำจากมือของพวกอำมาตย์เหล่านั้น ด้วยพระหัตถ์แล้ว จึง ทรงน้อมนำเข้าไปด้วยพระองค์เองเพื่อจะทรงยกย่อง พญาหงส์ทั้งสองนั้น จึง จิกกินข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้งจากภาชนะนั้น และจึงดื่มน้ำหวาน. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เห็นอาการที่นำมาล้วนแต่ของดีเลิศ และความเลื่อมใสของพระราชาจึงได้กระทำปฏิสันถาร.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พญาหงส์ธตรฐที่ฉลาด เห็นโภชนะอันเลิศที่ เขานำมาให้ อันพระเจ้ากาสีประทานส่งไป จึงได้ถาม ธรรมเนียม เครื่องปฏิสันถารในกาลเป็นลำดับนั้นว่า พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ ทรงสำราญดีอยู่ หรือ ทรงปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์นี้โดยธรรม หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 433
พระราชาตรัสว่า
ดูก่อนพญาหงส์ เราไม่มีโรคาพาธ อนึ่ง เรามี ความสำราญดี และเราก็ปกครองรัฐมณฑลอันสมบูรณ์ นี้โดยธรรม.
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของพระองค์ แลหรือ และอำมาตย์เหล่านั้น ไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ ของพระองค์แลหรือ.
พระราชาตรัสตอบว่า
โทษอะไรๆ ไม่มีในหมู่อำมาตย์ของเรา และ อำมาตย์เหล่านั้นไม่อาลัยชีวิตในประโยชน์ของเรา.
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มี พระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตามพระราช อัธยาศัยของพระองค์แลหรือ.
พระราชาตรัสตอบว่า
พระมเหสีซึ่งมีพระชาติเสมอกัน ทรงเชื่อฟัง มีพระเสาวนีย์อันน่ารัก ทรงประกอบด้วยพระโอรส พระรูป พระโฉม และพระยศ เป็นไปตามอัธยาศัย ของเรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 434
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
พระองค์มิได้ทรงเบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ทรง ปกครองให้ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหนๆ โดยความ ไม่เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอแลหรือ.
พระราชาตรัสตอบว่า
เรามิได้เบียดเบียนชาวแว่นแคว้น ปกครองให้ ปราศจากอันตรายแต่ที่ไหนๆ โดยความไม่เกรี้ยวกราด โดยธรรม โดยความสม่ำเสมอ.
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
พระองค์ทรงยำเกรงสัตบุรุษ ทรงเว้นอสัตบุรุษ แลหรือ พระองค์ไม่ทรงละทิ้งธรรม ไม่ทรงประพฤติ คล้อยตามอธรรมแลหรือ.
พระราชาตรัสตอบว่า
เรายำเกรงสัตบุรุษ เว้นอสัตบุรุษ ประพฤติคล้อย ตามธรรม ละทิ้งอธรรม.
พระมหาสัตว์ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ทรง พิจารณาเห็นชัดซึ่งพระชนมายุ อันเป็นอนาคตยังยืน ยาวอยู่หรือ พระองค์ทรงมัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้ง แห่งความมัวเมา ไม่สะดุ้งกลัวปรโลกหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 435
พระราชาตรัสตอบว่า
ดูก่อนพญาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุ อันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้วในธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศลธรรม ที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่ โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความ ไม่พิโรธ แต่นั้นมีปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิด แก่เรา ก็สุมุขหงส์นี้ ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจาอัน หยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของ สุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ มองเห็นเครื่องดื่มและ เครื่องบริโภคอันเลิศมากมายเหล่านั้น. บทว่า เปสิตํ ได้แก่ ที่พระราชาให้ นำมาแล้วทรงน้อมเข้าไปให้. บทว่า ขตฺตธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมสำหรับ กระทำปฏิสันถาร ในบุคคลผู้กระทำคราวแรก. บทว่า โต ปุจฺฉิ อนนฺตรา คือในกาลนั้น. บทว่า กจฺจิ นุ โภโต ความว่า คาถา ๖ คาถาที่พญาหงส์ ธตรฐทูลถามตามลำดับ ล้วนมีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแต่หนหลังทีเดียว. บทว่า อนุปฺปีฬํ ได้แก่ พญาหงส์ธตรฐทูลถามว่า พระองค์มิได้ทรงบีบคั้นชาว เมือง เหมือนบุคคลบีบอ้อยด้วยเครื่องยนต์บ้างหรือ. บทว่า อกุโตจิอุปทฺทวํ ได้แก่ หาอันตรายจากที่ไหนๆ มิได้เลย. บทว่า สเมน อนุสาสสิ ได้แก่ พระองค์ทรงปกครองแคว้นนี้ โดยธรรม โดยสม่ำเสมออยู่หรือ. บทว่า สนฺโต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 436
ได้แก่ ท่านผู้เป็นสัปบุรุษซึ่งประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า นิรงฺกตฺวา คือไม่ละทิ้งธรรม. บทว่า อนาคตํ ทีฆํ ได้แก่ พระองค์ทรงเห็นชัดพระชนมายุของพระองค์อันเป็นอนาคตว่า ยังเป็นไปยั่งยืนอยู่หรือ. บทว่า สมเวกฺ- ขสิ ความว่า พญาหงส์ธตรฐทูลถามว่า พระองค์ทรงทราบว่า อายุสังขาร เป็นของน้อยหรือ. บทว่า มทนีเย คือในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่นำความ มึนเมามา. บทว่า น สนฺตสิ คือไม่ทรงหวาดกลัว. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบาย ไว้ว่า พระองค์เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในกามคุณทั้งหลายมีรูปเป็นต้น มิได้ทรง สะดุ้งกลัวต่อปรโลก เพราะทรงกระทำกุศลมีทานเป็นต้นหรือ. บทว่า ทสสุ หมายเอาราชธรรม ๑๐ ประการ. เจตนาที่เป็นไปในทานเป็นต้น ชื่อว่า ทาน ศีล ๕ และศีล ๑๐ เป็นต้น ชื่อว่า ศีล การบริจาคไทยธรรม ชื่อว่า บริจาค ความ เป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่าความซื่อตรง ความเป็นผู้อ่อนโยน ชื่อว่าความอ่อนโยน กรรมคือการรักษาอุโบสถ ชื่อว่า ตบะ ส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา ชื่อว่า ความ ไม่โกรธ ส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา ชื่อว่า ความไม่เบียดเบียน ความอดกลั้น ชื่อว่าความอดทน ความไม่ขัดเคือง ชื่อว่า ความไม่พิโรธ. บทว่า อจินฺเตตฺวา ได้แก่ ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเราเหล่านั้น. บทว่า ภาวโทสํ คือโทษที่เกิด แก่จิต. บทว่า อนญฺาย แปลว่า ไม่รู้. บทว่า อสฺมากํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า โทษที่เกิดขึ้นแก่จิตของเรา ย่อมไม่มี หงส์สุขุมะนี้มิได้ทราบถึงสิ่งที่ตัวควรจะ รู้นั้น จึงได้กล่าววาจาหยาบคายออกมา. บทว่า อโยนิโส คือโดยมิใช่อุบาย. บทว่า ยานสฺมาสุ ความว่า หงส์สุขุมะนี้ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา. บทว่า นยิทํ ตัดบทเป็น น อิทํ อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คำของสุมุขหงส์นี้ จึงเหมือนคำของผู้มีปัญญาก็หาไม่ คือด้วยเหตุนี้แล สุมุขหงส์ จึงปรากฏแก่เรา เหมือนมิใช่เป็นบัณฑิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 437
สุมุขหงส์ ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า พระราชาทรงประกอบไปด้วย คุณอันใหญ่ ถูกเรารุกราน และโกรธเคืองพระองค์ เราจักขอขมาโทษพระองค์ เสียเถิด จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ ความพลั้ง พลาดนั้น มีแก่ข้าพระองค์โดยความรีบร้อน ก็เมื่อ พญาหงส์ธตรฐติดบ่วง ข้าพระองค์มีความทุกข์มาก มาย ขอพระองค์ได้ทรงโปรดเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ เหมือนบิดาเป็นที่พึ่งของบุตร และดุจแผ่นดินเป็นที่ พึ่งของหมู่สัตว์ฉะนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นราช กุญชร ขอพระองค์ได้ทรงโปรดงดโทษให้แก่ข้าพระองค์ผู้ถูกความผิดครอบงำด้วยเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสารํ ได้แก่ ความพลาดพลั้งทุกอย่าง. บทว่า เวเคน ได้แก่ ข้าพระองค์เมื่อจะกราบทูลข้อความนี้ ได้กราบทูลไป โดยความรีบร้อน คือโดยความผลุนผลัน. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ความทุกข์ อันเป็นไปทางจิต ได้มีแก่ข้าพระองค์มากมาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงได้ กราบทูลคำนั้น ออกไปด้วยอำนาจความโกรธ ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ จงทรงอดโทษนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด. บทว่า ปุตฺตานํ ได้แก่ พระองค์เปรียบ เหมือนเป็นบิดาของบุตรทั้งหลาย. บทว่า ธรณีริว ได้แก่ อนึ่งเล่า ขอพระองค์ จงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ เหมือนแผ่นดินเป็นที่พำนักอาศัยของเหล่าสัตว์ ฉะนั้น. บทว่า อธิปนฺนานํ ได้แก่ ข้าพระองค์ผู้กำลังถูกโทษ คือความผิด ท่วมทับแล้ว. บทว่า ขมสฺสุ ความว่า สุมุขหงส์นั้นลงจากอาสนะ ประคอง อัญชลีด้วยปีกทั้งสองข้างแล้ว จึงกราบทูลคำนี้ไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 438
ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงสวมกอดสุมุขหงส์นั้นแล้ว ทรงพาไปให้ เกาะบนตั่งทองคำ เมื่อจะทรงรับการแสดงโทษ จึงตรัสว่า
เราย่อมอนุโมทนาแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้ เพราะท่านไม่ปกปิดความในใจ ดูก่อนหงส์ ท่าน ซื่อตรง จงทำลายความข้องใจเสียเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทาม ความว่า เรายอมอดโทษ นั้นแก่ท่าน บทว่า ยํ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านมิได้ซ่อนเร้นสิ่งที่ควรจะปิด บังในใจของตน. บทว่า ขีลํ ได้แก่ เสาเขื่อนแห่งจิต คือ หลักตอแห่งจิต
ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงเลื่อมใสธรรมกถาของพระมหาสัตว์และความซื่อตรงของสุมุขหงส์ จึงทรงพระดำริว่า ธรรมดาผู้มีความเลื่อม ใส ต้องกระทำอาการแสดงความเลื่อมใส เมื่อจะทรงมอบสิริราชสมบัติของ พระองค์ แก่พญาหงส์ทั้งสองนั้น จึงตรัสคาถาว่า
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ใน นิเวศน์ของเรา ผู้เป็นพระเจ้ากาสี คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์อันมากมาย แก้วมณี สังข์ ไข่มุก ผ้า จันทน์แดง และเหล็กอีกมาก เราขอให้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้งหมดนี้แก่ท่าน และขอสละความ เป็นใหญ่ให้แก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ คือที่เก็บเอาไว้. บทว่า มุตฺตา ได้แก่ แก้วมุกดาทั้งที่เจียระไนแล้ว และยังมิได้เจียระไน. บทว่า มณโย ได้ แก่ เครื่องใช้ที่ทำด้วยแก้วมณีทั้งหลาย. บทว่า สงฺมุตฺตญฺจ ได้แก่ แก้ว สังข์ทักษิณาวัฏ และแก้วไข่มุกดีกลมประดุจผลมะขามป้อม. บทว่า วตฺถิกํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 439
ได้แก่ ผ้าเนื้อละเอียดซึ่งนำมาจากแคว้นกาสี. บทว่า อชินํ ได้แก่ หนังมฤค เหลือง. บทว่า โลหํ กาฬายสํ ได้แก่ โลหะมีสีแดงและโลหะมีสีดำ. บทว่า อิสฺสริยํ ความว่า เราขอสละราชสมบัติในพระนครพาราณสี มีอาณาเขตกว้าง ยาว ๑๒ โยชน์กับเศวตฉัตรประดับมาลาทองให้แก่ท่าน.
ก็พระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงทรงบูชาพญาหงส์แม้ทั้งสองนั้น ด้วยเศวตฉัตร มอบราชสมบัติให้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะสนทนากับ พระราชา จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระองค์ทั้งสอง เป็นอันพระองค์ทรงยำเกรง และทรงสักการะโดยแท้ ขอพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ ของข้าพระองค์ทั้ง สอง ซึ่งประพฤติอยู่ในธรรมทั้งหลายเถิด ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นอาจารย์ผู้ปราบปรามข้าศึก ข้าพระองค์ ทั้งสองอันพระองค์ทรงยอมอนุญาตแล้วจักกระทำประทักษิณพระองค์แล้ว จักกลับไปหาหมู่ญาติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. บทว่า อาจริโย ความว่า พระองค์เป็นผู้ฉลาดกว่าข้าพระองค์ทั้ง สอง เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงเป็นอาจารย์ของข้าพระองค์เถิด. อีกอย่างหนึ่ง พระมหาสัตว์ทูลว่า อนึ่ง พระองค์จงเป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ทั้งสองเถิด เพราะพระองค์ตรัสราชธรรม ๑๐ ประการ และเพราะพระองค์ทรงแสดงโทษ แก่สุมุขหงส์แล้ว ทรงกระทำการงดโทษ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงเป็น อาจารย์ของข้าพระองค์ทั้งสอง ด้วยเหตุที่ให้ศึกษามรรยาท แม้ในวันนี้เถิด. บทว่า. ปสฺเสมุรินฺทม ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ย่ำยี่ซึ่งข้าศึก ข้าพระองค์ จักเห็นหมู่ญาติทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 440
พระราชาประทานอนุญาตให้พญาหงส์ทั้งสองนั้นกลับไป. แม้เมื่อ พระโพธิสัตว์แสดงธรรมอยู่ทีเดียว อรุณขึ้นมาแล้ว.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้ากาสีทรงดำริ และทรงปรึกษาข้อความ ตามที่ได้กล่าวมาตลอดราตรีทั้งปวง แล้วทรงอนุญาต พญาหงส์ทั้งสอง ซึ่งประเสริฐสุดกว่าหงส์ทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถากถํ ความว่า พระเจ้ากาสิราชทรง พระดำริถึงเนื้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พระองค์ควรจะดำริและทรงปรึกษา กับพญาหงส์ทั้งสองนั้น. บทว่า อนุญฺสิ ได้แก่ พระองค์ทรงอนุญาตว่า ท่านทั้งสองจงพากันกลับไปเถิด.
พระโพธิสัตว์อันพระราชานั้นทรงอนุญาตอย่างนี้แล้ว จึงทูลถวาย โอวาทพระราชาว่า ขอพระองค์อย่าได้ทรงประมาท จงเสวยราชสมบัติโดยชอบ ธรรมเถิด แล้วให้พระราชาประดิษฐานอยู่ในศีล ๕ ประการ พระราชาทรง น้อมข้าวตอกอันระคนด้วยน้ำผึ้ง และน้ำหวานเข้าไปให้แก่พญาหงส์ทั้งสอง นั้นด้วยภาชนะทองคำ ในเวลาที่เสร็จอาหารกิจแล้ว จึงทรงบูชาด้วยของหอม และระเบียบดอกไม้เป็นต้น ทรงเอาผอบทองคำประคองพระโพธิสัตว์ยกขึ้น ด้วยพระองค์เอง ฝ่ายพระนางเขมาเทวี ทรงยกสุมุขหงส์ขึ้น. ลำดับนั้น ท้าว เธอทั้งสองจึงให้เผยสีหบัญชรแล้วตรัสว่า ดูก่อนนาย ท่านทั้งสองจงกลับไป ในเวลามีอรุณขึ้นเถิด แล้วทรงปล่อยพญาหงส์นั้น.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า
เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต เมื่อราตรีสว่างจ้า พญาหงส์ทั้งสอง ก็พากันบินไปจากพระราชนิเวศน์ ของพระเจ้ากาสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 441
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิคาหิสุํ ได้แก่ แล่นขึ้นไปสู่อากาศ.
