๕. จุนทสูตร ว่าด้วยเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย
[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 731
๕. จุนทสูตร
ว่าด้วยเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 731
๕. จุนทสูตร
ว่าด้วยเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย
[๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้เมืองปาวา นายจุนทกัมมารบุตรได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จมาถึงเมืองปาวาแล้วประทับอยู่ ณ อัมพวันของเราใกล้เมืองปาวา ลำดับนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตรอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตรทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และเนื้อสุกรอ่อนเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน แล้วให้กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตสำเร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 732
ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้นแล้วตรัสกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนจุนทะ เนื้อสุกรอ่อนอันใดท่านได้ตกแต่งไว้ ท่านจงอังคาสเราด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น ส่วนขาทนียโภชนียาหารอื่นใดท่านได้ตกแต่งไว้ ท่านจงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารนั้นเถิด นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเนื้อสุกรอ่อนที่ได้ตกแต่งไว้ และอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารอย่างอื่นที่ได้ตกแต่งไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนจุนทะ ท่านจงฝังเนื้อสุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้นเสียในบ่อ เราไม่เห็นบุคคลผู้บริโภคเนื้อสุกรอ่อนนั้นแล้วพึงให้ย่อยไปโดยชอบในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ นอกจากตถาคต นายจุนทกัมมารบุตรตรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ฝั่งเนื้อสุกรอ่อนที่ยังเหลือเสียในบ่อ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตรเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.
[๑๖๓] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยภัตของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว เกิดอาพาธกล้า เวทนากล้า มีการลงพระโลหิตใกล้ต่อนิพพาน ได้ยินว่าในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นไม่ทุรนทุราย ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 733
กะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักไปเมืองกุสินารา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นนักปราชญ์ เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว อาพาธกล้า ใกล้ต่อนิพพาน เกิดพยาธิกล้าขึ้นแก่พระศาสดาผู้เสวยเนื้อสุกรอ่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิตอยู่ ได้ตรัสว่า เราจะไปนครกุสินารา.
[๑๖๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะออกจากทาง แล้วเสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อยนัก จักนั่ง ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนืออาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวาย ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา เรากระทำ จักดื่มน้ำ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไปแล้ว น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้วขุ่นมัวหน่อยหนึ่ง ไหลไปอยู่ แม่น้ำกุกุฏานที่นี้มีน้ำใสจืดเย็นสนิท มีท่าราบเรียบ ควรรื่นรมย์ อยู่ไม่ไกลนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสวยน้ำและจักสรงชำระพระกายให้เย็นในแม่น้ำกุกุฏานที่นี้ แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 734
เรากระหาย จักดื่มน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถือบาตรเข้าไปยังแม่น้ำนั้น.
[๑๖๕] ครั้งนั้นแล แม่น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ลำดับนั้น พระอานนท์ดำริว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก แม่น้ำนี้แล ถูกล้อเกวียนบดแล้วขุ่มมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ท่านพระอานนท์เอาบาตรตักน้ำ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก แม่น้ำนี้แล ถูกล้อเกวียนบดแล้วขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อข้าพระองค์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่มมัวไหลไปอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยน้ำเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสวยน้ำเถิด ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยน้ำ.
[๑๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำกุกุฏานที ครั้นแล้วเสด็จลงแม่น้ำกุกฏานที ทรงสรงและเสวยเสร็จแล้วเสด็จขึ้น แล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพวัน ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระจุนทกะว่า ดูก่อนจุนทกะ เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด เราเหน็ดเหนื่อยจักนอน ท่านพระจุนทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 735
พระสติสัมปชัญญะมนสิการอุฏฐานสัญญา ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่สำเร็จสีหไสยานั้นเอง. ครั้นกาลต่อมา พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รจนาคาถาเหล่านี้ไว้ว่า
[๑๖๗] พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำกุกุฏานที มีน้ำใสแจ๋วจืดสนิท เสด็จลงไปแล้ว พระตถาคตผู้ศาสดาผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้ มีพระกายเหน็ดเหนื่อยนักแล้ว ทรงสรงและเสวย แล้วเสด็จขึ้น พระศาสดาผู้อันโลกพร้อมทั้งเทวโลกห้อมล้อมแล้วในท่ามกลางแห่งหมู่ภิกษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงประกาศในพระธรรมนี้ เสด็จถึงอัมพวัน แล้วตรัสเรียกภิกษุชื่อจุนทกะว่า เธอจงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด เราจักนอน ท่านพระจุนทกะนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์ทรงอบรมแล้ว ทรงตักเตือน จึงรีบปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้นทีเดียว พระศาสดามีพระกายเหน็ดเหนื่อยนัก ทรงบรรทมแล้ว. ฝ่ายพระจุนทกะก็ได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ ณ ที่นั้น.
[๑๖๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้จะพึงมีบ้าง ใครๆ จะพึงทำความเดือดร้อนให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 736
แล้วปรินิพพาน ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วปรินิพพาน ดูก่อนอาวุโสจุนทะ ข้อนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเท่าๆ กัน มีผลมากและอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก บิณฑบาต ๒ เป็น ไฉน คือ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอๆ กัน มีวิบากเท่าๆ กัน มีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก นายจุนทกัมมารบุตรก่อสร้างกรรมที่เป็นไปเพื่ออายุ เพื่อวรรณะ เพื่อสวรรค์ เพื่อยศ เพื่อความเป็นอธิบดี ดูก่อนอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตรด้วยประการอย่างนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน บุคคลผู้สำรวมย่อมไม่ก่อเวร ส่วนท่านผู้ฉลาดย่อมละบาป ครั้นละบาปแล้วย่อมปรินิพพาน เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ และโมหะ.
จบจุนทสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 737
อรรถกถาจุนทสูตร
จุนทสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มลฺเลสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน ได้แก่ ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณและใหญ่โดยจำนวน. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้นชื่อว่าใหญ่ แม้โดยประกอบด้วยคุณพิเศษมีศีลเป็นต้น เพราะในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ล้าหลังเขาทั้งหมดก็เป็นพระโสดาบัน ชื่อว่าใหญ่ด้วยการใหญ่โดยจำนวน เพราะกำหนดจำนวนไม่ได้. จริงอยู่ จำเดิมตั้งแต่เวลาปลงอายุสังขาร ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว มาแล้ว ไม่ได้หลีกไปเลย.
บทว่า จุนฺทสฺส ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า กมฺมารปุตฺตสฺส ได้แก่ บุตรของนายช่างทอง. เล่ากันมาว่า บุตรของนายช่างทองนั้นเป็นคนมั่งคั่ง เป็นกุฏุมพีใหญ่ เป็นพระโสดาบัน โดยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งแรกนั่นเอง จัดแจงพระคันธกุฎีอันควรแก่ก็ประทับอยู่ของพระศาสดา และที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันแก่ภิกษุสงฆ์ และจัดโรงฉัน กุฏิ มณฑป และที่จงกรม แก่ภิกษุสงฆ์ ในสวนอัมพวันของตน แล้วสร้างวิหารอันประกอบด้วยซุ้มประตู ล้อมด้วยกำแพง มอบถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอัมพวันของนายจุนทะบุตรของช่างทอง ใกล้เมืองปาวานั้น ดังนี้.
บทว่า ปฏิยาทาเปตฺวา ความว่า ให้จัดแจง คือ ให้หุงต้ม.
บทว่า สูกรมทฺทวํ นี้ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า เนื้อสุกรทั่วไปที่อ่อนนุ่มสนิท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 738
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สูกรมทฺทวํ ความว่า ไม่ใช่เนื้อสุกร แต่เป็นหน่อไม้ไผ่ที่พวกสุกรแทะดุน. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า เห็ดที่เกิดในถิ่นที่พวกสุกรแทะดุน. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บ่อเกิดแห่งรสชนิดหนึ่ง อันได้นามว่าสุกรอ่อน. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ก็นายจุนทะบุตรของนายช่างทองสดับคำนั้นว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จปรินิพพานแล้ว คิดว่า ไฉนหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสวยเนื้อสุกรอ่อนนี้แล้ว พึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ดังนี้แล้ว จึงได้ถวายเพื่อประสงค์จะให้พระศาสดาดำรงพระชนมายุได้ตลอดกาลนาน.
