ไม่รู้และติดข้องในสิ่งที่ไม่มี

 
unnop.h
วันที่  12 ส.ค. 2564
หมายเลข  35392
อ่าน  892

* สภาพธรรมของความไม่รู้ ก็คือโมหเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่เมื่อเกิดกับจิตขณะใด ก็จะปรุงแต่งให้จิตขณะนั้นเป็นไปด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงในสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งอกุศลจิตทุกประเภท จะต้องมีโมหะเป็นเหตุเกิดร่วมด้วยเสมอ

* สภาพธรรมของความติดข้อง ก็คือโลภเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ยินดี พอใจ ต้องการ ปรารถนา ในสิ่งที่กำลังปรากฏ และปรุงแต่งให้จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน) ในขณะนั้นเป็นอกุศลที่ประกอบไปด้วยความติดข้อง

* ในขณะที่มีความติดข้อง จะต้องมีความไม่รู้ เป็นเหตุที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น เพราะการที่จะมีความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีความไม่รู้ความจริงในสิ่งที่ปรากฏนั้น

* ความจริงของสิ่งที่ปรากฏก็คือ เป็นธรรมแต่ละหนึ่งที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ซึ่งอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วในแต่ละขณะ

* แต่เพราะการเกิดดับสืบต่อที่รวดเร็วที่สุด จึงทำให้มีนิมิต (เครื่องหมาย) เป็นรูปร่าง รูปทรง กลุ่มก้อน และมีการสมมติเรียกเป็นบุคคล สิ่งต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีจริงเลย

* เมื่อไม่รู้ในความเป็นธรรมแต่ละอย่าง ที่เพียงเกิดขึ้นแล้วดับไปตามความเป็นจริง จึงหลงติดข้องในสิ่งที่เพียงเกิดดับไม่เหลือ และไม่กลับมาอีกเลย และยังติดในรูปร่าง รูปทรง กลุ่มก้อน ที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของ และเรื่องราวต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีจริง

* เมื่อหลงติดข้องในสิ่งที่ไม่มีจริงด้วยความไม่รู้ จึงต้องอยู่ในสังสารวัฏฏ์ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

* พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะทำให้ค่อยๆ รู้ความจริงของธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง และจะคลายความไม่รู้และความติดข้องไปตามลำดับ


โดย อ.อรรณพ หอมจันทร์

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... คติธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
petsin.90
วันที่ 12 ส.ค. 2564

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nvrath
วันที่ 13 ส.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เฉลิมพร
วันที่ 18 ส.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sea
วันที่ 11 ม.ค. 2565

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Wisaka
วันที่ 27 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jarunee.A
วันที่ 8 ก.ย. 2567

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