พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มหาสุตโสมชาดก ว่าด้วยพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ส.ค. 2564
หมายเลข  35188
อ่าน  1,285

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 617

๕. มหาสุตโสมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 62]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 617

๕. มหาสุตโสมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท

[๓๑๕] ดูก่อนพ่อครัว เพราะเหตุไรจึงทำกรรม อันร้ายกาจเช่นนี้ ท่านเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชาย ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งเนื้อหรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.

[๓๑๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่ง ตน ทรัพย์ ลูกเมีย สหายและญาติ แต่พระจอมภูมิบาล ผู้เป็นนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะเช่นนี้.

[๓๑๗] ถ้าท่านขวนขวายในกิจของเจ้านาย ทำ กรรมอันร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้าท่านเข้าไปถึงภายใน พระราชวังแล้ว พึงแถลงเหตุนั้น แก่เราเฉพาะ พระพักตร์พระราชา.

[๓๑๘] ข้าแต่ท่านกาฬหัตถี ข้าพเจ้าจักกระทำ ตามที่ท่านสั่ง เวลาเช้าข้าพเจ้าเข้าไปถึงภายในพระ ราชวังแล้ว จะแถลงเหตุนั้น แก่ท่านเฉพาะพระพักตร์ พระราชา.

[๓๑๙] ครั้นราตรีสว่างแล้ว พระอาทิตย์อุทัย กาฬหัตถีเสนาบดีได้พาคนทำเครื่องต้นเข้าเฝ้าพระราชา แล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้ทราบ ด้วยเกล้าว่า พระองค์ทรงใช้พนักงานวิเศษให้ฆ่าหญิง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 618

และชาย พระองค์เสวยเนื้อมนุษย์เป็นความจริงหรือ พระเจ้าข้า.

[๓๒๐] จริงอย่างนั้นแหละ ท่านกาฬหัตถี เรา ใช้พนักงานวิเศษ เมื่อเขาทำกิจเพื่อเรา ท่านบริภาษเขา ทำใน.

[๓๒๑] ปลาอานนท์ซึ่งติดอยู่ในรสของปลา ทุกชนิด กินปลาจนหมด เมื่อบริษัทหมดไป กิน ตัวเองตาย พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว ยินดีหนักใน รส ถ้ายังเป็นพาลไม่ทรงรู้สึกต่อไป จำจะต้องละทิ้ง พระโอรส พระมเหสี และพระประยูรญาติ กับเสวย พระองค์เอง เหมือนปลาอานนท์ฉะนั้น เพราะได้ ทรงสดับเรื่องนี้ ขอความพอพระทัยของพระองค์จง คลายไป ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ว่ามนุษย์ อย่า ได้โปรดเสวยเนื้อมนุษย์เลย อย่าได้ทรงทำแว่นแคว้น นี้ให้ว่างเปล่าเหมือนปลาฉะนั้นเลย.

[๓๒๒] กุฎุมพีนามว่าสุชาต โอรสผู้เกิดแต่ตน ของเขาไม่ได้ชื่นชมพู่ เขาตายเพราะชิ้นชมพู่สินไป ฉันใด ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เราก็ฉันนั้น ได้บริโภค อาหารอันมีรสสูงสุดแล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจัก ต้องละชีวิตเป็นแน่.

[๓๒๓] ดูก่อนมาณพ เจ้าเป็นผู้มีรูปงาม เกิด ในตระกูลพราหมณ์โสตถิยะ เจ้าไม่ควรกินสิ่งที่ไม่ ควรกินนะพ่อ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 619

[๓๒๔] บรรดารสทั้งหลาย ปานะนี้ก็เป็นรส อย่างหนึ่ง เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงห้ามผม ผมจักไป ในสถานที่ที่ผมจักได้รสเช่นนี้ ผมจักออกไปจักไม่อยู่ ในสำนักของคุณพ่อ เพราะผมเป็นผู้ที่คุณพ่อไม่ยินดี จะเห็นหน้า.

[๓๒๕] ดูก่อนมาณพ ข้าจักได้บุตรที่เป็นทายาท แม้เหล่าอื่นเป็นแน่ แน่ะเจ้าคนต่ำทราม เจ้าจงพินาศ เจ้าจงไปเสียในสถานที่ที่ข้าจะไม่พึงได้ยิน.

[๓๒๖] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ก็เหมือนกัน ขอเชิญสดับถ้อยคำของข้า. พระองค์ เขาจักเนรเทศพระองค์เสีย จากแว่นแคว้น เหมือนอย่างมาณพนักดื่มสุราฉะนั้น.

[๓๒๗] สาวกของพวกฤาษีผู้มีตนอันอบรมแล้ว นามว่าสุชาต เขาปรารถนานางอัปสรจนไม่กินไม่ดื่ม กามของมนุษย์ในสำนักถามอันเป็นทิพย์ เท่ากับเอา ปลายหญ้าคาจุ่มน้ำมาเทียบกับน้ำในมหาสมุทร ดูก่อน ท่านกาฬหัตถี เราได้บริโภคของกินที่มีรสอย่างสูงสุด แล้ว ไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจักต้องละทิ้งชีวิตไปฉะนั้น.

[๓๒๘] เปรียบเหมือนพวกหงส์ธตรฐสัญจรไป ทางอากาศ ถึงความตายทั้งหมดเพราะบริโภคอาหาร ที่ไม่ควร ฉันใด ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ก็ฉันนั้นแลโปรดทรงสดับถ้อยคำของข้า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 620

พระองค์ พระองค์เสวยมังสะที่ไม่ควร เหตุนั้นเขา จัดเนรเทศพระองค์.

[๓๒๙] ท่านอันเราห้ามว่าจงหยุด ก็เดินไม่ เหลียวหลัง ดูก่อนท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ท่าน ไม่ได้หยุด แต่กล่าวว่าหยุด ดูก่อนสมณะ นี้ควร แก่ท่านหรือ ท่านสำคัญดาบของเราว่า เป็นขนปีกนก ตะกรุมหรือ.

[๓๓๐] ดูก่อนพระราชา อาตมาเป็นผู้หยุดแล้ว ในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนนามและโคตร ส่วน โจรบัณฑิตกล่าวว่าไม่หยุดในโลก เคลื่อนจากโลกนี้ แล้วต้องเกิดในอบายหรือนรก ดูก่อนพระราชา ถ้า มหาบพิตรทรงเชื่ออาตมา มหาบพิตรจงจับพระเจ้า สุตโสมผู้เป็นกษัตริย์ มหาบพิตรทรงบูชายัญด้วย พระเจ้าสุตโสมนั้น จักเสด็จไปสวรรค์ ด้วยประการ อย่างนี้.

[๓๓๑] ชาติภูมิของท่านอยู่ถึงในแคว้นไหน ท่านมาถึงในพระนครนี้ด้วยประโยชน์อะไร ดูก่อน ท่านพราหมณ์ ขอท่านจงบอกประโยชน์นั้นแก่ข้าพเจ้า ท่านปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจะให้ตามที่ท่านปรารถนา ในวันนี้.

[๓๓๒] ข้าแต่พระจอมธรณี คาถา ๔ คาถา มี อรรถอันลึกประเสริฐนัก เปรียบด้วยสาคร หม่อมฉัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 621

มาในพระนครนี้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ขอพระองค์ โปรด ทรงสดับ คาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่าง ยอดเยี่ยมเถิด.

[๓๓๓] ชนเหล่าใดมีความรู้ มีปัญญา เป็น พหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มาก ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ ร้องไห้ การที่บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้บรรเทาความ เศร้าโศก ดูก่อนได้นี้แหละ เป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยมของ นรชน ดูก่อนท่านสุตโสม พระองค์ทรงเศร้าโศกถึง อะไร พระองค์เอง พระประยูรญาติ พระโอรส พระมเหสี ข้าวเปลือก ทรัพย์ หรือเงินทอง ดูก่อน ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด หม่อมฉันขอฟังพระดำรัส ของพระองค์.

[๓๓๔] หม่อมฉันมิได้เศร้าโศกถึงตน โอรส มเหสี ทรัพย์และแว่นแคว้น แต่ธรรมของสัตบุรุษที่ ประพฤติมาแต่เก่าก่อน หม่อมฉันผัดเพี้ยนไว้ต่อ พราหมณ์ หม่อมฉันเศร้าโศกถึงการผัดเพี้ยนนั้น หม่อมฉันดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ในแว่นแคว้นของ ตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์ (ถ้าพระองค์ ทรงปล่อยหม่อมฉัน ไป หม่อมฉันได้ฟังธรรมนั้นแล้ว) จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

[๓๓๕] คนมีความสุขหลุดพ้นจากปากของ มฤตยูแล้ว จะพึงกลับมาสู่เงื้อมมือของศัตรูอีก ข้อนี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 622

หม่อมฉันยังไม่เชื่อ ดูก่อนท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด พระองค์จะไม่เสด็จเข้าใกล้หม่อมฉันละซิ พระองค์ ทรงพ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท เสด็จไปถึงพระราช มณเฑียรของพระองค์แล้ว จะมัวทรงเพลิดเพลินกาม คุณารมณ์ ทรงได้พระชนมชีพอันเป็นที่รักแสนหวาน ที่ไหนจักเสด็จกลับมายังสำนักของหม่อมฉันเล่า.

[๓๓๖] ผู้มีศีลบริสุทธิ์พึงปรารถนาความตาย ผู้ มีธรรมลามก ที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาชีวิต นรชนใดพึงกล่าวเท็จ เพราะเหตุเพื่อประโยชน์แก่คน ใด เหตุเพื่อประโยชน์แก่ตนนั้น ย่อมไม่รักษานรชน นั้นจากทุคติได้เลย ถ้าแม้ลมจะพึงพัดเอาภูเขามาได้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงตกลงมา ณ แผ่นดิน ได้ และแม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสได้ถึงอย่าง นั้น หม่อมฉันก็ไม่พึงพูดเท็จเลยพระราชา.

[๓๓๗] ฟ้าพึงแตกได้ ทะเลพึงแห้งได้ แผ่นดิน อันทรงไว้ซึ่งภูติพึงพลิกได้ เมรุบรรพตจะพึงเพิกถอน ได้พร้อมทั้งราก ถึงอย่างนั้น หย่อมฉันก็จะไม่กล่าว เท็จเลย.

[๓๓๘] ดูก่อนพระสหาย หม่อมฉันจะจับดาบ และหอกจะทำแม้การสาบานแก่พระองค์ก็ได้ หม่อม ฉันอันพระองค์ทรงปล่อยแล้ว เป็นผู้ใช้หนี้หมดแล้ว จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 623

[๓๓๙] การผัดเพี้ยนอันใด อันพระองค์ทรง ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของพระองค์ ทรงทำไว้กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้นต่อพราหมณ์ ผู้ประเสริฐ พระองค์จงทรงรักษาความสัตย์เสด็จกลับ มา.

[๓๔๐] การผัดเพี้ยนอันใด อันหม่อมฉันผู้ดำรง อยู่ในความเป็นใหญ่ ในแว่นแคว้นของตน ได้ทำไว้ กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันจักรักษาความสัตย์กลับมา.

[๓๔๑] ก็พระเจ้าสุตโสมนั้น ทรงพ้นจาก เงื้อมมือของเจ้าโปริสาทแล้ว ได้เสด็จไปตรัสกะ พราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอฟัง สตารหาคาถาซึ่งได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ข้าพเจ้า.

[๓๔๒] ข้าแต่ท่านสุตโสม การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น ไว้ การสมาคมกับอสัตบุรุษ แม้มากครั้งก็รักษาไม่ได้ พึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับ สัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่ ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา ยังคร่ำคร่าได้ และแม่สรีระก็เข้าถึงชราโดยแต่ ส่วน ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 624

กับสัตบุรุษเท่านั้นรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่ง ข้างโน้นของมหาสมุทรเขากล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระ ราชา ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ไกลยิ่งกว่านั้น.

[๓๔๓] คาถาเหล่านี้ชื่อสาหัสสิยา ควรพัน มิใช่ ชื่อสตารหา ควรร้อย ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านรีบมา รับเอาทรัพย์สี่พันเถิด.

[๓๔๔] คาถาควรแปดสิบและควรเก้าสิบ แม้ ควรร้อยก็มี ดูก่อนพ่อสุตโสม พ่อจงรู้ด้วยตนเอง คาถาชื่อสาหัสสิยา ควรพันมีที่ไหน.

[๓๔๕] หม่อมฉันปรารถนาความเจริญทางศึกษา ของตน สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบพึงคบหาหม่อมฉัน ข้า แต่ทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่อิ่มด้วยสุภาษิต เหมือน ดังมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำฉะนั้น ข้าแต่พระราชา ผู้ประเสริฐสุด ไฟไหม้หญ้าและไม้ย่อมไม่อิ่ม และ สาครก็ไม่อิ่มด้วยแม่น้ำทั้งหลาย ฉันใด แม่บัณฑิต เหล่านั้นฉันนั้น ได้ฟังคำสุภาษิตแล้ว ย่อมไม่อิ่ม ด้วยสุภาษิต ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประชาชน เมื่อใดหม่อมฉันฟังคาถาทีมีประโยชน์ต่อทาสของตน เมื่อนั้น หม่อมฉันย่อมตั้งใจฟังคาถานั้นโดยเคารพ ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่มีความอิ่มในธรรม เลย.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 625

[๓๔๖] รัฐมณฑลของทูลกระหม่อมนี้ บริบูรณ์ ด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่างพร้อมทั้งทรัพย์ ยวดยาน และพระธำมรงค์ ทูลกระหม่อมทรงบริภาษหม่อมฉัน เพราะเหตุแห่งถามทำไม หม่อมฉันขอทูลลาไปใน สำนักโปริสาท ณ บัดนี้.

[๓๔๗] กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ และกองราบ ล้วนแต่เชี่ยวชาญการธนูพอที่จะรักษา ตัวได้ เราจะยกทัพไปจับศัตรูฆ่าเสีย.

[๓๔๘] โปริสาทได้ทำกิจที่ทำได้แสนยาก จับ หม่อมฉันได้ทั้งเป็นแล้วปล่อยมา หม่อมฉันระลึกถึง บุรพกิจเช่นนั้นอยู่ ข้าแต่พระทูลกระหม่อมจอมประชาชน หม่อมฉันจะประทุษร้ายต่อโปริสาทนั้นได้ อย่างไร.

[๓๔๙] พระเจ้าสุตโสมถวายบังคมพระราชบิดา และพระราชมารดาทรงอนุศาสน์พร่ำสอนชาวนิคม และพลนิกรแล้ว เป็นผู้ตรัสคำสัตย์ ทรงรักษาความ สัตย์ ได้เสด็จไปในสำนักของโปริสาท.

[๓๕๐] หม่อมฉันผู้ดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใน แว่นแคว้นของตน ได้ทำการผัดเพี้ยนไว้กับพราหมณ์ การผัดเพี้ยนนั้น ต่อพราหมณ์ผู้ประเสร็ฐ หม่อมฉัน เป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญท่านบูชายัญกินเราเถิด.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 626

[๓๕๑] การกินของหม่อมฉัน ย่อมไม่หายไปใน ภายหลัง จิตกาธารนี้ก็ยังมีควันอยู่ เนื้อที่สุกบนถ่าน อันไม่มีควัน ชื่อว่าสุกดีแล้ว หม่อมฉันจะขอฟังสตารหาคาถาเสียก่อน.

[๓๕๒] ดูก่อนท่านโปริสาท พระองค์เป็นผู้ทรง ประพฤติไม่ชอบธรรม ต้องพลัดพรากจากรัฐมณฑล เพราะเหตุแห่งท้อง ส่วนคาถานี้ย่อมกล่าวสรรเสริญ ธรรม ธรรมและอธรรมจะลงรอยกันได้ที่ไหน คนผู้ ประพฤติไม่ชอบธรรม หยาบช้า มีฝ้ามือชุ่มด้วยเลือด เป็นนิตย์ย่อมไม่มีสัจจะ ธรรมจักมีแต่ที่ไหน พระองค์ จักทรงทำประโยชน์อะไรด้วยการสดับเล่า.

[๓๕๓] ผู้ใดเที่ยวล่าเนื้อเพราะเหตุแห่งมังสะ หรือผู้ใดฆ่าคนเพราะเหตุแห่งตน แม้คนทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันในโลกเบื้องหน้า เพราะเหตุไรหนอพระ องค์จึงประณามเฉพาะหม่อมฉันว่า ประพฤติไม่ชอบ ธรรม.

[๓๕๔] เนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิด อันกษัตริย์ผู้รู้ขัตติยธรรมไม่ควรเสวย ดูก่อนพระราชา พระองค์เสวยเนื้อ มนุษย์ซึ่งเป็นเนื้อที่ไม่ควรเสวยเพราะฉะนั้น พระองค์ จึงชื่อว่าประพฤติไม่ชอบธรรม.

[๓๕๕] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 627

เพลิดเพลินในกามคุณารมฌ์ ยังเสด็จกลับมาสู่เงื้อมมือ ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์เป็นผู้ไม่ฉลาด ในขัตติยธรรมเลยนะ พระราชา.

[๓๕๖] ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในขัตติยธรรม ชนเหล่านั้นต้องตกนรกโดยมาก พระฉะนั้นหม่อม ฉันจึงละขัตติยธรรมเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา ดู- ก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉัน เถิด.

[๓๕๗] ปราสาทราชมณเฑียร แผ่นดิน โค ม้า หญิงที่น่ารักใคร่ ผ่าแคว้นกาสี และแก่นจันทน์ พระองค์ทรงได้ทุกสิ่งทุกอย่างในพระนครนั้น เพราะ พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเห็นอานิสงส์อะไร ด้วยความสัตย์.

[๓๕๘] รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็น รสที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะว่า สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติ และมรณะได้.

[๓๕๙] พระองค์พ้นจากเงื้อมมือของโปริสาท เสด็จไปถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์แล้ว ทรง เพลิดเพลินในกามคุณารมณ์ยังเสด็จกลับ มาสู่เงื้อมมือ ของหม่อมฉันผู้เป็นศัตรูอีก ข้าแต่พระจอมประชาชน พระองค์ไม่ทรงกลัวความตายแน่ละหรือ พระองค์ผู้ ตรัสคำสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแต่ละหรือ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 628

[๓๖๐] หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง ได้บูชายัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ ได้ชำระทาง ปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัว ตาย หม่อมฉันได้ทำกัลยาณธรรมหลายอย่าง ได้บูชา ยัญอันไพบูลย์ที่บัณฑิตสรรเสริญ หม่อมฉันไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ชำระทางปรโลก บริสุทธิ์แล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวตาย หม่อมฉัน ได้บำรุงพระชนกและพระชนนีแล้ว ได้ ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดร้อนที่จัก ไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์ บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉัน ได้กระทำอุปการกิจในพระประยูรญาติ และมิตร แล้วได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม ได้ ชำระทางปรโลกบริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่า จะกลัวตาย หม่อมฉันกระทำอุปการกิจในพระประยูร ญาติและมิตรแล้ว ได้ปกครองราชสมบัติโดยธรรม จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอันมาก แก่ชน เป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 629

ได้ชำระทางปรโลกให้บริสุทธิ์ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใคร เล่าจะกลัวตาย หม่อมฉันได้ให้ทานโดยอาการเป็นอัน มาก แก่ชนเป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์สมณพราหมณ์ ให้ อิ่มหนำสำราญ จึงไม่เดือดร้อนที่จักไปยังปรโลก ดู ก่อนโปริสาท เชิญพระองค์บูชายัญเสวยหม่อมฉันเถิด.

[๓๖๑] บุรุษรู้อยู่จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสรพิษที่มีฤทธิ์ร้ายแรง มีเดชกล้าได้หรือ ผู้ได้พึงกินคน ผู้กล่าวคำสัตย์เช่นพระองค์ ศีรษะของผู้นั้นพึงแตก ๗ เสี่ยง.

[๓๖๒] นรชนได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมรู้แจ้งบุญ และบาป ใจของหม่อมฉันจะยินดีในธรรม เพราะได้ ฟังคาถาบ้างกระมัง.

[๓๖๓] ดูก่อนมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษ แม้คราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้นั้นไว้ การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึง อยู่ร่วมกับสัตบุรุษ. พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่ ความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตา ยังคร่ำคร่าได้ และแม้สรีระก็เข้าถึงชราโดยแท้ ส่วน ธรรมของสัตบุรุษุ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษ เท่านั้น ย่อมรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้าง โน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกลกัน ธรรม

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 630

ของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น.

[๓๖๔] ดูก่อนพระสหายผู้จอมประชาชน คาถา เหล่านี้มีอรรถมีพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไพเราะ หม่อมฉันได้สดับแล้ว เพลิดเพลินปลื้มใจ ชื่นใจ อิ่มใจ หม่อมฉันขอถวายพร ๔ ประการแก่พระองค์.

[๓๖๕] ดูก่อนท่านผู้มีธรรมอันลามก พระองค์ ไม่รู้สึกความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกประโยชน์และ มิใช่ประโยชน์ นรกและสวรรค์ เป็นผู้คิดในรส ตั้งมั่น ในทุจริต จะให้พรอะไร หม่อมฉันพึงทูลพระองค์ว่า ขอให้ทรงประทานพร แม้พระองค์ประทานแล้ว จะ กลับไม่ประทานก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้ อันพระองค์จะพึงเห็นเอง ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิตวินิจฉัย ความทะเลาะวิวาทนี้.

[๓๖๖] คนเราให้พรใดแล้วจะกลับไม่ให้ ย่อม ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์จง ทรงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตหม่อมฉัน ก็จะสละ ถวายได้.

[๓๖๗] ศักดิ์ของพระอริยะย่อมเสมอกับศักดิ์ พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญาย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี ปัญญา หม่อมฉันพึงเห็นพระองค์เป็นผู้หาโรคมิได้ ตลอด ๑๐๐ ปี นี้เป็นพรข้อที่ ๑ หม่อมฉันปรารถนา.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 631

[๓๖๘] ศักดิ์ของพระอริยะ ย่อมเสมอกับศักดิ์ พระอริยะ ศักดิ์ของผู้มีปัญญา ย่อมเสมอกับศักดิ์ผู้มี ปัญญา พระองค์พึงเห็นหม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอด ๑๐๐ ปี นี้เป็นพรที่ ๑ หม่อมฉันขอถวาย.

[๓๖๙] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ พระองค์ อย่าได้เสวยพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ ๒ หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๐] พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นาม บัญญัติว่ามูรธาภิสิตเหล่าใด ในชมพูทวีปนี้ หม่อมฉัน จะไม่กินพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพรข้อที่ ๒ หม่อมฉันขอถวาย.

[๓๗๑] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่พระองค์ ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม ด้วยพระอัสสุชล ขอพระองค์ได้ทรงโปรดปล่อยกษัตริย์ เหล่านั้น ให้กลับไปในแคว้นของตนๆ นี้เป็นพรข้อ ที่ ๓ หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๒] กษัตริย์ร้อยเอ็ดพระองค์ ที่หม่อมฉัน ทรงจับร้อยพระหัตถ์ไว้ทรงกันแสง พระพักตร์ชุ่ม พระอัสสุชล หม่อมฉันจะปล่อยกษัตริย์เหล่านั้น ให้ กลับไปยังแว่นแคว้นของตนๆ นี้เป็นพรข้อที่ ๓ หม่อมฉันขอถวาย.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 632

[๓๗๓] รัฐมณฑลของพระองค์เป็นช่อง เพราะ นรชนเป็นอันมากหวาดเสียวเพราะความกลัว หนีเข้า หาที่ซ่อนเร้น ขอพระองค์โปรดทรงงดเว้นเนื้อมนุษย์ เถิดพระราชา นี้เป็นพรข้อที่ ๔ หม่อมฉันปรารถนา.

[๓๗๔] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน มานานแล้ว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้ หม่อมฉันจะพึงงดอาหารนี้ได้อย่างไร ขอพระองค์ ทรงเลือกพรข้อที่ ๔ อย่างอื่นเถิด.

[๓๗๕] ดูก่อนพระจอมประชาชน คนเช่น พระองค์มัวพะวงอยู่ว่า นี้เป็นที่รักของเรา ทำตนให้ เหินห่างจากความดี ย่อมไม่ได้ประสบสิ่งที่รักทั้งหลาย ตนแลประเสริฐที่สุด ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยม ด้วยว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้วจะพึงได้สิ่งที่รักในภายหลัง.

[๓๗๖] เนื้อมนุษย์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ดูก่อน พระเจ้าสุตโสม โปรดทรงทราบอย่างนี้ หม่อมฉันไม่ สามารถจะงดเว้นได้ เชิญพระองค์ทรงเลือกพรอย่างอื่น เถิด พระสหาย.

[๓๗๗] ผู้ใดแล มัวรักษาของรักว่า นี่เป็นของ รักของเรา ทำตนให้เหินห่างจากความดี เสพของรัก ทั้งหลายอยู่ เหมือนนักเลงสุราดื่มสุราเจือยาพิษฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับทุกข์ในโลกหน้า เพราะกรรมอันลามก นั้น ส่วนผู้ใดในโลกนี้ พิจารณาแล้วละของรักได้

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 633

เสพอริยธรรมทั้งหลายแม้ด้วยความยาก เหมือนคน เป็นไข้ดื่มยาฉะนั้น ผู้นั้นย่อมได้รับความสุขในโลกหน้า เพราะกัลยาณกรรมนั้น.

[๓๗๘] หม่อมฉันสู้ละทิ้งพระชนก และพระ ชนนี ตลอดทั้งเบญจกามคุณที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ เข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งเนื้อมนุษย์ หม่อมฉันจะถวาย พรข้อนั้นแก่พระองค์ได้อย่างไร.

[๓๗๙] บัณฑิตทั้งหลายไม่กล่าววาจาเป็นสอง สัตบุรุษทั้งหลายย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์โดยแท้ พระองค์ได้ตรัสกะหม่อมฉันว่า เชิญรับพรเถิดพระสหาย พระองค์ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่ พระองค์ตรัสย่อมไม่สมกัน.

[๓๘๐] หม่อมฉันเข้าถึงการได้บาป ความเสื่อม ยศ เสื่อมเกียรติ บาป ทุจริต ความเศร้าหมองเป็น อันมาก เพราะเนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึง ถวายพรนั้น แก่พระองค์ได้อย่างไร.

[๓๘๑] คนเราให้พรใดแล้ว จะกลับไม่ให้ ย่อม ไม่ควรให้พรนั้น ดูก่อนพระสหาย ขอพระองค์ทรงมั่น พระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็ยอมสละ ถวายได้.

[๓๘๒] การสละชีวิตได้นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมมีปฏิญาณเป็นสัจจะโดยแท้

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 634

พรที่พระองค์ได้ประทานไว้แล้ว ขอได้โปรดประทาน เสียโดยพลันเถิด ดูก่อนพระราชาผู้ประเสริฐสุด พระองค์จงทรงสมบูรณ์ด้วยธรรมข้อนั้นเถิด นรชนพึง สละทรัพย์เพราะเหตุแห่งอวัยวะอันประเสริฐ เมื่อจะ รักษาชีวิตไว้ พึงสละอวัยวะ เมื่อระลึกถึงธรรม พึง สละทั้งอวัยวะ ทั้งทรัพย์ และแม้ชีวิตทั้งหมด.

[๓๘๓] บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากผู้ใด และชน เหล่าใด เป็นสัตบุรุษกำจัดความสงสัยของบุรุษนั้นได้ ข้อนั้น เป็นที่พึงที่พำนักของบุรุษนั้น ผู้มีปัญญาไม่พึง ทำลายไมตรีจากบุคคลนั้น.

[๓๘๔] นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉัน มานานแล้ว หม่อมฉันข้าพเจ้าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้ ดูก่อนพระสหาย ถ้าหาก พระองค์ตรัสขอเรื่องนี้ กะหม่อมฉัน หม่อมฉันยอมถวายพรข้อนี้แด่พระองค์.

[๓๘๕] พระองค์เป็นศาสดาของหม่อมฉัน และ เป็นพระสหายของหม่อมฉันด้วย ดูก่อนพระสหาย หม่อมฉันได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แม้ พระองค์ก็ขอได้ทรงโปรดกระทำตามคำของหม่อมฉัน เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[๓๘๖] หม่อมฉัน เป็นศาสดาของพระองค์ และ เป็นพระสหายของพระองค์ด้วย ดูก่อนพระสหาย พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำของหม่อมฉัน แม้หม่อม

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 635

ฉันก็จะทำตามพระดำรัสของพระองค์ เราทั้งสองจะ ไปปลดปล่อยด้วยกัน.

[๓๘๗] พระองค์ทั้งหลาย ไม่พึงประทุษร้ายแก่ พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก เจ้ากัมมาสบาท ผู้มีเท้าด่างเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือ ร้องไห้หน้าชุ่มด้วยน้ำตา ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรง รับสัจจปฏิญาณต่อหม่อมฉัน.

[๓๘๘] หม่อมฉันทั้งหลายจะไม่ประทุษร้ายแก่ พระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถูก เจ้ากัมมาสบาทเบียดเบียน ถูกร้อยฝ่ามือร่องไห้หน้าชุ่ม ด้วยน้ำตา หม่อมฉันทั้งหลายขอรับสัจจปฏิญาณต่อ พระองค์.

[๓๘๙] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา พระองค์นี้ก็จงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของท่าน ทั้งหลาย และท่านทั้งหลายก็จงเป็นเหมือนโอรส ฉันนั้น.

