พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สันถวชาดก ว่าด้วยความสนิทสนม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35576
อ่าน  413

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 81

๒. สันถวชาดก

ว่าด้วยความสนิทสนม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 81

๒. สันถวชาดก

ว่าด้วยความสนิทสนม

[๑๗๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทรามเป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้วด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่เราทำได้ยากให้พินาศ.

[๑๗๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับสัตบุรุษเป็นความประเสริฐ สามามฤคีเลียปากราชสีห์ เสือโคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่ สนิทสนมกัน.

จบ สันถวชาดกที่ ๒

อรรถกถาสันถวชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการบูชาไฟ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า น สนฺถวสฺมา ปรมตฺถิ ปาปิโย.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในนังคุฏฐชาดกนั้นแล. ภิกษุทั้งหลายเห็นชฏิลเหล่านั้นบูชาไฟ จึงทูลถามพระผู้มีพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 82

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชฏิลทั้งหลายประพฤติตบะผิดมีประการต่างๆ ความเจริญในการนี้มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความเจริญไรๆ ในการนี้เลย แม้โบราณบัณฑิตก็สำคัญว่ามีความเจริญ เพราะการบูชาไฟ จึงบูชาไฟเป็นเวลานาน ครั้นเห็นไม่มีความเจริญในกรรมนั้น จึงเอาน้ำดับไฟ เอากิ่งไม้เป็นต้น ฟาดมิได้กลับมาดูอีกต่อไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์. มารดาบิดาเก็บไฟวันเกิดของพระโพธิสัตว์ไว้แล้วกล่าวกะพระโพธิสัตว์เมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปีว่า ลูกรัก ลูกจะรับเอาไฟวันเกิดไปบำเรอไฟในป่า หรือจักเรียนไตรเพท เพราะปกครองสมบัติอยู่เป็นฆราวาส. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ลูกไม่ต้องการอยู่เป็นฆราวาสลูกจักบำเรอไฟในป่ามุ่งหน้าต่อพรหมโลก แล้วจึงรับเอาไฟวันเกิดไหว้มารดาบิดา เข้าไปในป่า อาศัยอยู่ในบรรณศาลาบำเรอไฟ. วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ไปยังที่เชิญเลี้ยง ได้ข้าวปายาสกับสัปปิมา คิดว่า เราจักถวายข้าวปายาสนี้แก่มหาพรหม จึงนำข้าวปายาสนั้นมา ตั้งใจว่าเราจะบูชาไฟให้พระเพลิงผู้เป็นเจ้าดื่มข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิก่อน แล้วสาดข้าวปายาสลงไปในไฟ. ข้าปายาสมียางมากพอใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ลุกมีเปลวพุ่งขึ้นไหม้บรรณศาลา. พราหมณ์ทั้งกลัวทั้งตกใจก็หนีออกไปยืนอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 83

ภายนอกบ่นว่า ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว บัดนี้บรรณศาลาของเราซึ่งทำแสนยากถูกไฟเผาเสียแล้ว. จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทรามเป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้วด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่เราทำได้ยากให้พินาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวสฺมา ความว่า ความสนิทสนมมีสองอย่าง คือ ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ๑ ไม่มีสิ่งอื่นที่จะเลวทรามต่ำช้ายิ่งไปกว่าความสนิทสนมสองอย่างนั้น. บทว่า โย สนฺถโว กาปุริเสน ความว่า ไม่มีความสนิทสนมอื่นที่เลวทรามกว่าความสนิทสนมสองอย่างนี้กับคนชั่วช้าเลวทราม. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไฟที่เราเลี้ยงให้อิ่มหนำด้วยสัปปิและข้าวปายาสได้เผาบรรณศาลาที่เราสร้างไว้โดยลำบาก.

ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่าเราไม่ต้องการด้วยสิ่งที่ทำลายมิตร จึงเอาน้ำดับไฟนั้นเสียแล้ว เอากิ่งไม้ฟาด เข้าไปสู่ภายในป่าหิมพานต์ พบแม่เนื้อตัวหนึ่งชื่อสามา เลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง จึงดำริว่า ไม่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 84

ความประเสริฐอื่น นอกจากความสนิทสนมกับสัตบุรุษแล้ว จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเป็นความประเสริฐ แม่สามามฤคีเลียปากราชสีห์ เสือโคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่สนิทสนมกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามามุขํ เลหติ สนฺถเวน ความว่า แม่เนื้อสามาเลียปากสัตว์ทั้งสามเหล่านี้ด้วยความสนิทสนม คือด้วยความเสน่หา.

ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปภายในป่าหิมพานต์ บรรพชาเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด ครั้นสิ้นชีพก็เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดก. เราได้เป็นดาบสในครั้งนั้น.

จบ อรรถกถาสันถวชาดกที่ ๒