พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อุปปัชชันติสูตร ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35341
อ่าน  510

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 653

๑๐. อุปปัชชันติสูตร

ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 653

๑๐. อุปปัชชันติสูตร

ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์

[๑๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด พวกอัญญเดียรถีย์ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเพียงนั้น แต่เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไม่สักการะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 654

เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง และไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ จริงอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ จริงอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นโลกเพียงใด... แต่เมื่อใดพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก...

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

หิ่งห้อยนั้น ส่งแสงสว่างอยู่ชั่วเวลาพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว หิ่งห้อยนั้นก็อับแสง และไม่สว่างได้เลย พวกเดียรถีย์สว่างเหมือนหิ่งห้อยนั้น ตราบเท่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก แต่เมื่อใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น พวกเดียรถีย์และแม้สาวกของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมไม่หมดจด พวกเดียรถีย์มีทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

จบอุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐

จบชัจจันธวรรคที่ ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 655

อรรถกถาอุปปัชชันติสูตร

อุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยาวกีวํ แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด.

บทว่า ยโต ความว่า ในกาลใด คือ ตั้งแต่เวลาใด หรือว่าในกาลใด. ด้วยบทว่า เอวเมตํ อานนฺท พระองค์ทรงแสดงว่า อานนท์ ข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อตถาคตอุบัติขึ้น ลาภและสักการะย่อมเจริญยิ่งแก่ตถาคตและแก่สาวกของตถาคตเท่านั้น ส่วนพวกเดียรถีย์ เป็นผู้ไร้เดช หมดรัศมี เสื่อมลาภและสักการะ นั่นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นหากลายเป็นอย่างอื่นไม่ จริงอยู่ เมื่อจักรรัตนะของพระเจ้าจักพรรดิปรากฏ สัตวโลก ละจักรรัตนะ ไม่ทำการบูชา สักการะและสัมมานะ ให้เป็นไปในที่อื่น แต่สัตวโลกทั้งมวลล้วนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา จักรรัตนะเท่านั้น โดยภาวะทั้งปวง ดังนั้น แม้วิบากเป็นเครื่องไหลออกเพียงเป็นบุญที่ซ่านไปตามวัฏฏะ ก็ยังมีอานุภาพมากถึงเพียงนั้น จะต้องกล่าวไปไยเล่าถึงพุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ สังฆรัตนะ อันทรงไว้ซึ่งจำนวนคุณหาที่สุดหาประมาณมิได้ ซึ่งเป็นเครื่องสนับสนุนพลังแห่งบุญอันส่งผลให้ไปถึงพระนิพพาน.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์ บังเกิดขึ้นในโลกตามลำดับ จึงทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ เพื่อจาริกไปตามชนบท พระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ให้ชฎิล ๑,๐๐๐ คน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต แวดล้อมไปด้วยพระอรหันต์เหล่านั้น ประทับนั่งที่สวนตาลหนุ่ม ทำชนชาวอังคะและมคธ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 656

ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ประมาณได้ ๑๒๐,๐๐๐ คน ให้หยั่งลงในพระศาสนา ในคราวที่พระองค์ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. จำเดิมแต่นั้น ลาภและสักการะของเดียรถีย์ทุกจำพวก ย่อมกลับเสื่อมลงทีเดียว โดยประการที่ลาภและสักการะเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งพักในที่พักกลางวัน พิจารณาถึงสัมมาปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอริยสงฆ์ เกิดปีติและโสมนัส จึงรำพึงถึงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์เหล่านั้นว่า การปฏิบัติของพวกเดียรถีย์เป็นอย่างไรหนอ. ลำดับนั้น การปฏิบัติชั่วแม้โดยประการทั้งปวงของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ปรากฏแล้วแก่ท่านพระอานนท์. ท่านพระอานนท์คิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่ามีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ผู้บรรลุพระบารมีอย่างสูงสุดแห่งอุปนิสัยของบุญ และสัมมาปฏิบัติ และเมื่อพระอริยสงฆ์ยังทรงอยู่ พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้จึงปฏิบัติชั่วถึงอย่างนี้ ไม่เคยทำบุญ เป็นดังคนกำพร้า จึงจักมีลาภเป็นผู้อันเขาสักการะอย่างไร จึงเกิดความกรุณาในการเสื่อมลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ขึ้น ต่อนั้น จึงได้กราบทูลความปริวิตกของตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสกะเธอว่า อานนท์ เธอมีความปริวิตกผิดไปแล้ว ดังนี้แล้ว จึงตั้งพระศอขึ้นตรงเช่นกับกลองทอง ทรงกระทำพระพักตร์ให้อิ่มเอิบ อันงดงามปานดอกบัวที่บานสะพรั่งให้น่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทรงร่าเริงว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น อานนท์ แล้วทรงอำนวยตามคำของพระอานนท์ โดยนัยมีอาทิว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 657

ยาวกีวญฺจ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ และพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น.

