พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. จุลลกเศรษฐีชาดก ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35203
อ่าน  819

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 183

๔. จุลลกเศรษฐีชาดก

ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 183.

๔. จุลลกเศรษฐีชาดก

ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้

[๔] คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย ดุจคนก่อไฟน้อยๆ ให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้น.

จบจุลลกเศรษฐีชาดกที่ ๔

อรรถกถาจุลลกเศรษฐีชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในชีวกัมพวัน ทรงปรารภ พระจุลลปันถกเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปฺปเกนปิ เมธาวี ดังนี้. เบื้องต้น พึงกล่าวการเกิดขึ้น และการบรรพชาของพระจุลลปันถกในอัมพวันนั้นก่อน. มีกถาตามลำดับดังต่อ ไปนี้

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์มีธิดาของเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ได้ทำความเชยชิดกับทาสของตนเองกลัวว่า แม้คนอื่นจะรู้กรรมนี้ของเรา จึงกล่าวอย่างนี้ ถ้าบิดามารดาของเราจักรู้โทษนี้ จักกระทำไห้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ พวกเราจักไปอยู่ต่างประเทศ จึงถือของสำคัญที่จะถือไปได้ ออกทางประตูลับ แม้ทั้งสองคนได้พากันไปด้วยคิดว่า จักไปยังที่ที่คนอื่นไม่รู้จัก แล้วอยู่ ณ ที่ใด ที่หนึ่ง. เมื่อผัวเมียทั้งสองนั้นอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 184

ธิดาเศรษฐีก็ตั้งครรภ์. ธิดาเศรษฐีนั้นอาศัยครรภ์แก่ จึงปรึกษากับสามีแล้ว กล่าวว่า ครรภ์ของเราแก่แล้ว ชื่อว่าการคลอดบุตรในที่ที่ห่างเหินจากญาติและพวกพ้อง ย่อมเป็นทุกข์แท้สำหรับเราทั้งสอง พวกเราจักไปเฉพาะยังเรือนของตระกูล. สามีนั้นคิดว่า ถ้าเราจักไปบัดนี้ ชีวิตของเราจะไม่มี จึงผัดวันอยู่ว่าจะไปวันนี้ จะไปวันพรุ่งนี้ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า สามีนี้เป็นคนโง่ไม่อุตสาหะ ที่จะไป เพราะโทษของตนมีมาก ธรรมดาว่าบิดามารดามีประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียวในบุตรธิดา สามีนี้จะไปหรือไม่ก็ตาม เราควรจะไป เมื่อสามีนั้นออกจากเรือน นางจึงเก็บงำบริขารในเรือน บอกถึงความที่ตนไปเรือนของตระกูลแก่ชาวบ้านใกล้เคียง แล้วเดินทาง.

ลำดับนั้น บุรุษนั้นมาเรือนไม่เห็นนางจึงถามคนที่คุ้นเคย ได้ฟังว่า ไปเรือนตระกูล จึงรีบตามไปทันในระหว่างทาง. ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นนั่นเอง สามีนั้นถามว่า นางผู้เจริญ นี่อะไร. ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นกล่าวว่า บุตรคนหนึ่งเกิดแล้ว สามีกล่าวว่า บัดนี้ พวกเราจักทำอย่างไร. ธิดาเศรษฐีกล่าวว่า พวกเราจะไปเรือนของตระกูล เพื่อประโยชน์ แก่กรรมใด กรรมนั้นได้สำเร็จแล้วในระหว่างทาง พวกเราจักไปที่นั้นทำอะไร พวกเราจักกลับ แม้ทั้งสองคนเป็นผู้มีความคิดเป็นอันเดียวกันกลับแล้ว. ก็เพราะทารกนั้น เกิดในระหว่างทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า ปันถก ไม่นานเท่าไรนัก นางก็ตั้งครรภ์อื่นอีก เรื่องราวทั้งปวงพึงไห้พิศดารโดยนัยก่อนนั่นแหละ. ก็เพราะทารกแม้คนนั้นก็เกิดในหนทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อบุตรผู้เกิด ที่แรกว่า มหาปันถก ตั้งชื่อบุตรคนที่สองว่า จุลลปันถก สามีภรรยานั้น พาทารกแม้ทั้งสองคนมายังที่อยู่ของตนนั่นแล.

เมื่อสามีภรรยาทั้งสองนั้นอยู่ในที่นั้น มหาปันถกทารกได้ฟังคนอื่นๆ พูดว่าอา ว่าปู่ ว่าย่า จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า พวกเด็กอื่นๆ พูดว่าปู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 185

พูดว่าย่า ญาติของเราไม่มีหรือ. มารดากล่าวว่า จ้ะพ่อ ในที่นี้ ญาติของ พวกเราไม่มี แต่ในพระนครราชคฤห์ พวกเรามีตาชื่อว่ามหาธนเศรษฐี ญาติของพวกเรามีอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นมาก มหาปันถกกล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกเราจึงไม่ไปที่เมืองราชคฤห์นั้นละแม่. นางไม่บอกเหตุที่ตนมาแก่บุตร เมื่อบุตรทั้งสองรบเร้าถามอยู่ จึงกล่าวกะสามีว่า เด็กเหล่านั้นทำเราให้ลำบากเหลือเกิน บิดามารดาเห็นพวกเราแล้วจักกินเนื้อเทียวหรือ มาเถิดพวกเราจักแสดงตระกูลของตาแก่เด็กทั้งหลาย. สามีกล่าวว่า เราจักไม่อาจไปประจัญหน้า แต่เราจักนำไป ภรรยากล่าวว่า ดีแล้ว พวกเด็กๆ ควรจะเห็นตระกูลของตานั่นแลโดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง. ชนแม้ทั้งสองนั้นพาทารกทั้งสองไปถึงเมืองราชคฤห์โดยลำดับ แล้วพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูเมือง แล้วให้บอกบิดามารดา ถึงความที่มารดาของทารกพาเอาทารก ๒ คนมา. ตายายเหล่านั้นได้ฟังข่าวนั้น แล้วกล่าวว่า คนชื่อว่าไม่ใช่บุตร ไม่ใช่ธิดา ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายผู้เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คนเหล่านั้นมีความผิดมากแก่พวกเรา คนเหล่านั้นไม่อาจเพื่อจะดำรงอยู่ในคลองจักษุของพวกเรา ชนแม้ทั้งสองจงถือเอาทรัพย์ชื่อมีประมาณเท่านี้ไปยังที่ที่ผาสุกเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด แต่จงส่งทารกทั้งสองคนมาไว้ที่นี้. ธิดาเศรษฐีถือเอาทรัพย์ที่บิดามารดาส่งมา แล้วส่งทารกทั้งสองให้ไปในมือของพวกทูตที่มานั่นแหละ. ทารกทั้งสองเจริญเติบโตอยู่ในตระกูลของตา.

บรรดาทารกทั้งสองนั้น จุลลปันถกยังเยาว์เกินไป ส่วนมหาปันถกไปฟังธรรมกถาของพระทศพลกับตา เมื่อมหาปันถกนั้นฟังธรรมในที่พร้อม พระพักตร์ของพระศาสดาเป็นนิตย์ จิตก็น้อมไปเพื่อบรรพชา. เขาจึงกล่าวกะตาว่า ถ้าท่านยอมรับ กระผมจะบวช. ตากล่าวว่า เจ้าพูดอะไร พ่อ เจ้าเป็นที่รักของตา การบรรพชาเฉพาะของเจ้าเท่านั้น ดีกว่าการบรรพชา แม้ของชาวโลกทั้งสิ้น ถ้าเจ้าอาจ จงบวชเถอะพ่อ. ครั้นรับคำแล้ว จึงไปยังสำนักของ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 186

พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ท่านมหาเศรษฐี ท่านได้ทารกนี้มาหรือ. มหาเศรษฐีกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทารกนี้เป็นหลานของข้าพระองค์ เขาพูดว่า จะบวชในสำนักของพระองค์. พระศาสดาจึงทรงสั่งภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวช. พระเถระบอกตจปัญจกกรรมฐาน แก่มหาปันถกนั้นแล้วให้บวช มหาปันถกนั้นเรียนพุทธ- วจนะเป็นอันมาก มีพรรษาครบบริบูรณ์แล้ว ได้อุปสมบทเป็นอุปสัมบัน กระทำกรรมฐานโดยโยนิโสมนสิการ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระมหาปันถกนั้นยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌานและความสุขในมรรค จึงคิดว่า เราอาจไหมหนอเพื่อจะให้สุขนี้แก่จุลลปันถก ลำดับนั้น ท่านมหาปันถกจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตากล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าท่านยินยอม อาตมภาพจักให้จุลลปันถกบวช. มหาเศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิดท่านผู้เจริญ. พระเถระให้จุลลปันถกทารกบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐. สามเณรจุลลปันถก พอบวชแล้วเท่านั้น ได้เป็นคนเขลา สมดังที่ท่านกล่าวว่า โดยเวลา ๔ เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวนี้ว่า

