พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปัณณิกชาดก ว่าด้วยที่พึ่งที่ให้โทษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ส.ค. 2564
หมายเลข  35490
อ่าน  406

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 392

๒. ปัณณิกชาดก

ว่าด้วยที่พึ่งที่ให้โทษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 392

๒. ปัณณิกชาดก

ว่าด้วยที่พึ่งที่โทษ

[๑๐๒] "ยามเมื่อฉันมีทุกข์ ผู้ใดเล่าเป็นที่พึ่ง ท่านผู้นั้นคือบิดาของฉัน กำลังประทุษร้ายฉันในป่า ฉันจะร้องหาใครในกลางป่า ท่านผู้จะช่วยได้กลับทำกรรมอันสาหัสเสียเอง".

จบ ปัณณิกชากดกที่ ๒

อรรถกถาปัณณิกชาดกที่ ๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุบาสกพ่อค้าผักผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "โย ทุกฺขผุฏฺฐาย ภเวยฺย ตาณํ" ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีนั้น ขายผักต่างๆ มีฟักข้าว (* ผักข้าว) เป็นต้น และผักผลมีน้ำเต้า และผักเป็นต้นเลี้ยงชีวิต เขามีธิดาคนหนึ่ง รูปร่างงดงาม แจ่มใส สมบูรณ์ด้วยมารยาทและความประพฤติ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ เสียอย่างเดียวที่ชอบหัวเราะหน้ารื่นอยู่เสมอ เมื่อสกุลที่คู่ควรพากันมาสู่ขอนาง เขาคิดว่า การสู่ขอรายนี้กำลังดำเนินไป ส่วนลูกสาวเราคนนี้ หัวเราะหน้ารื่นอยู่เป็นประจำ ก็เมื่อนางกุมารียังไม่มีสมบัติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 393

ลูกผู้หญิง ไปสู่ตระกูลผัว ย่อมเป็นที่ครหาถึงมารดาบิดาได้ เราต้องทดลองลูกเราดูว่า มีกุมาริกาธรรมหรือยังไม่มี วันหนึ่ง เขาให้ธิดาถือกระเช้าไปป่าเพื่อเก็บผักในป่า แล้วทำเป็นถูกกิเลสรัดรึงด้วยมุ่งจะทดลอง พลางกล่าวถ้อยคำเล้าโลม แล้วจับมือนางไว้ พอนางถูกจับมือเท่านั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญกล่าวว่า พ่อจ๋า เรื่องนี้ไม่สมควรเลย เป็นเช่นกับความปรากฏขึ้นแห่งไฟจากน้ำ พ่ออย่าทำอย่างนี้เลย เขากล่าวว่า ลูกรัก พ่อจับมือเจ้า เพื่อจะลองดู จงบอกพ่อซิลูกว่า เดี๋ยวนี้เจ้ามีกุมาริกาธรรมแล้ว นางตอบว่า มีจ้ะพ่อ เพราะฉันไม่เคยมองผู้ชายคนไหน ด้วยคิดอยากจะได้เลย เขาปลอบธิดาแล้วทำการมงคล ส่งตัวไปสู่ตระกูลผัว คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปพระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา บูชาแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระพุทธดำรัสว่า นานอยู่นะที่ท่านมา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก กุมาริกาถึงพร้อมด้วยมารยาทและศีลมานานแล้วเทียว อนึ่งท่านมิใช่เพิ่งจะทดลองนางอย่างนี้ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนก็เคยทดลองมาแล้วเหมือนกัน เขากราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดาในป่า เรื่องราวมีว่า ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีพ่อค้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 394

ผักคนหนึ่ง ดังนี้ต่อนี้ไป เช่นเดียวกันกับเรื่องปัจจุบันนั่นแหละ ผิดกันแต่ตอนที่นางพอถูกเขาจับมือเพื่อลองใจ ก็ร่ำไห้กล่าวคาถานี้ว่า.

"ยามเมื่อฉันมีทุกข์ ท่านผู้ใดเล่าเป็นที่พึ่ง ท่านผู้นั้นคือบิดาของฉัน กำลังประทุษร้ายฉันในป่า ฉันจะร่ำร้องหาใครในกลางป่า ท่านผู้จะช่วยได้กลับทำกรรมอันสาหัสเสียเอง" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ทุกฺขผุฏฺาย ภเวยฺย ตาณํ ความว่า ในยามเมื่อทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจมาพ้องพาน ท่านผู้ใดพึงเป็นผู้ต้านทาน คือเป็นที่พำนัก.

บทว่า โส เม ปิตา ทุพฺภิ วเน กโรติ ความว่า ท่านผู้นั้น คือบิดาของฉัน คอยช่วยป้องกันต้านทุกข์ให้ กำลังกระทำกรรมอันตัดเยื่อใยไมตรี อันน่าบัดสีเช่นนี้ในป่านี้เสียเอง คือกำลังคิดเพื่อจะกระทำการล่วงเกินธิดาที่ตนให้กำเนิดเกิดมา.

ด้วยบทว่า กสฺส กนฺทามิ นี้ นางแสดงความว่า ฉันจะร้องไห้หาใคร คือใครจักมาเป็นที่พึ่งให้ฉัน.

บทว่า โย ตายิตา โส สหสา กโรติ ความว่า ท่านผู้ใดเล่า ที่จะปกป้องคุ้มครองฉัน ควรจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ท่านผู้นั้น คือบิดาคนเดียว กำลังกระทำกรรมอันน่าบัดสี.

ครั้งนั้น ผู้เป็นบิดาจึงปลอบนาง แล้วถามว่า แม่คุณ เจ้ารักษาตนได้แล้วหรือ นางตอบว่า จ้ะพ่อ ฉันรักษาตนเองได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 395

เขาก็พานางมาเรือน ประดับตกแต่ง ทำการมงคลแล้วส่งไปสู่สกุลผัว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นบิดาในครั้งนี้ ธิดา ก็คงมาเป็นธิดา ส่วนรุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยประจักษ์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปัณณิกชาดกที่ ๒