๔. กุณาลชาดก ว่าด้วยนกดุเหว่า
[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 514
๔. กุณาลชาดก
ว่าด้วยนกดุเหว่า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 514
๔. กุณาลชาดก
ว่าด้วยนกดุเหว่า
[๒๙๖] เล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ที่ภูเขาหิมพานต์ อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินที่มีโอสถทุกชนิด ดาดาษ ไปด้วยดอกไม้และของหอมมากมายหลายพันธุ์ เป็นที่สัญจรไปมาแห่งช้าง โค กระบือ กวางทอง จามรี เนื้อฟาน แรด ระมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาก ชะมด เสือปลา กระต่ายและวัว กระทิง เป็นที่อยู่อาศัยแห่งหมู่ช้างใหญ่ ช้างตระกูลอันประเสริฐ เกลื่อนกล่น อยู่ทั่วปริมณฑลอันราบเรียบ มีต่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อสมัน เนื้อฟาน ม้าและลา กินนร ยักษ์และรากษสอยู่อาศัย ดาดาษไปด้วยหมู่ไม้นับไม่ถ้วน ทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้าน มีดอกบานตลอดปลาย มีนกเขา นกโพระโดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขกเต้า และนกการเวกส่งเสียงร้องกึกก้องไพเราะ เป็นประเทศที่ประดับไปด้วยแร่ธาตุ หลายร้อยชนิด เป็นต้นว่าอัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงิน และทองคำ เป็นไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าชื่อกุณาละ มีตัว ปีก และขนงดงามยิ่งนัก อาศัยอยู่ และนกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนาง นกดุเหว่าเป็นนางบำเรอ ประมาณ ๓,๕๐๐ ตัว นางนกดุเหว่าสองตัวเอาปาก คาบท่อนไม้ให้นกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้นจับตรงกลางแล้วพาบินไป ด้วยความ ประสงค์ว่า นกดุเหว่ากุณาละนั้น อย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัว บินไปเบื้องค่ำ ด้วยความประสงค์ว่า ถ้านกกุณาละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 515
นี้จะตกจากคอน พวกเราจะเอาปีกรับไว้ นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไป ข้างบนด้วยความประสงค์ว่า แดดอย่าได้ส่องถูกนกกุณาละเลย นางนกดุเหว่า บินไปโดยช้างทั้งสองข้างละ ๕๐๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลม หรือน้ำค้าง อย่าได้ถูกนกกุณาละนี้เลย นาง นกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คน เลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำการงานในป่าอย่าได้ขว้างปา นกกุณาละนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน กระบอง ศาสตรา หรือก้อนกรวดเลย นกกุณาละนี้อย่าได้กระทบด้วยกอไม้ เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือพวกนกที่มีกำลังกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำอันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วย ความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้เงียบเหงาอยู่บนคอนนี้เลย นางนก ดุเหว่าอีก ๕๐๐ ตัว บินไปยังทิศานุทิศ นำผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นพานกกุณาละนั้นจากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จาก สวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขาโน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพูนี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จาก สวนขนุนสำมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสำมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่สวน มะพร้าวโน้นโดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ยินดี นกกุณาละอันนางนก ดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกๆ วันอย่างนี้ ยังรุกรานอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่ระจักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 516
[๒๙๗] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ด้านทิศบุรพาแห่งขุนเขา หิมพานต์ มีแม่น้ำอันไหลมาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุม มีสีเขียว ณ ภูเขา หิมพานต์อันเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจด้วยกลิ่นหอม อันเกิดเดี๋ยวนั้น จากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกบัวขม ดอกบัวผัน ดอกจงกลนี และดอกบัวเผื่อน เป็นป่าทึบมากไปด้วยไม้ต่างๆ ชนิด คือไม้โกฏดำ ไม้จิก ไม้เกด ไม้ย่างทราย ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นหมากหอม ต้น ประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นสาละ ต้นสน ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นกากะทิง ต้นหงอนไก่ ต้นราชดัด ต้นโลดทะนง และต้นจันทน์ เป็นราวป่าที่สล้างไป ด้วยต้นกฤษณาดำ ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโรและต้นกล้วย ทรงไว้ ซึ่งต้นรกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นปรู ต้นซาก ต้นกรรณิการ์ ต้นชบา ต้น ว่านหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกและต้นขานางอันงามยิ่งนัก และมีไม้ดอกสำหรับร้อยเป็นพวงมาลัย ดาดาษไปด้วยดอกมะลิ ว่านเปราะหอม ต้นคนทา ต้นกำยาน ต้นแฝกหอม ต้นกระเบาและไม้กอ เป็นประเทศอันประดับไปด้วยลดาวัลย์ ดาดาษยิ่งนัก มีหมู่หงส์ นกนางนวล นกกาน้ำและนกเป็ดน้ำ ส่งเสียงร้องกึกก้อง เป็นที่ สถิตอยู่แห่งหมู่ฤๅษีสิทธิ์วิทยาธรสมณะและดาบส เป็นประเทศที่ท่องเที่ยวไป แห่งหมู่มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนรและ พญานาค เป็นไพรสณฑ์ที่น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาวชื่อ ปุณณมุขะ มีถ้อยคำอันไพเราะยิ่งนัก มีนัยน์ตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมา อาศัย อยู่ ได้ยินว่า พญานกปุณณมุขะนี้ มีนางนกดุเหว่าบำเรอ ๓๕๐ ตัว เล่ากัน มาว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัว เอาปากดาบท่อนไม้ให้พญานกปุณณมุขะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 517
จับตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์ว่า พญานกปุณณมุขะนั้นอย่าได้มี ความเหน็ดเหนื่อยในหนทางไกลเลย นางนกดุเหว่า ๕๐ ตัว บินไปเบื้องต่ำ ด้วยความประสงค์ว่า ถ้าพญานกปุณณมุขะนี้จักพลาดจากคอน พวกเราจัก เอาปีกทั้งสองรับไว้ นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปข้างบนด้วยความ ประสงค์ว่า แสงแดดอย่าได้แผดเผานกดุเหว่าชาวชื่อปุณณมุขะนั้นเลย นาง นกดุเหว่าบินไปโดยข้างทั้งสองข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยความประสงค์ว่า ความหนาว ความร้อน หญ้า ธุลีหรือน้ำค้าง อย่าได้ตกต้องนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ นั้นเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินขึ้นไปช้างหน้าด้วยความประสงค์ว่า คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนเกี่ยวหญ้า คนหาฟืน หรือคนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะนั้นด้วยท่อนไม้ กระเบื้อง ก้อนหิน ก้อนดิน ไม้ค้อน ศาสตรา หรือก้อนกรวดเลย และนกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะ นี้ อย่าได้กระทบกับกอไม้ เถาวัลย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ เสา หิน หรือกับนก ที่มีกำลังมากกว่าเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไปข้างหลังเจรจาด้วยวาจา อันเกลี้ยงเกลา อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ ด้วยความประสงค์ว่า นกดุเหว่า ขาวชื่อปุณณมุขะนี้อย่าเงียบเหงาบนคอนเลย นางนกดุเหว่าอีก ๕๐ ตัว บินไป ยังทิศานุทิศ นำเอาผลไม้นานาชนิดจากต้นไม้ต่างๆ มาให้ด้วยความประสงค์ ว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนี้ อย่าได้ลำบากเพราะความหิวเลย ได้ยินว่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้น พานกดุเหว่าชาวชื่อปุณณมุขะนั้น จากป่านี้ไปสู่ป่าโน้น จากสวนนี้ไปสู่สวนโน้น จากท่าน้ำนี้ไปสู่ท่าน้ำโน้น จากยอดเขานี้ไปสู่ยอดเขา โน้น จากสวนมะม่วงนี้ไปสู่สวนมะม่วงโน้น จากสวนชมพู่นี้ไปสู่สวนชมพู่โน้น จากสวนขนุนสำมะลอนี้ไปสู่สวนขนุนสำมะลอโน้น จากสวนมะพร้าวนี้ไปสู่ สวนมะพร้าวโน้น โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ร่าเริง ได้ยินว่า นกดุเหว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 518
ขาวชื่อปุณณมุขะ อันนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบำเรออยู่ทุกวันๆ ย่อมสรรเสริญ อย่างนี้ว่า ดีละๆ น้องหญิงทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายบำรุงบำเรอสามีอย่างนี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลธิดา.
[๒๙๘] ได้ยินว่า ในกาลต่อมา นกดุเหว่าขาวชื่อปุณณมุขะได้เข้า ไปหาพญานกกุณาละถึงที่อยู่ พวกนางนกดุเหว่าบริจาริกาของพญานกกุณาละ ได้เห็นพญานกปุณณมุขะนั้นกำลังบินมาแต่ไกล จึงพากันเข้าไปหา แล้วพูด กะพญานกปุณณมุขะนั้นว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พญานกกุณาละนี้เป็น นกหยาบช้า มีวาจาหยาบคายเหลือเกิน แม้ไฉน พวกเราจะพึงได้วาจาอัน น่ารักเพราะอาศัยท่านบ้าง พญานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้กระมัง น้องหญิงทั้งหลาย แล้วเข้าไปหาพญานกกุณาละกล่าวสัมโมทนียกถากับ พญานกกุณาละแล้ว สถิตอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพญานก ปุณณมุขะได้กล่าวกะพญานกกุณาละว่า ดูก่อนสหายกุณาละ เพราะเหตุไร ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อนางนกทั้งหลายที่มีชาติเสมอกัน เป็นลูกของผู้มีสกุล ซึ่ง ปฏิบัติดีต่อท่านเล่า ดูก่อนสหายกุณาละ นางนกทั้งหลายถึงเขาจะพูดไม่ถูกใจ เราก็ควรจะพูดให้ถูกใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงนางนกที่พูดถูกใจเล่า เมื่อพญา นกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละได้รุกรานพญานกปุณณมุขะ อย่างนี้ว่า แนะสหายลามกชั่วถ่อย เจ้าฉิบหาย เจ้าละลาย ใครจะเป็น ผู้ฉลาดด้วยการชนะเมียยิ่งไปกว่าเจ้า ก็แหละพญานกปุณณมุขะถูกรุกรานอย่าง นี้แล้ว ก็กลับไปเสียจากที่นั้น.
[๒๙๙] ได้ยินว่า สมัยต่อมา โดยกาลล่วงไปไม่นานนัก อาพาธ อันแรงกล้าเกิดขึ้นแก่พญานกปุณณมุขะ คือ ลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 519
จวนจะตาย ครั้งนั้น พวกนางนกดุเหว่า ที่เป็นบริจาริกาของพญานกปุณณมุขะ เกิดความปริวิตกว่า พญานกปุณณมุขะนี้ อาพาธหนักนกแล ไฉนจะพึงหายจาก อาพาธนี้หนอ นางนกดุเหว่าเหล่านั้น ละทิ้งพญานกปุณณมุขะไว้แต่ตัวเดียว ไม่มีเพื่อนสอง พากันเข้าไปหาพญานกกุณาละ พญานกกุณาละได้เห็นนางนก ดุเหว่าเหล่านั้นพากันมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางนกดุเหว่านั้นว่า พวก อีถ่อย ผัวของเจ้าไปไหนเสียเล่า นางนกดุเหว่าเหล่านั้นจึงตอบว่า ท่านสหาย กุณาละ พญานกปุณณมุขะอาพาธหนักนักแล ไฉนจะพึงหายจากอาพาธหนักนั้น เมื่อนางนกดุเหว่าเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละได้รุกรานนางนก ดุเหว่าเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีนางโจร อีนางนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณคน อีไปตามใจเหมือนลม ครั้นกล่าวรุกราน แล้ว ได้เข้าไปหาพญานกปุณณมุขะ แล้วร้องเรียกว่า เฮ้ยสหายปุณณมุขะ พญานกปุณณมุขะขานรับว่า อ้าสหายกุณาละ ได้ยินว่า พญานกกุณาละเข้าไป ประคบประหงมพญานกปุณณมุขะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้ว ให้ดื่มยาต่างๆ อาพาธของพญานกปุณณมุขะก็สงบระงับ.
[๓๐๐] ได้ยินว่า พญานกกุณาละได้กล่าวกะพญานกปุณณมุขะที่หาย จากไข้ยังไม่นานนักว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางกัณหา สองพ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิตปฏิพัทธ์ในบุรุษคนที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ย เหมือนศพศีรษะขาด.
และในเรื่องนี้มีคำเป็นยาถาอีกส่วนหนึ่งว่า
ครั้งนั้น นางคนหนึ่งล่วงละเมิดสามี ๕ คนคือ พระเจ้าอัชชุนะ พระเจ้านกุละ พระเจ้าภีมเสน พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 520
เจ้ายุธิษฐิล และพระเจ้าสหเทพ แล้วได้กระทำลามก กับบุรุษเปลี้ยแคระ.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นนาแล้ว นางสมณีชื่อปัญจตปาวี อยู่ ในท่ามกลางป่าช้า อดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอัน ลามกกับนักเลงสุรา ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางเทวีนามว่า กากวดี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็นภรรยาของพญาครุฑชื่อว่าท้าวเวนไตย ได้กระทำกรรมอันลามกกับกุเวรผู้เจนจบในการฟ้อน ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเห็นมาแล้ว นางขนงามนามว่า กรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียกับเอฬกกุมาร ได้กระทำกรรมอันลามกกับธนันเตวาสีผู้เป็นคนใช้ของฉฬังคกุมาร เป็นความ จริง เราได้รู้มาอย่างนี้แล พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต ทรงทอดทิ้ง พระเจ้าโกศลราช ได้ทรงกระทำกรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อปัญจาลจัณฑะ
หญิง ๕ คนนี้ก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้ว ซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย มหาปฐพีอันทรงไว้ซึ่ง สรรพสัตว์ ยินดีเสมอกัน เป็นที่รับรองสิ่งดีและ สิ่งชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน นรชนจึงไม่ควรวิสาสะกับ หญิงเหล่านี้ ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้าย กินเนื้อและ เลือดเป็นอาหาร มีอาวุธ ๕ อย่าง เป็นสัตว์หยาบช้า ยินดีในการเบียดเบียนสัตว์อื่น ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 521
ฉันใด หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น นรชนจึงไม่ควรวิสาสะ กับหญิงเหล่านั้น.
ดูก่อนปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด หญิงเหล่านี้คือ แพศยา นางงาม หญิงสัญจร เป็นชื่อผู้ฆ่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวก โจรประทุษร้ายให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลง พลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดเหมือนหลุมคูถ ที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็มได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไป โดยส่วนเดียวเหมือนพญายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัดพาไปทุกอย่างเหมือน แม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนาเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ.
และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนโจร ประทุษร้าย เหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตะแลงพลิกแพลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือน งู ปกปิดเหมือนหลุมคูถที่ปิดด้วยกระดาน ให้เต็ม ได้ยากเหมือนไฟ ให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไป ส่วนเดียวเหมือนพญายม กินทุกอย่างเหมือนไฟ พัด พาไปทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามปรารถนา เหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 522
ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็น ผู้กำรัตนะไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติใน เรือนให้พินาศ.
[๓๐๑] ดูก่อนปุณณมุขะ ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน ภรรยา ไม่ควรให้อยู่ในสกุลอื่น บัณฑิตไม่พึงรักษาทรัพย์ ๔ อย่างนี้ให้อยู่ พรากจากเรือน.
คนฉลาดย่อมไม่ฝากทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยานพาหนะ ๑ ภรรยา ๑ ไว้ในตระกูลญาติ เพราะว่าคนที่ไม่มียานพาหนะ ย่อมใช้รถที่ฝากไว้ ย่อมฆ่าโคผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็นเกินกำลัง ย่อมฆ่า ลูกโคเพราะรีดนม ภรรยาย่อมประทุษร้ายในตระกูล ญาติ.
[๓๐๒] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ สิ่งของ ๖ อย่างนี้ เมือกิจธุระเกิดขึ้น ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ คือ
ธนูไม่มีสาย ๑ ภรรยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรือที่ฝั่งโน้น ๑ ยานพาหนะที่เพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายลามก ๑ สิ่งของทั้ง ๖ นี้ เมื่อกิจธุระเกิดขึ้น ใช่ประโยชน์ไม่ได้.
[๓๐๓] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมดูหมิ่นสามีเพราะเหตุ ๘ ประการ คือ เพราะสามีเป็นคนจน ๑ เพราะสามีเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะสามีเป็นคนแก่ ๑ เพราะสามีเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะสามีเป็นคนโง่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 523
เพราะสามีเป็นคนมัวเมา ๑ เพราะคล้อยตามในกิจทุกอย่าง ๑ เพราะไม่ก่อ ให้ทรัพย์ทุกอย่างเกิดขึ้น ๑ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมดูหมิ่น สามีด้วยเหตุ ๘ ประการนี้.
และในเรื่องนี้มีถ้อยคำเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เป็นคนแก่ ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นคนโง่ ๑ เป็นคนมัวเมา ๑ คล้อยตามในกิจทุกอย่าง ไม่ก่อสิ่งปรารถนาทุกอย่าง ให้เกิดขึ้น ๑.
[๓๐๔] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้ สามี ด้วยเหตุ ๙ ประการ คือ หญิงเป็นคนมักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไป ท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและ ชอบประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบ ประตู ๑ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้ สามีเพราะเหตุ ๙ ประการนี้แล.
และในเรื่องนี้มีถ้อยคำกล่าวเป็นคาถาไว้อีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามีด้วยเหตุ ๙ ประการนี้ คือ มักไปป่า ๑ มักไปสวน ๑ มักไป ท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลอื่น ๑ มักชอบใช้กระจกและชอบประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่ม น้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มักยืนแอบประตู ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 524
[๓๐๕] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการ คือ ดัดกาย ก้มตัว กรีดกราย ทำอาย แกะเล็บ เอาเท้า เหยียบกัน เอาไม้ขีดแผ่นดิน ทำกระโดดเอง ให้เด็กกระโดด เล่นเอง ให้ เด็กเล่น จุมพิตเด็ก ให้เด็กจุมพิต กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ขอของจากเด็ก ทำตามที่เด็กกระทำ พูดเสียงสูง พูดเสียงต่ำ พูดเปิดเผย พูดกระซิบ ทำซิกซี้ด้วยการฟ้อน การขับ การประโคม ร้องไห้ กรีดกราย ด้วยการแต่งกาย ทำปิ่ง ยักเอว ส่ายผ้าที่ปิดของลับ เลิกขา ปิดขา ให้เห็นนม ให้เห็นรักแร้ ให้เห็นท้องน้อย หลิ่วตา เลิกคิ้ว เม้มปาก แลบลิ้น ขยายผ้า กลับนุ่งผ้า สยายผม มุ่นผม ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ได้ยินว่า หญิงย่อม ยั่วยวนชายด้วยเหตุ ๔๐ ประการนี้แล.
[๓๐๖] ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษ- ร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการ คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี ย่อมไม่ระลึกถึงสามีที่ไปแรมคืน ย่อมไม่ยินดีกะสามีที่มาแล้ว ย่อมกล่าวโทษ สามี ไม่กล่าวคุณแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อม ไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมการทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอน นอนเบือนหน้าไปทางอื่น ย่อมนอนพลิกกลับไปมา ย่อมทำวุ่นวายนอนถอนหายใจยาว ย่อมทำระทม ทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อยๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ได้ยินเสียง ชายอื่นย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมล้างผลาญทรัพย์สมบัติ ย่อมทอดสนิทชิดชอบกับชาย ผู้คุ้นเคย ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤติ นอกใจไม่เคารพในสามี มีใจประทุษร้าย ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเนืองๆ ย่อมทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 525
ให้เห็นรักแร้ นม ย่อมไปเพ่งดูทิศต่างๆ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ พึงทราบ เถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายสามีด้วยเหตุ ๒๕ ประการนี้แล.
และในเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถาอีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี ย่อมไม่เศร้าโศกถึงการไปของสามี ครั้นเห็นสามีกลับ มาก็ไม่แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวคุณแห่งสามีใน กาลไหนๆ อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ ประทุษร้าย หญิงผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำประโยชน์ของสามีไม่ เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมคลุม หัวนอน นอนเปื้อนหน้าไปทางอื่น อาการเหล่านี้เป็น ลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมนอนพลิก กลับไปมา ย่อมทำวุ่นวาย นอนถอนหายใจยาว ย่อม ทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจารปัสสาวะบ่อยๆ อาการ เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อม ประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อชายอื่นพูด ล้างผลาญโภคสมบัติ กระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายอื่น อาหารเหล่า นี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อมทำ ทรัพย์สมบัติที่สามีได้มาโดยความลำบาก หามาได้โดย ฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วยความยากแค้นให้พินาศ อนึ่ง ย่อมกระทำความสนิทสนมชมชอบกับชายที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 526
คุ้นเคยกัน อาการเหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ ประทุษร้าย หญิงออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิด จากความดี มีใจคิดประทุษร้ายในสามีอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจ ปราศจากความเคารพ อาการ เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย หญิงย่อม ยินอยู่ที่ใกล้ประตูเนืองๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้าง ให้เห็น มีจิตวอกแวกเพ่งดูทิศต่างๆ อาการเหล่านี้ เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย แม่น้ำทั้งปวงมีทาง คดเคี้ยว และป่าทั้งปวงรกเรี้ยวด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวงเมื่อได้ช่อง (ที่ลับ) พึงกระทำกรรมอัน ลามก ฉันนั้น ถ้าว่าพึงได้โอกาส ที่ลับ หรือพึงได้ ช่องเช่นนั้น หญิงทั้งปวงพึงกระทำกรรมอันลามก เป็นแน่ ไม่ได้ชายที่สมบูรณ์อื่น ก็ยอมทำกับคนเปลี้ย ในพวกนารีที่หลายใจ เป็นผู้กระทำความยั่วยวนแก่ ชายทั้งหลาย ไม่มีใครข่มขี่ได้ ถ้านารีเหล่าใดแม้จะ ทำให้พอใจโดยประการทั้งปวง ก็ไม่ควรวางใจในนารี เหล่านั้น เพราะว่า นารีเหล่านั้นเสมอด้วยท่าน้ำ.
[๓๐๗] บัณฑิตได้เห็นเรื่องอย่างไร ของพระเจ้า กินนรและพระนางกินรีเทวี แล้วพึงรู้เถิดว่า หญิง ทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนของตน พระนางกินรีเทวี ทรงเห็นบุรุษอื่นแม้จะเป็นคนง่อยเปลี้ย ยังละทิ้ง พระราชสวามีเช่นพระเจ้ากินนร ไปทำกรรมอันลามก กับบุรุษเปลี้ยนั้นได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 527
[๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรง หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระมเหสียังประพฤติ อนาจารกับคนใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมี หรือที่หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น.
[๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระมเหสีที่รักของ พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง ได้ประพฤติ อนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจ พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่ ทั้งสองราย.
[๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิง ทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู่จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีล0ะอาย ล่วงเสีย ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามแม้จะอยู่ ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์ แม่เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้งหลาย ผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 528
กัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิง ทั้งหลายผู้มุ่งหวัง ไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอา ได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไปเหมือนคนข้ามฟาก ถึงฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลาย เปรียบด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายากล้าแข็ง เหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบ บุรุษได้ทั้งที่น่ารักทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่ เลือกฝั่งนี้และฝั่งโน้น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของ บุรุษคนเดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือน ร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่าของเรา ก็เท่ากับดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภาและบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดน ของหญิงเหล่านั้น ไม่มี หญิงทั้งหลายเสมอด้วยไฟ กินเปรียง เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่มี ทรัพย์ เหมือนโคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชา ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วยความระวังเป็นนิตย์ เพราะสิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอนที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยาคนอื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุ แห่งทรัพย์ ๑ หญิง จำพวกนี้ ไม่ควรคบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 529
[๓๑๑] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถา ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญานกกุณาละแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า
ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่ หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาส ก็จะพึงดู- หมิ่นบุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพวก หญิงเผอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิงย่อมละทิ้งผัวหนุ่มผู่หมั่นขยัน มีความประพฤติ ไม่เหลาะแหละ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ ร้องไห้กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลาย ย่อมคบได้ทั้งบุรุษที่น่ารักทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือน เรือจอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะกะ ใบไม้ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควรวิสาสะกะพระราชาว่าเป็นเพื่อนของเรา ไม่ควร วิสาสะกะหญิงแม่จะมีลูก ๑๐ คนแล้ว ไม่ควรวิสาสะ ในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีล ไม่สำรวม ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควร วางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิง ทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัดเองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 530
ตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึงกระทำ ความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่ สำรวม ผู้เปรียบเทียบด้วยท่าน้ำ คำเท็จของหญิง เหมือนคำจริง คำจริงของหญิงเหมือนคำเท็จ หญิง ทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มีทรัพย์ ดังโคเลือกกิน หญ้าที่ดีๆ ในภายนอก หญิงทั้งหลายย่อมประเล้า ประโลมชายด้วยการเดิน การจ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้า หลุดๆ ลุ่ยๆ และพูดไพเราะ หญิงทั้งหลายเป็นโจร หัวใจแข็ง ดุร้าย เป็นน้ำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไรๆ ว่า เป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ ธรรมดาหญิงในโลก เป็นคนลามก ไม่มีเขตแดน กำหนัดนักทุกเมื่อและ คะนอง กินไม่เลือก เหมือนเปลวไฟไหม้เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี เพราะหญิงทั้งหลาย ย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ไม่รัก เหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น บุรุษชื่อว่าเป็น ที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ไม่มี หญิงย่อมผูก พันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือนเถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลายย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคน เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลาย ย่อมละทิ้งชายผู้ มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ติดตาม ชายเช่นนั้นได้เพราะเหตุแห่งทรัพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 531
[๓๑๒] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ประเสริฐชื่อนารทะรู้ชัด ซึ่งคาถาทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของพญาแร้งอานนท์แล้ว ได้กล่าวคาถา เหล่านั้นในเวลานั้นว่า
ดูก่อนพญานก ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้ากล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ สี่- อย่างนี้ย่อมไม่เต็ม แม่น้ำสายใดสายหนึ่งอาศัยแผ่นดิน ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้ เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้น มหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะ ยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียนเวทอันมีการบอกเป็นที่ ห้าได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนเวทอันไปอีก เพราะ ฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง พระราชาทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วย รัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขา ครอบครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะ ฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิง คนหนึ่งๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้ว กล้า มีกำลังสามารถนำมาซึ่งกามรสทุกอย่าง หญิงยัง กระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิงทุกคนกิน ทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ พาไปได้ทุกอย่างเหมือนแม่- น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละชายไปเพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 532
แห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความรักทั้งหมดในหญิง ชายนั้นเหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตักน้ำใส่ มหาสมุทรด้วยมือข้างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียงมือ ของตน ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความจริง ได้ยาก เป็นอาการที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทาง ปลาในน้ำฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูด ไพเราะ ให้เต็มได้ยากเสมอแม่น้ำ ทำให้ล่มจม บุคคล รู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือน น้ำวน มีมายามาก ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อ หญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่ง ทรัพย์ ย่อมเผาบุรุษนั้นโดยพลัน เหมือนไฟป่าเผา สถานที่เกิดของตนฉะนั้น.
[๓๑๓] ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พญานกกุณาละ รู้แจ้งแล้วซึ่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งคาถาของนารทพราหมณ์ผู้ประเสริฐ จึงได้ภาษิตคาถา เหล่านั้นในเวลานั้นว่า
บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งูพิษ ร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะว่าหญิง เป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ ขับร้องและการเจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 533
ไว้เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียดเบียนพวกพ่อค้าฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมาและเนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกรในทะเลฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อันน่ายินดีเป็นทำเลหากิน เป็นคน หยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อมเข้าไปหาชาย ผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหลไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าชายด้วยราคะและโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความ กำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อมเผาชายเช่น นั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูกราคะย่อมเหมือนเถาย่านทราย เกาะไม้สาละในป่าฉะนั้น หญิงประดับร่างกายหน้าตา ให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจมีประการต่างๆ ทำยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคน เล่นกลและอสุรินทรราหู หญิงประดับประดาด้วยทอง แก้วมณีและมุกดาถึงจะมีคนสักการะและรักษาไว้ใน ตระกูลสามี ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่ ในทรวงอก ประพฤตินอกใจทานพฉะนั้น จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา แม้จะมีเดช มีมหาชน สักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของหญิงแล้ว ย่อม ไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับฉะนั้น โจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 534
ผู้มีจิตโกรธ คิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่โจรอื่นซึ่ง เป็นข้าศึกที่มาประจัญหน้า ส่วนผู้ตกอยู่ในอำนาจของ หญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความพินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชากลากผมและหยิกข่วนด้วย เล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือและท่อนไม้ ก็กลับ วิ่งเข้าหา เหมือนหมู่แมลงวันที่ซากศพฉะนั้น บุรุษ ผู้มีจักษุคือปัญญา ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงเว้น หญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุลในถนน สายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้ว ซึ่งตบะคุณอันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของ พระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจากเทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่ กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตกฉะนั้น บุรุษผู้ตก อยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และ โลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดยไม่แน่นอน เหมือนรถที่ เทียมด้วยลาออกถึงย่อมไปผิดทางฉะนั้น ผู้ตกอยู่ในอำนาจ ของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อนและ นรกอันมีป่าไม่งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้ว มาในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรต และอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความเล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 535
นั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และ นางเทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชาย เหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นพึงได้คิดที่ก้าวล่วงเสียซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดย ไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติ พรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึง ได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วนไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย.
[๓๑๔] พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญา นกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญาแร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็นพุทธบริษัทเธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.
จบกุณาลชาดกที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 536
อรรถกถากุณาลชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ ริมสระชื่อกุณาละ ทรงพระปรารภ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งถูกความเบื่อหน่ายอยากจะสึกบีบคั้นแล้ว จึงตรัสพระธรรม เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวมกฺขายติ ดังนี้.
