พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. นกุลชาดก อย่าวางใจมิตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35579
อ่าน  465

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 99

๕. นกุลชาดก

อย่าวางใจมิตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 99

๕. นกุลชาดก

อย่าวางใจมิตร

[๑๗๙] ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรูแล้ว ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

[๑๘๐] บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตรก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อมตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

จบ นกุลชาดกที่ ๕

อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภการทะเลาะของเสณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สนฺธึ กตฺวา อมิตฺเตน ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในอุรคชาดก ในหนก่อน. แม้ในเรื่องนี้พระศาสดาก็ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาอำมาตย์สองคนเหล่านี้ มิใช่เราทำให้สามัคคีกันในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำให้คนเหล่านี้สามัคคีกันเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 100

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้านแห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนศิลปะทุกแขนงในกรุงตักกสิลา สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวงหา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระโพธิสัตว์มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวกนั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกันตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและอานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคีได้ทำให้สัตว์ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอนก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวกท้ายที่จงกรม หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับเมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงูผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็นมิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน ได้แก่ งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 101

พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพานนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะเกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.

พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณเจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตรก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อมตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺนํ ได้แก่ ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัยย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมดแล้ว.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่ากลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่งต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 102

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุมชาดก. งูและพังพอนในครั้งนั้นได้เป็นมหาอำมาตย์สองคนในบัดนี้. ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