พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปโรสตชาดก คนมีปัญญาคนเดียวดีกว่าคนโง่เขลาตั้งร้อย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ส.ค. 2564
หมายเลข  35489
อ่าน  401

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 390

๑๑. ปโรสตวรรค

๑. ปโรสตชาดก

คนมีปัญญาคนเดียวดีกว่าคนโง่เขลาตั้งร้อย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 390

๑๑. ปโรสตวรรค

๑. ปโรสตชาดก

คนมีปัญญาคนเดียวดีกว่าคนโง่เขลาตั้งร้อย

[๑๐๑] "คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งร้อยคนขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญา พึงเพ่งดูอยู่ตั้งร้อยปี ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมีปัญญา คนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า".

จบ ปโรสตชาดกที่ ๑

อรรถกถาปโรสตวรรคที่ ๑๑

อรรถกถาปโรสตชาดกที่ ๑

ชาดกเรื่องนี้ มีคาถา ความว่า.

"คนโง่เขลามาประชุมกันแม้ตั้งร้อยคนขึ้นไป พวกเขาไม่มีปัญญา พึงเพ่งดูอยู่ตั้งร้อยปี ผู้ใดรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิต ผู้นั้นเป็นบุรุษมีปัญญา คนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า" ดังนี้.

เหมือนกันกับปโรสหัสสชาดก โดยเนื้อเรื่อง โดยไวยากรณ์และโดยประชุมชาดก แต่ในชาดกนี้ มีแปลกเพียงบท ฌาเยยฺยุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 391

บทเดียวเท่านั้น คาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า คนเหล่านั้นไม่มีปัญญา พึงเพ่ง พึงดู พึงใคร่ครวญแม้ตลอดร้อยปี แม้ว่าจะดูอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมไม่เห็นเหตุหรือผล เหตุนั้น ผู้ใดรู้เนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้ได้ ผู้นั้นคนเดียวเท่านั้นมีปัญญา ประเสริฐกว่า ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปโรสตชาดกที่ ๑