บทว่า เตน มํ ปริวิส ได้แก่ จงให้เราบริโภคด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น.
ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น? เพราะ ทรงมีความเอ็นดูแก่สัตว์อื่น. ก็เหตุนั้นพระองค์ได้ตรัสไว้แล้วในพระบาลีนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น เป็นอันพระองค์ทรงแสดงว่า ควรจะกล่าวอย่างนั้น เพราะภิกษาเขานำมาเฉพาะ และคนอื่นไม่ควรจะบริโภค. ได้ยินว่า เทวดาในมหาทวีปทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปละ ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร ใส่โอชารสลงในสุกรอ่อนนั้น. เพราะฉะนั้น ใครๆ อื่นไม่อาจจะให้เนื้อสุกรอ่อนนั้นย่อยได้โดยง่าย. พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น เพื่อจะปลดเปลื้องความว่าร้ายของคนอื่น จึงทรงบันลือสีหนาทโดยนัยมีอาทิว่า จุนทะ เราไม่เห็นเนื้อสุกรอ่อนนั้น. จริงอยู่ เพื่อจะปลดเปลื้องการว่าร้ายของชนอื่นผู้ว่าร้ายว่า ไม่ให้ของที่เหลือจากที่ตนบริโภคแก่ภิกษุ ไม่ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้ฝั่งไว้ในบ่อ ทำให้พินาศ ด้วยคำว่า โอกาส แห่งคำนั้น จงอย่ามี ดังนี้ พระองค์จึงทรงบันลือสีหนาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 739
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ชื่อว่า สเทวกะ เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย.
ชื่อว่า สมารกะ. เพราะเป็นไปกับด้วยมาร.
ชื่อว่า สพรหมกะ เพราะเป็นไปกับด้วยพรหม.
ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี เพราะเป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์.
ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์เกิด.
ชื่อว่า สเทวมนุสสา เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ในโลกนั้น พร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์. ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ หมายเอาเทวดาชั้นปัญจกามาวจร.
ด้วยคำว่า สมารกะ หมายเอา เทวดาชั้นกามาวจรที่ ๖.
ด้วยคำว่า สพรหมกะ หมายเอาพรหมชั้นพรหมกายิกาเป็นต้น.
ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี หมายเอาสมณะผู้เป็นข้าศึก และพราหมณ์ผู้เป็นศัตรูต่อพระศาสนา และหมายเอาสมณะผู้สงบบาป และพราหมณ์ผู้ลอยบาป.
ด้วยคำว่า ปชา หมายเอาสัตวโลก.
ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ หมายเอาเทวดาโดยสมมติและมนุษย์ที่เหลือ ในบทเหล่านั้น ด้วย ๓ บท พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลก โดยโอกาสโลก ด้วย ๒ บท พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลก โดยหมู่สัตว์.
พึงทราบอีกนัยหนึ่งดังต่อไปนี้ ด้วยคำว่า สเทวกะ. ท่านหมายเอาเทวโลกชั้นอรูปาวจร. ด้วยคำว่า สมารกะ ท่านหมายเอาเทวโลกชั้นฉกามาวจร. ด้วยคำว่า สพรหมกะ. ท่านหมายเอาพรหมโลกชั้นรูปาวจร ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณ์เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านหมายเอามนุษยโลกพร้อมด้วยเทพโดยสมมติด้วยอำนาจบริษัท หรือพึงทราบว่า ท่านหมายเอาสัตวโลกที่เหลือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 740
บทว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ผู้บริโภคอยู่.
บทว่า ขโร แปลว่า หยาบ.
บทว่า อาพาโธ ได้แก่ โรคอันไม่ถูกส่วนกัน.
บทว่า พาฬฺหา ได้แก่ มีกำลัง.
บทว่า มรณนฺติกา ได้แก่ กำลังจะตาย คือ สามารถจะให้ผู้ป่วยถึงเวลาใกล้ตาย.
บทว่า สโต สมฺปชาโน อธิวาเสติ ความว่า ตั้งสติไว้ด้วยดี กำหนดด้วยญาณยับยั้งอยู่.
บทว่า อวิหญฺมาโน ความว่า ไม่กระทำให้เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเหมือนธรรมที่ไม่ได้กำหนดโดยอนุวัตตามเวทนา ยับยั้งอยู่ เหมือนไม่ถูกรบกวน ไม่ได้รับความลำบาก.
