พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สังคามาวจรชาดก ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35596
อ่าน  518

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 180

๒. สังคามาวจรชาดก

ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 180

๒. สังคามาวจรชาดก

ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม

[๒๑๓] ดูก่อนกุญชร ท่านปรากฏว่า เป็นผู้เคยเข้าสู่สงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก เข้ามาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสียเล่า.

[๒๑๔] ดูก่อนกุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอน ถอนเสาระเนียด และทำลายเขื่อนทั้งหลายแล้ว เข้าประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

จบ สังคามาวจรชาดกที่ ๒

อรรกถถาสังคามาวจรชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภพระนันทเถระ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สงฺคามาวจโร สูโร ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเสด็จไปเป็นครั้งแรก ทรงให้นันทกุมารพระกนิษฐภาดาทรงผนวชแล้ว เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จไปประทับ ณ กรุงสาวัตถีโดยลำดับ ท่านพระนันทะระลึกถึงวาจาที่นางชนปท-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 181

กัลยาณี ผู้สดับข่าวในคราวที่ท่านนันทะถือบาตรออกจากพระตำหนักกับพระตถาคตว่า นับว่านันทกุมารเสด็จไปพร้อมกับพระศาสดา แล้วมองดูทางหน้าต่าง ทั้งๆ ที่เกล้าผมได้ครึ่งเดียว ร้องขึ้นว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่กลับมาเร็วๆ จึงเกิดกระสัน ไม่มีความยินดี เกิดพระโรคผอมเหลืองมีพระกายสะพรั่งไปด้วย เส้นเอ็น.

พระศาสดาทรงทราบเรื่องของพระนันทะแล้ว จึงทรงดำริว่า ถ้ากระไรเราจักให้นันทะดำรงอยู่ในอรหัตตผล แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ของพระนันทะ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดเตรียมไว้ ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอไม่ยินดีในศาสนานี้กระมัง. กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์มีจิตปฏิพัทธ์นางชนปทกัลยาณี จึงไม่ยินดี. ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเคยจาริกไปป่าหิมพานต์หรือเปล่า. กราบทูลว่าไม่เคยไปเลยพระพุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ ถ้าเช่นนั้นเราไปกัน. กราบ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีฤทธิ์จะไปได้อย่างไรพระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เราจะพาเธอไปด้วยกำลังฤทธิ์ของเราเอง แล้วทรงจับมือพระนันทะเหาะขึ้นไปสู่อากาศ ทรงแสดงถึงนาที่ถูกไฟไหม้แห่งหนึ่งในระหว่างทาง แล้วทรงแสดงถึงนางลิงตัวหนึ่งซึ่งมีจมูกและหางด้วน มีขนถูกไฟไหม้ มีผิวเป็นริ้วรอย หุ้มห่อไว้เพียงแต่หนัง นั่งจับเจ่าอยู่บนตอไฟไหม้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเห็นลิงตัวนั้นไหม.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 182

กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า เธอจงกำหนดไว้ให้ดี. ครั้นแล้วก็ทรงพาพระนันทะไปทรงชี้ให้ดูพื้นมโนสิลา ประมาณหกสิบโยชน์ สระใหญ่เจ็ดสระ มีสระอโนดาตเป็นต้น แม่น้ำใหญ่ห้าสาย และเขาหิมพานต์อันน่ารื่มรมย์หลายร้อยลูก ซึ่งเรียงรายไปด้วยเขาทอง เขาเงิน และเขาแก้วมณี แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเคยเห็นภพดาวดึงส์หรือ กราบทูลว่า ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เธอจงมาเราจักแสดงภพดาวดึงส์แก่เธอ แล้วทรงพาไปถึงภพดาวดึงส์ ประทับนั่งเหนือมัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ท้าวสักกเทวราช พร้อมด้วยหมู่เทวดาในเทวโลกทั้งสอง ก็พากันเสด็จมาถวายบังคม ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนหนึ่ง. เหล่าเทพอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีสีเท้าเหมือนสีเท้านกพิราบ ผู้เป็นนางบำเรอ นับได้สองร้อยห้าสิบโกฏิก็พากันมาถวายบังคมนั่งอยู่ข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงให้พระนันทะดูนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านั้นบ่อยๆ ด้วยอำนาจกิเลส ตรัสถามว่า นันทะ เธอเห็นนางอัปสรสีเท้านกพิราบเหล่านี้ไหมเล่า. กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า. ตรัสถามว่า นางอัปสรเหล่านี้งาม หรือนางชนปทกัลยาณีงาม. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ นางลิงขนเกรียนเทียบกับนางนางชนปกัลยาณีฉันใด นางชนปทกัลยาณีก็ฉันนั้น เมื่อเทียบกับนางอัปสรเหล่านี้ (ก็เทียบได้เพียงนางลิง). ตรัสถามว่า นันทะบัดนี้เธอจักทำอย่างไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ทำกรรมอะไรจึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 183

จะได้นางอัปสรเหล่านี้. ตรัสว่า บำเพ็ญสมณธรรมซิ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ หากพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองเพื่อให้นางเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนนันทะ จงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด เราจะเป็นผู้รับรองเธอ. พระเถระถือพระตถาคตเป็นผู้รับรองในท่ามกลางหมู่เทวดา แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าทำให้เนิ่นช้านัก เชิญเสด็จมา ไปกันเถิด ข้าพระองค์จักบำเพ็ญสมณธรรม พระศาสดาพาพระนันทะไป กลับไปสู่พระเชตวันอย่างเดิม. พระเถระเริ่มบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดาตรัสเรียกพระธรรมเสนาบดีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร นันทะน้องชายของเรา ได้ยึดเราเป็นผู้รับรอง เพราะเรื่องนางเทพอัปสรทั้งหลายในท่ามกลางหมู่เทวดาในดาวดึงส์เทวโลก. โดยอุบายนี้แหละ พระองค์ทรงแจ้งแก่ภิกษุที่เหลือโดยมากแก่อสีติมหาสาวกเป็นต้นว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระมหากัสสปเถระ พระอนุรุทธเถระ พระอานนท์ผู้เป็นคลังพระธรรม. พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเข้าไปหาพระนันทเถระกล่าวว่า ท่านนันทะนัยว่าท่านยึดเอาพระทศพลเป็นผู้รับรอง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดาในดาวดึงส์เทวโลกว่า เมื่อได้นางเทพอัปสรจักบำเพ็ญสมณธรรม จริงหรือ แล้วย้ำว่าเมื่อเป็นอย่างนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน ก็เกี่ยวข้องด้วยมาตุคามมิใช่หรือ ท่านนั้นไม่ต่างอะไรกับกรรมกรผู้รับจ้างทำการงานเพื่อต้องการสตรี ได้ทำให้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 184

พระเถระละอายยอมจำนน. พระอสิติมหาสาวกและภิกษุที่เหลือ ทั้งสิ้นได้ทำให้ ท่านพระนันทะละอายโดยอุบายนี้. พระนันทะรำพึงว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรหนอ แล้วประคองความเพียรให้มั่นคงด้วย หิริและโอตตัปปะ เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอถอนคำรับรองของพระองค์ แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะก็เธอบรรลุพระอรหัตเมื่อใด เมื่อนั้นเราก็พ้นจากคำรับรอง.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นทราบความนี้แล้วจึงประชุมกันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านพระนันทะรูปนี้ อดทนต่อคำสอน ตั้งมั่นหิริและโอตตัปปะไว้ด้วยโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น แล้วบำเพ็ญสมณธรรมบรรลุพระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นันทะอดทนต่อคำสอนมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อน ก็อดทนต่อคำสอนเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคนฝึกช้าง ครั้นเจริญวัยสำเร็จศิลปะฝึกช้าง แล้วรับราชการกับพระราชาผู้เป็นศัตรูของพระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง. พระโพธิสัตว์ฝึกหัดช้างมงคลของพระราชานั้นไว้แล้วเป็นอย่างดี. พระราชานั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 185

ทรงดำริว่า จักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงชวนพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นช้างมงคล เสด็จไปล้อมกรุงพาราณสีด้วยกองทัพใหญ่ แล้วทรงส่งสาส์นถึงพระราชาพรหมทัตว่า จะยกราชสมบัติถวายหรือจะรบ. พระราชาพรหมทัตตอบว่า เราจักรบ แล้วรับสั่งให้พลนิกายประจำที่ประตูกำแพงและป้อมค่ายเตรียมรบ. พระราชาผู้มีศัตรู เอาเกราะหนังสวมช้างมงคล แม้พระองค์เองก็สวมหนังเสด็จขึ้นคอช้าง ทรงพระแสงขอคม ทรงไสช้างมุ่งสู่พระนครด้วยทรงหมายพระทัยว่า จักทำลายล้างพระนครปราบปัจจามิตรให้ถึงสิ้นชีวิต และยึดเอาราชสมบัติให้จนได้. ช้างมงคลเห็นทหารซัดทรายอันร้อนเป็นต้น ปล่อยหินยนต์และเครื่องประหารหลายๆ อย่าง ก็หวาดกลัวต่อความตายไม่อาจเข้าใกล้ได้จึงหลีกไป. ครั้งนั้นนายหัตถาจารย์เข้าไปหาช้างมงคล พูดปลอบว่า เจ้าก็กล้าหาญเข้าสงคราม ชื่อว่าการล่าถอยอย่างนี้ไม่สมควร เมื่อจะสอนช้างจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนกุญชร ท่านปรากฏว่าเป็นผู้เคยเข้าสงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก เข้ามาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสียเล่า.

ดูก่อนกุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอนถอนเสาระเนียดและทำลายเขื่อนทั้งหลายแล้วเข้าประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 186

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิสฺสุโต ความว่า ท่านเป็นผู้ปรากฏ คือ รู้กันทั่วไปอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเคยเข้าสู่สงคราม เพราะ เข้าสงครามย่ำยีประหัตประหารต่อสู้กัน ชื่อว่า กล้าหาญ เพราะมีใจบึกบึน และชื่อว่ามีกำลัง เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า โตรณมาสชฺช ได้แก่ ถึงค่ายอันยันประตูเมืองแล้ว. บทว่า ปฏิกฺกมสิ คือ นายหัตถาจารย์พูดว่า ไฉนจึงท้อถอย คือ เพราะ เหตุไรจึงกลับ. บทว่า โอมทฺท ได้แก่จงบุกเข้าไป คือ จงรุดหน้าเข้าไป. บทว่า เอสิกานิ จ อุพฺพห ความว่า เสาระเนียดที่เขาปักไว้มั่นคง ลึกลงไปในแผ่นดิน ๑๖ ศอก ๘ ศอก ที่ประตูเมืองมีอยู่ เจ้าจงขุด คือจงถอนเสาระเนียดนั้นโดยเร็วเถิด นายหัตถาจารย์ได้สั่งไว้. บทว่า โตรณานิ จ มทฺทิตฺวา คือ จงทำลายบานประตูนครเสีย. บทว่า ขิปฺปิ ปวิส คือ เจ้าจงรีบเข้าประตูเมือง. เรียกช้างว่า กุญฺชร.

ช้างมงคลได้ฟังดังนั้น ก็หันกลับเพราะคำสอนของพระโพธิสัตว์เพียงคำเดียวเท่านั้น แล้วใช้งวงพันเสาระเนียดถอนขึ้น เหมือนดังถอนเห็ดฉะนั้น แล้วทำลายเสาค่าย ถอดกกลอน พังประตูเมือง เข้าพระนครยึดราชสมบัติถวายพระราชา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก. ช้างในครั้งนั้น ได้เป็นนันทะในครั้งนี้ พระราชาได้เป็น พระนันทะ ส่วนนายหัตถาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสังคามาวจรชาดกที่ ๒