พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. กาฬกัณณิชาดก ว่าด้วยมิตรแท้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ส.ค. 2564
หมายเลข  35460
อ่าน  516

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 283

๓. กาฬกัณณิชาดก

ว่าด้วยมิตรแท้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 283

๓. กาฬกัณณิชาดก

ว่าด้วยมิตรแท้

[๘๓] "บุคคลชื่อว่า เป็นมิตร ด้วยการเดินร่วมกัน ๗ ก้าว ชื่อว่า เป็นสหาย ด้วยการเดินร่วมกัน ๑๒ ก้าวและชื่อว่า เป็นญาติ ด้วยการอยู่ร่วมกันเดือนหนึ่งหรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ที่ชื่อว่า มีตนเสมอกัน ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้งมิตรชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน เพราะความสุขส่วนตัวได้อย่างไร".

จบ กาฬกัณณิชาดกที่ ๓

อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ ๓

พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมิตรของท่านอนาถบิณฑิกะผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "มิตฺโต หเว สตฺตปเทน โหติ" ดังนี้.

ได้ยินว่า มิตรผู้นั้นได้เคยเป็นสหายร่วมเล่นฝุ่นมากับท่านอนาถบิณฑิกะ ทั้งเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยนามมีชื่อว่า กาฬกรรณี กาฬกรรณีนั้น เมื่อกาลล่วงผ่านไป ก็เป็นผู้ตกยาก ไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้ จึงไปยังสำนักของท่านเศรษฐี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 284

ท่านเศรษฐีก็ปลอบสหาย ให้เสบียงแล้วมอบสมบัติของตนแบ่งให้ไป เขาเป็นผู้ทำอุปการะแก่ท่านเศรษฐี ทำกิจการทุกอย่าง เวลาที่เขามาสู่สำนักท่านเศรษฐี คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิด กาฬกรรณี กินเถิด กาฬกรรณี อยู่มาวันหนึ่ง หมู่มิตรและอำมาตย์ของท่านเศรษฐีพากันเข้าไปหาท่านเศรษฐีแล้วพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลี้ยงเขาไว้ใกล้ชิดอย่างนี้เลย ท่านมหาเศรษฐี เพราะแม้ยักษ์เองก็ยังต้องหนีด้วยเสียงนี้ว่า หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิด กาฬกรรณี กินเถิด กาฬกรรณี เขาเองก็มิได้เสมอกับท่าน ตกยาก เข็ญใจ ท่านจะเลี้ยงคนๆ นี้ ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวว่า ธรรมดาว่าชื่อเป็นคำเรียกร้อง หมู่บัณฑิตมิได้ถือชื่อเป็นประมาณ ไม่ควรจะเป็นคนประเภทที่ชื่อว่า สุตมังคลิกะ (ถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน) เราไม่อาจอาศัยเหตุเพียงแต่ชื่อ แล้วทอดทิ้งเพื่อนผู้เล่นฝุ่นมาด้วยกัน ดังนี้แล้ว มิได้ยึดถือถ้อยคำของพวกนั้น วันหนึ่งเมื่อจะไปบ้านส่วยของตน ได้ตั้งเขาเป็นผู้รักษาเคหะสถาน.

พวกโจรคบคิดกันว่า ได้ข่าวว่าเศรษฐีไปบ้านส่วย พวกเราระดมกันปล้นบ้านของเขาเถิด พากันถืออาวุธต่างๆ มาในเวลากลางคืน ล้อมเรือนไว้ ฝ่ายกาฬกรรณีระแวงการมาของพวกโจรอยู่ จึงนั่งเฝ้าไม่ยอมหลับนอนเลย ครั้นรู้ว่า พวกโจรพากันมา เพื่อจะปลุกพวกมนุษย์ จึงตะโกนว่า เจ้าจงเป่าสังข์ เจ้าจงตีกลอง ดังนี้แล้ว ทำให้เป็นเหมือนมีมหรสพโรงใหญ่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 285

