พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สารีปุตตสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรดุจภูเขา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35305
อ่าน  466

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 322

๔. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรดุจภูเขา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 322

๔. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรดุจภูเขา

[๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 323

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุผู้ดุจภูเขา ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความสิ้นโมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้น.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

สารีปุตตสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติให้มุ่งตรงต่ออารมณ์ คือ ตั้งสติไว้ในที่ใกล้หน้า. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์ว่า สตินี้เป็นอันปรากฏแล้ว ปรากฏด้วยดีแล้ว ที่ปลายนาสิก หรือที่มุขนิมิต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา ตั้งสติไว้ตรงหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริ มีอรรถว่า กำหนด.

บทว่า มุขํ มีอรรถว่า นำออก.

บทว่า สติ มีอรรถว่า ปรากฏ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุขํ สตึ. ก็ในที่นี้ พึงทราบอรรถโดยนัยดังกล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น มีความสังเขป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 324

ดังต่อไปนี้. ก็บทว่า นิยฺยานํ ในบทว่า ปริคฺคหิตนิยฺยานสตึ กตฺวา นี้ พึงเห็นอารมณ์ที่สติหยั่งลง. ก็ในข้อนี้ ความต้นและความหลัง พึงเห็นสติควบคุมอารมณ์ไว้ได้ทั้งหมด นอกนั้น พึงเห็นการประมวลส่วนเบื้องต้นแห่งสมาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ฌาน ท่านเรียกว่าสติ โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุใดบริโภคกายคตาสติ.

ถามว่า ก็ฌานนั้นเป็นไฉน?

ตอบว่า ได้แก่ ฌานอันสัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่กระทำรูปาวจรจตุตถฌานให้เป็นบาทแล้วจึงเข้า.

ถามว่า ก็ฌานนั้นจะพึงรู้ได้อย่างไร?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความที่พระเถระไม่หวั่นไหวพร้อมด้วยคุณวิเศษ เพราะประกอบด้วยอาเนญชสมาธิ และความที่พระเถระนั้นเป็นผู้อันอะไรๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โดยเปรียบด้วยภูเขา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ เพราะเหตุนั้น ย่อมรู้เนื้อความนี้ได้ด้วยคาถานั่นแหละ. ก็นี้มิใช่พระเถระนั่งเพื่อแทงตลอดสัจจะ โดยที่แท้ นั่งเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. จริงอยู่ ในกาลก่อนนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ทีฆนขปริพาชก หลานของพระเถระ ที่ถ้ำสุกรขาตา พระมหาเถระนี้ถึงที่สุดกิจแห่งการแทงตลอดสัจจะแล.

บทว่า เอตมตฺถํ ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยประการทั้งปวงถึงอรรถนี้ กล่าวคือ ความที่พระเถระอันอะไรๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ เพราะประกอบด้วยอาเนญชสมาธิ และเพราะถึงความเป็นผู้คงที่ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ประกาศความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ ปพฺพโต เสโล ความว่า เหมือนภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ล้วนแล้วด้วยหิน ไม่ใช่ภูเขาดินร่วน หรือไม่ใช่ภูเขาเจือดิน.

บทว่า อจโล สุปฺปติฏฺิโต ความว่า มีรากตั้งอยู่ด้วยดี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 325

ไม่หวั่น ไม่ไหว ด้วยลมตามปกติ.

บทว่า เอวํ โมหกฺขยา ภิกฺขุ ปุพฺพโตว น เวธติ ความว่า ภิกษุชื่อว่าละอกุศลทั้งปวงได้ เพราะละโมหะได้เด็ดขาด และเพราะละอกุศลทั้งปวงมีโมหะเป็นมูล ย่อมไม่หวั่น คือ ไม่ไหวด้วยโลกธรรม เหมือนภูเขานั้นไม่สะเทือนด้วยลมตามปกติ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระนิพพานและพระอรหัตท่านเรียกว่า โมหักขยะ ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่าตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในอริยสัจ ๔ เพราะบรรลุพระนิพพานและพระอรหัต เหตุสิ้นไปแห่งโมหะ แม้ในเวลาที่ไม่เข้าสมาบัติก็ไม่หวั่นไหวด้วยอะไรๆ เหมือนภูเขาดังกล่าวแล้ว. อธิบายว่า จะป่วยกล่าวไปไยในเวลาเข้าสมาบัติเล่า.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๔