[๓๙๐] บิดาหรือมารดาเป็นผู้มีความกรุณา ปรารถนาประโยชน์แก่บุตร ฉันใด แม่พระราชา พระองค์นี้ ขอจงเป็นเหมือนพระชนกชนนีของหม่อม ฉันทั้งหลาย แม่หม่อมฉันทั้งหลายก็จะเป็นเหมือน โอรส ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 636

[๓๙๑] พระองค์เคยเสวยกระยาหารอันโอชารส ล้วนแต่เนื้อสัตว์ ๔ เท้าและนก ที่พวกวิเศษปรุงให้ สำเร็จเป็นอย่างดี ดังท้าวสักกรินท์เทวราชเสวยสุธาโภชน์ฉะนั้น ไฉนจะทรงละไป ยินดีอยู่ในป่าแต่ พระองค์เดียวเล่า นางกษัตริย์เหล่านั้น ล้วนแต่เอวบาง ร่างเล็กสะโอดสะองประดับประดาแล้ว แวดล้อม บำเรอพระองค์ให้เบิกบานพระทัย ดังเทพอัปสร แวดล้อมพระอินทร์ในทิพยสถานฉะนั้น ไฉนจะทรง ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระแท่น บรรทมพนักแดง โดยมากปูลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ล้วน ลาดด้วยเครื่องลาดอันงดงาม ประดับด้วยเครื่อง อลังการอันวิจิตร พระองค์เคยทรงบรรทมสำราญ พระทัยบนท่ามกลางพระแท่นบรรทมเช่นนั้น ไฉนจะ ทรงละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า เวลา พลบค่ำมีการฟ้อนรำส่งสำเนียงเสียงตะโพนสำทับ ดนตรี รับประสานเสียงล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปน การขับและการประโคมก็ล้วนแต่ไพเราะ ไฉนจะทรง ละไปยินดีอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียวเล่า พระราช อุทยานนามว่า มิคชินวัน บริบูรณ์ด้วยบุบผชาติเป็น อันมาก พระนครของพระองค์ประกอบด้วยพระราช อุทยานเช่นนี้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจยิงนัก ทั้งสมบูรณ์ ด้วยม้า รถและคชสาร ไฉนจะทรงละไปยินดีอยู่ในป่า แต่พระองค์เดียวเล่า.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 637

[๓๙๒] ในกาฬปักษ์ พระจันทร์ย่อมเสื่อมลง ทุกวันๆ ฉันใด ดูก่อนพระราชา การคบอสัตบุรุษ ย่อมเปรียบเหมือนกาฬปักษ์ฉะนั้น หม่อมฉันก็เหมือน กัน อาศัยคนครัวเครื่องต้นเป็นคนชั่วเลวทราม ได้ทำ บาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ในศุกลปักษ์ พระจันทร์ย่อมเจริญขึ้น ทุกวันๆ ฉันใด การคบ สัตบุรุษย่อมเปรียบเหมือนศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่ พระเจ้าสุตโสม ขอจงทรงทราบว่า หม่อมฉันก็เหมือน กัน อาศัยพระองค์จักกระทำกุศลกรรมอันเป็นเหตุให้ ไปสู่สุคติ ข้าแต่พระจอมประชาชน น้ำฝนตกลงใน ที่ดอนย่อมไม่คงที่ ไม่ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้การ คบอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ย่อมไม่คงที่ เหมือนน้ำใน ที่ดอนฉันนั้น ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้เป็นนระ ผู้กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด น้ำฝนตกลงในสระย่อม ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม่การสมาคมกับสัตบุรุษของ หม่อมฉัน ก็ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้ำในสระ ฉันนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อม ย่อม เป็นอยู่อย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังตั้งอยู่ ส่วน การสมาคมกับอสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะเหตุนั้น ธรรมของสัตบุรุษย่อมไกลจากอสัตบุรุษ.

[๓๙๓] พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ผู้ใดเอาชนะเพื่อน

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 638

ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นเพื่อน ภรรยาใดย่อมไม่กลัวเกรง สามี ภรรยานั้นไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรเหล่าใดไม่ เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่แล้ว บุตรเหล่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็น บุตร ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ ชื่อว่าสภา ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม ชนเหล่านั้น ไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้วพูดเป็นธรรมนั้นแล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษบัณฑิต ผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูดใครๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็น บัณฑิต แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูดแสดงอมตธรรม ใครๆ จึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงกล่าว ธรรมให้กระจ่าง พึงยกธงของพวกฤๅษี ฤๅษีทั้งหลาย มีคำสุภาษิตเป็นธง ธรรมแลเป็นธงของฤๅษีทั้งหลาย.

จบมหาสุตโสมชาดกที่ ๕

จบอสีตินิบาต

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 639

อรรถกถามหาสุตโสมชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภ พระอังคุลิมาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า กสฺมา ตุวํ รสก อีทิสานิ ดังนี้.

การบังเกิดและการบรรพชาของพระอังคุลิมาลเถระนั้น บัณฑิตพึง ทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ท่านพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา อังคุลิมาลสูตร ในเรื่องนี้จะได้กล่าวความตั้งแต่พระอังคุลิมาลเถระนั้น ได้กระทำ ความสวัสดีแก่หญิงผู้มีครรภ์หลงด้วยทำความสัตย์แล้ว จำเดิมแต่นั้นมาก็ได้ อาหารสะดวกขึ้นเจริญวิเวกอยู่ ในกาลต่อมาก็ได้บรรลุพระอรหัน เป็นพระ อรหันต์มีชื่อปรากฏนับเข้าในภายในพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ในกาลนั้น ภิกษุ ทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ จริงๆ หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานพระองคุลิมาล ผู้เป็นมหาโจร มีฝ่ามืออันชุ่มด้วยเลือดร้ายกาจเห็นปานนั้น โดยไม่ต้องใช้ทัณฑะหรือศัสตรา ทำให้หมดพยศได้ ทรงกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยากอย่างน่าอัศจรรย์ พระศาสดาประทับ อยู่ในพระคันธกุฎี ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น ด้วยทิพโสดก็ทรง ทราบว่า เราไปวันนี้จักมีอุปการะมาก พระธรรมเทศนาจักเป็นไปอย่างใหญ่ หลวงดังนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จไปยังธรรมสภาด้วยพุทธลีลา อันหาที่เปรียบมิได้ ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐ ที่พวกภิกษุจัดไว้ถวาย แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 640

เราผู้ได้บรรลุปรมาภิสมโพธิญาณ ทรมานพระองคุลิมาลได้ในบัดนั้น ไม่น่า อัศจรรย์เลย เมื่อครั้งเรายังบำเพ็ญบุรพจริยาแม้ตั้งอยู่ในประเทศญาณก็ทรมาน พระองคุลิมาลนี้ได้ ตรัสดังนี้แล้วทรงดุษณีภาพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล อาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า โกรัพยะ เสวยราชสมบัติโดย ธรรม ในพระนครอินทปัต แคว้นกุรุ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้ง หลายเสด็จอุบัติในพระครรภ์ ของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าโกรัพยะนั้น ก็เพราะ พระราชกุมารนั้นมีพระพักตร์ดังดวงจันทร์ และมีนิสัยชอบในการศึกษา ชน ทั้งหลายจึงพากันเรียกเธอว่า สุตโสม พระราชาทรงเห็นพระกุมารนั้นเจริญวัย แล้ว จึงพระราชทานทองลิ่มชนิดเนื้อดี ราคาพันหนึ่ง ส่งไปยังเมืองตักกศิลา เพื่อให้ศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สุตโสมรับทรัพย์อัน เป็นส่วนของอาจารย์ แล้วออกเดินทางไป แม้พรหมทัตกุมาร พระโอรสของ พระเจ้ากาสิกราชในพระนครพาราณสี พระบิดาก็รับสั่งอย่างเดียวกันแล้ว ส่งไปจึงเดินไปยังหนทางนั้น. ลำดับนั้น สุตโสมกุมารเดินทางไปถึงแล้ว จึงนั่ง พักที่แผ่นกระดานในศาลาใกล้ประตูเมือง แม้พรหมทัตกุมารไปถึงแล้ว ก็นั่งบน แผ่นกระดานแผ่นเดียวกัน กับสุตโสมกุมารนั้น. ลำดับนั้น สุตโสม จึงกระทำ ปฏิสันถารแล้ว ถามพรหมทัตกุมารนั้นว่า ดูก่อนสหาย ท่านเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย ท่านมาจากไหน. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากเมืองพาราณสี. ท่านเป็นบุตรของใคร. ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระเจ้ากาสี. ท่านชื่อไร. ข้าพเจ้า ชื่อพรหมทัตกุมาร. ท่านมาที่นี่ด้วยเหตุไร. พรหมทัตกุมารตอบว่า ข้าพเจ้ามา เพื่อเรียนศิลปศาสตร์ แล้วถามสุตโสมกุมารโดยนัยนั้นเหมือนกันว่า แม้ตัวท่าน ก็เดินทางเหน็ดเหนื่อยมา ท่านมาจากไหน. แม้สุตโสมก็บอกแก่พรหมทัตกุมาร

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 641

ทุกประการ แม้สองราชกุมารนั้นจึงกล่าวแก่กันว่า เราทั้งสองเป็นกษัตริย์ จงไป. ศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักท่านอาจารย์คนเดียวกันเถิด การทำมิตรภาพแก่กัน และกันแล้ว จึงเข้าไปสู่พระนคร ไปหาสกุลอาจารย์ ไหว้อาจารย์แล้วแจ้งชาติ ของตน แถลงความที่ตนทั้งสองมาเพื่อจะศึกษาศิลปะ อาจารย์จึงรับว่า ดีละ สองราชกุมารจึงให้ทรัพย์อัน เป็นส่วนค่าเล่าเรียนกับ อาจารย์แล้วเริ่มเรียนศิลปะ.

เวลานั้นไม่ใช่แค่สองราชกุมารเท่านั้น แม้พระราชบุตรอื่นๆ ในชมพู- ทวีปประมาณ ๑๐๑ พระองค์ ก็เรียนศิลปะอยู่ในสำนักของอาจารย์นั้น สุตโสมกุมารได้เป็นอันเตวาสิกผู้เจริญที่สุดกว่าราชบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนศิลปศาสตร์อยู่ อย่างขะมักเขม้น ไม่นานเท่าไรนักก็ถึงความสำเร็จ. สุตโสมกุมารมิได้ไปยังสำนัก ของราชกุมารเหล่าอื่น ไปหาแต่พรหมทัตกุมารผู้เดียวด้วยคิดว่า กุมารนี้เป็น สหายของเรา เป็นครูผู้ช่วยแนะนำภายหลังของพรหมทัตกุมารนั้น สอนให้สำเร็จ การศึกษาได้โดยรวดเร็ว ศิลปะแม้ของราชกุมารนอกนี้ก็สำเร็จโดยลำดับกันมา พวกราชกุมารเหล่านั้นให้เครื่องคำนับไหว้อาจารย์แล้ว แวดล้อมสุตโสมออกเดิน ทางไป ลำดับนั้น สุตโสมจึงพักยืนอยู่ในระหว่างทางที่จะแยกกัน เมื่อจะส่ง ราชบุตรเหล่านั้นกลับจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายแสดงศิลปะแก่พระราชมารดา บิดาของตนแล้ว จักตั้งอยู่ในราชสมบัติ ครั้นตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว พึงกระทำ ตามโอวาทของเรา. ทำอย่างไรท่านอาจารย์. ท่านทั้งหลายจงรักษาอุโบสถทุกวัน ครึ่งเดือน อย่าได้กระทำการเบียดเบียน ราชบุตรเหล่านั้น รับคำเป็นอันดี แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงทราบล่วงหนา อยู่แล้วว่า มหาภัยจักเกิดพ้นในพระนครพาราณสี เพราะอาศัยพรหมทัตกุมาร ดังนี้ เพราะปรากฏในองค์ วิทยา จึงได้ให้โอวาทแก่พวกราชกุมารเหล่านั้นแล้วส่งไป.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 642

ราชบุตรเหล่านั้นทุกๆ พระองค์ ไปถึงชนบทของตนๆ แล้วแสดง ศิลปะแก่พระราชมารดาบิดาของตนแล้ว ตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้วต่างส่งราชสาส์น พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเพื่อให้ทราบความที่ตนตั้งอยู่ในราชสมบัติแล้ว และประพฤติอยู่ในโอวาทด้วย พระมหาสัตว์ได้ทรงทราบข่าวสาส์นนั้น แล้ว ทรงตอบพระราชสาส์นไปว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ในบรรดา พระราชาเหล่านั้น พระเจ้าพาราณสีเว้นมังสะเสียแล้วเสวยอาหารไม่ได้ แม้ ในวันอุโบสถพวกห้องเครื่องต้นก็ต้องเก็บมังสะไว้ถวายท้าวเธอ อยู่มาวันหนึ่ง เนื้อที่เก็บไว้อย่างนั้น พวกโกไลยสุนัข ในพระราชวังกินเสียหมด เพราะความ เลินเล่อของคนทำเครื่องต้น คนทำเครื่องต้นไม่เห็นมังสะ จึงถือกหาปณะ กำมือหนึ่งเที่ยวไป ก็ไม่อาจจะหามังสะได้ จึงดำริว่า ถ้าหากเราจักตั้งเครื่อง เสวยไม่มีมังสะ เราก็จะไม่มีชีวิต จักทำอย่างไรเล่าหนอ ครั้นนึกอุบายได้ใน เวลาค่ำจึงไปสู่ป่าช้าผีดิบ ตัดเอาเนื้อตรงขาของบุรุษที่ตายเมื่อครู่หนึ่งนั้น นำมา ทำให้สุกดีแล้ว หุงข้าวจัดแจงตั้งเครื่องเสวย พร้อมด้วยมังละ พอพระราชาวาง ชิ้นมังสะลง ณ ปลายพระชิวหา ชิ้นมังสะนั้น ก็แผ่ไปสู่เส้นประสาทที่รับรสทั้ง ๗ พัน ซาบซ่านไปทั่วพระสรีระ มีคำถามสอดเข้านาว่า ที่เป็นดังนี้ เพราะเหตุไร เฉลยว่า เพราะเคยเสวยมาก่อนแล้ว.

ได้ยินว่า ในอัตภาพต่อกันที่ล่วงไปแล้ว ท้าวเธอเกิดเป็นยักษ์กิน เนื้อมนุษย์เสียเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น เนื้อมนุษย์จึงได้เป็นสิ่งที่โปรด ปรานของพระองค์ ท้าวเธอทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักนิ่งเสียแล้วบริโภค คนทำเครื่องนี้ก็จักไม่บอกเนื้อชนิดนี้ แก่เรา จึงแกล้งถ่มให้ตกลงบนภาค พื้นพร้อมด้วยพระเขฬะ เมื่อคนทำเครื่องต้นกราบทูลว่า ขอเดชะ มังสะ นี้หาโทษมิได้ เชิญพระองค์เสวยเถิด จึงทรงรับสั่งให้ราชเสวกออกไป เสียแล้ว ตรัสถามคนทำเครื่องต้นว่า เราเองก็ทราบว่าเนื้อนี้หาโทษมิได้ แต่

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 643

เนื้อนี้เรียกว่าเนื้ออะไร. ขอเดชะ เนื้อที่พระองค์เคยเสวยในวันก่อนๆ ในวัน อื่น เนื้อนี้ ไม่มีรสอย่างนั้นมิใช่หรือ ขอเดชะ. พึงทำได้ดีในวันนี้เอง แม้ เมื่อก่อน เจ้าก็ทำอย่างนี้มิใช่หรือ. ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงทราบว่า คนทำ เครื่องต้นนั้นนิ่งอยู่ จึงรับสั่งต่อไปว่า จงบอกมาตามความจริงเถิด ถ้าเจ้า ไม่บอก เจ้าจะไม่มีชีวิต คนทำเครื่องต้นจึงทูลขอพระราชทานอภัยแล้ว ก็ กราบทูลตามความเป็นจริง พระราชารับสั่งว่า เจ้าอย่าเอ็ดไป เจ้าจงกินมังสะ ที่ทำตามธรรมดา แล้วจงนำเนื้อมนุษย์ให้แก่เราอย่างเดียว คนทำเครื่องต้น ทูลถามว่า ขอเดชะ ทำได้ยากมิใช่หรือ อย่ากลัวเลย ไม่ใช่ของยาก คนทำ เครื่องต้นจึงทูลถามว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์จักได้มาจากไหนเป็นนิตย์เล่า. ตนในเรือนจำมีอยู่มากมายมิใช่หรือ.

จำเดิมแต่นั้น เขาก็ได้กระทำตามพระราชบัญชาทุกประการ ครั้น ต่อมาพวกนักโทษในเรือนจำหมด คนทำเครื่องต้นจึงกราบทูลว่า. บัดนี้ ข้าพระองค์จักกระทำอย่างไรต่อไป เจ้าจงทิ้งถุงทรัพย์พันหนึ่งไว้ที่ระหว่าง ทาง คนใดหยิบเอาถุงทรัพย์นั้น จงจับคนนั้น โดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจร แล้วฆ่าทิ้งเสีย เขาได้กระทำตามพระราชบัญชานั้นแล้ว ครั้นต่อมาไม่พบ แม้คนที่มองดูถุงทรัพย์พันหนึ่งนั้น เพราะความกลัว จึงทูลถามว่าขอเดชะ บัดนี้ข้าพระองค์จักการทำอย่างไรต่อไป ในเวลาตีกลองยามเที่ยงคืนพระนคร ย่อมเกิดความอลหม่าน เวลานั้นเจ้าจงยืนดักอยู่ที่ตรอกบ้านหรือถนนหรือ หนทางสี่แพร่งแห่งหนึ่ง จงฆ่ามนุษย์เอาเนื้อมา จำเดิมแต่นั้นมา เขาก็ ได้ทำอย่างนั้นเอาเนื้อที่ล่ำๆ ไป ซากศพปรากฏอยู่ในที่นั้นๆ พระนครก็อากูล ไปด้วยซากศพ ได้ยินเสียงประชาชนคร่ำครวญว่า มารดาของเราหายไป บิดาของเราหายไป พี่ชาย น้องชายของเราหายไป พี่สาว น้องสาวของเรา หายไป.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 644

ชาวนครทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ปรึกษากันว่า คนเหล่านั้นถูกราชสีห์กิน หรือถูกเสือกิน หรือถูกยักษ์กินหนอ เมื่อตรวจดูก็เห็นปากแผลที่ท้องประหาร จึงสันนิษฐานกันว่า เห็นจะเป็นโจรมนุษย์คนหนึ่ง กินคนเหล่านั้นเป็นแน่ มหาชนจึงประชุมกันร้องทุกข์ที่พระลานหลวง พระราชาตรัสถามว่า อะไร กันพ่อ ขอเดชะ ในพระนครนี้เกิดมีโจรกินคนขึ้นแล้ว ขอพระองค์จงรับสั่งให้ จับโจรกินคนนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เราจักรู้ได้อย่างไรเล่า เราเป็นคนรักษาพระนครเที่ยวไปตรวจดูหรือ มหาชนปรึกษากันว่า พระราชา ไม่ทรงเป็นธุระทางการเมือง เพราะฉะนั้น พวกเราจักพากันไปแจ้งแก่ท่าน กาฬหัตถีเสนาบดีเถิด จึงพากันไปบอกเนื้อความนั้น แก่ท่านเสนาบดี กราบ เรียนว่า ควรจะสืบจับตัวผู้ร้ายให้ได้ ท่านเสนาบดีมีบัญชาว่า พวกท่านจง รออยู่สัก ๗ วันก่อน เราจักสืบจับตัวผู้ร้ายเอามาให้พวกท่านคะจงได้ แล้วส่ง มหาชนกลับไป.

ท่านเสนาบดีบังคับพวกบุรุษว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เขาลือกันว่า โจรกินคนมีอยู่ในพระนคร พวกท่านจงไปซุ่มอยู่ในที่นั้นๆ จับเอาตัว มันมาให้ได้ พวกบุรุษเหล่านั้นรับคำสั่งแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็คอยสอดแนม พระนครอยู่เสมอ. แม้คนทำเครื่องต้นแอบอยู่ที่ตรอกบ้านแห่งหนึ่ง ฆ่าหญิง คนหนึ่งได้แล้ว ปรารภจะเอาเนื้อตรงที่ล่ำๆ บรรจุลงในกระเช้า ทันใดนั้น พวกบุรุษเหล่านั้น จึงจับคนทำเครื่องต้นนั้นโบยแล้วมัดมือไพล่หลัง ร้อง ประกาศดังๆ ว่า พวกเราจับโจรกินคนได้แล้ว ประชาชนพากันห้อมล้อมคน ทำเครื่องต้นนั้น ขณะนั้นบุรุษทั้งหลายมัดเขาไว้อย่างมั่นคงแล้วผูกกระเช้าเนื้อ ไว้ที่คอเอาตัวไปแสดงแก่ท่านเสนาบดี. ลำดับนั้น ท่านเสนาบดี ครั้นพอได้ เห็นคนนำเครื่องต้นนั้นแล้ว จึงดำริว่า คนผู้นี้กินเนื้อนี้เอง หรือเอาไปปน กับเนื้ออื่นแล้วจำหน่าย หรือว่าฆ่าตามพระราชบัญชา เนื้อจะถามเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 645

ดูก่อนคนทำเครื่องต้น ทำไมเจ้าจึงทำกรรมอัน ร้ายกาจเช่นนี้ได้ เจ้าเป็นคนหลง ฆ่าหญิงและชาย ทั้งหลายได้ เพราะเหตุแห่งเนื้อ หรือ เพราะเหตุแห่ง ทรัพย์.

ในคาถานั้น ท่านเสนาบดีเรียกคนทำเครื่องต้นว่า รสกะ ต่อนี้ไป บัณฑิตพึงทราบข้อความที่เกี่ยวเนื่องกันอย่างง่ายๆ ด้วยอำนาจพระบาลีที่เป็น คำถามและคำโต้ตอบกัน.

ลำดับนั้น คนทำเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มิใช่เพราะเหตุแห่งตน มิใช่ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ มิใช่เพราะเหตุแห่งลูกเมียหรือ สหายและญาติ เป็นด้วยพระจอมภูมิบาลนายข้าพเจ้า พระองค์เสวยมังสะนี้นะท่าน.

ลำดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงกล่าวกะคนทำเครื่องต้นนั้นว่า

ถ้าเจ้าขวนขวายในกิจของเจ้านาย กระทำกรรม อย่างร้ายกาจเช่นนี้ เวลาเช้าเจ้าไปถึงภายในพระราวัง แล้ว พิงแถลงเหตุนั้นต่อเราในที่เฉพาะพระพักตร์ พระเจ้าอยู่หัว.

ลำดับนั้น คนทำเครื่องต้นจึงกล่าวกะท่านเสนาบดีนั้นว่า

ข้าแต่ท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทำ ตามคำสั่งสอนของท่าน เวลาเช้าข้าพเจ้าไปถึงภายใน พระราชวังแล้ว จักแถลงถึงเหตุนั้น ต่อท่านเฉพาะ พระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 646

คำว่า ภควา ในคาถานั้นเป็นคำกล่าวแสดงถึงความเคารพ ท่าน เสนาบดีเพื่อจะทดลองดูว่า คนทำเครื่องต้นนี้พูดความจริงหรือว่าพูดเท็จเพราะ กลัวตาย จึงได้กล่าวอย่างนี้. คำว่า กรรมอย่างร้ายกาจ หมายถึงกรรม คือการฆ่ามนุษย์. คำว่า เฉพาะพระพักตร์ หมายความว่า เจ้าจงไปยืนอยู่ ในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ คนทำเครื่องต้นนั้น เมื่อจะรับคำ จึงได้กล่าวคาถาด้วยประการนั้นแล.

ลำดับนั้น ท่านเสนาบดีจึงสั่งให้มัดจำคนทำเครื่องต้นนั้นไว้ให้มั่นคง เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงปรึกษากับพวกอำมาตย์และชาวเมือง เมื่อร่วมฉันทะกัน ทั้งหมดแล้ว วางอารักขาในที่ทุกแห่ง การทำพระนครให้อยู่ในเงื้อมมือ ผูก กระเช้าเนื้อไว้ที่คอคนทำเครื่องต้น นำตัวเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ได้เกิด เสียงเซ็งแซ่ขึ้นทั่วพระนครแล้ว วันวานนี้ พระราชาเสวยพระกระยาหารเช้า แล้ว ยังมิได้เนื้อในเวลาเย็น จึงประทับนั่งรอท่าด้วยหมายพระทัยว่า คนทำ เครื่องต้นจักมาในบัดนี้ ประทับรออยู่จนตลอดคืนยังรุ่ง แม้วันนี้คนทำเครื่อง ต้นก็ยังไม่มา ครั้นได้ทรงสดับ เสียงเซ่งแซ่ของชาวเมือง จึงทรงดำริว่า นั่น เรื่องอะไรกันหนอ ทอดพระเนตรโดยช่องพระแกล ก็ได้ทรงเห็นคนทำ เครื่องต้น ถูกเขานำมาด้วยอาการอย่างนั้น ทรงพระดำริว่า เหตุนี้ปรากฏขึ้น แล้ว ทรงตั้งพระสติมั่นคงประทับนั่งบนบัลลังก์ แม้กาฬหัตถีเสนาบดี เข้าไป เฝ้าพระองค์ทูลไต่สวนข้อความ พระองค์จึงทรงแถลงแก่เสนาบดีนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ครั้นราตรีสว่างแล้ว พระอาทิตย์อุทัย กาฬ- เสนาบดีได้นำตัวคนทำเครื่องต้นเข้าเฝ้าพระราชา ครั้นเฝ้าพระราชาแล้วจึงกราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 647

มหาราชเจ้า ได้ยินว่า คนทำเครื่องต้นถูกพระองค์ใช้ ให้ไปฆ่าหญิงและชายเป็นอันมาก พระองค์เสวยเนื้อ มนุษย์เป็นความจริงแลหรือ.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสตอบว่า

ดูก่อนท่านกาฬะ อย่างนั้นๆ เป็นความจริง คนทำเครื่องต้นนั้น เราได้ใช่มัน ไปเอง เมื่อมันทำกิจ ของเรา ท่านบริภาษมันทำไมกัน.

คำว่า กาฬะ ในคาถานั้น หมายถึงท่านกาฬหัตถีเสนาบดี พระราชา ถูกเสนาบดีผู้มีเดชไต่สวน ไม่อาจจะทรงให้การเท็จได้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า อย่างนั้นๆ เป็นความจริง. คำว่า เป็นความจริง ในคาถานั้นเป็นคำขยาย. ความของคำข้างหน้า. คำว่า กิจของเรา คือความเจริญของเรา. คำว่า ทำ คือกระทำอยู่. คำว่า ทำไม อธิบายว่า ท่านบริภาษนั้นเพราะเหตุไร. ลำดับนั้น พระราชาจึงรับสั่งว่า ท่านทำราชกิจยากที่คนอื่นจะทำได้ น่าชมเชยจริงนะ แล้วตรัสขู่เสนาบดีให้กลัวว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี โจรอื่น ท่านไม่จับ ให้จับคนใช้ของเรา เสนาบดีได้สดับคำนั้นดำริว่า พระราชาทรง รับสารภาพด้วยพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เธอร้ายกาจน่าสยดสยอง เธอกิน เนื้อมนุษย์มาตลอดกาลถึงเพียงนี้ เราจักลองทูลห้ามเธอดู ดังนี้แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำอย่างนี้อีกต่อไปเลย อย่าเสวย เนื้อมนุษย์เลย. พระราชาตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี ท่านพูดอะไร เราไม่ อาจจะอดเนื้อมนุษย์ได้. ขอเดชะ ถ้าพระองค์อดไม่ได้ พระองค์เองจักทำ พระองค์และบ้านเมืองให้พินาศ. แม้เราจักต้องพินาศด้วยอาการอย่างนี้ เราก็ ไม่อาจที่จะอดเนื้อมนุษย์นั้นได้. ลำดับนั้น เสนาบดีประสงค์จะให้ท้าวเธอรู้สึก พระองค์ จึงนำเอาเรื่องมาเล่าถวายดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 648

ในอดีตกาล หาสมุทรแห่งหนึ่งมีปลาใหญ่อยู่ ๖ ตัว ชื่ออานนท์ ตัวหนึ่ง ชื่ออุปนันทะตัวหนึ่ง ชื่ออัชโฌหารตัวหนึ่ง ปลาใหญ่ทั้ง ๓ ตัวนี้ ยาวถึง ๕๐๐ โยชน์ ชื่อติมิงคละตัวหนึ่ง ชื่อคิมิรมิงคละตัวหนึ่ง ชื่อมหาติมิร มิงคละตัวหนึ่ง ปลาใหญ่ ๓ วันยาว ๑,๐๐๐ โยชน์ ปลาใหญ่ทั้ง ๖ ตัวนั้น แม้ทั้งหมดมีหินและสาหร่ายเป็นภักษาหาร บรรดาปลาทั้ง ๖ ตัวนั้น ปลา อานนท์อยู่ในส่วนช้างหนึ่งแห่งมหาสมุทร ฝูงปลาเป็นอันมากพากัน เข้าไปหา ปลาอานนท์นั้น. วันหนึ่ง ปลาเหล่านั้นคิดกันว่า พระราชาของสัตว์สองเท้า และสัตว์สี่เท้าทั้งหมด ย่อมปรากฏ แต่พระราชาของพวกเรายังไม่มี พวกเรา จักกระทำปลาตัวหนึ่งให้เป็นพระราชา ปลาทั้งหมดได้รวมกันเป็นเอกฉันท์ ยกปลาอานนท์ขึ้นเป็นพระราชา จำเดิมแต่นั้นมา ปลาเหล่านั้นก็ไปบำรุงปลา อานนท์นั้นทุกเวลาเย็นและเวลาเช้า.