จริงอยู่ เวทนาเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในหมู่บ้านเวฬุวคามนั่นเอง แต่ถูกพลังแห่งสมาบัติข่มไว้ จึงไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งวันปรินิพพาน เพราะให้สมาบัติน้อมไปเฉพาะทุกๆ วัน. แต่พระองค์ประสงค์จะปรินิพพานในวันนั้นจึงไม่เข้าสมาบัติ เพื่อให้สัตว์เกิดความสังเวชว่า แม้ทรงพลังช้าง ๑,๐๐๐ โกฏิเชือก มีกายเสมอกับด้วยเรือนเพชร มีบุญสมภารที่สั่งสมตลอดกาลประมาณมิได้ เมื่อภพยังมีอยู่ เวทนาเห็นปานนี้ก็ย่อมเป็นไป จะป่วยกล่าวไปไยถึงสัตว์เหล่าอื่นเล่า เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปอย่างแรงกล้า.
บทว่า อายาม แปลว่า มาไปกันเถอะ.
ภายหลัง พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้ตั้งคาถา ซึ่งมีอาทิว่า จุนฺทสฺส ภตฺตํ ภุญฺชิตฺวา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺตสฺส จ สูกรมทฺทเวน ความว่า เกิดพยาธิอย่างแรงกล้าแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวย เพราะไม่ใช่ทรงเสวยพระกระยาหารเป็นปัจจัย. เพราะถ้าโรคอย่างแรงกล้าจักเกิดคือจักได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มิได้เสวยพระกระยาหารแล้วไซร้ แต่เพราะพระองค์เสวยพระกระยาหารอันสนิท เวทนาจึงได้เบาบางลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 741
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงไม่สามารถจะเสด็จไปได้ด้วยพระบาท. พระองค์จึงทรงแสดงสีหนาทที่พระองค์ทรงบันลือว่า กระยาหารที่ผู้ใดบริโภคแล้วพึงถึงความย่อยไปโดยชอบ ฯลฯ เว้นพระตถาคต ดังนี้ ให้เป็นประโยชน์. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าเสียงที่กระหึ่มในฐานะที่ไม่สมควร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุที่พระกระยาหารที่พระองค์ทรงเสวยแล้ว ไม่ทำวิการอะไรๆ ให้เกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระกระยาหารซึ่งเป็นสิ่งแสลงที่กรรมอันได้ช่องแล้วเข้าไปยึดถือ สงบไปโดยประมาณน้อย จึงทำพลังให้เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุให้ประโยชน์ ๓ อย่างตามที่จะกล่าวให้สำเร็จ ฉะนั้น พระกระยาหารนั้นจึงถึงความย่อยไปโดยชอบทีเดียว แต่เพราะเวทนาถึงปางตายที่ใครๆ ไม่รู้แล้ว ไม่ปรากฏแล้ว จึงได้มี ฉะนี้แล.
บทว่า วิริจฺจมาโน ได้แก่ เป็นผู้ทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิต เป็นไปเนืองๆ.
บทว่า อโวจ ความว่า พระองค์ได้ตรัสอย่างนั้น เพื่อประโยชน์แก่ปรินิพพานในที่ที่พระองค์ทรงปรารถนา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุที่เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จไปยังกรุงกุสินารา เพราะเหตุไรพระองค์จึงไม่สามารถปรินิพพานในที่อื่น?