พระมหาสัตว์บินขึ้นไปจากผอบทองคำ แล้วประเล้าประโลมพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อย่าได้เสียพระทัยไปเลย พระองค์พึงเป็น ผู้ไม่ประมาท ทรงประพฤติในโอวาทของข้าพระองค์เถิด ดังนี้แล้ว จึงพาสุมุข หงส์บินไปยังภูเขาจิตตกูฏทีเดียว ฝ่ายหงส์เก้าหมื่นหกพัน แม้เหล่านั้นแล พา กันบินออกจากถ้ำทอง จับอยู่บนพื้นภูเขา เห็นพญาหงส์นั้นบินกลับมา จึงบิน ไปต้อนรับห้อมล้อมแล้ว หงส์ทั้งสองนั้นแวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติเข้าไปยังภูเขา จิตตกูฏ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
หงส์เหล่านั้น เห็นพญาหงส์ทั้งสองที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีโรคกลับมาถึง จึงพากันส่งเสียงว่า เกเก ได้เกิด เสียงอื้ออึงขึ้น หงส์มีความเคารพนายเหล่านั้น ได้ ปัจจัยมีปีติโสมนัส เพราะนายหลุดพ้นกลับมา พากัน กระโดดโลดเต้น เข้าไปห้อมล้อมโดยรอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกรุํ ได้แก่ ได้เปล่งเสียงดังลั่นเซ็งแซ่ ไปหมด. บทว่า ปรเม คือสูงสุด. บทว่า เกเก ความว่า พวกหงส์ เหล่านั้น ได้กระทำเสียงว่า เกเก. ด้วยเสียงร้องตามภาษาของตน. บทว่า ภตฺ- ตุคารวา ได้แก่ เต็มไปด้วยความเคารพในพญาหงส์ที่เป็นนาย. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า หงส์เหล่านั้นมีความยินดีด้วยเหตุที่นายพ้นจากภัยมาได้ จึง พากันเข้าไปห้อมล้อมนายนั้นอยู่โดยรอบ. บทว่า ลทฺธปจฺจยา ได้แก่ ได้ที่พึ่งพำนักแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 442
พวกหงส์เหล่านั้น ครั้นห้อมล้อมอยู่อย่างนี้แล้ว จึงพากันไต่ถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์พ้นมาได้อย่างไร. พระมหาสัตว์จึงเล่าถึงความที่ตน พ้นมาได้ เพราะอาศัยสุมุขหงส์ และเล่าถึงกิจการที่กระทำกันในราชตระกูล และกิจการที่นายลุททบุตรกระทำ ให้พวกหงส์เหล่านั้นฟัง ฝูงหงส์ได้สดับ เรื่องราวนั้นแล้ว จึงกล่าวอวยพรอีกว่า สุมุขหงส์เสนาบดี และนายพราน จงเป็นผู้มีความสุขนิราศทุกข์ มีชีวิตอยู่ยืนยาวนานเถิด.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า
ประโยชน์ทั้งปวง ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร ย่อมให้สำเร็จความสุขความเจริญ เหมือน พญาหงส์ธตรฐ และสุมุขหงส์สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตร เกิดประโยชน์ให้สำเร็จความสุขความเจริญกลับ มายังหมู่ญาติ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวตํ ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ ย่อมสำเร็จความสุขและประกอบไปด้วยความ เจริญ. บทว่า ธตรฏฺา ความว่า เปรียบเหมือนพญาหงส์เหล่าธตรฐแม้ ทั้งสองนั้น คือพญาหงส์และสุมุขหงส์เสนาบดี สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรทั้ง สอง คือพระราชาและนายลุททบุตร. บทว่า าติสงฺฆมุปาคมุํ ความว่า ประโยชน์ของหงส์ทั้งสองนั้น กล่าวคือ การได้กลับมาถึงหมู่ญาติ ย่อมประกอบ ไปด้วยความสุขความเจริญเกิดแล้ว คือว่าประโยชน์ทั้งหลายของผู้สมบูรณ์ ด้วย กัลยาณมิตรแม้เหล่าอื่น ก็ย่อมประกอบไปด้วยความสุขความเจริญอย่างนี้ เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 443
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ใช่ว่าอานนท์จะสละชีวิตเพื่อเราตถาคตในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ ถึงเมื่อก่อน อานนท์ก็ได้สละชีวิตเพื่อตถาคตแล้วเหมือนกัน แล้วจึงทรง ประมวลชาดกว่า นายพรานในกาลนั้น ได้มาเป็นภิกษุชื่อว่า ฉันนะ ในกาลนี้ พระนางเขมาเทวีได้มาเป็นภิกษุณีชื่อว่า เขมา พระราชาได้มาเป็นสารีบุตร สุมุขหงส์เสนาบดี ได้มาเป็นภิกษุชื่อว่า อานนท์ บริษัทนอกนั้นได้มาเป็น พุทธบริษัท ส่วนพญาหงส์ธตรฐได้มาเป็นเราตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.
จบอรรถกถามหาหังสชาดก