พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สังขธมนชาดก ว่าด้วยการทําเกินประมาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ส.ค. 2564
หมายเลข  35437
อ่าน  401

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 108

๑๐. สังขธมนชาดก

ว่าด้วยการทําเกินประมาณ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 108

๑๐. สังขธมนชาดก

ว่าด้วยการทำเกินประมาณ

[๖๐] "ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าให้เกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่าสังข์ ได้ฉิบหายไป เพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ".

จบ สังขธมนชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสังขธมนชาดกที่ ๑๐

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุว่ายากเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "ธเม ธเม" ดังนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนเป่าสังข์ เมื่อมีงานในกรุงพาราณสีอย่างเอิกเกริก ก็พาบิดาไปทำการเป่าสังข์ ได้ทรัพย์ ในเวลากลับก็กล่าวห้ามบิดาผู้ทำการเป่าสังข์อยู่ไม่ขาดระยะ ใกล้ๆ ดงโจร บิดากลับพูดว่า จักไล่พวกโจรให้หนี ไปด้วยเสียงสังข์ แล้วเป่าเรื่อยไปไม่ขาดระยะ พวกโจรก็พากันมารุมแย่งทรัพย์ไปหมด ทำนองเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์กล่าวคาถาโดยนัยเดียวกับเรื่องก่อน ความว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 109

"ท่านจะเป่าก็จงเป่าเถิด แต่อย่าเป่าจนเกินประมาณ เพราะการเป่าเกินประมาณ เป็นการชั่วช้าของเรา โภคะที่เราได้มาเพราะการเป่าสังข์ ได้ฉิบหายไปเพราะท่านเป่าสังข์เกินประมาณ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ตาโต วิธมี ธมํ ความว่า บิดาของเราเป่าสังข์บ่อยๆ เลยเป่าเอาทรัพย์ที่ได้ไว้เพราะการเป่าสังข์ทั้งนั้น หมดไป พินาศไป.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ ส่วนบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสังขธมนชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาสีลวชาดก ๒. จูฬชนกชาดก ๓. ปุณณปาติชาดก ๔. ผลชาดก ๕. ปัญจาวุธชาดก ๖. กัญจนขันธชาดก ๗. วารินทชาดก ๘. ตโยธรรมชาดก ๙. เภริวาทชาดก ๑๐. สังขธมนชาดก.

จบ อาสิงสวรรคที่ ๖