พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปิลินทวัจฉสูตร ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35307
อ่าน  502

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 330

๖. ปิลินทวัจฉสูตร

ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 330

๖. ปิลินทวัจฉสูตร

ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 331

พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปเรียกปิลินทวัจฉภิกษุมาตามคำของเราว่า ดูก่อน อาวุโสวัจฉะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านปิลินทวัจฉะว่า ดูก่อนอาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระปิลินทวัจฉะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ดูก่อนปิลินทวัจฉะ ได้ยินว่า เธอย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลรับว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการถึงขันธ์อันมีในก่อนของท่านพระปิลินทวัจฉะ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายกโทษวัจฉภิกษุเลย วัจฉภิกษุย่อมไม่มุ่งโทษเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย วัจฉภิกษุเกิดในสกุลพราหมณ์ ๕๐๐ ชาติ โดยไม่เจือปนเลย วาทะว่าคนถ่อยนั้นวัจฉภิกษุประพฤติมานาน เพราะฉะนั้น วัจฉภิกษุนี้จึงร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้ายวาทะว่า คนถ่อย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

มายา มานะ ย่อมไม่เป็นไปในผู้ใด ผู้ใดมีความโลภสิ้นไปแล้ว ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 332

ความหวัง ผู้ละความโกรธได้แล้ว มีจิตเย็นแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสมณะ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ.

จบปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖

อรรถกถาปิลินทวัจฉสูตร

ปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปิลินฺทวจฺโฉ ความว่า บทว่า ปิลินทะ เป็นชื่อของพระเถระ ชนทั้งหลายจำพระเถระได้โดยโคตรว่า วัจฉะ.

บทว่า วสลวาเทน สมุทาจรติ ความว่า พระเถระย่อมกล่าว ย่อมเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อย โดยนัยมีอาทิว่า มาเถอะ คนถ่อย หลีกไปเถอะ คนถ่อย.

บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู แปลว่า ภิกษุเป็นอันมาก. ภิกษุเหล่านั้นเห็นพระเถระร้องเรียกเช่นนั้น เมื่อไม่รู้ว่าพระเถระเป็นพระอรหันต์กล่าวอย่างนั้นเพราะยังละวาสนาไม่ได้ จึงคิดว่า พระเถระนี้เห็นจะเป็นผู้มุ่งร้ายจึงร้องเรียกอย่างนี้ มีประสงค์จะพูดอวด จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะให้ออกจากความเป็นผู้มุ่งร้ายนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปิลินทวัจฉะ เรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อย.

ส่วนเกจิอาจารย์กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายจำพระเถระนี้ได้ว่า เป็นพระอรหันต์ คิดว่า ก็พระเถระนี้เรียกภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ด้วยคำหยาบ อุตริมนุสธรรมในพระเถระนี้เห็นจะไม่มีจริงกระมัง ดังนี้ ไม่รู้การ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 333

เรียกอย่างนั้นของท่านด้วยอำนาจวาสนา และไม่เชื่อว่าท่านเป็นพระอริยะ จึงสำคัญในการเพ่งโทษ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงประกาศว่า พระเถระไม่มีความมุ่งร้าย จึงรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งเรียกเธอมา แล้วตรัสแก่เธอต่อหน้าว่า ภิกษุนี้เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุที่เคยชินมาในกาลก่อน หาได้ประสงค์ในการกล่าวคำหยาบไม่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ มนสิกริตฺวา ความว่า พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า วัจฉะ ได้ยินว่า เธอเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย จริงหรือ เมื่อพระเถระกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า เมื่อทรงรำพึงว่า วัจฉะนี้ไม่สละวาทะว่าคนถ่อย เพราะวาสนาอันเศร้าหมอง แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีต เธอก็ได้เกิดในชาติพราหมณ์หรือหนอ จึงทรงมนสิการถึงขันธสันดานที่เธอเคยอยู่ในอดีตชาติอันเป็นที่อยู่แห่งขันธ์ในปางก่อนของเธอด้วยบุพเพนิวาสญาณและสัพพัญญุตญาณ คือ กระทำไว้ในพระทัยของพระองค์โดยกระทำให้ประจักษ์ เหมือนผลมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ.

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ตรัสเรียก เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มา โข ตุมฺเห ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิเสธ. มา ศัพท์นั้นเชื่อมกับบทว่า อุชฺฌายิตฺถ นี้. บทว่า มา อุชฺฌายิตฺถ ความว่า พวกเธออย่าคิด คือ มองดูไปทางต่ำ.

ก็บทว่า วจฺฉสฺส ภิกฺขุโน เป็นจตุตถีวิภัตติ เพราะการเพ่งโทษเป็นการริษยา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 334

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความที่เธอไม่ควรจะเพ่งโทษ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหาได้มุ่งร้ายเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยไม่. พระดำรัสนั้นมีใจความดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะนี้ หามุ่งร้าย มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตถูกโทสะ พยาบาทประทุษร้าย เรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยไม่ เธอถอนพยาบาทได้ด้วยมรรคนั่นเอง. เมื่อจะทรงแสดงเหตุอันสำเร็จมาแต่ชาติก่อนแห่งการเรียกเช่นนั้นของเธอ แม้ในเมื่อเธอไม่มีความมุ่งร้ายด้วยประการอย่างนี้ จึงตรัสว่า วจฺฉสฺส ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺโพกิณฺณา ได้แก่ ไม่เจือปน คือ ไม่มีลำดับขั้นโดยลำดับแห่งชาติ มีขัตติยชาติเป็นต้น.

