พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มหากัสสปสูตร ว่าด้วยพระมหากัสสปะไม่รับบิณฑบาตเทวดา รับของคนขัดสน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ส.ค. 2564
หมายเลข  35283
อ่าน  506

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 95

๖. มหากัสสปสูตร

ว่าด้วยพระมหากัสสปะไม่รับบิณฑบาตเทวดา รับของคนขัดสน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 95

๖. มหากัสสปสูตร

ว่าด้วยพระมหากัสสปะไม่รับบิณฑบาตเทวดา รับของคนขัดสน

[๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก สมัยต่อมา ท่านพระมหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้วได้คิดว่า ไฉนเราพึงเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ก็สมัยนั้น เทวดาประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปะได้บิณฑบาต ท่านพระมหากัสสปะห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นแล้ว เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือเอาบาตรและจีวรเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาตตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 96

ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัสสปะกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เรากล่าวบุคคลมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้ยิ่ง ผู้ฝึกตนแล้ว ดำรงอยู่แล้วในสารธรรม ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้มีโทษอันคายแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

จบมหากัสสปสูตรที่ ๖

อรรถกถามหากัสสปสูตร

มหากัสสปสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ราชคเห ได้แก่ ใกล้นครอันมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นครนั้นเรียกว่า ราชคฤห์ เพราะเจ้ามหามันธาตุและพระเจ้ามหาโควินท์เป็นต้นปกครอง บางอาจารย์พรรณนาในข้อนี้โดยประการอื่นมีอาทิว่า ชื่อว่าราชคฤห์ เพราะเป็นเรือนของพระราชาผู้เป็นข้าศึกที่ใครๆ ครอบงำได้ยาก. ท่านอาจารย์เหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไร. คำว่า ราชคฤห์นั้น เป็นชื่อของนครนั้น. ก็นครราชคฤห์นี้นั้น เป็นเมืองอยู่ในสมัยพุทธกาลและสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ ในกาลอื่น เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ยึดครอง กลายเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น. คำว่า เวฬุวนํ ในคำว่า เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อของวิหารนั้น. ได้ยินว่า พระเวฬุวันนั้น ล้อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 97

ด้วยกำแพงสูง ๑๘ ศอก ประดับด้วยคันธกุฎีใหญ่ สมควรเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยสิ่งอื่นมีปราสาท กุฎี ที่เร้น มณฑป ที่จงกรม และซุ้มประตู เป็นต้น ภายนอกแวดล้อมด้วยไม้ไผ่ มีสีเขียว น่ารื่นรมย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เวฬุวัน. และเรียกว่า กลันทกนิวาปะ เพราะเป็นที่ให้เหยื่อแก่พวกกระแต. ได้ยินว่า สมัยก่อน พระราชาองค์หนึ่งเสด็จประพาสพระราชอุทยานนั้น ทรงเมาน้ำจัณฑ์ จึงบรรทมกลางวัน ฝ่ายบริวารของพระราชานั้นคิดว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกประเล้าประโลมด้วยดอกไม้และผลไม้ จึงหลีกไปคนละทิศละทาง. ครั้งนั้น งูเห่าเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่งด้วยกลิ่น เลื้อยมาตรงพระราชา. รุกขเทวดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่า เราจะช่วยชีวิตพระราชา จึงแปลงเพศเป็นกระแต ไปร้องขึ้นที่ใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่นบรรทม งูเห่าก็เลื้อยกลับไป. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงพระดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิตเรา จึงทรงเริ่มตั้งเหยื่อแก่พวกกระแตในที่นั้น และทรงให้ป่าวประกาศประทานอภัย เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงนับว่า กลันทกนิวาปะ ก็คำว่า กลันทกะ เป็นชื่อของพวกกระแต. ในพระเวฬุวัน กลันทกนิวาปะ นั้น.

บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ชื่อว่ามหากัสสปะ เพราะเป็นพระกัสสปะผู้ใหญ่ เหตุประกอบด้วยคุณอันใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พระมหาเถระองค์นี้เรียกว่า มหากัสสปะ เพราะเทียบกับพระกุมารกัสสปเถระ. บทว่า ปิปฺผลิคุหายํ ความว่า ได้ยินว่า ที่ใกล้ประตูถ้ำนั้น ได้มีต้นดีปลีต้นหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้ำนั้นจึงปรากฏว่า ปิปผลิคูหา. ที่ถ้ำปิปผลิคูหานั้น. บทว่า อาพาธิโก ความว่า ชื่อว่าอาพาธิกะ เพราะมี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 98

