พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เทวธรรมชาดก ว่าด้วยธรรมของเทวดา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35205
อ่าน  503

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 201

๖. เทวธรรมชาดก

ว่าด้วยธรรมของเทวดา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 201

๖. เทวธรรมชาดก

ว่าด้วยธรรมของเทวดา

[๖] สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกกว่าผู้มี ธรรมของเทวดาในโลก.

จบเทวธรรมชาดกที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 202

๖. อรรถกถาเทวธรรมชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เมื่อภรรยาตายก็บวชกุฎุมพีนั้น เมื่อจะบวชได้ให้ทำบริเวณ โรงไฟและห้องเก็บสิ่งของ ทำห้องเก็บสิ่งของให้เต็มด้วยเนยใสและข้าวสารเป็นต้นสำหรับตนแล้วจึงบวช ก็แหละครั้นบวชแล้ว ให้เรียกทาสของตนมา ให้หุงต้มอาหารตามชอบใจแล้วจึงบริโภคและได้เป็นผู้มีบริขารมาก ในเวลากลางคืน มีผ้านุ่งและผ้าห่มผืนหนึ่ง เวลากลางวัน มีอีกผืนหนึ่งอยู่ท้ายวิหาร วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนำจีวรและเครื่องปูลาดเป็นต้นออกมาคลี่ตากไว้ในบริเวณ ภิกษุชาวชนบทมากด้วยกัน เทียวจาริกไปตามเสนาสนะ ไปถึงบริเวณ เห็นจีวรเป็นต้น จึงถามว่า จีวรเป็นต้น เหล่านั้นของใคร? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ของผมครับ ท่านผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้น ถามว่า จีวรนี้ก็ดี ผ้านุ่งนี้ก็ดี เครื่องลาดนี้ก็ดี ทั้งหมดเป็นของท่านเท่านั้นหรือ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ขอรับ เป็นของผมเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไตรจีวรมิใช่หรือ ท่านบวชใน ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มักน้อยอย่างนี้ เกิดเป็นผู้มีบริวารมากอย่างนี้ มาเถิดท่าน พวกเราจักนำไปยังสำนักของพระทศพล แล้วได้พาภิกษุนั้นไปยัง สำนักของพระศาสดา

พอทรงเห็นภิกษุนั้นเท่านั้นจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนานั้นแลมาแล้วหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้มีภัณฑะมากมีบริขารมาก พระเจ้าข้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 203

พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอมีภัณฑะมากจริงหรือ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เพราะเหตุไรเธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก เรากล่าวคุณของความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความสงัด และการปรารภความเพียร มิใช่หรือ. ภิกษุนั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดาก็โกรธคิดว่า บัดนี้ เราจักเที่ยวไปโดยทำนองนี้ จึงทิ้งผ้าห่ม มีจีวรผืนเดียว ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอุปถัมภ์ภิกษุนั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อก่อน แม้ในกาลเนื้อเป็นผีเสื้อน่าผู้แสวงหาหิริโอตตัปปะ เธอแสวงหาหิริโอตตัปปะอยู่ถึง ๑๒ ปี เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรในบัดนี้ เธอบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพต่างนี้ จึงทิ้งผ้าห่มในท่ามกลางบริษัท ละ หิริโอตตัปปะยืนอยู่เล่า. ภิกษุนั้นได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ได้ยังหิริโอตัปปะให้กลับตั้งขึ้น. จึงห่มจีวรนั้นแล้วถวายบังคมพระศาสดานั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงยังเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง. พระผู้พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในนครพาราณสี ในแคว้นกาสี. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. เมื่อครบทศมาส พระนางประสูติพระโอรส. ในวันเฉลิมพระนามของพระโอรสนั้น พระญาติทั้งหลายได้ตั้งพระนามว่า มหิสสาสกุมาร ในกาลที่พระกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระโอรสองค์อื่นก็ ประสูติ พระญาติทั้งหลายตั้งพระนามของพระโอรสนั้นว่า จันทกุมาร. ในเวลาที่พระจันทกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็สวรรคต พระราชาทรงตั้งพระสนมอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. พระอัคร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 204