ลำดับเรื่องในกุณาลชาดกนั้นดังนี้
ดังได้สดับมาว่า ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองโกลิยะทั้งสอง เมืองนี้ มีแม่น้ำชื่อว่า โลหินี สายเดียวเท่านั้นไหลผ่านลงมา ชนชาวสากิยะ และชนชาวโกลิยะจึงทำทำนบกั้นน้ำนั้นร่วมอันเดียวกันแล้วจึงตกกล้า. ครั้งหนึ่ง ในต้นเดือน ๗ ข้าวกล้าเฉาลง พวกกรรมกรของชนชาวนครทั้งสองนั้นจึง ประชุมกัน บรรดากรรมกรทั้งสองเมืองนั้น พวกกรรมกรชาวเมืองโกลิยะ กล่าวขึ้นก่อนว่า น้ำที่ปิดกั้นไว้นี้ ถ้าจะไขเข้านาทั้งสองฝ่าย ก็ไม่พอเลี้ยง ต้นข้าวของพวกเราและพวกท่าน ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จเพราะน้ำ คราวเดียวเท่านั้น พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด แม้พวกกรรมกรชาว เมืองกบิลพัสดุ์ก็พูดขึ้นว่า เมื่อพวกท่านได้ข้าวกล้าเอาบรรจุไว้ในฉางจนเต็ม แล้วตั้งปิ่งอยู่ พวกเราไม่อาจที่จะถือเอากหาปณะทองคำ เงิน นิล มณี สัมฤทธิ์ แบกกระเช้ากระสอบเป็นต้น เที่ยวไปขอซื้อตามประตูเรือนของท่านได้ แม้ข้าวกล้าของพวกเราก็จักสำเร็จได้เพราะน้ำคราวเดียวเท่านั้นเหมือนกัน ขอ พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเราเถิด ทั้งสองฝ่ายต่างก็ขึ้นเสียงเถียงกันว่า พวกเรา จักไม่ให้ แม้พวกเราก็จักไม่ยอมให้เหมือนกัน ดังนี้ ครั้นพูดกันมากขึ้นๆ อย่างนี้ กรรมกรคนหนึ่งก็ลุกขึ้น ตีเอาคนหนึ่งเข้า แม้คนที่ถูกตีนั้น ก็ตีคน อื่นๆ ต่อไป ต่างฝ่ายต่างตีกันอย่างนี้ ก็เกิดทะเลาะกระทบชาติแห่งราชตระกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 537
พวกกรรมกรชาวโกลิยะกล่าวขึ้นก่อนว่า พวกมึงจงพาพวกเด็กๆ สากิยะซึ่งอยู่ ในเมืองกบิลพัสดุ์ไปเถิด อ้ายพวกสังวาสกับน้องสาวของตัวเองเหมือนสัตว์ เดียรัจฉาน มีหมาบ้านและหมาป่าเป็นต้น ถึงจะมีกำลังเป็นต้นว่า ช้าง ม้า โล่ และอาวุธ ก็จักกระทำอะไรแก่พวกกูได้ แม้พวกกรรมกรชาวสากิยะก็กล่าว ตอบว่า พวกมึงก็เหมือนกันจงพาเด็กขี้เรื้อนไปเสียในบัดนี้ อ้ายพวกอนาถา หาที่ไปไม่ได้ เที่ยวอาศัยอยู่ในโพรงไม้กระเบาเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ถึงจะมี โยธาหาญเป็นต้นว่าช้าง ม้า โล่และอาวุธ ก็จักกระทำอะไรแก่พวกกูได้ ชน เหล่านั้นต่างฝ่ายต่างก็ไปร้องเรียนอำมาตย์ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในการนั้น พวก อำมาตย์จึงเสนอเรื่องราวแก่ราชตระกูลต่อไป ในลำดับนั้น พวกกษัตริย์สากิยะ ทั้งหลายจึงตรัสว่า พวกเราจะสำแดงเรี่ยวแรงและกำลังของตนที่สังวาสกับ น้องสาวให้ดู แล้วตระเตรียมการรบยกออกไป แม้กษัตริย์พวกโกลิยะก็ตรัสว่า พวกเราก็จะสำแดงให้เห็นเรี่ยวแรงและกำลังของคนที่อาศัยอยู่ในต้นกระเบา แล้วตระเตรียมการรบยกออกไปเหมือนกัน.
เรื่องที่วิวาทกันนี้บางอาจารย์กล่าวว่า พวกทาสีของชาวสากิยะและชาว โกลิยะไปสู่แม่น้ำเพื่อตักน้ำ ต่างปลดเอาเทริดลงวางไว้ที่พื้นดินแล้ว นั่งพักผ่อน สนทนากันอยู่อย่างสบาย ทาสีคนหนึ่งหยิบเอาเทริดของตนหนึ่งไปด้วยเข้าใจว่า เป็นของตน อาศัยเทริดนั้นเป็นเหตุ จึงเกิดทะเลาะกันขึ้นว่า เทริดของกู เทริดของมึง ดังนี้ ครั้นแล้วชนชาวนครทั้งสอง เริ่มแต่ทาสกรรมกรโดยลำดับ มาจนถึงเสวกนายบ้าน อำมาตย์อุปราชและพระราชาทั้งหมดต่างฝ่ายต่างก็เตรียม ออกไปทำสงครามกัน แต่นัยก่อนจากนัยนี้มีมาในอรรถกถามากแห่งด้วยกัน และรูปเครื่องก็เหมาะสม เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงควรถือเอาเรื่องที่วิวาทกัน เพราะแย่งน้ำนั้นแล ก็กษัตริย์สากิยะและโกลิยะทั้งสองฝ่ายนั้น ครั้นเตรียมรบ พร้อมแล้ว ก็ยกออกไปในเวลาเย็นด้วยประการฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 538
ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถี ทรงทอดพระเนตรดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว ได้ทอดพระเนตรเห็นกษัตริย์ ทั้งสองพระนครเหล่านี้ มีการตระเตรียมรบแล้วยกกองทัพออกไปอย่างนี้ เมื่อ ทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงทรงใคร่ครวญต่อไปว่า เมื่อเราไปห้ามการทะเลาะนี้ จักระงับหรือไม่หนอ ก็ทรงเห็นว่า เราไปในที่นั้นแล้ว จักแสดงชาดก ๓ เรื่อง เพื่อระงับการทะเลาะวิวาท การทะเลาะวิวาทก็จักระงับลงในขณะนั้น ครั้นแล้ว เราจักแสดงชาดกอีก ๒ เรื่องเพื่อต้องการจะให้แสดงความสามัคคีนั้น แล้วจัก แสดงอัตตทัณฑสูตรต่อไป กษัตริย์ผู้อยู่ในพระนครทั้งสอง เมื่อได้ฟังเทศนา ของเราแล้ว ก็จักให้พระราชกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ พระองค์ เราจักให้พระราชกุมาร เหล่านี้บรรพชา สมาคมใหญ่จักมีด้วยประการฉะนี้ ครั้นตกลงพระหฤทัยดังนี้ แล้ว พอรุ่งเช้าก็ทรงกระทำการชำระพระสรีระ เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในเมือง สาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ถึงเวลาเย็นก็เสด็จออกจากพระคันธกุฎี มิได้ตรัสบอกแก่ใครๆ เลย ทรงถือเอาบาตรแลจีวรด้วยพระองค์เอง ทรงคู้ บัลลังก์ประทับนั่งในอากาศระหว่างเสนาทั้งสองฝ่าย ทรงเปล่งพระรัศมีออกจาก พระเกศ ทำให้เกิดความมืดในเวลากลางวัน เพื่อให้เกิดความท้อใจแก่พวก นักรบเหล่านั้น ลำดับนั้น เมื่อพวกนักรบเหล่านั้นเกิดความท้อใจแล้ว พระองค์ จึงทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ทรงเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ ฝ่ายเหล่ากษัตริย์สากิยะชาวเมืองกบิลพัสดุ์ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงดำริว่า ญาติผู้ประเสริฐของพวกเราเสด็จมาแล้ว ชะรอยพระองค์คงจะได้ทรงทราบว่า พวกเรากระทำการทะเลาะวิวาทกัน จึงพากันวางเครื่องอาวุธเสียด้วยตกลงใจว่า ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จมาแล้ว พวกเราไม่อาจที่จะให้อาวุธตกต้องร่างกายของ ผู้อื่นได้ พวกชาวเมืองโกลิยะจะฆ่าจะแกงพวกเราเสียก็ตามทีเถิด แม้พวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 539
กษัตริย์ชาวเมืองโกลิยะก็คิดและกระทำอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จลงมาประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์อันประเสริฐ ซึ่งพวก กษัตริย์จัดถวายบนเนินทรายในประเทศอันรื่นรมย์ ทรงรุ่งเรืองอยู่ด้วยพระพุทธสิริอันงดงามหาสิ่งเปรียบมิได้ แม้พระราชาทั้งสองฝ่ายนั้น ก็พากันถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่.
ลำดับนั้น พระศาสดาแม้ทรงทราบเรื่องอยู่ แต่ก็ได้ตรัสถามพวก กษัตริย์เหล่านั้นอีกว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย พวกท่านมา ณ ที่นี้ทำไม กษัตริย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทั้งปวงมา ณ ที่นี้ เพื่อต้องการจะดูแม่น้ำก็หามิได้ เพื่อต้องการจะเที่ยวเล่นก็หามิได้ เพื่อต้องการ จะดูภาพอันน่ารื่นรมย์ในป่าดงก็หามิได้ ก็แต่ว่าหม่อมฉันมา ณ ที่นี้ เพราะการ เริ่มสงครามกันขึ้น. ดูก่อนมหาราช พวกเธอเกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่อง อะไรเล่า. เพราะเรื่องน้ำพระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช น้ำมีราคาเท่าไร. น้ำราคา เล็กน้อย พระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช ก็แผ่นดินราคาเท่าไร. แผ่นดินมีราคา ประมาณมิได้ พระเจ้าข้า. ดูก่อนมหาราช ก็กษัตริย์เล่ามีราคาเท่าไร. กษัตริย์ ก็มีราคาประมาณมิได้เหมือนกันพระเจ้าข้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อน มหาราชทั้งหลาย ไฉนพวกท่านจึงจะยังกษัตริย์ทั้งหลายซึ่งหาค่ามิได้ให้พินาศ ไป เพราะอาศัยน้ำซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยเล่า ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัส เทศนาผันทนชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการหายใจคล่อง เพราะเหตุทะเลาะวิวาทกันนั้นไม่มีเลย ด้วยว่ารุกขเทวดาคนหนึ่งกับหมีตัวอาฆาต กัน เพราะเหตุทะเลาะวิวาทกัน เวรนั้นก็ตกตามอยู่ตลอดกัปนี้ทั้งสิ้น ลำดับต่อ นั้นไป ได้ตรัสเทศนาทุททภชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย เกิดมา เป็นคนไม่ควรหันไปตามเหตุที่ถึงของบุคคลอื่น (คือไม่ควรเก็บเอาเรื่องของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 540
คนอื่นมาคิด) จะเล่าให้ฟัง พวกสัตว์จตุบทในประเทศหิมวันต์ซึ่งกว้างประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ ยึดถือเรื่องของคนอื่น พากันวิ่งจะไปลงทะเล เพราะฟังคำของ กระต่ายตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรยึดถือเอาเรื่องของคนอื่น ต่อจาก นั้นพระองค์ตรัสเทศนาลฏุกิกชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย บางคราว ผู้ที่มีกำลังน้อยก็หาช่องทำลายผู้มีกำลังมากได้ บางคราวผู้มีกำลังมากก็ได้ช่อง ทำแก่ผู้มีกำลังน้อย แม้แต่นางนกไซ้ยังฆ่าพญาช้างตัวประเสริฐได้ สมเด็จ พระบรมศาสดาตรัสเทศนาชาดก ๓ เรื่อง เมื่อทรงพระประสงค์จะระงับการ ทะเลาะวิวาทดังนี้แล้ว จึงตรัสเทศนาชาดกอีก ๒ เรื่อง เพื่อแสดงสามัคคีธรรม เหมือนดังนั้นอีก คือตรัสเทศนารุกขธรรมชาดกว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ใครๆ ก็ไม่อาจหาช่องทำร้ายได้ แล้วตรัส เทศนาวัฏฏกชาดกความว่า ดูก่อนมหาราชทั้งหลาย เมื่อฝูงนกกระจาบพร้อม เพรียงกันอยู่ นายพรานก็ไม่อาจหาช่องทำร้ายได้ ต่อเมื่อใดฝูงนกกระจาบเกิด แก่งแย่งกันขึ้น เมื่อนั้นบุตรนายพรานคนหนึ่ง จึงทำลายชีวิตเอานกกระจาบ เหล่านั้นไปเสีย ขึ้นชื่อว่าความหายใจคล่องในการทะเลาะวิวาทย่อมไม่มีเลย พระศาสดาตรัสชาดก ๕ เรื่องเหล่านี้อย่างนี้แล้ว ในที่สุดจึงตรัสเทศนาอัตตทัณฑสูตร.
พระราชาแม้ทั้งหมดสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็ทรงเลื่อมใส ปรึกษากันว่า ถ้าหากว่าพระศาสดาไม่เสด็จมา พวกเราก็จักฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จนเลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระศาสดา ก็ถ้าพระ ศาสดาจักทรงครอบครองฆราวาส ราชสมบัติในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารก็จะตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ และพระองค์จักมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 541
พระราชโอรสกว่าพัน แต่นั้นก็จักมีกษัตริย์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวไป ก็แต่ว่า พระองค์ทรงสละราชสมบัติเช่นนั้นเสียแล้ว เสด็จออกบรรพชาจนได้บรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงอย่างนั้นเดี๋ยวนี้ พระองค์ก็ควรมีกษัตริย์เป็นบริวาร เสด็จเที่ยวไป ครั้นปรึกษากันดังนี้แล้ว กษัตริย์ทั้งสองพระนครนั้นจึงถวาย พระราชกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงให้พระราชกุมาร เหล่านั้นบรรพชาแล้ว เสด็จไปสู่มหาวัน จำเดิมแต่วัน รุ่งขึ้นเป็นต้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุราชกุมารเหล่านั้นแวดล้อมเป็นบริวารเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ไปในพระนครทั้งสอง คือบางคราวก็เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ บางคราวก็เสด็จ ไปเมืองโกลิยะ แม้ชาวพระนครทั้งสองก็กระทำสักการะใหญ่แก่พระองค์ ฝ่าย พวกภิกษุราชกุมารเหล่านั้น บวชด้วยความเคารพในสมเด็จพระบรมครู หา ได้บวชด้วยความเต็มใจของตนไม่ จึงได้เกิดความกระสันอยากจะสึก ใช่แต่ เท่านั้นพวกภรรยาเก่าของภิกษุเหล่านั้น ยังกล่าวถ้อยคำและส่งข่าวสาสน์ไป ยั่วยวนชวนให้เกิดความเบื่อหน่ายอีก ภิกษุราชกุมารเหล่านั้นก็ยิ่งเบื่อหน่าย หนักขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาดูก็ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเกิด ความเบื่อหน่ายขึ้นแล้ว จึงทรงใคร่ครวญว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้าเช่นเรายังมีความเบื่อหน่ายอีก ธรรมกถาเช่นไรหนอ จึงเป็นที่สบาย ของภิกษุเหล่านี้ได้ ก็ทรงเห็นว่ากุณาลธรรมเทศนาเป็นที่สบาย ลำดับนั้น พระองค์จึงทรงตรึกต่อไปว่า เราจักพาภิกษุเหล่านั้นไปยังประเทศหิมวันต์ ประกาศโทษของมาตุคามตามถ้อยคำของนกดุเหว่าชื่อกุณาละให้ภิกษุเหล่านั้นได้ฟัง กำจัดความเบื่อหน่ายเสียแล้ว จักแสดงพระโสดาปัตติมรรคแก่เธอ ครั้นเวลา รุ่งเช้า พระองค์จึงทรงนุ่งห่มถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เมือง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 542
กบิลพัสดุ์ พอเวลาปัจฉาภัตรก็เสด็จกลับจากบิณฑบาต รับสั่งให้หาภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นมาในเวลาเสร็จภัตกิจแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอเคยเห็นหิมวันตประเทศอันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์แล้วหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังไม่เคยเห็นเลย พระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า ก็พวก เธอจักไปเที่ยวยังประเทศหิมวันต์ไหมเล่า กราบทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่มีฤทธิ์ จักไปอย่างไรได้เล่า พระเจ้าข้า ตรัสว่า ถ้าใครคนใดคนหนึ่งจะพา พวกเธอไป เธอจะไปหรือไม่เล่า พระภิกษุเหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์ จักไป พระเจ้าข้า.
สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงพาภิกษุเหล่านั้น แม้ทั้งหมดไปด้วยฤทธิ์ ของพระองค์ ทรงเหาะไปในอากาศจนถึงป่าหิมวันต์ ประทับยืนอยู่บนท้องฟ้า ทรงชี้ให้ชมภูเขา ๗ ลูกต่างๆ กัน คือ ภูเขาทอง ภูเขาเงิน ภูเขาแก้วมณี ภูเขาหรดาล ภูเขามอ ภูเขาโล้น ภูเขาแก้วผลึก แล้วทรงชี้ให้ดูแม่น้ำใหญ่ ทั้ง ๕ สาย คือ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู มหี แล้วทรงชี้ให้ดูสระทั้ง ๗ แห่ง คือ สระชื่อกัณณมุณฑะ รถาการ มัณฑากิณี สีหปบาต ฉัททันต์ อโนดาต กุณาละ ภูเขาที่ได้ชื่อว่าหิมวันต์นั้นสูงถึง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ พระศาสดาทรงชี้สถานอันน่ารื่นรมย์นี้ ซึ่งเป็นเพียงบางส่วนของภูเขา หิมวันต์นั้น ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วทรงชี้ถึงสัตว์ ๔ เท้าเป็นต้นว่า ราชสีห์ เสือโคร่ง ตระกูลช้าง และสัตว์ ๒ เท้า มีนกดุเหว่าเป็นต้น ซึ่ง อาศัยอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์นั้น แต่บางส่วนอีก ต่อจากนั้นทรงชี้ถึงป่าอันเป็นที่ รื่นรมย์ราวกะว่า สวนที่ประดับตกแต่งไว้ มีทั้งพรรณไม้อันมีดอกออกผล เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกนานาชนิด ทั้งดอกไม้น้ำและดอกไม้บก ด้านทิศ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 543
ตะวันออกของภูเขาหิมวันต์นั้นมีพื้นแผ่นสุวรรณ ด้านทิศตะวันตกมีพื้นหรดาล จำเดิมแต่กาลที่ภิกษุเหล่านั้น เห็นสถานที่และวัตถุอันน่ารื่นรมย์เหล่านี้ แล้ว ความกำหนัดยินดีในชายาก็เสื่อมหายไป. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงพาภิกษุ เหล่านั้นลงจากอากาศ เสด็จประทับนั่งบนอาสนะมโนศิลาอันมีปริมณฑลได้ ๓ โยชน์ ภายใต้ต้นรังอันตั้งอยู่ตลอดกัป ซึ่งมีปริมณฑลได้ ๗ โยชน์ ขึ้นอยู่ บนพื้นมโนศิลาอันกว้างใหญ่ประมาณ ๖๐ โยชน์ อยู่ด้านทิศตะวันตกแห่ง ภูเขาหิมวันต์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมพร้อมกันแล้ว จึงทรงเปล่งพระรัศมี มีพรรณ ๖ ประการ ดุจดวงสุริยะอันชัชวาลย์ส่องสว่างกลางท้องมหาสมุทร ทำทะเลให้กระเพื่อมขึ้นลงฉะนั้น แล้วทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะตรัสเรียก ภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอันใดที่พวกเธอไม่เคยเห็นในเขา หิมวันต์นี้ ก็จงถามเราเถิด ในขณะนั้น นางนกดุเหว่าสวยงาม ๒ ตัว คาบ ท่อนไม้ที่ปลายทั้งสองข้าง ให้นกตัวเป็นสามีของตนจับตรงกลาง แล้วมีนางนก ดุเหว่าบินไปข้างหน้า ๘ ตัว ข้างหลัง ๘ ตัว ข้างซ้าย ๘ ตัว ข้างขวา ๘ ตัว ข้างล่าง ๘ ตัว ข้างบนบินบังเป็นเงา ๘ ตัว พวกนางนกดุเหว่าเหล่านั้นบิน แวดล้อมนกดุเหว่านั้น บินไปในอากาศโดยอาการอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นเห็น ฝูงนกทั้งหมด จึงทูลถามพระศาสดาว่า ฝูงนกเหล่านี้ชื่อนกอะไร พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวงศ์เก่าของเรา เราได้ตั้ง ประเพณีนี้ไว้ แต่ก่อนนางนกดุหว่าทั้งหลาย ก็ได้บำเรอเราอย่างนี้มาเหมือน กัน แต่คราวนั้นฝูงนกนี้ยังเป็นฝูงใหญ่ นางนกที่บินตามแวดล้อมเรามีประมาณ ถึง ๓,๕๐๐ ตัว. ในกาลต่อมาก็ร่วงโรยลงโดยลำดับ จนเวลานี้เหลืออยู่เพียง เท่าที่เห็นอยู่นี้ พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางนกเหล่านี้ ได้เคยบำเรอพะองค์มาในป่าชัฏเห็นปานนี้อย่างไร พระเจ้าข้า ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 544
พระศาสดาจึงตรัสแก่พวกภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังถ้อยคำของเราเถิด แล้วทรงดำรงพระสติ เมื่อจะทรง นำอดีตนิทานมาแสดง จึงมีพระพุทธกีฎาว่า
เล่ากันมาอย่างนี้ ได้ยินมาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ที่ ภูเขาหิมพานต์อันทรงไว้ซึ่งแผ่นดินมีโอสถทุกชนิด ดารดาษไปด้วยดอกไม้และ ของหอมทุกชนิด เป็นที่สัญจรเที่ยวไปแห่งช้าง โค กระบือ กวาง เนื้อทราย จามรี กวาง แรด ละมาด ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาไน เสือดาว นาก ชะมด แมว กระต่าย วัวกระทิง เป็นที่อาศัยอยู่แห่งช้างใหญ่ และช้างตระกูลอันประเสริฐเกลื่อนกล่นอยู่ทั่วปริมณฑลอันราบเรียบมี ค่าง ลิง อีเห็น ละมั่ง เนื้อลาย เนื้อสมัน เนื้อกระ หน้าม้า กินนร ยักษ์รากษสอาศัยอยู่ มากมายดารดาษไปด้วยหมู่ไม้เป็นอเนก ทรงไว้ ซึ่งดอกตูมและก้านมีดอกอัน แย้มบานตลอดปลาย มีฝูงนกออก นกโพระดก นกหัสดีลิงค์ นกยูง นกพิราบ นกพริก นกกระจาบ นกยาง นกแขก นกการเวก ส่งเสียงร้องก้องระงมไพร มาตรว่าฝูงละร้อยๆ เป็นภูมิประเทศที่ประดับด้วยแร่ธาตุหลายร้อยชนิดเป็นต้น ว่า อัญชัน มโนศิลา หรดาล มหาหิงค์ ทอง เงิน ทองคำ เป็นป่าชัฏอัน น่ารื่นรมย์เห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งชื่อกุณาละ มีตัวปีกและขนงดงาม ยิ่งนักอาศัยอยู่ และนกดุเหว่าชื่อกุณาละนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นบริวาร สำหรับ บำเรอถึง ๓,๕๐๐ ตัว นางนก ๒ ตัวเอาปากคาบท่อนไม้ให้นกกุณาละนั้น จับตรงกลางพาบินไป ด้วยประสงค์ว่า นกกุณาละนั้นอย่าได้มีความเหน็ดเหนื่อย ในหนทางไกลเลย เหล่านางนกดุเหว่า ๕๐๐ ตัวบินไปเบื้องต่ำ ด้วยประสงค์ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 545
ถ้านกกุณาละนี้ตกจากที่เกาะแล้ว พวกเราก็จะเอาปีกรับไว้ นางนกอีก ๕๐๐ คอยบินไปข้างบนด้วยคิดว่า แสงแดดอย่าได้ส่องถูกพญานกกุณาละนี้เลย นางนกบินไปข้างๆ ทั้งสองอีกข้างละ ๕๐๐ ด้วยประสงค์ว่า พญานกกุณาละนี้ อย่าได้ถูกความหนาว ความร้อน หญ้า ละออง ลมและน้ำค้างเลย นางนก อีก ๕๐๐ บินไปข้างหน้า ด้วยประสงค์ว่า เด็กเลี้ยงโค เด็กเลี้ยงสัตว์ คน เกี่ยวหญ้า คนหักฟืน คนทำงานในป่า อย่าได้ขว้างปานกกุณาละนั้นด้วย ท่อนไม้ กระเบื้อง เครื่องมือ หิน ก้อนดิน ไม้กระบอง ศาสตรา หรือก้อนกรวด เลย นางนกอีก ๕๐๐ บินไปข้างหน้าด้วยประสงค์ว่า นกกุณาละนี้ อย่าได้ถูกกอไม้ เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสาหรือหิน หรือนกที่มีทำลังมากกว่าเลย นางนก อีก ๕๐๐ บินไปข้างหลังเจรจาด้วยถ้อยคำที่ละเอียดอ่อนหวานไพเราะ ด้วย ประสงค์ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้เงียบเหงาอยู่บนที่จับเลย ยังมีนางนกอีก ๕๐๐ บินไปในทิศานุทิศ นำผลไม้อันอร่อยจากต้นไม้หลายชนิดมาให้ ด้วยประสงค์ ว่า นกกุณาละนี้อย่าได้ลำบากด้วยความหิวในระหว่างทางเลย ได้ยินว่า นางนก เหล่านั้น พานกกุณาละนั้นเข้าป่า ออกป่าเข้าสวน ท่าน้ำ ซอกภูเขา สวนมะม่วง สวนชมพู่ สวนขนุนสำมะลอ สวนมะพร้าว โดยรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ รื่นเริง ได้ยินว่า เมื่อนางนกเหล่านั้นบำเรออยู่ครบถ้วนเช่นนี้ พญานกกุณาละ ก็ยังรุกรานเอาพวกนางนกเหล่านั้นว่า อีถ่อยฉิบหาย อีถ่อยละลาย อีโจร อีนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จักคุณของตน อีตามใจคนเหมือนลม.
มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินมีอย่างนี้ ได้ ฟังมาอย่างนี้ว่า ชัฏแห่งป่านนี้เป็นสถานที่เต็มไปด้วยโอสถทุกชนิด มีเนื้อความ พิสดารว่า คำว่า ทรงไว้ซึ่งแผ่นดินมีโอรสทั้งหมด มีอธิบายว่า ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 546
ด้วยภาคพื้นดินทรงไว้ซึ่งโอสถทั้งหมด มีรากไม้เปลือกไม้ใบไม้และดอกไม้ เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นประเทศที่ทรงไว้ซึ่งภาคพื้นอันประกอบด้วย โอสถทั้งหมด ด้วยว่าประเทศนั้น เป็นประเทศที่ทรงไว้ซึ่งแผ่นดินอันประกอบ ไปด้วยโอสถทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกันมาอย่างนี้ และได้ยนกันมา อย่างนี้ มีคำกล่าวอธิบายว่า ในชัฏแห่งป่านั้นมีแผ่นดินที่มีเครื่องยาทั้งหมด แม้ในการประกอบบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกันทีเดียว. คำว่า ดารดาษด้วย ดอกไม้และของหอมมิใช่น้อย อธิบายว่า ดารดาษแล้วด้วยดอกไม้ที่เกิด ขึ้นเพื่อเป็นผลและระเบียบดอกไม้สำหรับเป็นเครื่องประดับมิใช่น้อย. คำว่า กวาง หมายถึงจำพวกเนื้อที่มีสีเป็นทอง. คำว่า นาก หมายถึงจำพวกนาก. คำว่า แมว หมายเอาแมวตัวใหญ่ๆ มณฑลแห่งช้างรุ่นเรียกว่ามณฑลอัน ราบรื่น. คำว่า ช้างใหญ่ หมายถึงช้างขนาดใหญ่ มีอธิบายว่า มีสกุลช้าง ตัวประเสริฐ ๑๐ ตระกูล ซึ่งเป็นช้างใหญ่มีมณฑลอันราบเรียบและฝูงช้างรุ่น อาศัยอยู่. คำว่า อิสสมฤค หมายถึงราชสีห์ดำ. คำว่า เนื้อสมัน หมายถึง เนื้อสมันตัวใหญ่ๆ. คำว่า เนื้อกระ หมายถึงเนื้อลาย. คำว่า หน้าม้า หมายถึงนางยักษิณีที่มีหน้าคล้ายม้า. คำว่า กินนร ได้แก่ พวกกินนรต่าง ประเภทเป็นต้นว่า เทพกินนร จันทกินนร ทุมกินนร (คือกินนรบนต้นไม้) นกต้อยตีวิดมานพ นกกระเรียน กินนรมีผ้าห้อยหูเป็นต้น. คำว่า ดารดาษ ด้วยหมู่ไม้เป็นอเนกทรงไว้ซึ่งดอกตูมและก้านมีดอกอันแย้มบาน ตลอดปลาย อธิบายว่า ดารดาษด้วยหมู่ไม้เป็นอันมาก ล้วนแต่ทรงไว้ซึ่ง ดอกตูมและทรงก้าน มีดอกอันบานดีแล้ว บานตลอดถึงปลาย นกหัสดีลิงค์ ชื่อว่า อารณะ นกเหล่านี้บางทีเรียกว่า เจลาวกะก็มี. คำว่า เทพและกนก ทั้งสองนั้น หมายถึงสุพรรณชาติอย่างเดียว อธิบายว่า เป็นประเทศที่ประดับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 547
ด้วยธาตุหลายร้อยชนิดมีอัญชันเป็นต้นเหล่านี้ และกองแห่งธาตุซึ่งมีสีเป็นอัน มาก. คำว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นคำทักทายโดยธรรม. คำว่า งดงาม คือ งามตั้งแต่จะงอยปากตลอดถึงภายใต้ส่วนแห่งท้อง. คำว่า ๓,๕๐๐ คือ ๔,๐๐๐ หย่อน ๕๐๐ หมายความว่า ๓,๕๐๐ นั่นเอง. คำว่า ในหนทางไกล คือใน ทางที่จะไป คือระยะทางอันไกล. คำว่า เบียดเบียน คือบีบคั้นหรือท่วมทับ. คำว่า ถูก อธิบายว่า ความหนาวเป็นต้น อย่าได้เข้าไปกระทบเลย. คำว่า ขว้างปา นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า เด็กเลี้ยงโคเป็นต้น อย่าได้ขว้างปา พญานกนั้นเลย. คำว่า ถูกต้อง คือพญานกนั้นอย่าได้ถูกกอไม้เป็นต้นเลย. คำว่า ละเอียด คือกลมเกลี้ยง. คำว่า อ่อนคือน่ารัก. คำว่า หวาน คือ ไม่หยาบคาย. คำว่า ไพเราะ หมายถึงวาจาที่เปล่งด้วยเสียงอันไพเราะ. คำว่า เจรจา คือบำเรออยู่ด้วยสามารถกระทำการฟ้อนรำขับร้อง. คำว่า ผลไม้อัน อร่อยจากต้นไม้หลายชนิด หมายถึงผลไม้มีรสแปลกๆ ต่างๆ ชนิด. คำว่า เข้าป่าออกป่า อธิบายว่า บรรดาป่าดอกไม้เป็นต้น นางนกเหล่านั้นได้นำ พญานกเข้าไปยังป่านี้ โดยป่าแห่งใดแห่งหนึ่งทีเดียว แม้ในคำว่าสวนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. คำว่า สวนมะพร้าว หมายถึงสวนมะพร้าวแห่งอื่นจาก สวนมะพร้าวนั้น. คำว่า พา หมายความว่า นางนกเหล่านั้นพาพญานกไป อย่างนี้ เข้าไปถึงสถานที่นั้นโดยเร่งรีบ เพื่อต้องการให้รื่นเริง. คำว่า บำรุง บำเรออยู่ตลอดวันยังค่ำ อธิบายว่า บำเรออยู่ทั้งวัน. คำว่า รุกราน อธิบายว่า ได้ยินว่า นางนกเหล่านั้นบำรุงบำเรอพญานกนั้นตลอดวันอย่างนี้ ให้ลงจากต้นไม้ที่อยู่ จับอยู่ที่กิ่งไม้เป็นต้น ปรารถนาอยู่ว่า ไฉนหนอ เราพึง ได้ถ้อยคำอันไพเราะบ้าง ในเวลาที่พญานกบอกให้กลับ คิดว่า พวกเรา จักไปยังที่อยู่ของตนแล้ว ก็พักอยู่. ส่วนพญานกกุณาละ เมื่อจะส่งพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 548
นางนกเหล่านั้นให้กลับไป ได้รุกรานด้วยคำว่า อีฉิบหายเป็นต้น. คำว่า อีฉิบหาย ในข้อความนั้น หมายความว่า พวกเจ้าจงกลับไป. คำว่า อีถ่อยละ ลาย หมายความว่า จงฉิบหายโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า พญานกกล่าวว่า อีโจร เพราะนำทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นในเรือนให้พินาศ เรียกว่า อีนักเลง เพราะมีมายามาก เรียกว่า อีเผอเรอ เพราะไม่มีสติ เรียกว่า อีใจง่าย เพราะมีใจโลเล เรียกว่า อีไม่รู้จักคุณคน เพราะทำลายมิตร กระทำความ พินาศให้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย แม้เมื่อเราเป็นสัตว์ดิรัจฉาน. ก็ย่อมรู้ว่า หญิงทั้งหลายเป็นคนอกตัญญู เป็นคนมีมายามาก เป็นคนประพฤติอนาจาร เป็นคนทุศีล ด้วยประการฉะนี้ แม้ในคราวนั้น เราก็มิได้อยู่ในอำนาจของหญิงเหล่านั้น กลับให้หญิงเหล่านั้น อยู่ในอำนาจของตน พระองค์ทรงนำเสียซึ่งความเบื่อหน่ายของภิกษุเหล่านั้น ออกไป ด้วยพระธรรมกถาอย่างนี้แล้ว ก็ทรงดุษณีภาพนิ่งอยู่ ในขณะนั้น มีนางนกดุเหว่าดำ ๒ ตัว ให้นกสามีจับตรงกลางท่อนไม้แล้วคาบบินมา แม้ใน ส่วนเบื้องต่ำเป็นต้นก็มีนางนกประจำข้างละ ๔ ตัวๆ ได้มาถึงประเทศนั้น ภิกษุ เหล่านั้น เห็นนกเหล่านั้นจึงทูลถามพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย แต่ปางก่อนมีนกดุเหว่าขาวตัวหนึ่งชื่อปุณณมุขะ เป็นสหายของเรานี้ เป็นวงศ์ของนกดุเหว่าปุณณมุขะนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลถามโดยนัยก่อนทีเดียว จึงตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ข้างทิศตะวันออกแห่งภูเขาหิมพานต์นั้น มีแม่น้ำอันไหลมาแต่ซอกเขาอันละเอียดสุขุมดียิ่งนัก มีสีเขียว. อธิบายว่า ซอกเขาอันละเอียดสุขุมดี เพราะมีน้ำอันใสสะอาดดีเป็นที่เกิด ของแม่น้ำเหล่านี้ เพราะฉะนั้น แม่น้ำเหล่านั้นจึงได้ชื่อว่ามีซอกเขาอันละเอียด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 549
สุขุมดีเป็นแดนเกิด แม่น้ำที่ไหลผ่านจากเขาหิมพานต์นั้น มีสีเขียวเพราะมี ห้วงน้ำเจือด้วยหญ้าเขียว ไหลผ่านมาลงสระกุณาละ แม่น้ำทั้งหลายซึ่งมีซอกเขา อันละเอียดสุขุมเป็นแดนเกิดมีสีเขียวไหลผ่านไปเห็นปานนี้ ย่อมไหลไปในที่ใด บัดนี้ พระศาสดา เมื่อจะทรงพรรณนาดอกไม้ทั้งหลายในสระชื่อกุณาละซึ่ง แม่น้ำเหล่านั้นไหลลงมา จึงได้ตรัสว่าเป็นประเทศที่น่ารื่นเริงบันเทิงใจด้วย กลิ่นหอมอันเกิดในบัดนั้นจากดอกอุบล ดอกปทุม ดอกกุมุท ดอกนลิน บัวผัน จงกลนี บัวเผื่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ดอกอุบล หมายถึงดอกอุบลเขียว. คำว่า ดอกนลิน หมายถึงบัวขาว. คำว่า บัวผัน หมายถึงมีดอกบัวทุกชนิดครบ บริบูรณ์. คำว่า ในบัดนั้น ได้แก่ ดอกไม้เหล่านี้งอกงามขึ้นในบัดนั้น คือ เกิดขึ้นใหม่ๆ ภูเขาหิมพานต์นั้นประกอบด้วยประเทศที่มีกลิ่นหอมมีกลิ่นเป็นที่ ฟูใจ และเป็นที่รื่นเริงใจ เพราะสามารถที่จะผูกน้ำใจไว้ได้.
บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงพรรณนาถึงต้นไม้เป็นต้นในสระนั้น จึง ตรัสเนื้อความดังต่อไปนี้.
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ณ ภูเขาหิมพานต์ซึ่งเป็นป่าอันเป็น ทิวแถวประกอบด้วยพรรณไม้ต่างชนิด คือบัวต่างๆ พรรณและพรรณต้นไม้ คือไม้จิก ไม้เกด ไม้ย่างทราย ซึ่งมีกิ่งห้อยย้อยลงมา ไม้อ้อยช้าง ต้นบุนนาค ต้นพิกุล ต้นงา ต้นประยงค์ ต้นขมิ้น ต้นรัง ต้นจำปา ต้นอโศก ต้นนาก ต้นหงอนไก่ ต้นเสม็ด ต้นโลท ต้นจันทน์ ซึ่งมีกิ่งเห็นแผ่ก่ายกัน อันเป็น ป่าชัฏซึ่งเต็มไปด้วยต้นกระทำพัก ต้นปทุม ต้นประยงค์ ต้นเทพทาโร ต้นกล้วย ทรงไว้ซึ่งต้นไม้รกฟ้า ต้นมวกเหล็ก ต้นประดู่ ต้นสัก นี้ กรรณิการ์ ต้นกัณณวิรา ต้นหางช้าง ต้นทองหลาง ต้นทองกวาว ต้นคัดเค้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 550
ต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกอันไม่มีโทษ ต้นขานางซึ่งงดงามดียิ่งนัก และ ดอกไม้สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยต่างๆ พรรณ ดารดาษไปด้วยกอมะลิและ นมแมว ลำเจียก กฤษณา แฝก ซึ่งล้วนมีดอกตูมอ่อนสะพรั่ง เป็นประเทศ ที่มีพรรณไม้ดอกงอกงามขึ้นเป็นพุ่ม และดารดาษประดับด้วยเครือวัลย์ ได้ยิน เสียงหมู่หงส์ นกนางนวล นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ ร้องก้องระงมไพร เป็นที่ สถิตอยู่แห่งหมู่วิทยาธรฤษีสิทธิสมณดาบส เป็นประเทศที่ประชุมอยู่ของหมู่ มนุษย์ เทพยดา ยักษ์ รากษส ทานพ คนธรรพ์ กินนร พญานาค ใน ไพรสณฑ์อันน่ารื่นรมย์สำราญเห็นปานนี้ มีนกดุเหว่าขาว มีถ้อยคำอัน อ่อนหวานยิ่งนัก มีตาแดงดังนัยน์ตาคนเมาสอดส่ายไปมาอาศัยอยู่. ดูก่อนท่าน ผู้เจริญ ได้ยินว่า นกดุเหว่าชื่อปุณณมุขะนั้น มีนางนกดุเหว่าเป็นนางบำเรอ ๓๕๐ ตัว กล่าวกันว่า นางนกดุเหว่า ๒ ตัวคาบท่อนไม้ตัวละข้างให้พญานก ปุณณมุขะจับที่ตรงกลางพาบินไป ด้วยความประสงค์จะมิให้พญานกปุณณมุขะ นั้นเหน็ดเหนื่อยในหนทางยืดยาว นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในเบื้องต่ำด้วย ประสงค์ว่า ถ้าพญานกปุณณมุขะพลาดจากที่จับแล้วจะได้เอาปีกทั้งสอง ประคองรับไว้ นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในเบื้องบน ด้วยประสงค์จะป้องกัน มิให้แดดส่องต้องพญาปุณณมุขะได้ นางนกอีก ๑๐๐ ตัวบินไปข้างซ้ายและ ข้างขวาข้างละ ๕๐ ตัว ด้วยประสงค์มิให้หนาวร้อน หญ้า ละออง ลมและน้ำค้าง ตกต้องพญานกปุณณมุขะนั้น นางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปข้างหน้าด้วยประสงค์ จะป้องกันพวกเลี้ยงโค พวกเลี้ยงสัตว์ คนหาหญ้า คนหาฟืน คนทำงานในป่า มิให้ประหารด้วยไม้ ด้วยกระบอง ด้วยเครื่องมือ ด้วยก้อนหิน ไม้ค้อน ศัสตรา และก้อนกรวด. นางนกอีก ๕๐ ด้วยบินไปเบื้องหลัง ด้วยประสงค์มิให้พญานกปุณณมุขะกระทบกอไม้เครือเถา ต้นไม้ กิ่งไม้ เสาหิน และนกมีกำลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 551
มากกว่า ยังมีนางนกอีก ๕๐ ตัว เปล่งเสียงอันละเอียดอ่อนหวานไพเราะจับใจ บินตามไปข้างหลัง ด้วยประสงค์มิให้พญานกปุณณมุขะ ซึ่งจับอยู่บนคอน มีความเงียบเหงา ยังมีนางนกอีก ๕๐ ตัวบินไปในที่ต่างๆ นำผลไม้มีรสอัน อร่อยมากมายมาให้ ด้วยประสงค์จะมิให้พญานกปุณณมุขะหิวโหย ในระหว่าง ทาง ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า นางนกทิชกัญญาเหล่านั้นพาพญานกปุณณมุขะ เข้าป่าออกป่า เข้าสวนออกสวนไปยังท่าน้ำ ยอดภูเขา สวนมะม่วง สวนชมพู่ สวนขนุนสำมะลอ สวนมะพร้าว โดยรวดเร็ว เพื่อให้มีความรื่นเริงยินดี ได้ยินว่า เมื่อนางนกทั้งหลายบำเรออยู่อย่างนี้ตลอดวัน พญานกปุณณมุขะ ย่อมสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดีมากๆ น้องหญิงทั้งหลาย การปฏิบัติผัวอย่างนี้ สมควรแก่พวกเจ้าผู้เป็นลูกเหล่าตระกูล. ดูก่อนผู้เจริญ ได้ยินว่าในกาลต่อมา พญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาว ได้ไปหาพญานกกุณาละ พวกนางนกดุเหว่า บริจาริกาของพวกพญานกกุณาละเห็นพญานกปุณณมุขะแต่ไกล จึงออกไปหา แล้วพูดกะพญานกดุเหว่าปุณณมุขะนั้นว่า ข้าแต่สหายปุณณมุขะ พญากุณาละ นี้หยาบช้า มีวาจาหยาบคาย พวกเราจะได้ฟังวาจาอันเป็นที่รัก เพราะอาศัย ท่านได้บ้างหรือไม่หนอ พญานกปุณณมุขะจึงตอบว่า บางทีจะได้บ้างกระมัง น้องหญิงทั้งหลาย แล้วก็พาไปหาพญากุณาละ กล่าวสัมโมทนียกถากับพญา กุณาละแล้ว ก็สถิตอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ครั้นเรียบร้อยแล้ว พญานก ปุณณมุขะก็กล่าวกะพญานกกุณาละนั้นว่า ดูก่อนสหายกุณาละ เพราะเหตุไร ท่านจึงปฏิบัติผิดต่อหญิงทั้งหลายที่เป็นลูกเหล่าตระกูล มีชาติเสมอกัน ซึ่งนาง ปฏิบัติดีต่อท่าน ดูก่อนสหายกุณาละ ได้ยินเขาว่ากันว่า หญิงทั้งหลายที่ บริบูรณ์ด้วยมารยาทถึงจะพูดไม่ถูกใจเรา เราก็ควรพูดให้ถูกใจเขา ก็จะป่วย กล่าวไปไยถึงหญิงที่มีมารยาทดี พูดถูกใจเราและเราจะไม่พูดให้ถูกใจเขาเล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 552
เมื่อพญานกปุณณมุขะกล่าวอย่างนี้ พญานกกุณาละจึงรุกรานเอาพญานก ปุณณมุขะว่า ดูก่อนสหายลามกชั่วช้า ใครเขาจะฉลาดผจญเมียยิ่งไปกว่าเธอเล่า พญานกปุณณมุขะถูกพญานกกุณาละรุกรานเอาก็กลับจากที่นั้น.
ได้ยินว่า ต่อมาโดยสมัยอื่นอีก อาพาธอันแรงกล้าได้เกิดขึ้นแก่พญานกปุณณมุขะโดยกาลไม่นานทีเดียว คือลงเป็นโลหิต เกิดเวทนากล้าแข็งจวน ตาย. ลำดับนั้น นางนกดุเหว่าซึ่งเป็นบริจาริกาของพญานกปุณณมุขะก็เกิดความ ปริวิตกว่า พญานกปุณณมุขะนี้เกิดอาพาธหนักแล้ว จะหายหรือไม่หายจาก โรคนี้ก็ไม่รู้ได้ คิดแล้วก็ทั้งพญานกปุณณมุขะไว้แต่เพียงตัวเดียว ไม่มีเพื่อน พากันเข้าไปหาพญานกกุณาละ ฝ่ายพญานกกุณาละ ได้เห็นนางนกเหล่านั้น บินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้วจึงได้กล่าวกะพวกนางนกเหล่านั้นว่า ดูก่อนพวก อีถ่อย ก็ผัวของเจ้าไปเสียไหนเล่า. นางนกทั้งหลายจึงตอบว่า ข้าแต่สหาย กุณาละเอ๋ย พญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาวเจ็บหนัก จะหายจากอาพาธนั้นหรือ ไม่หายก็ไม่รู้ได้ เมื่อนางนกทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว พญานกกุณาละก็รุกราน เอาพวกนางนกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอีถ่อย พวกเจ้าจงฉิบหาย ดูก่อนอีถ่อย พวกเจ้าจงพินาศ อีพวกโจร อีพวกนักเลง อีเผอเรอ อีใจง่าย อีไม่รู้จัก คุณคน อีตามใจตนเหมือนลม ครั้นรุกรานแล้ว จึงเข้าไปหาพญานกปุณณมุขะ ดุเหว่าขาวแล้วร้องเรียกว่า นี่แน่ะสหายปุณณมุขะเอ๋ย. พญานกปุณณมุขะก็ ตอบรับว่า อะไรนะสหายกุณาละ ครั้นแล้วพญานกกุณาละก็ประคบประหงม พญานกปุณณะด้วยปีกและจะงอยปาก พอให้ลุกขึ้นได้แล้ว ก็ให้ดื่มยาต่างๆ อาพาธของพญานกปุณณมุขะก็หายลงในขณะนั้นทีเดียว.
พระอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ว่า คำว่า ดอกประยงค์ หมายถึง จำพวกดอกไม้ขาว. ห อักษรในคำว่า หสนา นั้นเป็นบทสนธิ. แท้จริงเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 553
อสนา เท่านั้น. คำว่า ติริฏิ หมายถึงรุกขชาติชนิดหนึ่ง. คำว่า ต้นจันทน์ หมายถึงต้นจันทน์แดง. คำว่า ในป่าอันเป็นทิวแถว คือในป่าอันประกอบ ด้วยทิวแถวของหมู่ไม้เหล่านี้. คำว่า อันเป็นป่าชัฏซึ่งเต็มไปด้วยต้น เทพทาโรและต้นกล้วย หมายถึงป่าต้นเทพทาโรและป่ากล้วยทั้งหลาย. คำว่า ต้นสัก คือรุกขชาติชนิดหนึ่ง. คำว่า กรรณิการ์ หมายถึงต้นกรรณิการ์ ซึ่งมีดอกใหญ่. คำว่า กัณณวิรา หมายถึงต้นกรรณิการ์ที่มีดอกเล็ก. คำว่า ทองกวาว หมายถึงต้นราชพฤกษ์ก็ได้. คำว่า ต้นคัดเค้า หมายถึงต้น โยธกาก็ได้. คำว่า ทรงไว้ซึ่งต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นซึกอันไม่มีโทษ ต้นขานางซึ่งงามดียิ่งนัก และดอกไม้สำหรับร้อยเป็นพวงมาลัยต่างๆ พรรณ อธิบายว่า ทรงไว้ซึ่งดอกไม้ทั้งหลายแห่งต้นมะลิป่า ต้นแก้ว ต้นไม้ที่ไม่มีโทษ ต้นซึก ต้นไม้ที่งดงาม ต้นขานางซึ่งร้อยเป็นมาลัยได้. คำว่า นมแมว หมายถึงต้นคนทาก็ได้. คำว่า ลำเจียก หมายถึงทั้งต้นทั้งใบของลำเจียก. คำว่า ดารดาษไปด้วยกอ หมายถึงกอไม้ที่เกิดในน้ำ และกอไม้ที่เกิดบน ภูเขา ดารดาษไปด้วยดอกมะลิเป็นต้นเหล่านี้. คำว่า เป็นพุ่มและประดับ ด้วยเครือวัลย์ หมายถึงประเทศที่ดารดาษและประดับด้วยพรรณไม้ต่างชนิด มีไม้ดอกเป็นต้น และเครือวัลย์ต่างๆ ชนิด ซึ่งยกขึ้นเป็นพุ่มอย่างดีในที่นั้นๆ. คำว่า มีหมู่สถิตอยู่ อธิบายว่า มีหมู่พวกวิทยาธรเป็นต้นสถิตอยู่ในที่นั้น. คำว่า พญานกปุณณมุขะ อธิบายว่า นกที่ได้ชื่อว่าปุณณมุขะ เพราะมี หน้าเต็ม และได้ชื่อว่าเป็นนกดุเหว่าขาว เพราะสิ่งเหล่าอื่นถูกต้อง. คำว่า มีนัยน์ตาสอดส่าย คือมีนัยน์ตาส่ายไปส่ายมา. คำว่า มีตาเหมือนคนเมา อธิบายว่า มีตาแดงเหมือนตาของคนเมา อนึ่ง มีตาประกอบด้วยประมาณ. คำว่า น้องหญิงทั้งหลาย เป็นคำร้องเรียกด้วยโวหารอันประเสริฐ. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 554
ปฏิบัติ คือพึงรับใช้ตลอดวันยังค่ำ พญานกปุณณมุขะกล่าวด้วยคำอันเป็นที่รัก แล้วจึงส่งพวกนางนกเหล่านั้นไป ด้วยประการฉะนี้ ก็ในกาลบางครั้ง พญานก กุณาละพร้อมด้วยบริวารได้ไปหาพญานกปุณณมุขะ บางครั้งพญานกปุณณมุขะ ก็มาหาพญานกกุณาละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าในกาลบางครั้ง ดังนี้เป็นต้น. คำว่า สหาย หมายเอา เพื่อนที่รักใคร่กัน. คำว่า อาศัย ได้แก่ ตั้งใจเข้าไปอาศัย. คำว่า พึงได้ อธิบายว่า พวกเราพึงได้ด้วยคำอันเป็นที่รักจากสำนักของพญานกกุณาละ. คำว่า บ้างกระมัง อธิบายว่า พึงได้บ้างเป็นแน่ เราจักลองพูดกะพญานกกุณาละดู. คำว่า มีชาติเสมอกัน คือมีชาติร่วมกัน. คำว่า จงฉิบหาย คือ จงปราศจาก ไป. คำว่า ลามก คือ เลวทราม. คำว่า ฉลาด อธิบายว่า คนอื่นใครเล่า ที่เขาจะฉลาดเหมือนอย่างท่านยังจะมีอยู่. คำว่า ชายาชิเนน หมายความว่า เมียเอาชนะตัว อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น ชายาชิเตน ดังนี้เลยก็มี อธิบายว่า พญานกกุณาละได้รุกรานพญานกปุณณมุขะว่า ขึ้นชื่อว่าใครที่จะฉลาดเหมือน อย่างท่าน ที่ถูกหญิงให้ท่านแพ้แล้วยังมีอยู่ ดังนี้ เพื่อต้องการจะมิให้กล่าว ถ้อยคำเช่นนั้นอีกต่อไป. คำว่า จากที่นั้น อธิบายว่า พญานกปุณณมุขะ คิดว่า พญานกกุณาละโกรธเราแล้ว จึงกลับจากที่นั้นทีเดียว พร้อมด้วยบริวาร กลับไปยังที่อยู่ของตนทีเดียว. คำว่า ไม่รู้ นี้เป็นคำแสดงถึงความวิตกด้วย ความสงสัย พวกนกเหล่านั้นคิดกันอย่างนี้ว่า พญานกปุณณมุขะนี้ จะพึงหาย จากการเจ็บไข้นี้ หรือไม่หายก็ไม่รู้ ดังนี้ จึงพากันละทิ้งพญานกปุณณมุขะ นั้นแล้วหลีกไป. คำว่า ของเจ้า หมายเอาผัวของพวกเจ้า. คำว่า ก็ไม่รู้ อธิบายว่า พวกนางนกเหล่านั้นกล่าวว่า พญานกปุณณมุขะนี้จะหายจากการ เจ็บไข้นั้นหรือไม่หายก็ไม่รู้ได้ ในเวลาที่พวกข้าพเจ้าไปแล้ว เธอคงจักตายแน่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 555
ด้วยว่าพวกข้าพเจ้ารู้ว่า พญานกปุณณมุขะนี้จักตายในบัดนี้ จึงได้พากันมา เพื่อจะเป็นบาทบริจาริกาของท่าน. คำว่า ไปหา อธิบายว่า พญานกกุณาละ คิดว่าพวกนางนกเหล่านี้คิดว่า พวกเราจักพากันมาในเวลาที่สามีตายแล้ว ก็จัก ดูน่าเกลียด จึงพากันละทิ้งพญานกปุณณมุขะนั้นแล้วพากันมา ส่วนเราจะไป จัดแจงยาต่างๆ มีดอกไม้และผลไม้เป็นต้น กระทำสหายของเราให้หายโรค ครั้นคิดดังนี้แล้ว พระมหาสัตว์ซึ่งมีกำลังดุจพญาช้างสาร จึงบินไปในอากาศ เข้าไปหาพญานกปุณณมุขะโดยทิศาภาคที่เธออยู่. คำว่า หํ เป็นนิบาต พญานก กุณาละเมื่อจะถามว่า ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือสหาย จึงได้กล่าวอย่างนี้ แม้ พญานกปุณณมุขะนอกนี้ กล่าวตอบพญานกกุณาละว่า เออ เรายังมีชีวิตอยู่ สหายเอ๋ย. คำว่า ให้ดื่ม คือให้ดื่มยาต่างๆ ชนิด. คำว่า หาย อธิบายว่า โรคของพญานกปุณณมุขะก็สงบลงในขณะนั้น.
ฝ่ายนางนกดุเหว่าทั้งหลายแม้เหล่านั้น พอพญานกปุณณมุขะหายเจ็บ ก็พากันกลับมา. พญานกกุณาละหาผลไม้น้อยใหญ่มาให้พญานกปุณณมุขะกินอยู่ สองสามวัน พอพญานกปุณณมุขะมีกำลังดีแล้ว จึงกล่าวว่า สหายเอ๋ย บัดนี้ ท่านก็หายจากโรคแล้ว จงอยู่กับนางบริจาริกาของท่านเถิด เราจักไปยังที่อยู่ ของเรา ลำดับนั้น พญานกปุณณมุขะจึงกล่าวว่า นางนกบริจาริกาเหล่านั้นพากัน ละทิ้งเราเมื่อไข้หนัก หนีไปเสีย เราไม่ต้องการอยู่กับอีพวกนักเลงเหล่านี้ ต่อไป พระมหาสัตว์ได้สดับคำนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ถ้าเช่นนั้นเราจะ กล่าวความลามกของหญิงทั้งหลายให้ท่านได้ฟัง ว่าแล้วก็พาพญานกปุณณมุขะ ไปยังพื้นมโนศิลาข้างเขาหิมพานต์ พักอยู่ที่มโนศิลาโคนไม้รั้งอันมีปริมณฑล ๗ โยชน์ พญานกปุณณมุขะกับบริวารก็พากันสถิตอยู่ในที่ควรข้างหนึ่ง. ฝ่าย เทวดาก็เที่ยวป่าวร้องไปทั่วหิมพานต์ว่า วันนี้พญานกกุณาละจะแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 556
ด้วยพุทธลีลาที่พื้นมโนศิลา ขอให้ท่านทั้งหลายไปฟัง เทวดาในกามาวจรทั้ง ๖ ได้รู้ เพราะการร้องป่าวประกาศต่อๆ ไป ก็พากันมาประชุมในที่นั้นเป็น อันมาก ใช่แต่เท่านั้น พวกนาค ยักษ์ รากษส สุบรรณ วิชาธร แร้ง และเทวดาที่อาศัยอยู่ในดงก็โฆษณาเนื้อความนั้นต่อๆ ไป. คราวนั้นพญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์ มีแร้งหมื่นหนึ่งเป็นบริวารอาศัยอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เมื่อได้ยินเสียง ป่าวร้องเป็นโกลาหล ก็พาบริวารมาอยู่ข้างหนึ่ง ด้วยความประสงค์จะฟังธรรม นารทฤๅษีผู้สำเร็จอภิญญา ๕ มีดาบสบริษัทหมื่นหนึ่ง อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้ยินเสียงป่าวร้องก็คำนึงว่า ได้ยินว่า พญานกกุณาละสหายของเราจะชี้ โทษของหญิงทั้งหลาย จักมีสมาคมใหญ่ ควรเราจักไปฟังเทศนาของพญา นกกุณาละ คิดแล้วก็พาดาบสหมื่นหนึ่งมาด้วยฤทธิ์ ครั้นถึงก็สถิต ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์อ้างพญานกปุณณมุขะเป็นพยานแล้วก็ แสดงเหตุที่ตนได้เห็นมาแล้วในอดีตภพ ซึ่งประกอบด้วยโทษแห่งหญิงโดยชาติ สรญาณ (ญาณที่ระลึกชาติได้).
เมื่อพระศาสดา จะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า ได้ยินว่า พญานกกุณาละได้กล่าวกับพญานกปุณณมุขะดุเหว่าขาว ซึ่งหายจากไข้และหาย ยังไม่นานว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเคยเห็นมาแล้ว นางกัณหา ๒ พ่อ นางมีผัว ๕ คน ยังมีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันในบุรุษที่ ๖ ซึ่งเป็นคนเปลี้ยหลังโกง โค้งงอ คอก้มลงมาถึงท้องเหมือนคนศีรษะขาด และเรื่องนี้มีคำกล่าวเป็นคาถา อีกส่วนหนึ่งว่า
ครั้งนั้น นางคนหนึ่ง ล่วงละเมิดสามี ๕ คน คือ พระเจ้า อัชชุนะ พระเจ้า นกุล พระเจ้า ภีมเสน พระเจ้า ยุธิษฐิล พระเจ้าสหเทพ แล้วทำลามกกับ บุรุษเปลี้ยเตี้ยแคระอีก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 557
ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เรายังได้เคยเห็นอีก นางสมณีชื่อว่าปัญจตปาวี อาศัยอยู่ในท่ามกลางป่าช้า ถือพรตยอมอดอาหาร ๔ วันจึงบริโภคครั้งหนึ่ง ได้กระทำกรรมอํนลามกกับพวกนักเลงสุรา ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เรายังได้ เคยเห็นมาแล้วอีก นางเทวีมีนามว่า กากวันตี อยู่ในท่ามกลางสมุทร เป็น ภรรยาของท้าวเวนไตยพญาครุฑ ได้กระทำกรรมอันลามกกับ กุเวรผู้เจนในการ ฟ้อน ดูก่อนสหายปุณณมุขะ เราเคยเห็นมาแล้ว นางขนงาม ชื่อว่ากุรุงคเทวี รักใคร่ได้เสียอยู่กินกับเอฬกกุมารได้กระทำกรรมอันลามกกับฉพังคกุมารเสนาบดี และธนันเตวาสีคนใช้ของฉฬังคกุมารอีก เป็นความจริงเราได้รู้มาอย่างนี้ แหละ แม้พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต ก็ได้ทรงทอดทิ้งพระเจ้าโกศลราช กระทำกรรมอันลามกกับพราหมณ์ชื่อว่า ปัญจาลจัณฑะ พญานกกุณาละกล่าว เป็นคาถาต่อไปว่า
หญิงทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนั้นก็ดี หญิงอื่นก็ดี ได้กระทำมาแล้วซึ่งกรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น เรา จึงไม่วิสสาสะ ไม่สรรเสริญหญิงทั้งหลาย แผ่นดิน อันทรงไว้ซึ่งสรรพแก้วยินดีเสมอกัน รับรองสิ่ง ที่ดีและชั่ว ทนทานได้หมด ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหวฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไม่ควรวิสสาสะกับหญิงทั้งหลาย อนึ่ง ราชสีห์พาฬ- มฤคดุร้าย บริโภคเนื้อเลือดเป็นอาหาร ยินดีในการ ที่จะเบียดเบียนสัตว์ ใช้อาวุธ ๕ (คือปาก ๑ เท้า ๔) ข่มขี่สัตว์ทั้งหลายกินฉันใด หญิงทั้งหลายย่อมใช้อาวุธ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 558
๕ อย่าง (คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) เหมือนกัน ฉันนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรวิสสาสะกับหญิงทั้งหลาย เหล่านั้น.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะ หญิงทั้งหลายไม่ใช่แพศยา ไม่ใช่นางงาม ไม่ใช่หญิงสัญจร ชื่อทั้ง ๓ นี้ไม่ใช่ชื่อโดยกำเนิด หญิงเหล่านี้ คือแพศยา นางงาม หญิงสัญจร ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่า หญิงทั้งหลายมุ่นมวยผมเหมือนพวกโจร ประทุษร้ายให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลงพลิกพลิ้วเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปกปิดความชั่วเหมือนเอา แผ่นกระดานปิดหลุมคูถไว้ บรรทุกให้เต็มยากเหมือนบาดาล ทำให้ยินดีได้ยาก เหมือนรากษส กวาดไปไม่มีเหลือเหมือนพระยม กินไม่เลือกเหมือนไฟ พัด พาไปไม่เลือกเหมือนแน่น้ำ ประพฤติตามอำเภอใจตัวเหมือนลม ไม่ทำอะไร ให้พิเศษเหมือนเขาพระเมรุมาศ (อธิบายว่า สัตว์เข้าไปที่ภูเขาพระเมรุแล้วจะ มีสีเป็นทองเหมือนกันไปหมด) ผลิตผลเป็นนิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ มีคาถา กล่าวความเหล่านี้ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงทั้งหลายเกล้าผมเหมือนโจร ประทุษร้าย เหมือนสุรามีพิษ พูดโอ้อวดเหมือนคนขายของ ตลบตะแลงเหมือนเขาเนื้อ สองลิ้นเหมือนงู ปิดความชั่ว เหมือนปิดหลุมคูถ ทำให้เต็มได้ยากเหมือนบาดาล ทำให้ยินดีได้ยากเหมือนรากษส นำไปอย่างเดียว เหมือนพระยม กินไม่เลือกเหมือนไฟ พัดให้ลอยไป ไม่เลือกเหมือนแม่น้ำ ประพฤติตามใจตัวเหมือนลม ไม่ทำอะไรให้วิเศษเหมือนเขาเมรุมาศ ผลิตผลเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 559
นิตย์เหมือนต้นไม้มีพิษ หญิงทั้งหลายเป็นผู้กอบกำ รัตนะทั้งหลายไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน ทำโภคสมบัติ ในเรือนให้พินาศ.
