พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. นันทชาดก ว่าด้วยการกล่าวคําหยาบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  4 ส.ค. 2564
หมายเลข  35238
อ่าน  453

[เล่มที่ 55] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 361

๙. นันทชาดก

ว่าด้วยการกล่าวคําหยาบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 55]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 361

๙. นันทชาดก

ว่าด้วยการกล่าวคำหยาบ

[๓๙] ทาสชื่อนันทกะเป็นบุตรของนางทาสี ยืนกล่าวคำหยาบคายในที่ใด เรารู้ว่า ของแห่งรัตนะทั้งหลายและดอกไม้ทองนี้อยู่ในที่นั้น.

จบนันทชาดกที่ ๙

๙. อรรถกถานันทชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารทรงปรารภสัทธิวิหาริก ของพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มญฺเ โสวณฺณมโย ราสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย อดทนต่อถ้อยคำ (ที่สั่งสอน) กระทำ อุปการะแก่พระเถระด้วยอุตสาหะเป็นอันมาก ครั้นสมัยหนึ่ง พระเถระทูลลา พระศาสดาหลีกจาริกไปแล้ว ได้กลับมายังทักขิณาคีรีชนบท ในเวลาที่พระ เถระไปอยู่ในทักขิณาคีรีชนบทนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ถือตัวจัด ไม่กระทำตามคำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 362

ของพระเถระ ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงกระทำกรรมชื่อนี้ ก็ได้เป็นฝ่ายตรงข้ามต่อพระเถระ พระเถระไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น พระเถระเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบทนั้น หวนกลับมายังพระเชตวันวิหารอีก ภิกษุนั้นก็เป็นเช่นนั้นนั่นแลอีก จำเดิมแต่พระเถระมายังพระเขตวันวิหาร พระเถระจึงกราบทูลแต่พระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของ ข้าพระองค์ ในที่แห่งหนึ่งได้เป็นเหมือนทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์หนึ่งร้อย แค่ในที่แห่งหนึ่ง เป็นผู้ถือตัวจัด เมื่อข้าพระองค์บอกว่า จงกระทำสิ่งชื่อนี้กลับทำตรงกันข้าม พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร ภิกษุนี้เป็นผู้มีปรกติอย่างนี้ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ไปยังที่หนึ่ง เป็นเหมือนทาสที่ ไถ่มาด้วยทรัพย์ตั้งร้อย แต่ไปยังอีกที่หนึ่งกลับเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรูอันพระเถระทูลอ้อนวอนแล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลกุฎุมพีตระกูลหนึ่ง กุฎุมพีผู้สหายคนหนึ่งของพระโพธิสัตว์นั้นตนเองเป็นคนแก่ แต่ภรรยาของกุฎุมพีนั้นเป็นหญิงสาว นางอาศัยกุฎุมพีนั้นจึงได้บุตรชาย กุฎุมพีนั้นคิดว่า หญิงนี้ เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จะได้บุรุษไรๆ นั่นแหละ (เป็นสามี) เพราะยังสาวอยู่ จะทำทรัพย์ของเรานี้ให้ พินาศ จะไม่ให้แก่บุตรของเรา ถ้ากระไร เราจะฝังทรัพย์นี้ไว้ในแผ่นดิน เขาจึงพาทาสในเรือนชื่อว่า นายนันทะ ไปป่า ฝังทรัพย์นั้นไว้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วบอกแก่นายนันทะนั้น โอวาทว่า พ่อนันทะ ทรัพย์นี้ เมื่อเราล่วงไปแล้ว เธอพึงบอกแก่บุตรของเรา อย่าบริจาคทรัพย์ของเรา ดังนี้ แล้วได้ตายไป บุตรของกุฎุมพีนั้นเป็นผู้เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดากล่าวกะบุตรชายนั้นว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าพานายนันททาสไปฝังทรัพย์ เจ้าจงให้ นำทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ วันหนึ่ง บุตรนั้นกล่าวกะทาสนันทะว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 363