บทว่า ปญฺจ สตานิ พฺราหฺมณกุเล ปจฺจาชาตานิ ความว่า วัจฉะได้เกิดเฉพาะในสกุลพราหมณ์ตามลำดับชาติทั้งหมดถึง ๕๐๐ ชาติ.

บทว่า โส ตสฺส วสลวาโท ทีฆรตฺตํ สมุทาจิณฺโณ ความว่า วาทะคนถ่อยของวัจฉภิกษุนั้น ซึ่งเธอแม้เป็นพระขีณาสพก็ยังประพฤติอยู่ในบัดนี้ เป็นวาทะที่เธอสั่งสมประพฤติมาตลอดกาลนาน เพราะเธอเกิดเป็นชาติพราหมณ์เป็นเวลาประมาณ ๕๐๐ ชาติ โดยกขึ้นเบื้องสูงนับแต่ชาตินี้ไป. จริงอยู่ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้กระด้างด้วยมานะที่สำเร็จมาแต่ชาติ จึงร้องเรียกผู้อื่นด้วยวาทะว่าคนถ่อย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อชฺฌาจิณฺโณ ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า เตน ความว่า ด้วยภาวะที่เธอเคยประพฤติมาเช่นนั้นตลอดกาลนาน. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงว่า เป็นเหตุ คือ เป็นวาสนาของการร้องเรียกเช่นนั้นของเธอ. ก็ชื่อว่าวาสนานี้ คืออะไร? อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คือ อธิมุตติ ปานประหนึ่งสักว่าความสามารถ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 335

อันกิเลสที่เธออบรมมาตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ติดอยู่ อันเป็นเหตุแห่งความประพฤติเหมือนความประพฤติของคนผู้ยังละกิเลสไม่ได้ ในสันดาน แม้ของท่านผู้เว้นจากกิเลสได้แล้ว. ก็ว่าด้วยการละกิเลสเครื่องกางกั้นไญยธรรมด้วยความสมบูรณ์แห่งอภินิหาร เหตุแห่งความประพฤตินี้นั้น ไม่มีในสันดานของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีในสันดานของพระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ยังละกิเลสอย่างนั้นไม่ได้ เพราะพระตถาคตเท่านั้นทรงเห็นอนาวรณญาณ.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ กล่าวคือ ความไม่มีการมุ่งร้าย ในเมื่อท่านปิลินทวัจฉะแม้จะเรียกผู้อื่นว่าคนถ่อย.

บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศการบรรลุพระอรหัตตผลของเธอ.

บทว่า ยมฺหิ น วสติ น มาโน ความว่า มายามีลักษณะปกปิดโทษที่มีอยู่ และมานะมีลักษณะพองขึ้นอันเป็นไปด้วยการยกย่อง โดยนัยมีอาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในพระอริยบุคคลใด คือ ไม่เป็นไป ไม่เกิดขึ้น เพราะท่านถอนได้แล้วด้วยมรรคจิต.

บทว่า โย วีตโลโภ อมโม นิราโส ความว่า ก็บุคคลใดชื่อว่าปราศจากโลภะ เพราะปราศจากโลภะอันมีลักษณะยึดอารมณ์โดยประการทั้งปวง อันเป็นไปโดยปริยายแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าไม่ยึดว่าเป็นของเรา คือ ไม่หวงแหน เพราะไม่มีการยึดถือในอารมณ์มีรูปเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นของเรานั่นแหละ ชื่อว่าหมดความหวัง เพราะไม่หวังภพ เป็นต้น แม้ที่เป็นอนาคต.

บทว่า ปนุณฺณโกโธ ความว่า ชื่อว่ากำจัดความโกรธได้แล้ว คือ ถอนอาฆาตได้แล้ว เพราะละความโกรธซึ่งมี

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 336

ลักษณะขุ่นเคืองโดยประการทั้งปวง ด้วยอนาคามิมรรค.

บทว่า อภินิพฺพุตตฺโต ความว่า บุคคลใดมีจิตเย็นสนิท คือ เยือกเย็นด้วยการดับสนิทซึ่งกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะถอนมายา มานะ โลภะ และโกธะได้ และเพราะละธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด โดยความที่สังกิเลสเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกับมายาเป็นต้นนั้น.

บทว่า โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลนั้น คือ ผู้เห็นปานนั้น เป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการทั้งปวง, ผู้นั้นแหละชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป และเป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอ, และผู้นั้นแหละชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสโดยประการทั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะผู้เป็นอย่างนั้นนั่นแหละพึงเป็นผู้มุ่งร้ายทำกายกรรมเป็นต้นไรๆ ให้เป็นไปอย่างไร ก็เธอย่อมร้องเรียกด้วยวาทะว่าคนถ่อย เพราะยังละวาสนาไม่ได้อย่างเดียวแล.

จบอรรถกถาปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