ตอบว่า เพราะพระองค์ไม่สามารถจะปรินิพพานในที่ไหนๆ หามิได้ แต่พระองค์ทรงดำริอย่างนี้ว่า เมื่อเราไปยังกรุงกุสินารา อัตถุปัตติเหตุในการแสดงมหาสุทัสสนสูตรก็จักมี สมบัติอันใดอันเช่นกับสมบัติที่เราพึงเสวยในเทวโลกด้วยอัตถุปปัตติ เหตุนั้นเราก็ได้เสวยแล้วในมนุษยโลก เราจักประดับสมบัตินั้นด้วยภาณวารทั้ง ๒ แล้วจักแสดงธรรม ชนเป็นอันมากได้ฟังดังนั้นแล้วก็จักสำคัญถึงกุศลที่ตนควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 742
กระทำในที่นั้น แม้สุภัททะก็จักมาเฝ้าเราถามปัญหา ในที่สุด การแก้ปัญหาจึงตั้งอยู่ในสรณะ. ได้บรรพชาอุปสมบทแล้วเจริญกัมมัฏฐาน บรรลุพระอรหัต ในเมื่อเรายังทรงชีพอยู่นั่นแล จักเป็นผู้ชื่อว่าปัจฉิมสาวก เมื่อเราปรินิพพานในที่อื่นเสีย ความทะเลาะก็จักมี เพราะธาตุเป็นเหตุ โลหิตจักไหลไปเหมือนแม่น้ำ แต่เมื่อเราปรินิพพานในกรุงกุสินารา โทณพราหมณ์ก็จักสงบวิวาทนั้น แบ่งธาตุทั้งหลายให้ไป ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นเหตุ ๓ ประการดังว่ามานี้ จึงได้เสด็จไปยังกรุงกุสินาราด้วยความอุตสาหะใหญ่.
ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตใช้ในโจทนัตถะ.
บทว่า กิลนฺโตสฺมิ ความว่า เราเป็นผู้ซูบซีด. ด้วยบทนั้น ทรงแสดงเฉพาะเวทนาตามที่กล่าวแล้วว่ามีกำลังรุนแรงทีเดียว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จดำเนินไปในกาลนั้นด้วยอานุภาพของพระองค์ ก็เวทนาอันแรงกล้าเผ็ดร้อน เป็นไปโดยประการที่คนเหล่าอื่นไม่สามารถทำการยกเท้าขึ้นได้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า เราจักนั่ง ดังนี้.
บทว่า อิทานิ แปลว่า ในกาลนี้.
บทว่า ลุลิตํ ได้แก่ อากูล เหมือนถูกย่ำยี.
บทว่า อาวิลํ แปลว่า ขุ่นมัว.
บทว่า อจฺโฉทกา ได้แก่ น้ำที่ใสน้อย.
บทว่า สาโตทกา ได้แก่ น้ำที่มีรสอร่อย.
บทว่า สีโตทกา ได้แก่ น้ำเย็น.
บทว่า เสโตทกา ได้แก่ น้ำปราศจากเปือกตม. จริงอยู่ น้ำ โดยสภาวะมีสีขาว แต่กลายเป็นอย่างอื่นด้วยอำนาจพื้นที่ และขุ่นมัวไปด้วยเปือกตม. แม่น้ำ แม้ขาว มีทรายหยาบสะอาดเกลื่อนกล่น มีสีขาวไหลไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เสโตทกา น้ำขาว.
บทว่า สุปติฏฺา แปลว่า ท่าดี.
บทว่า รมณียา ความว่า อันบุคคลพึงยินดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 743
โดยเป็นส่วนภูมิภาคอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ และชื่อว่าเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ เพราะสมบูรณ์ด้วยน้ำตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า กิลนฺโตสฺมิ จุนฺท นิปชฺชิสฺสามิ ความว่า ในบรรดาตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูลที่พระตถาคตตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ช้าง ๑๐ เชือกเหล่านี้ คือ ช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ ช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ ช้างตระกูลปัณฑระ ๑ ช้างตระกูลตัมพะ ๑ ช้างตระกูลปิงคละ ๑ ช้างตระกูลคันธะ ๑ ช้างตระกูลมังคละ ๑ ช้างตระกูลเหมาะ ๑ ช้างตระกูลอุโบสถ ๑ ช้างตระกูลฉันทันต์ ๑.
กำลังแห่งช้างตามปกติ ๑๐ เชือก กล่าวคือ ช้างตระกูลกาฬาวกะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก รวมความว่า โดยการคำนวณที่คูณด้วย ๑๐ แห่งช้างตามปกติ กำลังกายพระตถาคตซึ่งมีประมาณกำลัง ๑,๐๐๐ โกฏิเชือกทั้งหมดนั้นถึงซึ่งความสิ้นไป เหมือนน้ำที่เขาใส่ไว้ในกระบอกกรองน้ำตั้งแต่ภายหลังภัตรในวันนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากเมืองปาวา ๓ คาวุต จากกุสินารา ประทับนั่งในระหว่างนี้ ในที่ ๒๕ (คาวุต) กระทำความอุตสาหะใหญ่ เสด็จมาถึงกรุงกุสินาราในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคต. พระองค์ทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า โรค ย่อมมาย่ำยีบุคคลผู้ไม่มีโรคทั้งหมดได้ ด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะตรัสพระวาจา อันกระทำความสังเวชแก่สัตวโลก พร้อมทั้งเทวโลก จึงตรัสว่า จุนทะ เราเห็นผู้เหน็ดเหนื่อย จักนอนละ ดังนี้.
