พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มฆเทวชาดก ว่าด้วยเทวทูต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35208
อ่าน  427

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 219

๙. มฆเทวชาดก

ว่าด้วยเทวทูต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 219

๙. มฆเทวชาดก

ว่าด้วยเทวทูต

[๙] ผมที่หงอกบนศีรษะของเรานี้ เกิดขึ้นนำ เอาวัยไปเสีย เทวทูตปรากฏแล้ว บัดนี้ เป็นสมัย บรรพชาของเรา.

จบ มฆเทวชาดกที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 220

๙. อรรถกถามฆเทวชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุตฺตมงฺครุหา มยฺหํ ดังนี้. การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์นั้นได้กล่าวไว้แล้วในนิทานกถาในหนหลังนั้นแล. ก็ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาการเสด็จออกบรรพชา ของพระทศพล.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอย่างอื่น แต่นั่งพรรณนา การเสด็จออกบรรพชาของพระองค์เท่านั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย ตถาคตออกเนกขัมมะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออกเนกขัมมะแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิด ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา วิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระนามว่า มฆเทวะ เป็นพระมหาธรรมราชาผู้ดำรงอยู่ในธรรม พระเจ้ามฆเทวะนั้น ทรง ให้กาลเวลาอันยาวนานหมดสิ้นไปวันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อนช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด ท่านจงบอกแก่เราในกาลนั้น ฝ่ายช่างกัลบกก็ได้ทำให้เวลาอันยาวนานหมดสิ้นไป วันหนึ่งเห็นพระเกศาหงอกเส้นหนึ่งในระหว่างพระเกศาทั้งหลายอันมีสีดังดอกอัญชัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 221

ของพระราชา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเกศาหงอกเส้นหนึ่งปรากฏแก่พระองค์. พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของเราเอามาวางในฝ่ามือ เมื่อพระราชาตรัสอย่างนั้น ช่างกัลบกจึงเอาแหนบทองถอนแล้วให้พระเกศาหงอกประดิษฐานอยู่ในฝ่าพระหัตถ์ของพระราชา ในกาลนั้น พระราชายังมีพระชนมายุเหลืออยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่าพระยามัจจุราชมายืนอยู่ใกล้ๆ และประหนึ่งว่าตนเองเข้ามาอยู่ในบรรณศาลาอันไฟติดโพลงอยู่ฉะนั้น ได้ทรงถึงความสังเวช จึงทรงพระดำริว่า ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้าไม่อาจละกิเลสเหล่านี้จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงรำพึงถึงผมหงอกที่ปรากฏแล้ว ความเร่าร้อนภายในก็เกิดขึ้น พระเสโทใน พระสรีระไหลออก ผ้าสาฎกได้ถึงอาการที่จะต้องบิด (เอาพระเสโท) ออก พระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงพระดำริว่า เราควรออกบวชในวันนี้แหละ จึงทรงประทานบ้านชั้นดีอันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งทรัพย์เจ็ดพัน แก่ช่างกัลบก แล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสพระองค์ใหญ่มาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว ก็กามของมนุษย์พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้ พ่อ จักแสวงหากามอันเป็นทิพย์ นี้เป็นกาลออกบวชของพ่อ เจ้าจงครอบครองราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อบวชแล้วจักอยู่กระทำสมณธรรมในอัมพวันอุทยานชื่อ มฆเทวะ อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชานั้นผู้มีพระประสงค์จะบวชอย่างนั้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพอะไรเป็นเหตุแห่งการทรงผนวชของพระองค์? พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า.

ผมที่หงอกบนศีรษะ ของเรานี้เกิดแล้ว เป็นเหตุนำวัยไป เทวทูตปรากฏแล้ว นี้เป็นสมัยแห่งการบรรพชาของเรา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 222

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตมงฺครุหา ได้แก่ผม จริงอยู่ ผมทั้งหลายเรียกว่า อุตฺตมงฺครุหา เพราะงอกขึ้นบนเบื้องสูงแห่งอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้น คือว่า บนศีรษะ. บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่าพ่อทั้งหลาย จงดู ผมหงอกเหล่านั้นเกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป เพราะ นำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก. บทว่า ปาตุภูตา ได้แก่ บังเกิดแล้ว.

มัจจุ ชื่อว่า เทวะ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตแห่งเทวะนั้นจริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของพญามัจจุราช เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของเทวะคือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี เหมือน อย่างว่า บุคคลย่อมเป็นเหมือนผู้อันเทวดาผู้มีทั้งประดับและตกแต่งแล้วยืนในอากาศกล่าวว่า ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใดเมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะย่อมเป็นเช่นกับเทวดาพยากรณ์ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่าเป็นทูตเหมือนเทพ ที่ชื่อว่าเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. จริงอยู่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ทอดพระนครเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต เท่านั้น ก็ถึงความสังเวช เสด็จออกบวช. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนมหาบพิตร เพราะอาตมภาพเห็นคนแก่ คนป่วยไข้ได้ความทุกข์ คนตายอันถึงความสิ้นอายุและบรรพชิตผู้ครองผ้ากาสาวะ จึงได้บวช ดังนี้

โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต เพราะเป็นทูตแห่งวิสุทธิเทพทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปพฺพชฺชาสมโย มมํ นี้ ท่าน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 223

แสดงว่า นี้เป็นกาลแห่งการถือสมณเพศอันได้ชื่อว่าบรรพชา เพราะอรรถว่าออกจากความเป็นคฤหัสถ์ของเรา.

พระเจ้ามฆเทวะนั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วจึงสละราชสมบัติบวชเป็นฤาษีในวันนั้นเอง ประทับอยู่ในมฆอัมพวันนั้นนั่นแหละ เจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ดำรงอยู่ในฌานอันไม่เสื่อม สวรรคตแล้วบังเกิดในพรหมโลกจุติจากพรหมโลกนั้น ได้เป็นพระราชาพระนามว่า เนมิ ในกรุงมิถิลา นั่นแหละอีก สืบต่อวงศ์ของพระองค์ที่เสื่อมลง จึงทรงผนวชในอัมพวันนั้นนั่นแหละ เจริญพรหมวิหาร กลับไปเกิดในพรหมโลกตามเดิมอีก.

แม้พระศาสดาก็ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออกแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ เรื่องนี้สืบต่ออนุสนธิ กันด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ช่างกัลบกในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ บุตรในครั้งนั้น ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้ ส่วนพระเจ้า มฆเทวะได้เป็นเราตถาคตแล.

จบ มฆเทวชาดกที่ ๙