๗. อภิณหชาดก ว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ
[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 304
๗. อภิณหชาดก
ว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 304
๗. อภิณหชาดก
ว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ
[๒๗] พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้าทั้งหลาย ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทสำคัญ ว่า พระยาช้างตัวประเสริฐ ได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้เห็นกันเนื่องๆ.
จบอภิณหชาดกที่ ๗
๗. อรรถกถาอภิณหชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่งกับพระเถระแก่ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาลํ กพลํ ปทาตเว ดังนี้.
ได้ยินว่า ในนครสาวัตถีมีสหาย ๒ คน บรรดาสหายทั้งสองนั้น คนหนึ่งบวชแล้วได้ไปยังเรือนของสหายนอกนี้ทุกวัน สหายนั้นได้ถวายภิกษา แก่ภิกษุผู้สหายนั้น แม้ตนเองก็บริโภคแล้ว ได้ไปวิหารพร้อมกับภิกษุผู้สหาย นั้นนั่นแหละ นั่งสนทนาปราศัยอยู่จนพระอาทิตย์อัสดง จึงกลับเข้าเมือง. ฝ่ายภิกษุผู้สหายนอกนี้ก็ตามสหายนั้นไปจนถึงประตูเมืองแล้วก็กลับ. ความคุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้นเกิดปรากฏในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งกล่าวถึงความคุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้น ในโรงธรรมสภา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 305
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา กันด้วยกถาเรื่องอะไรหนอ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยกถาเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สหายทั้งสองนี้เป็นผู้คุ้นเคยกันแต่ในบัดนี้ เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. ในกาลนั้น สุนัขตัวหนึ่งไปยังโรงช้างมงคลกินเมล็ดข้าวสุกแห่งภัตที่ตกอยู่ในที่ที่ช้างมงคลบริโภค สุนัขนั้นเติบโตด้วยโภชนะนั้นนั่นแล จึงเกิดความคุ้นเคยกับช้างมงคล บริโภคอยู่ในสำนักของช้างมงคลนั้นเอง. สัตว์แม้ทั้งสองไม่อาจเป็นไปเว้นจาก กัน. ช้างนั้นเอางวงจับสุนัขนั้นไสไปไสมาเล่น ยกขึ้นวางบนกระพองบ้าง. อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ชาวบ้านคนหนึ่งให้มูลค่าแก่คนเลี้ยงช้าง แล้วได้พาเอาสุนัขนั้นไปบ้านของตน ตั้งแต่นั้น ช้างนั้นเมื่อไม่เห็นสุนัขก็ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่อาบ พวกคนเลี้ยงช้างจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า บัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะเหตุไร ช้างจึงกระทำอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ไปยังโรงช้าง รู้ว่าช้างเสียใจ คิดว่า โรคไม่ปรากฏในทั้งกายของช้างนี้ ก็ความสนิทสนมฐานมิตรกับใครๆ จะพึงมี แก่ช้างนั้น ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นมิตรนั้น จึงถูกความโศกครอบงำ ครั้นคิด แล้ว จึงถามพวกคนเลี้ยงช้างว่า ความคุ้นเคยกับใครๆ ของช้างนี้ มีอยู่หรือ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า มีจ้ะนาย ช้างนี้ถึงความคุ้นเคยกันมากกับสุนัขตัวหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถามว่า บัดนี้ สุนัขตัวนั้นอยู่ที่ไหน? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ถูกมนุษย์คนหนึ่งนำไป พระโพธิสัตว์ถามว่า ก็ที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 306
นั้น พวกท่านรู้จักไหม? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ไม่รู้จักดอกนาย. พระโพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาพาธไรๆ ของช้างไม่มี แต่ช้างนั้นมีความคุ้นเคยอย่างแรงกล้ากับสุนัขตัวหนึ่ง ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นสุนัขนั้นจึงไม่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่ สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทมาสำคัญว่า พระยาช้างตัวประเสริฐได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้เห็นกันเนืองๆ.
บรรดาบทเหล่ๆ นั้น บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่สามารถ. บทว่า กพลํ ได้แก่ คำข้าวที่ให้เฉพาะทีแรก ในเวลาบริโภค. บทว่า ปทาตเว แปลว่า เพื่อรับเอา. พึงทราบการลบ อา อักษร เนื่องด้วยวิธีสนธิการเชื่อม ศัพท์. อธิบายว่า เพื่อถือเอา. บทว่า น ปิณฺฑํ ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อ รับเอาแม้ก้อนภัตที่เขาปั้นให้. บทว่า น กุเส ได้แก่ ไม่สามารถรับเอาแม้ หญ้าทั้งหลายที่เข้าให้กิน. บทว่า น ฆํสิตุํ ความว่า ให้อาบอยู่ก็ไม่สามารถจะขัดสีแม้ร่างกาย. พระโพธิสัตว์กราบทูลแด่พระะราชาถึงเหตุทั้งปวงที่ช้างนั้น ไม่สามารถจะกระทำ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกราบทูลถึงเหตุที่ตนกำหนด ในเพราะช้างนั้นไม่สามารถ จึงกราบทูลคำมีอาทิว่า มญฺามิ ข้าพระบาท สำคัญว่า ดังนี้.
พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า ดูก่อน บัณฑิต บัดนี้ควรกระทำอย่างไร? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ได้ยินว่า มนุษย์ผู้หนึ่งพาเอาสุนัขผู้เป็นสหายของช้างมงคลแห่งข้าพระบาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 307
ทั้งหลายไป ขอพระองค์จงให้คนเที่ยวตีกลองประกาศว่า ชนทั้งหลายแม้เห็นสุนัขนั้น ในเรือนของคนใด คนนั้นจะมีสินไหมชื่อนี้ ดังนี้ พระเจ้าข้า. พระราชาทรงให้กระทำอย่างนั้น. บุรุษนั้นได้สดับข่าวนั้นจึงปล่อยสุนัข สุนัขนั้นรีบไป ได้ไปยังสำนักของช้างทีเดียว. ช้างเอางวงจับสุนัขนั้นวางบนกระพอง ร้องไห้ร่ำไรแล้วเอาลงจากกระพอง เมื่อสุนัขนั้นบริโภค คนจึงบริโภคภายหลัง พระราชาทรงพระดำริว่า พระโพธิสัตว์รู้อัธยาศัยของสัตว์ดิรัจฉาน จึงได้ประทานยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้คุ้นเคยกันในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันมาแล้ว ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงเปลี่ยนแสดงด้วยกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ ทรงสืบอนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดก. ชื่อว่าการเปลี่ยนมาแสดงกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ นี้ ย่อมมีแม้ทุกชาดกทีเดียว แต่เราทั้งหลายจักแสดงการเปลี่ยนกลับ มาแสดงกถาว่าด้วยอริยสัจ ๔ เฉพาะในชาดกที่ปรากฏอานิสงส์แก่บุคคลนั้น เท่านั้นแล. สนัขในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสกในบัดนี้ ช้างในกาลนั้น ได้เป็นพระเถระแต่ในบัดนี้ พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ได้เป็นเราแล.
จบอภิณหชาดกที่ ๗