กระทำนิเวศน์ทั้งสิ้นให้มีเสียงสนั่นครื้นเครงตลอดไป พวกโจรพากันพูดว่า ข่าวที่ว่า เรือนว่างเปล่า พวกเราฟังมาเหลวๆ ท่านเศรษฐียังคงอยู่ แล้วต่างทิ้งก้อนหินและไม้พลองเป็นต้นไว้ตรงนั้นเอง หนีไปหมด รุ่งขึ้น พวกมนุษย์เห็นก้อนหินและไม้พลองเป็นต้นที่พวกโจรทิ้งไว้ในที่นั้นๆ ต่างสลดใจไปตามๆ กัน พูดกันว่า ถ้าวันนี้ไม่มีคนตรวจเรือน ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ขนาดนี้แล้ว พวกโจรจักพากันเข้าได้ตามความพอใจ ปล้นเรือนได้หมดเป็นแน่ เพราะอาศัยมิตรผู้มั่นคงผู้นี้ ความจำเริญจึงเกิดแก่ท่านเศรษฐี ต่างพากันสรรเสริญกาฬกรรณีนั้น เวลาที่เศรษฐีมาจากบ้านส่วย ก็พากันบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบทุกประการ ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้พูดกับคนเหล่านั้นว่า พวกเธอ บอกให้เราไล่มิตรผู้รักษาเรือนอย่างนี้ไปเสีย ถ้าเราไล่เขาไปตามถ้อยคำของพวกเธอเสียแล้ว วันนี้ทรัพย์สินของเราจักไม่มีเหลือเลย ธรรมดาว่าชื่อไม่เป็นประมาณดอก จิตที่คิดเกื้อกูลเท่านั้นเป็นประมาณ ดังนี้แล้วให้ทรัพย์เป็นทุนแก่เขายิ่งๆ ขึ้นไป ดำริว่า บัดนี้ เรามีเรื่องที่จะเริ่มเป็นหัวข้อกราบทูลได้แล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องราวนั้นแต่ต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มิตรชื่อว่า กาฬกรรณี รักษาทรัพย์สินในเรือนแห่งมิตรของตนไว้ แม้ในครั้งก่อนก็รักษาแล้วเหมือนกัน ท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 286

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐี มียศยิ่งใหญ่ ท่านเศรษฐีได้มีมิตรชื่อ กาฬกรรณี เรื่องราวทั้งหมดก็เหมือนกับเรื่องปัจจุบันนั่นแหละ พระโพธิสัตว์มาจากบ้านส่วยแล้วฟังเรื่องนั้นแล้ว กล่าวว่า ถ้าเราไล่มิตรเช่นนี้ออกไปเสียตามคำของพวกท่านแล้ว วันนี้ทรัพย์สมบัติของเราจักไม่มีอะไรเหลือเลย แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า.

"บุคคลชื่อว่า เป็นมิตร ด้วยการเดินร่วมกัน ๗ ก้าว ชื่อว่า เป็นสหาย ด้วยการเดินร่วมกัน ๑๒ ก้าวและชื่อว่า เป็นญาติ ด้วยการอยู่ร่วมกันเดือนหนึ่งหรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ชื่อว่า มีตนเสนอกัน ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้งมิตรชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน เพราะความสุขส่วนตัวได้อย่างไร" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หเว เป็นเพียงนิบาต ที่ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถว่าประพฤติไมตรี อธิบายว่า เข้าไปตั้งไว้เฉพาะซึ่งไมตรีจิต กระทำความสนิทสนม ก็มิตรนั้นเป็นกันได้ด้วย ๗ ก้าวย่าง อธิบายว่า เป็นกันได้ด้วยเหตุเพียงเดินทางร่วมกัน ๗ ย่างก้าว.

บทว่า สทาโย ปน ทฺวาทสเกน โหติ ความว่า ที่ชื่อว่า สหาย เพราะอรรถว่า ไปร่วมกันในอิริยาบถทั้งปวง ด้วยอำนาจ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 287

แห่งการทำกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน อธิบายว่า ก็แลสหายนั้น เป็นกันได้ด้วยเพียงย่างเท้าไป ๑๒ ก้าว.

บทว่า มาสฑฺฒมมาเสน ความว่า (อยู่ร่วมกัน) เดือนหนึ่งหรือกึ่งเดือน.

บทว่า าติ โหติ ความว่า ย่อมชื่อว่า เป็นผู้เสมอญาติ.

บทว่า ตตุตฺตริํ ความว่า ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น ย่อมถือว่าเป็นผู้เสมอตนได้ทีเดียว.

บทว่า ชเหยฺยํ ความว่า เราจะทิ้งสหายผู้เช่นนี้ได้อย่างไรเล่า พระโพธิสัตว์กล่าวถึงคุณของมิตรนั่นแล ด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา ก็มิได้มีใครๆ ที่จะได้ชื่อว่า กล่าวละลาบ ละล้วง กาฬกรรณีนั้นอีกเลย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า กาฬกรรณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ ๓