บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเป็นมงคล [อรรถกถา มงคลสูตร]
[เล่มที่ 47] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 178
ข้อความบางตอนจาก..
อรรถกถา มงคลสูตร
ความเป็นผู้อ่อนน้อม คือ ความเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า นิวาตะ ความประพฤติถ่อมตน บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ประพฤติถ่อมตนใด ถูกนำมานะออกแล้ว ถูกนำความกระด้างออกแล้ว เป็นผู้เสมอด้วย ผ้าเช็ดเท้า เป็นผู้เสมอด้วยโคเขาขาด และเป็นผู้เสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานไพเราะและเสนาะโสต นี้ชื่อว่า นิวาตะ นิวาตะนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้คุณมียศเป็นต้น ก็ท่านได้กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเช่นนั้น เป็นผู้ไม่กระด้างแล้ว ย่อมได้ยศ ดังนี้เป็นต้น
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา สุสิมสูตร
เรื่องความเป็นผู้อ่อนน้อม และ ว่าง่าย อดทนต่อถ้อยคำ ของพระสารีบุตร
เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบ เรียนพระสารีบุตรเถระว่า ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ พระเถระไม่พูดอะไรเลยไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประณมมือพูดว่า เท่านี้เหมาะไหม อาจารย์ พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบโดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเรา เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ผู้ที่มีความอ่อนน้อม ย่อมเป็นที่รักใคร่และเมตตาของคนทั่วไป แต่ทำไมคนในยุคปัจจุบันไม่ค่อยปฏิบัติกันจิตใจค่อนข้างหยาบกระด้างไม่มีความอ่อนน้อม ชอบเถียงผู้ใหญ่ เถียงผู้บังคับบัญชา ทำกริยาไม่น่ารักเลย คงเป็นเพราะไม่เข้าใจและไม่ได้ศึกษามงคล ๓๘ ประการ
บุคคลบางคนแม้จะเป็นคนตำ่ต้อย ก็ยังอ่อนน้อมกับบุคคลแม้ผู้ด่าอยู่ครับ
[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 437
ข้อความบางตอนจาก
สุนีตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุนีตเถระ
[๓๗๙] เราเกิดมาในสกุลต่ำ เป็นคนยากจน มีเครื่องบริโภคน้อย การงานของเราเป็นการงานต่ำ เราเป็นคนเทดอกไม้ เราถูกมนุษย์เกลียดชัง ดูหมิ่น และแช่งด่า เราถ่อมตน ไหว้หมู่ชนเป็นอันมาก
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย