พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. เถรสูตร ว่าด้วยพระเถระผู้ใหญ่เข้าเฝ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ส.ค. 2564
หมายเลข  35282
อ่าน  562

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 88

๕. เถรสูตร

ว่าด้วยพระเถระผู้ใหญ่เข้าเฝ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 88

๕. เถรสูตร

ว่าด้วยพระเถระผู้ใหญ่เข้าเฝ้า

[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 89

สารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ และท่านพระนันทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่อย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้มีชาติเป็นพราหมณ์รูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เป็นไฉน.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก.

จบเถรสูตรที่ ๕

อรรถกถาเถระสูตร

เถรสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สาวตฺถิยํ คือ ใกล้นครชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นครนั้นท่านเรียกว่าสาวัตถี เพราะสร้างในที่อยู่อาศัยของฤาษีชื่อสวัตถะ เหมือนเมือง กากนฺทิ เรียกว่า มากนฺที นักคิดอักษรรู้อย่างนี้เป็นอันดับแรก. ส่วนพระอรรถ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 90

กถาทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่าสาวัตถี เพราะเป็นที่มีเครื่องอุปโภคและบริโภคทุกชนิดสำหรับมนุษย์ เมื่อถูกถามว่า ในที่นี้มีสิ่งอะไรในการประกอบเป็นพวก จึงเรียกว่าสาวัตถี ตอบว่า เพราะอาศัยคำว่า สพฺพมตฺถิ สิ่งทั้งหมดมีอยู่ ดังนี้.

เครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดมีพร้อมมูลโดยประการทั้งปวงในเมืองสาวัตถี เพราะอาศัยความพร้อมมูลทั้งปวง จึงเรียกว่า สาวัตถี ดังนี้.

ใกล้เมืองสาวัตถีนั้น. ก็บทว่า สาวตฺถิยํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าใกล้.

บทว่า เชตวเน ความว่า ชื่อว่า เชต เพราะชนะข้าศึกของตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เชต เพราะประสูติในเมื่อพระราชาชนะเหล่าชนผู้เป็นข้าศึก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เชต เพราะตั้งชื่อท่านอย่างนั้น เพราะต้องการให้เป็นมงคล. ชื่อว่า วนะ เพราะคบหา อธิบายว่า ทำความภักดีในตนให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคุณสมบัติของตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ เพราะร้องขอ อธิบายว่า เหมือนร้องขอเหล่าสัตว์ว่า พวกท่านจงใช้สอยเรา ด้วยการขานเสียงร้องของวิหคมีดุเหว่าเป็นต้น ด้วยความเมาในความเพลิดเพลิน ด้วยดอกไม้และของหอมนานาชนิด และด้วยมือคือใบอ่อนของกิ่งไม้ที่ถูกลมอ่อนพัดโชย. สวนของเจ้าเชต ชื่อว่าเชตวัน. จริงอยู่ สวนนั้นพระราชกุมารพระนามว่าเชต ทรงปลูกสร้างให้เจริญและรักษาไว้ เจ้าเชตนั่นแหละเป็นเจ้าของสวนนั้น เพราะฉะนั้น สวนนั้นจึงเรียกว่า เชตวัน. ในสวนชื่อว่าเชตวันนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 91

บทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า มหาเศรษฐีนั้น นามว่า สุทัตตะ โดยที่บิดามารดาตั้งชื่อให้ ก็ท่านเศรษฐีนั้นให้ก้อนข้าวแก่คนอนาถาเป็นนิตยกาล เพราะมีความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ทุกประการ เพราะปราศจากมลทินคือความตระหนี่ และเพราะพรั่งพร้อมด้วยคุณ มีกรุณาเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อนาถปิณฑิกะ. ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่ยินดีของสัตว์ คือ นักบวชโดยพิเศษ อธิบายว่า ผู้มาจากที่นั้นๆ ย่อมยินดีเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายอยู่ ด้วยความงามของดอกไม้และผลไม้เป็นต้น และด้วยความสมบูรณ์แห่งองค์ของเสนาสนะ ๕ ประการ มีไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาราม เพราะนำคนแม้ไปในที่นั้นๆ มายินดีเฉพาะในภายในตน ด้วยสมบัติมีประการดังกล่าวแล้ว. จริงอยู่ อารามนั้นท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีใช้เงิน ๑๘ โกฏิซื้อจากพระหัตถ์ของราชกุมารพระนามว่าเชต โดยการเอาเงินโกฏิปูลาด ใช้เงิน ๑๘ โกฏิ สร้างเสนาสนะ ใช้เงิน ๑๘ โกฏิ ฉลองวิหารให้สำเร็จ แล้วมอบถวายสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. ในอารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีนั้น.

