๕. ขราทิยชาดก ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท
[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 255
๕. ขราทิยชาดก
ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 255
๕. ขราทิยชาดก
ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท
[๑๕] ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.
จบ ขราทิยชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 256
๕. อรรถกถาขราทิยชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อฏฺขุรํ ขราทิเย ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นว่ายากไม่รับโอวาท ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัส ถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอว่ายากไม่รับโอวาทจริงหรือ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่รับ โอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ว่ายาก จึงติดบ่วงถึงความสิ้นชีวิต แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นมฤคแวดล้อมด้วยหมู่เนื้ออยู่ในป่า ลำดับนั้น เนื้อ ผู้เป็นน้องสาวมฤคนั้นแสดงบุตรน้อยแล้วให้รับเอาด้วยคำพูดว่า ข้าแต่พี่ชายนี้เป็นหลานของพี่ พี่จงให้เรียนมายาเนื้ออย่างหนึ่ง มฤคนั้นกล่าวกะหลานนั้นว่า ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาเรียนเอา เนื้อผู้หลานไม่มาตามเวลาที่พูดไว้ เมื่อล่วงไป ๗ วันเหมือนดังวันเดียว เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ได้เรียนมายาของเนื้อ ท่องเที่ยวไป จึงติดบ่วง ฝ่ายมารดาของเนื้อนั้นเข้าไปหามฤคผู้พี่ชายแล้วถามว่า ข้าแต่พี่ พี่ให้หลานเรียนมายาของเนื้อแล้วหรือ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้า อย่าคิดเสียใจต่อบุตรผู้ไม่รับโอวาทสั่งสอนนั้น บุตรของเจ้าไม่เรียนเอามายาของเนื้อเอง เป็นผู้ไม่มีความประสงค์จะโอวาทเนื้อนั้นเลย ในบัดนี้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 257
ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอนเนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแค่โคนเขาจนถึงปลาย เขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺขุรํ ได้แก่ มีกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้าง หนึ่งๆ มี ๒ กีบ พระโพธิสัตว์เรียกนางเนื้อนั้นโดยชื่อว่า ขราทิยา บทว่า มิคํ เป็นคำรวมถือเอาเนื้อทุกชนิด. บทว่า วงฺกาติวงฺกินํ ได้แก่ คดยิ่งกว่าคด คือ คดตั้งแต่ที่โคนเขา คดมากขึ้นไปถึงปลายเขา ชื่อว่าผู้มีเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา เพราะเนื้อนั้นมีเขาเป็นเช่นนั้น. จึงชื่อว่าเขาคดแต่โคนจนถึงปลายเขา คือ มีเขาคดแต่โคนเขา จนถึงปลายเขานั้น. บทว่า สตฺตกาเลหติกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้ล่วงเลยโอวาท โดยเวลาเป็นที่ให้โอวาท ๗ วัน. ด้วยบทว่า น นํ โอวทิตุสฺสเห นี้ ท่านแสดงว่า เราไม่อาจให้โอวาทเนื้อผู้ว่ายากนี้ แม้ความคิดเพื่อจะโอวาทเนื้อนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่เรา.
ครั้งนั้น นายพรานฆ่าเนื้อที่ว่ายากตัวนั้นซึ่งติดบ่วง ถือเอาแต่เนื้อแล้วหลีกไป.
ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน ครั้น ทรงนำพระเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า เนื้อผู้เป็นหลานในกาลนั้น ได้ เป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวในกาลนั้น ได้เป็น พระอุบลวรรณา ในบัดนี้ ส่วนเนื้อผู้ให้โอวาทในกาลนั้น ได้เป็น เราตถาคตแล.
จบ ขราทิยชาดกที่ ๕