๑๐. สารีปุตตสูตร ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงับ
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 475
๑๐. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงับ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 475
๑๐. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงบ
[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของตนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของตนเองในที่ไม่ไกล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 476
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ภิกษุผู้จิตสงบระงับ มีตัณหาอันจะนำไปในภพตัดขาดแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว พ้นแล้วจากเครื่องผูกแห่งมาร.
จบสารีปุตตสูตรที่ ๑๐
จบเมฆิยวรรคที่ ๔
อรรถกถาสารีปุตตสูตร
สารีปุตตสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตโน อุปสมํ ความว่า ความสงบกิเลสของตนได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณ.
ก็ท่านพระสารีบุตร เห็นประจักษ์ความเดือดร้อน ความกระวนกระวาย ความเร่าร้อน และความทุกข์ อันเกิดแต่กิเลสมีราคะเป็นต้น และทุกข์มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และปริเทวะเป็นต้น มีอภิสังขารคือกิเลสเป็นเหตุ ของเหล่าสัตว์ผู้ยังไม่สงบกิเลส แล้วพิจารณาทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลของสัตว์เหล่านั้นทั้งในอดีตและอนาคต แผ่กรุณาหวนระลึกถึงทุกข์มีประมาณไม่น้อย แม้ที่ตนเคยเสวยในคราวเป็นปุถุชน หรือที่มีกิเลสเป็นเหตุ จึงพิจารณาเนืองๆ ถึงความสงบกิเลสของตนว่า กิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์มากมายชื่อเช่นนี้ บัดนี้ เราละได้เด็ดขาดแล้ว. อนึ่ง เมื่อจะพิจารณา ย่อมพิจารณาถึงความสงบกิเลสโดยถ่องแท้ด้วยมรรคญาณนั้นๆ ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 477
กิเลสมีประมาณเท่านี้สงบแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ประมาณเท่านี้สงบแล้วด้วยสกทาคามิมรรค ประมาณเท่านี้สงบแล้วด้วยอนาคามิมรรค ประมาณเท่านี้สงบแล้วด้วยอรหัตตมรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อตฺตโน อุปสมํ ปจฺจเวกฺขมาโน ดังนี้เป็นต้น. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระเถระเข้าอรหัตตผลสมาบัติ พิจารณาสมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาความสงบเนืองๆ อย่างนี้ว่า ภาวะที่อุปสมะนี้มีความสงบและประณีต เพราะเป็นอารมณ์แห่งอสังขตธาตุ อันมีความสงบโดยสิ้นเชิง และเพราะสงบกิเลสโดยชอบด้วยตนเอง. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ก็ในที่นี้ อรหัตตผลอันเกิดในที่สุดแห่งความสงบกิเลสได้เด็ดขาด ชื่อว่าอุปสมะ ท่านนั่งพิจารณาอุปสมะนั้นอยู่.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวงถึงอรรถ คือ การพิจารณาการละกิเลสอันเป็นเหตุให้ท่านพระสารีบุตรมีปัญญามากเป็นต้น ไม่ทั่วไปแก่สาวกอื่นในบรรดาสาวกทั้งหลาย หรือพระอรหัตตผล ซึ่งกล่าวโดยปริยายแห่งอุปสมะ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงอานุภาพของอุปสมะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่าผู้มีจิตสงบระงับ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตสงบระงับนั่นเอง. จริงอยู่ จิตชื่อว่าเข้าไปสงบ เพราะกิเลสเข้าไปสงบโดยข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ ท่านจึงไม่กล่าวว่า อุปสนฺตสนฺตํ ความสงบระงับโดยประการทั้งปวง เพราะอุปสมะนั้นยังไม่สงบสิ้นเชิง เพราะไม่เหมือนสงบด้วยอรหัตตมรรค. ส่วนจิตของท่านผู้ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะท่านตัดกิเลสได้เด็ดขาดทีเดียว เป็นกิเลสที่สงบด้วยมรรคเบื้องต่ำอันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 478
ภาวะไม่จำต้องสงบกิเลสอีก ท่านจึงเรียกว่าสงบระงับ เพราะสงบได้อย่างสิ้นเชิง.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่าผู้มีจิตสงบระงับ เพราะท่านมีจิตสงบระงับนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง อุปสมะ ท่านเรียกว่า อุปสันตะ. เพราะฉะนั้น บทว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส จึงหมายความว่า ผู้มีจิตสงบโดยเข้าไปสงบอย่างสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อพระขีณาสพทั้งหมดสงบกิเลสได้เด็ดขาด แต่ความสงบกิเลสของพระธรรมเสนาบดียังมีพิเศษ อันเป็นเหตุถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ ไม่ทั่วไปแก่สาวกอื่นในบรรดาสาวกทั้งหลาย จึงตรัสให้พิเศษด้วย อุปสนฺต ศัพท์ว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส ผู้มีจิตสงบระงับ.
ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- จิตสงบอย่างยิ่ง คือ มั่นคง ชื่อว่า อุปสนฺต จิตที่สงบระงับด้วยอุปสันตจิตนั้นแหละ ชื่อว่าอุปสันตสันตจิต. จิตของท่านเป็นเช่นนั้น คำทั้งหมด เหมือนกับคำที่มีในก่อนนั้นแล. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสรรเสริญชมเชยท่านพระสารีบุตรนั้นโดยอเนกปริยาย โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรมีปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาร่าเริงใจ มีปัญญาเร็ว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาเป็นเหตุตรัสรู้.
บทว่า เนตฺติจฺฉินฺนสฺส ความว่า ภวตัณหา ท่านเรียกว่า เนตติ เพราะนำสังสารวัฏฏ์ไป. ชื่อว่าผู้มีเนตติจฉินนะ เพราะท่านตัดเนตติได้ขาดแล้ว. ของท่านผู้มีเนตติขาดแล้วนั้น อธิบายว่า ผู้ละตัณหาได้แล้ว.
บทว่า มุตฺโต โส มารพนฺธนา ความว่า ผู้นั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ได้แก่ ผู้มีกิเลสเครื่องพยุงสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว จากเครื่องผูกแห่งมารทั้งปวง ท่านไม่มีกิจที่จะต้องทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 479
เพราะท่านพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดี จึงพิจารณาความสงบของตน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๑๐
จบเมฆิยวรรควรรณนาที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เมฆิยสูตร ๒. อุทธตสูตร ๓. โคปาลสูตร ๔. ชุณหสูตร ๕. นาคสูตร ๖. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๗. สารีปุตตสูตร ๘. สุนทรีสูตร ๙. อุปเสนวังคันตปุตตสูตร ๑๐. สารีปุตตสูตร และอรรถกถา.