ก็ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน เป็นคำระบุถึงเจ้าของเดิม. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนหลัง. แม้คำทั้งสอง ก็มีความมุ่งหมายให้ถือเป็นเยี่ยงอย่างต่อไปของผู้ต้องการบุญ โดยการแสดงการบริจาคเป็นพิเศษของท่านทั้งสอง. เมื่อว่าโดยการสร้างซุ้มประตูและปราสาทที่พระเชตวันนั้น เจ้าเชตทรงบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ ซึ่งได้จากการขายที่ และต้นไม้มีค่าหลายโกฏิ และท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 92

บริจาค ๕๔ โกฏิ. ดังนั้น พระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก เมื่อจะแสดงว่า ผู้ต้องการบุญย่อมทำบุญอย่างนี้ ด้วยการระบุถึงการบริจาคของท่านทั้งสองนั้น จึงชักชวนผู้ต้องการบุญแม้เหล่าอื่น ด้วยการดำเนินตามเยี่ยงอย่างของท่านทั้งสองนั้นแล.

ในข้อนั้น พึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก่อนอื่น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ไม่ควรกล่าวว่า ในพระเชตวัน ถ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน ก็ไม่ควรกล่าวว่า ในเมืองสาวัตถี เพราะใครๆ ไม่สามารถจะอยู่ในที่ ๒ แห่งเวลาเดียวกัน? ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า บทว่า สาวตฺถิยํ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถว่าใกล้. เพราะฉะนั้น เมื่อพระองค์ประทับอยู่ในพระเชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี ท่านจึงกล่าวว่า สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน ประทับอยู่ในพระเชตวันใกล้กรุงสาวัตถี. จริงอยู่ คำว่า สาวัตถี มีอันแสดงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นอรรถ. คำที่เหลือมีอันแสดงสถานที่อยู่อันเหมาะสมแก่บรรพชิตเป็นอรรถแล.

คำว่า อายสฺมา ในคำมีอาทิว่า อายสฺมา จ สาริปุตฺโต เป็นคำแสดงถึงความรัก. ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ. ชื่อว่า สารีบุตร เพราะเป็นบุตรของพราหมณี ชื่อรูปสารี. คำว่า มหาโมคฺคลฺลาโน เป็นคำแสดงถึงการบูชา. ความจริง ชื่อมหาโมคคัลลานะ เพราะพระโมคคัลลานะเป็นผู้ใหญ่โดยคุณวิเศษ. บทว่า เรวโต ได้แก่ ท่านพระขทิรเรวตะ ไม่ใช่พระกังขาเรวตะ. จริงอยู่ วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ เหมือนพระจันทร์ลอยเด่นท่ามกลางท้องฟ้า ประทับนั่งแสดงธรรม คือ หมวดสัจจะ ๔ ท่ามกลางบริษัท ๔ เหมือนปราสาททองที่แวดวงด้วยม่าน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 93

