พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. กุหกชาดก ว่าด้วยดาบสเจ้าเล่ห์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ส.ค. 2564
หมายเลข  35466
อ่าน  556

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 312

๙. กุหกชาดก

ว่าด้วยดาบสเจ้าเล่ห์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 312

๙. กุหกชาดก

ว่าด้วยดาบสเจ้าเล่ห์

[๘๙] "น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวย พูดจาน่านับถือจริงๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียงเส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไปไม่ข้องใจเลยนะ".

จบ กุหกชาดกที่ ๙

อรรถกถากุหกชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "วาจาว กิร เต อาสิ" ดังนี้.

เรื่องการหลอกลวง จักปรากฏแจ้งในอุททาลชาดก.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ชฎิลโกงผู้หนึ่งเป็นดาบสหลอกลวง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง กุฎุมพีคนหนึ่งช่วยสร้างศาลาในป่าให้ดาบสนั้น ให้ดาบสอยู่ในบรรณศาลา ปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีตในเรือนของตน เขาเชื่อดาบสโกงนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล นำเอาทองพันแท่งไปยังศาลาของดาบส ฝังไว้ในแผ่นดิน เพราะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 313

กลัวโจร กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงดูแลทองนี้ด้วย ครั้งนั้น ดาบสกล่าวกะเขาว่า คุณ การพูดแบบนี้แก่พวกที่ได้นามว่า บรรพชิต ไม่สมควรเลย ขึ้นชื่อว่า ความโลภในสิ่งของของผู้อื่นของพวกเราไม่มีเลย เขากล่าวว่า ดีละ พระคุณเจ้าผู้เจริญ เชื่อถ้อยคำของดาบสแล้วหลีกไป ดาบสชั่วคิดว่า เราอาจเลี้ยงชีพด้วยทรัพย์มีประมาณเท่านี้ได้ ล่วงไปได้สองสามวันก็ยักเอาทองนั้นไปไว้ ณ ที่หนึ่งระหว่างทาง ย้อนมาเข้าไปยังบรรณศาลา พอวันรุ่งขึ้น ทำภัตกิจในเรือนของกุฎุมพีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พวกเราอาศัยท่านอยู่นานแล้ว ความพัวพันกันกับพวกมนุษย์ย่อมมี ก็ธรรมดาว่า ความพัวพันเป็นมลทินของบรรพชิต เพราะฉะนั้นอาตมาจะขอลาไป แม้กุฏุมพีจะอ้อนวอนแล้วๆ เล่าๆ ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ ครั้งนั้นกุฎุมพี จึงกล่าวกะดาบสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็นิมนต์ไปเถิด พระคุณเจ้าข้า ดังนี้แล้ว ตามไปส่งจนถึงประตูบ้านแล้วจึงกลับ ดาบสเดินไปได้หน่อยหนึ่ง คิดว่า เราควรจะลวงกุฎุมพีนี้ ก็เอาหญ้าวางไว้ระหว่างชฎา ย้อนกลับไป กุฏุมพีถามว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้ากลับมาทำไม ขอรับ ตอบว่า ผู้มีอายุ หญ้าเส้นหนึ่งเกี่ยวชฎาของฉันไปจากชายคาเรือนของพวกท่าน ขึ้นชื่อว่า อทินนาทาน ไม่สมควรแก่บรรพชิต อาตมาจึงรีบนำมันกลับมา กุฎุมพีกล่าวว่า จงทิ้งมันเสีย แล้วนิมนต์ไปเถิดครับ เสื่อมใสว่าพระดาบสไม่ถือเอาสิ่งของๆ ผู้อื่น ซึ่งแม้เพียง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 314

เส้นหญ้า โอ พระคุณเจ้าของเรา เคร่งครัดจริง ดังนี้ กราบแล้ว ส่งพระดาบสไป.

ก็ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ไปยังชนบทชายแดนเพื่อต้องการสิ่งของ อาศัยพักแรมในบ้านกุฎุมพี ท่านฟังคำของดาบสแล้ว คิดว่า ดาบสร้ายผู้นี้ จักต้องถือเอาอะไรๆ ของกุฎุมพีนี้ไปเป็นแน่ จึงถามกุฎุมพีว่า ดูก่อนสหาย ท่านได้ฝากฝังอะไรๆ ไว้ในสำนักของดาบสนั้น มีหรือไม่ กุฎุมพีตอบว่า มีอยู่สหาย เราฝากฝังทองไว้ ๑๐๐ แท่ง พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรีบไปตรวจตราดูทองนั้นเถิด เขาไปบรรณศาลาไม่เห็นทองนั้น รีบกลับมาบอกว่า ทองไม่มี สหาย พระโพธิสัตว์บอกว่า ทองของท่าน ผู้อื่นไม่ได้เอาไปดอก ดาบสร้ายนั้นคนเดียวเอาไป มาเถิด เรามาช่วยกันติดตามจับดาบสนั้น แล้วรีบตามไปจับดาบสโกงได้ ทุบบ้าง เตะบ้าง ให้นำเอาทองมาคืน แล้วจับไว้ พระโพธิสัตว์เห็นทองแล้วกล่าวว่า ดาบสนี่ ขโมยทอง ๑๐๐ แท่งยังไม่ข้องใจ ไพล่มาข้องใจในเรื่องเพียงเส้นหญ้า เมื่อจะติเตียนดาบสนั้น กล่าวคาถานี้ ความว่า.

"น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวย พูดจาน่านับถือจริงๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียงเส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไปไม่ข้องใจเลยนะ" ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 315

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาจาว กิร เต อาสิ สณฺหา สขิลภาณิโน ความว่า เมื่อท่านกล่าวคำอ่อนหวานน่านับถืออยู่อย่างนี้ว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แม้เพียงเส้นหญ้า ก็ไม่ควรแก่พวกบรรพชิต ดังนี้ ถ้อยคำของท่านนั้นอ่อนหวานน้อยอยู่เมื่อไร อธิบายว่า คำพูดของท่านนั้น เกลี้ยงเกลาแท้ๆ.

บทว่า ติณมตฺเต อสชฺชิตฺโถ ความว่า ดูก่อนชฎิลโกง ท่านทำความรำคาญ (เคร่ง) ในเส้นหญ้าเส้นเดียว ดูติดใจข้องใจเกาะเกี่ยวเสียจริงๆ แต่เมื่อท่านขโมยทอง ๑๐๐ แท่งนี้ ช่างไม่ติดใจ ช่างหมดข้อข้องใจเลยทีเดียว.

พระโพธิสัตว์ ครั้นติเตียนดาบสนั้นด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ให้โอวาทแก่ดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ท่านอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนี้ต่อไปอีก ดังนี้แล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้เป็นผู้หลอกลวง แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้หลอกลวงแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถากุหกชาดกที่ ๙