พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ฌานโสธนชาดก ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ส.ค. 2564
หมายเลข  35538
อ่าน  417

[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 531

๔. ฌานโสธนชาดก

ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 531

๔. ฌานโสธนชาดก

ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ

[๑๓๔] "สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์และอสัญญีสัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน".

จบ ฌานโสธนชาดกที่ ๔

อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการที่พระธรรมเสนาบดีพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดาร ณ ประตูสังกัสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "เย สญฺญิโน" ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นเรื่องอดีต ในการพยากรณ์ปัญหานั้น.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพที่ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกถาม ก็กล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 532

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เหมือนกับเรื่องในปโรสหัสสชาดก) พวกดาบสไม่ยอมเชื่อถ้อยคำของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์จึงมาแต่พรหมชั้นอาภัสสระ ยืนอยู่ในอากาศ กล่าวคาถานี้ ความว่า.

"สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์และอสัญญีสัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน" ดังนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เย สญฺิโน นี้ ท่านแสดงถึงหมู่สัตว์ที่มีจิตที่เหลือ เว้นท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.

บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า เพราะไม่ได้สมาบัตินั้น แม้ชนเหล่านั้นจึงยังเป็นผู้ชื่อว่า ทุคตะ.

ด้วยบทว่า เยปิ อสญฺิโน นี้ ท่านแสดงถึงอจิตตกสัตว์ผู้เกิดในอสัญญีภพ.

บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า ถึงแม้สัตว์เหล่านั้น ก็ยังคงเป็นทุคตะอยู่เหมือนกัน เพราะยังไม่ได้สมาบัตินี้นั้นแหละ.

บทว่า เอตํ อุภยํ วิวชฺชย ความว่า พระโพธิสัตว์ให้โอวาทแก่อันเตวาสิกต่อไปว่า เธอจงเว้นเสีย ละเสีย แม้ทั้งสองอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 533

คือสัญญีภาวะและอสัญญีภาวะ.

บทว่า ตํ สมาปตฺติสุขํ อนงฺคณํ ความว่า ความสุขในฌานนั้น คือที่ถึงการนับว่าเป็นสุข โดยเป็นธรรมชาติสงบระงับของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอนังคณะ คือปราศจากโทษ แม้เพราะความที่แห่งจิตมีอารมณ์แน่วแน่ มีกำลังเป็นสภาพ ความสุขนั้น ก็ชื่อว่า เป็นของไม่มีกิเลสเครื่องยียวน.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมสรรเลริญคุณของอันเตวาสิกด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ได้กลับคืนไปยังพรหมโลก คราวนั้นดาบสที่เหลือต่างพากันเชื่อฟังอันเตวาสิกผู้ใหญ่.

พระศาลดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนท้าวมหาพรหม (๑) ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔


(๑) หมายเอาพรหมผู้เป็นใหญ่ในอาภัสรภูมิ ไม่ใช่ท้าวมหาพรหมในปฐมฌานภูมิ.