แดง เหมือนภูเขาทองแวดล้อมด้วยชลธารน้ำเงิน เหมือนพระยาหงส์ธตรฐแวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยจตุรงคินีเสนาอันรุ่งโรจน์ด้วยรัตนะ ๗. สมัยนั้น พระอัครสาวกและพระมหาสาวกเหล่านี้ ได้เข้าไปเฝ้าเพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ทรงแสดงพระสาวกเหล่านั้นผู้กำลังมา ตรัสกะภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระองค์. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นท่านเหล่านั้นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ มีศีล สมาธิ และปัญญา เป็นต้น ผู้ประกอบด้วยความสงบอย่างยิ่ง ประกอบด้วยสมบัติคือมารยาทอย่างยิ่ง กำลังเข้ามาเฝ้า ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เพื่อจะระบุคุณวิเศษของพระสาวกเหล่านั้น จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา. คำนั้น พระองค์ตรัสด้วยความเลื่อมใส จะตรัสว่าด้วยความสรรเสริญ ดังนี้ก็ถูก. บทว่า เอวํ วุตเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ หมายเอาท่านเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า อญฺตโร ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่ปรากฏโดยชื่อและโคตร นั่งอยู่ในบริษัทนั้น. บทว่า พฺราหฺมณชาติโก แปลว่า ผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์. จริงอยู่ ภิกษุนั้นบวชจากตระกูลพราหมณ์มหาศาลผู้มีโภคะมาก. ได้ยินว่า ภิกษุนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ชาวโลกเหล่านี้กล่าวกันว่า บุคคลเป็นพราหมณ์โดยอุภโตสุชาติ และสำเร็จการศึกษามาจากลัทธิพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยประการอื่น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านเหล่านั้นว่า พราหมณ์ เอาเถอะ เราจะทูลถามถึงลักษณะความเป็นพราหมณ์กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ ใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 94

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงพระเถระเหล่านั้นว่า พราหมณ์ หมายเอาความนั้นแหละ จริงอยู่ รูปวิเคราะห์แห่งชาติพราหมณ์ว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะสาธยายมนต์. ส่วนพระอริยะชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เรียกว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป เรียกว่า สมณะ เพราะเป็นผู้ประพฤติสงบ แต่ท่านจะกล่าวว่า ลอยปาปธรรม.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ได้แก่ ทราบเนื้อความแห่งพราหมณศัพท์นี้ อันถึงความเป็นยอดโดยปรมัตถ์. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาหิตฺวา ได้แก่ ทำไว้ภายนอก คือ นำออกจากสันดานของตน อธิบายว่า ละด้วยสมุจเฉทปหาน. บทว่า ปาปเก ธมฺเม แปลว่า ธรรมอันลามก, อธิบายว่า ว่าโดยทุจริต ได้แก่ ทุจริต ๓, ว่าโดยจิตตุปบาท ได้แก่ อกุศลจิตตุปบาท ๑๒, ว่าโดยกรรมบถ ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐, ว่าโดยประเภทแห่งประวัติ ได้แก่ อกุศลธรรมทั้งหมด แยกเป็นหลายประเภท. บทว่า เย จรนฺติ สทา สตา ความว่า ชนเหล่าใดมีสติ คือ เป็นผู้มีสติ ด้วยธรรมเครื่องอยู่คือสติ ๖ ในอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ตลอดกาลทั้งปวง เพราะเป็นผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ย่อมเที่ยวไปด้วยอิริยาบถทั้ง ๔. ก็ในที่นี้ แม้สัมปชัญญะพึงทราบว่า ท่านก็ถือเอาด้วยสติศัพท์นั่นแหละ. บทว่า ขีณสํโยชนา ได้แก่ ชื่อว่าสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เพราะตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้เด็ดขาด ด้วยมรรคทั้ง ๔. บทว่า พุทฺธา คือ ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ ๔. ก็แหละ พุทธะเหล่านั้นมี ๓ ประเภท คือ สาวกพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และสัมมาสัมพุทธะ. ก็บรรดาพุทธะ ๓ นั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 95

ในที่นี้ประสงค์เอาสาวกพุทธะ. บทว่า เต เว โลกสฺมึ พฺราหฺมณา ความว่า พุทธะเหล่านั้นเกิดโดยอริยชาติในธรรม กล่าวคือ พราหมณ์ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ประเสริฐ หรือเป็นบุตร คือ โอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ก็ชื่อว่าพราหมณ์ ในสัตว์โลกนี้. อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงชาติและโคตร หรือไม่ใช่เป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงทรงชฎาเป็นต้น. ในสูตรทั้งสองนี้ ธรรมอันทำความเป็นพราหมณ์ พระองค์ตรัสให้ถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้ แต่พึงทราบความต่างกันแห่งเทศนา โดยการตรัสต่างๆ กัน ด้วยเทศนาวิลาส เพราะเหล่าสัตว์มีอัธยาศัยต่างกัน.

จบอรรถกถาเถรสูตรที่ ๕