อยู่มาวันหนึ่ง ปลาอานนท์กินหินและ สาหร่ายอยู่ ณ ภูเขาแห่ง หนึ่ง กินปลาตัวหนึ่งโดยไม่รู้สึกว่าเป็นปลา สำคัญว่าเป็นสาหร่าย เนื้อ ปลานั้นแผ่ไปทั่วสรีระของมัน มันคิดว่า นี้อะไรหนอช่างอร่อยเหลือเกิน จึงคายออกมาดูเห็นเป็นชิ้นปลา คิดว่า เราไม่รู้จักกินมานาน ถึงเพียงนี้ จำเดิมแต่นั้นก็คิดต่อไปว่า พวกปลามาสู่ที่บำรุงของเราทั้งเวลาเช้าและเวลา เย็น เวลากลับ ไป เราจะกินมันตัวหนึ่งหรือสองตัว แต่เมื่อจะกินมันโดย เปิดเผย ปลาแม้ตัวหนึ่งก็จักไม่เข้าใกล้เรา จักพากันหนีไปเสียหมด เราจัก ต้องทำอย่างแนบเนียน เราจักจับตัวที่โค้งคำนับเราหลังที่สุดกิน ดังนี้แล้ว ได้กระทำตามที่ตนดำริไว้ทุกประการ ปลาเหล่านั้น ถึงความสิ้นไปโดยลำดับ จึงคิดกันว่า ภัยเกิดขึ้นแก่พวกญาติของเราจากที่ไหนหนอ ลำดับนั้น ปลาฉลาด ตัวหนึ่งคิดว่า กิริยาของปลาอานนท์ไม่ชอบใจเราเลย เราจักคอยจับกิริยา ของเขา เมื่อฝูงปลาไปสู่ที่บำรุงแล้ว ได้แฝงตัวอยู่ในหูของปลาอานนท์ ปลา

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 649

อานนท์ส่งฝูงปลาไปแล้ว กินตัวที่ไปที่หลังเสีย ปลาฉลาดตัวนั้นเห็นการกระทำ อย่างนั้น จึงไปบอกแก่พวกของตน ปลาเหล่านั้น ตกใจกลัวพากันหนีไปจนหมด. จำเดิมแต่วันนั้นมา ปลาอานนท์มิได้กินอาหารอย่างอื่นเลย เพราะคิดรสใน เนื้อปลา มันถูกความหิวบีบคั้นมากขึ้นมีความลำบากอยู่ คิดว่า ปลาเหล่านั้น ไปแอบช่อนอยู่ที่ไหนหนอ เนื้อเที่ยวหาปลาเหล่านั้น เห็นภูเขาลูกหนึ่ง คิดว่า ชะรอยมันจะอาศัยภูเขาลูกนี้อยู่เพราะกลัวเรา เพราะฉะนั้น เราจะลองโอบภูเขา ตรวจดู จึงเอาหางและหัวโอบภูเขาไว้โดยรอบทั้งสองข้าง. ลำดับนั้น มันดำริ ต่อไปว่า ปลาจักอยู่ในที่นี้ทั้งหมด จักหนีไปทางไหนได้ แล้วโอบภูเขาเข้าไว้ มองเห็นหางของตนเองเข้า ก็โกรธด้วยสำคัญว่า ปลาตัวนี้มันลวงเราอาศัย ภูเขาแอบอยู่ จึงชุบทางของตนเองประมาณ ๕๐ โยชน์ไว้มั่นคง ด้วยสำคัญว่า ปลาอื่น แล้วเคี้ยวกินเสียอย่างเอร็ดอร่อย จนเถิดทุกขเวทนาขึ้น พวกปลา มาประชุมกัน เพราะกลิ่นเลือดฟุ้ง จึงดึงมากินตลอดถึงศีรษะ ปลาอานนท์ไม่ อาจกลับตัวได้เพราะตัวใหญ่ ได้ถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง กองกระดูกได้เป็น เหมือนภูเขาใหญ่ ดาบสและปริพาชกผู้เที่ยวทางอากาศได้มาเล่าให้พวกมนุษย์ ฟัง พวกมนุษย์ในชมพูทวีปจึงรู้กันทั้งหมด.

กาฬหัตถีเสนาบดีเมื่อจะนำเรื่องนั้นมาแสดง ได้กล่าวคาถาว่า

ปลาอานนท์ตัวติดอยู่ในรสของปลาทุกชนิด กิน ปลาพวกเดียวกัน เมื่อบริษัทหมดไป กินตัวเองตาย ไปแล้ว พระองค์เป็นผู้ประมาทแล้ว ยินดีในการ เสพรส ถ้ายังเป็นพาลไม่รู้สึกต่อไป จำจะต้องทิ้ง พระโอรสพระธิดาและพระประยูรญาติกลับมาเสวย พระองค์เอง เหมือนอย่างปลาอานนท์ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 650

ขอให้ความพอพระทัยของพระองค์จงจืดจางลง เพราะได้ทรงสดับเรื่องนี้ ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์ อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์เลยนะ ข้าแต่พระองค์ผู้ปกครอง ประชาชน ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำแคว้นทั้งมวลนี้ ให้ว่างเปล่าเหมือนอย่างปลาฉะนั้น เลย.

มีอรรถาธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลนานมาแล้ว ที่มหาสมุทร มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งชื่อว่า อานนท์ ตัวยาวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เป็นพระราชา ของพวกปลาทั้งหมด อาศัยอยู่ในข้างแห่งหนึ่งของมหาสมุทร ปลาอานนท์นั้น เป็นสัตว์คิดอยู่ในรสของปลาที่เป็นชาติเดียวกับนี้ กินปลาทั้งหลายที่เป็นชาติ เดียวกัน เมื่อบริษัทปลาถึงความสิ้นไปแล้ว ไม่จับอาหารอย่างอื่น โอบภูเขา ไว้และเคี้ยวกินท่อนหางของตนเอง ซึ่งยาวประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ด้วยสำคัญว่า เป็นปลา ตายแล้วคือถึงความตาย บัดนี้กองกระดูกประมาณเท่าภูเขามีอยู่ใน มหาสมุทร. พระองค์เป็นผู้ติดอยู่ในตัณหา ทรงประมาทแล้ว คือถึงความ เป็นผู้ประมาท ยินดีแล้วคือมีพระทัยยินดียิ่งในการเสพรสของเนื้อมนุษย์ ถ้า พระองค์ยังเป็นพาลมีปัญญาทราม มิได้รู้สึกคือไม่ทรงทราบความทุกข์ ซึ่งจะ บังเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป พระองค์ก็จำจะต้องทิ้งพระโอรสพระชายาพระ ประยูรญาติ และพระสหาย เมื่อไม่ได้อาการอย่างอื่น ถูกควานหิวบีบคั้นดิ้น กระเสือกกระสนอยู่ทั่วพระนคร ครั้นไม่ได้เนื้อมนุษย์ก็จะกินตนเอง ชื่อว่า ย่อมกินตนเองเหมือนอย่างปลาใหญ่มีชื่อว่า อานนท์ฉะนั้น. ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงสดับอุทาหรณ์ที่ข้าพระองค์นำมาเล่าความนี้แล้ว ขอให้ความพอ พระทัยของพระองค์จงเสื่อมคลายหายไปเสียเถิด ข้าแต่พระราชา พระองค์ อย่าได้เสวยเนื้อมนุษย์อีกเลย ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่าประชาชนผู้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 651

เป็นสัตว์ ๒ เท้าผู้เจริญ พระองค์อย่าได้ทรงกระทำพระนครคือแคว้นกาสีของ พระองค์ให้ว่างเปล่าไปจริงๆ เหมือนปลาอานนท์กระทำมหาสมุทรให้ว่างเปล่า ฉะนั้นเลย.

พระราชทรงสดับคำนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถีผู้เจริญ ท่าน รู้เรื่องเปรียบเทียบผู้เดียวหรือ แม้ถึงตัวเราก็คงไม่รู้บ้างละซินะ โดยที่พระองค์ ทรงติดอยู่ในเนื้อมนุษย์ จึงนำเรื่องเก่าแก่มาแสดงตรัสคาถาว่า

กุฎุมพีนามว่า สุชาต โอรสเกิดแก่ตัวของเขา ไม่ได้ชิ้นชมพู่ เขาตายเพราะสิ้นไปแต่งชิ้นชมพู่ฉันใด ดูก่อนท่านกาฬะ แม้ตัวเราก็ฉันนั้นเคยบริโภคอาหาร มีรสอันสูงสุดแล้ว เมื่อไม่ได้เนื้อมนุษย์ก็เห็นจะไม่มี ชีวิตอยู่ได้เป็นแน่.

คำว่า เขา ในคาถานั้น หมายถึงกุฎุมพีสุชาต.

เรื่องมีว่า ในอดีตกาล กุฎุมพีชื่อว่าสุชาต ในพระนครพาราณสี เห็น ฤาษี ๕๐๐ ผู้มาแต่ป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการจะได้ฉันรสเค็มและเปรี้ยว นิมนต์ ฤาษีเหล่านั้นให้อยู่ในสวนของตนบำรุงอย่างดี ในเรือนของกุฎุมพีนั้นได้จัด ภิกษา ๕๐๐ ไว้เป็นนิตย์ แต่ดาบสเหล่านั้น บางคราวก็ไปเทียวภิกษาใน ชนบท นำชิ้นชมพู่ใหญ่มาฉันเสียบ้าง เวลาที่ดาบสเหล่านั้นนำชิ้นชมพู่ มาฉัน สุชาตคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่มา ๓ - ๔ วันเข้าวันนี้ ท่านไป ไหนหนอ เขาให้บุตรจับนิ้วมือของตน จูงไปในสำนักของดาบสเหล่านั้น ในเวลาที่ท่านกำลังฉัน เวลานั้นดาบสที่เป็นนวกะที่สุดให้น้ำบ้วนปากแก่ดาบส ผู้ใหญ่ทั้งหลายแล้วฉันชิ้นชมพู่อยู่ สุชาตไหว้พวกดาบสแล้วนั่งถามว่า พระ

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 652

ผู้เป็นเจ้าฉันอะไร. พวกดาบสตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราฉันชิ้นชมพู่ใหญ่ กุมารได้ยินดังนั้นเกิดความอยากขึ้น. ลำดับนั้น ท่านเจ้าคณะจึงสั่งให้ ให้กุมาร นั้นหน่อยหนึ่ง เขากินชิ้นชมพู่นั้น แล้วคิดอยู่ในรส รบเร้าขออยู่บ่อยๆ ว่า พ่อ จงให้ชิ้นชมพู่แก่ฉัน พ่อจงให้ชิ้นชมพู่แก่ฉันบ้าง ดังนี้ กุฎุมพีกำลังฟังธรรม พูดลวงบุตรว่า อย่าร้องไปเลยลูก เจ้ากลับบ้านแล้วจักได้กิน ดำริว่า พระผู้ เป็นเจ้าทั้งหลายจักรำคาญ เพราะอาศัยบุตรของเรานี้ ปลอบบุตรอยู่ไม่ทัน บอกลาพวกฤๅษีไปบ้าน ตั้งแต่ไปถึงบ้านแล้ว บุตรของเขาก็รบเร้าว่า พ่อจง ให้ชิ้นชมพู่แก่ฉัน พวกฤๅษีกล่าวว่า เราอยู่ในที่นี้มานานแล้ว จึงพากันกลับ ไปป่าหิมพานต์ กุฎุมพีไม่พบฤๅษีในอารามได้ให้ชิ้นผลไม้มีมะม่วง ชมพู่ ขนุน และกล้วยเป็นต้น คลุกด้วยน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดแก่บุตร แต่ชิ้นผลไม้เหล่านั้น พอถูกปลายลิ้นของเขาก็เป็นเหมือนยาพิษที่ร้ายแรง เขาอดอาหารอยู่ ๗ วัน ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว พระราชาเนื้อทรงนำเหตุนี้มาแสดง จึงได้กล่าวถ้อยคำ อย่างนี้ว่า ท่านกาฬะ เรากินรสที่สูง ไม่ได้เนื้อมนุษย์เห็นจักต้องตายเหมือน อย่างบุตรของสุชาตนั้นแล อธิบายว่า บุตรของสุชาตไม่กินอาหารอย่างอื่นตาย แล้ว เพราะสิ้นไปแห่งชิ้นชมพู่นั้น. คำว่า อาหาร หมายถึงขาทนียะ. คำว่า มีรสสูงสุด คือ มีรสอันอุดม. คำว่า ละ คือ จักละชีวิต พระบาลีเป็น หิสฺสามิ ดังนี้ก็มี.

ในลำดับนั้น กาฬหัตถีเสนาบดีคิดว่า พระราชานี้คิดอยู่ในรสเสีย เหลือเกิน เราจักนำอุทาหรณ์อื่นๆ นาแสดงแก่พระองค์อีก แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงงดเสียเถิด พระราชาตรัสว่า เราไม่อาจจะ งดเว้น เนื้อมนุษย์ได้ ขอเดชะ ถ้าพระองค์ไม่งด พระองค์จะต้องเสื่อมจาก พระญาติวงศ์และสิริราชสมบัติ แล้วเล่าเรื่องถวายดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 653

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสีนี้มีสกุลเศรษฐี รักษาศีล ๕ อยู่สกุลหนึ่ง สกุลนั้นมีบุตรคนหนึ่ง เป็นทีรักใคร่ชอบใจของ มารดาบิดา เป็นคนฉลาดเรียนจบไตรเพท มาณพนั้นได้ไปเที่ยวกับพวกเพื่อน ที่หนุ่มๆ มีวัยรุ่นราวคราวเดียวกัน พวกเพื่อนเหล่านั้น กินปลาและเนื้อเป็นต้น ดื่มสุรากันทั้งนั้น แต่มาณพไม่กินเนื้อเป็นต้น ไม่ดื่มสุรา พวกเพื่อนเหล่านั้น จึงคิดว่า มาณพนี้ไม่ดื่มสุราจักไม่ออกค่าสุราให้แก่พวกเรา พวกเราจักหาอุบาย ให้เขาดื่มสุราให้จงได้ พวกเพื่อนเหล่านั้น จึงประชุมกันพูดกะเขาว่า ดูก่อนเพื่อน พวกเราจักเล่นมหรสพในสวน. ดูก่อนเพื่อน พวกท่านดื่มสุรา เราไม่ดื่ม พวกท่านจงไปกันเถิด. ดูก่อนเพื่อนพวกเราจักให้เอาน้ำนมไปสำหรับให้ท่าน ดื่ม. มาณพนั้น จึงรับว่าจะไปด้วย. พวกนักเลงไปถึงสวนแล้วห่อสุราอย่างแรง วางไว้หลายห่อ. ลำดับนั้น ครั้นถึงเวลาที่พวกเขาจะดื่มสุรา เขาจึงส่งน้ำนม ให้มาณพ นักเลงคนหนึ่งพูดขึ้นว่า เพื่อนเอ๋ย ท่านจงเอาน้ำผึ้งใบบัวมาให้เรา ให้พวกเพื่อนนำห่อสุรานั้นมาแล้ว จับห่อใบบัวเจาะให้เป็นช่องในข้างให้ เอา นิ้วมืออุดที่ปากช่องแล้วยกมาดื่น แม้พวกเพื่อนพวกนี้ก็ได้นำมาดื่มอย่างนั้น มาณพถามว่า นั่นห่ออะไร. นี้เรียกว่า โบกขรมธุ น้ำผึ้งใบบัว. ขอให้ฉัน ลองดูหน่อยเถิด พวกนักเลงเหล่านั้นพูดว่า ให้แกลองดหน่อยแล้วส่งให้. มาณพนั้นดื่มสุราด้วยความสำคัญว่า น้ำผึ้งใบบัว. ลำดับนั้นพวกเพื่อนได้ให้ เนื้อปิ้งแก่เมา มาณพได้กินเนื้อปิ้งนั้นแล้ว เมื่อมาณพนั้นดื่มอย่างนี้บ่อยๆ เข้าก็เมา ในเวลาที่เขาเมาแล้ว พวกเพื่อนๆ จึงบอกว่า นั่นไม่ใช่น้ำผึ้งใบบัว นั่นแหละสุราละ. มาณพนั้นจึงกล่าวว่า เราไม่รู้จักรสอร่อยอย่างนี้มาเป็นเวลา นานถึงเพียงนี้ ท่านผู้เจริญจงนำสุรามาให้อีก. พวกนักเลงเหล่านั้นก็ได้ให้

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 654

สุราอีก มาณพนั้นได้เป็นผู้อยากดื่มมาก ครั้นตัวขอเขาบ่อยๆ เขตก็ตอบว่า หมดแล้ว. มาณพนั้นจึงส่งแหวนให้กล่าวว่า จงไปเอาสุรามาเถิดเพื่อน เขาดื่ม กับพวกเพื่อนตลอดวันยังค่ำ เมาจนตาแดง ตัวสั่นพูดอ้อแอ้ ไปถึงบ้านแล้ว ก็นอน. ลำดับนั้น บิดาของเขาทราบว่า ลูกชายดื่มสุรา เมื่อลูกสร่างเมาแล้ว จึงพูดว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเกิดมาในตระกูลเศรษฐี ทำอย่างนี้ไม่เหมาะนะ เจ้าอย่า ประพฤติอย่างนี้อีกเลย. เขาย้อนถามว่า คุณพ่อครับ ผมมีความผิดอย่างไร. พ่อตอบว่า เจ้ามีความผิดเพราะเจ้าดื่มสุรา ลูกย้อนว่า คุณพ่อพูดอะไร รสอร่อย เช่นนี้ ผมไม่เคยได้ดื่มมาเป็นเวลานานถึงเพียงนี้. พราหมณ์ผู้บิดาจึงขอร้อง อยู่บ่อยๆ แม้มาณพนั้น ก็ดังกล่าวยืนคำเดิมอยู่ว่า ผมไม่อาจจะงดการดื่มลง ได้. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ วงศ์สกุลของเราคงจักขาด สูญเป็นแน่ อีกทั้งทรัพย์ก็จักพลอยพินาศไปด้วย แล้วกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนมาณพเอ๋ย เจ้าเป็นผู้มีรูปร่างงาม เข้าเถิด มาในตระกูลพราหมณ์ เจ้าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควรกิน นะลูก.

คำว่า ไม่ควรกินสิ่งที่ไม่ควรกิน ในคาถานั้น หมายถึงเจ้าไม่ สมควรที่จะกินสิ่งที่เจ้าไม่น่าจะกินเลย.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว บิดาจึงกล่าวต่อไปว่า งดเสียเถิดพ่อ ถ้า เจ้าไม่งด เจ้าของออกจากสมบัติและเรือนนี้ ข้าจักเนรเทศเจ้าออกจากแคว้น มาณพกล่าวว่า แม้คุณพ่อจักลงโทษถึงอย่างนี้ ผมก็จักออกไป ผมไม่อาจจะ ละสุราได้ดังนี้ แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ข้าแต่คุณพ่อ บรรดารสทั้งหลาย ปานะนี้นับ ว่าเป็นรสอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำไมคุณพ่อจึงต้องห้ามผม

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 655

ผมจักไปในสถานที่ที่ผมได้รสเช่นนี้ ผมเป็นลุกที่ คุณพ่อไม่อยากจะเห็นหน้า ผมจักออกจากบ้านไป จักไม่อยู่ในสำนักของคุณพ่อ.

คำว่า รส ในคาถานั้น อธิบายว่า รสทั้ง ๗ อย่างบรรดามี กล่าวคือ รสเค็ม รสเปรี้ยว รสขม รสเผ็ด รสขื่น รสหวาน รสฝาดนั้น ขึ้นชื่อว่า น้ำเมานี้ จัดว่าเป็นรสอันหนึ่ง. คำว่า ผม หมายถึงตัวผมผู้เดียวเท่านั้น. คำว่า จักออก คือ จักออกไปจากบ้าน.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มาณพจึงกล่าวต่อไปว่า ผมจักไม่งดจากการ ดื่มสุรา คุณพ่อจะกระทำอย่างใดก็จงกระทำตามความพอใจของคุณพ่อเถิด พราหมณ์กล่าวว่า เมื่อเจ้าทิ้งข้าได้ แม้ข้าก็จักทิ้งเจ้าได้เหมือนกันแหละ แล้ว กล่าวคาถาว่า

พ่อมาณพเอ๋ย ข้าจักได้บุตรที่เป็นทายาทแม้ เหล่าอื่นอีกอย่างเป็นแน่ แน่ะเจ้าคนชาติชั่ว จงพินาศ เจ้าจงไปในสถานที่ที่ข้าไม่ได้ยินชื่อของเจ้า.

คำว่า เจ้าจงไป ในคาถานั้น มีอธิบายว่า เจ้าจะไปอยู่ในที่ใด เราไม่ได้ยินว่า เจ้าไปอยู่ ณ ที่โน้น เจ้าจงไป ณ ที่นั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้บิดาจึงนำตัวมาณพนั้นไปยังศาล กระทำไม่ให้ เป็นลูกกัน ไล่ออกไป. มาณพนั้น ครั้นต่อมาก็กลายเป็นคนกำพร้า หาที่พึ่ง มิได้ นุ่งผ้าขี้ริ้ว ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน อาศัยฝาเรือนแห่งใดแห่งหนึ่ง ตายแล้ว. กาฬหัตถีเสนาบดีนำเอาเหตุนี้มาแสดงแก่พระราชาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงการทำตามถ้อยคำของพวกข้าพระองค์ พวกชาวเมืองก็จะกระทำการเนรเทศพระองค์เสียเป็นแน่ แล้วกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 656

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมประชาชน พระองค์ ก็เหมือนกัน จงทรงสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ ข้า พระองค์จักเนรเทศพระองค์เสียจากแว่นแคว้น เหมือน อย่างมาณพนักดื่ม ฉะนั้น.

แม้กาฬหัตถีเสนาบดีได้นำเอาเรื่องอุปมาต่างๆ มาเล่าถวายอย่างนี้ พระราชาก็ไม่อาจจะอดเนื้อนั้นได้ ตรัสแสดงตัวอย่างเทียม แม้อย่างอื่นอีกต่อไป โดยคาถาว่า

สาวกของพวกฤๅษีผู้มีตนอันอบรมแล้ว นามว่า สุชาต เขาอยากได้นางอัปสรจนไม่กินไม่ดื่มกามของ มนุษย์ในสำนักกามอันเป็นทิพย์ เท่ากับเอาน้ำด้วย ปลายหญ้าคา มาเทียบกับน้ำในมหาสมุทร.

ท่านกาฬะ เราได้บริโภคของกินที่มีรสอย่างสูง แล้วไม่ได้เนื้อมนุษย์ เห็นจักต้องละชีวิตเหมือนอย่าง สุชาต ฉะนั้นแล.

ก็นิทานแห่งคาถานี้ ตอนต้นเหมือนกับเรื่องที่กล่าวไว้แล้วคราวก่อน. คำว่า ผู้มีตนอันอบรมแล้ว หมายถึงฤๅษีทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ผู้ได้อบรมตน มาแล้ว. คำว่า อยากได้นางอัปสร มีเรื่องเล่าไว้ว่า ได้ยินว่า ในเวลาที่ พวกฤๅษีเหล่านั้นฉันชิ้นชมพู่ใหญ่ สุชาตทราบว่าท่านไม่มาแน่ จึงคิดว่า ท่าน ไม่มาด้วยเหตุไรหนอ ถ้าท่านไปไหน เราจักทราบ ถ้าท่านไม่ได้ไป เราจัก ได้ฟังธรรมในสำนักของท่าน แล้วไปสู่สวนไหว้เท้าของฤๅษีทั้งหลายแล้ว นั่ง ฟังธรรมอยู่ในสำนักของเจ้าคณะ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ท่านเจ้าคณะ บอกให้กลับ จึงกล่าวว่า วันนี้ข้าพเจ้าจักพักแรมอยู่ในสวนนี้ ไหว้พวกฤๅษี

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 657

แล้วเข้าไปยังบรรณศาลานอนแล้ว ครั้นพอเวลากลางคืน ท้าวสักกเทวราชมี หมู่นางอัปสรแวดล้อมแล้ว เสด็จมาไหว้พวกฤๅษีพร้อมด้วยนางบริจาริกาของ ตน อารามทั้งสิ้นได้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน สุชาตคิดว่า นั่นอะไรกันหนอ จึงลุกขึ้นมองดูทางช่องบรรณศาลา มองเห็นท้าวสักกะมาไหว้พวกฤๅษี มีนาง เทพอัปสรแวดล้อมอยู่ เกิดความกำหนัด ด้วยอำนาจราคะพร้อมกับที่ได้เห็นพวก นางอัปสร ท้าวสักกะประทับนั่งสดับธรรมกถาแล้ว เสด็จกลับยังพิภพของ พระองค์ ส่วนกุฎุมพี ครั้นวันรุ่งขึ้นไหว้พวกฤๅษีแล้วถามปัญหาผู้ที่มาไหว้ท่าน ทั้งหลายเมื่อคืนนี้เป็นใครขอรับ. พวกฤาษีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุนั่นแหละ พระอินทร์ละ. เขาถามต่อไปว่า ผู้ที่นั่งแวดล้อมพระอินทร์อยู่นั่นเป็นอะไร. ตอบว่า นั่นแหละนางเทพอัปสร. เขาไหว้พวกฤๅษีแล้วกลับไปบ้าน ตั้งแต่ กาลที่เขาไปถึงบ้านแล้ว ก็พูดเพ้ออยู่ว่า ท่านจงให้นางอัปสรแก่เรา ท่านจง ให้นางอัปสรแก่เราเถิด. ลำดับนั้น พวกญาติจึงห้อมล้อมเขา สำคัญว่า ถูก ผีเข้าสิงดังนี้ จึงดีดนิ้วมือ กุฎุมพีนั้นกล่าวว่า เรามิได้พูดถึงอัปสรนี้ แก่เรา พูดถึงเทพอัปสร. พวกญาติเหล่านั้นจึงแต่งตัวภรรยา และหญิงแพศยาพามา แสดงว่า นี้ไงนางอัปสร. เขาแลดูแล้วพูดว่า นี่ไม่ใช่นางอัปสร นี้เป็นนาง ยักษิณี แล้วบ่นเพ้อต่อไปว่า จงให้นางเทพอัปสรแก่เรา อดอาหารถึงความ สิ้นชีวิตในเรือนของตนนั่นเอง เพราะฉะนั้น พระราชาจึงตรัสว่า

สุชาตนั้น อยากได้นางอัปสร จนไม่ยอมกินไม่ ยอมดื่มเท่ากับเอาน้ำด้วยปลายหญ้าคามาเทียบกับน้ำใน มหาสมุทร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทฺเท อุทกํ มิเน ความว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถีผู้เป็นสหาย บุคคลใดถือเอาน้ำด้วยปลายหญ้าคานำมา เทียบกับน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำในมหาสมุทรมีประมาณเพียงเท่านี้ ดังนี้ บุคคล

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 658

นั้นพึงเปรียบเทียบได้อย่างเดียว. ด้วยว่าน้ำในปลายหญ้าคามีประมาณน้อย เหลือเกิน ถ้าจะเปรียบเทียบกามของมนุษย์ในสำนักของกามทิพย์ ก็เป็นเช่น เดียวกันฉันนั้น เพราะฉะนั้น สุชาตนั้นจึงไม่แลดูหญิงอื่น ปรารถนานางเทพอัปสรอย่างเดียว จึงตาย. พระราชาตรัสว่า สุชาตนั้นเมื่อไม่ได้กามอันเป็น ทิพย์ก็ละชีวิตไปแล้วฉันใด แม้ตัวเราก็ฉันนั้น เมื่อไม่ได้เนื้อมนุษย์ซึ่งมีรส อันสูงสุด ก็จักละชีวิตเหมือนกันฉันนั้นแล.

ท่านกาฬหัตถีได้สดับดังนั้น จึงติดว่า พระราชาพระองค์นี้ ทรงติดอยู่ ในรสอย่างมากมาย จักทูลเตือนให้พระองค์ทรงรู้สึก เมื่อจะแสดงเรื่องเปรียบ เทียบว่าแม้สุพรรณหงส์ตัวเที่ยวบินไปทางอากาศ กินเนื้อสัตว์ชาติเดียวกันกับตน ก็พินาศมาแล้วเหมือนกัน แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

เหมือนอย่างพวกหงส์ชาติธตรฐ เป็นสัตว์สัญจร ไปทางอากาศ ได้ถึงความพินาศด้วยกันทั้งหมดเพราะ บริโภคอาหารที่ไม่สมควร.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมแต่งประชาชน ถึง พระองค์ก็เหมือนกัน จงทรงสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ เพราะพระองค์เสวยมังสะที่ไม่ควรจะเสวย ฉะนั้น เขาจักเนรเทศพระองค์.

อธิบายความในคาถานั้นว่า พวกหงส์ชาติธตรฐ ได้ถึงความตายด้วย กันทั้งหมด เพราะบริโภคอาหารที่มิใช่อาชีพของตน.

มีเรื่องเล่าไว้ว่า ได้ยินว่า ในอดีตกาล หงส์เก้าหมื่นตัวกินข้าวสาลี อยู่ในสุวรรณคูหาเขาจิตตกูฏ หงส์เหล่านั้น ไม่ยอมออกนอกถ้ำตลอด ๔ เดือน ในฤดูฝน ถ้าออกไปปีกจะเต็มด้วยน้ำไม่อาจจะบินขึ้นได้ ต้องตกลงในมหาสมุทร

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 659

แน่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยอมออกนอกถ้า เมื่อจวนจะถึงฤดูฝน นำข้าวสาลีที่ เกิดเองตามธรรมชาติมาจากชาตสระจนเต็มถ้ำ กินข้าวสาลีนั้น อยู่ด้วยกัน และ ในเวลาที่หงส์เหล่านั้นเข้าไปถ้ำแล้ว แมลงมุมตัวหนึ่งตัวมันเท่ากับล้อรถ ขึงใย ไว้ที่ประตูถ้ำเดือนละเส้นๆ ใยของมันเส้นหนึ่งๆ เท่าเชือกผูกโค. พวกหงส์ จึงคิดจะทำลายใยแมลงมุมนั้น ให้อาหารแก่หงส์หนุ่มตัวหนึ่งสองส่วน หงส์ หนุ่มตัวนั้น เมื่อสิ้นฤดูฝนจึงออกนำหน้าทำลายใยนั้นออกไป หงส์นอกนั้น ก็เดินตามไปทางนั้น. ครั้นสมัยหนึ่ง ฤดูฝนล่าไปถึง ๕ เดือน หงส์เหล่านั้น ก็หมดอาหาร ปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรหนอ ตกลงกันว่า เมื่อเราทั้งหลาย ยังมีชีวิตอยู่ จักได้ไข่ แล้วจึงกินไข่เสียก่อน แล้วกินลูกหงส์ กินหงส์แก่ เป็นลำดับมา เมื่อฤดูฝนถึง ๕ เดือน แมลงมุมขึงใยได้ ๕ เส้น พวกหงส์กิน เนื้อพวกเดียวกันเป็นสัตว์มีกำลังน้อย. หงส์หนุ่มที่ได้อาหารสองส่วน ตีขาดได้ เพียง ๔ เส้น ตีเส้น ที่ ๕ ไม่ขาด ติดอยู่ตรงนั้นเอง ถูกแมลงมุมเจาะศีรษะ ดื่มเลือดกินเสีย แม้ตัวอื่นมาตีอีกก็ติดอยู่ในเส้นนั้น อีกโดยทำนองนี้ถูกแมลงมุม ดื่มเลือดกินจนหมด. เขากล่าวกันว่า ตระกูลธตรฐสูญในคราวนั้น เพราะ ฉะนั้น ท่านกาฬหัตถีเสนาบดีจึงกล่าวว่า หงส์เหล่านั้นถึงความพินาศด้วยกัน ทั้งหมด.