คำว่า ซึ่งหายจากไข้ อธิบายว่า เป็นไข้มาก่อนแล้วจึงหายใน ภายหลัง. คำว่า เราเคยเห็นมาแล้วดังนี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดาร มาสาธกไว้ว่า ได้ยินว่า ในกาลอันล่วงมาแล้ว พระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระราชา ในแคว้นกาสี เสด็จไปที่ได้ราชสมบัติในแคว้นโกศลเพราะพระองค์มีพลพาหนะ อันมากมาย ฆ่าพระเจ้าโกศลเสียแล้ว พาพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลราช ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์อ่อนๆ มาด้วย เสด็จไปยังเมืองพาราณสี ทรงตั้งให้ เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์ ไม่ช้านางก็ประสูติพระธิดา โดยปกติพระเจ้า พรหมทัตมิได้มีพระโอรสพระธิดา ท้าวเธอจึงทรงยินดีมากถึงกับออกพระโอฐ ว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราจะให้พร พระอัครมเหสีก็ทรงยึดเป็นคำมั่นสัญญาไว้ พระประยูรญาติทั้งหลาย ถวายพระนามพระราชกุมารีนั้นว่า นางกัณหา เมื่อ นางเจริญวัยแล้ว พระมารดาจึงบอกว่า พระราชบิดาของเจ้า พระราชทานพรไว้ แม่ได้ถือเป็นคำมั่นสัญญาไว้แล้ว เจ้าจงเลือกตามความพอใจของเจ้าเถิด นาง กัณหาทูลว่า ทรัพย์สมบัติใดๆ ของหม่อมฉัน ซึ่งจะไม่มีนั้นหามิได้ ขอ อนุญาตให้หม่อมฉันเลือกสามีได้ตามความชอบใจเถิด ที่นางหมดความอาย ความกลัวทูลพระราชมารดาได้ดังนั้น ก็เพราะกิเลสแรงกล้า พระมารดาจึง นำความกราบทูลต่อพระเจ้าพรหมทัตๆ ตรัสรับว่าดีแล้ว จึงป่าวร้องบุรุษ มาแล้ว ให้ธิดาเลือกตามความชอบใจ พวกบุรุษทั้งหลายก็พากันประดับประดา ด้วยเครื่องอลังการมาประชุมพร้อมหน้ากันที่หน้าพระลาน นางกัณหาถือผอบ ดอกไม้ยืนอยู่ที่ช่องพระแกลอันสูงแลดูบุรุษเหล่านั้นก็มิได้ชอบใจสักคนหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 560
คราวนั้นมีราชกุมาร ๕ พระองค์ เป็นราชบุตรแห่งพระเจ้าบัณฑุราช องค์หนึ่งมีพระนามว่าอัชชุน องค์หนึ่งมีพระนามว่านกุล องค์หนึ่งมีพระนามว่า ภีมเสน องค์หนึ่งมีพระนามว่ายุธิษฐิล องค์หนึ่งมีพระนามว่าสหเทพ พากัน ไปเล่าเรียนศิลปศาสตร์ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลา สำเร็จแล้ว ใคร่จะทราบถึงจารีตในประเทศต่างๆ จึงพากันไปเที่ยวถึงเมืองพาราณสีได้ยิน เขาวุ่นวายกันในเมืองจึงเข้าไปถาม ครั้นทราบความแล้วก็ปรึกษากันว่าจะไป บ้าง กุมารทั้ง ๕ องค์นั้นมีรูปร่างงามผ่องใสคล้ายๆ กัน ต่างก็พากันไปยืนอยู่ ต่อๆ กัน. ฝ่ายนางกัณหานั้นเห็นราชกุมารทั้ง ๕ ก็มีความสิเนหาทุกๆ องค์ จึงโยนพวงมาลัยไปคล้องให้ทั้ง ๕ แล้วกราบทูลพระมารดาว่า หม่อมฉันเลือก เอาคนทั้ง ๕ คนนี้ พระมารดาก็ไปกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตๆ ไม่พอพระทัย แต่ไม่อาจตรัสว่าไม่ได้ เพราะพระราชทานพรไว้เสียแล้ว จึงตรัสถึงชาติตระกูล และนามบิดา ครั้นทรงทราบว่า เป็นราชกุมารของพระเจ้าบัณฑุราช ก็พระราชทานราชสักการะแล้ว ยกนางกัณหาให้เป็นบริจาริกาพระราชกุมารทั้ง ๕ องค์ นางกัณหาก็บำเรอราชกุมารทั้ง ๕ ด้วยสามารถกิเลสอยู่บนปราสาท ๗ ชั้น และนางกัณหานั้นมีบุรุษคอยรับใช้อยู่คนหนึ่ง เป็นคนเปลี้ยค่อม เมื่อนางกัณหา บำเรอราชกุมารที่ ๕ ด้วยกิเลสแล้ว พอราชกุมารนั้นออกไปภายนอก นางมี เวลาว่าง เมื่อกิเลสลุกลามขึ้นก็ทำความชั่วกับบุรุษเปลี้ย เมื่อนางเจรจากับบุรุษ เปลี้ยนั้นได้กล่าวว่า คนอื่นซึ่งเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าท่านไม่มี เราจักฆ่าพระราช กุมารทั้ง ๕ เสีย เอาเลือดในลำคอมาล้างเท้าท่านดังนี้ ถึงพระราชกุมารทั้ง ๕ นาง ก็พูดอย่างนี้ คือ เวลาคลอเคลียอยู่กับราชกุมารพี่ชายใหญ่ นางก็พูดว่าหม่อมฉัน รักพระองค์ยิ่งกว่าพระราชกุมารทั้ง ๔ ชีวิตของหม่อมฉันสละถวายพระองค์แล้ว ถ้าบิดาของหม่อมฉันทิวงคต หม่อมฉันจะให้เขาถวายราชสมบัติแก่พระองค์ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 561
เวลานางคลอเคลียอยู่กับราชกุมารองค์อื่นอีก นางก็กล่าวอย่างนี้ทั้ง ๔ พระองค์ พระราชกุมารทั้ง ๕ องค์ก็ทรงยินดีด้วยนางกัณหายิ่งนัก ด้วยใส่ใจว่า นางกัณหา รักตนและอิสริยยศจะเกิดกับตนก็เพราะอาศัยนางกัณหา ต่อมาภายหลังวันหนึ่ง นางกัณหาประชวรไข้ พระราชกุมารทั้ง ๕ ก็ไปนั่งแวดล้อม องค์หนึ่งนวดฟั้น ศีรษะ อีก ๔ องค์นวดมือและเท้าทั้ง ๔ เจ้าเปลี้ยนั่งอยู่ใกล้เท้า. ส่วนนาง กัณหาก็ให้อาณัติสัญญาอย่างรวมๆ แก่พระอัชชุนผู้เป็นเชษฐาด้วยศีรษะ เป็น เชิงแสดงให้รู้ว่า คนอื่นซึ่งเป็นที่รักของหม่อมฉันยิ่งกว่าพระองค์ไม่มี เมื่อ หม่อมฉันมีชีวิตอยู่ก็จักมีชีวิตอยู่สำหรับพระองค์ ถ้าพระราชบิดาทิวงคตแล้วจะ ให้เขาถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ส่วนราชกุมารอีก ๘ องค์ นางก็ให้อาณัติ สัญญาด้วยมือและเท้าตามทิศที่นั่ง แสดงเลศนัยอย่างเดียวกัน ใช่แต่เท่านั้น ยังทำลิ้นให้อาณัติสัญญาแก่บุรุษเปลี้ยตามถ้อยคำที่เคยพูด คือว่า เจ้าคนเดียว เท่านั้นเป็นที่รักของข้า ข้าจักมีชีวิตอยู่สำหรับเจ้า ทุกๆ คนเห็นอาณัติสัญญา แล้วก็รู้เนื้อความ เพราะนางเคยพูดมาแต่ก่อนเนืองๆ แต่อัชชุนกุมารสังเกตเห็น อาการเคลื่อนไหวมือเท้าและลิ้นของนางก็ดำริว่า นางกัณหาให้อาณัติสัญญาแก่ เราฉันใด ชะรอยจะให้แก่ผู้อื่นฉันนั้น เห็นจะทำความรักใคร่ชิดชมกับอ้ายเปลี้ย ด้วย โดยไม่ต้องสงสัย ดำริแล้วจึงพาน้องชายออกไปข้างนอกแล้วไต่ถามว่า นาง ๕ ผัวแสดงท่าด้วยศีรษะให้เรา เจ้าเห็นหรือไม่ พระราชกุมาร ๔ องค์ก็รับว่าเห็น อัชชุนกุมารจึงถามว่า เจ้ารู้เท่าทันหรือไม่ พระราชกุมาร ทั้ง ๔ ตอบว่า ไม่รู้ อัชชุนกุมารจึงถามว่า ก็ที่นางทำอาณัติสัญญาให้เจ้าทั้ง ๔ ด้วยมือ และเท้าทั้ง ๔ นั้นเจ้ารู้หรือไม่เล่า. พระราชกุมารทั้ง ๔ ตอบว่ารู้. อัชชุนกุมารตรัสว่า นางให้สัญญาแก่พวกเราด้วยเรื่องอย่างเดียวกันนั่นแหละ แล้วถามต่อไปว่า ที่นางแสดงกิริยาพิรุธด้วยลิ้นแก่อ้ายเปลี้ยนั้น เจ้ารู้เท่าทัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 562
หรือไม่เล่า พระราชกุมารทั้ง ๔ ก็ตอบว่าไม่รู้ ลำดับนั้น อัชชุนกุมารจึงบอก แก่น้องชายว่า ชะรอยนางนี่จะได้ประพฤติชั่วกับอ้ายเปลี้ยด้วยอีกคนหนึ่งเป็น แน่ เมื่อเห็นว่าน้องชายทั้ง ๔ ไม่เชื่อ จึงเรียกให้บุรุษเปลี้ยเข้ามาถาม บุรุษ เปลี้ยก็ยอมรับสารภาพทั้งหมดสิ้น พระราชกุมารทั้ง ๕ ได้ฟังแล้วก็หมดความ ยินดีรักใคร่ ติเตียนมาตุคามโดยอเนกปริยายว่า น่าสลดใจนัก ขึ้นชื่อว่า มาตุคามแล้วลามกทุศีล มาสละละคนที่บริบูรณ์ด้วยชาติและสวยงามเช่นพวกเรา เสีย แล้วไปประพฤติลามกกับด้วยอ้ายเปลี้ยอันน่าเกลียดปฏิกูลได้ ก็ใครเล่าที่ เขาเป็นนักปราชญ์จะพึงรื่นรมย์ยินดีกับด้วยหญิงทั้งหลาย ผู้หาความละอายมิได้ มีแต่ธรรมลามก เมื่อติเตียนแล้ว พระราชกุมารทั้ง ๕ ก็ตกลงใจกันว่า ไม่ ต้องการอยู่เป็นฆราวาสจึงพากันเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ถือเพศบรรพชา กระทำ กสิณบริกรรม เมื่อสิ้นอายุแล้วก็ได้ไปตามยถากรรม.
ก็ในกาลนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นอัชชุนกุมาร ฉะนั้นเมื่อแสดง เหตุที่ตนได้เห็นมาจึงกล่าวว่า เราได้เห็นมาแล้ว ดังนี้.
คำว่า สองพ่อ ในพระพุทธพจน์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายถึงพระเจ้ากรุงโกศลกับพระเจ้ากาสิกราช. คำว่า มีผัว ๕ คน หมาย ความว่า ผัวของนางมีถึง ๕ คน. ย อักษรเป็นเพียงนิบาตที่แทรกเข้ามา. คำว่า ยังมีจิตปฏิพัทธ์ คือมีจิตผูกพันอยู่. คำว่า ถึงท้อง อธิบายว่า ได้ยินว่า คอของชายเปลี้ยนั้นโค้งลงมาตลอดหน้าอกถึงท้อง เพราะฉะนั้น เขา จึงปรากฏเหมือนมีศีรษะขาด. คำว่า ล่วงละเมิดสามี ๕ คน อธิบายว่า นาง ล่วงละเมิดสามีทั้ง ๕ คนเหล่านั้นเสียแล้ว. คำว่า กับบุรุษเปลี้ย อธิบายว่า นางทำกรรมอันลามกกับบุรุษเปลี้ยเตี้ยแคระ. พญานกกุณาละครั้นกล่าวเรื่องนี้ จบลงแล้ว เมื่อจะแสดงเรื่องที่ตนเคยเห็นมา เรื่องอื่นอีกจึงกล่าวต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 563
ดูก่อนสหายปุณณมุขะ ยังมีอีกเราได้เห็นมาแล้ว นางสมณี ชื่อปัญจตปาวีอาศัย อยู่ในป่าช้า ถือพรตอดอาหาร ๔ วัน จึงบริโภคครั้งหนึ่ง นางได้ทำกรรม ลามกกับนักเลงสุรา บรรดาเรื่องเหล่านั้น เรื่องที่หนึ่งนี้ พระอรรถกถาจารย์ นำเอานิทานพิสดารมาสาธกว่า ดังได้ยินมา ในอดีตกาล ยังมีนางสมณีนุ่งขาว รูปหนึ่งชื่อปัญจตปาวีอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี นางให้ทำบรรณศาลาอาศัยอยู่ ในป่าช้า นางถือพรตอดอาหารข้ามเวลาถึง ๔ วัน จึงฉันครั้งหนึ่ง จนเกียรติคุณ ปรากฏดุจกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ถึงกับพวกชาวพาราณสีไอจามหรือพลาด หกล้ม ก็เปล่งเสียงนมัสการนางปัญจตปาวี. ต่อมาภายหลัง ครั้งหนึ่งเป็นเวลา นักขัตฤกษ์ วันแรกพวกช่างทองก็ชักชวนพวกไปสร้างปรำขึ้นหลังหนึ่ง แล้ว จัดหาของต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา เนื้อ สุรา ของหอม นั่งล้อมกันจะเสพสุรา เวลานั้นช่างทองคนหนึ่งทำกระติกเหล้าตกลง ก็ตกใจเปล่งเสียงนมัสการนาง ปัญจตปาวี ในที่นั้นมีชายฉลาดคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ท่านนี้เขลานัก ไฉนจึง นอบน้อมไหว้ผู้หญิงซึ่งมีจิตกลับกลอกเล่า ช่างทองนั้นตอบว่า ดูก่อนสหายเอ๋ย ท่านอย่าพูดอย่างนี้ อย่าทำกรรมที่จะนำไปตกนรกเลย บุรุษผู้ฉลาดจึงตอบว่า ท่านนี้งมงายหาปัญญามิได้ มาพนันกันพันหนึ่งหรือ ต่อไปนี้อีก ๗ วัน เราจะ ไปพานางปัญจตปาวีมาให้แต่งตัวงดงามแล้วให้มานั่งที่นี่ ให้ถือกระติกเหล้า รินให้เรากินให้ได้ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามแล้ว ที่จะมีศีลยั่งยืนนั้นไม่มีเลย ช่างทอง คนนั้นก็ตอบว่า เป็นไปไม่ได้ จึงพนันกับบุรุษผู้เป็นบัณฑิตพันหนึ่ง.
บุรุษบัณฑิตนั้นระบุเรื่องการพนันให้ช่างทองอื่นๆ ฟังแล้วครั้นรุ่งขึ้น เวลาเช้าก็เข้าไปในป่าช้า นั่งนมัสการพระอาทิตย์อยู่ใกล้กับที่อยู่ของนางปัญจตปาวี เมื่อนางปัญจตปาวีเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในพระนคร กลับมาพบบุรุษนั้น แล้วก็คิดว่า ดาบสรูปนี้เห็นจะมีฤทธิมากมาย เราอยู่ริมป่าช้านี่เข้ามาอยู่กึ่งกลาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 564
เห็นจะมีสัปบุรุษธรรมอยู่ในภายใน จำเราจักเข้าไปทำความเคารพ คิดแล้ว นางก็เข้าไปไหว้ ดาบสปลอมแกล้งนิ่งเฉย มิได้เหลียวดูและไม่ทุกทาย วันที่ ๒ ก็ทำอย่างนั้นอีก พอถึงวันที่ ๓ เมื่อนางปัญจตปาวีไหว้แล้ว ดาบสปลอม ก้มหน้าพูดว่า ไปเถอะ ครั้นวันที่ ๔ จึงทักทายปราศรัยว่า ท่านไม่ลำบากด้วย ภิกขาหารดอกหรือ นางปัญจตปาวีดีใจมากที่ได้รับคำปฏิสันถาร ครั้นวันที่ ๕ นางได้รับคำปฏิสันถารมากขึ้นอีก ถึงต้องนั่งอยู่หน่อยหนึ่งจึงลุกไป ครั้นวันที่ ๖ พอนางมานั่งไหว้ ดาบสปลอมก็ถามว่า น้องหญิงวันนี้เสียงขับร้องเอิกเกริก ในเมืองพาราณสีทำไมกันหนอ นางปัญจตปาวีตอบว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่รู้ ดอกหรือ เขาเล่นมหรสพกันกึกก้องในพระนคร นั่นเป็นเสียงนักเล่นมหรสพ ดาบสปลอมแกล้งทำเป็นไม่รู้ว่าเสียงอะไร แกล้งถามเรื่องอื่นต่อไปว่า เจ้ามา ประพฤติพรตอยู่นี้เว้นอาหารเท่าไร นางตอบว่าเว้น ๔ วัน แล้วย้อนถามว่า ก็พระผู้เป็นเจ้าเว้นเท่าไรเล่า ดาบสปลอมตอบว่า เว้น ๗ วัน ที่แท้ก็เท็จทั้งนั้น เว้นแต่กลางวัน กลางคืนกินทุกคืน แล้วดาบสปลอมถามต่อไปว่า น้องหญิง เจ้าบวชมากี่ปีแล้ว ครั้นนางบอกว่า ๑๒ ปี แล้วย้อนถามบ้างว่า พระผู้เป็นเจ้า เล่าบวชมากี่ปีแล้ว จึงตอบว่า ๖ ปีแล้ว แล้วถามต่อไปว่าเจ้าได้บรรลุธรรม เครื่องระงับแล้วหรือ ครั้นนางปฏิเสธว่าไม่ได้บรรลุและย้อนถามบ้าง ดาบส ปลอมก็บอกว่า ยังไม่ได้บรรลุเหมือนกัน ต่อนั้นก็รำพันเป็นเชิงชวนให้ เกิดความต้องการดังนี้ว่า น้องหญิงเอ๋ย เราทั้งสองนี้มิได้รับความสุขทั้ง ๒ อย่าง ทางกามโภคีสำหรับผู้ครองเรือนที่จะเป็นสุขด้วยทรัพย์สมบัติก็ไม่ได้ เนกขัมมสุข เครื่องระงับทางใจก็ไม่เกิดขึ้น ไฟนรกมันจะร้อนแต่เราสองคนเท่านั้นหรือ ถ้าเราจักประพฤติอย่างมหาชนคนหมู่มากเขาทำกัน ข้าเห็นจะทนทุกข์เช่นนี้อยู่ อีกไม่ได้ จักต้องสึกเป็นคฤหัสถ์ ทรัพย์สมบัติของแม่ก็ยังมีอยู่บ้าง พอจะก่อร่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 565
สร้างตัวต่อไป นางปัญจตปาวีได้ฟังคำเช่นนั้นก็เกิดความกำหนัดรักใคร่ จึง ปฏิญาณความในใจออกมาว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เรื่องนี้เป็นหัวอกอันเดียวกัน แต่จนใจที่มิรู้จะหันหน้าไปหาใคร ถ้าท่านจะไม่ทอดทิ้งข้าพเจ้าแล้วไซร้ ข้าพเจ้าจะยอมเป็นน้องสาวสึกไปอยู่รับใช้ท่าน ดาบสปลอมจึงตอบว่า ถ้าปลงใจ เช่นนั้นก็มาเถิด พี่จะไม่ทอดทิ้ง จะเลี้ยงเจ้าเป็นภรรยา ว่าแล้วก็พากันไปใน เมือง อยู่สมัครสังวาสอย่างสามีภรรยาทั้งหลายแล้ว ก็ให้นางถือกระดิกสุรา พากันไปสู่ปรำสุราบาน นั่งดื่มสุราอยู่. ฝ่ายนายช่างทองก็แพ้เสียเงินพันหนึ่ง นางปัญจตปาวีก็เกิดบุตรธิดาด้วยนักเลงสุรานั้นหลายคน. ในคราวนั้น พญานก กุณาละเกิดเป็นนักเลงสุรา เมื่อนำเหตุนั้นมาแสดงจึงได้กล่าวว่า เราได้เห็น มาแล้วดังนี้.
อดีตนิทานในเรื่องที่ ๒ มีพรรณนาไว้แล้วในอรรถกถาแห่งกากวันตี ชาดก ในจตุกนิบาต ในกาลนั้นพญานกกุณาละเกิดเป็นพญาครุฑ เพราะฉะนั้น เมื่อจะประกาศเหตุที่ตนประสบมาแล้วจึงได้กล่าวว่า เราได้เห็นมาแล้ว ดังนี้.
ในเรื่องที่ ๓ นี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดารมาสาธกไว้ว่า ใน อดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตปลงพระชนม์พระเจ้าโกศลราช ทรงริบเอาราชสมบัติ แล้ว พาพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลไปสู่เมืองพาราณสี แม้ทรงทราบอยู่ว่า นางนั้นมีครรภ์ ก็ยังทรงตั้งนางนั้นเป็นพระอัครมเหสี ครั้นนางมีครรภ์แก่แล้ว ก็ประสูติพระราชบุตรอันงดงามดุจดังทองคำ. นางจึงดำริว่า เมื่อกุมารนี้เติบโต พระเจ้าพาราณสีก็จักให้ฆ่าทิ้งเสีย ด้วยทรงเห็นว่าเป็นบุตรของข้าศึก ไม่ต้อง พระประสงค์จะเลี้ยงไว้ อย่าให้บุตรของเราตายด้วยมือคนอื่นเลย. นางดำริ แล้วจึงสั่งนางนมว่า เจ้าจงเอาผ้าเก่าๆ ห่อทารกนี้แล้ว จงนำไปทิ้งเสียที่ป่าช้า ผีดิบ นางนมทำตามสั่งอาบน้ำชำระเกล้าแล้วจึงกลับมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 566
ฝ่ายพระเจ้าโกศลราชทิวงคตแล้วไปเกิดเป็นรุกขเทวดา จึงบันดาล ด้วยอานุภาพของตนให้คนเลี้ยงแพต้อนแพะไปสู่ประเทศนั้น นางแพะตัวหนึ่ง ไปพบทารกนั้นเข้าก็เกิดความสิเนหา จึงให้ทารกนั้นดื่มกินน้ำนมแล้ว ก็เที่ยว ไปแล้วกลับมาให้กินอีก ๓ - ๔ ครั้ง. คนเลี้ยงแพะเห็นกิริยาของนางแพะนั้น จึงเข้าไปดู เห็นทารกนั้นแล้วก็เกิดความรักใคร่เหมือนบุตร จึงอุ้มมาให้ภรรยา ของตน. ภรรยาของคนเลี้ยงแพะไม่มีบุตร ก็ไม่มีนมจะให้กิน จึงให้ทารก กินนมแพะตัวนั้น. แต่วันนั้นมา นางแพะก็ตายลง ๒ ตัว ๓ ตัวทุกวัน คน เลี้ยงแพะจึงคิดว่า ถ้าเรายังเลี้ยงเด็กคนนี้ไว้ นางแพะก็คงจะตายหมดแน่ จะ เลี้ยงมันไว้ทำไม จึงเอาทารกนั้นวางลงในภาชนะดินใบหนึ่ง แล้วเอาอีกใบหนึ่ง คว่ำปิดลง เอาแป้งถั่วมายาปิดปากไม่ให้มีช่องแล้ว ปล่อยให้ลอยน้ำไป. มีคน จัณฑาลผัวเมียซึ่งเป็นคนซ่อมของเก่าในพระราชนิเวศน์ ลงไปล้างปอที่ท่า ข้างใต้ เห็นภาชนะลอยมาก็รีบว่ายไปพาขึ้นมาบนฝั่ง พอเปิดขึ้นก็ได้เห็นทารก รูปงดงาม. ภรรยาของคนจัณฑาลไม่มีบุตรก็มีความรักใคร่ทารกเหมือนดังบุตร จึงนำไปเลี้ยงไว้ที่เรือน พอทารกนั้นเจริญวัยได้ ๗ ปี เมื่อบิดามารดาไปสู่ ราชตระกูล ก็พากันไปด้วย พอทารกนั้นเจริญวัยได้ ๑๖ ปี ก็ได้ไปช่วยทำ การปฏิสังขรณ์ของเก่าในราชตระกูล ก็พระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า กุรุงคเทวี มีรูปร่างงดงาม ตั้งแต่ นางกุรุงคเทวีได้เห็นกุมารนั้น ก็มีจิตผูกพันรักใคร่ ไม่ยินดีในผู้อื่น. นางเสด็จไปที่ทำการของกุมารนั้นเนืองๆ เมื่อพบกันบ่อยๆ เข้า ทั้งสองก็มีจิต ผูกพันรักใคร่กัน ลอบประพฤติสังวาสกันในที่ลับในราชตระกูลนั่นเองนานๆ เข้า พวกเหล่าบริจาริกาก็รู้เรื่องนั้น จึงนำความกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตทรงพระพิโรธ จึงให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลาย ตรัสปรึกษา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 567
โทษว่า ลูกคนจัณฑาลทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจงวางบทกำหนดโทษตามควร แก่โทษเถิด. อำมาตย์ทั้งหลายก็กราบทูลว่า โทษผิดใหญ่หลวงควรทำโทษ ทรมานก่อนแล้ว จึงฆ่าในภายหลัง.
ในขณะนั้น รุกขเทวดาผู้เป็นบิดาของกุมารนั้น จึงมาเข้าสิงนาง อัครมเหสีผู้เป็นมารดา นางก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต ด้วยอานุภาพแห่ง เทวดาแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กุมารนี้ไม่ใช่ลูกคนจัณฑาล กุมารนี้เกิด ในครรภ์ของหม่อมฉัน เป็นบุตรพระเจ้าโกศลราช หม่อมฉันได้ทูลมุสาวาท แก่พระองค์ว่า พระโอรสตายแล้ว ด้วยคิดว่าเป็นบุตรของพระราชาผู้เป็นข้าศึก ของพระองค์ จึงมอบให้นางนมเอาไปทิ้งเสียในป่าช้าผีดิบ คนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง จึงรับปฏิบัติต่อมา ครั้นเกิดเหตุแม่แพะตายขึ้นหลายตัว คนเลี้ยงแพะก็เอา ไปลอยน้ำเสีย. คนจัณฑาลซึ่งเป็นผู้ซ่อมของเก่าในราชตระกูลของพระองค์ พบกุมารนี้ลอยน้ำมาจึงเอาเลี้ยงไว้ ถ้าพระองค์ไม่ทรงเธอจงให้หาเขาเหล่านั้น มาตรัสถามดูเถิด. พระเจ้าพรหมทัตตรัสให้หาคนเหล่านั้น ตั้งต้นแต่นางนม เข้ามาตรัสถาม เขาเหล่านั้นก็ทูลความตั้งแต่ต้นจนอวสาน. พระเจ้าพรหมทัตก็ ทรงยินดีว่า กุมารประกอบด้วยชาติ จึงให้สรงสนานแต่งเครื่องอลังการแล้ว พระราชทานราชธิดาให้ และคนทั้งหลายขนานนามว่า เอฬกกุมาร ถือเอาเหตุ ที่แพะตาย ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตจึงพระราชทานเสนา พาหนะแก่เอฬกกุมาร แล้วส่งให้ไปปกครองราชสมบัติของบิดา เอฬกกุมารก็พานางกุรุงคเทวีไป ครองราชสมบัติ ภายหลังพระเจ้าพรหมทัตทรงดำริเห็นว่า เอฬกกุมารมิได้ ศึกษาศิลปศาสตร์ จึงทรงตั้งฉฬังคกุมารเป็นเสนาบดี ด้วยเห็นว่าเป็นอาจารย์ ของพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 568
ต่อมาภายหลัง นางกุรุงคเทวีลอบลักประพฤติอนาจารกับฉฬังคกุมาร. ฉฬังคกุมารมีคนใช้คนหนึ่งชื่อธนันเตวาสี ฉฬังคกุมารเคยใช้ให้นำสิ่งของเป็น ต้นว่า ผ้าและเครื่องประดับไปให้นางกุรุงคเทวี นางกุรุงคเทวีก็ประพฤติลามก กับคนใช้นั้นอีก.
เมื่อพญานกกุณาละนำเอาเหตุนี้มาแสดง จึงได้กล่าวว่า เราได้เห็น มาแล้ว. คำว่า นางขนงาม ในพระบาลีนั้น ท่านกล่าวหมายถึงนางผู้มีท้อง อันประดับด้วยขนเป็นแถวๆ. คำว่า กับ ฉฬังคกุมารเสนาบดีและธนันเตวาสี อธิบายว่า แม้นางปรารถนาอยู่กับเอฬกกุมาร ก็ได้กระทำกรรมอันลามกกับ ฉฬังคกุมารเสนาบดีและธันนเตวาสีคนใช้ของเสนาบดีนั้นอีกด้วย พญานก กุณาละกล่าวว่า หญิงทั้งหลายมีความประพฤติเลวทรามอย่างนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามกด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สรรเสริญหญิงเหล่านั้นเลย พระมหาสัตว์ นำอดีตนิทานนี้มาแสดงแล้ว ก็ในกาลนั้น เธอได้เป็นฉฬังคกุมาร เพราะฉะนั้น จึงนำเหตุที่ตนเห็นมากล่าวให้ฟัง.
แม้ในเรื่องที่ ๔ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องพิสดารมาสาธกไว้ว่า ใน กาลอันล่วงมาแล้ว พระเจ้าโกศลราชยึดราชสมบัติเมืองพาราณสีได้ จึงทรงตั้ง พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ซึ่งทรงครรภ์อยู่แล้ว ให้เป็นอัครมเหสี ของพระองค์ ต่อมาไม่ช้านัก พระอัครมเหสีนั้นก็ประสูติพระราชโอรส ส่วน พระเจ้าโกศลราชก็ทรงเลี้ยงไว้ด้วยความรักใคร่ เหมือนโอรสของพระองค์ เหตุพระองค์หาพระโอรสมิได้ ครั้นพระกุมารนั้นทรงเจริญก็ให้ศึกษาศิลปศาสตร์ แล้ว ส่งไปให้ครองเมืองพระชนก พระราชกุมารก็ไปเสวยสมบัติอยู่ในเมือง พาราณสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 569
ต่อมาภายหลัง พระมารดาของพระเจ้าพาราณสีจึงเข้าไปทูลลา พระเจ้าโกศลราชว่าจะไปเยี่ยมพระราชบุตร แล้วนางก็พาบริวารเป็นอันมาก ไปสู่เมืองพาราณสี หยุดพักอาศัยในนิคมหนึ่งอันอยู่ในระหว่างแคว้นทั้งสอง มีพราหมณ์กุมารคนหนึ่งชื่อปัญจาลจัณฑะ รูปร่างสะสวยอยู่ที่นิคมนั้น ได้นำ เครื่องบรรณาการมาถวายพระนาง. พระนางพอเห็นก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ลอบ ทำลามกกับพราหมณ์ผู้นั้น พักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วจึงไปยังเมืองพาราณสี พบ กับพระราชบุตรแล้วก็รีบกลับมาพักที่นิคมนั้นอีก ลอบประพฤติอนาจารกับ พราหมณ์นั้นอีก ๒ - ๓ วันแล้ว จึงไปยังเมืองโกศล ตั้งแต่นั้นมาไม่ช้านานนัก นางก็เข้าไปทูลลาพระเจ้าโกศล อ้างเหตุไปเยี่ยมพระราชโอรสอีก เวลาไป และกลับก็ไปพักประพฤติอนาจารกับพราหมณ์ที่นิคมนั้นอยู่ตั้งครึ่งเดือน.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีปกติ ชอบกล่าวคำเท็จ. พระมหาสัตว์แสดงอดีตนิทานเรื่องนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เป็นความจริงเราเห็นมาอย่างนี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวคำอธิบายในพระบาลี นั้นว่า คำว่า พระมารดาของพระเจ้าพรหมทัต หมายถึงพระชนนีของ พรหมทัตกุมาร ซึ่งได้เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ได้ยินว่า ในกาลนั้น พญานกกุณาละได้เป็นพราหมณ์ ชื่อปัญจาลจัณฑะ เพราะฉะนั้น เมื่อจะ แสดงเหตุที่ตนได้รู้มานั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้.
