๕. จันทาภชาดก ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหม
[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 534
๕. จันทาภชาดก
ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 534
๕. จันทาภชาดก
ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหม
[๑๓๕] "ผู้ใดในโลกนี้ หยั่งได้ด้วยปรีชา ซึ่งแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสรพรหมได้ด้วยฌานอันหาวิตกมิได้".
จบ จันทาภชาดกที่ ๕
อรรถกถาจันทาภชาดกที่ ๕
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการพยากรณ์ปัญหาของพระเถระเจ้านั้นแลที่ประตูสังกัสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "จนฺทาภํ" ดังนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ ณ ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกซักถาม กล่าวว่า จนฺทาภํ สุริยาภํ แสงจันทร์ แสงอาทิตย์ ดังนี้ แล้วเกิดในอาภัสสรพรหม พวกดาบสไม่เชื่ออันเตวาสิกผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์มาสถิตในอากาศ กล่าวคาถานี้ ความว่า.
"ผู้ใดในโลกนี้ หยั่งได้ด้วยปรีชา ซึ่ง แสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสรพรหมได้ ด้วยฌานอันหาวิตกมิได้" ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 535
บรรดาบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์แสดงโอทาตกสิณ ด้วยบทว่า จนฺทาภํ แสดง ปีตกสิณ ด้วยบทว่า สุริยาภํ.
บทว่า โยธ ปญฺาย คาธติ ความว่า บุคคลใดในสัตว์โลกนี้ หยั่งได้ด้วยปัญญาซึ่งกสิณทั้งสองอย่างนี้ คือการทำให้เป็นอารมณ์ ส่งใจไป หรือตั้งใจไว้ได้ในกสิณทั้งสองอย่างนั้น อีกบรรยายหนึ่ง บทว่า จนฺทาภํ สุริยาภญฺจ โยธ ปญฺาย คาธติ ความว่า แสงจันทร์และแสงอาทิตย์แผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่าใด เจริญปฏิภาคกสิณในที่มีประมาณเท่านั้น กระทำปฏิภาคกสิณนั้นให้เป็นอารมณ์ ยังฌานให้เกิดได้ ก็ย่อมชื่อว่า หยั่งลงสู่แสงทั้งสองนั้นได้ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ความข้อนี้ก็เป็นการอธิบายความในบทนั้นได้เหมือนกัน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสรพรหมโลกได้ด้วยฌานที่สองที่ตนได้แล้ว เพราะกระทำอย่างนั้น.
พระโพธิสัตว์ให้พวกดาบสรู้แจ้งด้วยประการฉะนี้แล้ว กล่าวสรรเสริญคุณของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ กลับไปยังพรหมโลกทันที.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นสารีบุตร ส่วนท้าวมหาพรหม ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจันทรภชาดกที่ ๕