พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อาชัญญชาดก ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35223
อ่าน  808

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 291

๔. อาชัญญชาดก

ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 291

๔. อาชัญญชาดก

ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก

[๒๔] ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใดๆ ณ เวลา ใดๆ ม้าอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอก ย่อมถอยหนี.

จบอาชัญญชาดกที่ ๔

๔. อรรถกถาอาชัญญชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา ยทา ดังนี้.

ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิต ทั้งหลายในปางก่อน เป็นผู้แม้ได้การประหารทั้งในที่อันมิใช่บ่อเกิด ก็ได้ กระทำความเพียร แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระราชา ๗ องค์พากันล้อมพระนครไว้ โดยนัยมีในเรื่องก่อนนั่นแหละ. ลำดับนั้น นักรบประจำรถคันหนึ่ง เทียมรถมีม้าสินธพพี่น้อง ๒ ตัวออกจาก พระนคร ทำลายกองพล ๖ กองพล ได้จับพระราชา ๖ องค์ไว้. ขณะนั้น ม้าผู้พี่ได้รับบาดเจ็บ. สารถีจึงส่งรถมายังประตูพระราชวัง ปลดม้าผู้พี่ชายออก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 292

จากรถ ทำเกราะให้หลวม แล้วให้นอนตะแคงข้างหนึ่ง เริ่มจะสวมเกราะม้าตัวอื่น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น จึงคิดโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแหละ แล้วให้เรียกสารถีมา ทั้งที่นอนอยู่นั่นแลได้กล่าวคาถานี้ว่า

ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใดๆ ณ เวลา ใดๆ ม้าอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอกย่อมถอยหนี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ยทา ได้แก่ ในกาลใดๆ ใน บรรดาเวลาเช้าเป็นต้น. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในที่ใด คือในหนทาง หรือ ในสนามรบ. บทว่า ยทา คือ ในขณะใด. บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ได้แก่ ในสนามรบเป็นอันมาก เช่นกองพล ๗ กอง. บทว่า ยทา ยทา ได้แก่ ในกาลใดๆ คือ ในกาลที่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ได้รับ. บทว่า อาชญฺโญ กุรุเต เวคํ ความว่า ม้าอาชาไนย คือ ม้าสินธพตัวประเสริฐ ผู้มีสภาวะรู้ ทั่วถึงเหตุที่จิตของสารถีชอบ ใช้กำลังความเร็ว คือพยายาม ปรารภความเพียร. บทว่า หายนฺติ ตตฺถ วาฬวา ความว่า เมื่อม้าอาชาไนยนั้นใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอกกล่าวคือม้าตัวเมียนอกนี้ย่อมถอยหนี คือ ย่อมล่าถอยไป เพราะฉะนั้น ท่านจงเทียมเฉพาะเราเท่านั้นในรถคันนี้.

สารถีประคองพระโพธิสัตว์ไห้ลุกขึ้น เทียมแล้วทำลายกองพลที่ ๗ พาเอาพระราชาองค์ที่ ๗ มา. ขับรถมายังประตูพระราชวังแล้วปลดม้าสินธพ. พระโพธิสัตว์นอนตะแคงข้างหนึ่ง ถวายโอวาทแก่พระราชาโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแล แล้วดับไป. พระราชารับสั่งให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วกระทำสัมมานะแก่สารถีประจำรถ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยเสมอ เสด็จไปตามยถากรรม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 293

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดาทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระ สารถีได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนม้าได้เป็นเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบอาชัญญชาดกที่ ๔