การนอนในคำว่า สีหเสยฺยํ นี้ มี ๔ อย่าง คือ การนอนของบุคคลผู้บริโภคกาม ๑ การนอนของพวกเปรต ๑ การนอนของพระตถาคต ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 744
การนอนของพวกสีหะ ๑. ในบรรดาการนอน ๔ อย่างนั้น การนอนที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้บริโภคกามโดยมากย่อมนอนตะแคงซ้าย นี้ชื่อว่า การนอนของผู้บริโภคกาม. การนอนที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเปรตโดยมากย่อมนอนหงาย นี้ชื่อว่าการนอนของพวกเปรต. ฌานที่ ๔ ชื่อว่าการนอนของพระตถาคต. การนอนที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระยาราชสีห์ย่อมนอนตะแคงขวา นี้ชื่อว่าการนอนของสีหะ. จริงอยู่ การนอนของสีหะนี้ ชื่อว่าเป็นการนอนอย่างสูงสุด เพราะมีอิริยาบถอันสูงขึ้นเพราะเดช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมสำเร็จการนอนอย่างสีหะ โดยตะแคงขวา ดังนี้.
บทว่า ปาเท ปาทํ ได้แก่ ซ้อนพระบาทซ้ายเหลื่อมพระบาทขวา.
บทว่า อจฺจาธาย แปลว่า ซ้อน คือ วางข้อเท้าให้เหลื่อม. จริงอยู่ เมื่อข้อเท้าต่อข้อเท้า เมื่อเข่าต่อเข่า เบียดเบียดเสียดกัน เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนื่องๆ การนอนย่อมไม่ผาสุก. แต่เมื่อวางข้อเท้า ให้เหลื่อมกัน โดยที่ไม่เบียดเสียดกัน เวทนาย่อมไม่เกิด การนอนก็ผาสุก. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงบรรทมอย่างนี้.
คาถาเหล่านี้ว่า คนฺตฺวาน พุทฺโธ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายรจนาข้นภายหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นทิกํ ได้แก่ ซึ่งแม่น้ำ.
บทว่า อปฺปฏิโมธ โลเก ได้แก่ ไม่มีผู้เปรียบปานในโลกนี้ คือ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้.
บทว่า นหาตฺวา ปิวิตฺวา อุทตาริ ได้แก่ ทรงสรงสนาน โดยกระทำให้พระวรกายเย็น และทรงดื่มน้ำแล้วเสด็จขึ้นจากน้ำ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรงสนาน สิ่งทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 745
คือ ปลาและเต่าภายในแม่น้ำ น้ำ ไพรสณฑ์ที่ฝั่งทั้งสอง และภูมิภาคทั้งหมดนั้น ได้กลายเป็นดังสีทองไปทั้งนั้น.
บทว่า ปุรกฺขโต ความว่า อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก ชื่อว่ากระทำไว้ในเบื้องหน้า โดยการบูชาและการนับถือ เพราะพระองค์เป็นครูผู้สูงสุดแก่สัตว์ โดยพิเศษด้วยคุณ.
บทว่า ภิกฺขุคณสฺส มชฺเฌ แปลว่า ในท่ามกลางของภิกษุสงฆ์. ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับเวทนาเกินประมาณ จึงไปแวดล้อมอยู่โดยรอบอย่างใกล้ชิด.
บทว่า สตฺถา ความว่า ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงโปรยปรายอนุศาสนีแก่เหล่าสัตว์ ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในสัมปรายภพ และปรมัตถประโยชน์.