ในคาถาที่สองมีอธิบายว่า หงส์เหล่านั้น กินเนื้อของสัตว์ชาติเดียวกัน ซึ่งไม่ควรจะบริโภค ฉันใด แม้พระองค์ก็บริโภคเนื้อที่ไม่สมควรบริโภคฉันนั้น เหมือนกัน ในขณะนี้พระนครทั้งสิ้นเกิดภัยขึ้นแล้ว ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอ พระองค์จงงดเว้นเสียเถิด เพราะเหตุที่พระองค์ เสวยเนื้อมนุษย์ชาติเดียวกัน ซึ่งมิใช่เป็นอาหารที่ควรจะบริโภค. เพราะฉะนั้น ชาวเมืองเหล่านั้นจักพากัน เนรเทศพระองค์เสียจากแว่นแคว้น.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 660

แม้พระราชาก็ทรงมีพระประสงค์ จะทรงนำเรื่องอื่นมาเปรียบเทียบอีก แต่ชาวเมืองลุกขึ้นร้องว่า ท่านเสนาบดีทำอะไร จะเอาโจรกินเนื้อมนุษย์ไว้ ทำใน ถ้าเธอจักไม่ยอมอด จงเนรเทศเธอเสียจากแคว้นก็แล้วกัน ไม่ให้ตรัส ได้ต่อไป. พระราชาได้ทรงสดับ ถ้อยคำของตนหมู่มาก ตกพระทัยไม่อาจจะ ตรัสอะไรต่อไปได้ ท่านเสนาบดีกราบทูลต่อไปอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์อาจงดได้หรือไม่ เมื่อพระราชาตรัสตอบว่า ไม่อาจ จึงจัดพระสนม กำนัลในทุกหมู่เหล่า ทั้งพระโอรสพระธิดา ล้วนประดับประดาด้วยเครื่อง อลังการ ให้มาเฝ้าอยู่พร้อมพรั่งข้างพระองค์ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระญาติพระวงศ์หมู่อำมาตย์และสิริราชสมบัตินี้ พระองค์อย่าได้ทรงพินาศ ต้องพลัดพรากจากสิ่งเหล่านั้น จงงดจากการเสวยเนื้อ มนุษย์เสียเถิด. พระราชาตรัสว่า คนและสมบัติเหล่านั้น มิได้เป็นที่รักของเรา ยิ่งไปกว่าเนื้อมนุษย์ เมื่อเสนาบดีกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น พระองค์ต้องเสด็จ ออกจากพระนครและแคว้นนี้ จึงตรัสว่า ท่านกาฬหัตถีเสนาบดี ประโยชน์ ด้วยราชสมบัติของเราไม่มี เรายอมออกจากพระนคร แต่จงให้ดาบเล่มหนึ่ง คนทำกับข้าวคนหนึ่ง ภาชนะใบหนึ่งแก่เรา. ครั้นนั้น ชาวพระนคร ให้ยกดาบ เล่มหนึ่ง ภาชนะที่สำหรับทำเนื้อมนุษย์ให้สุกใบหนึ่ง กระเช้าและคนทำเครื่อง ต้นนั้นมาถวายพระราชานั้น แล้วกระทำการเนรเทศพระองค์เสียจากแคว้น เธอถือดาบพาคนทำเครื่องต้น ออกจากพระนครเข้าป่า ทำที่อยู่ที่ใต้ต้นไทร แห่งหนึ่งอยู่ในที่นั้น ได้ไปตักอยู่ที่ทางดง ฆ่าคนไปมาแล้ว นำมาให้คนทำ เครื่องต้น คนทำเครื่องต้นนั้นได้ทำเนื้อให้สุกแล้ว ถวายพระราชาเป็นอยู่อย่าง นี้ทั้งสองคน เมื่อเธอร้องว่า เราเป็นโจรกินคนชื่อโปริสาท แล้ววิ่งไป ใครๆ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 661

ไม่อาจจะดำรงอยู่โดยสภาพของตนได้ ล้มลง ณ ภาคพื้นทั้งหมด ในคนเหล่านั้น เธอปรารถนาคนใด ก็กระทำคนนั้นให้มีเท้าในเบื้องบน ให้มีศีรษะในเบื้องล่าง นำมาให้แก่คนทำเครื่องต้น วันหนึ่งไม่ได้เนื้อกลับมา เมื่อคนทำเครื่องต้นทูล ถามว่า จะทำอย่างไร พระเจ้าข้า. ก็ตรัสว่า ยกหม้อขึ้นตั้งบนเขาเถิด. คนทำ เครื่องต้นถามว่า เนื้อที่ไหนพระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า เราจักได้เนื้อ. คนทำ เครื่องต้น ตัวสั่นด้วยมั่นใจว่า ชีวิตของเราคงไม่รอดเป็นแน่ ถวายบังคม พระราชาแล้วร้องไห้พลางก่อไฟยกหม้อขึ้นตั้งบนเตา. ครั้นนั้นพระเจ้าโปริสาท จึงประหารคนทำเครื่องต้นนั้นด้วยดาบ ฆ่าให้ตายแล้วจัดทำเนื้อให้สุกดีด้วย พระองค์เองเสร็จแล้วก็เสวย ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่เพียงพระองค์เดียว ได้มนุษย์ใดๆ มาต้องทำกินเอง เรื่องพระเจ้าโปริสาทดักทางมนุษย์ ได้กระฉ่อนเลื่องลือไป ทั่วชมพูทวีปแล้วแล. จบปัพพชนียกัณฑ์.

ครั้นนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีสมบัติบริบูรณ์ ประกอบพาณิชยกรรม ด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางจากต้นดงถึงปลายดงเสมอ เขาคิดว่า เขาเล่าลือ กันว่า โจรโปริสาทฆ่ามนุษย์เดินทางเสียเป็นอันมาก เราจักจ้างคนให้นำข้ามดง นั้น แล้วให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกปากดง กล่าวว่า ท่านจงช่วยนำเราให้เดินพ้น ดงไปทีเถิด แล้วเดินทางไปกับคนพวกนั้น ให้พวกเกวียนไปข้างหน้าทั้งหมด ส่วนตัวเองอาบน้ำลูบไล้เป็นอย่างดีแล้วก็ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง นั่งบนยานน้อยที่สบายเทียมด้วยโคเผือก มีพวกนำข้ามดงแวดล้อมไป ข้างหลังเขาทั้งหมด ขณะนั้นเจ้าโปริสาทขึ้นบนต้นไม้มองดู ไม่พอใจในคน อื่นๆ ด้วยคิดว่า เราจะกินพวกเขาเหล่านี้ทำไมกัน พอเห็นพราหมณ์ก็อยากกิน จนน้ำลายไหล เมื่อพราหมณ์นั้นเข้ามาใกล้ จึงลงจากต้นไม้ประกาศชื่อว่า เฮ้ย กูนี่แหละคือโจรโปริสาท ดังนี้ ๓ ครั้งแล้ว วิ่งแกว่งดาบดุจทำดวงตาของตน

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 662

เหล่านั้นให้เต็มด้วยทราย ไม่มีใครแม้สักคนเดียวที่สามารถจะทรงตนอยู่ได้ หมอบลงราบพื้นดินทั้งหมด เจ้าโปริสาทจับพราหมณ์ผู้นั่งบนยานนั้นที่เท้า ทำ ศีรษะให้ห้อยลงในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยข้อเท้าแล้วแบกไป พวกรับอาสา นำทางลุกขึ้นได้ จึงกล่าวว่า เฮ้ย พวกเรารับเอากหาปณะพันหนึ่งจากมือของ พราหมณ์ การทำงานแห่งลูกผู้ชายของพวกเรา อาจหรือไม่อาจ อย่างไรก็ตาม ลองช่วยกันติดตามดูหน่อยเถิด ว่าแล้วก็พากันติดตามไป. ส่วนเจ้าโปริสาท เมื่อกลับเหลียวหลังดูไม่พบใครๆ จึงค่อยเดินไป. ขณะนั้น บุรุษผู้กล้าหาญ สมบูรณ์ด้วยกำลังคนหนึ่ง วิ่งตามไปโดยเร็ว ทันเจ้าโปริสาท เจ้าโปริสาท เห็นบุรุษนั้น จึงกระโดดข้ามรั้ว แห่งหนึ่ง เผอิญเท้ากระทบกับตอตะเคียน ถูกตอคะเคียนแทงทะลุหลังเท้า เลือดไหลฉูดเดินเขยกไป ครั้นบุรุษนั้นเห็น อาการเช่นนั้น จึงร้องว่า มันถูกเราแทงแล้วโว้ย พวกเราจงตามมาเร็วๆ เถิด จับมันให้ได้ คนเหล่านั้นรู้ว่า เจ้าโปริสาททุพลภาพลงจึงติดตามไปพร้อมกัน เจ้าโปริสาทก็รู้ว่า พวกเขากำลังติดตามมา จึงปล่อยพราหมณ์เอาตัวรอดไป พวกคนรับอาสานำทางเมื่อได้พราหมณ์มาแล้ว ก็กล่าวว่า ธุระอะไรของพวก เราด้วยการจับโจร จึงพากันกลับเพียงแค่นั้นเอง. ส่วนเจ้าโปริสาท พอไปถึง โคนต้นไทรของตนแล้ว เข้านอนอยู่ภายในย่านนั้น ได้ทำพิธีบวงสรวงว่า ข้าแต่เจ้ารุกขเทวดา ถ้าท่านสามารถทำแผลของข้าพเจ้า ให้หายได้ภายใน ๗ วัน นี้ ข้าพเจ้าจักล้างลำต้นของท่านด้วยเลือดในลำคอของกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ในชมพูทวีปทั้งหมด จักแวดวงด้วยลำไส้ของกษัตริย์เหล่านั้น จักกระทำ พลีกรรมด้วยเนื้อมีรส ๕ ดังนี้ เมื่อเขาไม่ได้มังสะและข้าวน้ำ ร่างกายซูบซีดลง แผลได้หายภายใน ๗ วันนั้นเอง. เขาจึงสำคัญไปว่า เป็นด้วยอานุภาพของ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 663

เทวดา ครั้นได้กินเนื้อมนุษย์ ๒ - ๓ วัน ได้มีกำลังดีแล้ว จึงคิดอย่างนี้ว่า เทวดามีอุปการะแก่เรามากมาย เราจักแก้บนแก่ท่าน แล้วถือคาบออกจากโคน ต้นไม้ ด้วยหวังใจว่า จักนำพระราชามาให้ได้.

ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เป็นสหายกินเนื้อด้วยกัน ครั้งที่เจ้าโปริสาทเคยเป็น ยักษ์ในภพก่อน เที่ยวอยู่ตามถิ่นนั้น พบเจ้าโปริสาทจำได้ว่า นี้เป็นสหายของ เราในภพอดีต จึงถามว่า จำเราได้ไหมเพื่อน เจ้าโปริสาทตอบว่า จำไม่ได้. เขาจึงได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ที่ได้เคยร่วมกันมา ครั้งที่เจ้าโปริสาทเป็นยักษ์ เมื่อ ภพก่อนให้เจ้าโปริสาทฟัง. เจ้าโปริสาทจำยักษ์นั้นได้ จึงกระทำการต้อนรับ. ยักษ์ถามว่า ท่านเกิดที่ไหน เจ้าโปริสาทได้แจ้งสถานที่ที่ตนเกิดแล้ว และ เหตุการณ์ที่ต้องถูกเนรเทศจากแคว้น และสถานที่ที่อยู่ในบัดนี้ เหตุที่ถูกต่อไม้ แทงแล้ว เหตุที่จะไปเพื่อแก้บนแก่เทวดา ให้ทราบทุกประการแล้วกล่าวว่า นี่หน้าที่ของเรา ท่านต้องช่วยด้วยนะ. เราทั้งสองไปด้วยกันเถิดเพื่อน. ยักษ์ ตอบว่า เพื่อนเอ๋ย เรายังไปร่วมด้วยไม่ได้ เพราะกิจอย่างหนึ่งของเรายังมีอยู่. แต่เรารู้มนต์ชื่อปทลักขณะ หาค่ามิได้ มนต์นั้นทำให้มีกำลัง ให้วิ่งได้เร็ว และ มีเดชสูง เธอจงเรียนมนต์นี้ไปเถิด เมื่อเจ้าโปริสาทรับคำแล้ว ยักษ์จึงให้มนต์ นั้นแก่เจ้าโปริสาทแล้วหลีกไป. เจ้าโปริสาทตั้งแต่ได้มนต์แล้วก็วิ่งได้เร็วเหมือน ลมพัด กล้าหาญมาก มีกำลังและความเพียรมาก ได้พบพระราชา ๑๐๑ พระ องค์ซึ่งกำลังเสด็จประพาสพระราชอุทยานเป็นต้น วิ่งไปด้วยกำลังดุจลมประกาศ นามแล้วคำรามบันลือลั่น ให้กษัตริย์เหล่านั้นตกพระทัยแล้ว จับพระบาทให้มี เศียรในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยส้น นำไปด้วยกำลังดุจลม ทำช่องที่ฝ่า พระหัตถ์ของกษัตริย์เหล่านั้นแล้วร้อยด้วยเชือกผูกแขวนไว้ที่ต้นไทร จับได้

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 664

หมดภายใน ๗ วันนั้นเอง. พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ปลายนิ้วพระบาทพอ จรดพื้น ห้อยกวัดแกว่งอยู่ดุจพวงดอกหงอนไก่ ที่เหี่ยวในเมื่อลมพัดต้องอยู่ ดูช่างน่าสังเวช ส่วนพระเจ้าสุตโสม เจ้าโปริสาทมิได้จับไปเพราะเห็นว่าเป็น พระอาจารย์ในหนหลังของตน และเกรงว่าถ้าขืนจับเอาไป ชมพูทวีปก็จัก ว่างเปล่าจากกษัตริย์ เธอตั้งใจจะกระทำพลีกรรม ก่อไฟแล้วนั่งถากหลาวอยู่ รุกขเทวดาเห็นการกระทำของเธอคิดว่า เจ้าโปริสาทจักทำพลีกรรมแก่เรา ความผาสุกแม้สักหน่อยหนึ่งในแผลของเขา เรามิได้กระทำให้ บัดนี้ความ ผาสุกของเขานั้น จักทำความพินาศใหญ่ให้แก่พระราชาเหล่านั้น เราจะทำอย่าง ไรหนอ ครั้นเห็นว่าตนไม่อาจจะห้ามได้ จึงไปยังสำนักท้าวมหาราชทั้ง ๔ เล่าความนั้นให้ฟังแล้วกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงช่วยห้ามเขาด้วย เมื่อท้าว มหาราชตอบว่า แม้พวกเราก็ไม่อาจจะห้ามเขาได้ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช ทูลเล่าความนั้นให้ทรงทราบแล้ว กราบทูลว่า ขอพระองค์ได้โปรดห้ามเขาด้วย แม้ท้าวสักกเทวราชก็ตรัสว่า เราก็ไม่อาจจะห้ามเขาได้ แต่เราจะออกอุบาย อย่างหนึ่งให้ เมื่อรุกขเทวดานั้นทูลถามว่า อุบายนั้นเป็นอย่างไร. ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า คนอื่นในโลกทั้งเทวดาที่จะเสนอเหมือนไม่มี ผู้นั้นคือราชโอรส ของพระเจ้าโกรัพยะ ในพระนครอินทปัต แคว้นกุรุ พระนามว่าสุตโสม จะ ทรมานเจ้าโปริสาทนั้นให้หายพยศได้ และจักพระราชทานชีวิตแก่พระราชา ทั้งหลายด้วย ทั้งจักให้เจ้าโปริสาทนั้น งดจากการกินเนื้อมนุษย์ได้ด้วย จักโสต สรงชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นดุจน้ำอมฤต ถ้าเธอใคร่จะให้ชีวิตแก่พระราชาทั้งหลาย จงกล่าวกะเจ้าโปริสาทนั้นว่า การทำพลีกรรมนั้นต้องนำพระเจ้าสุตโสมมาด้วย รุกขเทวดารับเทวบัญชาแล้ว จึงรีบมาแปลงเพศเป็นบรรพชิตไปสถิตอยู่ ณ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 665

ที่ใกล้เจ้าโปริสาท. ส่วนเจ้าโปริสาท ได้ยินเสียงเท้าสำคัญว่าพระราชาบางองค์ จักหนีไป ครั้นได้เห็นรุกขเทวดานั้น จึงคิดว่า ธรรมดาว่าบรรพชิตย่อมเป็น กษัตริย์ทั้งนั้น เราจักจับบรรพชิตนี้ทำพลีกรรมให้เต็มจำนวน ๑๐๑ ดังนี้ แล้ว จึงลุกขึ้นถือดาบติดตามไป แม้ติดตามไปถึง ๓ โยชน์ก็ไม่อาจจะทันได้ เหง อ ไหลจนโซมตัว คิดว่า เมื่อก่อนช้างก็ดี ม้าก็ดี รถก็ดี วิ่งแล่นไปอยู่ เรา ยังวิ่งไล่ตามจับมาได้ทั้งนั้น วันนี้แม้เราวิ่งอยู่จนสุดกำลัง ก็ยังไม่อาจ้จะจับ บรรพชิต ผู้เดินไปอยู่โดยปกติของตนได้ มีเหตุอะไรหนอ เธอดำริต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่า บรรพชิผู้กระทำตามถ้อยคำ เราจักบังคับให้เธอหยุด เธอหยุด แล้วจึงจับดังนี้ แล้วกล่าวว่า หยุดก่อนสมณะ. รุกขเทวดาตอบว่า เราหยุด อยู่ก่อนแล้ว ท่านนั่นแหละจงพยายามหยุดบ้างเถิด. ลำดับนั้น เจ้าโปริสาท จึงกล่าวกะรุกขเทวดานั้นว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่าบรรพชิต ย่อมไม่พูดเท็จ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ส่วนท่านพูดเท็จดังนี้ แล้วกล่าวคาถาว่า

ท่านเมื่อเรากล่าวว่า จงหยุด ก็ยังเดินไม่เหลียว หลัง ดูก่อนพรหมจารี ท่านไม่ได้หยุดกล่าวว่า หยุด แล้ว ดูก่อนสมณะ ท่านประพฤติอย่างนี้สมควรแล้ว หรือ ดาบของเรา ท่านเข้าใจว่าเป็นขนนกกระสาหรือ.

คาถานี้มีอธิบายว่า ดูก่อนสมณะ ท่านนั้นเมื่อเรากล่าวคำว่า จงหยุด ดังนี้ ก็ยังเดินไปมิได้เหลียวหลัง ดูก่อนพรหมจารี ท่านมิได้หยุดแต่กล่าวว่า หยุดแล้ว ก็ท่านสำคัญว่าดาบของเราเป็นขนนกกระสาหรือ.

ในลำดับนั้น เทวดาจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 666

ดูก่อนพระราชา อาตมภาพเป็นผู้หยุดก่อนแล้ว ในธรรมของตน ไม่ได้เปลี่ยนนามและโคตร ส่วนโจร นักปราชญ์ ท่านกล่าวว่า ไม่หยุดในโลก เพราะเคลื่อน จากโลกนี้แล้ว ต้องไปเกิดในอบายหรือในนรกแน่.

ดูก่อนพระราชา ข้าพระองค์ทรงเชื่ออาตมภาพ ต้องจับพระเจ้าสุตโสมผู้เป็นกษัตริย์มาด้วย พระองค์ บูชายัญด้วยพระเจ้าสุตโสมนั่นแล จักไปสวรรค์แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพเป็นผู้หยุดแล้วในกรรมของตนกล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เมื่อก่อนพระองค์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัต ละพระนามนั้น เสียแล้วเปลี่ยนมาชื่อว่า โปริสาท บัดนี้มีนามว่ากัมมาสบาท แม้อุบัติ ในขัตติยสกุล ก็ยังกินเนื้อมนุษย์ซึ่งเป็นของไม่สมควรกิน ท่านเปลี่ยน นามและโคตรของตน ฉันใด อาตมามิได้เปลี่ยนนามและโคตรเหมือนอย่าง นั้นเลย ส่วนโจรนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าไม่ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เคลื่อนจากโลกนี้แล้วต้องไปเกิด ในอบายหรือนรก และโจร นั้นเมื่อตกนรกแล้วย่อมไม่ได้ที่พึ่งสำนักแห่งตนดังนี้แล. คำว่า สุตะ ใน คาถานั้น หมายถึงพระเจ้าสุตโสม อธิบายว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เจริญ ท่านนั่นแลกล่าวมุสาวาท เพราะท่านกล่าวปฏิญาณแก่เราว่า จักนำพระราชา ในชมพูทวีปทั้งหมดมากระทำพลีกรรม บัดนี้ ท่านนำพระราชาสามัญธรรมดา ผู้มีกำลังทุรพลมาเช่นนั้น ส่วนพระเจ้าสุทโสมมหาราชผู้เป็นใหญ่ในพื้นชมพู- ทวีปทั้งหมดท่านมิได้นำมา ถ้อยคำของท่านชื่อว่าเป็นคำเท็จ เพราะฉะนั้น จงไปจับพระเจ้าสุตโสมมาด้วย.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 667

เทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บันดาลให้เพศบรรพชิตสูญหายไป กลับ กลายร่างเป็นเพศของตน ยืนโชติช่วงอยู่ดุจดวงอาทิตย์ในอากาศ เจ้าโปริสาท ได้สดับถ้อยคำและเห็นรูปเทวดานั้นแล้ว ถามว่า ท่านเป็นใครกัน เทวดาตอบว่า เราเป็นเทวดาอยู่ที่ต้นไม้นี้เอง เจ้าโปริสาทดีใจว่า เราได้เห็นเทวดาโดยประจักษ์ กล่าวว่า เทวราชเจ้าอย่าได้วิตกเพราะเหตุพระเจ้าสุตโสมเลย เชิญเสด็จ เข้าต้นไม้ของตนเสียเถิด. เทวดาเข้าสู่ต้นไม้ในขณะที่เจ้าโปริสาทกำลังแลดูอยู่ ขณะนั้นดวงอาทิตย์ก็อัสดงคต ดวงจันทร์ขึ้นปรากฏแล้ว เจ้าโปริสาทเป็นนัก ปราชญ์ทางเวทางคศาสตร์ฉลาดรอบรู้นักษัตรโคจร เธอแหงนดูต้องฟ้า คำริว่า พรุ่งนี้จะเป็นผุสสนักษัตร พระเจ้าสุตโสมจักเสด็จสรง ณ พระราชอุทยาน เราจักจับเธอที่นั่น แต่การรักษาของพระองค์จักเป็นการใหญ่ ชาวพระนคร ทั้งสิ้นจักเที่ยวรักษาตลอด ๓ โยชน์โดยรอบ เราจักต้องไปยังมิคาจิรวันราช อุทยาน ลงสู่มงคลโบกขรณี ซ้อนตัวอยู่เสียแต่ปฐมยาม เมื่อการรักษายังมิได้ ทันจัดแจง แล้วได้ไปยังพระราชอุทยานนั้น ลงสู่สระโบกขรณียืนปกศีรษะ ด้วยใบบัว ด้วยเดชของเจ้าโปริสาทนั้น สัตว์น้ำมีปลาและเต่าเป็นต้น ได้คอย ออกไปว่ายอยู่รอบนอกเป็นฝูงๆ มีคำถามสอดเข้ามาว่า เดชนี้เจ้าโปริสาทได้ เพราะอะไร มีคำแก้ว่าเธอได้ด้วยอำนาจบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ในชาติก่อน แท้ที่ จริง เมื่อศาสนกาลของพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสป เธอได้เป็นผู้ริเริ่ม สลากภัตรน้ำนมสด เธอจึงมีกำลังมากมายด้วยเหตุนั้น เธอได้สร้างโรงไฟแล้ว ถวายไฟ ฟืน มีดเกลียกฟืนและขวานเพื่อบรรเทาความหนาวแก่ภิกษุสงฆ์ เธอจึงได้มีเดชด้วยเหตุนั้น เมื่อเจ้าโปริสาทไปอยู่ภายในพระราชอุทยานอย่างนี้ แล้ว เจ้าพนักงานได้จัดการอารักขาในที่ประมาณ ๓ โยชน์โดยรอบ ส่วน

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 668

พระเจ้าสุตโสมเสวยอาหารเช้าแต่เช้าทีเดียว เสด็จขึ้นทรงมงคลหัตถีที่เขา ประดับประดาไว้อย่างดีแล้ว แวดล้อมไปด้วยจตุรงคินีเสนาเสด็จออกจาก พระนคร.

ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่านันทะ นำเอาคาถาชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา ล่วงหนทาง ๑๒๐โยชน์ แต่พระนครตักกศิลา ถึงพระนครนั้นแล้ว พักอยู่ที่ บ้านใกล้ประตูพระนคร เนื้อดวงอาทิตย์อุทัยเข้าไปสู่พระนคร เห็นพระราชา เสด็จออกทางประด้านทิศตะวันออก. จึงเหยียดมือออกถวายชัยมงคล พระราชา เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรทิศอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นมือที่เหยียด ออกของพราหมณ์ผู้ยืนอยู่ ณ ประเทศอันสูง ทรงไสพระยาช้างเสด็จเข้าไปใกล้ พราหมณ์ เมื่อจะตรัสถาม ได้ตรัสพระคาถาว่า

ชาติภูมิของท่านอยู่แคว้นแดนไหน ข้าพเจ้าขอ ถามท่านพราหมณ์ ท่านมาถึงพระนครนี้ด้วยต้องการ ประโยชน์อะไร ท่านพราหมณ์จงบอกความประสงค์ นั้นแก่ข้าพเจ้า ท่านปรารถนาอะไร ข้าพเจ้าจักให้สิ่ง ที่ท่านปรารถนาในวันนี้.

ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นจึงทูลท้าวเธอเป็นคาถาว่า

ข้าแต่พระจอมธรณีมหิศร พระคาถา ๔ พระคาถา มีอรรถอันลึกวิเศษนัก เปรียบประดุจสาคร ข้าพเจ้า มาในพระนครนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงสดับพระคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์ อย่างยอดเยี่ยม.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 669

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธรณีมหิสฺสรา มีอรรถาธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้คุ้มครองแผ่นดิน พระคาถา ๔ พระคาถาเกิดขึ้นแล้วอย่างไร มีข้อความอันลึกซึ้งประเสริฐยิ่งนัก เปรียบ ด้วยสาคร ข้าพระองค์มายังสถานที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง ขอ พระองค์จงทรงสดับคาถาอันควรแก่ค่าราคาร้อยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง อันพระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้วนี้เถิด.

พราหมณ์ทูลดังนั้นแล้ว ทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คาถาชื่อว่า สตารหา ๔ พระคาถานี้ พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับว่า พระองค์ทรงโปรดปรานในการศึกษา จึงมาเพื่อแสดงแก่พระองค์ พระราชามี พระหฤทัยโสมนัส ตรัสว่า ท่านอาจารย์ ท่านมาดีแล้ว แต่ข้าพเจ้าไม่อาจจะ กลับจากที่นี่ได้ วันนี้ข้าพเจ้าจักมาสรงเศียรโดยคลองแห่งผุสสนักษัตรฤกษ์ เพราะฉะนั้น. ข้าพะเจ้าจักมาฟังในวันพรุ่งนี้ ขอท่านอย่าได้หน่ายแหนงไปเลย แล้วตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงไปจัดที่นอนให้แก่พราหมณ์ ที่เรือน หลังโน้น จงจัดอาหารและผ้านุ่งด้วย แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระราชอุทยาน พระราชอุทยานนั้นแวดล้อมด้วยกำแพงสูง ๑๘ ศอก ช้างยืนเรียง ต่อๆ กัน แวดวงเป็นหลั่นๆ ไป ต่อนั้นออกไปเป็นขบวนม้า ต่อออกไปก็ เป็นขบวนรถ ถัดไปเป็นขบวนนายขมังธนู ถัดไปเป็นขบวนคนเดินเท้า ตั้ง ล้อมวงเป็นลำดับกันดังนี้แล พลนิกายได้บันลือลั่นดุจมหาสมุทรที่กำเริบฉะนั้น พระราชาทรงเปลื้องเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ให้ทำมัสสุกรรม มีพระสรีระ อันฟอกแล้วด้วยจุณสำหรับสนาน เสด็จสรงภายในมงคลสระโบกขรณี ตาม พระราชประเพณีแล้ว เสด็จขึ้นทรงพระภูษาซับพระองค์ประทับ ยืนอยู่. ลำดับนั้น เจ้าพนักงานทูลเกล้าถวายพระภูษาของหอมดอกไม้และเครื่อง

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 670

อลังการ ขณะนั้นเจ้าโปริสาทคิดว่า พระราชานี้ เวลาแต่งพระองค์แล้วจักหนัก เราจักจับในเวลาที่ยังเบา ดังนี้แล้ว โผล่ขึ้นจากน้ำวางนิ้วไว้ ณ หน้าผาก ดวงดาบบนกระหม่อม ดุจพญามัจจุราช บันลือลั่นประเทศว่า เฮ้ย กูนี่แหละ ซึ่งโจรโปริสาท พวกราชบริพารได้ยินเสียงเธอแล้ว ที่ขึ้นช้างก็ล้มลงอยู่กับช้าง ที่ขึ้นม้าก็ล้มลงอยู่กับม้า ที่ในรถก็ล้มอยู่กับรถ พลนิกายทิ้งอาวุธหมอบราบ ลงกับพื้น เจ้าโปริสาทจับพระเจ้าสุตโสมยกขึ้น เวลาที่เธอจับพระราชาอื่นๆ จับพระบาทกระทำให้มีเศียรในเบื้องต่ำ ประหารศีรษะด้วยส้น. ส่วนพระ โพธิสัตว์ เธอน้อมตัวเข้าไปยกขึ้นให้นั่งบนบ่า คิดว่า เราไปทางประตูจะเป็น การเนิ่นช้า เมื่อไม่เห็นทางที่จะไป จึงกระโดดขึ้นกำแพงอันสูงถึง ๑๘ ศอก ที่ตรงหน้านั่นเอง และแล้วกระโดดเหยียบกระพองพญาช้างซับมัน แล้วเหยียบ หลังม้าต่อๆ ไป ด้วยกำลังอันรวดเร็วดุจสายลม ประหนึ่งว่ากระโดดเหยียบ ยอดเขาตั้งอยู่เรียงรายกันไปฉะนั้น เหยียบแอกรถงอนรถวิ่งไปโดยเร็ว เป็น ประหนึ่งว่า หมุนไปเป็นวงกลมของลูกข่าง และย่ำใบไทรที่สะพรั่งด้วยผลเขียว ฉะนั้นพักเดียวก็ล่วงหนทางได้ ๓ โยชน์ ดำริว่า มีใครตามมาช่วยท่านสุตโสมบ้าง หรือเปล่า เหลียวดูไม่เห็นใคร จึงค่อยๆ เดินไปเห็นหยาดน้ำแต่ปลายพระเกศา ของพระเจ้าสุตโสมตกลงมาที่อกของตน ดำริว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์ที่จะไม่กลัว ความตายไม่มี แม้พระเจ้าสุตโสมก็เห็นจะร้องไห้เพราะกลัวต่อความตาย แล้ว กล่าวคาถาว่า

ท่านผู้มีความรู้ มีปัญญาเป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ ได้มากย่อมไม่ร้องไห้ การที่พวกบัณฑิตเป็นผู้บรรเทา ความเศร้าโศกผู้อื่นได้ นี่แหละเป็นที่พึ่ง อย่างยอดเยี่ยม ของนรชน เหมือนอย่างเกาะเป็นที่พำนักของคนที่ต้อง เรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 671

ท่านสุตโสม พระองค์คิดถึงอะไร ตนหรือญาติ หรือลูกเมีย หรือข้าวเปลือกทรัพย์สิน เงินทอง ท่าน โกรัพยะผู้ประเสริฐสุด หม่อมฉันขอฟังถ้อยคำของ พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปณฺฑิตา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย เช่นพระองค์เป็นผู้บรรเทาความเศร้าโศกของตนเหล่าอื่นเสียได้ การบรรเทา ความเศร้าโศกนี้แล ย่อมเป็นที่พึ่งอย่างดีเยี่ยมของชนเหล่าอื่น เปรียบเหมือน เกาะเป็นที่พำนักของคนที่เรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้มี ความรู้เช่นพระองค์ย่อมไม่ร้องไห้ ดูก่อนสุตโสมผู้เป็นสหาย เมื่อคนเช่นท่าน ร้องไห้อยู่เพราะกลัวความตาย คนอันธพาลเหล่าอื่นจักกระทำอย่างไรเล่า ข้าพเจ้าขอถามท่าน ดูก่อนท่านสุตโสม ในบรรดาปิยชนมีตัวเองเป็นต้นเหล่านี้ พระองค์คิดถึงอะไร พระองค์ทรงเศร้าโศกรำพึงถึงอะไรเล่า.

