พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ภัคคชาดก ว่าด้วยอายุ ...

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35569
อ่าน  475

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 28

๕. ภัคคชาดก

ว่าด้วยอายุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 28

๕. ภัคคชาดก

ว่าด้วยอายุ

[๑๕๙] ข้าแต่ท่านบิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.

[๑๖๐] แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจจงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี.

จบ ภัคคาชาดกที่ ๕

อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ราชิการาม ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จัดสร้างถวายใกล้พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการจามของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้เริ่มต้นว่า ชีว วสฺสสตํ ภคฺค ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลางบริษัท ๔ ที่ราชิการาม ขณะแสดงธรรมทรงจามขึ้น. ภิกษุทั้งหลายได้พากันส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด. เพราะ เสียงนั้นได้ทำให้การแสดงธรรมหยุดลง. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 29

เขากล่าวในเวลาจามว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ดังนี้ เพราะเหตุที่กล่าวดังนั้น คนนั้นจะพึงเป็นอยู่ หรือจะพึงตาย เป็นไปได้ไหม. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอไม่ควรกล่าวในเวลาเขาจามว่า ขอให้ท่านเป็นอยู่เถิด. ผู้ใดกล่าว ผู้นั้นต้องอาบัติทุกกฏ. สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย กล่าวกะพวกภิกษุในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นจามว่า ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายจงเป็นอยู่เถิด. ภิกษุทั้งหลายตั้งข้อรังเกียจ ไม่พูดตอบ. พวกมนุษย์พากันยกโทษว่า อย่างไรกันนี่ สมณศากยบุตรเมื่อเรากล่าวว่า ขอให้พระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด ไม่พูดตอบเลย. จึงพากันไปกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหัสถ์เขาถือมงคลกัน เมื่อคฤหัสถ์เขากล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด เราอนุญาตให้กล่าวตอบว่า ขอให้พวกท่านจงเป็นอยู่เถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาการกล่าวโต้ตอบว่า จงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นเมื่อไร. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาการโต้ตอบกันว่า จงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นแต่โบราณกาล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในแคว้นกาสี. บิดาของพระโพธิสัตว์ทำการค้าขายเลี้ยงชีพ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 30

บิดาให้พระโพธิสัตว์ซึ่งมีอายุได้ ๑๖ ปี แบกเครื่องแก้วมณีเดินทางไปในบ้านและนิคมเป็นต้น ครั้นถึงกรุงพาราณสี ให้หุงอาหารบริโภคใกล้เรือนของนายประตู เมื่อหาที่พักไม่ได้ จึงถามว่า คนจนมาผิดเวลาจะพักได้ที่ไหน. ครั้นแล้วพวกมนุษย์พวกเขาว่า นอกพระนครมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง แต่ศาลานั้นมียักษ์ยึดครอง ถ้าท่านต้องการก็จงอยู่เถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มาเถิดพ่อ เราจะไป อย่ากลัวยักษ์ ฉันจะทรมานยักษ์นั้นให้หมอบลงแทบเท้าของพ่อ แล้วก็พาบิดาไปในที่นั้น. ลำดับนั้นบิดาของพระโพธิสัตว์นอนบนพื้นกระดาน. ตนเองนั่งนวดเท้าให้บิดา. ยักษ์ซึ่งสิงอยู่ที่ศาลานั้นอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ ๑๒ ปี เมื่อจะได้ศาลานั้น ได้พรว่า บรรดามนุษย์ซึ่งเข้าไปยังศาลานี้ ผู้ใดกล่าวในเวลาที่เขาจามว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด และผู้ใดเมื่อเขากล่าวว่า จงเป็นอยู่เถิด แล้วกล่าวตอบว่า ท่านก็เหมือนกัน ขอให้เป็นอยู่เถิด เว้นคนที่กล่าวโต้ตอบเหล่านั้นเสีย ที่เหลือกินเสียเถิด. ยักษ์นั้นอาศัยอยู่ที่ขื่อหัวเสา คิดว่า จักให้บิดาพระโพธิสัตว์จาม จึงโรยผงละเอียดลงด้วยอานุภาพของตน. ผงปลิวเข้าไปในดั้งจมูกของเขา. เขาจึงจามทั้งที่นอนอยู่เหนือพื้นกระดาน. พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด. ยักษ์จึงลงจากขื่อหมายจะกินเขา. พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ไต่ลงจึงคิดว่า เจ้ายักษ์นี้เองทำให้บิดาของเราจาม เจ้านี่คงจะเป็นยักษ์กินคนที่ไม่กล่าวว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิดในเวลาเขาจาม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 31

ตนนั้นจึงกล่าวคาถาแรกเกี่ยวกับบิดาว่า :-

ข้าแต่บิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.

ในบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกชื่อบิดาว่า ภคฺค. บทว่า อปรานิ จ วีสติ ความว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด. บทว่า มา มํ ปิสาจา ขาทนฺตุ ความว่า ขอปีศาจจงอย่ากินข้าพเจ้าเลย. บทว่า ชีว ตฺวํ สรโทสตํ ความว่า ขอให้ท่านจง เป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด. อันที่จริง ๑๒๐ ปี เป็นการคาดคะเน แต่เป็นแค่ ๑๐๐ ปีเท่านั้น. ในที่นี้ท่านประสงค์ ๑๐๐ ปี ให้เกินไปอีก ๒๐ ปี.

ยักษ์ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้วรำพึงว่า เราไม่สามารถจะกินมาณพนี้ได้ เพราะเขากล่าวว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด แต่เราจะกินบิดาของเขา ว่าแล้วก็ไปหาบิดา. บิดาเห็นยักษ์ตรงมาคิดว่า เจ้ายักษ์นี่คงจักเป็นยักษ์กินคนผู้ไม่กล่าวตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด เพราะฉะนั้นเราจักกล่าวตอบ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ เกี่ยวกับบุตรว่า :-

แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจจงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสํ ปิสาจา ได้แก่ ปีศาจจงกินยาพิษที่ร้ายแรง.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 32

ยักษ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่าเราไม่สามารถกินได้ทั้งสองคน จึงถอยกลับ. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามยักษ์นั้นว่า ดูก่อนเจ้ายักษ์ เพราะเหตุไรเจ้าจึงกินคนที่เข้าไปยังศาลานี้เล่า. ยักษ์ตอบว่า เพราะเราอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ถึง ๑๒ ปี แล้วได้พร. พระโพธิสัตว์ถามว่า เจ้ากินได้ทุกคนหรือ. ยักษ์ตอบว่า ยกเว้นคนที่กล่าวตอบว่า ขอให้ท่านจงป็นอยู่เถิด นอกนั้นเรากินหมด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนยักษ์ เจ้ากระทำอกุศลไว้ในภพก่อน เป็นผู้ร้ายกาจ หยาบคาย ชอบเบียดเบียนผู้อื่น แม้บัดนี้เจ้าก็ยังทำกรรมเช่นนั้นอีก เจ้าจักเป็นผู้ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไป. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าจงงดจากปาณาติบาตเป็นต้นเสีย พระโพธิสัตว์ทรมานยักษ์นั้น แล้วขู่ด้วยภัยในนรก ให้ยักษ์ตั้งอยู่ในศีลห้า ได้ทำยักษ์ให้เหมือนคนรับใช้.

วันรุ่งขึ้นพวกมนุษย์ซึ่งเดินทาง เห็นยักษ์และทราบว่า พระโพธิสัตว์ทรมานยักษ์สำเร็จ จึงพากันไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ขอเดชะ มีมาณพคนหนึ่งทรมานยักษ์นั้นได้ทำให้เหมือนเป็นคนรับใช้ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หาพระโพธิสัตว์ แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดี. และได้พระราชทานยศใหญ่แก่บิดาของเขา. พระราชาทรงกระทำยักษ์ให้ได้รับพลีกรรม แล้วตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญทางไปสวรรค์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 33

พระศาสดาทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า คำโต้ตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ได้เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น แล้วทรงประชุมชาดก

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ บิดาได้เป็นกัสสปะ ส่วนบุตรได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