คำว่า หญิงที่กล่าวมาแล้วนี้ อธิบายว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ก็หญิงทั้ง ๕ คนนี้ ได้กระทำกรรมอันลามกแล้ว ท่านจงอย่าได้สำคัญว่า หญิงเหล่าอื่นจะไม่กระทำ หญิงเหล่านี้ก็ดี หญิงเหล่าอื่นอีกมากมายก็ดี ได้ กระทำกรรมอันลามกในกาลทุกเมื่อแล เราอยู่ในที่นี้ จะพึงกล่าวถึงเรื่องของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 570
หญิงที่ประพฤตินอกใจได้ทั้งโลก. คำว่า สัตวโลก อธิบายว่า แผ่นดิน เมทนีดล วสุนธรา ปฐพี กล่าวคือโลกย่อมรับรองทั้งสิ่งดีและชั่ว ฉันใด คำว่า สรรพแก้วยินดีเสมอกัน อธิบายว่า ชื่อว่า ยินดีเสมอกัน ในสิ่งทั้งหมดด้วยภาวะแม้รับรอง ด้วยว่า แผ่นดินนั้นเป็นที่รับรองทุกสิ่ง ทุกอย่างทั้งดีและชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นที่รับรองสิ่งที่สูงที่สุดและต่ำ ที่สุด แม้หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่รับรองของสิ่งที่ดีที่สุดและชั่ว ที่สุดทุกชนิดด้วยอำนาจกิเลส จริงอยู่ หญิงทั้งหลายเมื่อได้โอกาส ชื่อว่า จะไม่กระทำกรรมอันลามกกับบุรุษไรๆ ย่อมไม่มีเลย. คำว่า ทนทานได้หมด อธิบายว่า ธรรมดาว่า แผ่นดินย่อมทนทานได้ทั้งหมดทีเดียว คือไม่สะทก สะท้าน ไม่ดิ้นรน ไม่หวั่นไหว ฉันใด หญิงทั้งหลายก็เหมือนกัน ย่อมทนทาน ได้ในบุรุษทั้งหมด ด้วยอำนาจความยินดีในโลก ถ้าหากว่า ชายคนใดเป็นที่ ถูกใจนาง นางย่อมไม่ดิ้นรนและไม่กระทำความโกลาหล เพราะจะรักษาชายนั้น อนึ่ง แผ่นดินย่อมไม่สะเทือนไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น เมถุนธรรมสะเทือน ไม่หวั่นไหวด้วยเมถุนธรรม คือไม่อาจที่จะให้เต็มด้วย เมถุนธรรมนั้นได้. คำว่า พาฬมฤค หมายถึงเนื้อร้าย. คำว่า มีอาวุธ ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวหมายถึงปากและเล็บเท้าทั้ง ๔. คำว่า ร้ายกาจ คือ หยาบช้าโหดร้ายทารุณ. คำว่า หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน อธิบายว่า ราชสีห์มีอาวุธ ๕ อย่าง คือ ปาก ๑ และมีเท้าอีก ๔ ฉันใด หญิงทั้งหลาย ก็เหมือนกัน มีอาวุธ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ราชสีห์นั้น เมื่อจะถือเอาอาหารของตน ย่อมถือเอาด้วยอาวุธ ๕ อย่างนั้น ฉันใด แม้ พวกหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน เมื่อจะถือเอาอาหารคือกิเลส ย่อมประหารด้วย อาวุธมีรูปเป็นต้น แล้วจึงถือเอา ราชสีห์นั้นดุร้าย ข่มขี่สัตว์จับกินเป็นอาหาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 571
ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน หยาบช้า ข่มขี่กิน จริงอย่างนั้น หญิง ทั้งหลายย่อมกระทำอาการคือความข่มขี่ในบุรุษผู้มีศีลอย่างเคร่งครัดด้วยกำลัง ของตน ให้ถึงความพินาศแห่งศีลเสียได้ ราชสีห์ย่อมยินดีแต่ที่จะเบียดเบียน สัตว์อื่นฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ยินดีในการเบียดเบียนผู้อื่นด้วย อำนาจกิเลส. คำว่า หญิงเหล่านั้น อธิบายว่า หญิงผู้ไม่ประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างนี้ นรชนไม่ควรวิสาสะเลย. คำว่า สัญจร หมายถึงหญิงโสเภณี มีคำกล่าวอธิบายว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ชื่อของหญิงทั้งหลายเป็นต้นว่า แพศยาเหล่านี้เป็นชื่อเดิมของพวกนางก็หาไม่ หญิงเหล่านั้นมีชื่อว่า แพศยา ชื่อ ว่านารี ชื่อว่าสัญจร ชื่อว่าเกี่ยวพันธ์ก็หาไม่ แต่หญิงเหล่านั้นโดยชื่อเดิมแล้ว เรียกว่าผู้ฆ่า หญิงเหล่านั้นเรียกกันต่างๆ ว่า แพศยา นารี สัญจร. คำว่า ผู้ฆ่า หมายความว่า ฆ่าสามี ข้อความอันนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องมหาหังสชาดก. จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในชาดกนั้นว่า
อนึ่ง หญิงนี้มีมารยาเหมือนพยับแดด เป็นวัตถุ ที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก โรคและอุปัทวันตราย และ หญิงนี้เป็นคนหยาบนัก เป็นเครื่องผูกมัด เป็นบ่วง เป็นถ้ำ และเป็นที่อยู่ของพญามัจจุราช บุรุษใดระเริง ใจในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นนับว่าเป็นคนอธรรมใน นรชนทั้งหลาย.
คำว่า เกล้ามวยผม คือ มีมวยผมเกล้าไว้แล้ว. จริงอยู่ พวกโจร ที่อยู่ในดง ย่อมผูกมวยผมแล้วจึงแย่งชิงทรัพย์ฉันใด แม้พวกหญิงเหล่านี้ก็ เหมือนกัน นำเอาพวกบุรุษไปสู่อำนาจกิเลสแล้วปล้นทรัพย์. คำว่า ประทุษร้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 572
ให้เป็นพิษเหมือนสุราเจือยาพิษ คือ เหมือนสุราที่เจือด้วยยาพิษ ฉะนั้น อธิบายว่า สุราที่เจือยาพิษแสดงอาการที่แปลกๆ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ก็ เหมือนกัน เป็นผู้มีความกำหนัดในบุรุษทั้งหลายอื่น ไม่รู้จักกิจน้อยใหญ่ เมื่อ กระทำกิจในบุรุษอื่นแล้วกระทำกะบุรุษอื่นต่อไปอีก ชื่อว่าย่อมแสดงอาการ แปลกๆ. คำว่า พูดโอ้อวด อธิบายว่า คนขายของย่อมกล่าวอวดคุณภาพ แห่งสินค้าของตน ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ปิดบังโทษอันมิใช่คุณ ของตนเสียแล้ว ประกาศแต่คุณอย่างเดียว. คำว่า ตลบตะแลง อธิบายว่า เขาของเนื้อบิดไปบิดมา ฉันใด พวกหญิงเหล่านี้ ก็ตลบตะแลงพลิกไปพลิกมา เพราะความที่ตนมีจิตเบาฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า เหมือนงู อธิบายว่า หญิงทั้งหลายชื่อว่ามีสองลิ้นเหมือนงู เพราะเป็นคนมักกล่าวเท็จเสมอๆ. คำว่า เหมือนบ่อคูถ อธิบายว่า บ่อคูถย่อมถูกปิดด้วยไม้กระดานฉันใด แม้หญิง ทั้งหลายก็ปกปิดร่างกายด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์เที่ยวไปฉันนั้นเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่ง บ่อที่ปกปิดด้วยหยากเยื่อเป็นต้น เมื่อเหยียบลงไปย่อมให้เกิด ความลำบากแก่เท้าฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ก็เหมือนกัน เมื่อใครเข้าไปคบหา ด้วย ก็ให้เกิดทุกข์แก่ผู้นั้น. คำว่า เหมือนบาดาล อธิบายว่า บาดาลใน มหาสมุทร ย่อมทำให้เต็มได้ยากฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมทำ ให้เต็มได้ยากด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ด้วยเมถุน ๑ ด้วยการตลอด ๑ ด้วย การแต่งตัว ๑ เพราะเหตุนั้นแล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย หญิงทุกคนไม่อิ่มด้วยธรรม ๓ ประการ คือ ด้วยเมถุนธรรม ๑ ด้วย การตลอด ๑ ด้วยการแต่งตัว ๑ ย่อมกระทำกาละดังนี้เป็นต้น. คำว่า เหมือน รากษส อธิบายว่า ธรรมดาว่ารากษส ใครๆ ไม่อาจจะให้ยินดีด้วยทรัพย์ได้ เพราะตนอยากกินเนื้ออย่างเดียว รากษสนั้น ย่อมห้ามทรัพย์แม้เป็นจำนวน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 573
มากเสียแล้ว ปรารถนาแต่เนื้ออย่างเดียว ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมไม่ยินดีด้วยทรัพย์แม้มาก เพราะตนปรารถนาเมถุน หญิงเหล่านั้นย่อม ไม่รับทรัพย์ ปรารถนาเมถุนอย่างเดียว. คำว่า เหมือนพระยม อธิบายว่า พระยมมีแต่นำไปโดยส่วนเดียว มิได้ยกเว้นใครๆ ไว้เลย ฉันใด แม้หญิง เหล่านี้ก็เหมือนกัน ย่อมไม่เหลือใครๆ ไว้เลย ในบรรดาบุคคลที่สมบูรณ์ ด้วยชาติเป็นต้น นางย่อมให้ถึงความพินาศแห่งศีลด้วยอำนาจกิเลสทั้งหมด ในวาระแห่งจิตดวงที่ ๒ ก็ย่อมนำไปสู่นรก. คำว่า เปรียบเหมือนไฟ อธิบายว่า ธรรมดาว่าเปลวไฟย่อมกินสิ่งทั้งหมด แม้สะอาดหรือไม่สะอาด ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมเสพสิ่งทั้งหมดตั้งแต่เลวจนถึงดีที่สุด แม้ในข้อความที่เปรียบด้วยแม่น้ำ ก็มีนัยเหมือนกันทีเดียว. คำว่า ตามใจตัว อธิบายว่า หญิงเหล่านั้น ย่อมมีความรักใคร่ในสถานทีใด ก็ย่อมวิ่งไปในสถาน ที่นั้นทันที. คำว่า เหมือนเขาพระสุเมรุ อธิบายว่า ในป่าหิมพานต์มี ภูเขาทองอยู่ลูกหนึ่ง แม้กาซึ่งมีสีดำแก่พอเข้าไปใกล้ภูเขานั้น ก็กลับกลายเป็น สีทอง ภูเขานั้นมีอุปมาฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน มิได้กระทำสิ่งใด ให้วิเศษเลย ย่อมมองเห็นชายที่เข้าไปใกล้ตนเหมือนเป็นคนเดียวกันหมด. คำว่า เหมือนต้นไม้มีพิษ อธิบายว่า ต้นไม้ที่มีผลสุก เช่นกับมะม่วงนั้น ย่อมผลิตผลเป็นนิจ และย่อมเป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ด้วยสีเป็นต้น บุคคลไม่มี ความสงสัยบริโภคผลไม้นั้น ย่อมตายฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อม ปรากฏเหมือนเป็นที่น่ารื่นรมย์ด้วยอำนาจรูปเป็นต้น เพราะผลิตผลเป็นนิจ ก็เมื่อผู้ใดเสพอยู่ ย่อมนำผู้นั้นให้เกิดความประมาทแล้ว ฉุดให้ตกลงไปในอบาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 574
ผู้ใดเสพถามเพราะไม่รู้จักโทษ กามก็ย่อมฆ่า ผู้นั้นเสีย เหมือนบริโภคผลไม้ที่มีพิษ ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ต้นไม้มีพิษย่อมนำความพินาศมาให้ในกาลทุกเมื่อ เพราะมีผลเป็นนิจ ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมนำความฉิบหาย มาให้ในกาลทุกเมื่อ ด้วยอำนาจความพินาศแห่งคุณมีศีลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ราก เปลือก ใบ ดอก ผลของต้นไม้มีพิษนั้นย่อมเป็นพิษ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีผลเป็นนิจฉันใด แม้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แม้ทั้ง ๕ อย่าง ของหญิงเหล่านั้น ก็เป็นพิษเหมือนกันฉันนั้น เพราะฉะนั้น หญิงเหล่านั้น จึงชื่อว่าเผล็ดผลเป็นนิจ ประหนึ่งต้นไม้มีพิษ ฉะนั้น. คำว่า มีคาถากล่าว ความนี้ไว้อีกส่วนหนึ่ง อธิบายว่า พญานกกุณาละกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะ กระทำเนื้อความนั้นให้ปรากฏยิ่งขึ้น ด้วยคำอันประพันธ์ขึ้นเป็นคาถา. คำว่า หญิงทั้งหลาย เป็นผู้กอบกำเอารัตนะไว้ในมือจนนับไม่ถ้วน อธิบายว่า หญิงทั้งหลาย เป็นผู้กระทำอันตรายแก่รัตนะทั้งหลายที่สามีหามาได้ ด้วยความ เหนื่อยยาก นำเอารัตนะแม้เหล่านั้นไปให้ชายเหล่าอื่น ย่อมประพฤติอนาจาร.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พญานกกุณาละเมื่อจะแสดงกถาอันสละสลวยของ คนโดยประการต่างๆ จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ทรัพย์ ๔ อย่างนี้ คือ โคผู้ โคนม ยาน ภริยา ไม่ควรให้อยู่ในตระกูลอื่น ผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไม่ยอมให้ทรัพย์ ๔ อย่างนี้อยู่พรากจากเรือน.
พญานกกุณาละ กล่าวคาถาแสดงถึงเหตุผลแห่งทรัพย์ ๔ อย่างนั้น ต่อไปว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 575
คนฉลาด ย่อมไม่ให้ทรัพย์ ๔ อย่างอยู่ในตระกูล ญาติ คือ โคผู้ ๑ โคนม ๑ ยานพาหนะ ๑ ภริยา ๑ เพราะเหตุว่า คนทั้งหลายที่ไม่มียานย่อมใช้รถที่ฝากไว้ ย่อมฆ่าโคตัวผู้เสีย เพราะใช้ลากเข็ญเกินกำลัง และ ย่อมฆ่าลูกโคเพราะรีดนมแม่โคจนหมด ภริยาย่อม ประทุษร้ายตระกูลญาติ.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย ของ ๖ อย่างนี้ เมื่อเกิดธุระจำเป็นขึ้นแล้ว ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย อันได้แก่
ธนูไม่มีสาย ๑ ภริยาอยู่ในตระกูลญาติ ๑ เรืออยู่ ฝั่งโน้น ๑ รถเพลาหัก ๑ มิตรอยู่ไกล ๑ สหายชั่ว ๑ ทั้ง ๖ ประการนี้ เมื่อเกิดธุระขึ้นแล้ว ใช้ประโยชน์ อะไรไม่ได้เลย.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงย่อมดูหมิ่นสามีด้วยฐานะ ๘ อย่าง คือ ดูหมิ่นเพราะความจน ๑ เพราะความเจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ เพราะความชรา ๑ เพราะเป็นนักเลงสุรา ๑ เพราะโง่เซอะ ๑ เพราะมัวเมา ๑ เพราะหมุนตาม การงานไม่ทัน ๑ เพราะทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นไม่ได้ ๑ ต่อไปนี้เป็นคาถาอีก ส่วนหนึ่ง อันแสดงถึงเหตุแห่งวัตถุทั้ง ๘ นั้นว่า
หญิงทั้งหลาย ย่อมดูหมิ่นสามีด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ ความจน ๑ เจ็บกระเสาะกระแสะ ๑ แก่ชรา ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ โล่เซอะ ๑ มัวเมา ๑ หมุนตาม การงานไม่ทัน ๑ ทำทรัพย์ให้เกิดขึ้นเพื่อให้สำเร็จ ความปรารถนาทั้งหมดไม่ได้ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 576
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงทั้งหลายย่อมนำความประทุษร้ายมาให้ สามีด้วยฐาน ๙ อย่าง คือมักไปเที่ยวสถานที่รื่นรมย์ ๑ มักไปเที่ยวอุทยาน ๑ มักไปเที่ยวตามท่าน้ำ ๑ มักไปหาตระกูลญาติ ๑ มักไปหาตระกูลผู้อื่น ๑ มักใช้กระจกและประดับด้วยผ้า ๑ มักดื่มน้ำเมา ๑ มักเยี่ยมมองหน้าต่าง ๑ มัก ยืนแอบประตู ๑ ต่อไปนี้เป็นคาถาประพันธ์อีกส่วนหนึ่ง แสดงฐานะทั้ง ๙ นั้นว่า
หญิงทั้งหลาย ย่อมนำความประทุษร้ายมาด้วย ฐานะ ๙ ประการเหล่านี้ คือ มักไปเที่ยวตามสถาน รื่นรมย์ ๑ ไปเที่ยวสวน ๑ ไปสู่แม่น้ำ ๑ ไปหาตระกูล ญาติ ๑ ไปหาตระกูลอื่น ๑ มักประดับด้วยผ้า ๑ มัก ดื่มน้ำเมา ๑ มักมองหน้าต่าง ๑ มักแอบประตู ๑.
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย หญิงย่อมยั่วยวนชายด้วยฐานะ ๔๐ อย่าง คือ ทำดัดกาย ทำท่าก้ม ทำกรีดกราย ทำอาย ทำทีแกะเล็บ ทำท่าเอาเท้า เหยียบกัน ทำท่าเอาไม่ขีดแผ่นดิน ทำท่ากระโดดเอง ทำท่าให้เด็กกระโดด ทำท่าวิ่ง ให้เด็กวิ่ง เล่นกับเด็ก ให้เด็กเล่น จูบเด็ก ให้เด็กจูบ กินเอง ให้เด็กกิน ให้ของแก่เด็ก ทำทีขอคืน ทำท่าวอนขอ เลียนแบบเด็ก ทำ เสียงสูง ทำเสียงต่ำ ทำพูดเปิดเผย ทำพูดกระซิบ ทำซิกซี้ ฟ้อน ขับ เป่า ร้องให้ คร่ำครวญ กรีดกราย แต่งกาย ทำปึ่ง ทำยักเอว ทำส่ายผ้าที่ปิด ของลับ ทำเลิกขา ทำปิดขา ทำท่าให้เห็นนม ทำให้เห็นรักแร้ ทำให้เห็น ท้องน้อย ทำหลิ่วตา ทำเลิกคิ้ว ทำเม้มปาก ทำแลบลิ้น ทำขยายผ้าและ กลับนุ่งผ้า ทำสยายและมุ่นผม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 577
ดูก่อนสหายปุณณมุขะเอ๋ย นักปราชญ์พึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคน ประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่าง คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมคืนของสามี ย่อมไม่แสดงความยินดีต่อสามีที่กลับมาถึง ย่อมกล่าวโทษสามี ย่อมไม่กล่าว คุณงามความดีแห่งสามี ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมไม่ ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสามี ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อมไม่ ทำกิจที่สมควรแก่สามี ย่อมคลุมหัวนอนเบือนหน้าหนี ย่อมนอนพลิกกลับไป กลับมา ย่อมนอนถอนใจยาวทำวุ่นวาย ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบ่อยๆ ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ย่อมเงี่ยหูฟัง เพราะได้ยินคนอื่นพูด ย่อมล้างผลาถะทรัพย์สมบัติ ย่อมทำทอดสนิทชิดชมกับชายผู้คุ้นเคย ย่อมออก นอกบ้านเสมอ ย่อมประพฤติผิดจากความดี ย่อมประพฤตินอกใจไม่เคารพใน สามีและคิดประทุษร้าย ย่อมยืนที่ประตูเนืองๆ ย่อมทำให้ชายอื่นเห็นรักแร้ ย่อมทำให้ชายอื่นเห็นนม ย่อมไปเพ่งมองดูทิศต่างๆ ดูก่อนสหายปุณณมุขะ บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า หญิงเป็นคนประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่างเหล่านี้ มีคาถาประพันธ์กล่าวฐานะ ๒๕ อย่างเหล่านี้ไว้อีกส่วนหนึ่งว่า
หญิงย่อมเป็นคนประทุษร้ายด้วยฐานะ ๒๕ อย่าง คือ ย่อมพรรณนาการไปแรมทางไกลของสามี เมื่อ สามีไปแล้วก็ไม่เศร้าโศกถึง ครั้นเห็นสามีกลับมาก็ไม่ แสดงความยินดี ย่อมไม่กล่าวถึงคุณงามความดีของ สามีในกาลไหนๆ เลย เหล่านี้เป็นลักษณะองหญิง ผู้ประทุษร้ายสามี หญิงเป็นผู้ไม่สำรวม ย่อมประพฤติ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สามี ย่อมทำประโยชน์ของ สามีให้เสื่อม ย่อมกระทำกิจที่ไม่สมควรแก่สามี ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 578
คลุมหัวนอนเบือนหน้าไปทางอื่น เหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมนอนพลิกกลับไป กลับมา นอนถอนหายใจทำวุ่นวาย ย่อมทำระทมทุกข์ ย่อมไปอุจจาระปัสสาวะบ่อยๆ เหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมประพฤติตรงกันข้าม ไม่กระทำกิจที่สมควรทำแก่สามี ย่อมเงี่ยหูฟังเมื่อผู้อื่น พูด ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ กระทำความสนิทสนม กับชายอื่น เหล่านี้เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้าย สามี ย่อมกระทำทรัพย์สมบัติที่สามีได้มาโดยความยาก ลำบาก ทำมาได้โดยฝืดเคือง เก็บสะสมไว้ได้ด้วย ความยากแค้นให้พินาศไป อนึ่ง ย่อมกระทำความ สนิทสนมกับชายอื่นที่คุ้นเคยกัน เหล่านี้เป็นลักษณะ ของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี ย่อมออกนอกบ้านเสมอ ประพฤติผิดจากความดี มีจิตคิดประทุษร้ายในสามีอยู่ เป็นนิตย์ เป็นผู้ประพฤตินอกใจไม่เคารพ เหล่านี้ เป็นลักษณะของหญิงผู้ประทุษร้ายสามี นางย่อมยืนอยู่ ที่ใกล้ประตูเนืองๆ แสดงนมบ้าง รักแร้บ้าง มีจิต วอกแวกเพ่งดูทิศต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะของ หญิงผู้ประทุษร้ายสามี แม่น้ำทั้งปวงมีทางไปอัน คดเคี้ยว และป่ารกเรี้ยวด้วยต้นไม้ ฉันใด หญิงทั้งปวง เมื่อได้ช่องที่ลับ ก็ย่อมทำกรรมอันลามกได้ฉันนั้น ถ้าว่าได้โอกาส ได้ที่ลับ หรือได้ช่องเช่นนั้นแล้ว ที่ หญิงทั้งปวงจะไม่ทำลามกไม่มีเลย ไม้ได้คนอื่นก็ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 579
กับคนเปลี้ย ในจำพวกนารีที่หลายใจ ไม่มีใครข่มขี่ได้ เป็นผู้กระทำให้เกิดความยั่วยวนแก่ชายทั้งหลาย หาก นารีพวกใดถึงจะทำให้เกิดปีติได้โดยประการทั้งปวงก็ดี ก็ไม่ควรระเริงด้วย เพราะว่านารีเหล่านั้นเสมอด้วย ท่าน้ำ.
พระอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ว่า คำว่า โคผู้ โคนม ท่าน กล่าวไว้ด้วยอำนาจลิงควิปลาส. คำว่า ภริยาย่อมประทุษร้ายตระกูลญาติ อธิบายว่า นางเป็นผู้ไม่มีความกลัว ย่อมประพฤติอนาจารแม้กับพวกทาส เป็นต้นที่คุ้นเคยกัน ในตระกูลญาตินั้นจำเดิมแต่กาลที่ตนเป็นเด็กทีเดียว ถึง พวกญาติจะรู้ ก็มิได้กระทำการข่มขี่ ปิดบังเสียซึ่งโทษอันมิใช่เกียรติของตน ย่อมทำเป็นเหมือนไม่รู้. คำว่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้ อธิบายว่า หวัง ประโยชน์ไม่ได้ ไม่พึงได้ประโยชน์เลย คือกระทำกิจไม่ได้. คำว่า ไม่มีสาย คือธนูที่ปราศจากสาย. คำว่า สหายลามก หมายถึงมิตรชั่ว. คำว่า เพราะ ความจน คือ เพราะความขัดสน แม้ในบททั้งหมดก็มีนัยเหมือนกัน อธิบาย ความในคาถานั้นว่า สามีที่ยากจน ย่อมไม่อาจที่จะช่วยเหลือตนได้ด้วยกิเลส เพราะเครื่องประดับเป็นต้นไม่มี เพราะฉะนั้น ภรรยาจึงดูหมิ่นสามีด้วยประการ ฉะนี้ แม้สามีที่เจ็บป่วย ก็ไม่อาจจะช่วยเหลืออะไรได้ด้วยวัตถุกามและกิเลส กาม สามีที่แก่เฒ่าชรา ก็ไม่สามารถที่จะหยอกเย้าและทำความยียวนให้เกิดขึ้น ได้ทั้งทางกายและทางจิต สามีที่เป็นนักเลงสุรา ก็มักพาเอาเครื่องประดับมี สร้อยข้อมือของนางเป็นต้น เข้าไปยังโรงสุราเสียด้วย. คำว่า โง่ อธิบายว่า สามีที่เป็นอันธพาล ย่อมไม่ฉลาดในการยียวน. คำว่า มัวเมา อธิบายว่า สามี ที่เป็นนักเลงย่อมอภิรมย์กับพวกทาสีในเรือนของตน และย่อมคำว่าภรรยา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 580
ภรรยาจึงดูหมิ่นสามีด้วยเหตุนั้นแล ภรรยาย่อมด่าว่าสามีผู้ไม่อนุวัตรตามใน กิจการทั้งปวงว่า สามีของเรานี้หมดเดชเสียแล้ว จึงอนุวัตรตามการงานไม่ทัน เราเลย. ส่วนสามีคนใดมอบทรัพย์ทั้งหมดให้ปกครองสมบัติ ภรรยาก็ย่อมยึด เอาธนสารสมบัติทั้งหมดไว้ในเงื้อมมือ ดูหมิ่นสามีประดุจทาส ปรารถนาสมบัติ ก็ฉุดคร่าไล่สามีออกไปเสียนอกบ้านด้วยคำว่า ประโยชน์อะไรด้วยตัวท่าน. คำว่า ถึงความโง่เซอะ คือความเป็นผู้โง่เขลา. คำว่า ผู้มัวเมา คือ เลินเล่อ. คำว่า หญิงทั้งหลายย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามี อธิบายว่า ภรรยาย่อมนำความประทุษร้ายมาให้สามี ประทุษร้ายสามีคือกระทำ กรรมอันลามกแก่สามี. คำว่า มักไปเที่ยวตามสถานที่รื่นรมย์ อธิบายว่า ภรรยาบอกลาสามีบ้าง ไม่บอกบ้าง ไปเที่ยวยังสวนดอกไม้เป็นต้นแห่งใด แห่งหนึ่งเนืองๆ ประพฤติอนาจารในสวนนั้น กล่าวหลอกลวงสามีผู้โง่เขลา ให้เชื่อว่า วันนี้เราจะไปกระทำพลีกรรมแก่รุกขเทวดาในสวนดังนี้เป็นต้น. ฝ่ายสามีที่เป็นคนฉลาดย่อมฉลาดย่อมรู้ทันว่า หญิงคนนี้คงจะไปประพฤติ อนาจารในที่นั้นเป็นแน่แล้วไม่ให้นางไปอีก ในบททั้งหมด บัณฑิตพึงทราบ ขอความอย่างนี้เหมือนกัน. คำว่า ตระกูลผู้อื่น หมายถึงบ้านเรือนของคน ที่เคยเห็นกันและเคยคบกันเป็นต้น นางกล่าวกะสามีเป็นต้นว่า กำไรที่เรา ประกอบขึ้นไว้ในตระกูลโน้นมีอยู่ ทรัพย์ที่ให้เป็นของขอยืมในตระกูลโน้น มีอยู่ เราจะไปจัดแจงเรื่องนั้นให้สำเร็จดังนี้แล้วก็ไป คำว่า มักเยี่ยมมอง หน้าต่าง อธิบายว่า ชอบมองตามช่องมีช่องหน้าต่างเป็นต้น. คำว่า มักยืน แอบประตู อธิบายว่า ยืนอยู่ที่ประตูแสดงรูปร่างทรวดทรงของตน. คำว่า ยั่วยวน คือ กล่าวยียวนสามี อธิบายว่า หญิงผู้อยู่ในสำนักของสามีแล้ว แสดงนิมิตแก่ชายอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 581
คำว่า ดัดกาย อธิบายว่า กระทำความสังเกตไว้ก่อนทีเดียวว่า ท่านพึงรู้ว่าโอกาสมีหรือไม่มี ด้วยความสำคัญว่า เราเห็นเขาแล้ว จักทำการดัดกาย แม้มิได้กระทำความสังเกต ยืนอยู่ข้างหลังสามี ย่อมทำ ดัดกายคือแสดงอาการดัดกาย ด้วยคิดว่า ชายคนนี้จักไฝ่ฝั่นถึงเราอย่างนี้. คำว่า ทำก้ม อธิบายว่า แกล้งทำวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตกลงบนพื้น ทำ เป็นเหมือนก้มลงเก็บของนั้นแสดงหลัง. คำว่า ทำกรีดกราย อธิบายว่า แสดงอาการกรีดกราย ด้วยอิริยาบถทั้งหลายมีการเดินเป็นต้น หรือด้วยเครื่อง ประดับ. คำว่า ทำอาย อธิบายว่า ทำเป็นอายแล้วปกปิดสรีระด้วยผ้า หรือ แอบอยู่ตามบานประตูหรือฝา. คำว่า ทำแกะเล็บ อธิบายว่า เอาเล็บเท้า กับเล็บเท้า เอาเล็บมือกับเล็บมือครูดสีกัน. คำว่า ไม้ หมายถึงท่อนไม้. คำว่า เด็ก อธิบายว่า จับบุตรของตนเองบ้าง บุตรของคนอื่นบ้าง แล้วยก ชูขึ้นเองบ้าง ให้คนอื่นยกชูขึ้นบ้าง. คำว่า เล่น อธิบายว่า เล่นเองบ้าง ให้เด็กเล่นบ้าง แม้ในการจูบเป็นต้นก็มีนัยเหมือนกัน. คำว่า ให้ อธิบายว่า ให้ผลไม้บ้าง ใบไม้ ดอกไม้บ้างอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เด็กนั้น. คำว่า ขอ คือขอคืนสิ่งเหล่านั้นแล. คำว่า ทำเอาอย่าง คือทำตามอย่างที่เด็กทำ. คำว่า สูง หมายถึงเสียงสูงด้วยอำนาจ ทำเสียงดังหรือชมเชย. คำว่า ต่ำ หมายถึง เสียงต่ำ ด้วยอำนาจทำเสียงเล็ก ด้วยอำนาจการกล่าวคำที่ไม่พอใจหรือด้วย อำนาจการกล่าวคำหมิ่นประมาท. คำว่า พูดเปิดเผย หมายถึงพูดไม่ปกปิด ในท่ามกลางชนหมู่มาก. คำว่า พูดกระซิบ หมายถึงพูดปกปิดในที่ลับ. คำว่า ฟ้อน หมายถึงกระทำนิมิตด้วยการฟ้อนเป็นต้นเหล่านี้. คำว่า ร้องไห้ คือกระทำนิมิตด้วยเหตุแห่งการร้องไห้ บัณฑิตพึงกล่าวถึงเรื่องของนางพราหมณี ของปุโรหิตที่เศรษฐีบุตร อุ้มขึ้นสู่ข้างทางหน้าต่าง ในคืนวันฝนตกคืนหนึ่ง พามาแล้ว นำมาเป็นตัวอย่าง. คำว่า ทำซิกซี้ หมายถึงหัวเราะด้วยเสียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 582
อันดัง หญิงย่อมกระทำนิมิตแม้ด้วยอาการอย่างนี้. คำว่า รักแร้ หมายถึง รักแร้ทั้งสองข้าง. คำว่า ปาก หมายถึงริมปากข้างบน. คำว่า เม้ม คือ เอาฟันเม้ม. คำว่า ผม หมายถึงมวยผม อธิบายว่า หญิงย่อมการทำนิมิต แก่ชายอื่นแม้ด้วยการสยายและนุ่นผมอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง นางกระทำด้วย คิดว่าใครๆ จักกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามแล้วจักกำหนัด.
