พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สุขวิหาริชาดก ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35209
อ่าน  439

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 224

๑๐. สุขวิหาริชาดก

ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 224

๑๐. สุขวิหาริชาดก

ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข

[๑๐] ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย ผู้ได้ก็ไม่ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วย ดูก่อนมหาบพิตร ผู้นั้นแล ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข.

จบสุขวิหารริชาดกที่ ๑๐

จบปัณณกวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาสุขวิหารริชาดก

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัย อนุปิยนคร ประทับ อยู่ในอนุปิยอัมพวัน ทรงปรารภพระภัตทิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็นสุขจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม ต้นว่า ยญฺจ อญฺเ น รกฺขนฺติ ดังนี้. พระภัททิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็นสุข มีพระอุบาลีเป็นที่ ๗ บวชในสมาคมกษัตริย์ ๖ พระองค์ บรรดาพระเถระเหล่านั้น พระภัททิยเถระ พระกิมพิลเถระ พระภคุเถระ พระอุบาลีเถระ บรรลุพระอรหัต พระอานนทเถระเป็นพระโสดาบัน พระอนุรุทธเถระเป็นผู้มี ทิพยจักษุ พระเทวทัตเป็นผู้ได้ฌาน ก็เรื่องของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ จักมีแจ้งในกัณฑหาลชาดกเพียงแต่อนุปิยนคร. ก็ท่านพระภัตทิยเถระรักษาคุ้ม ครองพระองค์ในคราวเป็นพระราชา ก็ยังทรงเห็นภัยที่จะเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 225

อันเขารักษาอยู่ด้วยการรักษามากมายดุจเทวดาจัดการรักษา และภัยที่จะเกิดแก่พระองค์ผู้ทรงพลิกกลับไปมาอยู่บนพระที่บรรทมใหญ่ในปราสาทชั้นบน บัดนี้บรรลุพระอรหัตแล้ว แม้จะอยู่ในที่ใดที่หนึ่งมีป่าเป็นต้น ก็พิจารณาเห็นความที่พระองค์เป็นผู้ปราศจากภัย จึงเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระภัตทิยเถระพยากรณ์พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัตทิยะมีปกติอยู่เป็นสุขในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็มีปกติอยู่เป็นสุขเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อต้องการให้ทรงประกาศเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์มหาศาลผู้เกิดในตระกูลสูง เห็นโทษในกามทั้งหลายและอานิสงส์ในการออกบวช จึงละทิ้งการทั้งหลายเข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤาษี ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้น แม้บริวารของพระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นบริวารใหญ่ มีดาบสอยู่ ๕๐๐ รูป. ในฤดูฝน พระโพธิสัตว์นั้นออกจากป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยหมู่ดาบสเที่ยวจาริกไปในคามและนิคมเป็นต้น บรรลุถึงเมื่องพาราณสี ทรงอาศัยพระราชาสำเร็จการอยู่ในพระราชอุทยาน ทรงอยู่ในพระราชอุทยานนั้นตลอด ๔ เดือนฤดูฝน แล้วทูลลาพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาทรงอ้อนวอนพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านก็แก่แล้ว ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยป่าหิมพานต์ ท่านจงส่งอันเตวาสิกทั้งหลายไปป่า หิมพานต์แล้วอยู่เสียในที่นี้เถิด. พระโพธิสัตว์ทรงมอบดาบส ๕๐๐ รูป กับอันเตวาสิกผู้ใหญ่ แล้วส่งดาบสเหล่านั้นไปด้วยคำว่า ท่านจงไปอยู่ในป่าหิมพานต์กับดาบสเหล่านี้ ส่วนเราจักอยู่ในที่นี้แหละ แล้วตนเองก็สำเร็จการอยู่ในพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุต-ตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 226

