พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อกตัญญูชาดก ว่าด้วยผลของคนอกตัญญู

 
บ้านธัมมะ
วันที่  15 ส.ค. 2564
หมายเลข  35467
อ่าน  409

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 316

๑๐. อกตัญูชาดก

ว่าด้วยผลของคนอกตัญู


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 316

๑๐. อกตัญญูชาดก

ว่าด้วยผลของคนอกตัญญู

[๙๐] "ผู้ใดอันท่านทำดีให้ก่อน ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่รู้จักคุณ ผู้นั้นเมื่อมีกิจการเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ".

จบ อกตัญญูชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาอกตัญญูชาดกที่ ๑๐

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ" ดังนี้.

ได้ยินว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่ง ได้เป็นอทิฏฐสหาย (สหายผู้ยังไม่เคยพบกัน) ของท่านอนาถบิณฑิกะ กาลครั้งหนึ่ง เศรษฐีนั้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม เต็มไปด้วยสิ่งของที่เกิดขึ้นในปัจจันตชนบท กล่าวกะพวกคนงานว่า ไปเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงนำของสิ่งนี้ไปสู่พระนครสาวัตถี ขายให้แก่มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ สหายของเราด้วยราคาของตอบแทน แล้วพากันขนของตอบแทนมาเถิด คนงานเหล่านั้นรับคำของท่านเศรษฐีแล้ว พากันไปสู่พระนครสาวัตถี พบท่าน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 317

มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกแล้วให้บรรณาการ แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ แม้ท่านมหาเศรษฐีเห็นแล้วก็กล่าวว่า พวกท่านมาดีแล้ว จัดการให้ที่พักและเสบียงแก่คนเหล่านั้น ไต่ถามความสุขของเศรษฐีผู้เป็นสหาย รับซื้อภัณฑะไว้ แล้วให้ภัณฑะตอบแทนไป คนงานเหล่านั้นพากันไปสู่ปัจจันตชนบท แจ้งเนื้อความนั้นแก่เศรษฐีของตน ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ส่งเกวียน ๕๐๐ เล่มอย่างนั้นแหละ ไปในปัจจันตชนบทนั้นบ้าง พวกมนุษย์ไปในปัจจันตชนบทนั้นแล้ว นำบรรณาการไปมอบให้ท่านเศรษฐีปัจจันตชนบท เศรษฐีนั้นถามว่า พวกเจ้ามาจากที่ไหนเล่า ครั้นพวกคนเหล่านั้นบอกว่า มาจากพระนครสาวัตถี สำนักอนาถบิณฑิกะผู้เป็นสหายของท่าน ก็หัวเราะเยาะว่า คำว่า อนาถบิณฑิกะ จักเป็นชื่อของบุรุษคนไหนๆ ก็ได้ แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้ ส่งกลับไปว่า พวกเจ้าจงไปกันเถิด มิได้จัดการเรื่องที่พักและให้เสบียงเลย คนเหล่านั้นต้องขายสิ่งของกันเอง พากันขนสิ่งของตอบแทนมาพระนครสาวัตถี ล้วนแจ้งเรื่องนั้นแก่เศรษฐี อยู่ต่อมา เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทส่งเกวียน ๕๐๐ เล่ม อย่างนั้นแหละ ไปสู่พระนครสาวัตถีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พวกมนุษย์น้อมนำบรรณาการไปพบท่านมหาเศรษฐี ฝ่ายพวกคนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เห็นพวกนั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านขอรับ พวกผมจักกำหนดที่พัก อาหารและเสบียงของพวกนั้นเอง แล้วบอกให้พวกนั้นปลดเกวียนไว้ในที่เช่นนั้นภายนอกพระนคร กล่าวว่า พวกท่านพากันอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 318

ที่นี่เถิด ข้าวยาคูแลภัตรและเสบียงสำหรับพวกท่านในเรือนของพวกท่านจักพอมี แล้วพากันไปเรียกพวกทาสและกรรมกรมาประชุมกัน พอได้เวลาเที่ยงคืน ก็คุมกันปล้นเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม แย่งเอาแม้กระทั่งผ้านุ่ง ผ้าห่มของคนเหล่านั้น ไล่โคให้หนีไปหมด ถอดล้อเกวียน ๕๐๐ เล่มเสียหมด วางไว้ที่แผ่นดิน แล้วขนเอาแต่ล้อเกวียนทั้งหลายไป พวกชาวปัจจันตชนบทไม่เหลือแม้แต่ผ้านุ่ง ต่างกลัวพากันรีบหนีไปสู่ปัจจันตชนบท ฝ่ายคนของท่านเศรษฐี พากันบอกเรื่องนั้นแก่ท่านมหาเศรษฐี ท่านมหาเศรษฐี คิดว่า บัดนี้ มีเรื่องนำข้อความที่จะกราบทูลแล้ว จึงไปสำนักพระบรมศาสดา กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทนั้น เป็นผู้มีปกติประพฤติอย่างนี้ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้มีปกติประพฤติเช่นนี้มาแล้วเหมือนกัน อันท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมากในพระนครพาราณสี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่งได้เป็นอทิฏฐสหายของท่าน เรื่องอดีตทั้งหมด เป็นเหมือนกับเรื่องในปัจจุบันนั่นแหละ (แปลกกันแต่ว่า) พระโพธิสัตว์เมื่อคนของตนแจ้งให้ทราบว่า วันนี้พวกผมทำงานชื่อนี้ ดังนี้แล้ว ก็กล่าวว่า พวกนั้นไม่รู้อุปการะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 319

ที่เขาทำแก่ตนก่อน จึงพากันได้รับกรรมเช่นนี้ในภายหลัง เพื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า.

"ผู้ใดอันท่านทำดีให้ก่อน ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่รู้จักคุณ ผู้นั้นเมื่อมีกิจการเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ" ดังนี้.

ในคาถานั้นประมวลข้ออธิบายได้ดังนี้.

บรรดาชนมีกษัตริย์เป็นต้น บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง มีความดีอันบุคคลอื่น คือมีอุปการะอันท่านผู้อื่นกระทำให้ก่อน คือทีแรกมีประโยชน์อันคนอื่นกระทำให้ คือมีผู้ช่วยเหลือทำกิจการให้สำเร็จได้ก่อน มิได้รู้สำนึกคุณงามความดี และประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ในตนนั้นเลย ผู้นั้นเมื่อกิจการของตนเกิดขึ้นในภายหลัง ย่อมหาคนช่วยทำกิจการนั้นให้ไม่ได้.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย มีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทในครั้งนั้น ได้มาเป็นเศรษฐีปัจจันตชนบทคนนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอกตัญญูชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 320

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุราปานชาดก ๒. มิตตวินทชาดก ๓. กาฬกัณณิชาดก ๔. อัตถัสสทวารชาดก ๕. กิมปักกชาดก ๖. สีลวิมังสนชาดก ๗. มังคลชาดก ๘. สารัมภชาดก ๙. กุหกชาดก ๑๐. อกตัญญูชาดก

จบ อปายิมหวรรคที่ ๙