พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. คามนิชาดก ว่าด้วยไม่ใจเร็วด็วนได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35207
อ่าน  569

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 217

๘. คามนิชาดก

ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 217

๘. คามนิชาดก

ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้

[๘] เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจงเข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามนิ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 218

๘. อรรถกถาคามนิชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภภิกษุละความเพียร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อปิ อตรนานานํ ดังนี้.

ก็เรื่องปัจจุบันและเรื่องอดีตในชาดกนี้ จักมีแจ้งในสังวรชาดก เอกาทสนิบาต ก็ในสังวรชาดกนั้น และชาดกนี้ เรื่องเป็นเช่นเดียวกันเทียว แต่คาถาต่างกัน มีความย่อว่า คามนิกุมารตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แม้จะเป็นพระกนิษฐาของพระภาคาทั้งร้อยพระองค์ ก็เป็นผู้อันพระภาดาทั้งร้อยพระองค์ห้อมล้อม ประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐ ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตรดูยศสมบัติของพระองค์ ทรงดีพระทัยว่ายศสมบัติของเรานี้ เป็นของอาจารย์เรา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจงเข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามนิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อตรมานานํ ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ไม่รีบด่วน กระทำการโดยอุบาย. บทว่า ผลาสาว สมิชฺฌติ ความว่า ความหวังในผลที่ปรารถนาไว้ ชื่อว่าย่อมสำเร็จแน่ เพราะความสำเร็จผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ผลาสา ได้แก่ ผลแห่งความหวัง คือ ผลตามที่ปรารถนาไว้ ย่อมสำเร็จทีเดียว. ในบทว่า วิปกฺกพฺรหฺมจริโยสฺมิ นี้ สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า พรหมจรรย์เพราะเป็นความประพฤติอันประเสริฐ ก็พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าแก่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 219

กล้าแล้วทีเดียว เพราะได้เฉพาะยศสมบัติอันมีสังคหวัตถุนั้นเป็นมูล ยศที่สำเร็จแก่คามนิกุมารแม้นั้น ก็ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอรรถว่าประเสริฐ. ด้วยเหตุ นั้นท่านจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว. บทว่า เอวํ ชานานิ คามนิ ความว่า ในที่บางแห่งบุรุษชาวบ้านก็ดี หัวหน้าชาวบ้านก็ดี ชื่อว่า คามนิ ผู้ใหญ่บ้าน แต่ในที่นี้ หมายเอาตนเองซึ่งเป็นหัวหน้าคนทั้งปวงจึงกล่าวว่า ดูก่อนนายบ้านผู้เจริญ ท่านจงรู้เหตุนี้อย่างนี้ว่า เราก้าวล่วงพี่ชายร้อยคน ได้รับราชสมบัติใหญ่นี้ เพราะอาศัยอาจารย์ ดังนี้เปล่ง อุทานแล้ว.

ก็เมื่อคามนิกุมารนั้น ได้ราชสมบัติแล้ว เมื่อเวลาล่วงไป ๒ - ๓ วัน พี่ชายทุกคนได้ไปยังสถานที่อยู่ของตนๆ พระเจ้าคามนิครองราชสมบัติโดยธรรม แล้วเสด็จไปตามยถากรรม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทำบุญแล้วได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศอริยสัจทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต แล พระศาสดาตรัส ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าคามนิในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ ส่วนอาจารย์ คือเราเองแล.

จบ คามนิชาดกที่ ๗