ไม่ทำบาปเพื่อตนและคนอื่น

 
unnop.h
วันที่  5 ส.ค. 2564
หมายเลข  35242
อ่าน  1,481

* พระศาสดาตรัสพระพุทธพจน์นี้ เพราะทรงปรารภพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม และยังเกื้อกูลอดีตบุตร ภรรยาของท่านให้ตั้งอยู่ในธรรมอีกด้วย (คือได้บรรลุคุณธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์)

* บัณฑิต คือผู้ที่มีปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง สามารถดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ส่วนกัลยาณปุถุชนเป็นผู้ที่กำลังสะสมอบรมปัญญาและคุณความดีต่างๆ เพื่อเป็นบัณฑิตต่อไป

* บาป คือกิเลสอกุศลทั้งหลาย เป็นสภาพที่เศร้าหมอง ไม่สะอาด ซึ่งมีหลายระดับ

- ตั้งแต่บาปที่มีกำลังมากที่ถึงขั้นเป็นอกุศลกรรมบถ ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม

- บาปที่ไม่ถึงขั้นล่วงเป็นอกุศลกรรมบถ แต่เป็นบาปที่เกิดขึ้นทำให้จิตเป็นอกุศลอยู่เสมอๆ ในชีวิตประจำวัน

- และบาปที่เป็นพืชเชื้อสะสมอยู่ในจิต ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดบาปอกุศลระดับต่างๆ ขึ้น

* ดังนั้นข้อความว่า "บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป" จึงมีความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง เพราะหมายถึง "การไม่ทำบาปทั้งปวง" ซึ่งเป็นผลจากการอบรมเจริญปัญญา จนสามารถดับพืชเขื้อของบาปในจิต (อนุสัย) ได้หมดสิ้น เป็นพระอริยบุคคลตามลำดับขั้น

* บัณฑิตเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม จึงไม่ทำบาป เพื่อลาภ ยศ ชื่อเสียงของตน หรือของวงศาคณาญาติ มิตรสหาย ผู้ใด ทั้งสิ้น

* การที่จะเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ตามลำดับขั้น ก็ต้องเริ่มจากมีความเข้าใจในความเป็นธรรม ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง


โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
petsin.90
วันที่ 5 ส.ค. 2564

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Wisaka
วันที่ 27 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Jarunee.A
วันที่ 8 ก.ย. 2567

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