พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ปโรสหัสสชาดก ว่าด้วยคนผู้มีปีญญา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ส.ค. 2564
หมายเลข  35482
อ่าน  446

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 379

๙. ปโรสหัสสชาดก

ว่าด้วยคนผู้มีปัญญา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 379

๙. ปโรสหัสสชาดก

ว่าด้วยคนผู้มีปัญญา

[๙๙] "แม้จะมีผู้มาประชุมกันตั้งพันกว่า พวกเหล่านั้นก็ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญไปตั้ง ๑๐๐ ปี บุรุษผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว ผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า".

จบ ปโรสหัสสชาดกที่ ๙

อรรถกถาปโรสหัสสชาดกที่ ๙

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภปัญหาในปุถุชน มีบุคคลเป็นที่ ๕ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "ปโรสหสฺสมฺปิ สมาคตานํ" ดังนี้.

เรื่องจักปรากฏชัดเจนในสรภังคชาดก ก็สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา นั่งสนทนากันถึงเรื่องคุณของพระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พยากรณ์ปัญหาที่พระทศพลตรัสโดยย่อได้โดยพิสดาร พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 380

เท่านั้น ที่สารีบุตรพยากรณ์ปัญหาที่เรากล่าวอย่างย่อได้โดยพิสดาร แม้ในกาลก่อน ก็พยากรณ์ได้แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนสรรพศิลปวิทยาในเมืองตักกสิลา ละกามทั้งหลายแล้วบวชเป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้เกิดได้แล้ว อยู่ในป่าหิมพานต์ แม้บริวารของท่านก็ได้บวชเป็นดาบส ๕๐๐ รูป คราวนั้นเป็นฤดูฝน อันเตวาสิกผู้ใหญ่ของท่านพาคณะฤาษีประมาณครึ่งหนึ่งไปสู่ถิ่นของมนุษย์เพื่อต้องการรสเค็ม รสเปรี้ยว ในกาลนั้น ประจวบเป็นสมัยที่พระโพธิสัตว์จะทำกาละ พวกอันเตวาสิกทั้งหลายพากันถามการบรรลุคุณพิเศษกะท่านว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านได้คุณพิเศษชนิดไหน ท่านตอบว่า ไม่มีแม้แต่น้อย แล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เพราะว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แม้ถึงจะได้อรูปสมาบัติ ก็มิได้บังเกิดในอรูปภพ เป็นสถานที่อันมิบังควร พวกอันเตวาสิกคิดกันว่า ท่านอาจารย์ไม่มีคุณพิเศษเลย ดังนี้แล้ว ไม่กระทำสักการะในป่าช้า อันเตวาสิกผู้ใหญ่กลับมาแล้ว ถามว่า ท่านอาจารย์ไปไหน ครั้นทราบว่า ทำกาละเสียแล้ว จึงกล่าวว่า เออก็พวกเธอถามถึงคุณพิเศษที่ท่านได้บรรลุกะท่านหรือเปล่า.

พวกเราถามแล้ว ขอรับ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 381

ท่านตอบว่าอย่างไร.

ท่านตอบว่า ไม่มีแม้แต่น้อย เหตุนั้นพวกเราจึงไม่ทำสักการะแก่ท่าน อันเตวาสิกผู้ใหญ่กล่าวว่า พวกเธอมิได้รู้ความหมายแห่งคำของอาจารย์ ท่านอาจารย์ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ แม้ถึงอันเตวาสิกผู้ใหญ่นั้นจะพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกอันเตวาสิกเหล่านั้นก็ไม่ยอมเชื่อ พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้น ดำริว่า พวกอันธพาลไม่เชื่อถ้อยคำอันเตวาสิกผู้ใหญ่ของเรา เราต้องกระทำเหตุนี้ให้ปรากฏแก่อันเตวาสิกเหล่านั้น แล้วมาจากพรหมโลก ยืนอยู่ในอากาศ ด้วยอานุภาพอันใหญ่ เบื้องบนอาศรมบท เมื่อจะพรรณนาปัญญานุภาพของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ กล่าวคาถานี้ ความว่า.

"แม้จะมีผู้มาประชุมกันตั้งพันกว่า พวกเหล่านั้นก็ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญไปตั้ง ๑๐๐ ปี บุรุษผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว ผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสหสฺสมฺปิ แปลว่า แม้เกินกว่าพัน.

บทว่า สมาคตานํ ความว่า พวกคนเขลาผู้ไม่สามารถทราบความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว มาประชุมกันแล้ว.

ด้วยบทว่า กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสตํ อปฺา นี้ พระโพธิสัตว์แสดงว่า พวกเหล่านั้นที่มารวมกันอย่างนี้ ไร้ปัญญา เหมือนพวก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 382

ดาบสโง่เหล่านี้ พากันร้องไห้คร่ำครวญกันไปตั้งร้อยปี แม้ตั้งพันปี แม้ตั้งแสนปี ถึงแม้จะพากันร้องไห้ ก็ไม่พึงรู้ถึงความหมาย หรือเหตุได้เลย.

บทว่า เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโ ความว่า บุรุษที่เป็นบัณฑิตคนเดียวเท่านั้น ดีกว่า ประเสริฐกว่าพวกคนพาลเห็นปานนั้น แม้ตั้งพันกว่า.

มีปัญญาเช่นไร.

ผู้มีปัญญารู้แจ้งความหมายของคำที่เรากล่าวแล้ว เหมือนอย่างอันเตวาสิกผู้ใหญ่นี้.

พระมหาสัตว์ ยืนอยู่ในอากาศนั่นแหละ แสดงธรรมชี้แจงให้คณะดาบสรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วก็ไปสู่พรหมโลกดังเดิม พวกดาบสแม้เหล่านั้น ครั้นสิ้นชีวิตต่างก็ไปเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนมหาพรหม ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปโรสหัสสชาดกที่ ๙