พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วาตมิคชาดก ว่าด้วยอํานาจของรส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35213
อ่าน  449

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 250

๔. วาตมิคชาดก

ว่าด้วยอํานาจของรส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 250

๔. วาตมิคชาดก

ว่าด้วยอำนาจของรส

[๑๔] ได้ยินว่า สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลาย ไม่มี รสเป็นสภาพเลวแม้กว่าถิ่นที่อยู่ แน่กว่าความ สนิทสนม นายสัญชัยอุยยานบาล นำเนื้อสมัน ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏมาสู่อำนาจของตนได้ด้วยรสทั้งหลาย.

จบวาตมิคชาดกที่ ๔

๔. อรรถกถาวาตมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระจูฬปิณฑปาติกติสสเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น กิรตฺถิ เรเสหิ ปาปิโย ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาทรงอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน.

วันหนึ่ง บุตรของตระกูลเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า ติสสกุมาร ไปพระวิหารเวฬุวัน ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วประสงค์จะบวช จึงทูลขอบรรพชา แต่บิดามารดายังไม่อนุญาต จึงถูกปฏิเสธ ได้ทำการอดอาหาร ๗ วัน แล้วให้บิดามารดาอนุญาต เหมือนดังพระรัฐบาลเถระได้บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาครั้นทรงให้ติสสกุมารนั้นบวช

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 251

แล้ว ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันประมาณกึ่งเดือน แล้วได้เสด็จไปพระวิหารเชตวัน ในพระเชตวันนั้น กุลบุตรได้สมาทานธุดงค์ ๑๓ เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับตรอกในนครสาวัตถี ยังกาลเวลาให้ล่วงไป ใครๆ เรียกว่า พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ได้เป็นผู้ปรากฏรู้กันทั่วไปในพระพุทธศาสนาเหมือนพระจันทร์เพ็ญในพื้นท้องฟ้าฉะนั้น.

ในกาลนั้น เมื่อกาลเล่นนักขัตฤกษ์ยังดำเนินไปในนครราชคฤห์ บิดา มารดาของพระเถระเก็บสิ่งของอันเป็นเครื่องประดับ อันมีอยู่ในครั้งพระเถระเป็นคฤหัสถ์ไว้ในผอบเงิน เอามาวางไว้ที่อกร้องไห้ พลางพูดว่า ในการเล่นนักขัตฤกษ์อื่นๆ บุตรของพวกเรานี้ประดับด้วยเครื่องประดับนี้เล่นนักขัตฤกษ์ พระสมณโคดมพาเอาบุตรน้อยนั้นของพวกเราไปยังพระนครสาวัตถี บัดนี้บุตรน้อยของเราทั้งหลายนั้น นั่งที่ไหนหนอ ยืนที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น นางวัณณทาสีคนหนึ่งไปยังตระกูลนั้น เห็นภรรยาของเศรษฐีกำลังร้องไห้อยู่ จึงถามว่า แม่เจ้า ท่านร้องไห้ทำไม? ภรรยาของเศรษฐีนั้นจึงบอกเนื้อความนั้น นางวัณณทาสีกล่าวว่า แม่เจ้า ก็พระลูกเจ้ารักอะไร? ภรรยาเศรษฐี กล่าวว่า รักของสิ่งโน้นและสิ่งโน้น. นางวัณณทาสีกล่าวว่า ถ้าท่านจะให้ความเป็นใหญ่ทั้งหมดในเรือนนี้แก่ดิฉันไซร้ ดิฉันจักนำบุตรของท่านมา. ภรรยาท่านเศรษฐีรับคำว่า ได้ แล้วให้สะเบียง ส่งนางวัณณทาสีนั้นไปด้วยบริวารใหญ่ โดยพูดว่า ท่านจงไปนำบุตรของเรามา ด้วยความสามารถของตน นางวัณณทาสีนั้นนั่งในยานน้อยอันปกปิด ไปยังนครสาวัตถี ถือเอาการอยู่อาศัยใกล้ถนนที่พระเถระเที่ยวภิกขาจาร ไม่ให้พระเถระเห็นพวกตนที่มาจากตระกูลเศรษฐี แวดล้อมด้วยบริวารของตนเท่านั้น เมื่อพระเถระเข้าไปบิณฑบาต ได้ถวายยาคูหนึ่งกระบวยและภิกษามีรส ผูกพันด้วยความอยากในรสไว้แต่เบื้องต้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 252

แล้วให้นั่งในเรือนถวายภิกษาโดยลำดับ รู้ว่าพระเถระตกอยู่ในอำนาจของตน จึงแสดงการว่าเป็นใข้นอนอยู่ภายในห้อง. ฝ่ายพระเถระเที่ยวไปตามลำดับตรอก ในเวลาภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูเรือน ชนที่เป็นบริวารรับบาตรของพระเถระแล้วนิมนต์พระเถระให้นั่งในเรือน. พระเถระนั่งแล้วถามว่า อุบาสิกา ไปไหน? ชนบริวารกล่าวว่า ท่านผู้เจริญอุบาสิกาเป็นไข้ ปรารถนาจะเห็นท่าน พระเถระถูกตัณหาในรสผูกพัน ทำลายการสมาทานวัตรของตน เข้าไปยังที่ที่นางวัณณทาสีนั้นนอนอยู่ นางวัณณทาสีรู้เหตุแห่งการมาเพื่อตน จึงประเล้าประโลมพระเถระนั้น ผูกด้วยตัณหาในรส ให้สึกแล้วให้ตั้งอยู่ในอำนาจของตน ให้นั่งในยาน ได้ไปยังนครราชคฤห์นั้นเอง ด้วยบริวารใหญ่. ข่าวนั้นได้ปรากฏแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา สนทนากันขึ้นว่า ได้ยินว่า นางวัณณทาสีคนหนึ่ง ผูกพระจูฬบิณฑปาติกติกติสสเถระด้วยตัณหาในรส แล้วพาไปแล้ว. พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภา ประทับบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้ แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องราวนั้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ติดในรสตัณหา ตกอยู่ในอำนาจของนางวัณณทาสีนั้น ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตกอยู่ในอำนาจของนางเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล ในพระนครพาราณสี ได้มีนายอุยยานบาลของพระเจ้าพรหมทัต ชื่อว่าสัญชัย ครั้งนั้น เนื้อสมันตัวหนึ่งมายังอุทยานนั้น เห็นนายอุยยานบาลคนเฝ้าอุทยานจึงหนีไป. ฝ่ายนายสัญชัยมิได้ขู่คุกคามเนื้อสมันนั้นให้ออกไป เนื้อสมันนั้นจึงมาเที่ยวในอุทยานนั้นนั่นแลบ่อยๆ นายอุยยานบาลนำเอาดอกไม้และผลไม้มีประการต่างๆ มาจากอุทยานแต่เช้าตรู่ นำไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 253

เฉพาะพระราชาทุกวันๆ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชาตรัสถามนายอุยยานบาลนั้นว่า ดูก่อนสหายอุยยานบาล เธอเห็นความอัศจรรย์อะไรๆ ในอุทยานบ้างไหม? นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระบาทไม่เห็นสิ่งอื่น แต่ว่าเนื้อสมันตัวหนึ่งมาเที่ยวอยู่ในอุทยาน ข้าพระบาทได้เห็นสิ่งนี้. พระราชาตรัสถามว่า ก็เธอจักอาจจับมันไหม? นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าพระบาทเมื่อได้น้ำผึ้งหน่อยหนึ่งจักอาจนำเนื้อสมันนี้มา แม้ยังภายในพระราชนิเวศน์พระเจ้าข้า. พระราชาได้ให้น้ำผึ้งแก่นายอุยยานบาลนั้น. นายอุยยานบาลนั้น รับน้ำผึ้งนั้นแล้วไปยังอุทยาน แอบเอาน้ำผึ้งทาหญ้าทั้งหลายในที่ที่เนื้อสมันเที่ยวไป. เนื้อสมันมากินหญ้าที่ทาด้วยน้ำผึ้ง ติดในรสตัณหา ไม่ไปที่อื่นมาเฉพาะอุทยานเท่านั้น. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นติดหญ้าที่ทาด้วยน้ำผึ้ง จึงแสดงตนให้เห็นโดยลำดับ. เนื้อสมันนั้นครั้นเห็นนายอุยยานบาลนั้น ๒ - ๓ วันแรกก็หนีไป แค่พอเห็นเข้าบ่อยๆ จึงคุ้นเคย ถึงกับกินหญ้าที่อยู่ในมือของนายอุยยานบาลได้โดยลำดับ. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นคุ้นเคยแล้ว จึงเอาเสื่อ ลำแพนล้อมถนนจนถึงพระราชนิเวศน์ แล้วเอากิ่งไม้หักปักไว้ในที่นั้นๆ สพายน้ำเต้าบรรจุน้ำผึ้ง หนีบกำหญ้า แล้วโปรยหญ้าที่ทาด้วยน้ำผึ้ง ลงข้างหน้าเนื้อ. ได้ไปยังภายในพระราชนิเวศน์ทีเดียว เมื่อเนื้อเข้าไปภายในแล้ว คนทั้งหลายจึงปิดประตู เนื้อเห็นมนุษย์ทั้งหลายก็ตัวสั่นกลัวแต่มรณภัย วิ่งมาวิ่งไป ณ พระลานในภายในพระราชนิเวศน์ พระราชาเสด็จลงจากปราสาท ทอดพระเนตรเห็นเนื้อนั้นตัวสั่น จึงตรัสว่า ธรรมดาเนื้อย่อมไม่ไปยังที่ที่คนเห็นตลอด ๗ วัน ย่อมไม่ไปยังที่ที่ถูกคุกคามตลอดชีวิต เนื้อสมันผู้อาศัยป่าชัฏอยู่เห็นปานนี้นั้นถูกผูกด้วยความอยากในรส มาสู่ที่เห็นปานนี้ ในบัดนี้ ผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าสิ่งที่ลามกกว่าความอยากในรส ย่อมไม่มีในโลกหนอ แล้วทรงเริ่มตั้งธรรมเทศนาด้วยคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 254