คำว่า พึงทราบเถิดว่าหญิงเป็นคนประทุษร้าย อธิบายว่า บัณฑิต พึงทราบไว้เถิดว่า หญิงนี้ประทุษร้ายในเราคือโกรธเรา ครั้นโกรธแล้วจักการทำ อนาจาร. คำว่า แรมคืน อธิบายว่า หญิงกล่าวคำเป็นต้นว่า ทรัพย์ที่เราประกอบ ขึ้นไว้ในบ้านโน้นจักฉิบหาย ท่านจงไปจัดแจงทรัพย์นั้นให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสามี ไปแล้ว ปรารถนาจะกระทำอนาจารจึงพรรณนาการไปแรมคืน. คำว่า สิ่งที่ไม่ เป็นประโยชน์ หมายถึงสิ่งทีมิใช่ความเจริญ. คำว่า มิใช่กิจ คือ มิใช่กิจที่ ควรกระทำ. คำว่า คลุมหัว คือนุ่งอย่างมั่นคง. คำว่า พลิกกลับไปกลับมา อธิบายว่า พลิกไปข้างโน้นทีข้างนี้ที. คำว่า ทำวุ่นวาย คือทำให้เกิดความโกลาหลแกล้งปลุกคนใช้ที่นอนอยู่ใกล้เท้าให้จุดไฟ กระทำความอึกกระทึกครึกโครมมีประการต่างๆ ย่อมยังความรื่นรมย์ทางกิเลสของสามีนั้นให้พินาศขาดไป. คำว่า ทำระทมทุกข์ คือนางกล่าวคำเป็นต้นว่า เราปวดศีรษะเหลือเกิน. คำว่า ตรงกันข้าม อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้มีปกติประพฤติเป็นข้าศึก ด้วย อำนาจแห่งอาการต่างๆ เป็นต้นว่า เมื่อสามีต้องการอาหารเย็น ก็ให้อาหาร ร้อนดังนี้. คำว่า ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ อธิบายว่า ทำโภคสมบัติที่สามี หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ให้ฉิบหายไปด้วยความเป็นคนเกะกะเพราะสุรา เป็นต้น. คำว่า ความสนิทชิดชม ได้แก่ ทำความสนิทสนมด้วยอำนาจ กิเลส. คำว่า ออกนอกบ้านเสมอ อธิบายว่า ออกนอกบ้านเพื่อเลือกหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 583
ชายชู้. คำว่า ในสามี ได้แก่ ย่อมเป็นผู้ประพฤตินอกใจด้วยความไม่เคารพ ในสามี และเป็นผู้มีจิตคิดประทุษร้าย. คำว่า หญิงทั้งปวง อธิบายว่า เว้นเสียจากหญิงผู้ทำกิเลสให้เบาบางด้วยวิปัสสนาแล้ว หญิงที่เหลือย่อมกระทำ บาปทั้งหมด. คำว่า เมื่อได้ คือเมื่อมีโอกาส. คำว่า ช่อง อธิบายว่า เมื่อได้ ที่ลับพอจะปรึกษากันและพอจะร่วมกันได้. คำว่า คราวหรือที่ลับ อธิบายว่า พึงกระทำโอกาสหรือที่ลับ เพื่อต้องการกระทำบาป. คำว่า โน เป็นเพียง นิบาต. คำว่า ได้ หมายความว่า ได้แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น อลทฺธา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เมื่อไม่ได้บุรุษที่สมบูรณ์คนอื่น ก็พึงการทำกรรมอันเป็น บาปแม้กับชายเปลี้ย หรือกับชายที่มีรูปร่างน่าเกลียดยิ่งกว่านั้น. คำว่า ทำให้ เกิดปีติ คือทำให้เกิดความยินดียิ่งกว่านั้น. คำว่า ข่มขี่ อธิบายว่า ไม่อาจที่จะ แนะนำด้วยการข่มขี่ได้. คำว่า เสมอด้วยแม่น้ำ อธิบายว่า ท่าน้ำมิได้ หวงห้ามใครๆ ในบรรดาคนที่สูงสุด และต่ำที่สุดผู้ลงไปอาบน้ำ ฉันใด แม้ หญิงเหล่านั้นเมื่อมีที่ลับ หรือคราวหรือช่อง ก็ย่อมไม่ห้ามบุรุษใดๆ เหมือนกัน ฉะนั้น.
ต่อไปนี้ พระอรรถกถาจารย์นำเรื่องต่างๆ มาสาธกไว้ว่าในอดีตกาลมี พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า กินนร เสวยราชย์อยู่ในเมืองพาราณสี มีพระรูปโฉมงามยิ่งนัก อำมาตย์พันหนึ่งย่อมนำหีบเครื่องหอมมาถวายทุกๆ วัน เมื่อประพรมเครื่องหอมในพระราชนิเวศน์ทั่วแล้ว ก็ผ่าหีบทำเป็นไม้ฟืนหอม หุงพระกระยาหารถวาย พระเจ้ากินนรมีปุโรหิตมีปัญญาหลักแหลมผู้หนึ่งชื่อ ปัญจาลจัณฑะ มีชนมายุเท่ากับพระองค์ ก็ที่ต่อกับปราสาทของพระเจ้ากินนร นั้น มีต้นหว้าต้นหนึ่งอยู่ในกำแพงวัง กิ่งหว่าทอดข้ามกำแพงออกไป มีบุรุษ เปลี้ยคนหนึ่ง รูปร่างชั่วช้าน่าเกลียด อาศัยอยู่ที่ร่มไม้หว้า. อยู่มาวันหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 584
นางกินรีเทวีเยี่ยมมองไปตามช่องหน้าต่าง เห็นบุรุษเปลี้ยนั้นแล้ว ก็ผูกพัน รักใคร่ เวลาราตรี ยังพระเจ้ากินนรให้ทรงยินดีด้วยกิเลสแล้ว และบรรทม หลับไป นางจึงค่อยๆ ลุกขึ้นจัดอาหารอันประณีตมีรสอร่อย ใส่ขันทองห่อไว้ ที่ชายพก แล้วก็ไต่เชือกลงทางหน้าต่าง ปีนขึ้นบนต้นหว้าไต่ลงมาตามกิ่ง เชิญบุรุษเปลี้ยให้กินอาหาร แล้วทำการอันลามกกับบุรุษเปลี้ยสำเร็จแล้ว ก็ กลับขึ้นปราสาทตามทางเดิม ประพรมสรีระกายด้วยของหอมแล้วก็เข้าไปนอน กับพระเจ้ากินนร ประพฤติลามกอย่างนี้เสมอมา พระเจ้ากินนรก็มิได้ทรงทราบ จนอยู่มาวันหนึ่งเสด็จประทักษิณพระนคร เวลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ได้ ทอดพระเนตรเห็นบุรุษเปลี้ยมีอาการน่ากรุณาอย่างยิ่ง จึงตรัสถามปุโรหิตว่า เห็นมนุษย์เปรตนั่นหรือไม่ ครั้นปุโรหิตรับพระราชโองการว่าเห็นแล้ว จึง ตรัสถามต่อไปว่า บุรุษที่มีรูปร่างน่าเกลียดเห็นสภาวะปานฉะนี้ จะมีหญิงคบหา ด้วยอำนาจฉันทราคะบ้างหรือไม่ บุรุษเปลี้ยได้ฟังพระราชดำรัสดังนั้นก็เกิด มานะขึ้นมา พระเจ้าแผ่นดินพูดอะไรเช่นนี้ ชะรอยจะไม่รู้ว่าเทวีของตัวมาหาเรา คิดแล้วก็ประนมมือไหว้ต้นหว้ากล่าววาจาค่อยๆ ว่า เชิญเทพยดาซึ่งเป็นเจ้า สิ่งอยู่ที่ต้นหว้าฟังเราเถิด คนอื่นๆ นอกจากท่านแล้วก็ไม่มีใครรู้.
ปุโรหิตเห็นกิริยาของบุรุษเปลี้ยจึงคิดว่า พระอัครมเหสีของพระราชา คงได้ไต่ต้นหว้ามาทำลามกกับบุรุษเปลี้ยนี้เป็นแน่แล้ว คิดแล้วจึงทูลถามว่า ขอ พระราชทาน ในเวลาราตี พระองค์ทรงสัมผัสสรีระกายแห่งพระเทวี เป็นเช่น ไรบ้าง พระเจ้ากินนรตรัสตอบว่า สิ่งอื่นก็ไม่แลเห็น เป็นแต่เวลาเที่ยงคืนสรีระกายของนางเย็น ปุโรหิตจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้ากระนั้นหญิงอื่นยกไว้ ก่อนเถิด พระนางกินรีอัครมเหสีของพระองค์ได้ประพฤติแล้วซึ่งกรรมอัน ลามกกับบุรุษเปลี้ยนี้ พระเจ้ากินนรตรัสตอบว่า สหายพูดอะไรกัน นางกินรี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 585
สมบูรณ์ด้วยรูปร่างอันอุดมเห็นปานนั้น จะมาร่วมอภิรมย์กับบุรุษเปลี้ยอันน่า เกลียดอย่างยิ่งนี้ได้. ขอพระราชทาน ถ้ากระนั้นพระองค์จงสะกดรอยตามคอยจับ ดูเถิด. พระเจ้ากินนรก็ทรงรับ ครั้นเสวยอาหารเย็นแล้ว ก็เข้าบรรทมกับนางกินรี ตั้งพระหฤทัยคอยสะกดจับ พอถึงเวลาเคยบรรทมหลับตามปกติ ก็ทรงแสร้งทำ เหมือนหลับไป ฝ่ายนางกินรีก็ลุกขึ้นตามเคย พระเจ้ากินนรก็สะกดรอยตาม ไปยืนอยู่ที่เงาต้นหว้า วันนั้นบุรุษเปลี้ยโกรธขู่ตะคอกว่า ทำไมถึงมาช้า แล้วเอา มือตบเข้าที่กกหูนางเทวี นางเทวีก็ร้องขอโทษว่า นายอย่าเพิ่งโกรธเลย ข้าพเจ้า รอให้พระราชาหลับจึงมาได้ ว่าแล้วก็ประพฤติปฏิบัติบุรุษเปลี้ยเหมือนหญิง บำเรอในเรือน เมื่อบุรุษเปลี้ยตบหูนางกินรีนั้น กุณฑลหน้าราชสีห์หลุดจากหู กระเด็นไปอยู่ใกล้พระบาทพระเจ้ากินนร พระเจ้ากินนรเห็นสมควรจึงเก็บ เอาไปเป็นพยานก็ทรงเก็บเอาไป ฝ่ายนางกินรีประพฤติอนาจารกับบุรุษเปลี้ย นั้นแล้วก็กลับไปโดยนัยหนหลัง เริ่มจะนอนด้วยพระราชสามี.
พระเจ้ากินนรก็ทรงห้ามเสีย พอรุ่งขึ้น จึงรับสั่งให้คนไปบอกว่า ให้ นางกินรีเทวีประดับเครื่องอลังการที่เราให้ทั้งหมดเข้ามาเฝ้า. นางกินรีก็สั่งให้ทูล ว่า กุณฑลหน้าราชสีห์ส่งไปไว้ที่ช่างทองเสียแล้ว นางก็มิได้มาเฝ้า ครั้นพระเจ้า กินนรรับสั่งให้หาอีก นางก็ประดับกุณฑลข้างเดียวเข้าไปเฝ้า พระเจ้ากินนรตรัส ถามว่ากุณฑลไปไหน นางก็ทูลว่า ส่งไปที่ช่างทอง. พระเจ้ากินนรจึงรับสั่งให้หา ช่างทองมีแล้วตั้งกะทู้ถามว่า ทำไมเจ้าจึงไม่ให้กุณฑลแก่นางกินรี ช่างทอง ก็ทูลว่า มิได้รับเลาไว้เลย พระเจ้ากินนรก็ทรงพระพิโรธตรัสว่า เฮ้ย อีนาง จัณฑาล คนอย่างกูนี้แหละจะเป็นช่างทองของมึงละ ตรัสแล้วก็ขว้างกุณฑล ลงไปตรงหน้านางกินรีแล้ว หันมาตรัสกับปุโรหิตว่า สหายพูดจริงทีเดียว จงไป สั่งไปตัดหัวอีนี่เสีย ปุโรหิตก็พานางกินรีไปซ่อนไว้ในที่แห่งหนึ่งภายในพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 586
ราชวังนั้น แล้วกลับไปเฝ้ากราบทูลว่า ขอพระราชทาน อย่าได้ทรงกริ้วนาง กินรีเลย หญิงทั้งปวงย่อมเหมือนกันอย่างนี้ทั้งหมด ถ้าไม่ทรงเชื่อ ต้องพระ ประสงค์ทรงทราบเรื่องทุศีลของหญิงทั้งหลายแล้ว ข้าพระองค์จะสำแดงให้ดู ความลามกความมีมายาของหญิงทั้งหลาย เชิญเสด็จปลอมพระองค์ประพาสไป ในชนบทด้วยกันเถอะ พระเจ้ากินนรก็ทรงรับ ทรงมอบราชสมบัติให้พระมารดาแล้ว ก็เสด็จซอกซอนไปกับปุโรหิต.
เมื่อพระเจ้ากินนรกับปุโรหิตไปได้ประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว พักนั่ง อยู่ข้างบนหนทางใหญ่ มีกุฎุมพีคนหนึ่งกระทำวิวาหมงคลกันเพื่อบุตรชาย ให้นางกุมารีคนหนึ่งนั่งอยู่ในยานกำบัง แล้วพาผ่านมาด้วยบริวารเป็นอัน มาก ปุโรหิตได้เห็นแล้วจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้าต้องพระประสงค์ ข้าพระองค์สามารถจะให้นางกุมารีคนนี้ทำลามกกับพระองค์ได้ พระเจ้ากินนร ตรัสว่า เพื่อนพูดอะไร เขามากับบริวารเป็นอันมาก ท่านไม่สามารถ จะทำได้ ปุโรหิตจึงทูลว่า ขอพระราชทาน ถ้าฉะนั้นก็คอยทอดพระเนตร ทูลแล้วก็ลอบไปข้างหน้า วงม่านเข้าใกล้ๆ หนทาง ให้พระเจ้ากินนร ประทับในม่าน แล้วตนก็ไปนั่งร้องให้อยู่ข้างทาง พอกุฎุมพีนั้นเห็นเข้า ก็ถามว่า พ่อนั่งร้องไห้ทำไม จึงตอบว่า ข้าแต่นาย ภริยาของข้าครรภ์แก่ ข้า พาเดินทางมาหวังจะไปยังตระกูลของเขา พอมาถึงกลางทาง นางก็เจ็บท้อง ทนลำบากอยู่ในม่าน เพื่อนหญิงสักคนหนึ่งก็ไม่มี ตัวข้าก็ไม่กล้าเข้าไป ไม่รู้ ว่าจะเป็นอะไรต่อไป ถ้าได้หญิงสักคนหนึ่งจะค่อยยังชั่ว กุฎุมพีนั้นจึงตอบว่า ถ้ากระนั้นก็อย่าร้องไห้ไปเลย พวกหญิงของเราที่มาด้วยกันมีเป็นอันมาก พอ จะไปช่วยได้สักคนหนึ่ง ปุโรหิตจึงกล่าวว่า ถ้ากระนั้นขอให้นางกุมารีคนนี้ แหละไป จักได้เป็นสวัสดิมงคลแก่เขา กุฎุมพีนั้นคิดเห็นว่า ชายผู้นั้นพูดถูก แล้ว สวัสดิมงคลจักมีแก่สะใภ้ของเราเป็นแน่ และด้วยนิมิตนี้ สะใภ้ของเราจัก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 587
เจริญด้วยบุตรและธิดา คิดแล้วจึงส่งนางกุมารีคนนั้นไป นางกุมารีนั้นก็เข้าไป ในม่าน พอเห็นพระเจ้ากินนรเข้าก็เกิดรักใคร่ ได้ประพฤติลามกด้วยกันแล้ว พระราชาทรงถอดพระธำมรงค์พระราชทาน พอสำเร็จกิจ นางกุมารีนั้นกลับมา ชนทั้งหลายก็ถามว่า เขาคลอดลูกเป็นชายหรือหญิง นางก็ตอบว่าเป็นชาย งามเหมือนดังทอง. กุฎุมพีก็พานางกุมารีไป ฝ่ายปุโรหิตก็กลับมาเฝ้าพระเจ้า กินนรแล้วทูลว่า ขอพระราชทาน พระองค์ได้ทอดพระเนตรแล้ว นางกุมารี รุ่นสาวยังลามกถึงเพียงนี้ ก็จะประสาอะไรถึงหญิงพวกอื่น อ้อ พระองค์ ประทานอะไรแก่นางไปบ้างหรือเปล่า พระเจ้ากินนรตรัสว่า เราให้แหวนที่ ติดมือมาแก่นางไป ปุโรหิตจึงทูลว่า พระองค์ประทานมันทำไม ว่าแล้วก็วิ่ง ไปยึดยานไว้ ครั้นคนทั้งหลายถามว่าอะไรกัน ก็ตอบว่า นางกุมารีคนนี้หยิบ เอาแหวนที่วางไว้ข้างศีรษะของนางพราหมณีภรรยาของข้ามา ขอแหวนให้ข้า เถิดแม่ นางก็มารียื่นมือออกไปหยิกมือปุโรหิต ตะคอกว่า ตาโจร เอาของ แกไปเถิด แล้วส่งแหวนคืนให้. ปุโรหิตสำแดงหญิงที่ประพฤตินอกใจผัว หลายคนถวายพระเจ้ากินนร ด้วยอุบายต่างๆ อย่างอื่นแล้วทูลว่า ขอพระ ราชทาน ที่นี่เท่านี้ก็พอแล้ว ขอเชิญเสด็จไปที่อื่นบ้างเถิด พระเจ้ากินนรตรัสว่า ถึงจะเที่ยวไปให้ทั่วชมพูทวีป หญิงทั้งปวงก็จักเป็นเช่นเดียวกันหมด เราจะ ต้องการดูอะไรมันอีกเล่า กลับเถิด ตรัสแล้วก็เสด็จกลับเมืองพาราณสี. ปุโรหิต จึงทูลขอประทานโทษนางกินรีว่า ขอพระราชทาน ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลายแล้ว ย่อมลามกอย่างนี้ ปกติของเขาเป็นอย่างนี้เอง พระองค์จงงดโทษนางกินรี เสียเถิด พระเจ้ากินนรก็ทรงยกโทษให้รับสั่งให้ไล่ไปเสียจากพระราชนิเวศน์ เมื่อทรงขับไล่จากตำแหน่งแล้ว ก็ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นอัครมเหสี แล้วรับสั่งให้ ไล่บุรุษเปลี้ยเสียจากที่นั้นและให้ตัดกิ่งต้นหว้าเสีย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 588
ในคราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นปัญจาลจัณฑปุโรหิต เมื่อนำเหตุ ที่ตนได้เห็นมาแสดงจึงกล่าวว่า
บัณฑิตได้เห็นแล้วซึ่งเรื่องอะไร ของพระเจ้า กินนรและนางกินรี ก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อม ไม่ยินดีในเรือนของตน ภรรยาไปเห็นบุรุษอื่นแม้เป็น ง่อยเปลี้ย ยังทิ้งเสียซึ่งสามีอย่างกับพระเจ้ากินนรได้.
อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บัณฑิตเห็นเหตุแห่งความหน่ายแหนง ชองกินนรและนางกินรีเหล่านี้ คือ พระราชาผู้เป็นกินนรและนางกินรีเทวี แล้วก็พึงรู้เถิดว่า หญิงทั้งปวงย่อมไม่ยินดีในเรือนแห่งสามีของตน. จริงอย่าง นั้น นางกินรีเทวีผู้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากินนร เห็นบุรุษเปลี้ยคนอื่น ยังยอมสละพระราชาพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีความฉลาดในการอภิรมย์เช่นนั้น เสียแล้ว กระทำกรรมอันเป็นบาปกับมนุษย์เปรตนั้นได้.
เรื่องอื่นยังมีอีก ในอดีตกาล พระเจ้าพาราณสีทรงพระนามว่า พกะ เสด็จทรงราชย์โดยธรรม ยังมีหญิงชื่อปัญจปาปี เป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในบ้านข้างประตูตะวันออกเมืองพาราณสี เล่ากันมาว่า เมื่อชาติก่อน นางเกิดเป็นธิดาของคนยากไร้คนหนึ่ง นั่งขยำดินทาฝาเรือนอยู่ เวลานั้นมี พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งคำนึงว่า จักหาดินละเอียดที่ไหนหนอ มาฉาบทา เงื้อมฝาที่อยู่อาศัย ครั้นตกลงใจว่า อาจหาได้ในเมืองพาราณสีดังนี้แล้ว จึง ห่มคลุมถือบาตรเข้าไปในเมือง ไปยืนอยู่ใกล้หญิงนั้น นางแลเห็นพระปัจเจก พุทธเจ้าแล้วก็โกรธ จึงพูดขึ้นด้วยใจร้ายว่า ชิ้นดินก็ขอ. พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็นิ่งมิได้หวั่นไหว นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ามิได้หวั่นไหว ก็เกิดมีใจเลื่อมใส อีกจึงกล่าวว่า สมณะ ท่านจักได้ดินเหนียวหรือ ว่าแล้วก็ยกดินเหนียวก้อนใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 589
ใส่ลงในบาตร. พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เอาไปฉาบทาเงื้อมฝาที่อาศัย ไม่ช้านัก หญิงคนนั้นก็จุติจากอัตภาพนั้น ไปถือปฏิสนธิในท้องหญิงทุคตะ ชาวบ้าน ใกล้ประตูนอกเมืองนั้น เมื่อครบ ๑๐ เดือนแล้วนางก็คลอด ด้วยผลที่ได้ถวาย ดินเหนียว ร่างกายของนางจึงประกอบด้วยสัมผัสดียิ่งนัก แต่เพราะวิบากที่ แลดูพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยความโกรธ มือ เท้า ปาก ตา จมูก ๕ แห่ง จึงวิกลวิปริตไป ดังนั้น เขาจึงพากันตั้งชื่อให้ว่า นางปัญจปาปี.
วันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสีจึงทรงปลอมพระองค์เที่ยวตรวจพระนครไป ถึงประเทศที่นั้นเข้า. นางปัญจปาปีเล่นอยู่กับด้วยนางทาริกาเพื่อนบ้าน ไม่ รู้จักพระเจ้าพาราณสีก็เอามือคว้าพระหัตถ์เข้า พระเจ้าพาราณสีถูกสัมผัสมือ ของนางปัญจปาปีก็ดำรงพระองค์ไว้ไม่อยู่ ดุจดังสัมผัสทิพย์เกิดกำหนัดยินดีใน สัมผัสยิ่งนัก จึงเอาพระหัตถ์จับนางปัญจปาปี ซึ่งมีรูปวิกลถึงปานนั้นแล้วตรัส ถามว่า เจ้าเป็นลูกสาวของใคร ครั้นนางตอบว่า เป็นลูกสาวชาวบ้านที่ประตู จึงทรงซักถามได้ความว่า ยังไม่มีสามี ก็ตรัสว่า เรานี้แหละจะเป็นสามีของเจ้า เจ้าจงไป ขออนุญาตต่อบิดามารดา. นางปัญจปาปีก็เข้าไปหาบิดามารดาแล้ว บอกว่า ชายคนหนึ่งเขาต้องการข้า บิดามารดาคิดเห็นว่า ชายคนนั้นเห็นจะ ไม่ใช่คนทุคตะจึงกล่าวว่า ถ้าเขาอยากได้คนอย่างเองก็ดีแล้ว. นางจึงกลับมา บอกว่า บิดามารดาอนุญาตแล้ว. พระเจ้าพาราณสีก็อยู่กับนางปัญจปาปีที่เรือน นั้น จนรุ่งเช้าจึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าพาราณสีก็ทรง ปลอมพระองค์ไปหานางปัญจปาปีเสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะเหลียวแลหญิง คนอื่นเลย.
ต่อมาวันหนึ่ง บิดาของนางปัญจปาปีบังเกิดโรคลงโลหิต ยาที่จะรักษา โรคนั้นก็คือ ข้าวปายาสอันปรุงด้วยนมสดล้วน กับเนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 590
เป็นต้น แต่คนปานนั้นขัดสน จึงไม่สามารถจะหามาได้. ลำดับนั้น มารดา ของนางปัญจปาปีจึงพูดกะลูกสาวว่า ผัวของเจ้าสามารถหาข้าวปายาสได้หรือไม่ เล่า. นางปัญจปาปีจึงตอบว่า ผัวของข้าเห็นจะจนกว่าบ้านเรา แต่เอาเถอะ จะลองถามเขาดูก่อน อย่าวิตกไปเลย ว่าดังนี้แล้ว นางปัญจปาปีก็วางกิริยา ท่าทางว่าทุกข์ร้อน นั่งคอยท่ารอเวลาที่พระเจ้าพาราณสีเคยเสด็จมา ครั้นพอ พระเจ้าพาราณสีเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า เจ้าเสียใจอะไร ทรงสดับความนั้น แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนน้องหญิง ยาขนานนี้เป็นยาสำหรับท่านผู้เป็นใหญ่ เราจะได้มาแต่ที่ไหน ตรัสดังนี้ แล้วทรงติดต่อไปอีกว่า เราไม่สามารถ เที่ยวไปมาอย่างนี้ได้ น่าจะต้องประสบอันตรายตามหนทางแน่ ก็แต่ว่า ถ้าจะพานางปัญจปาปีเข้าไปไว้ในวัง ชนทั้งหลายที่ไม่รู้ว่านางนี้มีสมบัติคือ สัมผัสดี ก็จักพากันหัวเราะเยาะเย้ยว่า พระเจ้าแผ่นดินของเราไปพาเอานาง ยักษิณีที่ไหนมา จำเราจักทำให้ชาวพระนครเขารู้สัมผัสของนางเสียก่อนเถิด จึงจะปลดเปลื้องข้อครหานินทาได้.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะนางว่า เจ้าอย่าวิตกไปเลย ข้าจะหา ข้าวปายาสมาให้บิดาของเจ้า ครั้นทรงอภิรมย์กับนางปัญจปาปีแล้ว ก็เสด็จ กลับพระราชนิเวศน์. พอวันรุ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้หุงข้าวปายาสอย่างว่า ให้เอาใบไม้มาทำห่อเป็นสองห่อ บรรจุข้าวปายาสลงแล้ว ก็ใส่พระจุฬามณี ลงไปในห่อหนึ่งผูกเสียให้ดี พอเวลาราตรี ก็เสด็จไปส่งห่อข้าวให้แล้ว กำชับว่า เราเป็นคนจนเท่านี้ก็หาได้โดยยาก เจ้าจงบอกับบิดาว่า วันนี้ จงกินข้าวปายาสห่อนี้ พรุ่งนี้จึงค่อยกินอีกห่อหนึ่ง. นางปัญจปาปีก็ทำตามสั่ง พอบิดานางปัญจปาปีบริโภคเข้าไปหน่อยหนึ่ง ก็อิ่มหนำสำราญมีความสุขสบาย เพราะข้าวปายาสนั้นมีรสโอชายิ่งนัก. นางปัญจปาปีก็นำเอาข้าวปายาสที่เหลือ ให้มารดา แล้วจึงบริโภคเองในภายหลัง ก็พออิ่มทั้ง ๓ คน. ส่วนห่อข้าวที่มี จุฬามณีก็เก็บไว้เพื่อวันต่อไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 591
ครั้นพระเจ้าพาราณสีเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ สรงพระพักตร์เสร็จ แล้ว จึงตรัสสั่งให้พนักงานนำจุฬามณีมาถวาย เมื่อเจ้าพนักงานทูลว่า หาไม่พบ ก็ตรัสสั่งว่า ค้นให้ทั่วพระนคร. เขาพากันค้นจนทั่วแล้วก็หาไม่ได้ จึงตรัสสั่ง ต่อไปว่าให้ค้นด้านนอกพระนคร ที่สุดจนห่อเข้าของในเรือนคนทุคตะก็อย่า เว้น ราชบุรุษทั้งหลายก็พากันเที่ยวค้น จึงไปพบจุฬามณีในเรือนนางปัญจปาปี ก็พากันผูกมัดเอาบิดามารดาหาว่าเป็นโจร ชนทั้งสองจึงร้องว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่ โจร คนอื่นนำมาให้ ครั้นเขาชักไซ้ว่าใคร ก็บอกว่าลูกเขย ครั้นเขาถามหา ตัวว่าไปไหนก็ซัดว่า ลูกสาวรู้แล้ว บิดาจึงหันมาพูดกับลูกสาวว่า เจ้ารู้จัก ผัวเจ้าหรือไม่. นางก็ตอบว่า ไม่รู้จัก. บิดาก็กล่าวว่า ถ้ากระนั้นชีวิตของเรา ก็ไม่มี. นางปัญจปาปีจึงกล่าวว่า ผัวของข้ามาในเวลามืดแล้ว ก็กลับไปใน เวลามืด ข้าจึงไม่รู้ว่ารูปร่างเขาเป็นอย่างไร แต่ถ้าถูกมือแล้วก็รู้ได้ แล้วนาง ก็บอกแก่ราชบุรุษทั้งหลายเช่นนั้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำความมากราบทูล. พระเจ้าพาราณสีทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น จึงตรัสสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจงให้หญิงคนนั้น นั่งอยู่ในม่านที่หน้าพระลาน แล้วเจ้าช่องม่านพอมือลอดได้ สั่งชาวเมืองมา ประชุมให้หญิงนั้นจับโจรให้ได้ด้วยสัมผัสมือ ราชบุรุษทั้งหลายก็ทำตามรับสั่ง พากันไปยังสำนักของนางปัญจปาปี แลดูรูปร่างแล้วก็เกิดเดือดร้อนเกลียดชังว่า ถุย ถุย อีปีศาจ ต่างไม่อาจถูกต้องได้ ครั้นพานางมาแล้วก็ให้นั่ง ในม่าน ที่หน้าพระลาน จัดการให้ชาวพระนครทั้งหมดมาประชุมพร้อมกัน นางปัญจปาปีก็จับ มือบุรุษที่มาแล้วและยื่นเข้าไปในช่องม่าน บอกขานเรื่อยไปว่า ไม่ใช่สามี บุรุษทั้งหลายที่ได้สัมผัสถูกต้อง ก็ติดข้องในสัมผัสแห่งนางอย่าง สัมผัสทิพย์ ต่างคนก็คิดในใจว่า ถ้าหญิงคนนี้ควรแก่สินไหม เราจะยอมหาให้ ถึงจะตายเป็นทาสกรรมกรก็ไม่ว่า จะพาไปเลี้ยงไว้ในเรือน ต่างคนต่างไม่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 592
สามารถจะหลีกไปได้ จนราชบุรุษทั้งหลาย โบยด้วยไม้จึงได้หนีไป คนทั้งปวง ตั้งแต่อุปราชลงไปก็มีอาการปานกับจะเป็นบ้า พอหมดคนอื่นแล้ว พระเจ้า พาราณสีตรัสว่า จะเป็นเราเองบ้างกระมัง จึงยื่นพระหัตถ์เข้าไป พอนางจับ พระหัตถ์ก็ร้องเสียงดังลั่นว่า จับโจรได้แล้ว พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสถามราช บุรุษทั้งหลายว่า เมื่อนางนี้จับมือเข้า พวกเจ้ามีความคิดอะไรบ้าง. ราชบุรุษ ทั้งหลายก็กราบทูลตามความเป็นจริง.
ลำดับนั้น พระเจ้าพาราณสีจึงตรัสว่า ที่เราให้ทำอย่างนี้ก็เพื่อจะนำ หญิงนี้มาไว้ในวัง แต่ยังคิดเห็นว่า เมื่อท่านทั้งหลายไม่รู้สัมผัสของหญิงนี้ ก็จะหมิ่นประมาทเราได้ เพราะฉะนั้น จึงให้เจ้าทั้งหลายรู้ไว้ จงว่าไปดูที หญิงนี้ จะสมควรอยู่ในเรือนใคร ราชบุรุษทั้งหลายก็กราบทูลว่า สมควรอยู่ในวังของ พระองค์ ครั้นแล้วพระเจ้าพาราณสี ก็พระราชทานอภิเษกตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี และพระราชทานอิสริยยศแก่บิดามารดาของนาง. ตั้งแต่นั้นมา พระเจ้าพาราณสี ก็ทรงมัวเมาด้วยนางปัญจปาปี จนไม่เอาพระทัยใส่ในอันที่ จะตัดสินความของราษฎร และไม่ทรงเหลียวแลหญิงอื่น พวกนางนักสนม ทั้งหลายจึงคอยจ้องหาโทษใส่.
ต่อมาวันหนึ่ง นางปัญจปาปีฝันเห็นเป็นนิมิตที่ตนจะได้เป็นอัครมเหสี พระเจ้าแผ่นดิน ๒ พระองค์ นางจึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระเจ้าพาราณสี จึงรับสั่งให้หาผู้มาทำนายฝันเข้ามาเฝ้าตรัสถามว่า ฝันเห็นอย่างนี้จะมีผลเป็น อย่างไร พวกทำนายฝันได้สินบนจากนางสนมอื่นๆ แล้วจึงทูลทำนายว่า ขอ พระราชทานโอกาส การที่พระราชเทวีทรงสุบินว่า ได้นั่งบนคอช้างเผือกนั้น เป็นบุรพนิมิตนำมรณะมาสู่พระองค์ ที่พระนางทรงสุบินว่า นั่งอยู่บนคอช้าง แล้วลูบคลำพระจันทร์เล่นนั้น เป็นบุรพนิมิตที่นำพระราชาข้าศึกมาสู่พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 593
ครั้น พระเจ้าพาราณสีทรงซักว่า ถ้าฉะนั้นจะควรทำอย่างไร จึงกราบทูลว่า ขอพระราชทานโอกาส ไม่ควรจะให้สำเร็จโทษพระนางเสีย ควรใส่เรือปล่อย ลอยไปตามแม่น้ำ พระเจ้าพาราณสี จึงให้นางปัญจปาปีลงในเรือพร้อมทั้งอาหาร และเครื่องอลังการ พอเวลาราตรีก็ปล่อยลอยไปในแม่น้ำ เรือนางปัญจปาปี ลอยไปตามน้ำ ก็ไปจนถึงหน้าฉาน พระเจ้าพาวรีย์ซึ่งทรงลงเล่นเรืออยู่ข้างใต้น้ำ เสนาบดีของพระเจ้าพาวรีย์แลเห็นเรือจึงร้องว่า เรือนั้นเป็นของเรา พระเจ้า พาวรีย์ตรัสว่าของในเรือเป็นของเรา พอเรือมาถึงเข้าได้ทอดพระเนตรเห็นนาง ปัญจปาปี จึงตรัสถามว่า นางนี่ชื่อไร รูปร่างคล้ายปีศาจ. นางปัญจปาปี ยิ้มแล้ว ทูลความว่า ตนเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าพกะ และทูลเล่าเหตุทั้งปวง ให้ทรงทราบ ก็นางปัญจปาปีนั้นมีชื่อเสียงปรากฏตลอดชมพูทวีป พระเจ้า พาวรีย์ จึงทรงจับมือจูงขึ้นจากเรือ พอจับเข้าก็เกิดกำหนัดยินดีในสัมผัสจน ไม่รู้สึกว่า หญิงอื่นมี จึงทรงตั้งนางปัญจปาปีไว้ในที่อัครมเหสี นางก็เป็น ที่รักเสมอพระชนมชีพ พระเจ้าพกะทรงทราบข่าวก็ทรงดำริว่า เราจักไม่ยอม ให้พระเจ้าพาวรีย์ตั้งนางปัญจปาปีเป็นอัครมเหสี จึงรวบรวมเสนาเสด็จเป็น กระบวนทัพไปตั้งพักอยู่ที่ท่าน้ำ แล้วส่งราชสาส์นไปว่า ให้พระเจ้าพาวรีย์คืน ภริยาให้หรือจะรบกันก็ตามที พระเจ้าพาวรีย์จึงตอบไปว่า เรายอมรบไม่ยอม ให้ภริยา แล้วทรงตระเตรียมการรบ พวกอำมาตย์ทั้งสองฝ่ายจึงปรึกษากันว่า ที่จะพากันมาตายเพราะเหตุแห่งมาตุคามนั้นไม่สมควรเลย นางปัญจปาปี ควร ได้แก่พระเจ้าพกะ เพราะได้เคยเป็นสามีมาก่อน แต่ก็ควรได้แก่พระเจ้าพาวรีย์ เพราะทรงเก็บได้ในเรือ ต่างก็กราบทูลพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองให้ทรงสัญญา พระราชาทั้งสองพระองค์ก็ตกลงพระหฤทัยสั่งให้สร้างพระนครขึ้นฝั่งนครแล้ว เสด็จประทับอยู่ นางปัญจปาปีทำหน้าที่เป็นอัครมเหสีของสองพระราชา คืออยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 594
ประจำฝ่ายละ ๗ วัน เมื่อนางลงไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง นางได้ทำลามกกับชาว ประมงค่อมคนหนึ่งซึ่งเป็นคนขับเรือในกลางแม่น้ำ.
คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพกะ เพราะเหตุนั้น เมื่อ จะนำเรื่องที่ตนได้ทราบมาแล้วมาแสดง จึงกล่าวว่า
พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์หมกมุ่นอยู่ใน กามเกินส่วนแล้ว ภริยาของท่านยังประพฤติล่วงกับ คนใช้ใกล้ชิดและอยู่ในอำนาจอีก มีหรือที่หญิงจะไม่ ประพฤติล่วงคนอื่นนอกจากคนนั้นอีก.
คำว่า หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วนแล้ว อธิบายว่า หมกมุ่นอยู่ ในกามเกินประมาณอยู่แล้ว. คำว่า ประพฤติล่วง หมายถึงประพฤติอนาจาร. คำว่า ใกล้ชิดและอยู่ในอำนาจ อธิบายว่า ประพฤติล่วงในสำนักแห่งชาย ผู้กระทำการรับใช้ของตนซึ่งอยู่ใกล้ชิดและเป็นไปในอำนาจของตน มีคำกล่าว อธิบายว่า ได้กระทำกรรมอันชั่วร้ายกับคนใช้นั้น. คำว่า คนอื่นนอกจาก คนนั้น อธิบายว่า ไฉนเล่าหญิงจะไม่ประพฤติล่วงกับชายอื่นนอกจากชาย คนนั้นอีก.
ยังมีเรื่องอื่นอีก ในอดีตกาล อัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัตมีนามว่า ปิงคิยานี เปิดสีหบัญชรแลดูไปเห็นคนเลี้ยงม้ามงคล ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ครั้นเมื่อ พระเจ้าพรหมทัตบรรทมหลับ ก็ลอบลงทางหน้าต่าง ประพฤติล่วงกับคน เลี้ยงม้าแล้วกลับขึ้นปราสาท ประพรมสรีระด้วยของหอมแล้ว ก็เข้าไปนอน กับพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาพระเจ้าพรหมทัดทรงดำริว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เวลาเที่ยงคืนสรีระของพระเทวีจึงเย็นเสมอ เห็นที่จะต้องสะกดรอยดู วันหนึ่ง ทรงแสร้งทำอาการเหมือนหลับ พอนางลุกไปพระองค์ก็เสด็จตามไปข้างหลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 595
ทอดพระเนตรเห็นนางประพฤติล่วงกับคนเลี้ยงม้า แล้วก็เสด็จกลับขึ้นสู่ที่ บรรทม ส่วนปิงคิยานีประพฤติล่วงแล้วก็กลับมานอนอยู่ที่นอนน้อย รุ่งเช้า พระเจ้าพรหมทัตให้หานางปิงคิยานีมาแล้ว ทรงชี้โทษให้เห็นแจ้งแล้วตรัสว่า หญิงทั้งปวง ย่อมมีธรรมดาลามกดังนี้แล้ว พระองค์ทรงงดโทษฆ่า จองจำ ตัด ทำลายให้เป็นแต่ถอดออกจากตำแหน่งแล้ว ทรงตั้งหญิงอื่นเป็นพระอัครมเหสี ต่อไป.
คราวนั้น พญานกกุณาละเกิดเป็นพระเจ้าพรหมทัต เพราะเหตุนั้น เมื่อจะแสดงถึงเหตุที่ตนเห็นมาเอง จึงกล่าวว่า
นางปิงคิยานีภรรยาที่รักของพระเจ้าพรหมทัต ผู้ เป็นใหญ่แห่งปวงสัตวโลก ได้ประพฤติล่วงแก่คน เลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจแล้ว นางผู้ใคร่ ต่อกามนั้น ก็ไม่ได้ประสบกับความใคร่ทั้งสองราย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ วาปิ ความว่า นางประพฤตินอก ใจอย่างนี้ ก็ไม่ได้ประสบกับสิ่งทั้งสองคือ คนเลี้ยงม้านั้น หรือตำแหน่ง อัครมเหสีนั้น คือ ได้เป็นผู้พลาดแล้วทั้งสองอย่าง. บทว่า กามกามินี ความว่า ผู้ปรารถนากาม.
พญานกกุณาละกล่าวโทษหญิงทั้งหลายว่า มีธรรมอันลามกอย่างนี้ อย่างนี้ ดังกับเรื่องอดีตที่ได้พรรณนามาแล้ว เมื่อจะกล่าวโทษแห่งหญิงทั้งหลาย โดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าวว่า
บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิงทั้งหลายผู้ หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร หญิง เหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ ไม่รู้ จักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีความละอาย ล่วงเสีย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 596
ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามีแม้จะอยู่ ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์ แม้เสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร ลุ่มๆ ดอนๆ เหมือนเงาไม่ หัวใจของหญิงไหวไป ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้งหลายผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น ก็ใช้วาจาอ่อนหวานาชักนำบุรุษไปได้ เหมือน ชาวกัมโพชลวงม้าด้วยสาหร่าย ฉะนั้น เมื่อใด หญิง ทั้งหลายผู้มุ่งหวังไม่เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรถือเอาได้ เมื่อนั้น ย่อมละทิ้งบุรุษนั้นไป เหมือนคนข้ามฟากถึง ฝั่งโน้นแล้วละทิ้งแพไป ฉะนั้น หญิงทั้งหลายเปรียบ ด้วยเครื่องผูกรัด กินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ มีมายา กล้าแข็งเหมือนแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ย่อมคบบุรุษได้ ทั้งที่น่ารักทั้งที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือจอดไม่เลือกฝั่งนี้ และฝั่งโน่น ฉะนั้น หญิงทั้งหลายไม่ใช่ของบุรุษคน เดียวหรือสองคน ย่อมรับรองทั่วไปเหมือนร้านตลาด ผู้ใดสำคัญมั่นหมายหญิงเหล่านั้นว่า ของเรา ก็เท่ากับ ดักลมด้วยตาข่าย แม่น้ำ หนทาง ร้านเหล้า สภา และบ่อน้ำ ฉันใด หญิงในโลกก็ฉันนั้น เขตแดนของ หญิงเหล่านั้นไม่มี หญิงทั้งหลายเสมอด้วยไฟกินเปรียง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 597
เปรียบด้วยงูเห่า ย่อมเลือกคบแต่บุรุษที่มีทรัพย์ เหมือน โคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก ฉะนั้น ไฟกินเปรียง ๑ ช้างสาร ๑ งูเห่า ๑ พระราชาผู้ได้รับมูรธาภิเษก แล้ว ๑ หญิงทั้งปวง ๑ สิ่งทั้ง ๕ นี้ นรชนพึงคบด้วย ความระวังเป็นนิตย์ เพราะสิ่งทั้ง ๕ นี้ มีความแน่นอน ที่รู้ได้ยากแท้ หญิงที่งามเกินไป ๑ หญิงที่คนหมู่มาก รักใคร่ ๑ หญิงที่เหมือนมือขวา ๑ หญิงที่เป็นภรรยา คนอื่น ๑ หญิงที่คบหาด้วยเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ๑ หญิง จำพวกนี้ ไม่ควรคบ.
ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า หยาบช้า หมายความว่าร้าย กาจ. คำว่า หยาบช้า นี้ ท่านกล่าวหมายถึงหญิงที่มีความกำหนัดรักใคร่ แม้ใน โจรที่เขาผูกนำไปฆ่า ดุจในเรื่องกณเวรชาดกฉะนั้น. คำว่า ใจเบา อธิบายว่า เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น ก็มีใจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เรื่องหญิงใจเบานี้ บัณฑิตพึง แสดงด้วยเรื่องจุลลธนุคคหชาดก ส่วนความเป็นผู้ไม่รู้จักคุณคน ของพวก หญิงเหล่านี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องตักการิยชาดก ในเอกนิบาต. คำว่า ไม่ถูกผีสิง อธิบายว่า บุรุษที่ไม่ถูกเทวดาเข้าสิง หรือไม่ถูกยักษ์เข้าสิง หรือไม่ถูกภูตผีเข้าสิงไม่ควรเชื่อหญิงผู้มีวาทะว่าตนเป็นผู้มีศีลพรตเลย ส่วน บุรุษที่ถูกภูตเข้าสิงจึงควรเชื่อ. คำว่า สิ่งที่ทำแล้ว หมายถึงอุปการคุณที่คนอื่น ทำแล้วแก่ตน. คำว่า สิ่งที่ควรทำ หมายถึงกิจที่ตนควรทำ. คำว่า ไม่รู้ จักมารดา อธิบายว่า หญิงเหล่านั้นละทิ้งญาติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ย่อมไม่รู้จัก แม้มารดาเป็นต้น เพราะคอยติดตามบุรุษที่คนมีจิตรักใคร่ผู้เดียวเท่านั้น ดุจ มารดาของมหาปันถกุฎุมพี. คำว่า เป็นคนเลว ได้แก่ ไม่มียางอาย. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 598
ของตน หมายถึงใจของตัวเอง. คำว่า เมื่อมีอันตราย หมายถึงอันตราย ทุกชนิด. คำว่า กิจ หมายถึงหน้าที่ที่ควรกระทำนั้นๆ. คำว่า ลุ่มๆ ดอนๆ คือ ขึ้นๆ ลงๆ เหมือนอย่างว่าเงาไม้ในประเทศที่มีพื้นที่ไม่เสมอกัน ย่อมลง ไปสู่ที่ลุ่มบ้าง ขึ้นไปสู่ที่คอนบ้าง ฉันใด แม้ใจของหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมไม่เลือกว่าใครๆ ทั้งสูงสุดและต่ำสุด. คำว่า ไหวไปไหวมา คือไม่ ตั้งอยู่ในที่เดียว. คำว่า ล้อรถ อธิบายว่า ใจของหญิงย่อมหมุนไปเหมือน กงล้อที่หมุนไปตามเกวียนฉะนั้น. คำว่า ที่ควรจะถือเอาได้ หมายถึงทรัพย์ อันเป็นวัตถุที่ตนควรจะถือเอาได้. คำว่า ทรัพย์ หมายถึงทรัพย์ทุกชนิด. คำว่า ชักพาไป คือ นำพาไปสู่อำนาจของตน.
คำว่า ด้วยสาหร่าย หมายถึงสาหร่ายที่เกิดในน้ำ ได้ยินว่า เมื่อชาวกัมโพชทั้งหลายปรารถนาจะจับม้าจากป่า จึงกั้นคอกลงในที่แห่งหนึ่ง ตกแต่งประตูแล้วเอาน้ำผึ้งทาสาหร่ายที่ลอยอยู่บนน้ำ ที่พวกม้าป่าเคยกิน แล้ว ทอดหญ้าบนฝั่งให้ต่อเนื่องกับสาหร่ายต่อๆ ไปจนถึงประตูคอกทา น้ำผึ้งตลอดมา พวกม้าป่าลงไปดื่มน้ำแล้วเที่ยวกินหญ้าทาน้ำผึ้ง ด้วยคิด ใจในรส ก็ย่อมเข้าไปสู่ที่นั้นโดยลำดับ. พวกชาวกัมโพชเหล่านั้น ล่อม้าด้วยสาหร่ายนำไปสู่อำนาจได้ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้เห็นทรัพย์ แล้วย่อมชักนำบุรุษไปสู่อำนาจ ด้วยถ้อยคำอันละเอียดอ่อนหวานเพราะ ต้องการจะเอาทรัพย์นั้นด้วยประการฉะนี้. คำว่า แพ หมายถึงสิ่งที่ ผูกมัดกันเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ยึดถือเอาเมื่อต้องการจะข้ามฟาก. คำว่า อุปมาเหมือนเครื่องผูกมัด อธิบายว่า เช่นกับเครื่องผูกรัด เพราะผูกใจ บุรุษทั้งหลายไว้. คำว่า มีมายากล้าแข็ง คือมีมายาหลักแหลม มีมายาเร็ว. คำว่า เหมือนแม่น้ำ อธิบายว่า หญิงทั้งหลายมีมายาเร็วพลัน เหมือนแน่น้ำ ซึ่งมีน้ำตกลงมาจากภูเขา ย่อมมีกระแสน้ำเชี่ยว ฉะนั้น. คำว่า เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 599
ร้านตลาด อธิบายว่า ร้านตลาดที่เขาวางของขาย ย่อมมีอุปการะแก่ทรัพย์ ที่มีมูลค่าเหล่านั้น ฉันใด แม้พวกหญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน. คำว่า ผู้ใด อธิบายว่า บุรุษผู้ใดสำคัญว่าหญิงเหล่านั้นเป็นของตน. คำว่า ดัก อธิบายว่า บุรุษนั้นพึงดักลมด้วยตาข่าย. คำว่า ฝั่งฝาของเขาไม่มีเลย อธิบายว่า สถานที่มีแม่น้ำเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมไม่มีความขีดคั้นว่า จะพึงไปได้ในที่นี้ ใน เวลาโน้นเท่านั้น บุคคลพึงเข้าไปได้ในขณะที่ตนปรารถนาแล้วๆ ทั้งกลางคืน ทั้งกลางวันไม่มีกำหนดว่า คนชื่อโน้นเท่านั้นจึงจะเข้าไปได้ ผู้มีความประสงค์ จะเข้าไป ก็ย่อมเข้าไปได้ทุกคนฉันใด แม้ความขีดคั้นของพวกหญิงเหล่านั้น ก็ย่อมไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน.
คำว่า เสมอด้วยไฟอันกินเปรียง อธิบายว่า ไฟย่อมไม่อิ่ม ด้วยเธอ ฉันใด แม้หญิงเหล่านี้ ก็ย่อมไม่อิ่มด้วยความยินดีในกิเลส ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า อุปมาเหมือนหัวงูเห่า อธิบายว่า หญิง ทั้งหลายเช่นกับหัวงูเห่า ด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ ผูกโกรธไว้ ๑ มีลิ้นชั่ว ๑ มักจะประทุษร้ายมิตร ๑ บรรดาเหตุ ทั้ง ๕ อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีพิษร้ายเพราะมีความกำหนัดมาก มี ลิ้นชั่ว เพราะกล่าวคำส่อเสียดประทุษร้ายมิตร เพราะมักประพฤตินอกใจสามี. คำว่า เหมือนโคที่เลือกกินหญ้าในภายนอก อธิบายว่า โคทั้งหลายละทิ้ง สถานที่ซึ่งตนเคยหากินแล้ว เลือกกินแต่หญ้าที่อร่อยๆ ที่ตนชอบใจในภายนอก ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อมละทิ้งบุรุษที่หมดทรัพย์สิน แล้วคบ กับชายที่มีทรัพย์คนอื่นต่อไปอีก. คำว่า ได้มูรธาภิเษก หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน. คำว่า หญิง หมายถึงหญิงทั้งหมด. คำว่า นี้ หมายถึงชนทั้ง ๕ จำพวกเหล่านี้. คำว่า ด้วยความระวังเป็นนิตย์ อธิบายว่า นรชนพึงเป็น ผู้มีความระวังอยู่เป็นนิตย์ มีสติตั้งอยู่อย่างมั่นคง คือ เป็นผู้ไม่ประมาท. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 600
รู้ได้ยาก คือรู้ได้แสนจะลำบาก. คำว่า สภาพที่แน่นอน หมายถึงอัธยาศัย อธิบายว่า จริงอยู่ ไฟถึงจะบำเรออยู่นาน ถ้าเผลอก็ไหม้เอาได้ ช้างสารที่ คุ้นเคยกันมานานก็ยังฆ่าคนเลี้ยงได้ งูเห่าแม้เลี้ยงไว้จนเชื่อง ถ้าประมาทก็กัด คนเลี้ยงได้ พระราชาแม้จะทรงโปรดปราน ถ้าพลั้งก็ถึงชีวิต หญิงทั้งหลาย ก็เหมือนกัน ถึงจะคลุกคลีกันมาเป็นเวลาสักเพียงไร ถ้าเกิดไม่พอใจ ก็อาจจะ ฆ่าให้ถึงตายได้. คำว่า หญิงที่งามเกิน อธิบายว่า หญิงที่สวยงามเกินไป ผู้ชายไม่ควรคบหาด้วย. คำว่า หญิงที่คนหมู่มากรักใคร่ หมายถึงหญิง อันเป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของชายเป็นอันมาก ประหนึ่งหญิงงามเมือง ที่ คนพอใจตั้งครึ่งแคว้นกาสี ชายไม่ควรคบ. คำว่า หญิงที่เหมือนมือขวา หมายถึงหญิงที่สันทัดในการฟ้อนรำและการขับร้อง จริงอยู่ หญิงเช่นนั้นย่อม มีคนปรารถนามาก มีเพื่อนมาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบ. คำว่า หญิงที่ เห็นแก่ทรัพย์ อธิบายว่า หญิงใดคบชายเพราะเห็นแก่ทรัพย์อย่างเดียว หญิงนั้นแม้ไม่มีใครหวงแหน ชายก็ไม่ควรคบหา ด้วยว่าหญิงชนิดนั้น เมื่อ ไม่ได้ทรัพย์ย่อมเกรี้ยวกราด.
เมื่อพญานกกุณาละกล่าวอย่างนี้แล้ว มหาชนได้ฟังคาถาอันไพเราะ ของมหาสัตว์ ก็ให้สาธุการว่า น่าชมเชย ท่านกล่าวดีจริงๆ. แม้พญานก กุณาละนั้นได้กล่าวโทษของหญิงทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล้วก็นิ่งอยู่ พญาแร้งชื่อว่า อานนท์ ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนพญานกกุณาละ ผู้เป็นสหาย แม้ข้าพเจ้าก็จักขอกล่าวโทษของพวกหญิงตามกำลังความรู้ของ ข้าพเจ้าบ้าง ว่าแล้วก็ปรารภกถาแสดงโทษต่อไป.
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเรื่องราวที่พญาแร้งปรารภกถาแสดงโทษ ของหญิงนั้น จึงตรัสว่าได้ยินว่าในครั้งนั้น พญาแร้งชื่ออานนท์ รู้แจ้งซึ่งคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 601
เบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายของพญานกกุณาละแล้ว จึงได้ภาษิตคาถา เหล่านั้นในเวลานั้นว่า
ถ้าบุรุษจะพึงให้แผ่นดินอันเต็มด้วยทรัพย์นี้ แก่ หญิงที่ตนนับถือไซร้ หญิงนั้นได้โอกาสก็จะพึงดูหมิ่น บุรุษนั้น เราจึงไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพวกหญิง เผอเรอ เมื่อมีอันตรายและเมื่อกิจธุระเกิดขึ้น หญิง ย่อมละทิ้งผัวหนุ่มผู้หมั่นขยัน มีความประพฤติไม่ เหลาะแหละ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เรา จึงไม่วิสาสะกับหญิงทั้งหลาย บุรุษไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ปรารถนาเรา ไม่ควรวางใจว่า หญิงคนนี้ ร้องไห้กระซิกกระซี้เรา เพราะว่า หญิงทั้งหลายย่อม คบได้ทั้งบุรุษที่น่ารัก ทั้งบุรุษที่ไม่น่ารัก เหมือนเรือ จอดได้ทั้งฝั่งโน้นฝั่งนี้ ฉะนั้น ไม่ควรวิสาสะละใบไม้ ลาดที่เก่า ไม่ควรวิสาสะกะมิตรเก่าที่เป็นโจร ไม่ควร วิสาสะกะพระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา ไม่ควร วิสาสะกะหญิงแม้จะมีลูก ๑๐ คนแล้ว ไม่ควรวิสาสะ ในหญิงที่กระทำความยินดีให้ เป็นผู้ล่วงศีลไม่สำรวม ถึงแม้ภรรยาจะพึงเป็นผู้มีความรักแน่นแฟ้น ก็ไม่ควร วางใจ เพราะว่าหญิงทั้งหลายเสมอกับท่าน้ำ หญิง ทั้งหลายพึงฆ่าชายก็ได้ พึงตัดเองก็ได้ พึงใช้ให้ผู้อื่น ตัดก็ได้ พึงตัดคอแล้วดื่มเลือดกินก็ได้ อย่าพึงกระทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 602
ความสิเนหาในหญิงผู้มีความรักใคร่อันเลวทราม ผู้ไม่ สำรวม ผู้เปรียบเหมือนด้วยท่าน้ำ. คำเท็จของหญิงเหมือนคำจริง คำจริงของหญิง เหมือนคำเท็จ หญิงทั้งหลายย่อมเลือกคบแต่ชายที่มี ทรัพย์ ดังโคเลือกกินหญ้าที่ดีๆ ในภายนอก หญิง ทั้งหลายย่อมประเล้าประโลมชายด้วยการเดิน การ จ้องดู ยิ้มแย้ม นุ่งผ้าหลุดๆ ลุ่ยๆ และพูดเพราะ หญิงทั้งหลายเป็นโจรหัวใจแข็งดุร้าย เป็นนำตาลกรวด ย่อมไม่รู้อะไรๆ ว่าเป็นเครื่องล่อลวงในมนุษย์ ธรรมดา หญิงในโลกเป็นคนลามก ไม่มีเขตแดน กำหนัดนัก ทุกเมื่อและคะนองกินไม่เลือก เหมือนเปลวไฟไหม้ เชื้อทุกอย่าง บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็น ที่รักก็ไม่มี.
เพราะหญิงทั้งหลายย่อมคบบุรุษได้ทั้งที่รักทั้งที่ ไม่น่ารักเหมือนเรือจอดได้ทั้งฝั่งนี้และฝั่งโน้น.
บุรุษชื่อว่าเป็นที่รักของหญิงไม่มี ไม่เป็นที่รักก็ ไม่มี หญิงย่อมผูกพันชายเพราะต้องการทรัพย์ เหมือน เถาวัลย์พันไม้ หญิงทั้งหลายย่อมติดตามชายที่มีทรัพย์ ถึงจะเป็นคนเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค คนจัณฑาล สัปเหร่อ คนเทหยากเยื่อก็ช่าง หญิงทั้งหลายย่อม ละทิ้งชายผู้มีตระกูลแต่ไม่มีอะไร เหมือนซากศพ แต่ ติดตามชายเช่นนั้นได้ เพราะเหตุแห่งทรัพย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 603
ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า เบื้องต้นท่ามกลางและ เบื้องปลาย คือ พญาแร้งรู้แจ้งซึ่งเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายแห่งคาถา คำว่า ได้ช่อง คือได้โอกาส. คำว่า อยากได้เรา อธิบายว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะ กับหญิงทั้งหลายด้วยคิดว่า หญิงนี้อยากได้เรา. คำว่า ใบไม้ลาดที่เก่า อธิบาย ว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะกับใบไม้ลาดซึ่งเก่าที่เขาลาดไว้แล้ว เมื่อวานนี้ หรือใน วันก่อนๆ เมื่อยังมิได้ลองตบๆ ดูก่อน หรือยังมิได้พิจารณาแล้ว ไม่พึงใช้สอย ด้วยว่าสัตว์เลื้อยคลานพึงเข้าไปอาศัยอยู่ หรือว่าศัตรูพึงซุกศาสตราไว้ในเครื่อง ลาดนั้น. คำว่า เพื่อนเก่าที่เป็นโจร อธิบายว่า โจรซึ่งซุ่มอยู่ในที่ที่คอย ประทุษร้ายคนเดินทาง บุคคลไม่ควรวิสาสะว่าเป็นมิตรเก่าของเรา เพราะ ธรรมดาว่า โจรทั้งหลายย่อมฆ่าคนที่รู้จักตัวเสียทีเดียว. คำว่า เป็นเพื่อน ของเรา อธิบายว่า ด้วยว่า พระราชานั้นมักกริ้วโกรธได้อย่างรวดเร็ว เพราะ ฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรวิสาสะกับพระราชาว่า เป็นเพื่อนของเรา. คำว่า มีลูก สิบคน อธิบายว่า บุรุษไม่พึงวิสาสะด้วยคิดว่า หญิงนี้แก่แล้ว บัดนี้คงจะ ไม่ประพฤตินอกใจ จักรักษาตนดังนี้. คำว่า ทำความยินดี อธิบายว่า กระทำความยินดีแก่พวกชนพาล. คำว่า เป็นผู้ล่วงศีล คือเป็นผู้ก้าวล่วงศีล เสียแล้ว. คำว่า มีความรักอันฝังแน่น อธิบายว่า ถึงแม้ว่าหญิงจะมีความรัก ฝังแน่น แม้เป็นเช่นนั้นบุคคลก็ไม่พึงวิสาสะกับหญิงนั้น ถามว่า เพราะ เหตุไร? ตอบว่า เพราะหญิงทั้งหลายเสมอด้วยแม่น้ำ อธิบายว่า ธรรมดา หญิงย่อมเป็นของทั่วไป แก่ชายทั้งหมดเปรียบเหมือนท่าน้ำ. คำว่า พึงฆ่า อธิบายว่า หญิงทั้งหลายที่โกรธสามี หรือมีความรักใคร่ชายอื่น พึงกระทำ การฆ่าเป็นต้นนี้ทั้งหมด. คำว่า มีความรักใคร่อันเลวทราม คือมีอัธยาศัย อันเลว. คำว่า ความรักใคร่ อธิบายว่า อย่าได้ทำความสิเนหาในพวกหญิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 604
เห็นปานนี้. คำว่า เสมอด้วยท่าน้ำ คือเช่นกับท่าน้ำ ด้วยอรรถว่าทั่วไป แก่หมู่ชนทั้งหมด.