มเหสีนั้น ได้เป็นที่รักเป็นที่โปรดปรานของพระราชา. พระอัครมเหสีแม้นั้น ทรงอาศัยการอยู่ร่วมกันก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง. พระญาติทั้งหลายได้ตั้ง พระนามของพระโอรสนั้นว่า สุริยกุมาร. พระราชาทรงเห็นพระโอรสแล้วมี พระหฤทัยยินดีตรัสว่า นางผู้เจริญ เราให้พรแก่บุตรของเธอ. พระเทวีเก็บไว้จะรับเอาในเวลาต้องการพรนั่น. เมื่อพระโอรสเจริญวัยแล้ว พระนางกราบ ทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในกาลที่พระโอรสของหม่อมฉันประสูติ พระองค์ทรงประทานพรไว้มิใช่หรือ ขอพระองค์จงประทานราชสมบัติแก่พระโอรสของหม่อมฉัน. พระราชาทรงห้ามว่า พระโอรสสองพระองค์ของเรารุ่งเรืองอยู่เหมือนกองเพลิง เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่โอรสของเธอ ทรงเห็นพระนางอ้อนวอนอยู่บ่อยๆ ทรงพระดำริว่า พระนางนี้จะพึงคิดแม้กรรมอัน ลามกแก่โอรสทั้งหลายของเรา จึงรับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้งสองมาแล้วตรัสว่า พ่อทั้งสอง ในเวลาที่สุริยกุมารประสูติ พ่อได้ให้พรไว้ บัดนี้มารดาของสุริยกุมารนั้นทูลขอราชสมบัติ พ่อไม่ประสงค์จะให้แก่สุริยกุมารนั้น ธรรมดามาตุคาม ผู้ลามกจะพึงคิดแม้สิ่งอันลามกแก่พวกเจ้า เจ้าทั้งสองต้องเข้าป่าต่อเมื่อพ่อล่วงไปแล้ว จงครองราชสมบัติในนครอันเป็นของมีอยู่ของตระกูล แล้ว ทรงกันแสง คร่ำคราญจุมพิตที่ศีรษะแล้วทรงส่งไป. สุริยกุมารทรงเล่นอยู่ที่ พระลานหลวง เห็นพระโอรสทั้งสองนั้นถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจากปราสาท ทรงเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่า แม้เราก็จักไปกับพระเจ้าพี่ทั้งสอง จึงออกไปพร้อมกับพระโอรสทั้งสองนั้นเอง พระโอรสเหล่านั้นเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์.

พระโพธิสัตว์แวะลงข้างทางประทับนั่งที่โคนไม้ เรียกสุริยกุมารมาว่า พ่อสุริยะ เจ้าจะไปยังสระนั้น อาบและดื่มแล้วจงเอาใบบัวห่อน้ำดื่มมาแม้เพื่อเราทั้งสอง ก็สระนั้นเป็นสระที่ผีเสื้อน้ำตนหนึ่งได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 205

ท้าวเวสวัณตรัสกะผีเสื้อน้ำนั้นว่า เจ้าจะได้กินคนที่ลงยังสระนี้ ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรมเท่านั้น เจ้าจะไม่ได้กินคนที่ไม่ได้ลง ตั้งแต่นั้น รากษสนั้นจึงถามเทวธรรมกะคนที่ลงสระนั้น แล้วกินคนที่ไม่รู้เทวธรรม ลำดับนั้นแล สุริยกุมาร ไปยังสระนั้นไม่ได้พิจารณาเลยลงไปอยู่ ลำดับนั้น รากษสนั้นจับสุริยกุมารนั้น แล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมหรือ? สุริยกุมารนั้นกล่าวว่า เออ ฉันรู้ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า เทวธรรม ลำดับนั้น รากษสนั้นจึงกล่าวกะสุริยกุมารนั้นว่าท่านไม่รู้จักเทวธรรม แล้วพาดำไปพักไว้ในที่อยู่ของตน ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นสุริยกุมารนั้นชักช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป แม้รากษสก็จับจันทกุมารนั้นแล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมไหม? จันทกุมารกล่าวว่า เออ ฉันรู้ ทิศทั้ง ๔ ชื่อว่าเทวธรรม รากษสกล่าวว่า ท่านไม่รู้เทวธรรม แล้วพาจันทกุมารแม้นั้นไปไว้ในที่อยู่ของตนนั้นนั่นแหละ