ลุงทรัพย์ไรๆ ที่บิดาของฉันฝังไว้ มีอยู่หรือ. นายนันททาสกล่าวว่า ขอรับนาย. บุตรถามว่า ฝังไว้ที่ไหน. นันทะตอบว่า ในป่าจ้ะนาย. บุตรกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราพากันไป แล้วถือเอาจอบและตะกร้าไปยังที่ฝังทรัพย์ แล้วกล่าวว่าทรัพย์อยู่ที่ไหนล่ะลุง. นายนันทะขึ้นยืนข้างบนทรัพย์ อาศัยทรัพย์ทำมานะให้เกิดขึ้น ด่ากุมารว่า เฮ้ยเจ้าเจตกะลูกทาสี ทรัพย์ในที่นี้ของเจ้าจักมีมาแต่ไหน. กุมารทำเป็นไม่ได้ยินคำหยาบของเขา กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเรากลับกันเถิด แล้วพานายนันทะนั้นกลับ. ล่วงไป ๒ - ๓ วันได้ไปอีก นายนันทะก็ด่าเหมือนอย่างนั้นแหละ กุมารไม่กล่าวคำหยาบกับเขาคิดว่า ทาสนี้ไปด้วยคิดว่า จักบอกทรัพย์จำเดิมแต่นี้ แต่ครั้นไปแล้วกลับด่า เราไม่รู้เหตุในข้อนั้น กุฎุมพีผู้สหายของบิดาเรามีอยู่หนอ เราสอบถามกุฎุพีนั้นแล้วจักรู้ได้ จึงไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ บอกเรื่องราวนั้นทั้งหมดแล้วถามว่า ข้าแต่พ่อเพราะเหตุอะไรหนอ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ นายนันทะยืนด่าเธอในที่ใด ทรัพย์อันเป็นของบิดาเธออยู่ในที่นั่นแหละ เพราะฉะนั้นในกาลใด นายนันทะด่าเธอ ในกาลนั้น เธอจงฉุดนายนันทะนั้นมาด้วยคำว่า เฮ้ยเจ้าทาส เจ้าจงมาด่า แล้วถือเอาจอบขุดทำลายที่นั้น นำเอาทรัพย์อันเป็นของตระกูลออก มาให้ทาสยกนำเอาทรัพย์มา ครั้น กล่าวแล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ทาสชื่อนายนันทะเป็นบุตรของนางทาส ยืนกล่าวคำหยาบในที่ใด เรารู้ว่ากองแห่งรัตนะทั้งหลาย และดอกไม้ทอง มีอยู่ในนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺเ แปลว่า เรารู้อย่างนี้. บทว่า โสวณฺณโย ความว่า ชื่อว่าสุวรรณเพราะมีสีงาม สุวรรณเหล่านั้นคืออะไร? คือรัตนะทั้งหลายมีเงิน แก้วมณี ทองและแก้วประพาฬ เป็นต้น. ก็ในฐานะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 5 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 364

นี้ ท่านประสงค์เอารัตนะนี้ทั้งหมดว่า สุวรรณ กองแห่งรัตนะเหล่านั้นชื่อว่า โสวัณณยราสิ กองรัตนะมีสีงาม. บทว่า โสวณฺณมาลา จ ความว่า เรา ย่อมรู้ว่า และแม้ดอกไม้ทองอันเป็นของแห่งบิดาเธอก็มีอยู่ในที่นี้เหมือนกัน. บทว่า นนฺทโก ยตฺย ทาโส ความว่า ทาสชื่อว่านันทะยืนอยู่ในที่ใด. บทว่า อามชาโต ความว่า บุตรของทาสีกล่าวคือนางอามทาสีเพราะเข้าถึง ความเป็นทาสด้วยการกล่าวอย่างนี้ว่า จ้ะ ฉันเป็นทาสีของท่าน. บทว่า ิโต ถุลฺลานิ คชฺชติ ความว่า ทาสชื่อนั้นทะนั้นยืนอยู่ในที่ใด กล่าวคำหยาบ คือคำหยาบคาย ทรัพย์อันเป็นของตระกูลแห่งเธอมีอยู่ในที่นั้นแหละ เรารู้ทรัพย์นั้นอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกอุบายเครื่องถือเอาทรัพย์ แก่กุมาร.

กุมารไหว้พระโพธิสัตว์แล้วไปเรือนพานายนันทะไปยังที่ฝังทรัพย์ ปฏิบัติตามที่พระโพธิสัตว์สั่งสอนแล้ว นำเอาทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญทั้งหลายมีทาน เป็นต้น ในเวลาสิ้นชีวิต ได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า แม้ในกาลก่อนสัทธิวิหาริกของสารีบุตรนี้ ก็เป็นผู้มีปรกติอย่างนี้เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบ อนุสนธิประชุมชาดกว่า ทาสนันทะในครั้งนั้น ได้เป็นสัทธิวิหาริกของ พระสารีบุตร บุตรของกุฏุพีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนกุฎุมพีผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบนันทชาดกที่ ๙