คำว่า เท็จ คือคำมุสาวาทของหญิงเหล่านั้น เช่นกับคำจริง ทีเดียว. คำว่า ด้วยการเดินเป็นต้น อธิบายว่า บัณฑิตพึงแสดงอุมมาทันตีชาดก ด้วยการจ้องดู และการเล้าโลม พึงแสดงเรื่องนฬินิกาชาดก ด้วย การนุ่งผ้าไม่มิดชิด พึงแสดงเรื่องของพระนันทเถระมีคำเป็นต้นว่า ข้าแต่บุตร แห่งเจ้า ขอท่านพึงรีบมาไวๆ เถิดดังนี้ ด้วยการพูดไพเราะ. คำว่า เป็นโจร คือหญิงทั้งหลายเป็นโจรด้วยนำทรัพย์ที่สามีหามาได้ให้พินาศไป. คำว่า หัวใจ แข็ง คือมีดวงใจอันแข็งกระด้าง. คำว่า ดุร้าย คือ มีใจคิดประทุษร้าย อธิบายว่า มักโกรธด้วยเหตุเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น. คำว่า บ่นเป็นน้ำตาลกรวด คือเป็นประดุจน้ำตาลกรวดด้วยการบ่นแต่ถ้อยคำที่หาประโยชน์ มิได้. คำว่า ลามก คือเป็นผู้หาความยั้งคิดมิได้ เป็นผู้เลวทราม. คำว่า ย้อมด้วยกิเลส อธิบายว่า เป็นผู้มีความกำหนัดในกาลทุกเมื่อ. คำว่า คะนอง คือเป็นผู้คะนองด้วยความคะนองกายเป็นต้น. คำว่า เหมือนเปลวไฟ อธิบายว่า เปลวไฟย่อมกินเธอทั้งหมดไม่เลือกฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็เหมือนกัน ย่อม กินทุกอย่างไม่เลือกฉันนั้น. คำว่า ย่อมคลุกคลี อธิบายว่า กระเสือกกระสน เคล้าคลึงพัวพัน. คำว่า เหมือนเถาวัลย์ อธิบายว่า เถาวัลย์ย่อมพันต้นไม้ ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้น ถึงจะเกาะชาย ชื่อว่าย่อมเกาะทรัพย์. คำว่า เป็นคน เลี้ยงช้าง อธิบายว่า บรรดาคนเลี้ยงช้างเป็นต้น คนเลี้ยงโคเรียกกันว่าโค บุรุษ. คำว่า สัปเหร่อ หมายถึงคนเผาศพ อธิบายว่า คนเฝ้าป่าช้า. คำว่า เทหยากเยื่อ ได้แก่บุคคลที่ทำความสะอาดในสถานที่อันสกปรก. คำว่า มีทรัพย์ อธิบายว่า บรรดาบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด หญิงย่อมคิดวามชายที่มีทรัพย์. คำว่า ไม่มีอะไร หมายถึงไม่มีทรัพย์. คำว่า เช่นว่า คือเช่นกับคนจัณฑาลที่กิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 605
เนื้อหมา หญิงทั้งหลายย่อมถึง คือย่อมคบบุรุษแม้ไม่มีคุณวิเศษด้วยทรัพย์นั้น เพราะฉะนั้น หญิงทั้งหลายจึงโดดติดตามชาย เพราะเหตุแห่งทรัพย์.
พญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์ ดำรงอยู่ในความรู้ของตนกล่าวโทษ แห่ง หญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้วก็นิ่งอยู่ นารทฤษีได้ฟังคำของพญาแร้งอานนท์นั้น แล้ว ก็ดำรงอยู่ในญาณของตน กล่าวโทษแห่งหญิงเหล่านั้น บ้าง.
พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงถึงเรื่องนารทฤษี กล่าวโทษแห่งหญิงจึง ตรัสว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นพราหมณ์ฤษีชื่อว่านารทะ รู้แจ้งชัดซึ่งเบื้องต้น ท่าม กลางและเบื้องปลายแห่งคาถาของพญาแร้ง ชื่อว่าอานนท์แล้ว จึงกล่าวคาถา เหล่านั้นในเวลานั้นว่า
ดูก่อนพญานกทิชัมบดี ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า กล่าว มหาสมุทร ๑ พราหมณ์ ๑ พระราชา ๑ หญิง ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้ย่อมไม่เต็มแม่น้ำสายใดสายหนึ่งอาศัยแผ่นดิน ไหลไปสู่มหาสมุทร แม่น้ำเหล่านั้นก็ยังมหาสมุทรให้ เต็มไม่ได้ เพราะฉะนั้น มหาสมุทรชื่อว่าไม่เต็ม เพราะ ยังพร่อง ส่วนพราหมณ์เรียนเวทอันมีการบอกเป็นที่ ๕ ได้แล้ว ยังปรารถนาการเรียนยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ ฉะนั้น พราหมณ์จึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง พระราชาทรงชนะแผ่นดินทั้งหมด อันบริบูรณ์ด้วย รัตนะนับไม่ถ้วน พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขา ครอบ ครองอยู่ ก็ยังปรารถนามหาสมุทรฝั่งโน้นอีก เพราะ ฉะนั้น พระราชาจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง หญิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 606
คนหนึ่งๆ มีสามีคนละ ๘ คน สามีล้วนเป็นคนแกล้วกล้า มีลำลังสามารถนำมาซึ่งกามรสทุกอย่าง หญิงยัง กระทำความพอใจในชายคนที่ ๙ อีก เพราะฉะนั้น หญิงจึงชื่อว่าไม่เต็ม เพราะยังพร่อง.
หญิงทุกคนกินทุกอย่างเหมือนเปลวไฟ พาไปได้ ทุกอย่างเหมือนแม่น้ำ เหมือนกิ่งไม้มีหนาม ย่อมละชาย ไปเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ชายใดพึงวางความตรัสทั้งหมด ในหญิง ชายนั้น เหมือนดักลมด้วยตาข่าย เหมือนตัก น่าใส่มหาสมุทรด้วยมีอย่างเดียว จะพึงได้ยินแต่เสียง มือของตน.
ภาวะของหญิงที่เป็นโจร รู้มาก หาความจริงได้ ยาก เป็นอาคารที่ใครๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยทางปลา ในน้ำ ฉะนั้น หญิงไม่มีความพอ อ่อนโยน พูดเพราะ เต็มได้ยากเสมอแม่น้ำ ทำให้ล่มจม บุคคลรู้ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล หญิงเป็นเหมือนน้ำวน มีมายา มา ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ทำให้ล่มจม. บุคคลรู้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เมื่อหญิงคบบุรุษใด เพราะความพอใจ หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ย่อมเผา บุรุษนั้น โดยพลัน เหมือนไฟป่าเผาสถานที่เกิดของตน ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 607
ในคาถาเหล่านั้น มีอรรถาธิบายว่า นารทฤษีเรียกพญานกกุณาละตัว ประเสริฐกว่าพวกนกว่า ทิชัมบดี. คำว่า ไหลซ่านเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อแสดงถึงภาชนะแห่งเหมืองที่ตั้งอยู่แล้ว. คำว่า เพราะยังพร่องอยู่ คือยัง พร่องอยู่ทีเดียว เพราะสมุทรนั้นเป็นที่ขังน้ำไว้มากมาย. คำว่า เรียนเวท หมาย ถึง ท่องพระเวทแล้ว. คำว่ามีการบอกเป็นคำรบที่ ๕ หมายถึงพระเวททั้ง ๔ หมวด มีอิติหาสเป็นที่ ๕. คำว่า พร่อง อธิบายว่า ด้วยว่าพราหมณ์นั้น ชื่อว่าย่อมไม่เต็มเปี่ยมด้วยพระเวทที่คนพึงศึกษา เพราะคนมีอัธยาศัยอันกว้าง ขวาง. คำว่า ประกอบด้วยรัตนะ คือประกอบบริบูรณ์ด้วยรัตนะต่างๆ. คำว่า พร่อง อธิบายว่า เพราะพระราชานั้นย่อมไม่เต็ม เพราะตนมีความ อยากมาก. คำว่า มี หมายความว่า มีผัว อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็นสิยาดังนี้ก็มี. คำว่า นำมาซึ่งรสในกามทั้งปวง คือ นำรสแห่งกามมาครบทุกอย่าง. คำว่า คนที่ ๙ นี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อจะแสดงภาวะที่ล่วงมาแล้ว ถึง ๘ คน แม้หญิง คนนั้น ก็ย่อมกระทำความพอใจแม้ในชายคนที่ ๑๐ คนที่ ๒๐ หรือในคนที่ยิ่ง ไปกว่านั้นได้. คำว่า พร่อง อธิบายว่า แม้หญิงคนนั้นก็ย่อมไม่เต็มเพราะ มีกามตัณหามาก. คำว่า เหมือนกิ่งไม่ที่มีหนาม คือเช่นกับด้วยกิ่งไม้ที่มี หนามในหนทางอันคับแคบ จริงอยู่ หนามนั้น ย่อมคล้องเกี่ยวมาได้ฉันใด แม้ หญิงเหล่านี้ก็ย่อมคล้องเกี่ยวเอาชายนาด้วยรูปเป็นต้นฉันนั้น อนึ่ง กิ่งไม้คำที่ อวัยวะมีมือเป็นต้น ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น เหมือนกัน แต่พอถูกตัวเท่านั้น ก็เกี่ยวเอาด้วยสัมผัสแห่งสรีระ ย่อมให้ถึง ความพินาศอย่างใหญ่หลวง. คำว่า ไป คือไปตามติดตามชายอื่น. คำว่า ดัก ได้แก่ จับ. คำว่า ตักน้ำ อธิบายว่า บุคคลลงสู่แม่น้ำเพื่อจะอาบน้ำแล้ว ตักน้ำในสมุทรทั้งสิ้นด้วยมือข้างเดียววักเอาๆ แล้วก็ทิ้งไป. คำว่า ของตน อธิบายว่า บุคคลเอามือข้างเดียวของคนประหารมือนั้น ก็ย่อมทำให้เกิดเสียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 608
คำว่า ความรักทั้งปวง อธิบายว่า บุรุษผู้ใดเมื่อหญิงบอกว่า ท่านคนเดียว เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพึงพอใจดังนี้เชื่อมั่นอยู่ว่า คำนี้เป็นความจริง อย่างนี้แล้ว พึงวางอัธยาศัยของตนทั้งหมดไว้ในหญิงทั้งหลาย บุรุษผู้นั้น ชื่อว่า การทำการดักลมเป็นต้นด้วยตาข่ายเป็นต้น. คำว่า ไป หมายถึงการว่ายไป ของพวกปลา. คำว่า ไม่มีพอ คือเว้นขาดจากคำว่าเพียงพอด้วยคำของคฤหัสถ์. คำว่า เต็มได้ยาก อธิบายว่า แม่น้ำใหญ่เต็มได้ยากด้วยน้ำฉันใด แม้หญิง ก็เต็มได้ยากด้วยความยินดีในกิเลสฉันนั้น เหมือนกัน. คำว่า นํ ในข้อความ ที่ว่า สีทนฺติ นํ วิทิตฺวาน นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า บุคคลรู้แล้วว่า หญิงทั้งหลายย่อมทำให้ล่มจมลงไปในอบายทั้ง ๔ ด้วยการแน่ะนำพูดจา. คำว่า เหมือนน้ำวน อธิบายว่า น้ำวนก็ดี มายาก็ดี ย่อมทำหัวใจของตนให้หลงใหล ให้เป็นไปในอำนาจของตนได้ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า ให้กำเริบ อธิบายว่า ทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ด้วยอรรถว่า ให้พินาศและ ด้วยอรรถว่าถือเอา. คำว่า ด้วยความพอใจ คือด้วยการอยู่ร่วมกันด้วยความ รักใคร่. คำว่า หรือเพราะอยากได้ทรัพย์ คือหรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์. คำว่า ที่เกิดของตน อธิบายว่า ไฟป่าไหม้ไปยังประเทศใดๆ ก็เผาประเทศ นั้นๆ ซึ่งเป็นที่เกิดของคนฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น คบกับบุรุษใดๆ ด้วยอำนาจกิเลส ก็ตามเผาบุรุษนั้นๆ คือไปถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง.
เมื่อนารทฤษีประกาศโทษของหญิงทั้งหลายอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็ประกาศโทษของหญิงเหล่านั้นให้วิเศษขึ้นไปอีก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงการที่พญานกกุณาละประกาศโทษของหญิง โดยพิเศษนั้น จึงตรัสว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นพญานกกุณาละรู้แจ้งแล้วซึ่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งคาถาของนารทพราหมณ์ จึงภาษิตคาถาทั้งหลายนี้ ในเวลานั้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 609
บัณฑิตพึงเจรจากับบุรุษผู้ถือดาบอย่างคมกล้า พึงเจรจากับปีศาจผู้ดุร้าย แม้จะพึงเข้าไปนั่งใกล้งู- พิษร้าย แต่ไม่ควรเจรจากับหญิงตัวต่อตัว เพราะว่า หญิงเป็นผู้ย่ำยีจิตของโลก ถืออาวุธ คือ การฟ้อนรำ ขับร้องและการเจรจา ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้ไม่ตั้งสติ ไว้ เหมือนหมู่รากษสที่เกาะเบียดเบียนพวกพ่อค้า ฉะนั้น หญิงไม่มีวินัย ไม่มีสังวร ยินดีในน้ำเมา และเนื้อสัตว์ ไม่สำรวม ผลาญทรัพย์ที่บุรุษหามาได้ โดยยากให้ฉิบหาย เหมือนปลาติมิงคละกลืนกินมังกร ในทะเลฉะนั้น หญิงมีกามคุณ ๕ อันน่ายินดีเป็นทำเล หากิน เป็นคนหยิ่ง จิตไม่เที่ยงตรง ไม่สำรวม ย่อม เข้าไปหาชายผู้ประมาทเหมือนแม่น้ำทั้งหลาย อันไหล ไปสู่มหาสมุทร ฉะนั้น หญิงได้ชื่อว่าฆ่าข่ายด้วยราคะ และโทสะ เข้าไปหาชายคนใด เพราะความพอใจ เพราะความกำหนัด หรือเพราะต้องการทรัพย์ ย่อม เผาชายเช่นนั้นเสีย เช่นดังเปลวไฟ หญิงรู้ว่าชายมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ย่อมเข้าไปหาชาย ยอมให้ทั้งทรัพย์และ ตนเอง ย่อมเกาะชายที่มีจิตถูกราคะย้อม เหมือนเถา ย่านทรายเกาะไม้สาละในป่า ฉะนั้น หญิงประดับ ร่างกายหน้าตาให้สวย เข้าไปหาชายด้วยความพอใจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 610
มีประการต่างๆ ทำยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ใช้มารยาตั้งร้อย เหมือนดังคนเล่นกลและอสุรินทราหู หญิงประดับ ประดาด้วยทอง แก้วมณี และมุกดาถึงจะมีคนสักการะ และรักษาไว้ในตระกูลสาม ก็ยังประพฤตินอกใจสามี ดังหญิงที่อยู่ในทรวงอกประพฤตินอกใจทานพ ฉะนั้น จริงอยู่ นรชนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แม้จะ มีเดช มีมหาชนสักการะบูชา ถ้าตกอยู่ในอำนาจของ หญิงแล้ว ย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ ฉะนั้น โจรผู้มีจิตโกรธคิดประทุษร้าย พึงกระทำแก่ โจรอื่น ซึ่งเป็นข้าศึกที่มาประจัญหน้า ส่วนผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ไม่มีอุเบกขา ย่อมเข้าถึงความ พินาศยิ่งกว่านั้นอีก หญิงถึงจะถูกชายฉุดกระชาก ลากผม และหยิกข่วนด้วยเล็บ คุกคามทุบตีด้วยเท้า ด้วยมือ และท่อนไม้ กลับวิ่งเข้ามาหา เหมือนหมู่ แมลงวันที่ซากศพฉะนั้น บุรุษผู้มีจักษุคือปัญญา ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสีย เหมือนกับ บ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ใน ราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้น ต้องกลับจากเทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือน พ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษผู้ตกอยู่ในอำนาจของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 611
หญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรม ของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดยไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาใน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรต และ อสุรกาย หญิงย่อมทำลายความเล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชาย นั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนางเทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะโดย ไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติ พรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาดพึงได้ นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วง ส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยากเลย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 612
ในคาถาเหล่านั้นมีอรรถาธิบายว่า คำว่า พึงเจรจา อธิบายว่า บัณฑิต พึงเจรจาแม้กับบุรุษผู้ยืนถือดาบกล่าวว่า ถ้าท่านเจรจากับเรา เราจักตัดศีรษะ ท่านเสียดังนี้ อนึ่ง บัณฑิตพึงเจรจากับปีศาจที่กำลังโกรธจัดยืนกล่าวอยู่ว่า เรา จักกินท่านเสียในขณะที่ท่านพูดทีเดียว จักทำให้ท่านถึงความพินาศแห่งชีวิต อนึ่ง พึงเข้าไปนั่งใกล้งูที่มีเดชสูงซึ่งกล่าวว่า เราจักกัดท่านผู้เข้ามาใกล้แล้วทำ ให้พินาศ แต่เมื่ออยู่คนเดียวแล้ว อย่าได้เจรจากับหญิงในที่ลับสองต่อสอง เป็นอันขาด. คำว่า เป็นผู้ย่ำยีจิตของสัตวโลก อธิบายว่า หญิงทั้งหลาย เป็นผู้เหยียบย่ำจิตของสัตวโลก คือบีบคั้นจิตของชาวโลก. คำว่า เหมือน หมู่นางรากษส อธิบายว่า หมู่นางรากษสอาศัยอยู่ที่เกาะกลางสมุทรนิมิตเพศ เป็นหญิงมนุษย์ มาล่อลวงพวกพ่อค้าพาไปไว้ในอำนาจของตนแล้วเคี้ยวกินเสีย ฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้น กระทำสัตวโลกไว้ในอำนาจขอนตนด้วยกามคุณ ทั้ง ๕ มีรูปเป็นต้น แล้วให้ถือความพินาศอย่างใหญ่หลวง. คำว่า วินัย หมายถึงความประพฤติ. คำว่า สังวร หมายถึงมรรยาท. คำว่า หามาได้ อธิบายว่า หญิงทั้งหลายย่อมกลืนกิน คือ ย่อมทำทรัพย์ที่สามีหามาได้ด้วย ความเหนื่อยยากให้พินาศไป. คำว่า ไม่เที่ยงตรง คือมีจิตไม่แน่นอน. คำว่า ไหลไปสู่สมุทร คือไหลไปสู่น้ำเค็มได้แก่สมุทรนั่นเอง. คำว่า แม่น้ำ หมายถึงแม่น้ำทุกสาย. อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีเป็น นทิโย เลยดังนี้ก็มี อธิบาย ว่า แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลลงสู่สมุทรฉันใด หญิงทั้งหลายย่อมซ่านไปหาชาย ผู้ประมาท. ด้วยความประมาทฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า ความพอใจ หมายถึง ความรัก. คำว่า ความกำหนัด หมายถึงความยินดีในกามคุณทั้ง ๕. คำว่า เห็นแก่ทรัพย์ หมายถึงว่า หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์. คำว่า ดังเปลวไฟ อธิบายว่า ประดุจไฟที่ลุกโพลงแล้ว เพราะความถึงพร้อมแห่งโทษ. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 613
ฆ่าชายด้วยราคะ โทสะ อธิบายว่า เป็นผู้ฆ่าด้วยกามราคะ และโทสะ อีกอย่างหนึ่ง บาลีเป็น ราคโทสคติโย ดังนี้ก็มี. คำว่า ย่อมซ่านไปหา อธิบายว่า เข้าไปผูกพันชายนั้น ด้วยถ้อยคำอันไพเราะ. คำว่า มีทรัพย์มาก หมายถึงมีเงินมีทองมาก. บาลีเป็น สธนา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า แม้ให้ทรัพย์ ของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็ยังซ่านไปหาเพื่อต้องการผ้าและเครื่องประดับ. คำว่า พร้อมทั้งตน อธิบายว่า ย่อมเป็นเหมือนเสียสละตัวของตัวด้วยตัวเอง แก่ชายนั้นผู้เดียว. คำว่า เกาะแน่น อธิบายว่า พัวพันบีบคั้นอย่างเหลือเกิน เพื่อต้องการเอาทรัพย์. คำว่า ด้วยความพอใจมีประการต่างๆ คือด้วย อาการหลายอย่าง. คำว่า ประดับร่างกายหน้าตาให้วิจิตร คือ มีร่างกาย อันงดงาม และมีหน้างดงามด้วยสามารถแห่งเครื่องประดับ.
คำว่า ยิ้มใหญ่ ได้แก่ หัวเราะด้วยเสียงดัง. คำว่า ยิ้มน้อย คือหัวเราะ ด้วยเสียงค่อย. คำว่า ดังคนเล่นกลและอสุรินทราหู หมายถึงบุรุษผู้กระทำ การล่อลวงและท้าวอสุรินท์. คำว่า เหมือนหญิงที่อยู่ในทรวงอกประพฤติ ล่วงทานพ อธิบายว่า มีเรื่องกล่าวไว้ในกรัณฑชาดกว่า ทานพตนหนึ่งให้ ภรรยานั่งในผอบแล้วกลืนเข้าไว้ในท้อง วันหนึ่งไปคายผอบออกชมเชยกันแล้ว ลงอาบน้ำในสระ วิชาธรตนหนึ่งเหาะมาเห็นภรรยาทานพก็ลงไปทำชู้ด้วย พอ ทานพขึ้นจากน้ำ นางก็เอาวิชาธรอมไว้เสีย ทานพก็เอาภรรยาซึ่งอมชู้ใส่ไว้ใน ผอบอมไปอีก พระอรรถกถาจารย์แสดงว่า หญิงที่อยู่ในทรวงอกแม้ถูกกลืน เก็บไว้ในท้องยังทิ้งทานพเสีย ประพฤติล่วงกับวิชาธรตนอื่น ดังในเรื่อง กรัณฑชาดก มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านไปไหนกันมาตั้ง ๓ คน เล่าหนอดังนี้ หญิงทั้งหลายย่อมประพฤตินอกใจอย่างนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึง หญิงเหล่านี้ ที่มิได้มีใครดูแลรักษา. คำว่า ไม่รุ่งเรือง อธิบายว่า ย่อมไม่ รุ่งโรจน์ เหมือนพระเจ้าหาริต พระเจ้าโสมกัสสปะ และพระเจ้ากุสราช ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 614
คำว่า ยิ่งกว่านั้น อธิบายว่า ย่อมถึงความพินาศยิ่งกว่าความพินาศที่ศัตรู การทำไปนั้นอีก. คำว่า ไม่มีอุเบกขา หมายถึงยังมีความอยาก. คำว่า ฉุดกระชากลากผมหยิกข่วนด้วยเล็บ อธิบายว่า มีผมอันถูกฉุดกระชาก มีตัวถูกข่วนด้วยเล็บถูกคุกคามแล้ว. คำว่า ทุบตี อธิบายว่า และถูกทุบตี ด้วยอวัยวะมีเท้าเป็นต้น ชายใดย่อมการทำอาการแปลกๆ เหล่านี้ ด้วยอำนาจ กลีโทษ หญิงทั้งหลายย่อมเข้าไปหาชายผู้เลวทรามเช่นนั้นแล้วอภิรมย์ด้วย. ถามว่า นางย่อมประคับประคองชายที่มีอาการวิปริตเหล่านั้น ย่อมไม่รื่นรมย์ ชายที่มีความประพฤติเรียบร้อย เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะหมู่แมลงวัน ย่อมชอบศพ. คำว่า หมู่แมลงวันที่ซากศพ อธิบายว่า ถ้าชายชั่วทำ เช่นนั้น หญิงย่อมอยู่ด้วย เหมือนแมลงวันชอบอยู่ในซากศพช้างเป็นต้น อันน่าเกลียดฉะนั้น.
คำว่า เป็นเหมือนบ่วง อธิบายว่า พึงเว้นหญิงพวกเหล่านี้ เสีย โดยที่แท้บุรุษผู้มีจักษุด้วยปัญญาจักษุ ผู้มีความต้องการด้วยความ สุขอันเป็นทิพย์ และความสุขอันเป็นของมนุษย์ สำคัญอยู่ว่าหญิงนั้น เป็นประดุจบ่วงแห่งเทพยดา ผู้เป็นเจ้าแห่งความรัก กล่าวคือ กิเลสมาร ในที่เหล่านี้พึงเว้นเสีย เหมือนเนื้อและนกเว้นบ่วงและตาข่ายที่พวกนายพราน ดักไว้เพื่อจะจับฉะนั้น. คำว่า สละเสีย คือ ทิ้งเสียซึ่งคุณคือตบะอันสามารถ ได้ซึ่งสมบัติอันยิ่งใหญ่ในสวรรค์และมนุษย์. คำว่า ผู้ใด อธิบายว่า บุรุษ ผู้ใดมาประพฤติซึ่งจริตกล่าวคือความยินดีในกามคุณ ในกามคุณทั้งหลายอัน ไม่ประเสริฐไม่บริสุทธิ์. คำว่า จักเคลื่อนจากเทวดาไปคลุกเคล้าอยู่กับ นรก อธิบายว่า บุรุษผู้นั้นจักกลับจากเทวโลกแล้วมาถือเอากำเนิดในนรก. คำว่า เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อน้ำอันแตก อธิบายว่า พ่อค้าโง่ให้สิ่งของ มีราคามาก แลกเอาหม้อน้ำที่แตกไปฉันใด บุรุษนี้เป็นเหมือนอย่างนั้นแล. คำว่า บุรุษนั้น หมายถึงบุรุษผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย. คำว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 615
โดยไม่แน่นอน คือไม่แน่นอนก็จักไหม้อยู่ในอบายทั้งหลาย ตลอดกาลมี ประมาณเพียงเท่านี้. คำว่า พลั้งๆ พลาดๆ อธิบายว่า พลาดจากเทวโลก หรือมนุษยโลกแล้ว ย่อมไปสู่อบายอย่างเดียว ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร? ตอบว่า เปรียบเหมือนรถที่ลาโกงพาไปผิดทางฉะนั้น อธิบายว่า รถที่เทียม ด้วยลาโกง ย่อมแวะออกจากทางไปนอกทางฉันใด บุรุษผู้ลุอำนาจแห่งหญิง ก็ฉันนั้น. คำว่า มีป่าไม้งิ้วมีหนามแหลมเป็นหอกเหล็ก อธิบายว่า นรกนั้น มีป่าไม้งิ้วเป็นเหล็กประกอบด้วยหนามเหมือนหอก. คำว่า วิสัยเปรต อสุรกาย หมายเอาวิสัยแห่งเปรตและวิสัยแห่งกาลกัญชิกอสูร.
คำว่า ผู้ประมาท คือ ผู้เลินเล่อ จริงอยู่ ชายเหล่านั้นเป็น ผู้ประมาทแล้วในหญิงทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำคุณงามความดีอันเป็นมูลราก แห่งสมบัติเหล่านั้น หญิงเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่า ย่อมทำบุรุษผู้ประมาทแล้ว เหล่านั้น ให้พินาศไปด้วยประการฉะนี้. คำว่า ทำบุรุษผู้นั้นให้ตกไป อธิบายว่า หญิงเหล่านั้นย่อมยังบุรุษเห็นปานนั้นให้กระทำแต่อกุศลกรรม ด้วยสามารถแห่งความประมาท ชื่อว่าย่อทำบุรุษนั้นให้ตกไปยังทุคติ. คำว่า อยู่วิมานทอง คือมีปกติอยู่ในวิมานอันสำเร็จด้วยทองคำ. คำว่า ไม่ต้องการด้วยหญิง อธิบายว่า ชายเหล่าใดเป็นผู้ไม่มีความต้องการ ด้วยหญิงทั้งหลายแล้ว ย่อมประพฤติพรหมจรรย์. คำว่า ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ หมายถึงหนทางดำเนิน เพราะก้าวล่วงกามธาตุเสียได้. คำว่า รูป ธาตุสมภพ หมายถึงความมีพร้อมแห่งธาตุ กล่าวคือทางดำเนินที่ก้าวล่วง กามธาตุ ย่อมเป็นของหาได้ไม่ยาก แก่ชนเหล่านั้นเลย. คำว่า คติที่เข้าถึง ความปราศจากราคะ อธิบายว่า การบังเกิดในเทวโลกชั้นสุทธาวาสในวิสัย แห่งบุคคลผู้ปราศจากราคะแม้นั้น ก็เป็นของหาได้ไม่ยากแก่ชนเหล่านั้น. คำว่า ล่วงส่วน อธิบายว่า ไม่เป็นไปล่วงคือเป็นธรรมที่ไม่ถึงความพินาศ. คำว่า ไม่หวั่นไหว คือไม่กระทบกระเทือนด้วยกิเลสทั้งหลาย. คำว่า ดับแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 616
คือมีกิเลสอันดับแล้ว. คำว่า สะอาด คือพระนิพพานเห็นปานนี้ อันท่าน ผู้บริสุทธิ์สะอาดทั้งหลายจะพึงได้โดยไม่ยากเลย.
พระมหาสัตว์ ยังเทศนาให้จบลงจนถึงอมตมหานิพพานอย่างนี้แล้ว สัตว์ทั้งหลายเป็นต้นว่า กินนรและพระยานาคในป่าหิมพานต์และเทวดาที่อยู่ใน อากาศก็พากันให้สาธุการว่า น่าอัศจรรย์จริง พญานกกุณาละกล่าวอย่างลีลาของ พระพุทธเจ้าดีมาก.
พญาแร้งชื่อว่า อานนท์ พราหมณ์ฤาษีชื่อ นารทะ และพญานกปุณณมุขะดุเหว่า ก็พาบริวารของตนๆ ไปสู่ที่อยู่เดิม แม้พระมหาสัตว์ก็กลับไป ยังที่อยู่ของตนเช่นเดียวก้น ฝ่ายพวกที่กล่าวมาแล้วนอกนี้ ย่อมไปมาหาสู่กันเสมอ และตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ก็ย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประชุมชาดก จึงตรัสคาถาที่สุดว่า
พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาว เป็นพระอุทายี พญาแร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็นพุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล.
ฝ่ายพระภิกษุราชกุมารทั้งหลาย เวลาจะไปก็ไปด้วยอานุภาพของพระศาสดา แต่เวลามานั้น มาด้วยอานุภาพของตน คือ พระศาสดาทรงแสดง กัมมัฏฐานให้ภิกษุเหล่านั้นในป่ามหาวัน พระภิกษุเหล่านั้น ได้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง และได้มีเทวดาสมาคมใหญ่. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงมหาสมัยสูตร เมื่อจบลง เทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลมีพระโสดาบันเป็นต้น.
จบอรรถกถากุณาลชาดก