เมื่อจันทกุมารล่าช้าอยู่ พระโพธิสัตว์คิดว่า อันตรายอย่างหนึ่งจะพึงมี จึงเสด็จไปที่สระนั้นด้วยพระองค์เอง เห็นรอยเท้าลงของพระอนุชาแม้ทั้งสองจึงดำริว่า สระนี้คงเป็นสระที่รากษสหวงแหน จึงได้สอดพระขรรค์ถือธนูยืนอยู่ ผีเสื้อน้ำเห็นพระโพธิสัตว์ ไม่ลงน้ำ จึงแปลงเป็นเหมือนบุรุษผู้ทำงานในป่า กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า บุรุษผู้เจริญท่านเหน็ดเหนื่อยในหนทาง เพราะเหตุไรจึงไม่ลงสระนี้ อาบ ดื่ม กินเหง้าบัว ประดับดอกไม้ไปตามสบาย พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นรู้ว่า ผู้นี้จักเป็นยักษ์ จึงกล่าวว่า ท่านจับน้องชายของเรามาหรือ. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราจับมา. พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไร. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เราย่อมได้คนผู้ลงยังสระนี้. พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้ทั้งหมดทีเดียวหรือ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เราได้ทั้งหมด ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรม. พระโพธิสัตว์นั้นตรัสถามว่า ท่านมีความต้องการเทวธรรมหรือ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออมีความต้องการ. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักบอกเทวธรรมแก่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 206

ท่าน. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงบอก เราจักฟังเทวธรรม. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า แต่เรามีตัวสกปรก. ยักษ์จึงให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำ ให้ ประดับดอกไม้ให้ลูบไล้ของหอม ได้ลาดบัลลังก์ให้ในท่ามกลางปะรำที่ประดับแล้ว. I พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบทอาสนะ ให้ยักษ์นั่งแทบเท้าแล้วตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตฟังพระธรรมโดยเคารพ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ที่ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่กายทุจริต เป็นต้น คำว่า หิริ นี้ เป็นชื่อของความ ละอาย. ที่ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ คำว่า โอตตัปปะนี้ เป็นชื่อของความกลัวแต่บาป บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น หิริมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายใน โอตตัปปะมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายนอก. หิริ มีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ หิริดำรงอยู่ในสภาวะอันน่าละอาย โอตตัปปะดำรงอยู่ในสภาวะอันน่ากลัว หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะ โทษและเห็นภัย

บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น บุคคลย่อมยังหิริอันมีสมุฏฐานเป็นภายใน ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ เพราะพิจารณาถึงชาติกำเนิด ๑ พิจารณาถึงวัย ๑ พิจารณาถึงความกล้าหาญ ๑ พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต ๑ อย่างไร? บุคคลพิจารณาถึงชาติกำเนิดก่อนอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ ไม่เป็นกรรมของคนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ เป็นกรรมของคนผู้มีชาติต่ำมีพรานเบ็ดเป็นต้น จะพึงกระทำ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่านไม่ควรกระทำกรรมนี้ แล้วไม่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 207

ทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงวัยอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมที่คนหนุ่มๆ พึงกระทำ กรรมนี้อันคนผู้ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่านไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาป มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น แม้อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าหาญอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ เป็นกรรมของคนผู้มีชาติอ่อนแอ กรรมนี้ บุคคลผ้สมบูรณ์ด้วยความกล้าหาญเช่นท่าน ไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น อนึ่ง บุคคลพิจารณาความเป็นพหูสูตอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมของคนอันธพาล กรรมนี้อันคนผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิตเช่นท่าน ไม่ควรการทำ แล้วไม่กระทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น บุคคลชื่อว่ายังหิริอันมีสมุฏฐานภาย ในให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้. ก็แหละ ครั้นให้ตั้งขึ้นแล้ว ยังหิริให้เข้าไปในจิตไม่กระทำบาปด้วยตน หิริย่อมชื่อว่ามีสมุฏฐานภายในอย่างนี้.

โอตตัปปะชื่อว่า มีสมุฏฐานภายนอกอย่างไร? บุคคลพิจารณาว่า ถ้าท่านจักทำบาปไซร้ ท่านจักเป็นผู้ถูกติเตียนในบริษัท ๔ และว่า

วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่านเหมือนชาวเมือง ติเตียนของไม่สะอาด ดูก่อนภิกษุ ท่านอันผู้มีศีล ทั้งหลายเว้นห่างแล้ว จักกระทำอย่างไร ดังนี้.

ย่อมไม่กระทำบาปกรรม เพราะโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายนอก โอตตัปปะย่อมชื่อว่ามีสมุฏฐานภายนอกอย่างนี้.

หิริชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างไร กุลบุตรบางคนในโลกนี้ กระทำตนให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า ไม่กระทำบาปด้วยคิดว่า บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธาเป็นพหูสูต มีวาทะ [คือสอน] ในการกำจัดกิเลสเช่นท่าน ไม่ควรกระทำบาปกรรม หิริย่อมชื่อว่ามีตนเป็นให้อย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 208

ตรัสว่า บุคคลนั้นกระทำคนนั่นแหละให้เป็นใหญ่ ละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.

โอตตัปปะชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างไร? กุลบุตรบางตนในโลกนี้ กระทำโลกให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่กระทำบาปกรรม สมดังที่ตรัสไว้ว่า ก็โลกสันนิวาสนี้ให้แล อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่น อยู่ในโลกสันนิวาสอันใหญ่แล สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นในที่ไกลบ้าง เห็นในที่ใกล้บ้าง รู้จิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ย่อมรู้เราอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่ เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่นมีอยู่ แม้เทวดาเหล่านั้น ย่อมเห็นแต่ที่ไกลบ้าง ย่อมเห็นในที่ใกล้บ้าง ย่อมรู้ใจด้วยใจบ้าง แม้เทวดาเหล่านั้นก็จักรู้เราว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่ เขากระทำโลกนั่นแลให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละธรรมอันมีโทษเจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารคนให้หมดจดอยู่ โอตตัปปะย่อมชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้.

ก็ในคำว่า หิริตั้งอยู่ในสภาวะน่าละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะน่ากลัว นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อาการละอาย ชื่อว่า ความละอาย หิริตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น ความกลัวแต่อบายชื่อว่า ภัย โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น. หิริและโอตตัปปะ แม้ทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการงดเว้นทุกบาป จริงอยู่ บุคคลบางคนก้าวลงสู่ธรรมคือความละอายอันเป็นภายใน ไม่กระทำบาปธรรม เหมือนกุลบุตรเมื่อจะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น เห็นคนหนึ่งอันควรละอาย พึงเป็นผู้ถึง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 209

อาการละอาย ถูกอุจจาระและปัสสาวะบีบคั้นจนอาจมเล็ดก็ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่กระทำบาปกรรม ในข้อนั้น มีความอุปมาดังต่อไปนี้:-

เหมือนอย่างว่า ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็น แต่เปื้อนคูถ ก้อนหนึ่งร้อน ไฟติดโพลง. ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับก้อนเย็น เพราะก้อนเย็นเปื้อนคูถ ไม่จับก้อนร้อน เพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด. ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น พึงทราบการหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมอันเป็นภายในแล้วไม่ทำบาปกรรม เหมือนบัณฑิตเกลียดก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถ จึงไม่จับ และพึงทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวภัยในอบาย เหมือนการที่บัณฑิต ไม่จับก้อนเหล็กร้อน เพราะกลัวไหม้ฉะนั้น.

