๔. รุกขธัมมชาดก ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 199
๔. รุกขธัมมชาดก
ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 199
๔. รุกขธัมมชาดก
ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
[๗๔] "หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิดในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โต เป็นเจ้าป่า ย่อมถูกลมแรง โค่นลงได้".
จบ รุกขธัมมชาดกที่ ๔
อรรถกถารุกขธัมมชาดกที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงทราบความพินาศใหญ่ กำลังจะเกิดแก่พระญาติทั้งหลายของพระองค์ เพราะทะเลาะกันเรื่องน้ำ ก็เสด็จเหาะไปในอากาศ ประทับนั่งโดยบัลลังก์เบื้องบนแม่น้ำโรหิณี ทรงเปล่งรัศมีสีขาบ ให้พระญาติทั้งหลายสลดพระทัย แล้วเสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่ง ณ ฝั่งแม่น้ำ ทรงปรารภการทะเลาะนั้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "สาธุ สมฺพหุลา าตี" ดังนี้.
ในชาดกที่ยกมานี้เป็นสังเขปนัย ส่วนวิตถานัยจักปรากฏแจ้งในกุณาลชาดก ก็และในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระญาติทั้งหลายมา ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 200
ได้นามว่าเป็นญาติกัน ควรจะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน เพราะว่าเมื่อพระญาติทั้งหลายยังสามัคคีกันอยู่ หมู่ปัจจามิตรย่อมไม่ได้โอกาส อย่าว่าแต่หมู่มนุษย์เลย แม้ต้นไม้ทั้งหลายอันหาเจตนามิได้ ยังควรจะได้ความสามัคคีกัน เพราะในอดีตกาล ที่หิมวันตประเทศ มหาวาตภัยรุกรานป่ารัง แต่เพราะป่ารังนั้นเกี่ยวประสานกันและกันแน่นขนัดไปด้วยลำต้น กอพุ่มและลดาวัลย์ ไม่อาจจะให้ต้นไม้แม้ต้นเดียวโค่นลงได้ พัดผ่านไปตามยอดๆ เท่านั้น แต่ได้พัดเอาไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่บนเนิน แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้านค่าคบไม้ล้มลงที่พื้นดิน ถอนรากถอนโคนขึ้น เพราะไม่เกี่ยวประสานกันกับต้นไม้อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่พวกท่านทั้งหลาย จะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน อันพระญาติเหล่านั้นกราบทูลอารธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ท้าวเวสวรรณมหาราชที่ทรงอุบัติพระองค์แรกจุติ ท้าวสักกะทรงตั้งท้าวเวสสวรรณองค์ใหม่ ในคราวเปลี่ยนแปลงท้าวเวสสวรรณนี้ ท้าวเวสสวรรณองค์หลังส่งข่าวไปแก่หมู่เทพยดาว่า จงจับจองต้นไม้ กอไผ่ พุ่มไม้และลดาวัลย์ เป็นวิมานในสถานที่อันพอใจแห่งตนๆ เถิด ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา ณ ป่ารังแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 201
ทรงประกาศบอกเทพที่เป็นหมู่ญาติว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะจับจองวิมาน จงอย่าจับจองที่ต้นไม้อันตั้งอยู่บนเนิน แต่จงจับจองวิมานที่ต้นไม้ตั้งล้อมรอบวิมานที่เราจับจองแล้วในป่ารังนี้เถิด บรรดาเทวดาเหล่านั้น พวกที่เป็นบัณฑิตก็กระทำตามคำของพระโพธิสัตว์ จับจองวิมานต้นไม้ที่ตั้งล้อมวิมานของพระโพธิสัตว์ ฝ่ายพวกที่มิใช่บัณฑิต ต่างพูดกันว่า พวกเราจะต้องการอะไรด้วยวิมานในป่า จงพากันจับจองวิมานที่ประตูบ้าน นิคมและราชธานีในถิ่นมนุษย์กันเถิด ด้วยว่าพวกเทวดาที่อยู่อาศัยบ้านเป็นต้น ย่อมประสบลาภอันเลิศและยศอันเลิศ แล้วพากันจับจองวิมานที่ต้นไม้ใหญ่ๆ อันเกิด ณ ที่อันเป็นเนิน ในถิ่นมนุษย์ ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เกิดลมฝนใหญ่ แม้ถึงต้นไม้ที่ใหญ่ๆ ในป่า มีรากมั่นคง ต่างมีกิ่งก้าน ค่าคบ หักล้มระเนระนาดทั้งราก ทั้งโคน เพราะโต้ลมเกินไป แต่พอถึงป่ารัง ซึ่งตั้งอยู่ชิดติดต่อกัน ถึงจะพัดกระหน่ำทุกๆ ด้านไม่สร่างซา ก็ไม่อาจทำให้ต้นไม้ล้มได้สักต้นเดียว หมู่เทวดาที่มีวิมานหักต่างก็ไม่มีที่พำนัก พากันจูงมือเด็กๆ ไปป่าหิมพานต์ แจ้งเรื่องราวของตนแก่เทวดาผู้อยู่ในป่ารัง เทวดาเหล่านั้นก็พากันบอกเรื่องที่พวกเหล่านั้นพากันกระเซอะกระเซิงมาแด่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ที่ไม่เชื่อถือถ้อยคำของหมู่บัณฑิต แล้วพากันไปสู่สถานที่อันหาปัจจัยมิได้ ย่อมเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น เมื่อจะแสดงธรรม จึงกล่าวคาถาความว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 202
"หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิดในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โตเป็นเจ้าป่า ย่อมถูกลมแรง โค่นได้" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพหุลา ความว่า ญาตินับแต่ ๔ คน ชื่อว่า มาก แม้ยิ่งกว่านั้น ขนาดนับร้อย นับพัน ชื่อว่า มากมูล เมื่อหมู่ญาติมากมายอย่างนี้ ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกันอยู่ ก็ยิ่งดี คืองดงาม ประเสริฐสุด ศัตรูหมู่อมิตรจะกำจัดไม่ได้.
บทว่า อปิ รุกฺขา อรญฺชา ความว่า อย่าว่าแต่ชุมชนที่รวมกันเป็นหมู่มนุษย์เลย แม้ถึงต้นไม้ที่เกิดในป่าที่มีมากมาย ตั้งอยู่โดยอาการต่างฝ่ายต่างค้ำจุนสนับสนุนกันเป็นการดีแท้ เพราะแม้ถึงต้นไม้ทั้งหลาย ก็ควรจะได้เป็นปัจจัยสนับสนุนกันและกัน.
บทว่า วาโต วหติ เอกฏฺํ ความว่า ลมมีลมที่พัดมาแต่ทิศตะวันออกเป็นต้น พัดมา จะทำให้ต้นไม้ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนเนิน เด่นโดดเดี่ยว ลำพังต้นเดียว ถอนไปได้.
บทว่า พฺรหนฺตมฺปิ วนปฺปตฺติํ ความว่า ลมย่อมพัดตัดไม้ใหญ่ แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้านและค่าคบ ให้หักโค่นถอนรากถอนโคนไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 203
พระโพธิสัตว์ บอกกล่าวเหตุนี้ เมื่อสิ้นอายุ ก็ไปตามยถากรรม แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย หมู่ญาติควรจะต้องได้ความสามัคคีกันก่อนอย่างนี้ทีเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงสมัครสมานปรองดองกัน อยู่กันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกันเถิด ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ฝูงเทพในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนเทวดาเป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารุกขธัมมชาดกที่ ๔