พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สมิทธิชาดก ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35581
อ่าน  501

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 108

๗. สมิทธิชาดก

ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 108

๗. สมิทธิชาดก

ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกามเลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ ดูก่อนภิกษุ ท่านจงบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลยท่านไปเสียเลย.

[๑๘๔] เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยังปกปิดอยู่หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษาเวลากระทำสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

จบ สมิทธิชาดกที่ ๗

อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระวิหารตโปทาราม ทรงปรารภพระเถระชื่อสมิทธิ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกขุ ดังนี้.

ความพิสดารว่า วันหนึ่งท่านสมิทธิเถระตั้งความเพียรตลอดคืนยังรุ่ง พอรุ่งสว่างก็ไปอาบน้ำ ผึ่งกายอันมีสีดุจทองคำให้แห้ง แล้วนุ่งผ้ามือหนึ่งถือผ้าห่มยืนอยู่. พระเถระมีชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 109

สมิทธิ เพราะมีอัตภาพสมบูรณ์คล้ายรูปทอง อันนายช่างหล่อหลอมไว้อย่างงดงาม. ครั้งนั้นเทพธิดานางหนึ่งเห็นส่วนแห่งความงามในร่างกายของพระเถระก็มีจิตปฏิพัทธ์ พูดกับพระเถระอย่างนี้ว่า ท่านภิกษุ ท่านยังเด็กเยาว์วัย หนุ่มแน่นมีผมดำประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ท่านเป็นเช่นนี้ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา จงบริโภคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณธรรม. ครั้นแล้วพระเถระกล่าวกะเทพธิดาว่า แน่ะเทพธิดา เราไม่รู้ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนดเวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณธรรม ในตอนยังเป็นหนุ่มแล้วจักทำที่สุดทุกข์. เทพธิดาครั้นไม่ได้การต้อนรับจากพระเถระก็หายไป ณ ที่นั่นเอง. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แล้วกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ ก็เทพธิดาเล้าโลมเธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนเทพธิดาทั้งหลาย ก็เล้าโลมนักบวชบัณฑิตเหมือนกัน เมื่อทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาสิกคาม ตำบลหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกชนิด แล้วบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ดาบสนั้นบำเพ็ญเพียร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 110

อยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลาอรุณขึ้นอาบน้าแล้วนุ่งผ้าเปลือกไม้ผืนหนึ่ง จับผืนหนึ่งไว้ ยืนผึ่งสรีระให้แห้ง. ขณะนั้นเทพธิดานางหนึ่งมองดูอัตภาพอันมีรูปโฉมงดงามของพระดาบส มีจิตปฏิพัทธ์ จึงเล้าโลมพระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกามเลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ

ดูก่อนภิกษุท่านจงบริโภคกามเสียก่อน แล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลยท่านไปเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่บริโภควัตถุกาม เนื่องด้วยกิเลสกาม ในคราวเป็นเด็กแล้วเที่ยวขอ. บทว่า น หิ ภุตฺวาน ภิกฺขสิ ความว่า ท่านควรบริโภคกามคุณห้าแล้วจึงเที่ยวภิกษามิใช่หรือ ท่านยังไม่บริโภคกามเลย เที่ยวขอภิกษาเสียแล้ว. บทว่า ภุตฺวาน ภิกฺขุ ภิกฺขสฺสุ ความว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านบริโภคกามเสียแต่ยังเป็นหนุ่มก่อน ภายหลังเมื่อแก่แล้วจึงขอเถิด. บทว่า มา ตํ กาโล อุปจฺจคา ความว่า เวลาบริโภคกามนี้อย่าล่วงเลยท่านในเวลาหนุ่มเลย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 111

พระโพธิสัตว์สดับคำของเทพธิดาแล้ว เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของตน จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยังปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว ในบทว่า กาลํ โวหํ น ชานามิ เป็นเพียงนิบาต. เราไม่รู้เวลาตายของตนอย่างนี้ว่า เราควรตายในปฐมวัย หรือในมัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

บุคคลแม้เป็นอติบัณฑิต ก็ไม่รู้ถึงฐานะห้าอย่างอันไม่มีนิมิตในชีวโลกนี้ คือ ชีวิต ๑ พยาธิ ๑ เวลา ๑ ที่ตาย ๑ ที่ไป ๑.

บทว่า ฉนฺโน กาโล น ทิสฺสติ ความว่า เพราะเราไม่เห็นกาล กาลอันปกปิดนี้ คือไม่ปรากฏกาลอันตั้งอยู่อย่างปกปิดว่า เราควรตายเมื่อถึงวัยโน้น หรือในฤดูหนาวเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา อภุตฺวา ภิกฺขามิ ความว่า เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภค กามคุณแล้วขอ. บทว่า มา มํ กาโล อุปจฺจคา ความว่า เวลาบำเพ็ญสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไป เพราะเหตุนั้น เราจึงบวชบําเพ็ญสมณธรรมแต่ยังหนุ่ม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 112

เทพธิดาสดับคําพระโพธิสัตว์แล้วก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุมชาดก. เทพธิดาในครั้งนั้นได้เป็นเทพธิดานี้ในบัดนี้ เราได้เป็นดาบสในสมัยนั้น.

จบ อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ ๗