สุนัขบ้านเมื่อเดินไป ก็รู้โดยแท้ว่ากำลังเดิน

 
webdh
วันที่  21 เม.ย. 2550
หมายเลข  3520
อ่าน  2,410

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา

ถึงสุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากำลังเดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นอัตตา) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนา. แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 เม.ย. 2550

เรื่อง ถ้ารู้ด้วยความเป็นเราไม่ใช่สติปัฏฐาน ดังเช่น ความรู้ของเด็กที่นอนหงายอยู่

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 729

ข้อความบางตอนจาก...

อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร

ความรู้ที่ไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข เวทน มีอธิบายว่า พระโยคาวจรเมื่อเสวยสุขเวทนาที่เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต ย่อมรู้ชัดว่าเรากำลังเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนั้น แม้เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่ เมื่อเสวยความสุขในเวลาดื่มน้ำนม เป็นต้น ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขก็จริงถึงกระนั้น คำนี้ พระองค์ก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้อย่างนี้ เพราะว่าความรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิไม่ได้ ถอนสัตตสัญญาไม่ได้ ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา. ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา ส่วนการรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนสัตตสัญญาได้ เป็นทั้งกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสติปัฏฐานภาวนา. ก็ความรู้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการเสวยโดยการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเสวย การเสวยของใคร เพราะเหตุไรจึงเสวย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก เวทยติ (ใครเสวย) ความว่าไม่ใช่ใคร คือสัตว์หรือบุคคลเสวย. บทว่า กสฺส เวทนา (การเสวยของใคร) ความว่า ไม่ใช่การเสวยของใคร คือของสัตว์หรือบุคคล. บทว่า กึ การณา เวทนา (เพราะเหตุไรจึงเสวย) ความว่า ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ เขาจึงมีการเสวย. เพราะเหตุนั้น เขารู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เวทนานั้นเองเสวย

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 22 เม.ย. 2550

ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 25 เม.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เอกพันธ์
วันที่ 1 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