ราชอุทยานนั้นนั่นเอง ก็หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นของพระโพธิสัตว์นั้น เป็นราชบรรพชิต ละราชสมบัติใหญ่ออกบวช กระทำกสิณบริกรรมได้สมาบัติ ๘. หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นอยู่ในป่าหิมพานต์กับดาบสทั้งหลาย มีความประสงค์ จะเห็นอาจารย์ จึงเรียกดาบสเหล่านั้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้รำคาญ จงอยู่ในที่นี้แหละ เราเห็นอาจารย์แล้วจักกลับมา แล้วไปยังสำนักของอาจารย์ ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร ปูลาดเสื่อลำแพนผืนหนึ่งนอนอยู่ในสำนักของอาจารย์นั่นเอง. ก็สมัยนั้น พระราชาทรงพระดำริว่าจักเยี่ยมพระดาบส จึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสผู้ เป็นอันเตวาสิกแม้เห็นพระราชาก็ไม่ลุกขึ้น แต่นอนอยู่อย่างนั้นแลเปล่งอุทาน ว่า สุขหนอ สุขหนอ. พระราชาทรงน้อยพระทัยว่า ดาบสนี้ แม้เห็นเราก็ไม่ลุกขึ้น จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ดาบสนี้คงจักฉันตามต้องการ จึงสำเร็จการนอนอย่างสบายทีเดียวเปล่งอุทานอยู่. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร ดาบสนี้ เมื่อก่อนได้เป็นพระราชาองค์หนึ่งเช่นกับพระองค์ ดาบสนี้นั้นคิดว่า เมื่อก่อนในคราวเป็นคฤหัสถ์ เราเสวยสิริราชสมบัติ แม้อันคนเป็นอันมาก มีมือถืออาวุธคุ้มครองอยู่ ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าความสุขเห็นปานนี้ จึงปรารภสุขในการบวช และสุขในฌานของตนแล้วเปล่งอุทานนี้ ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะตรัสธรรมกถาแก่พระราชาจึงตรัสคาถานี้ว่า

ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย และผู้ใดก็ไม่ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วย ดูก่อนมหาบพิตร ผู้นั้นแลไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยณฺจ อณฺเ น รกฺขนฺติ ความว่า บุคคลเหล่าอื่นเป็นอันมาก ย่อมไม่รักต 'ษาบุคคลใด. บทว่า โย จ อญฺเ น รกฺขติ ความว่า แม้บุคคลใดก็ไม่รักษาคนอื่นเป็นอันมาก ด้วยคิดว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 227

เราผู้เดียวครองราชสมบัติ. บทว่า ส เว ราชสุขํ เสติ ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลนั้นผู้เดียวไม่มีเพื่อน สงัดเงียบแล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย ความสุขทางกายและทางจิต ย่อมนอนเป็นสุข. ก็คำว่า นอนเป็นสุขนี้ เป็นหัวข้อเทศนาเท่านั้น ย่อมนอนเป็นสุขอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ก็บุคคลเห็นปานนี้ย่อมเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสุข คือได้รับความสุขในทุกอิริยาบถที่เดียว. บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขวา ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลเห็นปานนี้เว้นจากความเพ่งเล็งในวัตถุกามและกิเลสกาม คือประกาศจากฉันทราคะไม่มีตัณหา ย่อมอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ.

พระราชาได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้วมีพระทัยยินดี บังคมแล้วเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์นั่นเอง ฝ่ายอันเตวาสิกก็ไหว้พระอาจารย์แล้วไปยังป่าหิมพานต์เหมือนกัน ฝ่ายพระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีฌานไม่เสื่อม กระทำกาละแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วตรัส ๒ เรื่อง สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกในครั้งนั้นได้เป็นพระภัททิยเถระ ส่วนครูของคณะคือเราเองแล.

จบสุขวิหาริชาดกที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรคที่ ๑

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปัณณกชาดก ๒. วัณณุปถชาดก ๓. เสรีววาณิชชาดก ๔. จุลลกเศรษฐีชาดก ๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก ๖. เทวธรรมชาดก ๗. กัฏฐหาริชาดก ๘. คามนิชาดก ๙. มฆเทวชาดก ๑๐. สุขวิหาริชาดก.