ครั้นเมื่อเกิดเหตุแห่งเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปาเวรุชาดกว่า แม้ในอดีตกาล เรายังไม่อุบัติขึ้น ชนชั้นต่ำบางพวกได้ความนับถือเป็นอันมาก ตั้งแต่เราอุบัติแล้ว อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้เป็นผู้เสื่อมลาภและสักการะ.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวงซึ่งอรรถนี้ว่า ทิฏฐิคติกบุคคลมีสักการะและสัมมานะตลอดเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับตั้งแต่เวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอุบัติแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็เสื่อมลาภสักการะ หมดรัศมี ไร้เดช และพวกเขาไม่พ้นจากทุกข์ไปได้เพราะการปฏิบัติชั่ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสติ ตาว โส กิมิ ความว่า หิ่งห้อยนั้นยังสว่างรุ่งโรจน์แผดแสงอยู่เพียงนั้นนั่นแล.

บทว่า ยาว น อุณฺณมติ ปภงฺกโร ความว่า พระอาทิตย์อันได้นามว่า ปภังกร เพราะกระทำให้มีแสงสว่างในขณะเดียวกัน ในมหาทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ทอแสง คือ ยังไม่ขึ้นไปตราบใด. จริงอยู่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น พวกหิ่งห้อยก็ได้โอกาสเปลี่ยนแสงเช่นกับผลไม้มีหนาม ย่อมส่งแสงในที่มืด.

บทว่า เวโรจนมฺหิ อุคฺคเต หตปฺปโภ โหติ น จาปิ ภาสติ ความว่า เมื่อพระอาทิตย์ อันได้นามว่า วิโรจนะ เพราะมีสภาวะส่องแสง โดยรัศมีแผ่ออกพันดวงกำจัดความมืดโดยรอบขึ้นไปแล้ว หิ่งห้อยหมดรัศมี ไร้เดช เป็นสีดำ ไม่มี

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 658

แสงสว่าง ไม่แผดแสง เหมือนความมืดในราตรี.

บทว่า เอวํ โอภาสิตเมว ติตฺถิยานํ ความว่า หญิงห้อยนั้น ก่อนแต่พระอาทิตย์ขึ้น ย่อมส่องแสงฉันใด พวกเดียรถีย์อันได้นามว่า ตักกิกา เพราะยึดถือทิฏฐิด้วยเหตุเพียงตริตรึกกำหนด สว่าง คือ ตั้งส่องแสงด้วยเดชแห่งลัทธิของตน ตราบเท่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก.

บทว่า น ตกฺกิกา สุชฺฌนฺติ น จาปิ สาวกา ความว่า ก็ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทิฏฐิคติกบุคคลย่อมไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่งาม ทั้งสาวกของทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านั้น ก็ไม่งาม ถึงกระนั้นก็ถูกกำจัดรัศมี ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปในราตรี. อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด พวกเดียรถีย์ก็ยังแผดแสงโชติช่วง ตามลัทธิของตน หลังจากนั้นก็ไม่มีแสง. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่พวกเดียรถีย์ไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของเขาก็ไม่บริสุทธิ์. เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้น กล่าวธรรมวินัยไว้ไม่ดี ไร้การปฏิบัติชอบ ย่อมไม่บริสุทธิ์จากสงสารไปได้ เพราะคำสอนไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ผู้มีทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิชั่ว คือ มีทิฏฐิอันยึดถือไว้ผิด ได้แก่ มีความเห็นผิด เพราะไม่มีลัทธิตามความเป็นจริง ไม่สละทิฏฐินั้นแล้ว แม้ในกาลไหนๆ ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ในสงสารได้เลย.

จบอรรถกถาอุปปัชชันติสูตรที่ ๒

จบชัจจันธวรรควรรณนาที่ ๖

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 659

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อายุสมโอสัชชนสูตร ๒. ปฏิสัลลานสูตร ๓. อาหุสูตร ๔. ปฐมกิรสูตร ๕. ทุติยกิรสูตร ๖. ติตถสูตร ๗. สุภูติสูตร ๘. คณิกาสูตร ๙. อุปาติสูตร ๑๐. อุปปัชชันติสูตร และอรรถกถา.