ได้ยินว่า สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลายย่อมไม่มี รสเป็นสภาพเลวแม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม นายสัญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏนาสู่อำนาจของตนได้ ด้วยรสทั้งหลาย.

ศัพท์ว่า กิระ ได้ยินว่า ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าได้ยินได้ฟัง. บทว่า รเสหิ กว่ารสทั้งหลาย ความว่า กว่ารสหวานและรสเปรี้ยวเป็นต้น ที่พึงรู้ด้วยลิ้น. บทว่า ปาปิโย แปลว่า เลวกว่า. บทว่า อาวาเสหิ วา สนฺถเวหิ วา แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม ความว่าความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในถิ่นที่อยู่กล่าวคือสถานที่อยู่ประจำก็ดี ในความสนิทสนมด้วยอำนาจความเป็นมิตรก็ดี ลามกแท้ แต่รสในการบริโภคที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะนั่นแหละเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ซึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะเหล่านั้น โดยร้อยเท่าพันเท่า เพราะอรรถว่า ต้องเสพเฉพาะเป็นประจำ และเพราะเว้นอาหาร การรักษาชีวิตินทรีย์ก็ไม่มี ก็พระโพธิสัตว์ทรงกระทำเนื้อความนี้ ให้เป็นเสมือนเนื้อที่ตามมาด้วยดี จึงตรัสว่า ได้ยินว่าสภาพที่เลวกว่ารสทั้งหลายย่อมไม่มี รสเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม บัดนี้พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงว่ารสเหล่านั้นเลว จึงตรัสคำมีอาทิว่า วาตมิคํ ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คหนนิสฺสิตํ แปลว่า อาศัยที่เป็นป่ารกชัฏ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงดูความที่รสทั้งหลายเป็นสภาพเลว นายสญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันชื่อนี้ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏ ในราวป่า มาสู่อำนาจของตนด้วยรสน้ำผึ้ง สิ่งอื่นที่เลวกว่า คือลามกกว่า ชื่อว่าเลวกว่ารสทั้งหลายชึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่มี แม้โดยประการทั้งปวง. พระโพธิสัตว์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 255

ตรัสโทษแห่งตัณหาในรส ด้วยประการดังนี้ ก็แหละครั้นตรัสแล้ว จึงทรงให้ส่งเนื้อนั้นไปยังป่านั่นเอง.

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นางวัณณทาสีนั้น ผูกภิกษุนั้นด้วยตัณหาในรส กระทำไว้ในอำนาจของตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่อ อนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า นายสัญชัยในครั้งนั้น ได้เป็นนางวัณณทาสีคนนี้ เนื้อสมันในครั้งนั้น ได้เป็นพระจูฬบิณฑปาติภิกษุ ส่วนพระเจ้าพาราณสีได้เป็นเราแล.

จบ วาตมิคชาดกที่ ๔