พระเจ้าสุตโสมตรัสคาถาว่า

เรามิได้คิดถึงตัวเอง มิได้คิดถึงลูกเมีย มิได้คิด ถึงทรัพย์สมบัติ มิได้คิดถึงบ้านเมือง แต่ธรรมของ สัตบุรุษที่ท่านประพฤติกันครั้งโบราณ เราผัดต่อ พราหมณ์ไว้คิดถึงเรื่องธรรมข้อนั้นแล.

การนัดหมาย เราตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระเจ้า แผ่นดินได้ทำไว้กับพวกพราหมณ์ในแคว้นของตน การนัดหมายนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ เราจักเป็น ผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 672

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุตฺถุนาบิ ความว่า พระเจ้า สุตโสมตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ มิได้เศร้าโศกเลย มิได้คิดถึง มิได้ เศร้าโศกเพื่อประโยชน์แก่ตนเองเป็นต้น แม้เหล่านั้นเลย. ก็แต่ว่าธรรมของ สัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิตที่ท่านประพฤติมาแล้ว ครั้งโบราณมีอยู่. ขึ้นชื่อว่า ความสัตย์เพราะกระทำการนัดแน่ะอันใดไว้ ข้าพเจ้าเศร้าโศกถึงการนัดแน่. ไว้กับพราหมณ์นั้น. คำว่า จักเป็นผู้รักษาความสัตย์ ในคาถานั้น หมายความว่า ข้าพเจ้าจักเป็นผู้รักษาคำสัตย์ไว้ ด้วยว่าพราหมณ์นั้นนำ เอาคาถา ๔ คาถา ที่พระกัสสปทศพล ทรงแสดงแล้วมาจากเมืองตักกศิลา ข้าพเจ้าได้สั่งให้กระทำอาคันตุกวัตรแก่พราหมณ์นั้น แล้วจึงมาอาบน้ำ ข้าพเจ้า ได้กระทำการนัดหมายกับพราหมณ์ไว้ว่า ข้าพเจ้าจักฟังคาถานั้น ขอให้ท่าน พราหมณ์จงรออยู่จนกว่าข้าพเจ้าจะกลับมา ดังนี้แล้วจึงมา แต่ท่านมิได้ให้ ข้าพเจ้าฟังคาถานั้น จับเอาข้าพเจ้ามาเสียก่อน ถ้าท่านปล่อยข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้า ฟังธรรมแล้ว จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

ครั้งนั้น เจ้าโปริสาททูลพระเจ้าสุตโสมว่า

คนผู้มีความสุข หลุดออกจากปากของมัจจุแล้ว จะมาสู่มือของศัตรูอีก ข้อนี้ข้าพเจ้ายังเชื่อไม่ได้หรอก ข้าแต่ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด พระองค์จะไม่เข้า ใกล้ข้าพเจ้าอีกกระมัง.

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาท เสด็จไปถึง พระราชมนเทียรของพระองค์ เพลิดเพลินด้วยกาม คุณารมณ์ พระองค์ได้ชีวิตอันเป็นที่รักจิตสนิทใจ พระองค์จักกลับมาหาข้าพเจ้าได้อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 673

ใ นคาถาเหล่านั้น บทว่า สุขี ความว่า บุคคลที่ถึงความสุขแล้ว. บทว่า มจฺจุมุขา ปมุตฺโต ความว่า หลุดออกจากปากของความตาย เพราะพ้นจากเงื้อมมือของโจรเช่นข้าพเจ้าแล้ว จะพึงกลับมาอีก ถ้อยคำนี้ ข้าพเจ้ายังไม่ยอมเชื่อเลย ข้าแต่ท่านโกรัพยะผู้ประเสริฐสุด พระองค์จะไม่มา ยังสำนักของหม่อมฉันอีกกระมัง ดูก่อนท่านสุตโสม ท่านพ้นจากเงื้อมมือของ เจ้าโปริสาทแล้ว เสด็จไปยังพระราชมณเฑียร. บทว่า สกํ มนฺทิรํ ได้แก่ ราชธานี. บทว่า กามกามี ความว่า พระองค์ทรงเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ จักกลับมายังสำนักของข้าพเจ้าได้อย่างไร.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น เป็นดุจพระยาไกรสรราชสีห์ ไม่ หวาดหวั่น ตรัสตอบว่า

คนที่มีศีลบริสุทธิ์ มุ่งปรารถนาความตาย คนผู้มี ธรรมลามกที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาชีวิต นรชนคนใดพึงกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแม้แห่งของรัก อันใด ของรักอันนั้น ไม่รักษานรชนคนนั้นจากทุคติ ได้เลย.

แม้ถึงลมจะพึงพัดภูเขามาได้ ดวงจันทรและ ดวงอาทิตย์จะพึงตกในแผ่นดินได้ แม่น้ำทั้งหมดจะ พึงไหลทวนกระแสได้ ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็พูดเท็จ ไม่ได้จริงๆ นะพระราชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตํ วเรยฺย ความว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาท นรชนคนใด มีศีลบริสุทธิ์ พึงมุ่งปรารถนาความตาย อธิบายว่า จงต้องการ จงปรารถนาความตาย. บทว่า น ชีวิตํ ความว่า ส่วนบุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่นักปราชญ์ติเตียน ไม่พึงปรารถนาคือไม่ต้องการชีวิต เพราะชีวิตของเขา ไม่มีราคา เพราะไม่ทำความเจริญอะไรต่อไป. บทว่า ยสฺส ความว่า คนทุศีล

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 674

พึงกล่าวคำเท็จเพื่อประโยชน์แก่ตนใด วัตถุมีตัวเองเป็นต้นนั้น ย่อมไม่รักษา บุรุษนั้น จากทุคติได้เลย.

บทว่า คิริมาวเหยฺย ความว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เป็นสหาย ท่าน ก็เป็นสหายผู้สนิท เคยเล่าเรียนในสำนักอาจารย์เดียวกันกับข้าพเจ้าถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคำเท็จเพราะเหตุแห่งชีวิตเลย ถึงแม้ว่าลมต่างชนิดมีลมในทิศ บูรพาเป็นต้น จะพึงพัดภูเขาใหญ่มาในอากาศ ประดุจปุยนุ่นได้ แม้เหตุนั้นก็พึง เธอถือได้ แต่ท่านพึงเธอคำนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่พึงกล่าวคำเท็จ ดังนี้ได้ ยิ่งกว่า เหตุนั้น ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะพึงตกในแผ่นดินพร้อมด้วยวิมานของตนแม้ แม่น้ำทุกสายจะพึงไหลทวนกระแสได้ ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เจริญ ถ้อยคำอย่างนี้ ถ้ามีใครกล่าวขึ้น ก็พึงเธอได้ ส่วนคำที่ว่า ข้าพเจ้าพึงพูดเท็จนี้ ถ้าชนทั้งหลาย กล่าวแก่ท่านแล้ว คำนั้น ท่านไม่พึงเชื่อเลย.

ฟ้าจะพึงแตกได้ ทะเลจะพึงแห้งได้ แผ่นดิน อันทรงไว้ซึ่งภูตจะพึงพลิกได้ เมรุบรรพตจะพึงเพิก ถอนได้ตลอดราก ข้าพเจ้าก็พูดเท็จไม่ได้เลยนะราชา.

แม้พระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทก็ยังไม่ยอมเชื่อ. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทรงดำริว่า เจ้าโปริสาทนี้ไม่ยอมเชื่อเรา เราจักให้เธอยอมเชื่อ ด้วยคำสาบาน แล้วตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านจงให้ข้าพเจ้าลงจาก บ่าก่อน ข้าพเจ้าจะทำสาบานให้ท่าน ครั้นพอเจ้าโปริสาทเอาลงวางไว้ ณ ภาคพื้นแล้ว เมื่อจะทรงทำการสาบาน ได้ตรัสพระคาถาว่า

ข้าพเจ้าจักจับดาบและหอก จะทำแม้ซึ่งการ สาบานแก่ท่านก็ได้นะสหาย ข้าพเจ้าพ้นจากท่านไป แล้ว เป็นผู้หาหนี้มิได้ จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 675

ความแห่งคาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนเจ้าโปริสาทผู้เป็นสหาย ถ้าท่าน ปรารถนา ข้าพเจ้าก็จะจับดาบและหอกสาบานว่า ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้บังเกิด ในตระกูลกษัตริย์ ซึ่งมีการรักษาอันกวดขันเป็นอย่างดี ด้วยอาวุธเห็นปานนี้ ดูก่อนสหาย หรือว่าท่านปรารถนาคำสาบานอย่างอื่นอีก ข้าพเจ้าก็จะทำการ สาบานให้แก่ท่านอีกก็ได้ เราพ้นจากท่านแล้ว ก็จะไปหาพราหมณ์ กระทำตน ไม่ให้มีหนี้สินแก่พราหมณ์แล้ว ก็จักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

ในลำดับนั้น เจ้าโปริสาท คิดว่า เจ้าสุตโสมนี้การทำการสาบานซึ่ง พวกกษัตริย์ไม่ควรการทำ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้าสุตโสมนี้แก่เรา เธอจะ กลับมาหรือไม่กลับก็ตามที แม้ตัวเราก็เป็นขัตติยราช จักถือเอาเลือดในลำแขน ของเรากระทำพลีกรรมแก่เทวดา ท่านสุตโสมลำบากใจนัก แล้วกล่าวคาถาว่า

การนัดหมายอันใด อันพระองค์ผู้ดำรงอยู่ใน ฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้ทรงทำไว้กับพราหมณ์ ในแคว้นของตน การนัดหมายอันนั้นต่อพราหมณ์ ประเสริฐ พระองค์จงเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

คำว่า กลับมา ในคาถานั้น หมายถึงว่า พระองค์พึงเสด็จมาอีก.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านอย่าได้ วิตกไปเลย ข้าพเจ้าได้สดับสตารหคาถา ๔ คาถาแล้ว ให้เครื่องบูชาแก่ธรรม กถึกแล้ว จักมาแต่เช้าทีเดียว แล้วตรัสคาถาว่า

การนัดหมายอันใด ที่ข้าพเจ้าผู้ตั้งอยู่ในฐานะ เป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ทำไว้กับพราหมณ์ในแคว้นของ ตน การนัดหมายอันนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ ข้าพเจ้าจักเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมา.

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 676

คำว่า กลับมา ในคาถานั้น หมายถึงว่า ข้าพเจ้าจะย้อนกลับมาอีก.

ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทจึงทูลเจ้าสุตโสมว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ ทรงกระทำการสาบานที่พวกกษัตริย์ไม่ควรทำแล้ว จงทรงระลึกถึงพระดำรัสที่ ได้ทรงปฏิญาณนั้นไว้ ครั้นพระมหาสัตว์ตรัสให้เธอด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อน สหายโปริสาท ท่านรู้จักข้าพเจ้าตั้งแต่เวลายังเยาว์ คำเท็จข้าพเจ้าไม่เคยพูดเลย แม้แต่การล้อเลียน ข้าพเจ้าจักพูดเท็จได้หรือ บัดนี้ข้าพเจ้าดำรงอยู่ในราชสมบัติ แล้ว รู้จักถูกและผิด จักพูดเท็จได้หรือ ท่านจงเชื่อข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจัก กลับมาให้ทันพลีกรรมของท่านในวันพรุ่งนี้ เจ้าโปริสาทจึงกล่าวว่า ข้าแต่ มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอเชิญพระองค์เสด็จเถิด เมื่อพระองค์ไม่เสด็จมา จัก ไม่เป็นพลีกรรมเพราะเทวดาเว้น พระองค์จักไม่รับ ขอพระองค์อย่าทำอันตราย แก่พลีกรรมของข้าพเจ้า แล้วส่งพระมหาสัตว์ไป พระมหาสัตว์เป็นดุจพระจันทร์ พ้นแล้วจากปากแห่งราหู พระองค์มีกำลังดุจพญาช้างสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงได้ เสด็จถึงพระนครโดยฉับพลัน.

ลำดับนั้น แม้เสนาของพระเจ้าสุตโสมนั้น ก็ยังตั้งขบวนอยู่นอก พระนคร เพราะดำริว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชเจ้า พระองค์เป็นบัณฑิต ทรงแสดงธรรมไพเราะ เมื่อได้ตรัสกถาเรื่องหนึ่งหรือสองเรื่อง จักทรมาน เจ้าโปริสาทได้แล้วกลับมา ดุจพญาช้างซับมันตัวประเสริฐพ้นแล้วจากปากแห่ง สีหะฉะนั้น และเกรงชาวพระนครจะติได้ว่าให้พระราชาแก่เจ้าโปริสาทแล้ว มาเสีย ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์เสด็จมาแต่ไกล จึงพากันลุกขึ้นต้อนรับ ถวาย คำนับแล้วกราบทูลปฏิสันถารว่า พระมหาราชเจ้า ถูกเจ้าโปริสาททำให้ลำบาก อย่างไรบ้าง เมื่อตรัสตอบว่า เจ้าโปริสาทได้ทำกิจที่มารดาบิดาทำได้ยากแก่เรา

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 677

เธอดุร้ายสาหัสเช่นนั้น ได้สดับธรรมกถาของเราแล้วปล่อยเราดังนี้ จึงแต่งองค์ เจ้าสุตโสมเชิญเสด็จขึ้นคอช้างพระที่นั่ง แวดล้อมเข้าสู่พระนคร ชาวเมืองได้เห็น ดังนั้นก็ชื่นชมทั่วหน้ากัน พระโพธิสัตว์ เพราะว่าพระองค์มีความเคารพธรรม เป็นนักธรรมะ ไม่ทันได้เฝ้าพระราชมารดาบิดา ตั้งพระหฤทัยว่าจักเฝ้าทีหลัง จึงเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ประทับนั่ง ณ พระราชอาสน์รับสั่งให้เรียกหาพราหมณ์ มา และตรัสสั่งให้ทำอุปัฏฐานกิจมีการแต่งหนวดเป็นต้น แก่พราหมณ์นั้นด้วย เวลาที่เจ้าพนักงานแต่งหนวดพราหมณ์แล้ว ให้อาบน้ำลูบไล้ด้วยของหอม ประดับด้วยผ้าและเครื่องอลังการแล้วนำเฝ้า พระองค์เสด็จสรงทีหลังพระราชทานโภชนะของพระองค์แก่พราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์บริโภคแล้ว พระองค์ เสวยแล้ว เชิญพราหมณ์ให้นั่ง ณ บัลลังก์ควรบูชา พระองค์ประทับนั่ง ณ อาสนะต่ำ พอบูชาพราหมณ์ด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น เพราะ ทรงเคารพในธรรม ตรัสอาราธนาว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าขอฟังคาถาชื่อว่า สตารหาที่ท่านนำมาเพื่อข้าพเจ้า.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสเป็นคาถาว่า

ก็พระโพธิสัตว์นั้น ครั้นพ้นจากเงื้อมมือของเจ้า โปริสาทแล้ว ได้เสด็จไปตรัสกะพราหมณ์นั้นดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอสดับคาถา ชื่อว่า สตารหา ซึ่งได้สดับแล้วจะพึงเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้า.

คำว่า ตรัสดังนี้ว่า ในคาถานั้น หมายความว่า ได้ตรัสคำนี้.

ลำดับนั้น ในเวลาที่พระโพธิสัตว์อาราธนาแล้ว พราหมณ์จึงฟอกมือ ทั้งสองด้วยของหอม นำเอาคัมภีร์อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ ออกจากถุง จับขึ้น

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 678

สองมือแล้วทูลว่า บัดนี้ชอมหาบพิตรจงทรงสดับคาถาชื่อว่าสตารหา ๔ คาถา ตามที่พระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้ อันจะถอนความเมามีความเมาด้วยราคะ เป็นต้นให้สร่าง ให้สำเร็จอมตมหานิพพานนี้แล้ว ดูคัมภีร์กล่าวคาถาว่า

ข้าแต่ท่านสุตโสมมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษา ผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากก็รักษา ไม่ได้ พึงคบกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับ สัตบุรุษ เพราะรู้สัตธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อม ราชรถที่เขาให้วิจิตรเป็นอันดี ยัง คร่ำคร่าได้แล.

แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วน ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับ สัตบุรุษด้วยกัน ย่อมรู้กันได้.

ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกล ข้าแต่พระราชา ธรรม ของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษทั้งสองนี้ ท่าน กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้นแล.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า คราวเดียวเท่านั้น หมายถึงสิ้นวาระเดียว เท่านั้น. คำว่า สัตบุรุษ หมายถึงสัตบุรุษทั่วๆ ไป. คำว่า ผู้สมาคมนั้น อธิบายว่า การสังคมคือการสมาคมกับพวกสัตบุรุษนั้น ไม้เป็นไปแล้วเพียง ครั้งเดียว ก็ย่อมอภิบาลรักษาคุ้มครองบุคคลนั้นได้. คำว่า อสัตบุรุษ อธิบายว่า

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 679

ส่วนการสมาคมกับอสัตบุรุษแม้บุคคลกระทำไว้แล้ว มากคือกระทำไว้เป็นเวลา นาน ได้แก่ การอยู่ในที่เดียวกันก็รักษาไม่ได้ คือย่อมนำความพินาศมาให้. คำว่า พึงคบ คือ พึงนั่งใกล้ อธิบายว่า พึงคลุกคลีอยู่กับท่านบัณฑิตเหล่านั้น ตลอดทุกอิริยาบถ. คำว่า ความสนิทสนม หมายถึงความสนิทสนมกันด้วย ไมตรี. คำว่า สัทธรรมของสัตบุรุษ หมายถึงสัทธรรมคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ของบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. คำว่า ความเจริญ อธิบายว่า เพราะรู้ธรรมนี้แล้ว มีแต่ความเจริญอย่างเดียว ขึ้นชื่อว่าความเสื่อม ย่อมไม่มีเลย. คำว่า ราชรถ หมายถึงรถทรงของพระราชาทั้งหลาย. คำว่า ให้วิจิตรเป็นอันดี หมายความว่าที่เขากระทำบริกรรมไว้อย่างดี. คำว่า กับ สัตบุรุษนั้นแล รู้กันได้ อธิบายว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมรู้จักพระนิพพาน อันงดงามสูงสุดถึงการนับว่าสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ ทั้งหลาย กล่าวคือ พระนิพพานนั้นย่อมไม่เข้าถึงชรา คือ ย่อมไม่แก่. คำว่า ฟ้า หมายถึงอากาศ. คำว่า ไกลกัน อธิบายว่า แผ่นดินตั้งอยู่คงที่ อากาศ มิได้ต่ำลงมาและไม่ได้ตั้งอยู่คงที่. ของทั้งสองอย่างนี้ แม้จะเนื่องเป็นอันเดียวกัน ด้วยประการฉะนี้ก็ตามที แต่ก็ย่อมชื่อว่าอยู่ไกลกัน เพราะมิได้เกี่ยวเนื่องและ ติดต่อกันโดยเฉพาะ. คำว่า ฝั่ง คือ จากฝั่งข้างนี้ ไปยังฝั่งข้างโน้น. คำว่า ท่านกล่าว อธิบายว่า ธรรมของสัตบุรุษกับของอสัตบุรุษนั้นไกลกันยิ่งกว่านั้น.

พราหมณ์กล่าวคาถา ชื่อว่า สตารหา ๔ คาถา ตามที่พระกัสสปทศพล ทรงแสดงไว้อย่างนี้แล้ว ได้นั่งนิ่งอยู่ พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น มี พระหฤทัยโสมนัสว่า การมาของเรามีผลหนอ ทรงพระดำริว่า คาถาเหล่านี้ ไม่ใช่ภาษิตของพระสาวก ไม่ใช่ภาษิตของฤๅษี ไม่ใช่ภาษิตของกวี แต่เป็น

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 680

ภาษิตของพระสัพพัญญู จะควรค่าเท่าไรหนอ ทรงพระดำริต่อไปว่า แม้เรา จักให้จักรวาลทั้งสิ้น กระทำให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ตลอดถึงพรหมโลก ก็ไม่ อาจจะทำให้สมควร ส่วนเราพอที่จะให้ราชสมบัติในพระนครอินทปัตประมาณ ๗ โยชน์ ในกุรุรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์แก่พราหมณ์นี้ โชคที่จะได้ราชสมบัติ ของพราหมณ์นี้มีอยู่หรือหนอ ทรงตรวจดูด้วยอานุภาพแห่งองค์วิทยาไม่เห็นมี ทรงตรวจถึงฐานันดร มีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้น ไม่ทรงเห็นโชคฐานันดร แม้เพียงนายบ้านหมู่หนึ่ง เมื่อทรงตรวจถึงโชคลาภ ทรงตรวจตั้งแต่ทรัพย์ โกฏิหนึ่ง ทรงเห็นโชคลาภเพียงสี่พันกหาปณะตกลงพระทัยว่าจักบูชาพราหมณ์ นั้น ด้วยทรัพย์เท่านี้ รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ถุงละพันกหาปณะ รวมสี่ถุง ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์แสดงคาถานี้แก่พวกกษัตริย์อื่นๆ ได้ทรัพย์เท่าไร พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ได้คาถาละร้อยกหาปณะ เพราะฉะนั้น คาถาเหล่านี้ จึงได้นามว่า สตารหา. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะพราหมณ์นั้น ต่อไปว่า ท่านอาจารย์ไม่รู้ราคาของภัณฑะที่ตนถือเที่ยวไป ตั้งแต่นี้ คาถาเหล่า นี้จงซื่อว่าสหัสสารหา ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถาว่า

คาถาเหล่านี้ซื่อว่า สหัสสารหา ควรพัน ไม่ได้ ชื่อว่า สตารหา ควรร้อย ท่านจงรับทรัพย์สี่พันโดยเร็ว เถิดพราหมณ์.

ครั้นแล้วพระหหาสัตว์ จึงพระราชทานยานน้อยที่เป็นสุขคันหนึ่ง ตรัสสั่งราชบุรุษว่า จงส่งพราหมณ์ให้ถึงบ้านโดยสวัสดี แล้วทรงส่งพราหมณ์ นั้นไป ขณะนั้นได้เกิดเสียงสาธุการใหญ่ว่า คาถาชื่อสตารหา พระเจ้าสุตโสม ทรงเปลี่ยนเป็นสหัสสารหา ทรงบูชาแล้ว สาธุ สาธุ พระราชมารดาบิดาของ พระโพธิสัตว์ ได้ทรงสดับเสียงนั้น ตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร ได้ทรงทราบ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 681

ตามความเป็นจริง กริ้วพระมหาสัตว์เพราะเสียดายทรัพย์ ส่วนพระมหาสัตว์ ทรงส่งพราหมณ์แล้ว เสด็จไปเฝ้าพระราชมารดาบิดา ถวายบังคมประทับยืน อยู่ ครั้งนั้น พระราชบิดาไม่ทรงกระทำ แม้สักว่าปฏิสันถารว่า เจ้าพ้นจาก มือโจร ผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นมาได้อย่างไรพ่อ โดยเหตุที่ทรงเสียดายทรัพย์ ตรัสถามว่า ได้ยินว่า เจ้าฟังคาถา ๔ คาถา ให้สี่พันจริงหรือ เมื่อพระมหาสัตว์ กราบทูลว่า จริง ตรัสพระคาถาว่า

คาถาควรแปดสิบหรือเก้าสิบ แม้ร้อยก็ควร พ่อสุตโสมเอ๋ย เจ้าจงรู้ด้วยตนเอง คาถาควรพันมีที่ ไหน.

คำว่า ด้วยตนเอง ในคาถานั้น อธิบายว่า เจ้าจงรู้ด้วยตัวของเจ้าเอง ทีเดียว. คำว่า มีที่ไหน อธิบายว่า คาถาที่ควรราคาถึงพันนั้นมีอยู่ ณ ที่ ไหนกัน.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะกราบทูลพระราชบิดานั้น ให้ทรงทราบว่า ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาความเจริญทางทรัพย์เท่านั้น ย่อมปรารถนาความเจริญ ทางการศึกษาด้วย ได้ตรัสคาถาดังต่อไปนี้ว่า

ข้าพระองค์ปรารถนาความเจริญของตนทางการ ศึกษา พวกสัตบุรุษผู้สงบจึงคบข้าพระองค์ ข้าพระองค์ ไม่อิ่มด้วยสุภาษิต ดุจมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ ฉะนั้น พระทูลกระหม่อม.

ไฟที่ไหม้หญ้าและไม่ย่อมไม่อิ่ม และสาครไม่ อิ่มด้วยแม่น้ำทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ ประเสริฐสุด แต่บัณฑิตทั้งหลายได้สดับถ้อยคำของ

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 682

ข้าพระองค์ ย่อมไม่อิ่มด้วยสุภาษิตเหมือนกัน ฉะนั้น พระทูลกระหม่อมผู้เป็นจอมประชาชน เวลาใด ข้าพระองค์จะต้องเรียนคาถาที่นี้ประโยชน์ต่อทาสของ ตน เวลานั้นข้าพระองค์ต้องเรียนโดยเคารพเหมือนกัน ความอิ่มในธรรมของข้าพระองค์ไม่มีเลย พระทูลกระหม่อม.

คำว่า โว ในคาถานั้น เป็นนิบาตสำหรับลงแทรกในระหว่างคำ. คำว่า พวกสัตบุรุษ อธิบายว่า ข้าพระองค์ปรารถนาว่า พวกสัตบุรุษเหล่านี้แล พึงคบข้าพระองค์. คำว่า แม่น้ำ หมายถึงแม่น้ำทุกสาย. คำว่า ของตน อธิบายว่า นันทพราหมณ์จงยกไว้ก่อนเถิด เวลาใดข้าพระองค์จะต้องฟัง ธรรมกถาแม้จากทาสของคนเอง เวลานั้นข้าพระองค์ก็ต้องฟังธรรมกถาโดย ความเคารพ.

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าสุตโสมจึงทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม พระองค์อย่าทรงบริภาษข้าพระองค์เพราะทรัพย์ ข้าพระองค์ ให้ปฏิญาณต่อโปริสาทไว้ว่า ฟังธรรมแล้วจักกลับ บัดนี้ข้าพระองค์จักไปยัง สำนักของโปริสาท ขอพระทูลกระหม่อมจงทรงรับราชสมบัตินี้เถิด เมื่อจะกราบ ทูลมอบราชสมบัติ ได้ตรัสพระคาถาว่า

แว่นแคว้นของพระองค์นี้ บริบูรณ์ด้วยสมบัติ ทั้งปวง ทั้งทรัพย์ทั้งยานทั้งพระธำมรงค์ พระองค์จะ บริภาษข้าพระองค์เพราะเหตุแห่งกามทำไม ข้าพระองค์ ขอทูลลาไปในสำนักโปริสาทในบัดนี้.

คำว่า สำนัก ในคาถานั้น หมายถึงที่อยู่ของเจ้าโปริสาท.

ในสมัยนั้น พระหฤทัยของพระราชบิดาร้อนขึ้นทันที ท้าวเธอตรัสว่า พ่อสุตโสม ทำไมจึงพูดอย่างนี้ บิดาจักจับโจรด้วยจตุรงคเสนาแล้วตรัสคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 683

ทัพช้าง ทัพรถ ทัพเดินเท่า ทัพม้า ล้วนแต่ ได้ศึกษาเชี่ยวชาญในการธนูทุกหมู่เหล่า พอที่จะรักษา ตัวได้ เราจะยกทัพจับศัตรูฆ่าเสีย.

ในคาถาเหล่านั้น บทว่า หนาม อธิบายว่า ถ้าเสนาที่เราเตรียมไว้ อย่างนี้ อาจที่จะจับโจรนั้นได้ ลำดับนั้น เราจะพาชนชาวแคว้นทั้งหมดไป จับโจรนั้น แล้วฆ่าทิ้งเสีย คือจะฆ่าศัตรูซึ่งเป็นปัจจามิตรของพวกเรา.

ลำดับนั้น พระราชมารดาบิดา มีพระพักตร์นองด้วยอัสสุชล ทรง กันแสงพิไรร่ำรำพันอยู่ว่า อย่าไปนะพ่อ ไปไม่ได้นะพ่อ ทั้งพระสนม กำนัลจำนวนหมื่นหกพันนาง ทั้งราชบริพารนอกจากนี้ ก็ปริเวทนาว่า พระองค์จะเสด็จไปไหน ทิ้งพวกข้าพระองค์ไว้ให้อนาถา แม้ใครๆ ใน พระนครทั้งสิ้น ก็ไม่อาจดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ได้เกิดโกลาหลเป็น อันเดียวกันทั่วพระนครว่า ได้ยินว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงรับปฏิญาณพระเจ้า โปริสาทมา บัดนี้ ได้ทรงสดับ สตารหาคาถา ๔ คาถา ทรงทำสักการะแก่ พราหมณ์ธรรมกถึก ถวายบังคมลาพระราชมารดาบิดาแล้ว จักเสด็จไปสู่สำนัก โจรอีกดังนี้ ส่วนพระมหาสัตว์ได้ทรงสดับพระดำรัสพระราชมารดาบิดาแล้ว ตรัสพระคาถาว่า

โปริสาทได้ทำกิจที่ทำได้แสนยากจับข้าพระองค์ ได้ทั้งเป็นแล้วปล่อยมา ข้าพระองค์ยังนึกถึงบุรพกิจ เช่นนั้นอยู่ ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ผู้เป็นจอม ประชาชน ข้าพระองค์จะพึงประทุษร้ายเขาได้อย่างไร.