แม้บททั้งสองนี้ที่ว่า หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัวโทษและเห็นภัย ดังนี้ ย่อมปรากฏเฉพาะในการงดเว้นจากบาปเท่านั้น. จริงอยู่ คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดา ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก ๑ และพิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี ๑ แล้วไม่ทำบาป.

คนบางคนยังโอตตัปปะอันมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภัยในการติเตียนตน ๑ ภัยในการที่คนอื่นติเตียน ๑ ภัยคืออาชญา ๑ และภัยในทุคติ ๑ แล้วไม่ทำบาป ในข้อ ที่ว่าด้วยหิริโอตตัปปะนั้น พึงกล่าวการพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้น และภัยในการติเตียนตนเป็นต้น ให้พิสดาร ความพิศดารของการพิจารณา ความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้นเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 210

บทว่า สุกฺกธมฺมสมาหิตา ความว่า กุศลธรรมที่ควรกระทำมีหิริ โอตตัปปะนี้แหละเป็นต้นไป ชื่อว่า สุกกธรรม ธรรมขาว เมื่อว่าโดยนัยที่รวมถือเอาทั้งหมด สุกกธรรมนั้นก็คือธรรมอันเป็นโลกิยะและโลกุตระอันเป็นไป ในภูมิ ๔ ที่ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น. บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา โลเก ความว่า ชื่อว่าผู้สงบระงับ เพราะกายกรรมเป็นต้นสงบระงับแล้ว ชื่อว่า เป็นสัปบุรุษ เพราะเป็นบุรุษผู้งดงามด้วยความกตัญญูกตเวที. ก็ในบทว่า โลเก นี้ โลกมีหลายโลก คือ สังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก ขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก. ในโลกเหล่านั้น สังขารโลก ท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘. โลกมีขันธโลกเป็นต้นรวมอยู่ใน สังขารโลกนั่นแหละ. ส่วนสัตวโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคมีอาทิว่า โลกนี้ โลกหน้า เทวโลก มนุษยโลก.

โอกาสโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า

พันโลกธาตุมีประมาณเพียงที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เวียนส่องสว่างไปทั่วทิศ อำนาจของพระองค์ย่อมแผ่ไปในพันโลกธาตุนั้น.

บรรดาโลกเหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาสัตวโลก จริงอยู่ในสัตว์โลกเท่านั้น มีสัปบุรุษเห็นปานนี้ สัปบุรุษเหล่านั้นท่านกล่าวว่า มีเทวธรรม. บทว่า เทว ในบทว่า เทวธมฺมา นั้น เทพมี ๓ ประเภท คือ สมมติเทพ. อุปบัติเทพ ๑ และวิสุทธิเทพ ๑ บรรดาเทพเหล่านั้น พระราชาและพระราชกุมารเป็นต้น ชื่อว่าสมมติเทพ เพราะชาวโลกสมมติว่าเป็นเทพ จำเดิมแต่ครั้งพระมหาสมมติราช. เทวดาผู้อุปบัติในเทวโลก ชื่อว่า อุปบัติเทพ. พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 211

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร ชื่อว่าสมมติเทพ, เทพสูงๆ ขึ้นไปตั้งแต่ภุมมเทวดาไป ชื่อว่า อุปบัติเทพ, พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ ชื่อ ว่าวิสุทธิเทพ.

ธรรมของเทพเหล่านี้ ชื่อว่า เทวธรรม.