ดอกบัวโกกนุทมีกลิ่นหอม ไม่ปราศจากกลิ่นหอม พึงบานแต่เช้าฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรสผู้ไพโรจน์ เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสงจ้าในอากาศ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระจุลลปันถกนั้นบวชในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีปัญญา ได้ทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาทีภิกษุผู้เขลารูปหนึ่งเรียนอุเทศ. ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้นหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย. เพราะกรรมนั้น พระจุลลปันถกนี้ พอบวชเท่านั้นจึงเกิดเป็นคนเขลา เมื่อ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 187

ท่านเรียนบทเหนือๆ ขึ้นไป บทที่เรียนแล้วๆ ก็เลือนหายไป เมื่อท่านจุลลปันถกนั้นพยายามเรียนคาถานี้เท่านั้น ๔ เดือนล่วงไปแล้ว ลำดับนั้น พระมหาปันถกจึงคร่าพระจุลลปันถกนั้นออกจากวิหารโดยกล่าวว่า จุลลปันถกเธอเป็นผู้อาภัพในพระศาสนานี้โดย ๔ เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวได้ ก็เธอจักทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร จงออกไปจากวิหาร. พระจุลลปันถก ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความรักในพระพุทธศาสนา.

ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต. หมอชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปยังอัมพวันของตน บูชาพระศาสดาฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหา พระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร? พระมหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป. หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาในนิเวศน์ของผม. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก. ชื่อว่าพระจุลลปันถกเป็นผู้เขลามีธรรมไม่งอกงาม อาตมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือยกเว้นพระจุลลปันถกนั้น. พระจุลลปันถกได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า พระเถระพี่ชายของเราเมื่อรับนิมนต์ เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ก็รับ กันเราไว้ภายนอก พี่ชายของเราจักผิดใจ ในเราโดยไม่ต้องสงสัย บัดนี้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยพระศาสนานี้ เราจักเป็นคฤหัสถ์กระทำบุญมีทานเป็นต้นเลี้ยงชีวิต. วันรุ่งขึ้น พระจุลลปันถกนั้น ไปแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า จักเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจ โลก ได้ทรงเห็นเหตุนั้นนั่นแล จึงเสด็จไปก่อนล่วงหน้า ได้ประทับยืนจงกรมอยู่ที่ซุ้มประตู ใกล้ทางที่พระจุลลปันถกจะไป. พระจุลลปันถกเมื่อจะเดินไปสู่เรือน เห็นพระศาสดาจึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 188

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระจุลลปันถกนั้นว่า จุลลปันถก ก็เธอจะไปไหนในเวลานี้ พระจุลลปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจักเป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถก ชื่อว่าการบรรพชาของเธอใน สำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนักของเรา มาเถิด เธอจะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอจักอยู่ในสำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกไป ให้พระจุลลปันถกนั้นนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ตรัสว่า จุลลปันถก เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณํ รโชหรณํ ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรงปรุงแต่งด้วยฤทธิ์ เมื่อเขากราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) ให้ทรงทราบ จึงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังนิเวศน์ของหมอชีวกประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูลาดแล้ว ฝ่ายพระจุลลปันถกมองดูพระอาทิตย์นั่งลบท่อนผ้าเก่านั้นว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อพระจุลลปันถกนั้นลูบท่อนผ้าเก่านั้นอยู่ ผ้าได้เศร้าหมองไป แต่นั้นพระจุลลปันถกจึงคิดว่า ท่อนผ้าเก่าผืนนั้นบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แต่เพราะอาศัยอัตภาพนี้ จึงละปรกติเกิดเศร้าหมองอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ จึงเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมเจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงทราบว่าจิตของจุลลปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถก เธออย่ากระทำความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั้นเท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่ ธุลีคือราคะเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้นไปเสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏ เหมือนประทับ นั่งอยู่เบื้อง หน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 189

ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี คำว่า ธุลีนี้เป็นชื่อของราคะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ ปราศจากธุลี โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียก ว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้วย่อมอยู่ใน ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

ในเวลาจบคาถา พระจุลลปันถกบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ปิฎกทั้งสามมาถึงแก่พระจุลลปันถกนั้นพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายเทียว.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระจุลลปันถกนั้นเป็นพระราชากำลังทำ ประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าสาฎกบริสุทธิ์ เช็ดพระนลาต ผ้าสาฎกได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญาความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าสาฎกอันบริสุทธิ์เห็นปานนี้ ละปกติเดิมเกิดเศร้าหมองเพราะอาศัยร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าเป็น เครื่องนำธุลีออกไปเท่านี้ เกิดเป็นปัจจัยแก่พระจุลลปันถกนั้น.

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจน้อมนำน้ำทักษิโณทกเข้าไปถวายพระทศพล พระศาสดาเอาพระหัตถ์ปิดบาตรโดยตรัสว่า ชีวก ในวิหารมีภิกษุอยู่มิใช่หรือ พระมหาปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารไม่มีภิกษุมิใช่หรือ พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ชีวก มีภิกษุ. หมอชีวกจึงส่งบุรุษไปโดยสั่งว่า พนาย ถ้าอย่างนั้นท่านจงไป อนึ่ง จงรู้ว่าในวิหารมีภิกษุหรือไม่มี ขณะนั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 190

พระจุลลปันถกคิดว่า พี่ชายของเราพูดว่า ในวิหารไม่มีภิกษุ เราจักประกาศความที่ภิกษุทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร แก่พี่ชายของเรานั้น แล้วบันดาลให้อัมพวันทั้งสิ้นเต็มไปด้วยภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ภิกษุพวกหนึ่งทำจีวรกรรม ภิกษุพวกหนึ่งทำกรรมคือย้อมจีวร ภิกษุพวกหนึ่งทำการสาธยาย ท่านนิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเหมือนกันและกันอย่างนี้ บุรุษนั้นเห็นภิกษุมากมายในวิหาร จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ข้าแต่นาย อัมพวันทั้งสิ้นเต็มด้วยภิกษุทั้งหลาย ณ ที่ นั่นแหละ แม้พระเถระ

ก็นิรมิตอัตภาพตั้งพัน [ล้วนเป็น] พระปันถกนั่งอยู่ในอัมพวันอันรื่นรมย์จนกระทั่งประกาศเวลา [ภัต] ให้ทราบกาล.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะบุรุษนั้นว่า ท่านจงไปวิหาร กล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุชื่อว่า จุลลปันถก เมื่อบุรุษนั้นไปกล่าวอย่างนั้นแล้ว ปากตั้งพันก็ตั้งขึ้นว่า อาตมะชื่อจุลลปันถก อาตมะชื่อจุลลปันถก บุรุษไปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนัยว่าภิกษุแม้ทั้งหมด ชื่อจุลลปันถกทั้งนั้น. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปจับมือภิกษุผู้พูดก่อนว่า อาตมะชื่อ จุลลปันถก ภิกษุที่เหลือจะอันตรธานไป บุรุษนั้นได้กระทำอย่างนั้น ทันใดนั่นเอง ภิกษุประมาณพันรูปได้อันตรธานหายไป พระเถระได้ไปกับบุรุษนั้น ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมาว่า ชีวก ท่านจงรับบาตรของพระจุลลปันถก พระจุลลปันถกนี้จักกระทำอนุโมทนาแก่ท่าน. หมอชีวกได้กระทำอย่างนั้น พระเถระบันลือสีหนาท ดุจราชสีห์หนุ่มยังปิฎกทั้ง ๓ ให้กำเริบ กระทำอนุโมทนา พระศาสดาเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ มีภิกษุสงฆ์ เป็นบริวารเสด็จไปยังพระวิหาร เมื่อภิกษุทั้งหลายแสดงวัตรแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานโอวาทของพระสุคตแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสบอกพระกรรมฐาน ทรงส่งภิกษุสงฆ์ไปแล้วเสด็จเข้าพระ-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 191

