เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

 
ไตรสรณคมน์
วันที่  24 เม.ย. 2550
หมายเลข  3552
อ่าน  2,953

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 196

เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคําของมารดาไปป่า มารดาไม่ สามารถให้เด็กนั้นกลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุจงไล่มึง ทันใด นั้น แม่กระบือป่าได้ปรากฏแก่เด็กนั้น เหมือนอย่างมารดาว่าทีเดียว เด็ก นั้นได้กระทําสัจจกิริยาว่า สิ่งที่มารดาของเราพูดด้วยปาก จงอย่ามี สิ่งที่ มารดาคิดด้วยใจ จงมีเถิด แม่กระบือได้ยืนอยู่เหมือนถูกผูกไว้ในป่านั้นเอง ประโยคแม้ตัดความรักอย่างนี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะมีจิตอ่อน โยน

จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมกล่าวกะลูกน้อยๆ ถึงอย่างนี้ว่า พวกโจรจงห้ําหั่นพวกเจ้าเป็นชิ้นๆ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้ให้กลีบบัว ตกเบื้องบนของลูกน้อยๆ เหล่านั้น อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์ บางคราว ก็กล่าวกะพวกศิษย์อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มียางอาย ไม่เกรงกลัว คุยอะไร กัน จงไล่มันไปเสีย ก็แต่ว่า ย่อมปรารถนาให้ศิษย์เหล่านั้นสําเร็จการ ศึกษา และบรรลุมรรคผล

เหมือนอย่างว่า วาจาไม่เป็นผรุสวาจา เพราะ คําอ่อนหวานก็หาไม่ ด้วยว่าผู้ต้องการจะฆ่า พูดว่า จงให้ผู้นี้นอนให้ สบาย ดังนี้ จะไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่ ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะมีจิตหยาบ ผรุสวาจานั้น มีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนพูดหมายถึงนั้น

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 197

มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า

๒. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ

๓. อกฺโกสนา การด่า


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 25 เม.ย. 2550

ทางแห่งถ้อยคำ ที่บุคคลอื่นพึงจะกล่าวกะท่าน มีอยู่

1. กล่าวโดยกาล อันสมควรหรือไม่สมควร

2. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง

3. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย

4. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์

5. มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Buppha
วันที่ 25 เม.ย. 2550
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 25 เม.ย. 2550

การจะเป็นกุศลหรืออกุศลที่แสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ดังเช่น พระปิลินทวัชชะที่กล่าวว่า คนถ่อยเป็นประจำ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่วาจาหยาบเลยเพราะกล่าวด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส จึงขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ มิใช่ถ้อยคำเป็นสำคัญครับซึ่งเรื่องนี้ ก็คงจะได้ฟังกันบ้างแล้ว จะขอยกเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยได้ฟัง เรื่องที่มีบุคคล (เป็นอุปัฏฐากพระเทวทัต) ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการเสียดสีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัส คำบางคำแต่บุคคลนั้นหาว่าพระพุทธเจ้า ติเตียนด้วยกิเลสแต่จริงๆ แล้วพระพุทธองค์ทรงดับกิเลสแล้วจึงไม่เป็นคำหยาบเลย ลองอ่านดูนะ

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

ข้อความบางตอนจาก

อุปกสูตร

พระพุทธองค์ทรงโต้วาทะกับอุปกมัณฑิกาบุตร

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไฝเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปกะ ถ้าบุคคล กล่าวติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูก่อนอุปกะท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่นย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