อาพาธ อธิบายว่า มีการป่วยไข้. บทว่า ทุกฺขิโต ความว่า ชื่อว่ามีทุกข์ เพราะเกิดทุกข์ที่อิงอาศัยกาย อธิบายว่า ประสบทุกข์. บทว่า พาฬฺหคิลาโน ได้แก่ ผู้มีความเป็นไข้หนัก. แต่พระมหากัสสปะมีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นความไข้นั้นได้. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นของท่าน จึงได้เสด็จไปในที่นั้น ตรัสโพชฌงคปริตร. ด้วยโพชฌงคปริตรนั้นนั่นเอง พระเถระจึงหายขาดจากอาพาธนั้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในโพชฌงคสังยุตว่า

ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอาพาธ เป็นทุกข์ มีไข้หนัก อยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา. ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปหาพระมหากัสสปะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ประทับบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ครั้นประทับนั่งแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า กัสสปะ เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาสร่างลงไม่กำเริบหรือ ที่สุดของความสร่างทุกขเวทนาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ. พระมหากัสสปะทูลว่า ข้าพระองค์ทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ยังกำเริบ ไม่สร่างลง พระเจ้าข้า ความกำเริบยังปรากฏ ความสร่างลงไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ อะไรบ้าง? ดูก่อนกัสสปะ คือ สติสัมโพชฌงค์ อันเรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 99

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ ดูก่อนกัสสปะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์แล เรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. ดูก่อนกัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, พระมหากัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โพชฌงค์ดีแท้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ ท่านพระมหากัสสปะดีใจ เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. และท่านพระมหากัสสปะก็ได้หายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้นก็เป็นอันชื่อว่า พระมหากัสสปะละได้แล้วอย่างนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา มหากสฺสโป อปเรน สมเยน ตมฺหา อาพาธา วุฏฺาสิ ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระมหากัสสปะก็หายจากอาพาธนั้น.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ท่านพระมหากัสสปะฉันบิณฑบาตที่สัทธิวิหาริกนำเข้าไปถวายในวันเป็นไข้ในกาลก่อน ก็ได้อยู่ในวิหารนั้นแหละ ครั้นท่านหายจากอาพาธนั้นแล้ว ได้มีความปริวิตกนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเที่ยวไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์. บทว่า ปญฺจมตฺตานิ เทวตาสตานิ ได้แก่ นางอัปสรผู้มีเท้าดังสีเท้านกพิราบประมาณ ๕๐๐ ผู้บำเรอท้าวสักกเทวราช. บทว่า อุสฺสุกฺกํ อาปนฺนานิ โหนฺติ ความว่า นางอัปสรเหล่านั้นคิดจะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ จึงตระเตรียมบิณฑบาต ๕๐๐ ที่ ใส่ภาชนะทองเอาไปยืนอยู่ระหว่างทาง พลางกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 100

ท่านจงรับบิณฑบาตนี้ จงสงเคราะห์พวกดิฉัน ต่างก็ขวนขวายในการถวายบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส ปิณฺฑปาตปฏิลาภาย เพื่อให้ท่านพระมหากัสสปะได้รับบิณฑบาต.

ได้ยินว่า ท้าวสักกเทวราชทราบความเป็นไปแห่งจิตของพระเถระ จึงส่งนางอัปสรเหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงไปถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ กระทำให้เป็นที่พึ่งของตน. ความจริง ท้าวสักกเทวราชนั้นได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า บรรดานางอัปสรทั้งหมดนี้ที่ไปถึง บางคราวพระเถระพึงรับบิณฑบาตจากมือของนางอัปสรแม้สักคน ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่นางตลอดกาลนาน. พระเถระห้ามนางอัปสรผู้กำลังพูดว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงรับบิณฑบาตของดิฉัน ขอท่านจงรับบิณฑบาตของดิฉัน แล้วกล่าวว่า พวกเธอได้ทำบุญไว้แล้ว มีโภคะมาก จงหลีกไป เราจะสงเคราะห์แก่คนเข็ญใจ แล้วจึงห้ามอีกครั้งกะนางอัปสรผู้พูดอยู่ว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงอย่าทำพวกดิฉันให้พินาศเลย จงสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด จึงดีดนิ้วมือกล่าวซ้ำกะพวกอัปสรผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปซึ่งยังอ้อนวอนอยู่ว่า พวกเธอไม่รู้ประมาณตน จงหลีกไปเถิด. นางอัปสรเหล่านั้นได้ยินเสียงดีดนิ้วมือของพระเถระ เมื่อไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงหนีไปยังเทวโลกตามเดิม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺจมตฺตานิ เทวตาสตานิ ปฏิกฺขิปิตฺวา ห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐.

บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ ได้แก่ สมัยหนึ่ง คือ เวลาหนึ่ง ตอนเช้า. บทว่า นิวาเสตฺวา ความว่า นุ่งห่มอย่างมั่นคง โดยการเปลี่ยนเครื่อง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 101

นุ่งห่มในพระวิหาร. บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย ความว่า ห่มจีวรแล้วถือบาตร. บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ได้แก่ เข้าไปบิณฑบาต.

บทว่า ทลิทฺทวิสิขา ได้แก่ ถิ่นเป็นที่อยู่ของคนเข็ญใจ. บทว่า กปณวิสิขา ได้แก่ ที่อยู่ของคนยากจน เพราะถึงความเสื่อมสิ้นโภคะ. บทว่า เปสการวิสิขา ได้แก่ ที่อยู่ของช่างหูก.

บทว่า อทฺทสา โข ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นอย่างไร? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า กัสสปบุตรของเรา หายจากอาพาธแล้ว กำลังทำอะไรหนอ ทั้งที่ประทับนั่งในพระเวฬุวันนั่นแล ได้ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความที่ท่านพระมหากัสสปะห้ามบิณฑบาตทิพย์ มีสูปะและพยัญชนะมากมายที่นางอัปสร ๕๐๐ นำเข้าไปถวาย แล้วกล่าวถึงข้อปฏิบัติในการสงเคราะห์คนกำพร้า. บทว่า อิมํ อุทานํ ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงอานุภาพแห่งความคงที่ของพระขีณาสพ โดยแสดงความเป็นผู้มักน้อยเป็นประธาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺโปสึ ความว่า ชื่อว่าอัญญโปสี เพราะเลี้ยงคนอื่น ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น ชื่อว่าอนัญญโปสี อธิบายว่า ชื่อว่าไม่มีเพื่อนสอง คือ เป็นผู้เดียว เพราะไม่มีคนอื่นที่ตนจะต้องเลี้ยง. ด้วยคำนั้น ท่านแสดงถึงพระเถระเป็นผู้เลี้ยงง่าย. จริงอยู่ พระเถระเลี้ยงเฉพาะตนด้วยจีวรเครื่องบริหารกาย และด้วยบิณฑบาตเครื่องบริหารท้อง ชื่อว่าเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่งอยู่. ไม่เลี้ยงใครๆ อื่น ในบรรดาญาติมิตรเป็นต้น เพราะเป็นผู้ไม่ติดในอารมณ์ไหนๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนัญญ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 102

โปสี เพราะไม่มีภาระที่ตนอันคนอื่นคนใดคนหนึ่งจะพึงเลี้ยง. ความจริง ผู้ที่มีปัจจัย ๔ เนื่องในทายกผู้ให้ปัจจัยคนเดียวเท่านั้น ไม่ชื่อว่าอนัญญโปสี เพราะมีความประพฤติเนื่องกับคนๆ เดียว. ฝ่ายพระเถระอาศัยกำลังแข้งเที่ยวบิณฑบาต โดยนัยดังกล่าวในคาถามีอาทิว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ เป็นผู้ใหม่ในตระกูลทั้งหลายเป็นนิตย์ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารที่เจือปน. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยผู้นั้นด้วยปฏิปทา อันเปรียบด้วยพระจันทร์. บทว่า อญฺาตํ แปลว่า มีชื่อเสียงปรากฏ คือ มีเกียรติยศแผ่ไปด้วยคุณตามความเป็นจริง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีชื่อเสียงปรากฏ เพราะเป็นผู้มักน้อย สันโดษด้วยภาวะที่ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่นนั้นนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อญฺาตํ ชื่อว่าอันคนอื่นไม่รู้จักโดยให้ผู้อื่นรู้จักตน เหตุไม่ปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง เพราะละตัณหาได้แล้วโดยประการทั้งปวง. ความจริง คนที่ยังไม่ปราศจากตัณหา มีความปรารถนาลามก ย่อมให้คนอื่นรู้จักตน โดยประสงค์ความยกย่องด้วยการหลอกลวง. บทว่า ทนฺตํ ความว่า ฝึกตนแล้ว เพราะอรรถว่า ฝึกตนอย่างสูงสุดในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า สาเร ปติฏฺิตํ ได้แก่ ตั้งลงในวิมุตติสาระ หรือตั้งอยู่ในศีลสาระเป็นต้น มีศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะเป็นต้น. บทว่า ขีณาสวํ วนฺตโทสํ ความว่า ชื่อว่าขีณาสวะ เพราะละอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้นได้โดยสิ้นเชิง จากนั้นแล ชื่อว่าวันตโทสะ เพราะคายโทษมีราคะเป็นต้นได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ความว่า เรากล่าวบุคคลนั้น คือ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ ซึ่งมีคุณตามที่กล่าวแล้ว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

ว่า เป็นพราหมณ์. แม้ในที่นี้ พึงทราบความต่างกันแห่งเทศนา โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถามหากัสสปสูตรที่ ๖