พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อาหุสูตร ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลและกุศลธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35334
อ่าน  463

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 606

๓. อาหุสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลและกุศลธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 606

๓. อาหุสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลและกุศลธรรม

[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ทรงพิจารณาอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่พระองค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญบริบูรณ์.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่พระองค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญบริบูรณ์ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 607

สิ่งทั้งปวงได้มีแล้วในกาลก่อน ไม่มีแล้วในกาลนั้น สิ่งทั้งปวงไม่มีแล้วในกาลก่อน ได้มีแล้วในกาลนั้น ไม่มีแล้วจักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้.

จบอาหุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอาหุสูตร

อาหุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตโน อเนเก ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ปหีเน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณากิเลส ๑๐๐๕ อันเป็นไปตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ในสันดานของพระองค์ มีโลภะ โทสะ โมหะ วิปริตมนสิการ อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมสัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓ วิปัลลาส ๔ อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ คัณฐะ ๔ ถึงอคติ ๔ ตัณหุปาทาน ๔ เจโตขีละ ๕ เจโตวินิพพันธะ ๕ นีวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕ วิวาทมูล ๖ ตัณหากาย ๖ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ตัณหามูลกะ ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิปริต ๑๐๘ เป็นต้นเป็นประเภทก็ดี ธรรมอันชั่วช้าลามกเป็นอเนก ที่ชื่อว่าเป็นอกุศล เพราะอรรถว่าเกิดแต่ความเป็นผู้ไม่ฉลาด แม้ที่เกิดร่วมกับกิเลส ๑๐๐๕ นั้นก็ดี ที่พระองค์ทรงละแล้ว คือ ตัดขาดแล้ว ด้วยอริยมรรค ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 608

พร้อมด้วยวาสนา คือ พระองค์นั่งพิจารณาตามลำดับบทว่า กิเลสแม้นี้ เราละได้แล้ว กิเลสแม้นี้ เราละได้แล้ว ดังนี้.

บทว่า อเนเก จ กุสเล ธมฺเม ได้แก่ พระองค์ทรงนั่งพิจารณากุศล คือ ธรรมที่หาโทษมิได้ของพระองค์เป็นอเนก มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณเครื่องกำหนดกำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชญาณ ๔ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยญาณ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสารณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนญาณ ๕ วิมุตติปริปาจนียสัญญา ๕ อนุสสติฏฐาน ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สตตวิหารธรรม ๖ อนุตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖ อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ ทักขิเณยยปุคคลเทศนา ๗ ขีณาสวพลเทศนา ๗ ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ๘ สัมมัตตะ ๘ โลกธรรมาติกกมะ ๘ อารัมภวัตถุ ๘ อักขณเทศนา ๘ มหาปุริสวิตก ๘ อภิภายตนเทศนา ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียรอันบริสุทธิ์ ๙ สัตตาวาสเทศนา ๙ อาฆาตปฏิวินยเทศนา ๙ สัญญา ๙ นานัตถะ ๙ อนุปุพพวิหาร ๙ นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ สัมมัตตะ ๑๐ อริยวาส ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ อานิสงส์แห่งเมตตา ๑๑ อาการแห่งจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๔ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อปรันตปนียธรรม ๑๖ มหาวิปัสสนา ๑๘ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 609

ญาณวัตถุ ๔๔ อุทยัพพยญาณ ๕๐ กุศลธรรมเกิน ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติมหาวชิรญาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ ปัจจเวกขณเทศนาญาณอันเป็นวิสัยแห่งสมันตปัฏฐานซึ่งมีนัยหาที่สุดมิได้ ญาณที่ประกาศอัธยาศัยเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายผู้หาที่สุดมิได้ ในโลกธาตุอันหาที่สุดมิได้เหมือนกัน อันถึงแล้วซึ่งความเจริญเต็มที่แห่งการบำเพ็ญพระบารมี และการเจริญมรรค ตลอดกาลหาที่สุดมิได้ กระทำพุทธคุณอันบ่ายหน้าต่อมนสิการให้เป็นวรรคๆ คือ ให้เป็นกองๆ ด้วยอำนาจพระหฤทัยว่า ธรรมอันหาโทษมิได้ แม้เหล่านี้มีอยู่ในเรา ธรรมอันหาโทษมิได้ แม้เหล่านี้มีอยู่ในเรา. ก็ธรรมเหล่านั้นอาจมนสิการได้ โดยมีการแสดงยังเหลืออยู่ทีเดียว ไม่อาจมนสิการได้โดยหมดสิ้น. พุทธคุณทั้งหมด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่อาจมนสิการตามลำดับบทได้หมดสิ้น. เพราะเป็นธรรมหาที่สุดมิได้ หาปริมาณมิได้. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

แม้พระพุทธเจ้าจะพึงพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หากไม่ตรัสอย่างอื่นแม้ตลอดกัป กัปก็จะพึงหมดสิ้นไปในระหว่างกาลนาน คุณของพระตถาคตทั้งหลายก็ไม่หมดสิ้น.

ตรัสไว้อีกว่า

ใครๆ ไม่พึงนับนามของพระมเหสีเจ้า โดยพระคุณที่มีอยู่ พึงยกพระนามขึ้นโดยพระคุณ แม้ตั้งพันนาม.

ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เสด็จเข้าพระวิหารประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี เมื่อภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 610

แสดงวัตรแล้วหลีกไป จึงเสด็จเข้ามหาคันธกุฎี ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงส่งพระญาณอันมีอดีตชาติของพระองค์เป็นอารมณ์ไป. ลำดับนั้น อดีตชาติของพระองค์มีประเภทหาที่สุดหาประมาณมิได้ ปรากฏชัดแจ้งตลอดกาลหาระหว่างมิได้. พระองค์ทรงส่งญาณจารซึ่งมีกิเลสเป็นอารมณ์ว่า กิเลสเหล่านี้เป็นมูลแห่งทุกขันธ์อันใหญ่หลวงอย่างนี้ ทรงพิจารณากิเลสเหล่านั้นตามลำดับโดยมุข คือ ปหานะ เมื่อจะพิจารณาอริยมรรค พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งปริวาส พร้อมทั้งอุทเทส อันกระทำการละกิเลสเหล่านั้นอีกว่า กิเลสเหล่านี้หนอ เราละได้เด็ดขาดแล้วด้วยดี จึงทรงกระทำไว้ในพระทัยซึ่งธรรมอันหาโทษมิได้มีศีลเป็นต้นของพระองค์ อันมีประเภทหาที่สุดหาประมาณมิได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาอกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกที่พระองค์ละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกที่ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา. ครั้นทรงพิจารณาอย่างนี้แล้ว จึง ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงปีติและปราโมทย์อันเกิดขึ้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ปุพฺเพ ความว่า ก็ก่อนแต่เกิดอรหัตตมรรคญาณ หมู่กิเลสมีราคะเป็นต้นทั้งหมดนี้ ได้มีในสันดานของเราแล้ว ในหมู่กิเลสนี้ แม้กิเลสไรๆ จะไม่มีก็หามิได้.

บทว่า ตทา นาหุ ความว่า ในกาลนั้น คือ เวลานั้น ได้แก่ ในขณะอริยมรรค หมู่กิเลสไม่ได้มี คือ ไม่ได้มีเลย. ในหมู่กิเลสนั้น กิเลสแม้มีประมาณน้อย ชื่อว่าเรายังไม่ได้ละในขณะอริยมรรค ย่อมไม่มี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 611

ตโต นาหุ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ต่อจากขณะแห่งอริยมรรคนั้น กิเลสไม่มีแล้ว.

บทว่า นาหุ ปุพฺเพ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ หาประมาณมิได้ของเรานี้ใด บัดนี้ เราได้ประสบบริบูรณ์แล้วด้วยภาวนา ธรรมอันหาโทษมิได้แม้นั้น ในกาลก่อนแต่ขณะอริยมรรคไม่ได้มีแล้ว คือ ไม่มีเลย.

บทว่า ตทา อหุ ความว่า ก็อรหัตตมรรคญาณเกิดขึ้นแก่เราในกาลใด ในกาลนั้น ธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหมด ได้มีแล้วแก่เรา. จริงอยู่ คุณแห่งพระสัพพัญญูทั้งหมด พร้อมด้วยการบรรลุอรหัตตมรรค ย่อมอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทีเดียว.

บทว่า น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ คือ อริยมรรคนั้นใด เกิดขึ้นแล้ว ณ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณของเรา อันเป็นเหตุให้เราละหมู่กิเลสทั้งหมดได้เด็ดขาด. อริยมรรคนั้น ก่อนแต่ขณะมรรค ไม่มี และไม่ได้มีแก่เราเลย ฉันใด แม้อริยมรรคนี้ก็ฉันนั้น จักไม่มี คือ จักไม่เกิดในอนาคต เหมือนกิเลสเหล่านั้น เพราะไม่มีกิเลสที่ตนจะต้องละ ถึงในบัดนี้ คือ ในปัจจุบัน ก็ไม่มี คือ ไม่เกิด เพราะไม่มีกิจที่ตนจะต้องทำ. เพราะพระอริยมรรคไม่เป็นไปมากครั้ง ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ย่อมไม่ถึงฝั่ง ๒ ครั้ง.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพิจารณาถึงอกุศลธรรมที่พระองค์ละได้เด็ดขาดในสันดานของพระองค์ด้วยอริยมรรค และธรรมอันหาโทษมิได้ หาประมาณมิได้ อันถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา จึงทรงเปล่งอุทานอันเกิดด้วยกำลังปีติที่น้อมเข้ามาในตน. ด้วยคาถาต้น ตรัสถึงเวสารัชญาณเบื้องต้นทั้งสองเท่านั้น เวสารัชญาณ ๒ ข้อหลัง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 612

เป็นอันทรงประกาศแล้วทีเดียว เพราะประกาศถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอาหุสูตรที่ ๓