บทว่า ปวตฺตา ภควาธ ธมฺเม ความว่า พระศาสดา ชื่อว่าภควา เพราะเป็นผู้มีภาคยธรรมเป็นต้น ทรงประกาศศาสนธรรมมีศีลเป็นต้นในพระศาสนานี้ คือ ทรงขยายพระธรรมหรือพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ให้แพร่หลาย.
บทว่า อมฺพวนํ ได้แก่ สวนอัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั่นเอง.
บทว่า อามนฺตยิ จุนฺทกํ ความว่า ได้ยินว่า ในขณะนั้น ท่านพระอานนท์มัวบิดผ้าอาบน้ำอยู่จึงล่าช้า พระจุนทกเถระได้อยู่ใกล้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกท่านมา.
บทว่า ปมุเข นิสีทิ ได้แก่ นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา โดยยกวัตรขึ้นเป็นประธาน. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เพราะเหตุไรหนอ พระศาสดาจึงตรัสเรียก ดังนี้ พระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกก็มาถึงตามลำดับ. ครั้นท่านพระอานนท์มาถึงตามลำดับอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกมา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 746
บทว่า อุปฺปาทเหยฺย แปลว่า พึงให้เกิดขึ้น. อธิบายว่า ใครๆ ผู้ทำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นจะพึงมีบ้าง.
บทว่า อลาภา ความว่า ข้อที่บุคคลเหล่าอื่นให้ทาน จะจัดว่าเป็นลาภ กล่าวคือ อานิสงส์แห่งทานหาได้ไม่.
บทว่า ทุลฺลทฺธํ ความว่า ความได้เป็นอัตภาพเป็นมนุษย์ แม้ที่ได้ด้วยบุญพิเศษ จัดว่าเป็นการได้โดยยาก.
บทว่า ยสฺส เต แก้เป็น ยสฺส ตว แปลว่า ของท่านใด. ใครจะรู้บิณฑบาตนั้นว่า หุงไว้ไม่สุก หรือเปียกเกินไป. พระตถาคตทรงเสวยบิณฑบาตครั้งสุดท้ายแม้เช่นไร จึงเสด็จปรินิพพาน จักเป็นอันท่านถวายไม่ดีแน่แท้.
บทว่า ลาภา ได้แก่ ลาภ กล่าวคือ อานิสงส์แห่งทานที่มีในปัจจุบันและสัมปรายภพ.
บทว่า สุลทฺธํ ความว่า ความเป็นมนุษย์ท่านได้ดีแล้ว.
บทว่า สมฺมุขา แปลว่า โดยพร้อมหน้า ไม่ใช่โดยได้ยินมา อธิบายว่า ไม่ใช่โดยเล่าสืบๆ กันมา.
บทว่า เมตํ ตัดเป็น เม เอตํ หรือ มยา เอตํ แปลว่า ข้อนั้นเราได้รับทราบแล้ว.
บทว่า เทวฺเม ตัดเป็น เทฺว อิเม แปลว่า บิณฑบาตสองอย่างนี้.
บทว่า สมปฺผลา ได้แก่ มีผลเสมอกันด้วยอาการทั้งปวง.
พระตถาคตทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้วจึงตรัสรู้ ทานนั้นจัดเป็นทานในกาลที่พระองค์ยังละกิเลสไม่ได้ แต่ทานของนายจุนทะนี้ เป็นทานในกาลที่พระองค์หมดอาสวะแล้วมิใช่หรือ แต่เพราะเหตุไร ทานเหล่านี้จึงมีผลเสมอกัน. เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน เพราะมีสมาบัติเสมอกัน และเพราะมีการระลึกเสมอกัน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย แล้วปรินิพพานด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ทรงเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวาย แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ รวมความว่า ทานเหล่านั้นมีผล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 747
เสมอกัน เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน. ในวันตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้าสมาบัติ นับได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ แม้ในวันปรินิพพาน พระองค์ก็ทรงเข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด ทานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีผลเสมอกัน เพราะมีการเสมอกันด้วยการเข้าสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ที่บริโภคบิณฑบาตของผู้ใดแล้วเข้าเจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ความหลั่งไหลแห่งบุญ ความหลั่งไหลแห่งกุศลของผู้นั้นหาประมาณมิได้ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นต่อมา นางสุชาดาได้สดับว่า ข่าวว่าเทวดานั้นไม่ใช่รุกขเทวดา ข่าวว่าผู้นั้นเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์บริโภคบิณฑบาทนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นสิ้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางสุชาดาได้ฟังคำนี้แล้ว หวนระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรง. ครั้นต่อมา เมื่อนายจุนทะสดับว่า ข่าวว่าเราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย ข่าวว่าเราได้รับยอดธรรม ข่าวว่าพระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาตของเรา แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุที่พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่งตลอดกาลนาน จึงหวนระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรงแล. พึงทราบว่า บิณฑบาตทาน ๒ อย่าง ชื่อว่ามีผลเสมอกัน แม้เพราะมีการระลึกถึงเสมอกันอย่างนี้.
บทว่า อายุสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางให้อายุยืนนาน.
บทว่า อุปจิตํ แปลว่า สั่งสมแล้ว คือ ให้เกิดแล้ว.
บทว่า ยสสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางให้มีบริวาร.
บทว่า อาธิปเตยฺยสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางแห่งความเป็นผู้ประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 748
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้งปวงถึงอรรถทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ ความที่ทานมีผลมาก. ความที่พระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมโดยพระคุณมีศีลเป็นต้น ๑ อนุปาทาปรินิพพาน ๑ แล้วจึงทรง เปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททโต ปุญฺํ ปวฑฺฒติ ความว่า บุคคลผู้ให้ทาน ชื่อว่าย่อมก่อบุญอันสำเร็จด้วยทาน เพราะเพรียบพร้อมด้วยจิต และเพรียบพร้อมด้วยทักขิไณยบุคคล ย่อมมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถในบทว่า ททโต ปุญฺํ ปวฑฺฒติ นี้ อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ไม่มากไปด้วยอาบัติในที่ทุกสถาน ย่อมสามารถเพื่อจะรักษาศีลให้หมดจดด้วยดี แล้วบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาโดยลำดับ เพราะผู้บริจาคไทยธรรมย่อมกระทำให้มาก ด้วยเจตนาเป็นเครื่องบริจาค เพราะเหตุนั้น บุญทั้ง ๓ อย่างนี้ มีทานเป็นต้น ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น.
บทว่า สญฺมโต ได้แก่ ผู้สำรวมด้วยการสำรวมในศีล อธิบายว่า ผู้ตั้งอยู่ในสังวร.
บทว่า เวรํ น จียติ ความว่า เวร ๕ อย่างย่อมไม่เกิด. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล หมดจดด้วยศีล ผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และจิต เพราะอธิศีลมีอโทสะเป็นประธาน ย่อมไม่ก่อเวรด้วยใครๆ เพราะเป็นผู้มากด้วยขันติ ผู้นั้นจักเป็นผู้ชื่อว่าก่อเวรแต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ผู้สำรวมคือผู้ระวังนั้น ย่อมไม่ก่อเวร เพราะเหตุมีความสำรวม.
บทว่า กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ ความว่า ก็บุคคลผู้ฉลาด คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี กำหนดกัมมัฏฐานอันเหมาะแก่ตนในอารมณ์ ๓๘ ประการ ย่อมยังฌานต่างด้วยอุปจาระและอัปปนาให้สำเร็จ ชื่อว่า ละ คือ สละอกุศล มีกามฉันทะเป็นต้น อันชั่วช้าลามก ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 749
วิกขัมภนปหาน. ผู้นั้นทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท เริ่มตั้งความสิ้นไปและเสื่อมไปในสังขารทั้งหลาย บำเพ็ญวิปัสสนา ทำวิปัสสนาให้เกิด ย่อมละอกุศลอันชั่วช้าลามกได้อย่างเด็ดขาดด้วยอริยมรรค.
บทว่า ราคโทสโมหกฺขยา ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้นั้นละอกุศลอันลามกอย่างนี้แล้ว ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือ เพราะสิ้นราคะเป็นต้น ต่อแต่นั้น ย่อมปรินิพพานด้วยการดับขันธ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยทักขิณาสมบัติของนายจุนทะ และทรงอาศัยทักขิไณยสมบัติของพระองค์ จึงทรงเปล่งอุทานอันซ่านออกด้วยกำลังแห่งปีติ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ ๕