พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. มิตจินติชาดก ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ส.ค. 2564
หมายเลข  35501
อ่าน  420

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 431

๔. มิตจินติชาดก

ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 431

๔. มิตจินติชาฯดก

ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย

[๑๑๔] "ปลา ๒ ตัว คือปลาพหุจินตีและปลาอัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลามิตจินตีได้ช่วยให้พ้นจากข่าย ปลาทั้งสองตัวจึงได้มาพร้อมกับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น".

จบ มิตจินติชาดกที่ ๔

อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "พหุจินฺตี อปฺปจินฺตี จ" ดังนี้.

ได้ยินว่า พระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์นั้น อยู่จำพรรษาในอรัญญาวาสแห่งหนึ่งในชนบท คิดกันว่า เราทั้งสองจักไปเฝ้าพระศาสดา แล้วเตรียมเสบียงไว้ มัวผลัดอยู่ว่า ไปวันนี้เถิด ไปพรุ่งนี้เถิด จนล่วงไปเดือนหนึ่ง แล้วก็อีกเดือนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะตนเป็นคนเกียจคร้านและเพราะความเป็นห่วงที่อยู่ ต่อ ๓ เดือนล่วงไปแล้ว จึงได้ออกจากที่นั้นไปสู่พระเชตวัน เก็บบาตรจีวรไว้ในที่อยู่ของภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วพากันไปเฝ้า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 432

พระศาสดา ครั้งนั้นพวกภิกษุพากันถามพระเถระผู้เฒ่าทั้งสองว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นานจริงหนอที่ท่านทั้งสองมิได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เหตุไรท่านทั้งสองจึงได้ชักช้าอย่างนี้ พระเถระผู้เฒ่าทั้งสองก็พากันเล่าเรื่องนั้น ครั้งนั้นความเกียจคร้าน โอ้เอ้ ของท่านทั้งสอง ก็ระบือไปในหมู่สงฆ์ แม้ในธรรมสภา พวกภิกษุก็อาศัยความเป็นผู้เกียจคร้านของท่านทั้งสองนั้นแหละตั้งเป็นเรื่องขึ้น พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว มีรับสั่งให้เรียกท่านทั้งสองมาเฝ้า ตรัสถามว่า ได้ยินว่าพวกเธอเกียจคร้าน โอ้เอ้ จริงหรือ ครั้นท่านทั้งสองทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่เธอทั้งสองเป็นผู้เกียจคร้าน แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้เกียจคร้านและยังเป็นผู้มีความอาลัยห่วงใยในที่อยู่ ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี มีปลา ๓ ตัวอยู่ในพระนครพาราณสี ปลาทั้ง ๓ นั้น มีชื่อดังนี้ คือพหุจินตี อัปปจินตี และมิตจินตี ปลาทั้ง ๓ พากันออกจากป่ามาสู่ถิ่นมนุษย์ ในปลาทั้ง ๓ นั้น มิตจินตีบอกกับปลาทั้งสอง อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นมนุษย์นี้ เต็มไปด้วยความรังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า พวกชาวประมงพากันวางข่ายและไซเป็นต้น มีประการต่างๆ แล้วจับเอาปลา พวกเราพากัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 433

เข้าป่าตามเดิมเถอะ ปลาทั้งสองนอกนี้ ต่างพูดผลัดว่า พวกเราจะไปกันวันนี้ หรือพรุ่งนี้ค่อยไปเถิด เพราะความเป็นผู้เกียจคร้านและเพราะความติดใจในเหยื่อ จนเวลาล่วงไปถึง ๓ เดือน ครั้งนั้น พวกชาวประมงพากันวางข่ายในแม่น้ำ ปลาพหุจินตีและปลาอัปปจินตี เมื่อออกหาอาหาร พากันว่ายไปข้างหน้า ไม่กำหนดกลิ่นข่ายเพราะความเป็นสัตว์โง่ ตกเข้าไปในท้องข่ายทันที ปลามิตจินตีตามมาข้างหลัง กำหนดกลิ่นข่ายได้และรู้ว่าปลาทั้งคู่นั้นเข้าไปในท้องข่ายเสียแล้ว คิดว่า เราจักให้ทานชีวิตแก่ปลาอันธพาลผู้เกียจคร้านคู่นี้ไว้ แล้วก็ว่ายไปสู่ที่ท้องข่ายข้างนอก ทำให้น้ำป่วนปั่น ทำเป็นทีว่าท้องข่ายขาดแล้วโดดออกไปได้ แล้วก็โดดไปข้างหน้าข่าย ว่ายเข้าไปสู่ท้องข่ายอีก ทำให้น้ำป่วนปั่นเป็นทีว่าทำให้ข่ายส่วนหลังขาด โดดออกไปได้ แล้วก็โดดออกไปทางเบื้องหลังข่าย พวกประมงสำคัญว่า ปลาพากันชำแรกข่ายไปได้ ก็ช่วยกันจับปลายข่ายยกขึ้น ปลาทั้งสองนั้นก็รอดจากข่ายตกลงไปในน้ำ เป็นอันว่าปลาทั้งสองนั้น อาศัยปลามิตจินตีจึงได้มีชีวิต พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธกแล้ว ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ ความว่า.

"ปลาสองตัว คือปลาพหุจินตีและปลาอัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วยให้พ้นจากข่าย ปลาทั้งสองตัวจึงได้มาพร้อมกันกับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น" ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 434

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุจินฺตี ความว่า ปลาที่ได้นามอย่างนี้ว่า พหุจินตี เพราะมีความคิดมาก มีความตรึกตรองมาก แม้ในชื่อทั้งสองนอกนี้ ก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า อุโภ ตตฺถ สมาคตา ความว่า ปลาทั้งคู่เข้าไปติดข่าย อาศัยปลามิตจินตี จึงรอดชีวิตกลับมาร่วมกับปลามิตจินตีในน่านน้ำนั้นอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เฒ่า (ทั้งสององค์) ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ปลาพหุจินตีและปลาอัปปจินตีในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุคู่นี้ ส่วนปลามิตจินตี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