คันธกุฎี อันตอบด้วยของหอมอันมีกลิ่นหอม ทรงเข้าสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันรอบด้านในโรงธรรมสภา นั่งเหมือนวงม่านผ้ากัมพลแดง ปรารภเรื่องของพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระมหาปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถาเดียวโดยเวลา ๔ เดือน ฉุดออกจากวิหาร โดยกล่าวว่า จุลลปันถกนี้โง่เขลา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระจุลลปันถกนั้น ในระหว่างภัตคราวเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม ปิฎกทั้งสามมาพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทีเดียว น่าอัศจรรย์ ชื่อว่า พุทธพลังใหญ่หลวง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของเรื่องนี้ในโรงธรรมสภา ทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรไป จึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธไสยา ทรงนุ่งผ้าสองชั้นอันแดงดี ทรงผูกรัดประคดประดุจสายฟ้าแลบ ทรงห่มมหาจีวรขนาดพระสุคตเช่นกับผ้ากัมพลแดง เสด็จออกจากพระคันธกุฎี อันมีกลิ่นหอม เสด็จไปยังโรงธรรมสภา ด้วยความงามอันเยื้องกรายดุจช้าง ตัวประเสริฐอันซับมันและดุจราชสีห์ และด้วยพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ เสด็จ ขึ้นบวรพุทธอาสน์ที่ลาดไว้ทรงเปล่งพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการเสมือนทรงยังท้องทะเลให้กระเพื่อม ประดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ เหนือยอดเขายุคนธร ฉะนั้น ประทับนั่งท่ามกลางอาสนะ ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอสักว่าเสด็จมา ภิกษุสงฆ์ได้งดการพูดจานิ่งอยู่แล้ว พระศาสดาทรงแลดูบริษัทด้วยพระเมตตาจิตอันอ่อนโยน ทรงพระดำริว่า บริษัทนี้งามเหลือเกิน การคะนองมือ คะนองเท้า หรือเสียงไอเสียงจาม แท้ของภิกษุรูปเดียวก็มิได้มี ภิกษุแม้ทั้งปวง นี้มีความเคารพด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า อันเดชของพระพุทธเจ้าคุกคามแล้ว เมื่อเรานั่งไม่กล่าวแม้ตลอดกัป ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งถ้อยคำขึ้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 192

กล่าวก่อน ชื่อว่าวัตรในการตั้งเรื่อง เราควรจะรู้ เราแหละจักกล่าวก่อนจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมอันไพเราะ ตรัสว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งอยู่ในที่นี้ ไม่กล่าวเดียรฉานกถาอย่างอื่น แต่นั่ง พรรณนาพระคุณทั้งหลายของพระองค์เท่านั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย พระมหาปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถาเดียวโดย ๔ เดือน ฉุดออกจากวิหารโดยกล่าวว่า พระจุลลปันถกนี้โง่เขลา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระจุลลปันถกนั้นในระหว่างภัตครั้งเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าพระกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใหญ่หลวงนัก พระศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจุลลปันถกบรรลุถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในธรรมทั้งหลายในบัดนี้ เพราะอาศัยเราก่อน แต่ในปางก่อน จุลลปันถกนี้ถึงความเป็นใหญ่ในโภคะ แม้ในโภคะทั้งหลาย ก็เพราะอาศัยเรา. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสีในแคว้นกาสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้ว ได้รับตำแหน่งเศรษฐี ได้ชื่อว่าจุลลกเศรษฐี จุลลกเศรษฐีนั้น เป็นบัณฑิตฉลาดเฉียบแหลมรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่ง จุลลกเศรษฐีนั้นไปสู่ที่บำรุงพระราชา เห็นหนูตายในระหว่างถนน คำนวนนักขัตฤกษ์ในขณะนั้นแล้ว กล่าวคำนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 193

กุลบุตรผู้มีดวงตาคือปัญญา อาจเอาหนูตัวนี้ไปกระทำการเลี้ยงดูภรรยาและ ประกอบการงานได้.

กุลบุตรผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อว่า จูฬันเตวาสิก ได้ฟังคำของเศรษฐีนั้น แล้วคิดว่า ท่านเศรษฐนี้ไม่รู้ จักไม่พูด จึงเอาหนูไปขายในตลาดแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นอาหารแมว ได้ทรัพย์กากณึกหนึ่ง จึงซื้อน้ำอ้อยด้วยทรัพย์หนึ่งกากณึกนั้น แล้วเอาหม้อใบหนึ่งตักน้ำไป เขาเห็นพวกช่างดอกไม้มาจากป่าจึงให้ชิ้นน้ำอ้อยคนละหน่อยหนึ่ง แล้วให้ดื่มน้ำกระบวยหนึ่งพวกช่างดอกไม้เหล่านั้นได้ให้ดอกไม้คนละกำมือแก่เขา.

แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาก็เอาค่าดอกไม้นั้นซื้อน้ำอ้อยและน้ำดื่มหม้อหนึ่ง ไปยังสวนดอกไม้ทีเดียว พวกช่างดอกไม้ได้ให้กอดอกไม้ที่เก็บไปแล้วครึ่งกอ แก่เขาในวันนั้นแล้วก็ไป ไม่นานนัก เขาก็ได้เงิน ๘ กหาปณะโดยอุบายนี้.

ในวันมีฝนเจือลมวันหนึ่ง ไม้แห้ง กิ่งไม้ และใบไม้เป็นอันมาก ในพระราชอุทยาน ถูกลมพัดตกลงมาอีก คนเฝ้าอุทยานไม่เห็นอุบายที่จะทิ้ง เขาไปในพระราชอุทยานนั้นแล้วกล่าวกะคนเฝ้าอุทยานว่า ถ้าท่านจักให้ไม้และใบไม้เหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักนำของทั้งหมดออกไปจากสวนนี้ของท่าน คนเฝ้าอุทยานนั้นรับคำว่า เอาไปเถอะนาย. จูฬันเตวาสิกจึงไปยังสนามเล่นของ พวกเด็กๆ ให้น้ำอ้อย ให้ขนไม้และใบไม้ทั้งหมดออกไปโดยเวลาครู่เดียว ให้กองไว้ที่ประตูอุทยาน ในกาลนั้น ช่างหม้อหลวงเที่ยวหาพื้นเพื่อเผาภาชนะดินของหลวง เห็นไม้และใบไม้เหล่านั้นที่ประตูอุทยานจึงซื้อเอาจากมือของจูฬันเตวาสิกนั้น วันนั้นจูฬันเตวาสิกได้ทรัพย์ ๑๖ กหาปณะ และภาชนะ ๕ อย่างมีตุ่มเป็นต้น ด้วยการขายไม้.

เมื่อมีทรัพย์ ๒๔ กหาปณะ จูฬันเตวาสิกนั้นจึงคิดว่า เรามีอุบายนี้แล้วตั้งตุ่มน้ำดื่มตุ่มหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกลประตูพระนคร บริการคนหาบหญ้า ๕๐๐

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 194

คนด้วยน้ำดื่ม. คนหาบหญ้าแม้เหล่านั้น กล่าวว่า สหาย ท่านมีอุปการะมาก แก่พวกเรา พวกเราจะการทำอะไรแก่ท่าน (ได้บ้าง) จูฬันเตวาสิกนั้น กล่าวว่า เมื่อกิจเกิดขึ้นแก่เรา ท่านทั้งหลายจักกระทำ แล้วเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ได้กระทำความสนิทสนม โดยความเป็นมิตรกับคนผู้ทำงานทางบก และคน ทำงานทางน้ำ.

คนทำงานทางบกบอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า พรุ่งนี้ พ่อค้ามาจักพาม้า ๕๐๐ ตัวมายังนครนี้. นายจูฬันเตวาสิกนั้นได้ฟังคำของคนทำงานทางบกนั้นแล้ว จึงกล่าวกะพวกคนหาบหญ้าว่า วันนี้ ท่านจงให้หญ้าแก่เราคนละกำ และเมื่อเรายังไม่ได้ขายหญ้า ท่านทั้งหลายอย่าขายหญ้าของตนๆ คนหาบหญ้าเหล่านั้นรับคำแล้วนำหญ้า ๕๐๐ กำ มาลงที่ประตูบ้านของจูฬันเตวาสิกนั้น. พ่อค้าม้าไม่ได้อาหารสำหรับม้าในพระนครทั้งสิ้น จึงให้ทรัพย์หนึ่ง พันแก่จูฬันเตวาสิกนั้น แล้วถือเอาหญ้านั้นไป.