บทว่า วุจฺจเร แปลว่า ย่อมกล่าว จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีหิริโอตตัปปะเป็นมูล ชื่อว่า เป็นธรรมของเทพทั้ง ๓ ประเภทเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุแห่งกุศลสัมปทา แห่งการเกิดในเทวโลกและแห่งความหมดจด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวธรรม แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยเทวธรรมเหล่านั้น ก็เป็นผู้มีเทวธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น ด้วยเทศนาอันเป็นบุคคลอธิษฐานจึงตรัสว่า สัปบุรุษผู้สงบระงับ เรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก.

ยักษ์ครั้นได้ฟังธรรมเทศนานี้ มีความเลื่อมใสจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนบัณฑิต เราเลื่อมใสท่าน จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะให้นำคนไหนมา. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านจงนำน้องชายคนเล็กมา. ยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนบัณฑิต ท่านรู้แต่เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร? ยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุที่ท่านเว้นพี่ชายเสียให้นำน้องชายมา ชื่อว่าไม่กระทำกรรมของผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ เรารู้เทวธรรมทีเดียว และประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น เพราะว่าเราทั้งหลายเข้าป่านี้เพราะอาศัยน้องชายนี้ ด้วยว่าพระมารดาของน้องชายนี้ ทูลขอราชสมบัติกะพระบิดาของพวกเรา เพื่อประโยชน์แก่น้องชายนี้ แต่พระบิดาของพวกเราไม่ให้พรนั้น เพื่อจะทรงอนุรักษ์พวกเรา จึงทรงอนุญาตการอยู่ป่า พระกุมารนั้นติดตามมากับพวกเรา.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 212

แม้เมื่อพวกเรากล่าวว่า ยักษ์ในป่ากินพระกุมารนั้นเสียแล้ว ใครๆ จักไม่เชื่อ ด้วยเหตุนั้น เรากลัวแต่ภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชายคนเล็กนั้นนั่นแหละมา. ยักษ์มีจิตเลื่อมใสให้สาธุการแก่พระโพธิสัตว์ว่า สาธุ สาธุ ท่านบัณฑิต ท่าน รู้เทวธรรมทั้งปฏิบัติในเทวธรรมเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงได้นำน้องชายแม้ทั้งสองคนมาให้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกะยักษ์นั้นว่า สหาย ท่านบังเกิดเป็น ยักษ์มีเนื้อและเลือดของคนอื่นเป็นภักษา เพราะบาปกรรมที่คนทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้ท่านยังกระทำบาปนั่นแลซ้ำอีก ด้วยว่าบาปกรรมจักไม่ให้พ้นจากนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงละบาปแล้วการทำแต่กุศล. ก็แหละได้สามารถทรมานยักษ์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นครั้นทรมานยักษ์นั้นแล้ว เป็นผู้อันยักษ์นั้นจัดแจงการอารักขาอยู่ในที่นั้นนั่นแล. วันหนึ่ง แลดูนักขัตฤกษ์ รู้ว่าพระชนกสวรรคต จึงพายักษ์ไปเมืองพาราณสี ยึดราชสมบัติประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระจันทกุมาร ประทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริยกุมาร ให้สร้างที่อยู่ในที่อันน่ารื่นรมย์ให้แก่ยักษ์ ได้ทรงกระทำโดยประการที่ ยักษ์นั้นได้บูชาอันเลิศ ดอกไม้อันเลิศ ของหอมอันเลิศ ผลไม้อันเลิศ และ ภัตอันเลิศ. พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติโดยธรรมได้เสด็จไปตามยถากรรม แล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกันไป แล้วทรงประชุมชาดกว่า ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมากในบัดนี้ สุริยกุมารได้เป็น พระอานนท์ จันทกุมารได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนมหิสสาสกุมารผู้เป็นเชฏฐา ได้เป็นเราเองแล.

จบ เทวธรรมชาดกที่ ๖