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 684

คำว่า จับได้ทั้งเป็น ในคาถานั้นมีอธิบายว่า จับได้ทั้งกำลังที่มีชีวิต อยู่. คำว่า เช่นนั้น คือบุรพกิจเห็นปานนั้นที่เขากระทำไว้แล้ว. คำว่า บุรพกิจ หมายถึงอุปการะซึ่งมีมาแล้วในกาลก่อน พระเจ้าสุตโสมทรงเรียก พระบิดาว่า พระทูลกระหม่อมผู้เป็นจอมประชาชน.

พระเจ้าสุตโสมทูลอนุศาสน์พระราชมารดาบิดาแล้ว กราบทูลต่อไปว่า ขอพระราชมารดาบิดาอย่าได้วิตกถึงข้าพระองค์เลย ข้าพระองค์มีกัลยาณธรรม ได้กระทำไว้แล้ว ความเป็นอิสระในฉกามาวจร ของข้าพระองค์ไม่เป็นผล ที่จะพึงได้ด้วยยาก แล้วถวายบังคมพระราชมารดาบิดาทูลลาแล้ว ตรัสสั่งชน อื่นๆ ที่เหลือแล้วเสด็จไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระโพธิสัตว์ ถวายบังคมพระราชบิดาและพระราชมารดา ตรัสสั่งชาวนิคมและพลนิกรแล้ว พระองค์ เป็นผู้ตรัสคำสัตย์ รักษาความสัตย์ ได้เสด็จไปยังสำนัก ของโปริสาทแล้ว.

คำว่า รักษาความสัตย์ ในคาถานั้น มีอธิบายว่า พระโพธิสัตย์ ทรงรักษาคำสัตย์อย่างมั่นคง ได้เสด็จไปแล้ว.

พระอรรถกถาจารย์พรรณนาว่า ในคืนนั้นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ใน พระราชนิเวศน์ รุ่งขึ้นเข้าพอได้อรุณก็ถวายบังคมลาพระราชมารดาพระราช บิดา ตรัสสั่งนิกรชนทั่วกันแล้ว อันมหาชนมีพวกฝ่ายในเป็นต้น มีหน้า นองด้วยน้ำตา คร่ำครวญอยู่เซ็งแซ่ พากันไปส่งเสด็จ พระองค์เสด็จ ออกจากพระนคร เมื่อไม่อาจให้มิตรชนเหล่านั้นกลับได้ จึงทำขีดขวาง ด้วยท่อนไม้ในหนทางให้ตรัสว่า ถ้ามีความรักใครในเรา อย่าล่วงขีดนี้มา

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 685

มหาชนไม่อาจล่วงขีดอาชญาของพระโพธิสัตว์ผู้มีศีลมีเดช คร่ำครวญอยู่ ด้วยเสียงอันดัง และดูพระโพธิสัตว์ ผู้มีอาการอันองอาจดุจราชสีห์เสด็จ ไปอยู่ เมื่อพระมหาสัตว์ล่วงลับสายตาแล้ว ร้องเซ่งแซ่ขึ้นพร้อมกัน กลับเข้าพระนครแล้ว ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังสำนักของเจ้าโปริสาท โดยหนทางที่เสด็จมา เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า พระโพธิสัตว์ไปยัง สำนักของเจ้าโปริสาทนั้นแล้วแล. จบธรรมสวนกัณฑ์.

ตั้งแต่พระโพธิสัตว์เสด็จไป เจ้าโปริสาทคิดว่า ถ้าท่านสุตโสมสหาย ของเราต้องการจะมา ก็จงมา ถ้าไม่ต้องการจะมา ก็อย่ามา รุกขเทวดาจง ลงโทษแก่เราตามความปรารถนา เราจักฆ่าพระราชาเหล่านี้แล้ว จักทำพลีกรรม ด้วยมังสะมีรส ๕ เวลาที่เจ้าโปริสาททำจิตกาธาร ก่อไฟขึ้นลุกโพลง นั่งถาก หลาวรอเวลาจะให้เป็นถ่านเสียก่อน พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปถึง เจ้าโปริสาท ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์ก็มีจิตโสมนัส ทูลถามว่า สหายเอ๋ย ท่านเสด็จไป ทรงทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วหรือ. พระมหาสัตว์ตอบว่า ใช่แล้วมหาราช คาถาอันพระกัสสปทศพลทรงแสดงไว้ เราได้สดับแล้วและการสักการะ สำหรับ พราหมณ์ธรรมกถึก เราได้การทำเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้นเป็นอันว่า เราได้ไป ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว จึงตรัสคาถาว่า

การนัดหมาย อันเราผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพระเจ้า แผ่นดิน ได้ทำไว้กับพราหมณ์ในแคว้นของตน การ นัดหมายนั้นต่อพราหมณ์ผู้ประเสริฐ เราเป็นผู้รักษา ความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญท่าน บูชายัญกินเราเถิด.

คำว่า จงบูชายัญ ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ขอเชิญท่านฆ่าข้าพเจ้า เสียแล้วจงบูชายัญแก่เทวดา หรือจงเคี้ยวกินเนื้อของข้าพเจ้า ก็เชิญตามสบาย เถิด.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 686

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น จึงคิดว่า พระราชานี้ไม่กลัว เป็นผู้องอาจ ไม่หวาดหวั่นต่อมรณภัยตรัสได้อย่างนี้ นี่อานุภาพของอะไรหนอ จึงสันนิษฐาน ว่า สิ่งอื่นไม่มี พระเจ้าสุตโสมนัสตรัสว่า เราได้สดับ คาถาที่พระกัสสปทศพล ทรงแสดงแล้ว นั่นพึงเป็นอานุภาพของคาถาเหล่านั้น เราจะให้เธอตรัสฟังคาถา คงจักเป็นผู้หาความกลัวมิได้อย่างนี้ แล้วกล่าวคาถาว่า

การกินของข้าพเจ้าที่มีหวังได้ไม่หายไปไหนเสีย ทั้งจิตถาธารนี้ก็ยังมีควันอยู่ มังสะที่ให้สุกบนถ่านที่ หมดควันชื่อว่า ให้สุกดี ข้าพเจ้าขอสดับคาถาชื่อว่า สตารหาเสียก่อน.

ในคาถานั้น คำว่า การกิน หมายถึงการเคี้ยวกิน อธิบายว่า การกิน ตัวท่านเสียนั้น สำหรับข้าพเจ้าจะกินก่อนหรือหลังก็ได้ มิได้หายไปไหน แต่ว่า ข้าพเจ้าจะพึงกินท่านในภายหลัง. คำว่า ให้สุก อธิบายว่า เนื้อที่ให้สุกใน ไฟที่ไม่มีควัน คือ ไม่มีเปลว ย่อมชื่อว่าเป็นเนื้อที่สุกดี.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงทรงดำริว่า โปริสาทนี้เป็นคนมี ธรรมอันลามก เราจะข่มเธอหน่อยหนึ่งให้เกิดความละอายแก่ใจ แล้วจึงจะ แสดงให้ฟัง แล้วตรัสคาถาว่า

ดูก่อนท่านโปริสาท ท่านเป็นคนประพฤติไม่- ชอบธรรม ต้องจำจากแคว้น เพราะเหตุแห่งท้อง ส่วนคาถาเหล่านี้ ย่อมกล่าวสรรเสริญธรรม ธรรมและ อธรรมจะลงรอยกันได้ที่ไหน.

คนที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ทำกรรมที่ร้ายแรง มีฝ่ามือนองด้วยเลือดเป็นนิจ ย่อมหาสัจจะมิได้ ธรรม จักมีแต่ที่ไหน ท่านจะทำอะไรด้วยการสดับ.

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 687

คำว่า ธรรม ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ส่วนคาถาเหล่านั้นกล่าว สรรเสริญโลกุตรธรรม ๙ ประการ. คำว่า จะลงรอยกันได้ที่ไหน อธิบายว่า จะ มารวมกันได้อย่างไร ด้วยว่า ธรรมยังสัตว์ให้ถึงสุคติหรือนิพพาน ส่วนอธรรม ยังสัตว์ให้ไปถึงทุคติ. คำว่า สัจจะ อธิบายว่า แม้เพียงว่า วาจาสัตย์ยัง ไม่มี แล้วธรรมะจะมีแต่ที่ไหน. คำว่า จะทำอะไรด้วยการสดับ มีอธิบายว่า ท่านจักทำอะไรด้วยการสดับนี้ เพราะท่านไม่ใช่ภาชนะของธรรมเป็นดุจภาชนะ ดิน ไม่ใช่ภาชนะสำหรับใส่มันเหลวสีหะฉะนั้น.

แม้เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้ เจ้าโปริสาทก็ไม่โกรธ เพราะเหตุไร เพราะพระมหาสัตว์เป็นผู้ประเสริฐด้วยเมตตาภาวนา. ลำดับนั้น เจ้าโปริสาท จึงทูลว่า พระสหายสุตโสม ข้าพเจ้าเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมคนเดียวละหรือ แล้วกล่าวคาถาว่า

คนใดเที่ยวป่าฆ่ามฤค เพราะเหตุมังสะ หรือ คนใดฆ่าคนเพราะเหตุตน ทั้งสองคนนั้นเป็นผู้เสมอกัน ในโลกเบื้องหน้า ทำไมหนอพระองค์จึงตรัส ถึงข้าพเจ้า ว่าเป็นคนประพฤติไม่ชอบธรรม.

ในคาถานั้น บทว่า กสฺมา โน ความว่า เจ้าโปริสาททูลว่า พวกพระราชาในพื้นชมพูทวีป. แต่งตัวประดับประดาแล้ว มีพลนิกรเป็นบริวาร ใหญ่ ทรงรถอย่างดี เที่ยวประพาสป่าที่สำหรับล่าฆ่ามฤค แทงมฤคด้วย ลูกศรที่คมๆ ฆ่าจนให้ตาย ทำไมพระองค์จึงไม่ตรัสว่าพระราชาเหล่านั้น ตรัสว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมแต่คนเดียว ถ้าเขาไม่มีโทษ แม้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีโทษเหมือนกันแหละ.

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงแก้ลัทธิของเจ้าโปริสาทนั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 688

เนื้อสัตว์ ๑๐ ชนิด อันกษัตริย์ผู้รู้จักขัตติยธรรม ไม่ควรบริโภค ท่านบริโภคเนื้อมนุษย์ซึ่งไม่ควรบริ- โภค เพราะฉะนั้น ท่านเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ธรรมดากษัตริย์ผู้รู้จัก ธรรมของกษัตริย์ ไม่ควรบริโภคเนื้อสัตว์มีเนื้อช้างเป็นต้น ๕ ชนิด สองหน รวมเป็น ๑๐ ชนิด ซึ่งเป็นมังสะที่ไม่ควรบริโภคเลย. คำว่า น ขา ในคาถานั้น บาลีบางฉบับเป็น น โข ดังนี้ก็มี. อีกนัยหนึ่ง มีอธิบายว่า กษัตริย์ผู้รู้จัก ขัตติยธรรมควรบริโภคเนื้อสัตว์ ๕ ชนิด คือ กระต่าย เม่น เหี้ย หมู เต่า ในบรรดาสัตว์ที่มี ๕ เล็บเหล่านั้นเป็นภักษาหาร ไม่ควรบริโภคเนื้อชนิดอื่น ส่วนท่านบริโภคเนื้อมนุษย์ ซึ่งมิใช่เป็นเนื้อที่ควรบริโภคเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม.

เจ้าโปริสาทถูกพระมหาสัตว์ตรัสข่มขี่อย่างนี้ มองไม่เห็นอุบายที่จะ โต้ตอบนั้นอย่างอื่นได้ เมื่อจะให้พระมหาสัตว์รับบาปบ้าง จึงได้กล่าวคาถาว่า

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาทแล้ว ไปถึง พระราชมณเฑียรของตน ทรงอภิรมย์ด้วยกามคุณแล้ว ยังมาถึงมือของโปริสาทผู้เป็นศัตรูอีก พระองค์เป็นผู้ ไม่ฉลาดในขัตติยธรรมเสียเลยนะพระราชา.

ในคาถานี้มีอธิบายว่า เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวว่า พระองค์ไม่ฉลาดใน คัมภีร์นิติศาสตร์ ส่วนที่เป็นขัตติยธรรม พระองค์ไม่รู้จักความเจริญและความ พินาศของตน เกียรติของพระองค์เลื่องลือระบือไปในโลกว่าเป็นบัณฑิต โดย หาเหตุมิได้เลย ส่วนข้าพเจ้าไม่เห็นเลยว่า พระองค์เป็นบัณฑิต เห็นแต่เพียงว่า พระองค์เป็นคนโง่มากที่สุด

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 689

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ตรัสว่า ดูก่อนสหายอันคนที่ฉลาดใน ขัตติยธรรม ควรเป็นเช่นตัวเรานี้แหละ เพราะเรารู้จักขัตติยธรรม แต่มิได้ ปฏิบัติอย่างที่ท่านกล่าว แล้วตรัสคาถาว่า

ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในขัตติยธรรม ชนเหล่า นั้นต้องตกนรกเสียโดยมาก เพราะฉะนั้น เราจึงละ ขัตติยธรรมเป็นผู้รักษาความสัตย์กลับมาแล้ว ดูก่อน ท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

ในคาถานั้น คำว่า เป็นผู้ฉลาด คือฉลาดในการปฏิบัติเพื่อความ เป็นอย่างนั้น. คำว่า โดยมาก อธิบายว่า ชนเหล่านั้นโดยมากต้องตกนรก ส่วนชนเหล่าใดมิได้บังเกิดในนรกนั้น ชนเหล่านั้นก็ย่อมบังเกิดในอบายที่เหลือ.

เจ้าโปริสาทกล่าวว่า

ปราสาทราชมณเฑียร แผ่นดิน โค และม้า สตรีที่น่าอภิรมย์ทั้งกาสิกพัสตร์ และแก่นจันทน์ พระองค์ยังได้ในพระนครนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะเป็น พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์อะไรด้วย ความสัตย์.

ในคาถานั้น บทว่า ปาสาทวาสา อธิบายว่า ดูก่อนสหายสุตโสม ปราสาทที่ประทับ ๓ หลังสร้างขึ้นประดุจดังทิพยวิมานของพระองค์ เหมาะ แก่ฤดูทั้ง ๓. บทว่า ปวีควสฺสา ได้แก่ แผ่นดิน โค และม้า. บทว่า กามิตฺถิโย คือสตรีอันเป็นวัตถุแห่งกามารมณ์. บทว่า กาสิกจนฺทนญฺจ ได้แก่ ทั้งผ้ากาสิกพัสตร์และแก่นจันทน์แดง. บทว่า สพฺพํ ตหํ ความว่า เครื่องเหล่านี้ แสะเครื่องอุปโภคบริโภคอย่างอื่น พระองค์ย่อมได้ในพระนคร ของพระองค์นั้นทุกอย่าง เพราะทรงเป็นเจ้าของ เมื่อทรงเป็นเจ้าของแล้วจะ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 690

ปรารถนาสิ่งใด ก็ย่อมได้บริโภคสิ่งนั้นทุกๆ อย่างทุกๆ ประการ พระองค์ ละสิ่งนั้นทั้งหมด เป็นผู้รักษาความสัตย์เสด็จมาในที่นี้ ทรงเห็นอานิสงส์อะไร ด้วยความสัตย์.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสพระคาถาว่า

รสเหล่าใดบรรดาที่มีอยู่ในแผ่นดิน ความสัตย์ ย่อมดีกว่ารสเหล่านั้น เพราะสมณพราหมณ์ที่ตั้งอยู่ใน ความสัตย์ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติและมรณะเสียได้.

ในคาถานั้น บทว่า สาธุตรํ อธิบายว่า เพราะเหตุที่รสแม้ทั้งหมด ย่อมเป็นของประณีตแก่สัตว์ทั้งหลาย ในกาลทุกเมื่อทีเดียว เพราะฉะนั้น ความสัตย์จึงดีกว่ารสเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่บุคคลตั้งอยู่ใน วิรัติสัตย์ และวจีสัตย์แล้ว ย่อมข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏ กล่าวคือ ชาติและ มรณะเสียได้ คือถึงพระอมตมหานิพพานได้ เพราะฉะนั้น ความสัตย์จึงดี กว่ารสเหล่านั้น.

พระมหาสัตว์ ตรัสอานิสงส์ในความสัตย์แก่เจ้าโปริสาทด้วยประการ ฉะนี้แล้ว ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทแลดูพระพักตร์ของพระมหาสัตว์ ซึ่งคล้ายกับ ดอกบัวที่แย้มแล้ว และพระจันทร์เต็มดวง ทรงดำริว่า ท่านสุตโสมนี้ แม้ เห็นถ่านและกองเพลิง แม้เห็นเราผู้ถากหลาวอยู่ อาการของเธอแม้สักว่า ความหวาดเสียวก็ไม่มี นี้เป็นอานุภาพแห่งสตารหาคาถาหรือของความสัตย์ หรืออะไรอย่างอื่นหนอ จะถามเธอดูก่อน เมื่อจะถามได้กล่าวคาถาว่า

พระองค์พ้นจากมือของโปริสาทแล้ว เสด็จไป ถึงพระราชมณเฑียรของพระองค์ ทรงอภิรมย์ด้วย กามคุณแล้ว ยังกลับมาสู่มือของโปริสาทผู้เป็นศัตรูอีก

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 691

ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งประชาชน ความ กลัวตายของพระองค์ไม่มีแน่ละหรือ และพระองค์ผู้ ตรัสซึ่งความสัตย์ไม่มีพระทัยท้อแท้บ้างเทียวหรือ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสแจ้งแก่เจ้าโปริสาทนั้น จึงตรัส เป็นคาถาว่า

กัลยาณธรรมหลายอย่าง เราได้ทำแล้ว ยัญที่ ไพบูลย์บัณฑิตสรรเสริญ เราก็ได้บูชาแล้ว ทางปรโลก เราก็ได้ชำระให้บริสุทธิแล้ว ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรมใครเล่า จะกลัวตาย. กัลยาณธรรมหลายอย่าง เราได้ทำแล้ว ยัญที่ไพบูลย์ บัณฑิตสรรเสริฐ เราได้บูชาแล้ว เราไม่ เดือดร้อนที่จะไปสู่ปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญ ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

พระชนกและพระชนนี เราก็ได้บำรุงแล้ว ความ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้วโดยธรรม ทางปรโลกเราก็ได้ชำระให้บริสุทธิ์แล้ว คนที่ตั้งอยู่ใน ธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย. พระชนกและพระชนนี เราก็ได้บำรุงแล้ว ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ ปกครองแล้วโดยชอบธรรม เราไม่เดือดร้อนที่จะไป สู่ปรโลก ดูก่อนท่านโปริสาท เชิญท่านบูชายัญกิน เราเสียเถิด.

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 692

อุปการกิจในพวกญาติและมิตร เราก็ได้กระทำ แล้ว ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้ว โดยธรรม ทางปรโลก เราก็ได้ชำระให้บริสุทธิ์แล้ว คนที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวต่อความตาย. อุปการกิจในพวกญาติและมิตร เราก็ได้กระทำแล้ว ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้วโดย ธรรม เราไม่ให้เดือดร้อนที่จะไปสู่ปรโลก ดูก่อน ท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสียเถิด.

ทานเราก็ได้ให้แล้วเป็นอันมากแก่คนจำนวนมา สมณพราหมณ์ เราก็ได้อุปถัมภ์ให้อิ่มหนำแล้ว ทาง ปรโลกเราก็ชำเราให้บริสุทธิ์แล้ว คนที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวต่อความตาย. ทานเราก็ได้ให้แล้วเป็น อันมากแก่คนจำนวนมาก สมณพราหมณ์ เราก็ได้ อุปถัมภ์ให้อิ่มหนำแล้ว เราไม่เดือดร้อนที่จะไปสู่ปร โลก ดูก่อนท่านโปริสาท ท่านจงบูชายัญกินเราเสีย เถิด.

ในคาถานั้นมีอธิบายว่า คำว่า กัลยาณธรรมหลายอย่าง หมายถึง กัลยาณธรรมอันมากอย่างด้วยกัน ด้วยอำนาจของกินมีข้าวเป็นต้น. คำว่า ยัญ อธิบายว่า อนึ่ง ยัญอันไพบูลย์ยิ่งที่พวกบัณฑิตสรรเสริญแล้ว เราก็ได้ บูชาแล้ว คือไห้เป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง. คำว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม อธิบายว่า บุคคลที่ตั้งอยู่ในธรรมเช่นกับตัวเรา ใครเล่าจะพึงกลัวต่อความตาย. คำว่า ไม่เดือดร้อน คือ ไม่ได้มีความ

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 693

เดือดร้อนเลย. คำว่า ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เราก็ได้ปกครองแล้ว โดยธรรม อธิบายว่า ราชสมบัติเราก็ได้ปกครองแล้วโดยธรรมที่เดียว เพราะ เรามิได้ยังราชธรรม ๑๐ ประการให้กำเริบ. คำว่า อุปการกิจเราก็ได้กระทำ แล้ว หมายถึงกิจของญาติเราก็ได้กระทำแล้วในญาติทั้งหลาย และกิจของมิตร เราก็ได้กระทำแล้วในมิตรทั้งหลาย. คำว่า ทาน หมายถึงเจตนาพร้อมด้วย วัตถุ. คำว่า เป็นอันมาก คือโดยอาการมากมาย. คำว่า แก่คนจำนวน มาก อธิบายว่า เราให้ทานแก่คนเพียง ๕ คน ๑๐ คนเท่านั้นก็หาไม่ เราได้ ให้แล้วแก่คนตั้งร้อยตั้งพันทีเดียว. คำว่า ให้อิ่มหนำแล้ว อธิบายว่า เรา การทำภาชนะสำหรับใส่ให้เต็มแล้วจึงให้อิ่มหนำเป็นอย่างดีแล้ว.

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น ตกใจกลัวว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชนี้ เป็นสัตบุรุษพร้อมด้วยความรู้ แสดงธรรมอันไพเราะ ถ้าเราจะกินเธอเสีย แม้ศีรษะของเราก็จะต้องแตกออกเป็น ๗ เสียง หรือแผ่นดินพึงให้ช่องแก่เรา (ถูกแผ่นดินสูบ) แล้วทูลว่า ข้าแต่พระสหายสุตโสมเอ๋ย พระองค์เป็นคนที่ ข้าพเจ้าไม่ควรกิน แล้วกล่าวคาถาว่า

บุรุษผู้รู้อยู่ จะพึงกินยาพิษ หรือจับอสรพิษที่มี ฤทธิ์รุ่งโรจน์ มีเดชกล้าได้หรือ บุคคลใดพึงกินคน ที่กล่าวคำสัตย์เช่นกับพระองค์ ศีรษะของบุคคลนั้น จะต้องแตกออกเป็น ๗ เสี่ยงแน่.

คำว่า ยาพิษ หมายถึงยาพิษชนิดที่ร้ายแรง สามารถจะทำผู้ดื่มกิน ให้ตายได้กินที่นั้นทันที. คำว่า รุ่งโรจน์ อธิบายว่า ก็หรือบุคคลนั้นพึงจับ อสรพิษที่คออันรุ่งโรจน์อยู่ด้วยพิษของตน มีเดชร้ายแรง ด้วยเดชแห่งพิษนั้น เหมือนกันนั้นแหละ ซึ่งเที่ยวไปอยู่ประดุจกองไฟ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 694

เจ้าโปริสาทนั้นทูลพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่พระสหาย พระองค์เป็น เหมือนพาพิษที่ร้ายแรง ใครจักกินพระองค์ด้วยประการฉะนี้ แล้วใคร่จะ สดับคาถา จึงทูลพระมหาสัตว์ แม้จะถูกพระมหาสัตว์ตรัสห้ามว่า พระองค์. ไม่ใช่ภาชนะของคาถาที่หาโทษมิได้เห็นปานนี้ เพื่อจะให้เกิดความเคารพใน ธรรม ดำริว่า ตนในชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นบัณฑิตเช่นกับท่านสุตโสมนี้ ไม่มี เธอพ้นจากมือเราไปแล้ว ได้สดับคาถาเหล่านั้น ทำสักการะแก่ธรรมกถึก แล้ว ยังเอามัจจุติดหน้าผากกลับมาอีกได้ พระคาถาจักสำเร็จประโยชน์อย่าง ศักดิ์สิทธิ์ แล้วเกิดความเคารพในการฟังธรรมหนักขึ้น เมื่อจะทูลอ้อนวอน

พระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาว่า

นรชนได้ฟังธรรมย่อมรู้จักบุญและบาป ใจของ ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาจะยินดีในธรรมได้บ้าง.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่สหายสุตโสม ธรรมดาว่า นรชนทั้งหลาย ได้สดับธรรมแล้ว ย่อมรู้จักบุญบ้าง บาปบ้าง แม้ใจของข้าพเจ้าได้ฟังคาถา นั้นแล้ว จะพึงยินดีในธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการได้บ้างเป็นแน่.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า บัดนี้เจ้าโปริสาทต้องการจะฟัง ธรรม เราจะแสดงดังนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนสหาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงตั้งใจสดับ ให้ดี ครั้นเตือนเจ้าโปริสาทให้เงี่ยโสตสดับแล้ว ตรัสสรรเสริญพระคาถา อย่างเดียวกันกับที่นันทพราหมณ์กล่าวแล้ว เมื่อพวกเทวดาในชั้นกามาวจรทั้ง ๖ ให้สาธุการเสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ทรงแสดงธรรมแก่เจ้าโปริสาท ตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษคราว เดียวเท่านั้น การสมาคมนั้น ย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 695

การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึงคบกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญไม่มี ความเสื่อม.

ราชรถที่เขาทำให้วิจิตรเป็นอย่างดี ยังคร่ำคร่า ได้แล แม่สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วน ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษ สัตบุรุษด้วยกันนั่นแลย่อมรู้กันได้.

ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหา สมุทร เขาก็กล่าวว่าไกลกัน ดูก่อนพระราชา ธรรม ของสัตบุรุษและของอสัตบุรุษ ท่านก็กล่าวว่าไกลกัน ยิ่งกว่านั้นอีก.

เมื่อเจ้าโปริสาทคิดอยู่ว่า คาถาทีพระโพธิสัตว์ตรัสนั้น เป็นประหนึ่งว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าตรัสแล้ว เพราะตรัสไว้ไพเราะ ทั้งพระองค์เป็นบัณฑิต ด้วย สรีระทั้งสิ้นก็เต็มไปด้วยปีติ มีวรรณะ ๕ ประการ เธอได้เป็น ผู้มีจิตอ่อนในพระโพธิสัตว์ สำคัญพระโพธิสัตว์เป็นดุจพระชนกผู้ประทาน เศวตฉัตร ฉะนั้น เธอดำริว่า เราไม่เห็นเงินทองอะไรๆ ที่จะพึงถวายพระเจ้า สุตโสมได้ แต่เราจะถวายพระพรคาถาละพร แล้วกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระสหาย ผู้เป็นจอมประชาชน คาถา เหล่านี้มีประโยชน์ มีพยัญชนะดี พระองค์ตรัสไพเราะ ข้าพเจ้าได้สดับแล้วเพลิดเพลินปลื้มใจ ชื่นชม อิ่มใจ ข้าพเจ้าขอถวายพระพร ๔ อย่างแด่พระองค์.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 696

ในคาถานั้น คำว่า เพลิดเพลิน ได้แก่ เกิดความเพลิดเพลินขึ้นแล้ว. คำว่า ปลื้มใจ ชื่นใจ อิ่มใจ นอกนี้ก็เป็นคำอธิบายขยายความของคำว่าเพลิด เพลินนั่นแล แท้จริงคำทั้ง ๔ คำนี้ ก็คือเป็นคำที่แสดงถึงอาการร่าเริงยินดีนั่นเอง.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ท่านจักให้พรอะไร เมื่อจะตรัส รุกรานเจ้าโปริสาทได้ตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนพระสหายผู้มีธรรมอันลามก พระองค์ไม่ รู้สึกถึงความตายของพระองค์ ไม่รู้สึกถึงสิ่งที่เป็น ประโยชน์และหาประโยชน์มิได้ ทั้งนรกและสวรรค์ เป็นผู้ติดอยู่ในรส ตั้งอยู่ในทุจริต จักให้พรอะไร.

ข้าพเจ้าพึงบอกพระองค์ว่า จงให้พร แม่พระองค์ ให้พรแล้ว จะกลับไม่ให้ก็ได้ ความทะเลาะวิวาทนี้ อยู่ในอำนาจของพระองค์ ใครจะเข้ามาเป็นบัณฑิต วินิจฉัยชี้ขาดได้.

ในคาถานั้น บทว่า โย อธิบายว่า พระองค์ไม่รู้สึก คือไม่รู้ถึง ความตายแม้ของพระองค์เองว่า ตัวเรานี้ก็มีความตายเป็นธรรมดา จึงได้ประกอบกรรมอันลามกอย่างเดียว. บทว่า หิตาหิตํ ความว่า พระองค์ไม่รู้จักว่า กรรมนี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา กรรมนี้หามีประโยชน์ไม่ กรรมนี้จักนำไป สู่นรก กรรมนี้จักน่าไปสู่สวรรค์. บทว่า รเส ได้แก่ ในรสแห่งเนื้อมนุษย์. บทว่า วชฺชํ แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อวากเรยฺย ความว่า พระองค์ ให้พรด้วยวาจา แม้ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระองค์จงให้พรนั้นแก่ข้าพเจ้า พระองค์ จะกลับไม่ให้เสียก็ได้. บทว่า อุปพฺพเชยฺย ความว่า ใครจะมา เป็นบัณฑิตวินิจฉัยการทะเลาะนี้ได้.