แต่นั้นล่วงไป ๒ - ๓ วัน สหายผู้ทำงานทางน้ำบอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า เรือใหญ่มาจอดที่ท่าแล้ว. จูฬันเตวาสิกนั้นคิดว่า มีอุบายนี้. จึงเอาเงิน ๘ กหาปณะไปเช่ารถ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบริวารทั้งปวง แล้วไปยังท่าเรือด้วยยศใหญ่ ให้แหวนวงหนึ่งเป็นมัดจำแก่นายเรือ ให้วงม่านนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลสั่งคนไว้ว่า เมื่อพ่อค้าภายนอกมา พวกท่านจงบอก โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง. พ่อค้าประมาณร้อยคนจากเมืองพาราณสีได้ฟังว่า เรือมาแล้ว จึงมาโดยกล่าวว่า พวกเราจะซื้อเอาสินค้า. นายเรือกล่าวว่า พวกท่านจักไม่ได้สินค้า พ่อค้าใหญ่ในที่ชื่อโน้น ให้มัดจำไว้แล้ว พ่อค้าเหล่านั้นได้ฟังดังนั้นจึงมายังสำนักของจูฬันเตวาสิกนั้น. คนผู้รับใช้ใกล้ชิดจึงบอกความที่พวกพ่อค้าเหล่านั้นมา โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง ตามสัญญาเดิม. พ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนนั้น ให้ทรัพย์คนละพัน เป็นผู้มีหุ้นส่วนเรือกับจูฬันเตวาสิกนั้น แล้วให้อีกคนละพัน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 195

ให้ปล่อยหุ้น ได้กระทำสินค้าให้เป็นของตน จูฬันเตวาสิกถือเอาทรัพย์สองแสนกลับมาเมืองพาราณสี คิดว่า เราควรเป็นคนกตัญญู จึงให้ถือเอาทรัพย์แสนหนึ่งไปยังที่ใกล้จุลลกเศรษฐี. ลำดับนั้น จุลลกเศรษฐีจึงถามจูฬันเตวาสิกนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เธอทำอะไรจึงได้ทรัพย์นี้. จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านบอก จึงได้ทรัพย์ภายใน ๔ เดือนเท่านั้น แล้วบอกเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่หนูตายเป็นต้นไป. ท่านจุลลกมหาเศรษฐีได้ฟังคำของจูฬันเตวาสิกนั้นแล้วคิดว่า บัดนี้ เรากระทำทารกเห็นปานนี้ให้เป็นของเราจึงจะควร จึงให้ธิดาของคนผู้เจริญวัยแล้วกระทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งสิ้น. เมื่อท่านเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้น ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปตามยถากรรม.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ พร้อมยิ่งที่เดียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้ ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปเกนปิ แปลว่า แม้น้อย คือ แม้นิดหน่อย. บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา. บทว่า ปาภเฏน ได้แก่ ด้วยต้นทุนของสินค้า. บทว่า วิจกฺขโณ ได้แก่ ผู้ฉลาดในโวหาร. บทว่า สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ ความว่า ยังทรัพย์และยศใหญ่ให้เกิดขึ้นแล้วตั้งตน คือยังคนให้ตั้งอยู่ในทรัพย์และยศนั้น. ถามว่า เหมือนอะไร? ตอบว่า เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้เป็น กองใหญ่ อธิบายว่า บุรุษผู้เป็น บัณฑิตใส่โคมัยและจุรณเป็นคนแล้วเป่าด้วยลมปาก ก่อไฟนิดหน่อยขึ้น คือ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 196

ให้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ทำให้เป็นกองไฟใหญ่ โดยลำดับ ฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้น้อย แล้วประกอบอุบายต่างๆ ย่อมทำทรัพย์และยศให้เกิดขึ้น คือให้เพิ่มขึ้น ก็แหละครั้นให้เพิ่มขึ้นแล้วก็ดำรงตนไว้ในทรัพย์และยศนั้น ก็หรือว่า ย่อมตั้งตนไว้ คือ กระทำให้รู้กัน คือให้ปรากฏ เพราะความเป็นใหญ่ในทรัพย์และยศนั้นนั่นแหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จุลลปันถกอาศัยเราแล้วถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในเพราะธรรมทั้งหลาย ในบัดนี้ ก็หามิได้ ส่วนในกาลก่อนก็อาศัยเราจึงถึงความเป็นใหญ่ในโภคะ แม้เพราะโภคะทั้งหลาย แล้วตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบอนุสนธิกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า จูฬันเตวาสิกในกาลนั้น ได้เป็นพระจุลลปันถกใน บัดนี้ ส่วนจุลลกมหาเศรษฐีในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบ จุลลกมหาเศรษฐีชาดกที่ ๔