พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทวิธาปถสูตร ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35360
อ่าน  496

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 780

๗. ทวิธาปถสูตร

ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 780

๗. ทวิธาปถสูตร

ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง

[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลไปในโกศลชนบท มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ ท่านพระนาคสมาละได้เห็นทาง ๒ แพร่งในระหว่างทาง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า เมื่อท่าน พระนาคสมาละกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน พระนาคสมาละว่า ดูก่อนนาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด แม้ครั้งที่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 781

๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระนาคสมาละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า แม้ ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า ดูก่อน นาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละ วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ที่แผ่นดิน ณ หนทางนั้นเอง กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้บาตรและจีวร ดังนี้ แล้ว หลีกไป ครั้นเมื่อท่านพระนาคสมาละเดินไปโดยทางนั้น พวกโจรใน ระหว่างทางออกมาแล้ว ทุบด้วยมือบ้าง เตะด้วยเท้าบ้าง ได้ทุกบาตร และฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย ครั้งนั้น ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก มีผ้าสังฆาฏิ ขาด เข้าไปฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์เดินไปโดยทางนั้น พวกโจรในระหว่างทาง ออกมาแล้ว ทุบด้วยมือและเตะด้วยเท้า ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย แล้ว พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลผู้ถึงเวท ผู้รู้ เที่ยวไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ปะปนกันชนผู้ไม่รู้ ย่อมละเว้นบุคคลผู้ลามกเสียได้ เหมือนนกกระเรียน เมื่อบุคคลเอาน้ำนมปนน้ำเข้าไป ให้ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ละเว้นน้ำ ฉะนั้น.

จบทวิธาปถสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 782

อรรถกถาทวิธาปถสูตร

ทวิธาปถสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน ได้แก่ เป็นผู้เดินทางระยะยาว คือ ทางไกล. บทว่า นาคสมาเลน ได้แก่ พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปจฺฉาสมเณน ได้แก่ ในกาลนั้น พระเถระนี้ได้เป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จดำเนินทาง โดย มีพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ. จริงอยู่ ในประถมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้มีอุปัฏฐากประจำนานถึง ๒๐ ปี. หลังจากนั้น จนถึง ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้อุปัฏฐาก ดุจเงาถึง ๒๕ ปี. แต่กาลนี้ ไม่ใช่มีอุปัฏฐากเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมตา นาคสมาเลน ปจฺฉาสนเณน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เทฺวธาปถํ ได้แก่ หนทาง ๒ แพร่ง. อาจารย์บางพวก กล่าวว่า ทฺวิธาปถํ ดังนี้ก็มี.

ท่านนาคสมาละ เพราะเหตุที่ตนคุ้นกับทางนั้นมาก่อน และเพราะ หมายถึงทางนั้นเป็นทางตรง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เจริญ นี้ทาง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทางนั้นมี อันตราย จึงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทางอื่นจากทางนั้น จึงตรัสว่า นาคสมาละ นี้ทาง. และเมื่อพระองค์ตรัสว่า ทางนี้มีอันตราย จึงไม่เชื่อ แล้วพึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนั้นไม่มีอันตราย การที่ท่าน พระนาคสมาละไม่เชื่อแล้วทูลอย่างนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า มีอันตราย. ท่านนาคสมาละกราบทูลถึง ๓ ครั้งว่า นี้ทาง เสด็จไปทางนี้เถิด ในครั้ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 783

ที่ ๔ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปทางนี้ และ ทางนี้แหละเป็นทางตรง เอาเถอะเราจักถวายคืนบาตรและจีวรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เดินไปทางนี้ เมื่อไม่อาจจะมอบบาตรและจีวร ในพระหัตถ์ของพระศาสดาจึงวางไว้ที่พื้น อันกรรมของตนซึ่งเป็นทางแห่งทุกข์ ปรากฏขึ้น ตักเตือนอยู่ มิได้เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย จึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พื้นดิน ในทางนั้นนั่นเอง แล้วหลีกไป.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า ภควโต ปตฺตจีวรํ ได้แก่ ซึ่งบาตรและ จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งอยู่ในมือของตน. บทว่า ตตฺเถว ความว่า วางไว้ที่พื้นดิน คือ บนแผ่นดินในทางนั้นนั่นเองแล้วหลีกไป. อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้ บาตรและจีวรของพระองค์ ถ้าพระองค์ ปรารถนา ก็จงรับไปเถอะ ถ้าพระองค์ประสงค์จะไปเฉพาะทางที่พระองค์ ปรารถนา. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบาตรและจีวรของพระองค์ ด้วยพระองค์เองเสด็จดำเนินไปสู่ทาง ตามที่ทรงพระประสงค์.

บทว่า อนฺตรามคฺเค โจรา นิกฺขมิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ใน กาลนั้น บุรุษ ๕๐๐ คน เป็นนักเลงมีฝ่ามือเปื้อนเลือด ผิดต่อพระราชา เข้าไปสู่ป่า เลี้ยงชีพด้วยโจรกรรม คิดว่า พวกเราจักตัดทางเจริญ ของ พระราชาโดยความเป็นข้าศึกต่อกัน ดังนี้แล้ว จึงซุ่มอยู่ในป่าใกล้หนทาง. บุรุษเหล่านั้น เห็นพระเถระกำลังเดินทางไป จึงคิดว่า สมณะนี้มาทางนี้ ใช้หนทางที่ไม่สมควรจะใช้ ไม่รู้ว่าเป็นของเรา เอาเถอะเราจักให้ท่านรู้ ดังนี้แล้วโกรธ รีบออกจากพงป่าตบเตะพระเถระให้ล้มลงที่พื้นดินโดยเร็ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 784

แล้วทุบบาตรดินของท่าน ฉีกจีวรให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ เพราะเห็น ว่าเป็นบรรพชิต จึงปล่อยไปด้วยสั่งว่า พวกเราจะยังไม่ฆ่าท่าน ตั้งแต่นี้ ต่อไป ท่านจงรู้ว่า หนทางนี้มีอันตราย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข อายสฺมโตฯ เปฯ วิปฺผาเลสุํ ดังนี้เป็นต้น

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า พระนาคสมาละนี้ไปทางนั้น ถูกโจรเบียดเบียนแสวงหาเรา จักมาในบัดเดี๋ยวนี้แล ดังนี้แล้ว เสด็จไป หน่อยหนึ่ง แวะลงจากทางประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ฝ่ายท่านนาคสมาละแล ย้อนกลับมา ยึดเอาหนทางที่พระศาสดาเสด็จไปนั่นแล กำลัง เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โคนไม้นั้น จึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระศาสดา. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข อายสฺมา นาคสมาโลฯ เปฯ สงฺฆฏิญฺจ วิปฺผาเลสุํ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบว่าท่าน พระนาคสมาละไม่เอื้อเฟื้อต่อคำของพระองค์แล้ว เดินไปยังทางที่ไม่ ปลอดภัย และทรงทราบว่า พระองค์ดำเนินไปยังทางที่ปลอดภัยนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ จรํ แปลว่า เที่ยวไปร่วมกัน. บทว่า เอกโต วสํ นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า สทฺธึ จรํ นั้นนั่นแล. อธิบายว่า อยู่ร่วมกัน. บทว่า มิสฺโส อญฺชเนน เวทคู ความว่า ชื่อว่า ถึงเวท เพราะถึงคือบรรลุ ด้วยอริยมรรคญาณคือสัจจะ ๔ กล่าวคือ เวท เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงรู้ หรือเพราะถึงฝั่งแห่งเวท คือ ไญยธรรม ทั้งสิ้น. ชื่อว่าผู้ไม่รู้ เพราะไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ ของตน. อธิบายว่า ผู้ไม่รู้ คือ คนเขลา. เป็นผู้ปะปนด้วยคนไม่รู้นั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 785

คือ ปะปนโดยเหตุเพียงเที่ยวไปร่วมกัน. บทว่า วิทิตฺวา ปชหาติ ปาปกํ ความว่า ผู้รู้คือทราบโดยภาวะที่ถึงเวทนั้น ย่อมละสิ่งชั่ว คือ สิ่งไม่เจริญ ได้แก่สิ่งที่นำทุกข์มาให้ตน หรือละคนชั่ว คือคนไม่ดีงาม. เปรียบเหมือน อะไร? เปรียบเหมือนนกกระเรียน ดื่มแต่น้ำนมเว้นน้ำ อธิบายว่า นก กระเรียน เมื่อเขานำน้ำนมที่เจือด้วยน้ำเข้าไป ชื่อว่า ดื่มแต่น้ำนม เพราะ เว้นน้ำ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ย่อมละคือเว้นน้ำ กล่าวคือแม่น้ำอันไหล ไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ได้ยินว่า บัณฑิตก็ฉันนั้น แม้อยู่ร่วมกับคนทรามปัญญา ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละบุคคลผู้ทรามปัญญานั้น โดย เอื้อเฟื้อ คือแม้ในกาลบางคราวก็ไม่ยอมปะปนกับพวกเขา.

จบอรรถกถาทวิธาปถสูตรที่ ๗