พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. กุรุงคมิคชาดก ว่าด้วยกวางกุรุงคะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35220
อ่าน  449

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 279

๓. กุรุงควรรค

๑. กุรุงคมิคชาดก

ว่าด้วยกวางกุรุงคะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 279

๓. กุรุงควรรค

๑. กุรุงคมิคชาดก

ว่าด้วยกวางกุรุงคะ

[๒๑] ดูก่อนไม้ระริน การที่ท่านปล่อยผลให้ตกกลิ้ง มานั้น เราเป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้มะรื่นต้นอื่น เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ ๑

๓. อรรถกถากุรุงควรรค

๑. อรรกถากุรุงคมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ คำเริ่มต้นว่า าตเมตํ กุรุงฺคสฺส ดังนี้

ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา นั่งกล่าวโทษของพระเทวทัตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตประกอบ นายขมังธนู เพื่อต้องการปลงพระชนม์พระตถาคต กลิ้งศิลา ปล่อยช้างธนปาลกะ ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระทศพล แม้ในกาลทั้งปวง. พระศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุ ทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบ

.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 280

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องการกล่าว โทษของพระเทวทัตว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่า เราในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ก็แต่ว่าไม่ สามารถจะฆ่าเราได้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี เป็นกวางเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในคราวหน้า กวางนั้นกินผลมะลื่นที่ต้นมะลื่นอันมีผลสะพรั่ง. ลำดับนั้น มีพรานนั่งห้างชาวบ้านคนหนึ่ง พิจารณารอยเท้าเนื้อทั้งหลายแล้ว จึงผูกห้างบนต้นไม้แล้วนั่งบนห้างนั้น เอาหอกแทงพวกเนื้อที่มากินผลไม้ แล้วขายเนื้อของเนื้อเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต วันหนึ่งพรานนั้นเห็นรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ที่โคนต้นไม้นั้น จึงผูกห้างบนต้นมะลื่น นั้นแล้วบริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ แล้วถือหอกเข้าป่าขึ้นไปยังต้นไม้นั้นแล้วนั่งห้าง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ออกจากที่อยู่แต่เช้าตรู่มาด้วยหวังว่าจักกินผลมะลื่น แต่ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นไม้นั้น คิดว่าบางคราวพวกพรานนั่งห้างจะผูกห้างบนต้นไม้ อันตรายเห็นปานนี้ มีไหมหนอ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่แต่ภายนอก ฝ่ายนายพรานรู้ว่าพระโพธิสัตว์ไม่มา นั่งอยู่บนห้างนั่นแหละ โยนผลมะลื่นให้ตกลงข้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์คิดว่าผลเหล่านี้มาตกลงข้างหน้าเรา เบื้องบนต้นไม้นั้น มีนายพรานหรือหนอ เมื่อแลดูบ่อยๆ ก็เห็นนายพรานแต่ทำเป็นไม่เห็นพูดว่า ต้นไม้ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านให้ผลไม้ทั้งหลายตกลงตรงๆ เหมือนเขย่าผลที่ห้อยอยู่ฉะนั้น บัดนี้ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เมื่อท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียอย่างนี้ เราจักเข้าไปยังโคนต้นไม้แม้ต้นอื่น แสวงหาอาหารของเรา แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

เพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 281

แน่ะไม้มะลื่น การที่ท่านปล่อยผลไม้ไห้กลิ้งมา นั้น เราผู้เป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้นะลื่นต้นอื่น เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าตํ ได้แก่ ปรากฏ คือเกิดแล้ว. บทว่า เอตํ โยคว่า กรรมนี้. บทว่า กุรุงฺคสฺส แปลว่า เนื้อชนิดกวาง. บทว่า ยํ ตฺวํ เสปณฺณิ เสยฺยสิ ความว่า ดูก่อนต้นไม้มะลื่นผู้เจริญ การที่ท่านปล่อยให้ผลกลิ้งตกลงข้างหน้า คือได้เป็นผู้มีผลกระจายมานั้น ทั้งหมดเกิดเป็นสิ่งลามกสำหรับเนื้อกวาง. ด้วยบทว่า น เม เต รุจฺจเต นี้ กวางกล่าวว่า เราไม่ชอบใจผลของท่านผู้ให้ผลอยู่อย่างนี้ ท่านจงหยุดเถิด เราจักไปที่อื่น ดังนี้ ได้ไปแล้ว.

ลำดับนั้น นายพรานทั้งที่นั่งอยู่บนห้างนั่นแล พุ่งหอกไปเพื่อพระโพธิสัตว์นั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเถิด บัดนี้เราเป็นคนผิดหวังท่าน. พระโพธิสัตว์หันกลับมายืนกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ แม้บัดนี้ท่านผิดหวังเราก็จริง แต่ถึงกระนั้นท่านจะไม่ผิดหวังมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และกรรมกรณ์ ทั้งหลายมีการจองจำ ๕ ประการเป็นต้น ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้ไป ตามชอบใจ ฝ่ายนายพรานลงมาแล้วไปตามความชอบใจ.

แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบอนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า นายพรานนั่งห้างในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต ส่วนกวางในครั้งนั้นได้เป็น เราแล.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ ๑