ลำดับนั้น เจ้าโปริสาทดำริว่า ท่านสุตโสมนี้ไม่เชื่อเรา เราจะให้เธอ เธอให้ได้ แล้วกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 697

คนเราให้พรใดแล้วจะกลับไม่ให้ ไม่ควรให้พร นั้น ดูก่อนสหาย ขอให้พระองค์จงทรงมั่นพระทัย รับพรเถิด แม้ชีวิตของหม่อมฉันก็จะสละถวายได้.

คำว่า จงทรงมั่นพระทัย ในคาถานั้น หมายความว่า จงมีพระทัย อันแน่วแน่มั่นคงเถิด.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ทรงพระดำริว่า เจ้าโปริสาทกล้าพูดหนักอยู่ เธอจักทำตามถ้อยคำของเรา เราจักรับพร แต่เราจักขอพรว่า ท่านอย่ากิน เนื้อมนุษย์เป็นข้อแรก เธอจักลำบากเกินไป เราจักรับพร ๓ อย่างอื่นก่อน ภายหลังจึงรับพรข้อนี้ แล้วตรัสพระคาถาว่า

พระอริยะกับพระอริยะ ย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน ผู้มีปัญญากับผู้มีปัญญา ย่อมมีศักดิศรีเสมอกัน ข้าพเจ้า พึงเห็นท่านเป็นผู้หาโรคมิได้ตลอดร้อยปี นี้เป็นพรข้อ ที่หนึ่ง หม่อนฉันปรารถนา.

ในคาถานั้น คำว่า อริยะ หมายถึงความประเสริฐด้วยมรรยาท. คำว่า ศักดิ์ศรี หมายถึงศักดิธรรม คือ มิตรธรรม. คำว่า ผู้มีปัญญา หมายถึงผู้ถึง พร้อมแล้วด้วยความรู้. คำว่า เสมอกัน คือย่อมเปรียบเทียบกันได้ เหมือนน้ำ คงคากับน้ำยมุนา ฉะนั้น จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเปรียบเทียบกันได้โดยธาตุ. คำว่า พึงเห็นท่าน อธิบายว่า พระเจ้าสุตโสมทรงทำเป็นเหมือนปรารถนาให้ เจ้าโปริสาทมีชีวิตยืนยาว จึงขอพรคือชีวิตอันประเสริฐข้อแรกก่อน จริงอยู่ ธรรมดาว่านักปราชญ์ไม่ควรจะพูดว่าท่านจงให้ชีวิตแก่เรา เจ้าโปริสาทฟังคำ นั้น คิดว่า เจ้าสุตโสมปรารถนาความไม่มีโรคแก่เราผู้เดียว จึงกล่าวอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 698

ส่วนเจ้าโปริสาทได้ฟังคำนั้น มีใจชื่นบานว่า เจ้าสุตโสมนี้ยังปรารถนา ความเป็นอยู่ของเรา ผู้เป็นมหาโจร กำจัดตนออกจากอิสรภาพ ใคร่จะกินเนื้อ อยู่ ณ บัดนี้ ผู้กระทำความพินาศใหญ่อย่างนี้ ท่านต้องการประโยชน์แก่เรา น่าสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อจะถวายพระพรยอมตามที่พระมหาสัตว์ตรัสลวงแล้ว รับพรอยู่นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

อริยะกับอริยะ ย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน ผู้มีปัญญา กับผู้มีปัญญาย่อมมีศักดิ์ศรีเสมอกัน พระองค์พึงเห็น หม่อมฉันผู้หาโรคมิได้ตลอดร้อยปี หม่อมฉันขอถวาย พระพรข้อต้นนี้ตามประสงค์แล.

คำว่า พร ในคาถานั้น หมายถึงพรข้อที่หนึ่งในบรรดาพร ๔ ประการ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสต่อไปว่า

พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นามบัญญัติว่า มุทธาภิสิตเหล่าใดในชมพูทวีปนี้ พระองค์อย่ากิน พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี่เป็นพรข้อที่สอง หม่อมฉัน ปรารถนา.

คำว่า ได้นามบัญญัติ ในคาถานั้น อธิบายว่า ผู้มีพระนามาภิไธย อันกระทำแล้วว่า มุทธาภิสิต ดังนี้ เพราะทรงอภิเษกบนพระเศียรเกล้า. คำว่า พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น อธิบายว่า พระองค์อย่าได้เสวยกษัตริย์ที่ได้รับ มูรธาภิเษกเหล่านั้นเลย.

พระมหาสัตว์เมื่อจะทรงรับพรข้อที่สอง ได้ทรงรับพร คือชีวิตของ พวกกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ แม้เจ้าโปริสาทเมื่อจะถวายพระพร แด่พระโพธิสัตว์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 699

พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นกษัตริย์ ได้นามบัญญัติว่า มุทธาภิสิตเหล่าใดในชมพูทวีปนี้ หม่อมฉันจะไม่กิน พระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้น นี้เป็นพระพรข้อที่สอง หม่อมฉันยอมถวาย.

มีคำถามสอดเข้ามาว่า กษัตริย์เหล่านั้นได้ยินพระสุรเสียงของสอง กษัตริย์ทั่วกันหรือไม่? ตอบว่า ไม่ได้ยินทั่วกันหมด พระเจ้าโปริสาทก่อไฟ ห่างออกไป เพราะกลัวเปลวควันจะเป็นอันตรายต่อต้นไม้ พระมหาสัตว์ ประทับนั่งตรัสกับเจ้าโปริสาทในระหว่างกองไฟกับต้นไม้ เพราะฉะนั้น กษัตริย์ เหล่านั้นจึงไม่ได้ยินทั้งหมด ได้ยินว่า ครั้งหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้นตรัสปลอบ กันว่า พระเจ้าสุตโสมจักทรงทรมานเจ้าโปริสาทในบัดนี้ อย่ากลัวไปเลย ใน ขณะนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถานี้ว่า

กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ที่ถูกพระองค์จับร้อย พระหัตถ์ไว้ มีพระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชลกันแสง อยู่นั้น ขอพระองค์จงปล่อยให้กลับไปสู่แคว้นของ ตนๆ นี้เป็นพรข้อที่สาม หม่อมฉันปรารถนา.

คำว่า ร้อยเอ็ด ในคาถานั้น หมายถึงจำนวนเกินร้อย. คำว่า ที่ถูก พระองค์จับไว้ คือที่พระองค์ได้จับไว้แล้ว. คำว่า ร้อยพระหัตถ์ไว้ คือ จับร้อยไว้ที่ฝ่ามือ.

เมื่อพระมหาสัตว์เจ้าทรงรับพรข้อที่สาม ได้ทรงรับพรคือขอให้มอบ แคว้นของตนๆ แก่กษัตริย์เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. มีคำถามสอดเข้ามาว่า ทรงรับพรนี้เพราะเหตุไร? ตอบว่า เจ้าโปริสาทแม้จะไม่กิน แต่ก็อาจจะให้ กษัตริย์ทั้งหมดอยู่เป็นทาสในป่านั้นก็เป็นได้ หรืออาจจะฆ่าทิ้งเสียก็ได้ หรือ

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 700

อาจจะนำไปจำหน่ายเสีย ณ ชนบทก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น พระมหาสัตว์จึง ทรงรับพร คือขอให้มอบแคว้นของตนๆ แก่กษัตริย์เหล่านั้น ส่วนเจ้าโปริสาท เมื่อจะถวายพระพรแด่พระมหาสัตว์ จึงได้กล่าวคาถาว่า

กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ ที่หม่อมฉันร้อยพระหัตถ์ ไว้ พระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชลกันแสงอยู่นั้น หม่อมฉันจะปล่อยให้กลับไปสู่แคว้นของตนๆ นี้เป็น พระพรข้อที่สาม หม่อมฉันยอมถวาย.

ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์จะทรงรับพรข้อที่สี่ จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

รัฐมณฑลของพระองค์เป็นช่อง เพราะนรชน เป็นอันมาก หวาดเสียวเพราะภัย หนีเข้าที่ซ่อนเร้น ขอพระองค์จงเว้นจากเนื้อมนุษย์เสียเถิด นี้เป็นพรข้อ ที่สี่ หม่อนฉันปรารถนา.

ในคาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า แคว้นของพระองค์ที่อยู่กันเป็นปึกแผ่น กลายเป็นช่อง เพราะบ้านเป็นต้นตั้งอยู่ในแคว้นนั้นๆ ต้องทิ้งบ้านช่องแตก กระจายไป. บทว่า พฺยถิตา ภยา หิ ความว่า นรชนทั้งหลายหวาดเสียว เพราะความกลัวท่านว่า เจ้าโปริสาทจักมาในบัดนี้. บทว่า เลณมนุปฺปวิฏฺ- า ความว่า พากันอุ้มลูกจูงหลาน หนีเข้าไปหาที่ซ่อนเร้นมีชัฏหญ้าเป็นต้น. บทว่า มนุสฺสมํสํ ความว่า ขอพระองค์ละเว้นเนื้อมนุษย์ ซึ่งเป็นของปฏิ- กูลน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็นเสียเถิด คือจงเว้นขาดจากเนื้อมนุษย์เสียเถิด.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทปรบมือหัวเราะทูลว่า พระสหายสุตโสมพูดถึงเรื่องนี้ละหรือ พระพรนี้เท่ากับชีวิต หม่อมฉันจักถวาย แด่พระองค์อย่างไรได้ ถ้าพระองค์ใคร่จะรับ จงรับพรอย่างอื่นเถิด แล้วกล่าว คาถาว่า

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 701

นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมานานแล้ว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุอาหารนี้ หม่อมฉันจะพึง งดอาหารนี้เสียอย่างไร ขอพระองค์จงทรงเลือกพระพร ที่สี่อย่างอื่นเถิด.

คำว่า ป่า ในคาถานั้น หมายความว่า หม่อมฉันยอมสละราชสมบัติ แล้วเข้าสู่ป่านี้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า พระองค์กล่าวว่าไม่อาจงดได้ เพราะเป็นของรักอย่างยิ่ง ก็ผู้ใดทำบาปเพราะเหตุของรัก ผู้นี้เป็นอันธพาล แล้วตรัสพระคาถาว่า

ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน คนเช่น พระองค์มัวคิดอยู่ว่า นี้เป็นที่รักของเรา ทำตนให้เห็น ห่างจากความดี จะไม่ได้ประสบสิ่งที่รักทั้งหลาย ตน แลประเสริฐที่สุด ประเสริฐอย่างยอดเยี่ยมทีเดียว เพราะคนมีตนอบรมแล้ว ภายหลังจะพึงได้สิ่งที่รัก ทั้งหลาย.

ในคาถานั้น บทว่า ตาทิโส ความว่า ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอม แห่งชน คนเช่นพระองค์ยังเป็นหนุ่ม มีรูปงาม มียศใหญ่ กระทำตนให้ เหินห่างจากความดี ด้วยความโลภในวัตถุอันเป็นที่รักว่า ขึ้นชื่อว่าสิ่งนี้ ย่อม เป็นที่รักของเรา เคลื่อนจากสุคติทั้งหมดและวิสัยแห่งความสุข ตกลงในนรก อย่างเดียว ชื่อว่าย่อมไม่ได้เสพสิ่งนั้นอันเป็นที่รักทั้งหลาย. บทว่า ปรมาว เสยฺโย ความว่า ด้วยว่าตนของบุรุษนั่นแหละประเสริฐกว่าวัตถุอันเป็นที่รัก อย่างอื่น. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะคนมีตนอันอบรมแล้วจะพึง ได้สิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 702

บุคคลผู้มีตนอันอบรมแล้ว และมีตนอันเจริญแล้ว ด้วยอำนาจแห่งวิสัยอันเป็น ที่รักและบุญ กระทำสมบัติในเทวดาและมนุษย์แล้ว ก็อาจที่จะได้ในทิฏฐธรรม หรือในโลกเบื้องหน้า.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว เจ้าโปริสาทหวาดหวั่น ดำริว่า เราไม่อาจให้ท่านสุตโสมปล่อยพรนี้เสียได้ละกระมัง แม้เนื้อมนุษย์เราก็ไม่อาจ อดได้ จักทำอย่างไรดีหนอ ถ้าเธอตรัสขอพรที่สี่อย่างอื่นจักถวายเธอทันที เราจักเป็นอยู่อย่างไร มีเนตรนองด้วยอัสสุชล กล่าวคาถาว่า

เนื้อมนุษย์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ดูก่อนท่าน สุตโสม ขอท่านจงทราบความจำเป็น หม่อมฉันไม่อาจ งดเว้นได้ ดูก่อนพระสหาย ขอท่านจงเลือกพระพร อย่างอื่นเถิด.

คำว่า จงทราบ ในคาถานั้น หมายความว่า ขอพระองค์จงรู้ไว้เถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

คนใดมัวรักษาของรักอยู่ว่า นี่เป็นที่รักของเรา ทำตนให้เหินห่างจากความดีแล้ว เสพของรักทั้งหลาย อยู่ เหมือนนักเลงดื่มสุราที่เจือด้วยยาพิษฉะนั้น คนนั้น จะได้ทุกข์ในเบื้องหน้า เพราะความประพฤตินั่นแล.

ส่วนบุคคลใดในโลกนี้ รู้สึกตัวละของรักได้ เสพอริยธรรมแม้ด้วยความฝืนใจ เหมือนคนเป็นไข้ ดื่มโอสถ ฉะนั้น บุคคลนั้นจะได้สุขในเบื้องหน้า เพราะความประพฤตินั่นแล.

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 703

ในคาถานั้น บทว่า โย เว มีอธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท บุรุษใดกระทำตนให้เหินห่างจากความดีด้วยการกระทำบาปว่า สิ่งนี้เป็นที่รัก แก่เราแล้วเสพของรักอยู่ บุรุษนั้นย่อมได้รับความทุกข์ในอบายมีนรกเป็นต้น ในเบื้องหน้า เพราะกรรมอันเป็นบาปนั้น เปรียบดังนักเลงสุราดื่มสุราอัน เจือยาพิษ เพราะว่าตนชอบสุรา ฉะนั้น. คำว่า รู้สึกตัว หมายถึงรู้ตัว พิจารณาตัวเองได้. คำว่า ละของรักได้ อธิบายว่า ละทิ้งของรักอัน ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นธรรมเสียได้.

เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสอย่างนี่แล้ว เจ้าโปริสาทคร่ำครวญรำพันอยู่ กล่าวคาถาว่า

หม่อมฉันทิ้งพระชนกพระชนนี ทั้งเบญจกามคุณที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจเข้าป่า ก็เพราะเหตุแห่ง เนื้อมนุษย์ หม่อมฉันจะถวายพระพรนั้นแก่พระองค์ อย่างไรได้.

ในคาถานั้น เจ้าโปริสาทแสดงเนื้อมนุษย์ด้วยคำว่า เพราะเหตุแห่ง เนื้อมนุษย์นี้. คำว่า อย่างไรได้ อธิบายว่า หม่อมฉันจะกระทำอย่างไร จึงจะถวายพระพรนี้แก่พระองค์ได้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

พวกบัณฑิตไม่กล่าววาจาเป็นสอง พวกสัตบุรุษ ย่อมมีปฏิญาณเป็นสัตย์ทีเดียว ท่านได้กล่าวกับ ข้าพเจ้าว่า พระสหายจงรับพร ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ ที่ท่านกล่าวในบัดนี้จึงไม่สมกัน.

ในคาถานั้น บทว่า ทิคุณํ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ธรรมดา ว่าบัณฑิต พูดคำหนึ่งแล้วไม่ทำคำนั้นให้คลาดเคลื่อนอีก ย่อมไม่กล่าวคำที่สอง

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 704

ท่านได้กล่าวกะข้าพเจ้าไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนสหายสุตโสม พระองค์จงรับ พรเถิด. บทว่า อิจฺจพฺรวิ ความว่า เพราะฉะนั้น คำใดท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นย่อมไม่สมกับคำของท่านในบัดนี้เลย.

เจ้าโปริสาทร้องไห้อีก กล่าวคาถาอย่างนี้ว่า

หม่อมฉันเข้าถึงบาปทุจริต ความเศร้าหมอง มาก หาบุญลาภนี้ได้ เสื่อมยศ เสื่อมเกียรติ ก็เพราะ เนื้อมนุษย์เป็นเหตุ หม่อมฉันจะพึงถวายพระพรนั้น แก่พระองค์อย่างไรได้.

ในคาถานั้น คำว่า บาป คือยังไม่ถึงกรรมบถ. คำว่า ทุจริต คือถึง กรรมบถแล้ว. คำว่า ความเศร้าหมอง หมายถึงความลำบาก. คำว่า เพราะ เนื้อมนุษย์เป็นเหตุคือ เพราะเหตุแห่งเนื้อมนุษย์. คำว่า เข้าถึง คือ หม่อม ฉันเป็นผู้เข้าถึงแล้ว. บทว่า ตนฺเต ความว่า เจ้าโปริสาทกล่าวว่า หม่อมฉัน ถวายพระพรนั้นแก่พระองค์อย่างไรได้ พระองค์อย่าได้ห้ามหม่อมฉันเสียเลย จงทรงกระทำความอนุเคราะห์ ความกรุณาในหม่อมฉันเถิด จงทรงรับพร อย่างอื่นเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสกะเธออีกว่า

คนเราให้พรใดแล้วกลับไม่ให้ ไม่ควรจะให้พร นั้น ขอพระสหายจงมั่นพระทัยรับพรเถิด แม้ชีวิต ของหม่อมฉันก็จักสละถวายแล.

เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงนำคาถาที่เจ้าโปริสาทนั้นกล่าวไว้ก่อนแล้ว มา แสดงอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงสนับสนุนให้เข้าโปริสาทอาจหาญในการให้พร จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 705

การเสียสละชีวิตได้ นั่นเป็นธรรมของสัตบุรุษ สัตบุรุษย่อมมีปฏิภาณเป็นสัตย์ทีเดียว พรอันพระองค์ ประทานไว้แล้ว จงประทานเสียฉับพลัน ดูก่อนพระองค์ ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด พระองค์จงสมบูรณ์ ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้นเถิด.

นรชนพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอัน ประเสริฐ เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะเมื่อนึกถึงธรรม พึงสละอวัยวะทรัพย์แม้ชีวิตทั้งหมดเถิด.

ในคาถานั้น คำว่า ชีวิต หมายถึงละชีวิตได้ อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สัตบุรุษทั้งหลายย่อมละชีวิตได้โดยแท้ พระองค์จงประทานพรเสียโดยฉับพลัน คือ จงประทานแก่เราเสียโดยเร็วในที่นี้เถิด. คำว่า ด้วยธรรมของสัตบุรุษนั้น คือเป็นผู้สมบูรณ์ถึงพร้อม เข้าถึงแล้วด้วยธรรมและความสัตย์นี้ พระโพธิสัตว์ ทรงยกย่องเจ้าโปริสาทนั้น จึงทรงเรียกว่า ผู้เป็นพระราชาอันประเสริฐสุด. คำว่า พึงสละทรัพย์ อธิบายว่า ดูก่อนสหายโปริสาท บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เนื้อ อวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นยังมีอยู่ พึงสละทรัพย์แม้มาก เมื่อต้องการจะรักษา อวัยวะนั้น. คำว่า เมื่อนึกถึงธรรม อธิบายว่า เมื่อนึกถึงธรรนอยู่อย่างนี้ ว่า แม้เราจะต้องสละอวัยวะทรัพย์และชีวิต ก็ไม่ยอมล่วงธรรมของสัตบุรุษ.

พระมหาสัตว์ตรัสชักนำให้เจ้าโปริสาทนั้นตั้งอยู่ในความสัตย์ด้วยเหตุผล เหล่านี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้จักยกความที่พระองค์เป็นครูขึ้นสนับสนุน จึงตรัส พระคาถาว่า

บุรุษรู้ธรรมจากบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดเป็น สัตบุรุษ บรรเทาความสงสัยของบุรุษนั้นได้ ข้อนั้น เป็นที่พึงพำนักของบุรุษนั้นได้ เป็นบัณฑิตไม่พึงทำ ลายไมตรีจากจากบุคคลนั้นเลย.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 706

ในคาถานั้น คำว่า ใด หมายถึงจากบุรุษผู้ใด. คำว่า ธรรม หมายถึง เหตุที่สำหรับส่องกุศลและอกุศลธรรม. คำว่า รู้ คือ พึงรู้ชัด. คำว่า ข้อนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอาจารย์นั้น. ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่ พึ่งของบุคคลนั้น และชื่อว่าเป็นที่พำนัก เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่บุคคลนั้น พึงไปหาในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น. คำว่า ไม่พึงทำลายไมตรีจากบุคคลนั้น อธิบาย ว่า บุคคลผู้เป็นบัณฑิตไม่พึงทำลายไมตรี ด้วยเหตุแม้อย่างใดอย่างหนึ่งกับ บุคคลผู้เป็นอาจารย์นั้น คือไม่พึงทำไมตรีนั้นให้พินาศไป.

ก็พระโพธิสัตว์ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนสหาย โปริสาท ขึ้นชื่อว่าถ้อยคำของอาจารย์ผู้มีคุณ ไม่ควรจะทำลาย เราเป็น ปฤษฎาจารย์ของพระองค์ ให้พระองค์ศึกษาศิลปะเป็นอันมาก แม้ในเวลาที่ยัง ทรงพระเยาว์ บัดนี้ได้กล่าวสตารหคาถาด้วยพุทธลีลาแก่พระองค์ เพราะฉะนั้น พระองค์ควรจะทำตามถ้อยคำของเรา.

เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น จึงดำริว่า ท่านสุตโสมเป็นอาจารย์ของเรา และพรเราก็ได้ถวายแก่พระองค์ เราอาจจะทำอะไรได้ อันธรรมดาความตาย ในอัตภาพหนึ่ง ย่อมเป็นของแน่นอน เราจักไม่กินเนื้อมนุษย์ เราจะถวาย พระพร ดังนี้ มีสายอัสสุชลนองหน้า ลุกขึ้นถวายบังคมพระบาทพระเจ้าสุตโสม จอมนรินทร์ เมื่อจะถวายพระพรนั้น จึงได้กล่าวคำนี้ว่า

นั่นเป็นอาหารที่ชอบใจของหม่อมฉันมานาน ทีเดียว หม่อมฉันเข้าป่าก็เพราะเหตุแห่งอาหารนี้ แต่ ถ้าพระสหายตรัสขอหม่อมฉันในเรื่องนี้ หม่อมฉันก็ ยอมถวายพระพรนี้แด่พระองค์ได้.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 707

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนสหาย คนที่ตั้งอยู่ในศีลถึงจะตาย ก็ประเสริฐ เราขอรับพรที่ท่านประทาน และท่านได้ตั้งอยู่ในทางของพระอริยะ ตั้งแต่วันนี้แล้ว แม้ถึงอย่างนั้น เราต้องทูลขอท่าน ถ้าความรักในตัวเราของท่าน ยังมีอยู่ ขอท่านจงรับศีล ๕ เถิดนะมหาราช. เจ้าโปริสาททูลว่า ดีละสหาย ขอพระองค์จงประทานศีล ๕ แก่หม่อมฉัน พระมหาสัตว์ตรัสว่า เชิญรับเถิด มหาราช. เจ้าโปริสาทถวายบังคมพระมหาสัตว์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระมหาสัตว์ได้ให้เจ้าโปริสาทตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้ว. ฉะนั้น ภุมเทวดาผู้ประชุมกันในสถานที่นั้น เกิดความชื่นบานในพระมหาสัตว์ ได้ กระทำสาธุการยังพนมวันให้มีเสียงสนั่นโกลาหลว่า คนอื่นตั้งแต่อเวจีตลอดถึง ภวัครพรหม ชื่อว่าสามารถจะห้ามเจ้าโปริสาทจากเนื้อมนุษย์ได้เป็นไม่มี พระเจ้าสุตโสม ได้ทำกิจที่บุคคลอื่นทำได้อย่างแสนยาก น่าอัศจรรย์ เทพยดาชั้น จาตุมหาราช ได้สดับต่อภุมเทวดาเหล่านั้น ก็กระทำสาธุการบันลือลั่นต่อๆ กันไปอย่างนี้ ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันตลอดพรหมโลก แม้พระราชาที่ ถูกแขวนอยู่ ณ ต้นไม้ ก็พลอยได้ยินเสียงสาธุการของเทพยดาเหล่านั้นด้วย แม้พวกรุกขเทวดาผู้อยู่ในวิมานนั้นๆ ก็ให้สาธุการ การให้สาธุการของเทพยดา อย่างนี้ ได้ยินแต่เสียง ไม่เห็นตัวเทพยดา พวกพระราชาได้ทรงสดับเสียง สาธุการของพวกเทพยดา จึงทรงดำริว่า พวกเราได้ชีวิตเพราะอาศัยพระเจ้า สุตโสม พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานเจ้าโปริสาทได้ นับว่าชื่อว่าทำกิจที่คนอื่น ทำได้แสนยาก แล้วพากันสรรเสริญพระโพธิสัตว์. ฝ่ายเจ้าโปริสาทถวายบังคม พระบาทยุคลของพระมหาสัตว์แล้ว ยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสกะเจ้าโปริสาทว่า ดูก่อนพระสหาย ท่านจงปลดปล่อยกษัตริย์เหล่านี้เสีย เถิด. เจ้าโปริสาทดำริว่า เราเป็นศัตรูของกษัตริย์เหล่านี้ กษัตริย์เหล่านี้ เมื่อเราปลดปล่อยไปแล้ว จะช่วยกันจับเราว่าเป็นศัตรูของตนแล้วจักเบียดเบียน

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 708

แม้เราจะต้องเสียชีวิต ก็ไม่อาจจะทำลายศีลที่เรารับจากสำนักท่านสุตโสม เรา จักไปปลดปล่อยด้วยกันกับท่านสุตโสม อย่างนี้จักไม่เป็นภัยแก่เรา แล้วถวาย บังคมพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่ท่านสุตโสม เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยกษัตริย์ ทั้งหลายด้วยกัน แล้วกล่าวคาถาว่า

พระองค์เป็นศาสดาของหม่อมฉันและเป็นสหาย ด้วย หม่อมฉันได้ทำตามถ้อยคำของพระองค์ แม้ พระองค์ก็จงกระทำตามถ้อยคำของหม่อมฉัน เราทั้งสองจะไปปลดปล่อยพวกษัตริย์ด้วยกัน.

คำว่า เป็นศาสดา ในคาถานั้น หมายถึงเป็นศาสดาเพราะได้แสดง ทางสวรรค์ และเป็นสหายกันมาจำเดิมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะเจ้าโปริสาทนั้นว่า

เราเป็นศาสดาของพระองค์ และเป็นสหายด้วย พระองค์ได้ทำตามถ้อยคำของเรา แม้เราก็จะทำตาม ถ้อยคำของพระองค์ เราทั้งสองจงไปปลดปล่อยพวก กษัตริย์ด้วยกันเถิด.

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงเสด็จไปหากษัตริย์เหล่านั้นแล้ว ตรัสพระคาถาว่า

พวกท่านอย่าคิดประทุษร้ายแก่พระราชานี้ด้วย ความแค้นว่า ถูกเธอผู้ได้นามว่า กัมมาสบาท (เท้าด่าง เพราะถูกตอไม้แทง) เบียดเบียนร้อยฝ่ามือ ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า ดังนี้เป็นอันขาด จงรับสัจปฏิญาณ ต่อหม่อมฉัน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 709

ในคาถานั้น บทว่า กมฺมาสปาเทน อธิบายว่า พระมหาสัตว์ทรงรับ คำเจ้าโปริสาทว่า แม้เราทั้งสองจงไปปลดปล่อยพวกกษัตริย์ด้วยกันดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า ธรรมดากษัตริย์เป็นผู้กระด้างด้วยมานะ พอหลุดได้อาจจะโบย หรือ ฆ่าเจ้าโปริสาทเสียด้วยความอาฆาตว่า พวกเราถูกเจ้าโปริสาทนี้ เบียดเบียน แล้วดังนี้ก็ได้ แต่เจ้าโปริสาทจะไม่ประทุษร้ายกษัตริย์เหล่านั้นเป็นแน่ เราแต่ เพียงผู้เดียวจะไปรับปฏิญาณต่อกษัตริย์เหล่านั้นก่อน แล้วเสด็จไปในสำนัก กษัตริย์เหล่านั้น ทรงเห็นกษัตริย์เหล่านั้นถูกร้อยฝ่าพระหัตถ์แขวนอยู่ที่กิ่งไม้ ปลายนิ้วพระบาทพอจรดพื้นดินดิ้นรนอยู่ ดุจพวงดอกหงอนไก่ ซึ่งเขาห้อยไว้ ที่ไม้เต้าในเวลาที่ต้องลม. แม้กษัตริย์เหล่านั้น พอได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้ว ร้องขึ้นพร้อมกันว่า พวกเราหาโรคมิได้ในบัดนี้แล้ว. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ตรัสปลอบกษัตริย์เหล่านั้นว่า อย่ากลัวเลย แล้วตรัสว่า พวกท่านได้รับอภัยโทษ จากเจ้าโปริสาทแล้ว แต่พวกท่านต้องทำตามถ้อยคำของหม่อมฉันด้วย แล้ว จึงตรัสพระคาถาดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้น. คำว่า เป็นอันขาด ในคาถานั้น อธิบายว่า พวกท่านอย่าคิดประทุษร้ายโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

กษัตริย์เหล่านั้น ตรัสตอบเป็นพระคาถาว่า

พวกหม่อมฉันจะไม่คิดประทุษร้ายต่อพระราชานี้ ด้วยความแค้นว่า ถูกเธอผู้ได้นามว่า กัมมาสบาท เบียดเบียนร้อยฝ่ามือไว้ ต้องร้องไห้น้ำตานองหน้า ดังนี้เป็นอันขาด หม่อมฉันขอรับสัจปฏิญาณต่อ พระองค์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 710

ในคาถานั้น บทว่า ปฏิสุโณม ความว่า กษัตริย์เหล่านั้นทูลพระมหาสัตว์ว่าหม่อมฉันรับปฏิญาณอย่างนี้ ก็แต่ว่าพวกหม่อมฉันกำลังเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้าไม่สามารถจะเรียบเรียงคำปฏิญาณได้ดี ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแก่ บรรดาสัตว์ทั้งปวงเถิด พระองค์จงเรียงคำปฏิญาณให้ด้วย พวกหม่อมฉันได้ สดับคำของพระองค์แล้วจักให้คำปฏิญาณ.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสกะพวกกษัตริย์เหล่านั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงให้ปฏิญาณ แล้วตรัสพระคาถาว่า

บิดาหรือมารดา ย่อมมีความกรุณาปรารถนา ความเจริญแก่ประชาคือบุตร ฉันใด แม้พระราชานี้ ก็จงเป็นเหมือนอย่างนั้นแก่พวกท่าน และพวกท่าน ก็จงเป็นเหมือนอย่างบุตรทั้งหลาย ฉะนั้น. แม้กษัตริย์เหล่านั้น ก็รับคำปฏิญาณอยู่ ได้กล่าวคาถานี้ว่า บิดาหรือมารดา ย่อมมีความกรุณาปรารถนา ความเจริญแก่ประชาคือบุตร ฉันใด แม้พระราชานี้ จงเป็นเหมือนอย่างนั้นแก่พวกหม่อนฉัน แม่พวก หม่อมฉันก็จะเป็นเหมือนอย่างบุตรทั้งหลาย ฉะนั้น. โว อักษรในคำว่า ตุมฺเห จ โว ในคาถานั้น เป็นเพียงนิบาต

พระมหาสัตว์ทรงรับปฏิญญาของกษัตริย์เหล่านั้นอย่างนี้แล้ว ทรง เรียกเจ้าโปริสาท ตรัสว่า จงมาเถิดสหาย จงมาปลดปล่อยกษัตริย์เหล่านี้เถิด เจ้าโปริสาทจับดาบตัดเชือกที่ผูกพระราชาองค์หนึ่งแล้ว พระราชานั้นอดอาหาร ได้รับทุกขเวทนามาถึง ๗ วันแล้ว สลบล้มลง ณ ภาคพื้น พร้อมกับความขาด แห่งเชือกที่ผูก พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น มีความกรุณา ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 711

ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านอย่าตัดอย่างนั้นเลย คราวนี้เราทั้งสองจะจับพระราชา องค์หนึ่งไว้ให้มั่น ทำเธอไว้ ณ เบื้องอกแล้วจึงตัดเชือกที่ผูก เมื่อเจ้าโปริสาท ตัดเชือกด้วยพระขรรค์ พระมหาสัตว์รับพระราชานั้นให้นอน ณ พระอุระ เพราะพระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยพระกำลัง ประคองให้นอนลง ณ ภาคพื้น ด้วยพระหฤทัย ประกอบไปด้วยเมตตา คล้ายกับประคองบุตรที่เกิดแต่อก ฉะนั้น ทรงประคองพระราชาเหล่านั้น ทุกพระองค์ ให้นอนลงบนภาคพื้น อย่างนี้แล้ว ทรงชะแผล ค่อยๆ ดึงเชือกออก ดุจดึงด้ายเส้นน้อยออกจากหู ของเด็ก ฉะนั้น ล้างหนองและเลือดแล้ว ทำแผลให้จนสะอาด ตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท ท่านจงฝนเปลือกไม้นี้ที่หินแล้วนำเอามา ครั้นให้นำมา แล้ว จึงทรงตั้งสัตย์อธิษฐาน ทาที่ฝ่าพระหัตถ์ของกษัตริย์เหล่านั้น แผลนั้น หายในขณะนั้นทันที เจ้าโปริสาทเอาข้าวสารมาต้มเป็นน้ำใสๆ แม้กษัตริย์ ทั้งสองนั้น ได้ให้กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้ดื่มน้ำข้าวต้มแล้ว.

เมื่อพระโพธิสัตว์ และเจ้าโปริสาทให้กษัตริย์เหล่านั้นอิ่มหนำทั่วทุก พระองค์ ดังนี้แล้ว ก็พอพระอาทิตย์อัสดงคต แม้วันรุ่งขึ้นก็ให้ดื่มอย่างนั้น ทั้งในเวลาเช้าเวลาเที่ยงและเวลาเย็น วันที่ ๓ ให้ดื่มยาคูมีเมล็ดปฏิบัติอย่างนี้ จนกษัตริย์เหล่านั้นหาโรคมิได้ ครั้งนั้น พระมหากษัตริย์ตรัสถามกษัตริย์ เหล่านั้นว่า พวกท่านอาจจะกลับไปได้หรือยัง เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นกราบทูลว่า ไปได้. ตรัสว่า ดูก่อนสหายโปริสาท เชิญเสด็จเถิด เราทั้งหลายจงกลับไปยัง แคว้นของตนเถิด. เจ้าโปริสาทได้สดับดังนั้น ก็ร้องไห้ฟุบอยู่แทบบาทยุคล ของพระมหาสัตว์ทูลว่า พระสหายจงพาพระราชาทั้งหลายเสด็จไปเถิด หม่อมฉัน จะกินรากไม้ผลไม้อยู่ในป่านี้. พระมหาสัตว์ตรัสว่า สหายจักทำอะไรในป่านี้ แคว้นของพระองค์น่ารื่นรมย์ จงเสด็จไปเสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 712

นั้นเถิดนะ. เจ้าโปริสาททูลว่า พระสหายตรัสอะไร หม่อมฉันไม่อาจไปใน พระนครพาราณสี เพราะชาวพระนครทั้งหมด เป็นศัตรูของหม่อมฉัน จักด่า บริภาษหม่อมฉันว่า กินมารดาของเขา กินบิดาของเขา ดังนี้เป็นต้นแล้ว จักพากันจับหม่อมฉันโดยตั้งข้อหาว่า เป็นโจร จักปลงชีวิตหม่อมฉันด้วย ท่อนไม้หรือก้อนดิน ไม้ ค้อน หอก หรือขวาน ส่วนหม่อมฉันรับศีลใน สำนักของพระองค์แล้ว หย่อมฉันไม่อาจจะฆ่าเขา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ไป หม่อมฉันเมื่อเว้นจากเนื้อมนุษย์เสียแล้ว จักเป็นอยู่นานสักเท่าไร คราวนี้การเห็นพระองค์ของหม่อมฉันไม่มีอีก. เจ้าโปริสาทกล่าวดังนี้แล้ว ก็ร้องไห้ทูลว่า เชิญพระองค์เสด็จเถิด. ครั้งนั้นพระ มหาสัตว์ทรงลูบหลังเจ้าโปริสาท ตรัสว่า พระสหายโปริสาทเอ๋ย หม่อมฉัน ชื่อสุตโสม คนหยาบช้าสาหัสเช่นพระองค์ยังฝึกได้ คนชาวพระนครพาราณสี จะเป็นไรไปเล่า หม่อมฉันจักให้พระองค์เสด็จเป็นพระราชา ในพระนคร พาราณสีนั้นอีก เมื่อไม่อาจสามารถ ก็จักแบ่งราชสมบัติของหม่อมฉันออกเป็น สองส่วน ถวายพระองค์ส่วนหนึ่ง เมื่อเจ้าโปริสาททูลว่า แม้ในพระนครของ พระองค์ ศัตรูของหม่อมฉันก็ยังมีอยู่เหมือนกัน แล้วทรงดำริว่า เจ้าโปริสาท นี้ทำตามถ้อยคำของเรา นับว่าเราทำกิจที่คนอื่นทำได้ยากนัก เราจะให้เธออยู่ ในพระราชอิสริยยศตามเดิม โดยอุบายวิธีบางอย่าง เมื่อจะทรงพรรณนาถึง สมบัติของพระนคร เพื่อปลอบโยนเจ้าโปริสาทให้เกิดความพอใจ จึงได้ตรัส พระคาถาว่า

พระองค์เคยเสวยพระกระยาหารอันโอชารส ล้วนแต่เนื้อสัตว์ ๔ เท้า และนกอันพวกห้องเครื่องผู้ ฉลาดปรุงทำให้สุกเป็นอย่างดี ดุจท้าวโกสีย์จอมเทวดา เสวยสุธาโภชน์ ฉะนั้น ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ ในป่าแต่พระองค์เดียว.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 713

นางกษัตริย์ล้วนแต่เอวบางร่างเล็กสะโอดสะอง ประดับประดาด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์ชั้นดี เคย แวดล้อมบำเรอพระองค์ให้ชื่นบาน ดุจเทพอัปสร แวดล้อมพระอินทร์ ณ เมืองสวรรค์ ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

พระแท่นที่บรรทมพนักแดง โดยมากปูลาดด้วย ผ้าโกเชาว์ ล้วนลาดด้วยเครื่องลาดที่งดงาม ประดับ ด้วยเครื่องอลังการน่าตระการตา พระองค์เคยบรรทม เป็นสุข ในท่ามกลางพระแท่นที่บรรทมเช่นนั้น ไฉน จะทิ้งไว้เล่า ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

เวลาพลบค่ำ มีการฟ้อนรำส่งสำเนียงเสียงตะโพน สำทับ ดนตรีรับประสานเสียง ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษ เจือปน การขับการประโคมก็ล้วนแต่ไพเราะเสนาะ โสต ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

พระราชอุทยานนานว่า มิคาชินวัน บริบูรณ์ด้วย บุปผชาตินานาพรรณ พระนครนั้นประกอบด้วยพระราชอุทยานเช่นนี้ น่ายินดีเพลิดเพลินเจริญใจ ทั้ง มั่งคั่งด้วยม้า รถ คชสาร ไฉนจะทิ้งไว้เล่า ชอบใจ อยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว.

ในคาถานั้น คำว่า ปรุงทำให้สุกเป็นอันดี คือ กระทำอย่างดีโดย ประการต่างๆ. บทว่า สุนิฏฺิตํ ความว่า ทำให้สำเร็จด้วยดีด้วยการประกอบ เครื่องต่างๆ ชนิด. คำว่า ไฉนจะทิ้งไว้ ชอบใจอยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 714

อธิบายว่า พระองค์เสวยรากไม้และผลไม้เป็นต้น จักชอบอย่างไร ดูก่อนมหาราช ขอเชิญเสด็จเถิด เราทั้งสองจักไปด้วยกัน. คำว่า เอวบางร่างเล็กสะโอด สะอง อธิบายว่า มีรัศมีดุจกองทองแท่งที่กำลังร้อน และมีเอวบางร่างสูงโปร่ง. คำว่า ในเมืองสวรรค์ อธิบายว่า ในกาลก่อนพวกนางกษัตริย์แวดล้อม ทำให้ ชื่นบานอยู่ในเมืองพาราณสี อันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ดุจเทพอัปสรแวดล้อม พระอินทร์ในเทวโลก ฉะนั้น ไฉนพระองค์จึงจะทิ้งพวกนางกษัตริย์เหล่านั้นเสีย แล้วจักกระทำอะไรอยู่ในป่านี้ ดูก่อนสหาย เชิญเสด็จกลับเถิด เราทั้งสองจะ ไปด้วยกัน. คำว่า พนักแดง คือ พระแท่นที่บรรทมมีพนักเป็นสีแดง. คำว่า พระแท่นที่บรรทม หมายถึงพระแท่นบรรทมที่ปูลาดไว้ด้วยเครื่องลาด ทั้งหมด. คำว่า ประดับ อธิบายว่า พระองค์เคยบรรทมบนพระแท่นนั้น ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอลังการน่าตระการตา แสดงถึงชั้นเป็นอันมาก. คำว่า เป็นสุข อธิบายว่า พระองค์เคยบรรทมเป็นสุข ในท่ามกลางพระแท่นที่ บรรทมเช่นนั้น บัดนี้ไฉนจักยินดีในป่าเล่า ดูก่อนสหาย ขอเชิญท่านเสด็จเถิด เราทั้งสองจะไปด้วยกัน. คำว่า เวลาพลบค่ำ หมายถึงในกาลเป็นส่วนแห่ง กลางคืน. คำว่า ทิ้งไว้ คือทั้งสมบัติเห็นปานนี้. คำว่า อุทยานบริบูรณ์ ด้วยบุปผชาติต่างๆ พรรณ อธิบายว่า ดูก่อนมหาราช พระราชอุทยาน ของพระองค์ สมบูรณ์ด้วยดอกไม้ต่างๆ ชนิด. คำว่า น่ายินดี อธิบายว่า พระราชอุทยานนั้นมีนามว่า มิคาชินวัน เป็นสถานที่น่าเพลิดเพลิน น่ายินดี สมกับชื่อ. คำว่า ทิ้ง อธิบายว่า ทิ้งนครอันน่าเพลิดเพลินเจริญใจเห็นปานนี้ ไปได้.

พระมหาสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว หวังพระทัยว่า ไฉนเจ้าโปริสาทจะนึก ถึงรสของเครื่องอุปโภคบริโภคที่เคยเสวย จะพึงเกิดความอยากที่จะกลับไปสู่

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 715

พระนคร จึงตรัสประโลมด้วยโภชนะเป็นข้อต้น ด้วยอำนาจกิเลสเป็นที่สอง ด้วยที่บรรทมเป็นที่สาม ด้วยการเต้นรำการขับร้อง และการประโคมเป็นที่สี่ ด้วยพระราชอุทยานและพระนครเป็นที่ ๕ ครั้นตรัสประโลมเช่นนี้แล้ว ตรัส ต่อไปว่า ดูก่อนมหาราช เชิญเสด็จเถิด เราจะพาพระองค์ไปดำรงราชย์ใน พระนครพาราณสีแล้ว ภายหลังจึงจะไปสู่แคว้นของเรา ถ้าจะได้ได้ราชสมบัติ ในพระนครพาราณสี จักถวายราชสมบัติของหม่อมฉันแก่พระองค์ครึ่งหนึ่ง ประโยชน์อะไรของพระองค์ด้วยการอยู่ป่า จงทำตามถ้อยคำของเราเถิด เจ้า โปริสาทได้สดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์เกิดความอยากที่จะกลับไปสู่พระนคร ดำริว่า ท่านสุตโสมทรงพระกรุณาปรารถนาความเจริญแก่เรา ตั้งเราไว้ใน กัลยาณธรรมแล้ว บัดนี้ยังตรัสว่า จักสถาปนาในอิสริยยศตามเดิมอีก และ พระองค์ก็อาจสถาปนาได้ด้วย เราควรจะไปกับพระองค์ ประโยชน์อะไรของ เราด้วยการอยู่ในป่า ได้มีจิตชื่นบานประสงค์จะพรรณนามิตรธรรมอิงคุณของ พระมหาสัตว์ จึงกราบทูลว่า พระสหายสุตโสม อะไรๆ ที่จะดียิ่งไปกว่าการ คบหากัลยาณมิตรไม่มี อะไรๆ ที่จะลามกยิ่งไปกว่าการคบบาปมิตรไม่มีเลย แล้วกล่าวคาถาว่า

พระจันทร์ในวันข้างแรมย่อมเสื่อมลงทุกวันๆ ฉันใด การคบอสัตบุรุษ ย่อมเป็นเหมือนวันข้างแรม ฉะนั้นแหละ พระราชา. หม่อมฉันก็เหมือนกัน อาศัย เจ้าคนครัวผู้ทำกับข้าว เป็นคนลามกเลวทราม ได้ทำ บาปกรรมอันเป็นทางจะไปสู่ทุคติ.

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 716

พระจันทร์ในวันข้างขึ้น ย่อมเจริญขึ้นทุกวันๆ ฉันใด การคบสัตบุรุษ ย่อมเป็นเหมือนวันข้างขึ้น ฉันนั้นแหละ พระราชา. หม่อมฉันก็เหมือนกัน ขอ ท่านสุตโสมจงทราบว่าอาศัยพระองค์ จักได้ทำกุศลกรรมอันเป็นทางที่จะไปสู่สุคติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน น้ำตกในที่ ดอน ย่อมไม่คงที่ ไม่อยู่ได้นานฉันใด แม้การคบ อสัตบุรุษของหม่อมฉันก็เหมือนกัน ไม่คงที่เหมือนน้ำ ในที่ดอน ฉะนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นนระที่กล้าหาญ อย่างประเสริฐสุด น้ำตกในสระ ย่อมอยู่ได้นานฉันใด การคบสัตบุรุษของหม่อมฉัน ก็เหมือนกัน ย่อมตั้งอยู่ ได้นานเหมือนน้ำในสระฉะนั้น.

การคบสัตบุรุษเป็นคุณไม่เสื่อมทราม ย่อมเป็น อยู่อย่างนั้นแม้ตลอดเวลาที่ชีวิตตั้งอยู่ ส่วนการคบ อสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ จงไกลกันแล.

ในคาถานั้น คำว่า ทุกวันๆ คือในวันหนึ่งๆ. คำว่า ไม่อยู่ได้นาน คือไม่ควรที่จะอยู่นานได้. คำว่า สระ หมายถึงสมุทร. คำว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นนระที่กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด คือ ผู้ประเสริฐสุดกว่านรชน. คำว่า เหมือนน้ำในสระ คือเหมือนน้ำที่ตกลงในสมุทร. คำว่า ไม่เสื่อมทราม

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 717

คือไม่ทรุดโทรม. คำว่า แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตตั้งอยู่ อธิบายว่า ชีวิตยัง ตั้งอยู่ตลอดกาลเพียงใด การคบสัตบุรุษก็ย่อมเป็นอยู่ตลอดกาลเพียงนั้น ความ เป็นมิตรไมตรีกับพวกสัตบุรุษไม่มีเสื่อมเลย.

เจ้าโปริสาทพรรณนาถึงคุณของพระมหาสัตว์ ๗ คาถา ด้วยประการ ฉะนี้ พระมหาสัตว์ได้ทรงพาเจ้าโปริสาทและพระราชา ๑๐๑ พระองค์เสด็จไป ถึงปัจจันตคาม ชาวบ้านนั้นเห็นพระมหาสัตว์แล้ว ไปแจ้งความที่เมือง. พวก อำมาตย์ได้พาหมู่พลนิกายไปเฝ้ารับ พระมหาสัตว์ได้เสด็จไปยังพระนคร พาราณสีด้วยบริวารนั้น ในระหว่างทางพวกชาวชนบทถวายเครื่องบรรณาการ แล้วตามเสด็จ พระมหาสัตว์ได้มีบริวารมาก เสด็จถึงพระนครพาราณสีกับ บริวารนั้น เวลานั้นพระโอรสของพระเจ้าโปริสาทเป็นพระราชา ท่านกาฬหัตถี ยังคงเป็นเสนาบดีอยู่เช่นเดิม ชาวเมืองกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ได้ยินว่า พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานเจ้าโปริสาทได้แล้ว กำลังพาเสด็จมาในพระนครนี้ พวกข้าพระองค์จักไม่ให้เข้าพระนครดังนี้ แล้วรีบปิดประตูพระนคร จับอาวุธ อยู่พร้อมกัน พระมหาสัตว์ทรงทราบว่าเขาปิดประตู จึงพักเจ้าโปริสาทและ พระราชา ๑๐๑ พระองค์ไว้ เสด็จเข้าไปใกล้ประตูกับอำมาตย์ ๒ - ๓ คน ตรัสว่า เราคือมหาราชชื่อว่าสุตโสม จงเปิดประตู. พวกราชบุรุษไปกราบทูลพระราชา พระราชาตรัสว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชเป็นบัณฑิต เป็นพระเจ้าทรงธรรม ตั้งอยู่ในศีล ภัยไม่มีแก่พวกเราอย่างแน่นอน แล้วรับสั่งให้เปิดประตูพระนคร ทันที. พระมหาสัตว์เสด็จเข้าพระนคร พระราชาและท่านกาฬหัตถีเสนาบดี ไปรับเสด็จพระมหาสัตว์ นำเสด็จขึ้นปราสาท พระมหาสัตว์ประทับ ณ พระราชอาสน์แล้ว รับสั่งให้หาพระอัครมเหสี และพวกอำมาตย์ของเจ้าโปริสาท มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เหตุไรจึงไม่ให้พระราชาเข้าพระนคร ท่านกาฬหัตถีกราบทูลว่า เมื่อท้าวเธอทรงราชย์ได้กินเนื้อมนุษย์ในพระนครนี้

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 718

เป็นจำนวนมากคน ทรงการทำกรรมที่กษัตริย์ไม่สมควรทำเลย ได้ทำช่องใน ชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอมีธรรมอันลามกเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่ให้ พระองค์เข้าพระนคร. พระมหาสัตว์ตรัสว่า บัดนี้พวกท่านอย่าวิตกเลยว่าเธอ จักทำเช่นนั้นอีก เราทรมานเธอให้ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เธอจักไม่เบียดเบียนใครๆ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ภัยแต่เธอไม่มีแก่พวกท่าน ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบุตรและธิดาต้องปฏิบัติมารดาและบิดา ท่านที่เลี้ยงมารดาบิดานั่นแหละ จะไปสวรรค์ คนที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาจะไปนรก.

พระมหาสัตว์ประทานพระโอวาทแก่พระราชโอรสผู้ประทับนั่ง ณ อาสนะต่ำอย่างนี้แล้ว ตรัสสอนเสนาบดีว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี ท่านเป็น สหายและเสวกของพระราชา แม้พระราชาก็ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัน สูงศักดิ์ แม้ท่านก็ควรจะประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระราชา แล้วประทาน โอวาทแม้แก่พระเทวีว่า ดูก่อนพระเทวี แม้เธอก็มาจากเรือนตระกูล ได้รับ ตำแหน่งอัครมเหสีในสำนักของพระราชา ถึงความเจริญด้วยพระโอรสและ พระธิดา แม้เธอก็ควรประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระราชา เมื่อจะทรง แสดงธรรมให้ความนั้นถึงที่สุด จึงได้ตรัสพระคาถาว่า

พระราชาที่เอาชนะคนซึ่งไม่ควรชนะ ไม่ชื่อว่า เป็นพระราชา เพื่อนที่เอาชนะเพื่อนไม่ชื่อว่าเป็น เพื่อน ภรรยาที่ไม่กลัวเกรงสามีไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาผู้แก่แล้วไม่ชื่อว่าเป็นบุตร.

ที่ประชุมไม่มีสัตบุรุษไม่ชื่อว่าเป็นสภา คนพูดไม่ เป็นธรรมไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนที่ละราคะ โทสะ โมหะ พูดเป็นธรรมนั่นแลชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ.

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 719

บัณฑิตอยู่ปะปนกับพวกคนพาล เมื่อไม่พูด ก็รู้ ไม่ได้ว่าเป็นบัณฑิต แม้พูดก็ต้องแสดงอมตธรรม จึง จะรู้ได้ว่าเป็นบัณฑิต.

พึงกล่าวธรรมให้กระจ่าง พึงยกธงของพวกฤาษี พวกฤาษีมีสุภาษิตเป็นธง ธรรมแลเป็นธงของพวก ฤาษี.

ในคาถานั้น คำว่า คนซึ่งไม่ควรชนะ อธิบายว่า มารดาบิดา ชื่อว่าบุคคลที่ไม่ควรเอาชนะ พระราชาที่เอาชนะมารดาบิดาทั้งสองนั้น ย่อม ไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ถ้าหากว่าพระองค์ได้ราชสมบัติซึ่งรับรัชทายาทมาจาก บิดาของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่าเป็นศัตรูของบิดา ชื่อว่าทรงกระทำกิจที่ไม่ควร กระทำ. คำว่า เอาชนะเพื่อน มีอธิบายว่า เอาชนะด้วยคดีโกง ดูก่อน ท่านกาฬหัตถี ถ้าท่านไม่ได้บำเพ็ญมิตรธรรมกับพระราชา ก็ได้ชื่อว่าไม่เป็น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม จักบังเกิดในนรก. คำว่า ไม่กลัว คือไม่กลัวเกรง ถ้าท่าน ไม่กลัวเกรงพระราชา ท่านก็จักได้ชื่อว่าเป็นภรรยาที่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม. คำว่า แก่ คือแก่หง่อม จริงอยู่บุตรที่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาในเวลาเช่นนั้น ย่อมไม่ ชื่อว่าเป็นบุตร. คำว่า สัตบุรุษ หมายเอาบัณฑิต. คำว่า ธรรม อธิบายว่า บุคคลผู้ใด เมื่อถูกเขาถามแล้ว ไม่บอกตามความเป็นจริง บุคคลผู้นั้นไม่ ชื่อว่าเป็นบัณฑิต. คำว่า พูดเป็นธรรม มีอธิบายว่า บุคคลเหล่านี้ ละราคะ เป็นต้นได้แล้ว เป็นผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น กล่าวแต่ ความจริง ย่อมชื่อว่าเป็นบัณฑิต. คำว่า เมื่อไม่พูด คือมิได้พูดอะไรออกมา

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 720

เลย. คำว่า อมตธรรม คือ บุคคลผู้แสดงอยู่ซึ่งอมตมหานิพพาน จึงจะรู้ จักว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นแล เจ้าโปริสาทได้สดับธรรมเทศนาแล้วจึงมี จิตเลื่อมใส ให้พร ๔ ประการ ประดิษฐานอยู่ในศีล ๕ ประการแล้ว. คำว่า พึงกล่าว อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงกล่าวธรรม คือ พึงสอดส่องยังธรรมให้สว่างไสว จริงอยู่ ฤาษีทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะเหตุที่ธรรมเป็นธงของพวกฤาษีเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามีสุภาษิต เป็นธง ยกย่องสุภาษิต ส่วนคนพาล ชื่อว่า ยกย่องสุภาษิตไม่มีเลย. พระราชาและเสนาบดี ได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว เกิด ปีติโสมนัส ปรึกษากันที่จะไปเชิญเสด็จพระราชา จึงสั่งให้คนตีกลองเที่ยวไป ในพระนคร ให้ชาวเมืองประชุมกัน แล้วประกาศให้ทราบว่า ท่านทั้งหลาย อย่ากลัวเลย ได้ยินว่า พระราชาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมแล้ว จงพากันมาเถิด พวกเราจักไปนำพระราชานั้นมา จึงพามหาชนไป กระทำพระมหาสัตว์ให้เป็น ประมุขไปยังสำนักของพระราชาถวายบังคมแล้ว ให้เจ้าพนักงานช่างกัลบกแต่ง พระเกศาและพระมัสสุแล้ว ให้สรงสนานพระองค์ด้วยเครื่องสุคนธ์ แต่งพระองค์ด้วยพระภูษาอาภรณ์ ตามขัตติยราชประเพณีแล้ว เชิญเสด็จขึ้นกองแก้ว เป็นราชบัลลังก์ อภิเษกแล้วเชิญเสด็จเข้าสู่พระนคร พระเจ้าโปริสาทได้ทรง ทำสักการะแก่กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ และพระมหาสัตว์เป็นการใหญ่ เกิดความ โกลาหลใหญ่ทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า จอมนรินทร์สุตโสมได้ทรงทรมาน เจ้าโปริสาทแลได้ให้ประดิษฐานอยู่ในราชสมบัติแล้ว แม้ประชาชนชาวนคร อินทปัต ก็ได้ส่งทูตไปเชิญเสด็จพระมหาสัตว์กลับพระนคร พระมหาสัตว์ ประทับ อยู่ในพระนครพาราณสีนั้น ประมาณเดือนครึ่ง ตรัสสอนพระเจ้า

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 721

โปริสาทว่า ดูก่อนสหาย เราจะลากลับละนะ พระองค์ จงอย่าได้เป็นผู้ประมาท จงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ ทำที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง และที่ประตู พระราชวัง ๑ แห่ง จงทรงบำเพ็ญทาน จงทรงประพฤติราชธรรม ๑๐ ประการ อย่าให้กำเริบ จงทรงละการถึงอคตินะมหาราช พลนิกายจากราชธานี ๑๐๑ ได้มาประชุมกันมากมาย พระมหาสัตว์มีพลนิกายเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว เสด็จ ออกจากพระนครพาราณสี แม้พระเจ้าโปริสาท ก็ได้เสด็จออกจากพระนคร เมื่อเสด็จส่งถึงครึ่งหนทางก็เสด็จกลับ พระมหาสัตว์ประทานพาหนะแก่พวก พระราชาที่ไม่มีพาหนะ ทรงส่งพระราชาเหล่านั้นทุกพระองค์ แม้พระราชาเหล่า นั้นก็แสดงควานชื่นบานกับพระมหาสัตว์ ได้กระทำกิจมีการถวายบังคมและ การเจรจาเป็นต้นตามสมควร แล้วได้เสด็จกลับไปยังชนบทของตนๆ แม้ พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่พระนครที่พวกประชาชนชาวเมืองอินทปัต ตกแต่งไว้ดี แล้วประหนึ่งเทพนคร ถวายบังคมพระราชมารดาบิดา ทรงกระทำปฏิสันถาร อันอ่อนน้อมแล้ว เสด็จขึ้นสู่ท้องพระโรง.

ฝ่ายพระเจ้าโปริสาทเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยธรรม ทรงดำริว่า รุกขเทวดามีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก เราจักกระทำลาภ คือ พลีกรรมแก่ท่าน ท้าวเธอรับสั่งให้สร้างสระใหญ่ใกล้กับต้นไทรทรงส่งตระกูลไปเป็นอันมาก ตั้ง เป็นตำบลบ้านขึ้น บ้านนั้นได้เป็นบ้านใหญ่ประดับด้วยหนทาง และร้านตลาด ถึงแปดหมื่น ส่วนต้นไทรนั้น ตั้งแต่ที่สุดกิ่งเข้ามา โปรดให้ปราบพื้นที่ให้ราบ เรียบเสมอกัน ให้สร้างกำแพงมีแท่นบูชาและมีเสาระเนียดเป็นประตูแวดล้อม เทวดาชื่นบานเป็นอย่างยิ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่ากัมมาสบาทนิคม เพราะเป็น สถานที่ทรมานเจ้ากัมมาสบาทและเป็นที่อยู่ของท้าวเธอด้วย พระราชาเหล่า นั้นๆ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ได้ทรงทำบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญ ทางสวรรค์ให้บริบูรณ์แล้ว.

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 722

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ อริยสัจ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ทรมานพระอังคุลิมาล ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทรมานเธอแล้วเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าโปริสาท ในกาลนั้น ได้เป็น อังคุลิมาล กาฬหัตถีเสนาบดี ได้เป็น สารีบุตร นันทพราหมณ์ได้เป็น อานนท์ รุกขเทวดา ได้เป็น กัสสป ท้าวสักกะ ได้เป็น อนุรุทธะ พระราชา ๑๐๑ พระองค์ที่เหลือ ได้เป็นพุทธบริษัท พระราชมารดาบิดาได้เป็นมหาราชตระกูล ส่วน พระเจ้าสุตโสมคือเราตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาสุตโสมชาดก

จบอรรถกถาอสีตินิบาตด้วยประการฉะนี้

รวมชาดกที่มีในอสีตินิบาตนี้ คือ

๑. จุลลหังสชาดก ๒. มหาหังสชาดก ๓. สุธาโภชนชาดก ๔. กุณาลชาดก ๕. มหาสุตโสมชาดก และอรรถกถา