พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. กุมารกสูตร ว่าด้วยตรัสความทุกข์แก่เด็กหนุ่ม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35325
อ่าน  534

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 518

๔. กุมารกสูตร

ว่าด้วยตรัสความทุกข์แก่เด็กหนุ่ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 518

๔. กุมารกสูตร

ว่าด้วยตรัสความทุกข์แก่เด็กหนุ่ม

[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เด็กรุ่นหนุ่มมากด้วยกัน จับปลาอยู่ในระหว่างพระนครสาวัตถีกับพระวิหารเชตวัน ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็กรุ่นหนุ่มมากด้วยกัน จับปลาอยู่ในหว่างพระนครสาวัตถีกับพระวิหารเชตวัน ครั้นแล้ว เสด็จเข้าไปหาเด็กรุ่นหนุ่มเหล่านั้น แล้วได้ตรัสถามว่า พ่อหนูทั้งหลาย เธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 519

ความทุกข์ไม่เป็นที่รักของเธอทั้งหลายมิใช่หรือ เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รักของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ถ้าท่านทั้งหลายกลัวความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้ ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย.

จบกุมารกสูตรที่ ๔

อรรถกถากุมารกสูตร

กุมารกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุมารกา แปลว่า คนหนุ่ม. แต่ในที่นี้คนหนุ่ม ซึ่งรู้อรรถของสุภาษิตและทุพภาษิต ท่านประสงค์ว่า กุมารกะ. จริงอยู่ สัตว์เหล่านี้ จำเดิมแต่วันที่เกิดมาจนถึงอายุ ๑๕ ปี ท่านเรียกว่า กุมารกะ และว่า พาละ ต่อจากนั้น มีอายุ ๒๐ ปี ท่านเรียกว่า คนหนุ่มสาว.

บทว่า มจฺฉเก พาเธนฺติ ความว่า เด็กหนุ่มเหล่านั้น ในฤดูแล้ง เมื่อน้ำในสระแห่งหนึ่งใกล้หนทางแห้งแล้ว จึงพากันวิดน้ำที่ขังอยู่ในที่ลุ่ม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 520

จับและฆ่าปลาตัวเล็กๆ ด้วยหมายใจว่า เราจักปิ้งกิน.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระองค์เสด็จแวะจากทางเข้าไปยังสระน้ำหน่อยหนึ่ง แล้วประทับยืนอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิ. ก็เพราะเหตุไร จึงเสด็จเข้าไปหา. เพราะเพื่อจะให้เด็นเหล่านั้นเกิดควาคุ้นเคยกับพระองค์ จึงเสด็จเข้าไปหา.

ศัพท์ว่า โว ในคำนี้ว่า ภายถ โว เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถปัญจมีภัตติ อธิบายว่า ทุกฺขสฺมา จากทุกข์.

ด้วยบทว่า อปฺปิยํ โว ทุกฺขํ พระองค์ตรัสถามว่า ทุกข์ที่เกิดในร่างกายของพวกเธอ ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา มิใช่หรือ?

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวงซึ่งอรรถนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ไม่ปรารถนาทุกข์เพื่อตนเลย แต่ปฏิบัติเหตุแห่งทุกข์อยู่ โดยใจความเป็นอันชื่อว่า ปรารถนาทุกข์อยู่นั่นเอง.

บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อันเกียดกั้นการกระทำชั่ว และประกาศโทษของการทำชั่ว.

อุทานนั้นมีความหมายดังต่อไปนี้ ถ้าว่า ทุกข์อันจะให้เป็นไปในอบายทั้งสิ้น และอันต่างด้วยความเป็นผู้มีอายุน้อย และความเป็นผู้มีส่วนชั่วแห่งมนุษย์เป็นต้นในสุคติ เป็นธรรมชาติไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนาสำหรับพวกท่าน ถ้าพวกท่านกลัวทุกข์นั้นไซร้ พวกท่านอย่าได้กระทำ คือ อย่าได้ก่อกรรมชั่ว คือ กรรมลามก แม้มีประมาณน้อย ชนิดปาณาติบาต เป็นต้น ทางกาย หรือทางวาจา ทั้งในที่แจ้ง คือ ไม่ปิดบัง เพราะปรากฏแก่คนอื่น (และ) ชนิดอภิชฌา เป็นต้น เพราะในมโนทวาร ทั้งในที่ลับ คือ ปกปิด โดยความไม่ปรากฏแก่คนอื่น ถ้าว่า ท่านทำกรรมชั่วนั้นบัดนี้ หรือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 521

จักทำในอนาคตไซร้ ทุกข์อันเป็นผลของกรรมนั้น ในอบาย ๔ มีนรก เป็นต้น และในมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่ติดตามพวกเราผู้หนีไปข้างโน้น ข้างนี้ ด้วยความประสงค์ดังว่ามานี้ แม้พวกท่านจะเหาะหนี คือ จงใจหลีกหนีไป ก็ไม่หลุด คือ ไม่พ้นจากทุกข์นั้นไปได้ ท่านแสดงไว้ว่า จะให้ผล ในเมื่อความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยอื่น มีคติและกาลเป็นต้นนั่นแล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลายเน ดังนี้ก็มี ความว่า เมื่อการไป คือ การหลีกไปในที่ใดที่หนึ่งมีอยู่ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. ก็ความนี้ พึงแสดงด้วยคาถานี้ว่า ผู้ทำกรรมชั่ว จะหนีไปในอากาศ หรือท่ามกลางสมุทร ฯลฯ ย่อมไม่พ้นจากกรรมชั่วนั้นไปได้.

จบอรรถกถากุมารกสูตรที่ ๔